590201_พุทธศาสนาตามภูมิ-บ้านราชฯ-อัมพัฏฐสูตร-ตอน๑
คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลดเสียง
พ่อครูว่า วันนี้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 …คนที่เห็นคุณค่าความสำคัญที่เราจะใช้เวลาทำอะไรให้เกิดการพัฒนาชีวิตไม่สำคัญ คนที่รู้ความสำคัญในความสำคัญก็พยายามทำเอา พากเพียรเอา ส่วนคนที่ไม่รู้จักความสำคัญในความสำคัญนั้น นี่เป็นสำนวนของพระพุทธเจ้าผู้ที่เห็นความสำคัญในความสำคัญ เป็นสาระแห่งชีวิตจึงเป็นผู้มีปัญญามีความเฉลียวฉลาดในชีวิต ไม่มีชีวิตเป็นโมฆะ แต่ละวันเวลาวินาทีให้เป็นไปเพื่อความละหน่ายคลาย อยู่กับมิตรสหาย ที่จะประพฤติปฏิบัติโดยกรรมของเราให้เป็นไปเพื่อความละหน่านคลายเสมอเสมอจนจบเป็นอะไรกันผู้นั้นคือผู้รู้จักสาระสำคัญเห็นความสำคัญและความสำคัญของชีวิตจริงๆ
ชีวิตก็วนเวียนตกหลุม นรกสวรรค์มีแต่ยิ่งหนักขึ้น ถลำตัวไปใหญ่ขึ้นตลอดเวลาถ้าไม่มีมิตรดีสหายดีไม่มีสัตบุรุษที่คอยกระตุ้นเตือนแนะนำ คอยนำพากันจริงๆ วิ่งทุกวันนี้เป็นยุคใกล้กลียุค เดินทางเข้าสู่ความเสื่อมของโลกีย เป็นกัปที่ออกปลายแล้ว
สนามแม่เหล็กของโลกีย์นั้นจัดจ้าน แม้แต่เรื่องของศาสนาก็เลวร้ายจัด แต่เราก็ตัวเราก็เท่านี้ ทำก็ได้ผลเท่าที่เห็น ไม่มีสิทธิ์ใช้ม.๔๔ กับเขาเลย เราก็หวังพึ่งผู้ใช้ม.๔๔ ควรใช้อาญาสิทธิ์นั้น จะทำให้สังคมประเทศไทยเจริญขึ้นจริงๆ ไม่ใช่พูดประเหลาะ ถ้าท่านใช้ความกล้าหาญ อาสโพ อย่างจริงจังได้นะ จะเป็นบุญคุณแก่โลกเลย โดยเฉพาะประเทศไทยอย่างสำคัญยิ่งเลย
มาอ่าน sms
0893867xxx พ่อครูเคยสอนเคหสิตเวทนา18เนกขัมภสิตเวทนาถ้ารู้ แจ้งเวทนา36ในกาลทั้ง3ก็จักรู้แจ้งรู้จริงเวทนา36อดีตปัจจุบันอนาคตเป็นเนกขัมมสิตอุเบกขา! การปฏิบัติธรรมขั้นอนัตตาธรรมที่เห็นความเป็นจริงของอนาคต36ซึ่งความเป็นอนาคตนั้นไม่เคยมีในโลก!มี แต่อดีต36กับปัจจุบัน36ซึ่งความเป็นอนาคตที่เที่ยงแท้แน่นอน!พ่อครูเคยบอกไว้
พ่อครูว่า…เราต้องวิจัยเวทนา ๓ นี้เป็นหลัก ที่จะตกนรก ขึ้นสวรรค์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่จมหลงว่ามันมีจริงเป็นอัตตาหลงว่ามันเที่ยงหลงว่าเป็นสุข แทนที่จะเห็นเป็นทุกข์อาริยสัจ กลับกลายเป็นเห็นทุกข์โลกีย์ การอยากได้เมื่อไหร่ก็ทุกข์ แต่ไม่ได้หาว่าเป็นทุกข์แท้นะ มันทุกข์จริงมากกว่าสุขที่เป็นปัจจุบันเดี๋ยวเดียวแต่ทุกข์นี้ฝังในอนุสัย มันอยู่กับเราเที่ยงกว่า แต่สุขไม่อยู่กับเราเที่ยงเท่าไหร่ เดี๋ยวก็วนไปเวียนมา ส่วนอทุกขมสุขก็เป็นบ้างในบ้างครั้งเรียกว่าไม่ทุกข์ไม่สุขแบบพักยก เต็มอิ่มแล้วก็ขอพัก ว่างไป ไม่สุขไม่ทุกข์เฉยๆ ไม่ได้เป็นเนกขัมมะที่ชัดเจน
นอกจากเวทนา ๓ ก็มีเวทนา ๕ อันนี้เป็นดีกรี หรืออินทรีย์ของสุขทุกข์ อินทรีย์ที่ทั้งอ่อน หยาบ ละเอียด ถ้าหยาบก็ภายนอก เรียกสุข ทุกข์ แต่ถ้าเป็นภายในเรียกว่าโสมนัสหรือโทมนัส ถ้าละเอียดลึกเข้าไป แล้วมีอุเบกขาอีกอย่าง เป็น ๕
เวทนา ๖ เกิดทางทวาร ๖ กระทบสัมผัสแล้วเกิดธรรมะสองขึ้นมา มันเกิดอาการจริงเราก็สัมผัสแล้วอ่านอาการออกให้ได้จริง เห็นอาการแล้วสามารถบัญญัติเข้าใจตรงภาษาที่ท่านบัญญัติไว้ นี่คือการเรียนรู้ปรมัตถธรรมของพพจ. คือจิตเจตสิก รูป นิพพาน
เวทนา ๖ เกิดจากตาหูจมูก ลิ้น กายใจ ตากระทบรูปเป็นสุขก็ได้ทุกข์ก็ได้หรือเฉยๆก็ได้ หูกระทบเสียงก็เช่นกัน จมูกลิ้นกายสัมผัสหรือในใจปรุงแต่งขึ้นมาเอง ๖ ทวาร อายตนะ ๖ เมื่อสัมผัสก็เกิดอายตนะเชื่อมต่อมีภาวะอาการ เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ พยัญชนะเหล่านี้บอกให้อ่านอาการให้ออก ถ้าเข้าใจได้ตรงคือการเรียนรู้ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาสะกดจิตให้เป็นหนึ่งแล้วคิดว่านี่คือเอกัคคตา ไปหลงแบบเดียรถียร์ที่เขาติดยึดกันนานแล้ว เป็นธรรมะตื้นๆที่ครองโลกอยู่แล้ว พพจ.อุบัติ ก่อนนั้นก็หลงไปติดกับเขา แล้วท่านก็พบว่าไม่ใช่ทาง สุดท้ายก็พบพระพุทธศาสนา ทวนกระแสกับเขาเลย ๑๘๐ องศา
ประเด็น เวทนา ๓ กับเวทนา ๖ นี่แหละ เมื่อสัมผัสแล้วเกิดเวทนา สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ได้ แจกเป็นทวาร ๖ รวมเป็น ๑๘ เวทนา
รากฐานของสุข คือสุ=ดี ข=ว่าง ที่จริง ว่างนี่แหละดี แต่นี่มันไม่ว่าง ต้องว่างจากสุขทุกข์นี่คือสุขโลกุตระ สมบูรณ์แบบเป็นปมังสุขัง ถ้าคนเรียนรู้แล้วลดละได้ สงบสุขจากโลกีย์ได้ ก็ค่อยๆลดลงไป การแยกอาการของเนกขัมมสิตเวทนา ออกจากรสโลกีย์ได้ จากเคหสิตะ ออกมาก็เป็นเนกขัมมะ ทำให้กิเลสจางคลายได้อ่านอาการกิเลสออกว่า จางคลายหรือหมดได้
มีผู้ถามมาจากแฟนเพจ
ผมปฎิบัติธรรมตามคำสอนของพ่อท่านมาได้ระยะหนึ่งแล้ว
สิ่งที่ผมเจออยู่ตอนนี้คือ ผมจับความคิดทัน จับอาการเวลาเกิดกิเลสทัน กำหนดอุเทส แต่ผมเห็นไม่ชัดในอนุปัสสี 4 ได้
ผมอยากทราบว่ายังขาด ตก บกพร่อง ธรรมส่วนไหน ครับ?
ตอบ…ปฏิบัติแล้วเห็นความไม่เที่ยงของอาการกิเลสเรียกว่า อนิจจานุปัสสีจางคลายได้คือวิราคานุปัสสี ทำได้หมดบได้ก็นิโรธานุปัสสี เมื่อเราทำได้ก็ทำซ้ำทำทวนให้นิโรธ แล้วก็ตามเห็นสิ่งที่ได้นี้ จะเห็นถึงความไม่เที่ยง
หนึ่งไม่เที่ยงแบบโลกีย์ คืออาการจิตเราไม่เที่ยงแบบมากขึ้นหนาขึ้นใหญ่ขึ้นปุถุขึ้นนั้นเอง เห็นความเป็นปุถุชนของตน นี่ก็เห็นอนิจจัง แต่เมื่อเราทำแบบทฤษฎีพพจ.ถูกต้องก็จะเห็นว่ากิเลสมันลดลง สมมุติว่ามันมีร้อยอาการมันลดลงสิบก็คือวิราคานุปัสสี กิเลสตัวเล็กลง ดีกรีน้อยลงแรงมันน้อยลง รสชาติมันเบาบางลง
รู้กิเลสได้ด้วยอาการลิง นิมิต อุเทส มันมีอาการที่ให้เรารู้ได้ ทำให้กิเลสลดได้เป็นอุบัติเทพ จนมันดับได้ก็เป็นวิสุทธิเทพ เป็นนิโรธานุปัสสี เห็นความเกิดดับของกิเลส ที่เป็นอกุศลจิต ไม่ใช่เดาหรือตรรกะคิดเอา ไม่ใช่ แต่เห็นอาการจริงๆเลย อาการกิเลสจางคลาย อกุศลจิตดับ รู้จักความเกิดดับไม่ใช่ตรรกะ ขบคิดเอาตามเหตุผล ซาโตริเองไม่ใช่ แต่เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนทำได้นิโรธานุปัสสี ทำซ้ำทำทวนให้ชำนาญมั่นคงแข็งแรงปฏินิสัคคานุปัสสี ทำให้หมดสวรรค์โลกีย์นี่แหละ จนเป็นนิสรณะ จนมันไม่มีเป็นที่พึ่งเลย ไม่มีสิ่งนี้สมบูรณ์แบบ หรือสละออกอย่างสำเร็จเลย แตะปั๊ปก็หลุดเลยๆ
รู้เวทนาในเวทนา ปฏิบัติทุกปัจจุบัน ๓๖ สั่งสมเป็นอดีต ๓๖ ส่วนอนาคตก็ไม่มาถึงสักทีหรอก ในวิชชา ๘ ต้องรู้ อาริยสัจ ๔ เป็น ๔ข้อแรกของอวิชชา ๘ ส่วน ๕ คือส่วนอดีต ๖ ก็ส่วนอนาคต ๗ ก็ส่วนอดีตส่วนอนาคต
เราทำปัจจุบันให้หมดกิเลสสั่งสมเป็นอดีตที่ ๐ ไปตลอดเวลา ทั้งอดีต อนาคตก็ย่อม ๐ ตลอดแน่นอน ให้เป็นนิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
อนาคตคือ ปัจจุบัน+อดีต มันไม่เที่ยงหรอก อดีตกับอนาคต ทั้งปุถุชนและอรหันต์ แต่ส่วนที่มัน ๐ นี่และเที่ยง ๐+๐ = ๐ จะบวกลบคูณหารอย่างไรกับ ๐ ก็ ๐ เสมอ ถ้าเข้าใจสภาวะจะไม่งง
มาสู่บทเรียน
สามัญผล แปลว่าอะไร …แปลว่าผลที่ทำให้เป็นสมณะ สมณะคือผู้ปฏิติแล้วมีมรรคผล เป็นอาริยบุคคล ผลเบื้องต้นคือโสดาบัน
สมณะที่ ๑ คือโสดาบัน นั้นรู้จักหลักเกณฑ์รู้จักตัวตนเรียกว่าสักกายะ อ่านตัวตนอ่านอัตตา (ตัวเราเอง) ตัวอะไร? ก็ตัวของนามธรรมของจิตเจตสิกต่างๆที่มันมีอาการของกิเลส ตัวตนของจิตทั้งหมดก็ไม่ครบ ยังไม่ใช่ตัวตนของทุกข์ของสมุทัย ไม่ใช่ว่าไปอ่านสุข อันไหนสุข ท่านก็ให้เว้นขาด เมื่อเว้นขาดมันก็จะดิ้นก็ทุกข์ เมื่ออยากแล้วหามาบำเรอก็สุข ก็หลงกับของหลอกอันนี้ สุขเกิดจากการบำบัดตัณหา คือตัวการคือสมุทัย แล้วทำอย่างไรมันจะจางคลาย เพราะความจริงมันไม่เที่ยงแต่คุณก็หลงให้มันอยู่ยาวนานเป็นอายุทิพย์ พพจ.ว่ามันไม่จริง ต้องเห็นให้ได้ว่ามันไม่ใช่ตัวจริง เป็นตัวเก๊ตัวผีปลอมเป็นความจางคลา จนดับมันได้ ทำได้ชั่วคราวก็ทำต่ออีกจนทำได้แข็งแรงถาวรมั่นคง เป็นกิจญาณเสร็จแล้ว มันทำได้สมบูรณ์อย่างนิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
ผล โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ สี่ฐานเรียกว่าสมณะ ๔ สามัญผลทำให้เกิดสี่อย่างนี้เป็นของจริงเรียกว่าสามัญผล
คำว่าสามัญนี้แปลไทยว่าเป็นของดาษดื่น แต่ของพุทธนี้ลึกเข้าไปคือของจริงคือสมณะ นี่คือสามัญผล
พระเจ้าอชาตศัตรูก็มาถามพพจ.เมื่อได้ฟังก็เข้าใจ เบื้องต้นให้เอาศีลเป็นหลัก เริ่มต้นด้วยจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ตั้งแต่ข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ไม่ทำร้ายสัตว์ใด ในธรรมนูญพุทธ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นปราชญ์ก็เข้าใจได้ ปฏิบัติแล้วลดละหน่ายคลาย มาเข้ารีตของพพจ. สมบูรณายาสิทธิราชไม่ว่าของแคว้นไหนท่านก็จัดการคนของท่านไป แต่นี่ของพพจ. ก็บอกหลักเกณฑ์ให้เขาทำแล้วได้ผล ท่านก็ถามว่าถ้าข้าทาสของท่านที่ใกล้ชิดมาก เป็นคนโปรดของท่านเลย ถ้าเขาจะมาเข้ารีตแบบนี้ ไม่อยากไปอย่างเดิมแล้ว ยุคนั้นยุคทาสนะ พระเจ้าอชาตศัตรกูก็บอกว่าได้เลย ให้ไปเลยและต้องเคารพเขาด้วย นี่คือผลที่พิสูจน์ได้ จึงมีคนมาทำตาม
เมื่อมีศีลก็ทำตามกรอบปริตตัง เกิดผลเป็นสำรวมอินทรีย์ สติสัมปชัญญะ สันโดษอันเป็นอาริยะ มีจิตที่มีฌาน ๑-๔ แล้วเป็นวิชชา ๘
ซึ่งเกิดผลที่ต่างดจากทั่วไปเขาทำกัน ไม่ว่าจะเป็นพวกตักกีวิมังสีนั่งนึกคิดเอาก็ไม่เกิดผล หรือไปนั่งหลับตาสมาธิ ก็ไม่เกิดผลแบบนี้ ไม่ใช่ทางของพุทธเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใน ๖๒ ทิฏฐิของพรหมชาลสูตร เป็น meditation แต่ที่อาตมาอธิบายเป็นแบบของพพจ.คือ supraconcentration พพจ.ท่านประกาศอย่างประนีประนอม แต่อาตมานี้มารื้อเอาของพพจ.มาประกาศ อาตมาก็ค่อยพูดมาเรื่อย แล้วก็ตอนนี้แรง เพราะไปว่าส่ิงผิดคนที่ผิดก็กระเทือนมาก
มาเข้าสู่อัมพัฏฐสูตร
[๑๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป บรรลุถึงพราหมณคาม แห่งชาวโกศล ชื่ออิจฉานังคลคาม. ได้ยินว่า สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน เขตอิจฉานังคลคาม.
[๑๔๒] ก็สมัยนั้น พราหมณ์โปกขรสาติอยู่ครองนครอุกกัฏฐะ ซึ่งคับคั่งด้วยประชาชน และหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติ อันพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย.
พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล แล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน เขตอิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล.
อาการคือลักษณะที่มันเคลื่อนที่เป็นอาการในใจ ใจเราโกรธก็ผี ใจเราโลภก็ผี แต่ก่อนเราไม่เคยอ่านอาการมันเลยมีแต่ส่งเสริมสนับสนุนมัน มันอยากโกรธก็โกรธสมใจ มันอยากโลภก็ให้มันโลภสมใจ อยากเสพรสก็ให้มัน เราเป็นทาสของกิเลส ใครไม่เคยเป็นทาสยกมือขึ้น? ไม่มีละเว้นหรอก แม้แต่อาตมาก็ยังเคย พพจ.ก็ยังเคย อันนี้คือทาสร้ายแรง พพจ.มาปลดแอดทาส
พพจ.เป็นนักปชต.ที่ก่อนใครเลย สองพันหกร้อยกว่าปีท่านปลดทั้งทาสทั้งวรรณะนี่คือนักปชต.มือเอกเลย นักปชต.แท้มีแต่ช่วยเหลือรับใช้เขารับใช้สังคม อาตมามั่นใจว่าพวกเรานี้นักปชต.บแท้พวกเราสีน้ำตาล มีสุญญตาอยู่กลาง
เทวดาบำเรอกิเลสเรียกว่าสมมุติเทพ รู้ได้ทั่วกันหมดหลงกันหมด แต่ของพพจ.นี้ให้มาลด พอลดได้คืออุบัติเทพให้กิเลสจางคลาย เป็นเทวดาแท้ แยกให้ออกระหวางเคหสิตเวทนากับเนกขัมมสิตเวทนา นี่คือเทวดาแท้สัตว์นรกแท้ ทำได้หมดกิเลสสะอาดบริบูรณ์เรียกว่าวิสุทธิเทพ
ทำได้ชั่วคราวก็ได้ชั่วคราว เราก็รู้เทวดามารพรหม เห็นเทวดาจริงเปิดโลกในจิตเราที่วนเวียนนี่แหละ หลงเสพอบายโลกีย์ จนมารู้ทางออกได้ ค่อยปฏิบัติลดละมา
{น.๘๑}เรื่องอัมพัฏฐมาณพ
[๑๔๓] สมัยนั้นแล อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ เป็นผู้เล่าเรียนทรงจำมนต์รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ[เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยชื่อของสิ่งต่างๆมีต้นไม้เป็นต้น]คัมภีร์เกตุภะ[เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยกิริยาเป็นประโยชน์แก่กวี] พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ [เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงพงศาวดาร มีภารตยุทธเป็นต้น ซึ่งประพันธ์ไว้แต่บุราณกาลนับเป็นคัมภีร์ที่ ๕ คือ นับคัมภีร์อิรุพเพทเป็นที่ ๑ คัมภีร์ยชุพเพทเป็นที่ ๒ คัมภีร์สามเพทเป็นที่ ๓ คัมภีร์อาถรรพณเพทเป็นที่ ๔ คัมภีร์อิติหาสนี้เป็นที่๕]เป็นผู้เข้าใจตัวบทเป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ [ เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องไม่น่าเชื่อต่างๆ] และ มหาปุริสลักษณะ อันอาจารย์ยกย่องและรับรองในลัทธิปาพจน์ คือ ไตรวิทยา อันเป็นของอาจารย์ของตนว่า ฉันรู้สิ่งใด เธอรู้สิ่งนั้น เธอรู้สิ่งใด ฉันรู้สิ่งนั้น.
ครั้งนั้นแล พราหมณ์โปกขรสาติ เรียกอัมพัฏฐมาณพมาเล่าว่า พ่ออัมพัฏฐะ พระสมณะโคดมศากยบุตร พระองค์นี้ทรงผนวชจากศากยสกุล แล้วเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลำดับประทับอยู่ณราวป่าอิจฉานังคลวันใกล้อิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล.
{น.๘๒}พ่ออัมพัฏฐะ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงรู้ว่าเกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นที่ขจรไป จริงตามนั้นหรือไม่ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่เราทั้งหลายจะได้รู้จักท่านพระโคดมพระองค์นั้นไว้ โดยประการนั้น.
อัมพัฏฐมาณพถามว่า ท่าน ก็ไฉนเล่า ข้าพเจ้าจึงได้รู้ว่าเกียรติศัพท์ของท่านพระโคดม พระองค์นั้นที่ขจรไป จริงอย่างนั้นหรือไม่ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่?
พราหมณ์โปกขรสาติตอบว่า พ่ออัมพัฏฐะ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมาแล้วในมนต์ของเราซึ่งพระมหาบุรุษประกอบแล้วย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่น ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาตราครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขตถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
(เป็นบุญญาบารมีมิใช่อาชญาบารมี)
พ่ออัมพัฏฐะ เราเป็นผู้สอนมนต์ พ่อเป็นผู้เรียนมนต์.
อัมพัฏฐมาณพรับคำพราหมณ์โปกขรสาติแล้ว ลุกจากที่นั่ง ไหว้พราหมณ์โปกขรสาติกระทำประทักษิณแล้วขึ้นรถม้าพร้อมด้วยมาณพหลายคน ขับตรงไปยังราวป่าอิจฉานังคลวัน ตลอดภูมิประเทศเท่าที่รถจะไปได้ ลงจากรถเดินตรงไปยังพระอาราม.
[๑๔๔] สมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกำลังจงกรมอยู่กลางแจ้ง.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่จงกรม ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะภิกษุเหล่านั้นว่าท่านผู้เจริญเวลานี้ท่านพระโคดมพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน พวกข้าพเจ้า พากันเข้ามาที่นี่ เพื่อจะเฝ้าพระองค์ท่าน.
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นคิดเห็นร่วมกันเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพผู้นี้เป็นคนเกิดในสกุลที่มีชื่อเสียงทั้งเป็นศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติผู้มีชื่อเสียงอันการสนทนาปราศรัยกับพวก {น.๘๓} กุลบุตร เห็นปานนี้ ย่อมไม่เป็นการหนักพระทัยแก่พระผู้มีพระภาคเลยดังนี้แล้วจึงตอบอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ นั่นพระวิหารมีประตูปิดอยู่ ท่านจงสงบเสียงเข้าไปทางพระวิหารนั้น ค่อยๆเข้าไปที่เฉลียงกระแอมไอแล้วเคาะบานประตูเถิดพระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดประตูรับท่าน.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพสงบเสียง เข้าไปทางพระวิหารซึ่งมีประตูปิดอยู่นั้น ค่อยๆ เข้าไปยังเฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะบานประตู พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตู อัมพัฏฐมาณพ เข้าไปแล้ว แม้พวกมาณพก็พากันเข้าไปปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๔๕] ฝ่ายอัมพัฏฐมาณพ เดินปราศรัยบ้าง ยืนปราศรัยบ้าง กับพระผู้มีพระภาค ผู้ประทับนั่งอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า อัมพัฏฐะ เธอเคยสนทนาปราศรัยกับพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์เหมือนดังเธอ เดินบ้างยืนบ้าง สนทนาปราศรัยกับเราผู้นั่งอยู่ เช่นนี้หรือ?
อ. ข้อนี้หามิได้ พระโคดมผู้เจริญ เพราะว่าพราหมณ์ผู้เดิน ก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้เดิน พราหมณ์ผู้ยืนก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้ยืน พราหมณ์ผู้นั่งก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้นั่งพราหมณ์ผู้นอนก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้นอน.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญแต่ผู้ใดเป็นสมณะโล้นเป็นคฤหบดีเชื้อสายกัณหโคตร เกิดจากพระบาทของท้าวมหาพรหม ข้าพเจ้าย่อมสนทนาปราศรัยกับผู้นั้น เหมือนกับที่สนทนาปราศรัยกับพระโคดมผู้เจริญนี้.
อัมพัฏฐะ ก็เธอมีธุระจึงได้มาที่นี้ ก็พวกเธอมาเพื่อประโยชน์อันใดแล พึงใส่ใจถึงประโยชน์นั้นแหละไว้ให้ดี ก็อัมพัฏฐมาณพ ยังไม่ได้รับการศึกษาเลย สำคัญตัวว่าได้รับการศึกษาดีแล้ว จะมีอะไรอีกเล่า นอกจากไม่ได้รับการศึกษา.
ลำดับนั้น อัมพัฏฐมาณพถูกพระผู้มีพระภาคตรัสตำหนิด้วยพระวาจาว่า เป็นคนไม่ได้รับการศึกษา โกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าข่มว่ากล่าวพระผู้มีพระภาค คิดว่าเราจักต้องให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหายได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
{น.๘๔}ท่านโคดม พวกชาติศากยะดุร้าย หยาบช้า มีใจเบา พูดพล่าม เป็นแต่พวกคฤหบดี แท้ๆ ยังไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์
ท่านโคดม การที่พวกศากยะเป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆ แต่ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย.
อัมพัฏฐมาณพ กดพวกศากยะว่า เป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆ นี้เป็นครั้งแรก ด้วยประการฉะนี้.
[๑๔๖] อัมพัฏฐะ ก็พวกศากยะได้ทำผิดต่อเธออย่างไร?.
ท่านโคดมครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ไปยังนครกบิลพัสดุ์ด้วยกรณียกิจบางอย่างของ พราหมณ์โปกขรสาติผู้อาจารย์ ได้เดินเข้าไปยังสัณฐาคารของพวกศากยะ เวลานั้นพวกศากยะและศากยกุมารมากด้วยกันนั่งเหนืออาสนะสูงๆในสัณฐาคารเอานิ้วมือสะกิดกันและกันเฮฮาอยู่เห็นทีจะหัวเราะเยาะข้าพเจ้าเป็นแน่ไม่มีใครเชื้อเชิญให้ข้าพเจ้านั่งเลย.
ท่านโคดมข้อที่พวกศากยะเป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆแต่ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย.
อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่าเป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆนี้เป็นครั้งที่สอง ด้วยประการฉะนี้.
[๑๔๗] อัมพัฏฐะ แม้นางนกไส้ก็ยังเป็นสัตว์พูดได้ตามความปรารถนาในรังของตนก็พระนครกบิลพัสดุ์เป็นถิ่นของพวกศากยะอัมพัฏฐะไม่ควรจะข้องใจเพราะการหัวเราะเยาะเพียงเล็กน้อยนี้เลย.
ท่านโคดม วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ ศูทร บรรดาวรรณะ๔เหล่านี้๓วรรณะคือกษัตริย์เวสส์ศูทรเป็นคนบำเรอของพราหมณ์พวกเดียวโดยแท้.
{น.๘๕}ท่านโคดม ข้อที่พวกศากยะเป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆ แต่ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย.
อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่า เป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆ นี้เป็นครั้งที่สาม ด้วยประการฉะนี้.
[๑๔๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพผู้นี้ กล่าวเหยียบย่ำพวกศากยะอย่างหนัก โดยเรียกว่า เป็นแต่พวกคฤหบดีแท้ๆ ถ้ากระไร เราจะพึงถามถึงโคตรเธอดูบ้าง
แล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กับอัมพัฏฐมาณพว่า
อัมพัฏฐะ เธอมีโคตรว่าอย่างไร?
กัณหายนโคตร ท่านโคดม.
อัมพัฏฐะ ก็เธอระลึกถึงโคตรเก่าแก่อันเป็นของมารดาบิดาดูเถิด พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกนางทาสีของพวกศากยะ ก็พวกศากยะเขาพากันอ้างถึงพระเจ้าอุกกากราชว่าเป็นบรรพบุรุษ.
ว่าด้วยศากยวงศ์
[๑๔๙] อัมพัฏฐะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าอุกกากราชทรงพระประสงค์จะพระราชทานสมบัติให้แก่พระโอรสของพระมเหสี ผู้ที่ทรงรักใคร่โปรดปราน จึงทรงรับสั่งให้พระเชฏฐกุมาร คือพระอุกกามุขราชกุมาร พระกรกัณฑุราชกุมาร พระหัตถินีกราชกุมาร และพระสีนิปุระราชกุมาร ออกจากพระราชอาณาเขต พระกุมารเหล่านั้น เสด็จออกจากพระราชอาณาเขตแล้ว จึงไปตั้งสำนัก อาศัยอยู่ ณ ราวป่าไม้สากะใหญ่ริมฝั่งสระโปกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับ พวกพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน.
อัมพัฏฐะ ต่อมาพระเจ้าอุกกากราชตรัสถามหมู่อำมาตย์ราชบริษัทว่า บัดนี้พวกกุมารอยู่กัน ณ ที่ไหน?.
พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ มีราวป่าไม้สากะใหญ่อยู่ริมฝั่งสระโบกขรณี ข้างภูเขาหิมพานต์ บัดนี้ พระราชกุมารทั้งหลายอยู่ ณ ที่นั้น พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับ พวกพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน. .
{น.๘๖}อัมพัฏฐะ ทีนั้นพระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านทั้งหลาย พวกกุมาร สามารถหนอ พวกกุมารสามารถยอดเยี่ยมหนอ.
อัมพัฏฐะ ก็พวกที่ชื่อว่าศากยะปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และพระเจ้าอุกกากราชพระองค์นั้น เป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ
และพระเจ้าอุกกากราชมีนางทาสีคนหนึ่งชื่อทิสา นางคลอดบุตรคนหนึ่ง ชื่อกัณหะ กัณหะพอเกิดมาก็พูดได้ว่า แม่จงชำระฉัน จงให้ฉันอาบน้ำ แม่จ๋า ขอแม่จงปลดเปลื้องฉันจากสิ่งโสโครกนี้ ฉันเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่แม่.
อัมพัฏฐะ มนุษย์สมัยนี้เรียกปีศาจว่า ปีศาจ ฉันใด มนุษย์สมัยนั้นก็ฉันนั้น เรียกปีศาจ ว่า คนดำ มนุษย์เหล่านั้นจึงกล่าวกันเช่นนี้ว่า ทารกนี้พอเกิดมาก็พูดได้ คนดำเกิดแล้ว ปีศาจเกิดแล้ว. อัมพัฏฐะ ก็พวกที่ชื่อว่ากัณหายนะ ปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และกัณหะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ.
อัมพัฏฐะ เธอระลึกถึงโคตรเก่าแก่อันเป็นของมารดาบิดาดูเถิด พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกทาสีของพวกศากยะ ด้วยประการฉะนี้แล.
ว่าด้วยวงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ
[๑๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าทรงเหยียดหยาม อัมพัฏฐมาณพด้วยพระวาทะว่าเป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจา ไพเราะ เป็นบัณฑิต และเธอสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระโคดมผู้เจริญได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะมาณพเหล่านั้นว่า ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐ มาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล มีสุตะน้อย เจรจาไม่ไพเราะ มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบในคำนี้ กับพระสมณโคดมได้ อัมพัฏฐมาณพจงหยุดเสียเถิด พวกเธอจงโต้ตอบกับเราในคำนี้
ก็ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูตร เจรจา ไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระสมณโคดมได้ พวกเธอจงหยุดเสียเถิด อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับเรา ในคำนี้.
{น.๘๗}มาณพเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุลเป็นพหูสูตร เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบในคำนี้กับพระโคดมได้ พวกข้าพเจ้าจักนิ่งละ อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับพระโคดมในคำนี้เถิด.
จบ