590208_พุทธศาสนาตามภูมิ-อัมพัฏฐสูตร-ตอน-๕
คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลดเสียง
พ่อครูว่า… วันนี้วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 ปีมะแม คนเราอยู่ที่การกำหนดหมายและร่วมรับรู้กันเถอะว่าเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยใช้สอยในสังคมในชีวิต สิ่งที่จะต้องอาศัยใช้สายในสังคมร่วมกันเรียกว่าสมมุติสัจจะเป็นความจริงที่รู้ร่วมกัน สังคมแต่ละสังคมก็มีสิ่งอาศัยต่างกันเพราะความเป็นอยู่ต่างกัน
ขณะนี้เราก็มีงานศพแม่ของพลอยไพรจะเผาวันพุธ ที่ 10 งานศพของชาวอโศกก็ไม่เหมือนที่อื่นเป็นศาสนาพุทธเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน กำหนดเห็นว่าควรอย่างไรเราก็ทำอย่างนั้นศาสนาพุทธทุกวันนี้ปรุงแต่งเอาโลกย์เอากิเลสเข้ามาปรุงจนกลายเป็นงานศพ ที่คนตาย จะตายไม่ลง เพราะต้องใช้เงินใช้ทองในการทำงานศพกันเป็นเรือนแสนบาทบางทีก็เป็นเรือนล้านบาท เป็นเรื่องของโลกียเป็นเรื่องของความเลวร้ายที่มอมเมากัน เอามาให้ทรมานทุกข์ร้อนทำลายชีวิต
ความจริงแล้วงานศพก็ต้องมี พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่าให้เขาก็บอกว่าไม่ให้รอแม้กระทั่งญาติหรือคนเดินทางไกลที่มายังไม่ถึงพระสารีบุตรทูลถามพระพุทธเจ้าว่าคนตายแล้วร่างกาย หมดที่จะมาปฏิบัติดีปฏิบัติช่วยให้แก่ตนอีก ก็ไปรับวิบาก ตามที่ได้ทำไว้เท่านั้นเอง ที่เหลืออยู่คนก็มาหลอกกัน ทำให้คนที่อยู่นี้ต้องทำงานศพให้หรูหรา เอาอะไรส่งไปให้ผู้ตาย ให้ผู้ตายได้รับจะได้เกิดความสุขสบาย อันนี้คือความหลอก บทที่ 1 เรื่องพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเช่นนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ต้องทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ท่านก็สอนแต่ไม่เคยสอนว่าจะส่งอะไรไปให้พ่อแม่ที่ตายได้แล้วจะได้รับ ไม่เคยมีในคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพราะเรามีกรรมเป็นของๆตน ตอนมีชีวิตทำกรรมใดก็ได้รับผลวิบากของตนตามที่ได้ทำไว้ ทำดีมีผลวิบากดี ทำชั่วก็ได้ผลวิบากชั่ว คือทรัพย์แท้แห่งอัตภาพคนที่ยังไม่เป็นอะไรฉันยังไม่ปรินิพพาน ตายแล้วก็จะต้องมีอัตภาพเหลือ ต้องรับผลวิบากไปเรื่อย เราจะต้องรับมรดกของกรรมของเรา แล้วกรรมพาเกิด ถ้าให้เราเป็นไปเราจะต้องลำบากทุกข์ร้อนก็เพราะเราทำ ไม่มีเหตุอื่นที่มาทำเรา จะไปโทษคนอื่นไม่ได้มันเป็นเหตุประกอบ
ทุกวันนี้คนตายแต่ละทีเป็นเรื่องลำบากมากพวกเราก็พยายามนำคำสอน ของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติไม่ให้เป็นภาระ แต่เราจะใช้ด้วยความมีปัญญา เช่นงานศพจะได้เป็นการศึกษาได้รับประโยชน์จากการตายของคนคนหนึ่ง ให้หมู่ญาติมิตรเพื่อนฝูงมารับรู้ว่าอย่างน้อยคนทุกคนก็จะต้องตาย ทุกวันนี้ยิ่งไม่แน่นอนอย่าประมาทอย่ารีรอ ก็เป็นการเตือนสติ เป็นการให้สติกับผู้ที่ยังอยู่ว่าเราจะต้องตายอย่างนี้กันทุกคนตาย
ตอนที่เราเป็นเป็นนี้เราจะสร้างกรรมของเราให้ดีให้เป็นที่อาศัยทำจะเป็นเชื้อเป็นเผ่าเป็นพันธุ์ กัมมพันธุกรรมปฏิสรโณ
ทุกวันนี้คนไม่เชื่อเรื่องกรรม แม้รู้ว่าเลวก็ทำถูกหลอกด้วยลาภยศสรรเสริญโลกียสุข จริงๆแล้วจิตเรามันเป็นทาส เป็นจิตที่ไปติดไปยึด ว่าน่าได้น่ามีน่าเป็นก็อยากได้อยากมีอยากเป็นตามที่จิตมันถูกสั่งจากกิเลสให้อยากได้อยากมีอยากเป็น
ถ้าถามชัดกันว่านี้ดีหรือชั่วถ้าไม่ประสาทเสียก็จะตอบได้ ชั้นของของคนอื่นไม่ใช่ของของเรา แล้วเราก็ไปอยากได้ของเขาแล้วหาวิธีจ่ายเงินของเขาโดยวิธีไม่ซื่อสัตย์สุจริต ขโมยเริ่มต้นที่จะกง เมื่อถามอีกให้ตั้งสติให้ดีการที่คิดจะทำเช่นนั้นมันดีหรือชั่วเขาก็จะตอบได้กันทุกคน
การอยากจะฆ่าสัตว์ฉันอยากเอาของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของของเราคิดมันก็ไม่ดี ที่จริงแล้วมันก็ไม่มีตัวตนแต่เราโง่ไปยึด ว่าถ้าได้มาจะเป็นสุข สุขที่ได้นั้นอนัตตามันไม่มีตัวตนมันเป็นสุขเป็นสุขปลอมปลอม ไม่มีจริงหรอก ต้องศึกษาอ่านอาการจิตว่ามันเป็นสุขเวทนา เป็นความรู้สึกของอารมณ์สุขเป็นอิฏฐารมณ์ มันเป็นสิ่งเท็จ
แล้วมันมีเหตุอะไรจะมาก่อนเราตั้งไว้ในใจมันอยากขึ้นเดี๋ยวนี้ก็แสวงหาโดยแย่งชิงฆ่าแกงกันเพื่อให้ได้มาหรือบางทีไม่ได้ตั้งใจแต่มันสะสมไว้ในอนุสัย พอได้มาตรงอนุสัย ที่มีกิเลสก็ได้สุข โดยไม่เจตนาไม่รู้ตัวแต่มันตรงกับอุปทานในจิต ก็รู้สึกสุข ก็อยู่กับความหลอก คนที่รอความสุขมีชีวิตเพื่อหาความสุขแบบนี้ เป็นคนที่ไม่พ้นทุกข์หรอก
พระอรหันต์จึงไม่มีความสุขแบบนี้เลยทุกชนิดที่จะมาถึงตัวท่านได้ ไม่ว่าจะเป็นได้ลาภได้ยศได้สรรเสริญได้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส โดยที่ท่านไม่ต้องอยากได้แต่ท่านก็ได้ท่านก็ไม่มีสุขเพราะท่านหมดความยาว ในเรื่องโลกเข้าใจหมดแล้ว เพราะถ้าเราจะมีเราจะได้เราก็ทำเราก็สร้าง สร้างโดยตรงหรือสร้างทางอ้อมก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามโลกคนเราก็อาศัยเช่นนี้แต่เราสูงสุดจนกระทั่งพระพุทธเจ้า ให้คนมาศึกษาจนไม่ต้องการอะไรในจิตให้รู้ความจำเป็นในจิต รู้จักความจำเป็นของเหตุปัจจัยในปัจจัย 4 และบริการที่จำเป็นในชีวิตเป็นชาวนาก็อาศัยแบบชาวนา เป็นนักขนส่งก็ต้องอาศัยพาหนะ ก็ใช้เหตุปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในการทำอาชีพ เพื่อที่จะได้โดยอ้อมโดยตรงในปัจจัย 4
แม้แต่นกแม้แต่สัตว์ต่างๆก็มีที่อาศัย แต่เรื่องยานั้นมันก็ไม่ค่อยรู้จักมันก็รู้ตามประสาของมัน คนนั้นทำเกินความจำเป็นแก่ชีวิตทำให้เกิดความเจ็บป่วยมากกว่าสัตว์ เพราะแสวงหาบำเรอตามความต้องการของตน ให้ได้ค่าแรงมาให้แก่ตัวเราเราก็ทำงานเพื่อแลกเอาลาภยศสรรเสริญ ทับถมทุกข์ให้แก่ตนไปอีกมากมาย เราไม่ต้องไปเสียเวลาแรงงานเพื่อไปเอาสิ่งเหล่านั้นมันไม่ใช่ความสุขอะไรหรอกแต่ไปหลงสมมุติสัจจะธรรมศึกษาเข้าใจแล้วชีวิตจะง่าย อยู่ง่ายเลี้ยงง่ายสุภระ ไม่วุ่นวายไม่มากเรื่องวันวันหนึ่ง
อาตมาวันๆหนึ่งไม่ต้องไปเที่ยวแสวงเสพอะไรมันจบแล้วเข้าใจหมดแล้ว ชีวิตเราจึงมีพลังงานสร้างสรรค์ทำประโยชน์ที่เราจะทำได้เป็นคนที่หมดการบำเรอตน ไม่มีลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา เป็นสิ่งที่เราจะเอาผลผลิตแรงงานไปแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นกายกรรมวจีกรรม แสดงความรู้ให้แก่เขาเขาก็ให้อะไรมา ก็ไม่ต้องทำแล้วดังนั้นเราจะไปโกง กุหนา ลปนา ตลบแตลง เนมิตกตา เสี่ยงทายอะไร นิปเปสิกตา มอบตนในทางที่ผิด แม้ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา จะต้องใช้ลาภมากๆก็ไม่มีแล้ว
ชาวอโศกเราทำได้ทั้งนักบวชและฆราวาสพ้นมิจฉาชีพ 5 หลายคนตื่นมาตี 2 ตี 3 ทำงานก็จะนอนก็ 3- 4 ทุ่ม ไม่ได้อะไรด้วยซ้ำบางทีทำงานผิดพลาดก็โดนด่าอีก เพื่อนก็ด่าผู้ใหญ่ก็ด่าให้ แม้ปรารถนาดีแต่ก็ผิดพลาดเสียหาย บางคนก็ด่าผิดผิดเสียหายด่าตามอารมณ์ก็มีบ้าง เขาก็ว่ากัน แต่เจตนาเพื่อจะท้วงกว่านี้ผิด
สรุปคือธรรมะของพระพุทธเจ้าทำให้คนเจริญในสัมมาอาชีวะ วันหนึ่งเราจะมีตารางชีวิต มีความเป็นไปถึงขนาดพ้นมิจฉาอาชีวะ 5 ไม่โกง ไม่หลอกลวง ไม่เสี่ยงทาย ไม่มอบตนในทางผิด อยู่กับหมู่มิตรดีพาทำกุศล ไม่ต้องการอะไรตอบแทนที่คือความบริสุทธิ์ในสัมมาอาชีวะ ที่เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า สามารถพาคนที่ปฏิบัติธรรมศาสนาพุทธ บรรลุธรรมได้ บางคนหลายสิบปีถึงสี่สิบปีก็ไม่มีมิจฉาชีพอะไรคือผลมิจฉาชีพ 5 ส่วนมิจฉากัมมันตะ การฆ่าสัตว์การลักทรัพย์เอาของคนอื่นที่ไม่ใช่ของของเราและประพฤติผิดในกาม มิจฉากัมมันตะ 3 พวกเราก็บริสุทธิ์ได้ไม่ฆ่าสัตว์แม้แต่เนื้อสัตว์ก็ไม่กิน ไม่เอาของคนอื่นที่เขาไม่ให้ เราก็ทำได้ทั้งนักบวชทำได้ทั้งฆราวาสเป็นหมู่กลุ่มเป็นพฤติกรรมสังคม ประพฤติผิดในกามเราก็อาจจะมีบกพร่องบ้างไม่มาก แต่โดยสังคมส่วนรวมน้ำดี ส่วนมิจฉาชีพ 5 ภูมิใจว่าพวกเราทำได้ พ้นมิจฉากัมมันตะ 3 ก็เราเป็นได้ดีพอสมควรเป็นสังคมที่ไม่มีมิจฉา มีข้อบกพร่องไม่มาก ไม่เกิน ๑๐ % ที่error
มิจฉา 4 ของวาจาจะมากหน่อย พูดคำหยาบไม่มีพูดเพ้อเจ้อโดยไม่เจตนาก็จะเป็นพูดส่อเสียดก็จะพอมีไม่มากนิดหน่อยเพราะพวกเราพอเข้าใจส่วนการพูดโกหกนั้นมีน้อยมากเกิดจะไม่มี เพราะระวังวรระวังจริงๆนี่เป็นการปฏิบัติธรรมเป็นการเช็คผลปฏิบัติธรรมของนักปฏิบัติธรรม ซึ่งอาตมาพาทำก็ได้เป็นกลุ่มหมู่เป็นหมู่มวล โดยรากเหง้าคือการเข้ามาพิจารณาแก้ไขตนเองใน มิจแา 3 ของสังกัปปะในจิตวิญญาณ มีกามพยาบาทวิหิงสา
วิเคราะห์ว่าจิตเราคิดอย่างไรได้รู้จัก กามสัญญากำหนดรู้กายและจิตรู้พยาบาทในกายและจิต วิหิงสาเป็นข้อละเอียดไปอีก มิจฉา เกิดมาจากเหตุปัจจัยตั้งแต่ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เรียนรู้รูปนาม เมื่อสัมผัสแล้วเกิดกาม พยาบาท ในปัจจุบันแล้วเราก็เรียนรู้รสละในปัจจุบันว่าจิตเกิดการเกิดกามเกิดพยาบาทก็เป็นสัตว์นรกเราก็ลดละ แม้จะเป็นการกดข่มให้ไม่มีชั่วคราวก็เป็นผล แต่มันไม่ถาวร แต่เราเรียนรู้อย่างมีปัญญาให้เกิดปัญญาเกิดฌานที่ไปลดไฟราคาไฟโทสะ ไฟโมหะได้
เราเรียนรู้ลดละได้เพราะก็ไม่มีในโลกอบายมุขที่เขามีกันสังคมชาวโลกไม่มีเรื่องกามหยาบหยาบเรื่องพยาบาทที่หยาบๆ ที่จะไปวุ่นวายในกามราคะ จะมีโทสะรุนแรงก็ไม่มี เป็นเรื่องเบื้องต้นแต่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ เหนือกว่าแม้ในวัดอื่นด้วยซ้ำ แม้แต่เป็นฆราวาสแท้ก็มีปริมาณและคุณภาพ เป็นร้อยเป็นพัน เป็นศีลสามัญญตาเป็นสามัญญผลแท้จริงเป็นปรากฏการณ์ไม่เพ้อฝันไม่ใช่ขี้ตู่
อรหัตตผลในโสดาบันเรามีแน่นอน สกิทาคามี อนาคามีก็มีแน่นอน แม้ในเรื่องเหตุปัจจัยบางอย่าง อรหัตตผล ในอาสวะบางอย่างก็มีได้ เหลือแต่ต้องทำการปฏิบัติสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ให้หมดเป็นอุภโตภาควิมุติ ฟังเข้าใจไหม แล้วมันน่าทำได้นะ เป็นแต่เพียงพวกเราไม่ชัดเจนในบัญญัติในอาการจิต
ถ้าชัดเจนบัญญัติ ตรวจสอบอาการจิตเราให้ดี พวกเราเป็นอาริยบุคคลกันไม่ใช่น้อย บางคนอาตมาว่าใกล้ๆอรหันต์นะ เป็นแต่ไม่ได้เช็คละเอียด ถ้าเช็คละเอียดเป็นอรหันต์ได้นะ เช็คให้ดีว่าเราเหลืออะไร เพ่งเพียรทำ แต่พวกเราไม่เป็นระบบ chaos เต็มที
ตรวจสอบให้ดีเรียกว่าเตวิชโช ตรวจเจโตปริยญาณ ๑๖ ว่าเราได้วีตราคะ วีตโทสะ วีตโมหะเท่าไหร่ อยู่กับโลกเราก็เตวิชโชดู วันหนึ่งๆมันหมดไหม ตรวจให้ดี เคยทำแล้วได้สังขิตตัง เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ จิตเราก็สมาหิตัง วิมุติแล้ว เป็นมาตรวัดจิต
เมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา ผู้สืบทอดศาสนา จับทำอะไรผิดแล้วตกปิดหน้าด้านหน้าทน และมีหมู่กลุ่มเข้าพรรคพวก สมีอุ้มสมี ไม่ได้ใส่ความนะ แต่มันเสื่อมสุดๆ พูดตามภูมินะ เป็นนิคคัณเห นิคหารหัง ที่พูดนี้เป็นกุศลไม่เป็นบาปอะไร ก็เตือนสติมนุษย์ชั่วให้ปรับปรุงตัวเสีย กรรมเป็นอันทำ จะทำกี่เวลาก็ได้ผล เวลา ยาวกาลิก เป็นของคุณทั้งนั้นหากไม่ได้ละเลิก จะสั่งสมอกุศล บาป เวรนี้ไปถึงไหน ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าเข้าใจไหม ควรละบาปเวรภัยไหม รู้เรื่องบ้างไหม ได้ประพฤติหรือเปล่า แล้วมาเสนอหน้าว่าฉันคือผู้สืบทอดศาสนาพระพุทธเจ้า
ขออภัยที่พูดแรงตรง มันน่าว่ามากกว่านี้
เราเทศน์งานศพ โยมกอง นาพงษ์ ญาติๆก็มากันมากอยู่
มาต่อกันในพระไตรฯล.๙ ตั้งแต่พรหมชาลสูตร พระพุทธเจ้าว่าคนตกในข่าย ทิฏฐิ ๖๒นี้เอง ท่านก็ตรัสสรุป ว่าทฤษฎีอื่นทิฏฐิอื่นมากกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว พระพุทธเจ้ารวบรวมไว้หมด บทสรุปของพรหมชาลสูตรว่า เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้นความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น ธรรมเหล่านี้ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตจะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ (ที. สี. ๙/พรหมชาลสูตร/๕๐/๓๕-๓๗)
๑.๗ ตรัสสรุปความ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ ๆ ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตกล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ที่เป็นอรหันต์ที่ประกาศกันโครมๆนี้ของเก๊ทั้งนั้น มันน่าเสียดายมันน่าสงสาร แล้วก็อวดดีผยอง แทนที่จะสำนึกสำเหนียกรู้จักส่ิงอันควรก็ไม่เคยสำนึก ผู้มีดวงตาก็อนุโมทนาแม้ไม่ต้องมาหาอาตมาแต่สำนึกเองก็ทำให้ได้บรรลุ ขอเอาใจช่วย
สูตรที่สองคือสามัญผล ทำให้บรรลุเป็นอาริยะ โสดาบัน สกิทาฯอนาคาฯอรหันต์
สุตรที่ สามคือ อัมพัฏฐสูตร อ่านมาถึงสำรวมอินทรีย์…
อินทรียสังวร
ดูกรอัมพัฏฐะ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย? ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌา และ โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วย โสต … ดมกลิ่นด้วยฆานะ … ลิ้นรสด้วยชิวหา … ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย … รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว {น.๑๐๑} จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้ เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรอัมพัฏฐะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
พ่อครูว่า ต้องรู้จักคำว่ากายให้ชัด ถ้าไม่รู้จักก็ปฏิบัติผิดๆ ปฏิบัติแยกส่วน กายก็รู้แต่แค่ร่าง ปฏิบัติจิตก็ไปสะกดจิต hypnotize ไม่มี analysis ไม่แยก มโนปวิจาร ๑๘ เนกขัมมะหรือเคตสิตะก็แยกแยะไม่ออก จะโยนิโสมนสิการได้อย่างไร
ดูกรอัมพัฏฐะ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรอัมพัฏฐะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ ด้วยสติสัมปชัญญะ.
ดูกรอัมพัฏฐะ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทาง ทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรอัมพัฏฐะ นกมีปีกจะบินไปทางทิสาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัว เป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรอัมพัฏฐะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
ในหลวงท่านสอนให้อยู่แบบคนจน แต่พระท่านไม่กระดิกหูเลย
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย คือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.
พ่อครูว่า ท่านสอนในขณะที่คนนิยมเข้าป่ากันมากก็ต้องอนุโลมมาก แม้สังคายนาครั้งแรก พระกัสสปะก็สายป่าอีก
{น.๑๐๒}ว่าด้วยอุปมานิวรณ์ ๕
ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขาจะพึง สำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขา จะพึงมี เหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ โสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และ มีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย บัดนี้เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้ และมี กำลังกายเป็นปรกติ ดังนี้เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจาก เรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้อง เสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจาก เรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้น จากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
{น.๑๐๓}ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้าน อันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น บรรลุ ถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
รูปฌาน ๔
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตนย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์ แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็น จรณะของเธอประการหนึ่ง ดูกรอัมพัฏฐะ แม้นี้แลคือจรณะนั้น.
พ่อครูว่าฌาน ๑ คือทำนิวรณ์หายไปได้แต่มีวิตกวิจาร ปีติ อยู่ ข้างนอกมีการสัมผัสทางาร ๖ สิ่งเหล่านั้นไม่ทำให้เกิดกิเลส มีกายสงบไม่ใช่กายนิ่ง แต่กายคือจิต มโน วิญญาณ มีสงบจากกิเลส คือจิตนั่นแหละ ที่ไม่มีนิวรณ์ ไม่ใช่กายคือร่างภายนอก จิตเราไม่มีกาม ไม่มีพยาบาท ไม่มีถีนมิทธะ ไม่มีอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่มีวิจิกิจฉา เป็นจิตที่เนกขัมสิตอุเบกขา แต่มีวิตกวิจาร มีปีติ มีสุขอยู่ ท่านบอกว่ากายสงบ
ไม่มีกามวิตก ไม่มีพยาบาทวิตก ฌาน ๑ ยังไม่ถึงอุเบกขาต้องฌาน ๓ จึงมีอุเบกขา เพราะระงับวิตกวิจาร ระงับปีติ สุข
ปีติ กับสุข เป็นแบบผรณาปีติ แผ่ซ่าน แม้เป็นอุปกิเลส
กิเลสเป็นของโลกๆ อยากได้มาสมใจ แต่อุปกิเลสคือเราจับกิเลสได้ แต่เราก็มีปีติ ซ้อนทำให้เป็นอุปกิเลส ก็ลดปีติ เป็นฌาน ๒ จิตตั้งมั่นสงัดจากกาม จากพยาบาท
ฌาน ๒ นั้นมีจิตเป็นหนึ่งมากขึ้น ไม่ใช่จิตดับ แต่เป็นเอกัคคตารมย์เพราะวิตกวิจารหมดไป เพราะถ้าเรากดข่มก็ต้องใช้พลังงานวิตกวิจารอยู่ มันยังยากเหมือนหัดจักรยานใหม่ๆ ก็ลืมได้บ้าง เมื่อวิตกวิจารลด เหลือปีติ ก็ลดปีติ ต่อไป ถึงอย่างไรมันก็ลด ใหม่ๆดีใจแรง นานไปก็ชิน ก็ลดเอง ยิ่งรู้ว่าต้องลดก็ลดเร็วอีก จิตเป็นสมาธิ ก็เแบบลืมตา รู้สัมผัส กาย มีกามหรือพยาบาทอย่างไร แข็งแรงมีพลังปัญญาเพิ่มขึ้น เป็นจรณะข้อที่ ๑๓
ฌาน ๓เริ่มมีอุเบกขา หมดปีติ มีแต่สุข ต่อเป็นฌาน ๔ หมดสุข มีเอกัคคตาจิต มีอุเบกขา
ศีล ๕ นี้เป็นปริตตัง เราก็ถือตามกรอบ ทำให้นิวรณ์๕ หมดไป มีสติเต็ม รู้เวทนาในเวทนา
{น.๑๐๔}วิชชา ๘
วิปัสสนาญาณ
ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด(พ่อครูว่า มีแต่มังสวิรัติ คุณหัดกินมังฯใหม่ๆกินข้าวกับขนมนี่กินได้มากมาย มีเยอะแยะ อร่อยด้วย) ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฝั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัย อยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่าง บริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้น วางไว้ในมือ แล้วพิจารณาเห็นว่าแก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลือง แดง ขาวหรือ นวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรา นี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิด แต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรา นี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.
พ่อครูว่า กายเราใสแล้วมองเห็นเหลี่ยมว่า กามสีแดง พยาบาทสีเหลือง ถีนมิทธะสีอื่นๆฯลฯ
สายปัญญานั้นสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ต้นไม่ต้องกล่าวว่าต้องสัมผัสวิโมกข์๘ ด้วยกาย ท่านทำมาแต่ต้นแล้วแต่สายสัทธานุสารีเอาแต่นั่งหลับตาก็ต้องปฏิบัติให้มีกาย ให้มีกายเป็นพยานหลักฐานเรียกว่ากายสักขี ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย อาสวะจึงสิ้นทั้งหมด ไม่ใช่ทำได้แค่อาสวะบางอย่าง จะปฏิญาณว่าวิมุติไม่ได้ พวกสัทธานุสารีต้องปฏิบัติให้ครบกาย โดยเข้าใจวิโมกข์ ๘ ว่าต้องทั้งภายนอกและภายใน ทั้งรูป ทั้งอรูป อัชฌัตตังอรูปสัญญี เอโกพหิทารูปานิปัสสติ ทำตั้งแต่กามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย
ข้อ ๑ รูปีรูปานิปัสสติ ต้องสัมผัสรูปนะ ชานโตปัสโตวิหารติ
ข้อ ๒ ต้องมีพร้อมทั้งในและนอก
ข้อ ๓ ต้องมีการได้ผล สุภันเตวะอธิมุตโตโหติ ได้อธิโมกข์ไปเรื่อยๆ จิตโน้มไปหาวิมุติ เป็นโชคของเราที่เราปฏิบัติ แต่ถ้าผู้ใดปฏิบัติสัตตาวาส ๙ โดยมีวิญญาณฐีติ ข้อ ๓ และ ๔ ส่วนข้อ ๑นั้น ไม่รู้เรื่องหรอก
ต้องมีวิญญาณเกิด จากการกระทบสัมผัส มีผัสสะ ๓ ถ้าเว้นผัสสะเสียจะเป็นฐานแห่งการปฏิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้ กรรมฐานคุณจะต้องมีผัสสะเสมอ
มโนมยิทธิญาณ
ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ(คือทำใจในใจ คือกายเดิมเป็นกายของสัตว์นรก รูปนามนั้นเกิดเป็นกิเลส แต่คุณก็ทำใจให้เป็นกายอื่น เห็นรูปกายคือสิ่งที่ถูกรู้ เป็นกายที่ปราศจากนิวรณ์) มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง(อินทรีย์หมายถึงกำลังหรือตาหูจมูกลิ้นกายก็ได้) ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือน บุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้หญ้าปล้อง อย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง(เป็นธรรมะสอง ทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ)ทำให้เกิด อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ จะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง(จากจิตมีสองมีโลกียะ ก็ทำให้หมดโลกียะเหลือหนึ่งเดียวคือโลกุตระ หรือทำให้กาม พยาบาทหมดไป นิวรณ์หมดไป เหลือแต่จิตที่เป็นฌานเป็นสมาธิ ) อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึง คิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจาก กายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ(ให้ทำที่ใจไม่ได้ให้ทำที่ดินน้ำไฟลม) มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชา ของเธอประการหนึ่ง.
มโนมยิทธิก็คือทำใจในใจของเราให้สำเร็จ ด้วยฤทธิ์ทางใจ อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นไปเพื่อละหน่ายคลายนิวรณ์ ๕ ไม่ใช่เดรัจฉานกถา
เราก็ได้ถึงมโนมยิทธิ….จบ