610603_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ อานาปานสติสูตรพิสดาร ตอน 1
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://drive.google.com/open?id=1iPzGbH0CsAcBN670kJlgSABjbe5WvC6xib5QaOgna_M
ดาวโหลดเสียงที่..https://drive.google.com/open?id=1hy-vCoeRrEQQQqmV5hB9rBBXD9zbOl0e
ดูยูทิวป์ได้ที่…
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2561 ที่บวรราชธานีอโศก เป็นรายการวิถีอาริยธรรม ที่สื่อสาระโลกุตระ ใกล้ถึงงานอโศกรำลึกแล้ว 5 -11 มิถุนายน 2561 งานอโศกรำลึก วันที่ 5 เราก็มาแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ งานอโศกรำลึก มีนิทรรศการแสดงผลงานการทำงานของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ วันที่ 4 เป็นวันชาวนาด้วย จะมีการโยนกล้าข้าวที่นาลานกราบฯ แล้ววันที่ 5 เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก จะไปโยนข้าวที่นาคำยอด ก็แบ่งกันดูแลนา และจะมีต้นไม้ให้ปลูกมากกว่า 2500 ต้น ที่บ้านราชฯจะมีการปลูกต้นไม้ให้มาก มีปลูกอ้อยด้วย เพราะเราจะเลิกใช้ผงชูรสและบริวาร เลิกไขมันทรานส์และต่อไปจะเลิกกินน้ำตาลทรายขัดขาว หันมากินน้ำตาลตามธรรมชาติ เพื่อให้ชาวอโศกเป็นกลุ่มชนที่อายุยืนยาวและแข็งแรงดีด้วย ทำให้มีอาการน่าเลื่อมใส ให้คนดีๆอายุยืนยาวแข็งแรงด้วยศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรือง
สื่อธรรมะพ่อครู(การเมืองบุญนิยม) ตอน เปิดศักราชโลกโลกุตระ
พ่อครูว่า…เห็นหน้าใหม่ๆหลายคน อาตมาไม่ชินตา ใครที่มาครั้งแรกยกมือซิ …หลายคนเลย ก็ยินดีต้อนรับ ตอนนี้ก็รู้สึกว่าจะเข้าใจกันเพิ่มขึ้น จากนี้ไปก็น่าจะเป็นยุคที่เปิดศักราช ชาวโลกุตระ น่าจะเป็นยุคเปิดศักราชของโลกโลกุตระ หมายความว่า คงจะเป็นยุคที่ แสงสว่าง ปลายอุโมงค์ ไกลๆ มันคงสาดส่องมาถึงแล้ว คนข้างนอกก็คงจะเข้าใจเต็มใจ และสมัครใจที่จะมาเพราะว่ามีความอิสระเสรีภาพ เราไม่ไปล่อลวงประเล้าประโลม ให้คนรู้เองเข้าใจเองซาบซึ้งเองแล้วยินดี ว่าอย่างนี้หรือ ต้องเอาสิอย่างนี้ ตัวแรกของมูลสูตรที่พระพุทธเจ้าบอกว่ามีฉันทะเป็นมูล มายินดีมาทำตามเอง ถึงจะเป็นของจริง
ใครก็ตามถ้าเกิดธาตุจิต ฉันทะธาตุ มันเป็นความยินดีพอใจ โดยเฉพาะมันยินดีพอใจที่รู้ว่าอันนี้สิ ไม่ใช่สิ่งที่เราเคยวนเวียนมากี่ล้านปี สุขๆทุกข์ๆ ทุกข์ๆสุขๆแบบโลกีย มันไม่ใช่ นี่มันเป็นแบบโลกุตระ มันเป็นโลก ดาวคนละดวงเป็นดาวดวงใหม่ ไม่ใช่ดาวดวงที่เราวนเวียนอยู่อย่างเดิม เราเห็นแล้วแล้วสามารถเข้ามาได้ด้วยมาตรงนี้ใช่เลย เป็นดาวดวงที่เจริญ มันจะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งคนทั่วไป โลกียะ จะคำนึงในลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข กาม อัตตาเท่านั้น น่าเบื่อ แต่เขาไม่เบื่อกันเสียที พอรู้จักทางออกว่ามีโลกใหม่แล้วเราก็เข้ามาได้ เป็นความยินดีชนิดโลกุตระจะมีฉันทะ เราได้สัมผัสของจริง
ตอนนี้น่าจะเปิดศักราชให้คนได้เริ่มรู้ เข้าใจแล้วมาสัมผัสแล้วได้ แต่ก่อนก็มีแต่น้อยทยอยมา คนมีบารมีเก่าแสวงหา แต่ตอนนี้ แม้คนจะไม่ตั้งใจจะคิดเข้ามาโลกุตระมาหานิพพาน แต่เขาจะมา และรู้สึกว่าตัวเองต้องมาเอาอันนี้ เกิดฉันทะเกิดความยินดีในโลกใหม่ อาตมาว่าครั้งนี้จะได้เปิดศักราชอย่างนี้
ในวันที่ 5 วันอโศกรำลึกที่จะถึงปีนี้ อายุเต็ม 84 ของอาตมา ขึ้น 85 แม้จะมีกิจกรรมแบบเก่าแต่ไม่ใช่แบบของปุถุชนทั่วไปคนข้างนอก แต่ก็เปิดกว้างสาธารณะผู้ที่ยินดีก็มาได้ มาแล้วก็ต้องกลมกลืนนะ หากมาแล้วไม่กลมกลืน มาเป็นจระเข้ขวางคลองก็แน่นอนคุณก็จะต้องถูกเขาจัดการเอาออกไปแน่นอน มันเป็นปฏิปักษ์ไม่ลงรอยก็ไม่ได้
งานนี้ก็จะลองดูมาจัดที่อุบลราชธานี ปลายตะวันออก ชายแดนสุดเขต ปากช่องปากเซออกไปก็เป็นเขตลาวแล้ว คนจะมาจะต้องใจถึงและเต็มใจมาจริงๆ ไม่ใช่ไปมาสะดวก ต้องใช้เวลาใช้ความพยายามในการมา ก็เป็นการคัดเลือกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่ใจถึง ก็คงจะได้เห็นได้ดูความจริง แม้แต่ทางสื่อสาร ตอนนี้ก็มีสื่อสารมา เป็นสื่อสารทั่วไป เป็นสื่อสารของสาธารณะของสากล สื่อสารของเรานั้นจะต้องสนใจจริงๆจึงจะเปิดดู แต่สื่อสารทั่วไปของโลก จะมาเชื่อมกับเรา มาเปิดศักราช ยังไม่เคยมีมาเป็นเรื่องเป็นราวอย่างนี้เลยแต่ไหนแต่ไรมา ก็ยินดีที่จะเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น
SMS วันที่ 29 พค.- 1 มิย. 2561
_2946ยาสามัญประจำบ้านยูอีคอฟเป็นยาน้ำแก้ไอมะขามป้อมบรรเทาอาการไอ. ขับเสมหะ. ทำให้ชุ่มคอ. อยากให้พ่อท่านได้ฉันหายเร็วมากค่ะ. ดีจริงๆค่ะ
_0015ทำไมพ่อท่านฯจึงตั้งชื่อธรรมสถานนี้ว่า “ภูฟ้าผาธรรม” ความหมายคืออะไรครับ
พ่อครูว่า…คำว่าภูไม่ใช่ภาษาไทยโดยตรง แต่ไทยเรียก เขา คำว่า ฟ้า เป็นภาษาไทย ก็ผสมกัน ภู คือเนินที่ไม่เรียบราบ สูงขึ้นๆ กว่าพื้นราบ เป็นดินเป็นหิน เป็นวัตถุธาตุดิน จับตัวสูง เป็นที่อาศัยของพืช สัตว์ มีน้ำด้วยก็อาศัยกัน ดินน้ำไฟลม พืช สัตว์
ดินสูงก็เรียกภู ฟ้าก็สูง เสร็จแล้วก็มีคำว่า ผาธรรม
ผา คือ แผ่นกำแพง กั้น มีหน้าที่ต่างกัน ภูนั้นสูงบอกลักษณะหนึ่งบอกมิติของความสูง ส่วนผาบอกมิติของความแข็งแรง ต้านทานการกระทบกระแทกการสลาย มันมีคนละหน้าที่
ภูฟ้าจึงบอกหน้าที่หนึ่ง ผาก็บอกหน้าที่หนึ่ง
ธรรมะคือสิ่งทรงไว้ ทรงไว้ซึ่งโลกียะที่ดี ของเราทั้งโลกียะที่ดีและโลกุตระที่แท้ ที่สูงและต้านทานอะไรต่างๆได้
ถามว่าทำไมตั้งชื่อนี้ ก็มันเข้าท่า ความหมายดี เป็นสิ่งที่น่าได้นะ เป็นของดี แล้วก็เป็นของดีจริงๆ เราก็เอามาใช้
_6242กราบ นมสก.พ่อครู-สมณ-สขม ด้วยความเคารพยิ่ง ขออนุโมทนากับครอบครัวตันติวัฒนไพศาลในโอกาสมงคลฤกษ์วันวิสาขบูชาถวายธรรมสถานภูฟ้าผาธรรม..เป็นพุทธบูชา และ บูชาพ่อครู สมณ โพธิรัก ในวันสำคัญนี้..เจ้าค่ะ
_3867นอกจากผู้น้อยจะได้เห็นพระภิกษุสมณะชีพราหมณ์ที่ทรงเครื่องด้วยชุดจีวรฤาชุดขาวชุดเดียวในโลก!ก็ยังได้เห็นชาวอโศกชุมชนเดียวในสยามสวมเสื้อผ้าประหยัดที่สุดในโลกด้วยชุดม่อฮ่อมชุดประจำพื้นบ้านเก่าแก่ที่สุดในสยาม!
พ่อครูว่า…พระทุกวันนี้นุ่งห่มสีที่พระพุทธเจ้าห้ามไว้ก็มีเยอะ เขาใช้สีแสดก็บอกว่าแดงก็ไม่ใช่เหลืองก็ไม่ใช่ ก็พูดดำน้ำไปเรื่อย คนเราจะดันทุรังไม่ดันสุรังก็ดันไป อาตมาพาดันสุรังไม่มา ไปดันทุรัง ทุคือไม่ดี สุ คือดี
สีจีวรต้องห้าม มี 7 สี
1.สีครามล้วน 2.สีเหลืองล้วน 3. สีแดงล้วน 4.สีบานเย็นล้วน 5. สีดำล้วน 6. สีแสดล้วน 7. สีชมพูล้วน (พตปฎ. เล่ม 5 ข้อ 169)
เดี๋ยวนี้เขาละเมิดหน้าตาเฉย ใครยังจะดันทุรังก็ดันไป ใครจะดันสุรังก็ดันเถิด
_0461ใครบอกว่าชาวอโศกนั่งสมาธิไม่เป็น วันนี้เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่เห็นพ่อครูพานั่งสมาธิเห็นแล้วทึ่งเลยครับ รู้จักชาวอโศกมาหลายปีเพิ่งเคยเห็น อยากให้ งานปลุกเสกพุทธาหรืองานสำคัญชาว อโศกพาฝึกทุกวันนะครับฝึกเจโตสมาธิแบบสัมมาทิฏฐิขอบคุณมากครับ
_8866เมื่อวานพ่อท่านยังเทศน์อยู่เลยที่ภูฟ้าฯ ความว่าชุมชนชาวอโศกพ้นระดับนี้แล้ว รักษาศีล 8 ถ้าวุฒิภาวะยังไม่ถึงอีก ก็ไปศีล 5 อันนี้ฝึกทีละข้อตามวุฒิภาวะ
พ่อครูว่า…ใน 26 ข้อของจุลศีลก็มีแง่มุมให้ปฏิบัติ คนที่แย่ที่สุด ต้องปฏิบัติถึง 26 ข้อถึงบรรลุอรหันต์ แต่คนที่ไม่แย่เกินไป ปฏิบัติศีลไม่กี่ข้อไม่ถึง 26 ข้อก็บรรลุอรหันต์ได้ บางคนแค่ศีลข้อเดียวก็บรรลุอรหันต์ได้ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าคัดสรรมาแล้ว เป็นวิธีการคัดเลือก อย่างจริงๆเลยนะ concise ท่านคัดเลือกมาแล้วเป็นสูตรที่เหมือนกวีที่คัดมา การแต่งกวีก็ต้องเอาคำที่เรียงอย่างคัดสั้น ให้ได้ความเยอะ เหมือนทุกวันนี้กล่องนิดเดียว ให้ได้ข้อมูลมากเป็นล้าน gb เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าท่านมีวิธีของท่านแม้จะตั้งหลักเกณฑ์ของศีล สมาธิ ปัญญา
จุลศีล 26 ข้อนี้อาตมาว่าสมบูรณ์แล้ว แต่คนไม่เข้าใจแล้วไม่มีศีลแล้วด้วย
วงการหลักศาสนาพุทธเถรสมาคม เขาไม่ถือศีลแต่เขาถือวินัย 227 วินัยเป็นกฎหมายอาญามีบทลงโทษ ส่วนศีลนั้นไม่มีบทลงโทษ เป็นข้อปฏิบัติประพฤติเป็นธรรมนูญ เหมือนรัฐธรรมนูญไม่มีโทษ แต่กฎหมายลูกกฎหมายอาญาจึงแยกมา ตั้งเป็นข้อย่อย ที่มีโทษในแต่ละระดับ แต่ว่าธรรมนูญไม่มีบทลงโทษ เป็นนิติศาสตร์
วินัยเป็นกฎหมายอาญา มีโทษ ส่วนศีลเป็นหลักปฏิบัติ ปฏิบัติได้ก็เจริญ ปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่เจริญ ซวยไป ศีลเป็นอิสระ แต่วินัยเป็นหลักเกณฑ์ที่มีการบังคับ จึงต่างกัน ความหมายของวินัยกับศีล ประเด็นง่ายๆ ศีลไม่ใช่ข้อบังคับ แต่วินัยเป็นข้อบังคับและมีหลักลงโทษ ศีลไม่มีหลักลงโทษ นี่เป็นประเด็นง่ายๆ ที่ให้เห็นความแตกต่าง แค่นี้ก็ไม่เข้าใจ จนกระทั่งทำผิด ศีลไม่มี ภิกษุเขาบอกว่าถือศีล 227 นั่นมันพระวินัย ส่วนจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เขาก็ไม่เข้าใจ
ศีลเกิดก่อนวินัย พระพุทธเจ้าสร้างศาสนาด้วยศีล ไม่ใช้สร้างศาสนาด้วยวินัย วินัยนั้นห้ามปฏิบัติละเมิด หากละเมิดก็มีบทลงโทษ ถ้าใครยังไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษท่านก็ไม่ตั้งพระวินัยไม่ออกกฎระเบียบข้อนี้
วินัยมีหลักเกณฑ์มีโทษรับรอง ต้องบังคับด้วย ส่วนศีลเป็นหลักปฏิบัติจะเลือกทำอะไรก็ได้ จะปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ได้ เป็นอิสระ ความอิสระระหว่างพระวินัยกับศีลก็มีต่างกัน แค่นี้ก่อนก็ไม่รู้ความแตกต่าง ลิงคะ ได้อย่างนี้เป็นต้น
ทุกวันนี้อาตมาพยายามอธิบายเรื่องของศีล ซึ่งมันเป็นเรื่องยาวก็อธิบายไปเรื่อยๆ
เจตนาที่อาตมาจะอธิบายวันนี้ ในอโศกรำลึกจะอธิบายแบบคนจน สำหรับวันนี้
พระไตรปิฎก เล่ม14 ข้อ 282
[282] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 40 รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[283] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ คือวันเพ็ญเดือนสิบสองเพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 40 รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[284] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมากมีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
[285] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
(พ่อครูว่า… ในชาวอโศกนี้ มีอรหันต์แน่นอน อย่างน้อยอาตมาเอง แต่เขายึดถือคำสอนว่า หากเป็นอรหันต์แล้วบอกว่าเป็นอรหันต์ คนนั้นไม่ใช่อรหันต์ เป็นการยึดคำสอนที่ผิดๆและนอกจากอาตมาก็มีคนอื่นอีก จะอรหันต์บางส่วนเหลือเศษอีก บางอย่างหมดอาสวะแล้วเหลืออนุสัยอีกเป็นต้น)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง 5 จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ(พระอนาคามี)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ 3 อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ 3 อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…สติปัฏฐาน 4 เป็นแกนต้นของโพธิปักขิยธรรม 37 ผู้ที่รู้จักกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม นั่นคือผู้ปฏิบัติที่สามารถบรรลุได้ ถ้ายังปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ไม่เป็น ไม่สัมมาทิฏฐิ ไม่ถูกต้อง ไม่มีทางจะปฏิบัติให้ตายอย่างไรก็ไม่มีทางบรรลุ เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน 4 จะเป็นเรื่องสำคัญมาก หัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิบัติธรรมเลย ต้องไปศึกษากาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อจะทำให้ถูกต้องสัมมาทิฏฐิ กายไม่ใช่ธาตุตัวเดียว กายต้องมีสองธาตุเสมอ กายะ เป็น ทเวธัมมา เป็นธรรมะคู่ แล้วกายไม่ใช่แต่เรื่องภายนอก ที่มีแต่ดินน้ำไฟลม ไม่มีจิตร่วม อย่างนั้นมิจฉาทิฏฐิ แต่ทุกวันนี้คำว่า กายในภาษาไทย หมายถึงแค่ดินน้ำไฟลม มันได้ผิดเพี้ยนไปจากภาษาบาลีแล้ว
คำว่ากายคำเดียวหากเข้าใจผิดก็หมดสิทธิ์เป็นอรหันต์ ปฏิบัติไปไม่มีทางเป็นไปได้
อาตมาเอาคำว่ากาย มาแยกให้ฟัง ตั้งแต่มูลกรรมฐาน 5 ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ท่านให้พิจารณาแยกกายแยกจิต
ผมเรานี่ มันติดกับตัวเรา ขนก็ติดกับตัวเรา เล็บ ฟัน หนัง อธิบายเล็บนี่กลางๆดี อธิบายได้ง่ายสุด
กายนี้ ตถาคตหมายถึงจิต มโน วิญญาณ ไม่ได้หมายถึงแค่ร่างสรีระ ภายนอก คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็บอกว่า พระพุทธเจ้าอธิบายไว้จริงๆเหรอ โพธิรักษ์เอาอะไรมาพูด อาตมาโชคดีที่มีพระไตรปิฎกยืนยันเป็นหลักฐาน พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 230 ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง เล่ม 16 ข้อ 230
[286] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…สัมมัปปธาน 4 คือความเพียร 4
-
สังวรปธาน (เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น)
-
ปหานปธาน (เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว)
-
ภาวนาปธาน (เพียรสรรสร้างให้กุศลเกิดขึ้น)
-
อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ ไม่ให้เสื่อมลง)
(พระไตรปิฎก เล่ม 21 ข้อ 14)
สังวรปธานต้องลืมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบสัมผัสแล้วก็ต้องอ่านเวทนาเป็นตัวสำคัญ อ่านอาการหรืออ่านอารมณ์ แล้วแยกอาการแยกอารมณ์ แยกให้รู้ชัดแล้วรู้เหตุที่มาร่วมกับจิตของเราที่ผสมกัน แล้วปรุงแต่งเป็นแบบโลกโลกีย์ อันนี้เป็นตัวตนของโลกีย์ รสชาติโลกีย์ เป็นความหลง เป็นสิ่งที่น่าได้น่ามีน่าเป็นที่เป็นโลกีย์ เราเรียนรู้แล้วเราก็ตามหาเหตุมัน หลงอะไร หลงว่ามันทุกข์ หลงว่ามันสุข คนหลงว่าสุขนั่นแหละเป็นธรรมดา คนหลงยึดทุกข์แล้วชอบใจชอบความรุนแรงชอบความเหี้ยมโหดชอบเตะต่อยตบ พวกนี้คบยากเป็นมาโซคิส เราไม่เอาด้วย เรามาเป็นคนที่มีเมตตามีความช่วยเหลือกัน จะไปเป็นคนที่ไปเบียดเบียนกันทำร้ายกันทำไม หากเป็นผู้ประเสริฐฉลาดแล้วก็จะรู้ทิศทาง จะมาเอาในแนวทางที่ไม่ไปในทางรุนแรงเบียดเบียน สรุปก็คือภาษาอังกฤษเรียกว่าซาดิสม์ เราไม่เอาความรุนแรงต้องการความเรียบร้อยที่ถูกสภาพจะรุนแรงก็ต้องมีผลดี
ความรุนแรงนี้เข้าใจง่ายกว่าความดูดดึงสะสมไว้เรียกว่าความรัก ความดูด อันนี้แหละมันเนียนในมากเลย ก็ต้องมาพิจารณาเรื่องนี้ แล้วเอาสรุปคือ เรียนรู้ตัวราคะกับโทสะ โทสะคือตัวทุกข์ร้อนรุนแรง ไม่มีสุข ส่วนความสุขนั่นคือชอบใจมีรสชาติอัสสาทะ มีรสชาติพอใจ เราก็เลิกรสที่เราพอใจนี้ ชัดเจนว่า ให้มันลดลงจางคลายลงเบาบางลง จนกระทั่งเข้าใจ แม้มันละเอียดเราจับไม่ติดแล้ว เราก็ไม่ต้องสนใจ เราได้เท่านี้เอาเท่านี้ก่อน กระทบผัสสะแล้วอย่าให้มันเกิดความชอบที่เราอ่านได้ เราสัมผัสระกำ เราชอบระกำได้แตะได้สัมผัสระกำ อาการที่เราชอบนั้นต่อไปมันก็ไม่เหลืออีกเลยจนกระทั่งมันเหลือนิดนึง เหลือนิดนึง ก็ทำให้ไม่มี มันใกล้มากเลย นึดนึงเรียกอาสวะ มันหมดหยาบใหญ่เหลืออาสวะนิดนึงก็เอาไว้ก่อน ศึกษาอันอื่นๆอีก มันก็เหลืออีกนิดนึง ศึกษาอันอื่นอีกมันก็เหลืออีกนิดนึง คุณก็จะรู้ว่าอันที่มีอีกนิดนึงนี้มันก็ใช่ คุณก็จะเชื่อเลยว่าอย่างนี้เองมันมีของคุณเองเป็นปัจจัตตัง คุณจึงจะอาศัยเทียบกันได้ อันนี้มันยังมีอยู่นะ อันนี้มันผ่านแล้วอันนี้มันมีอีกนิดนึง อันนี้มีอีกนิดนึง อันนี้มีอีกนิดนึงเราก็จะรู้ว่าอันนิดนึงนี้มันชัดเจนอย่างไร แล้วจะให้มันหายไปอย่างไม่มีเลยมันก็จะชัดเจน ความนิดนึงกับไม่มีเลยมันยาก คุณก็จะรู้มันได้ด้วยตัวเองไม่มีใครทำให้คุณได้ แต่ขั้นนั้นความนิดนึงที่ไม่มีนี้ มันก็ไม่ยากลำบากไม่เป็นพิษภัยแล้ว
ขั้นตอนโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีนี้ ขั้นอนาคามีภูมิจะเหลือนิดนึง อย่าไปกังวลเอาไว้ก่อน จนกระทั่งคุณหมดจากโสดาบัน สกิทาคามี เหลือแต่อนาคามีหยาบ เหลือแต่อนาคานิดๆ ก็มาล้าง เห็นขั้นตอนไหมว่าอะไรควรเอาไว้ก่อน อะไรควรทำก่อน มันเป็นลำดับที่ไม่ง่ายเลย สรุปแล้วคุณต้องปฏิบัติสังวรปธาน 6 ทวารเป็นเรื่องๆ อันๆ จนสามารถประหารกิเลสนั้นได้ เรียกว่าปหานปธาน ได้แล้วเป็นภาวนา คือการเกิดผลได้ผลเป็นอย่างนี้ คุณก็รักษาผลนี้ให้ได้ อย่าให้มันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น อย่าให้กลับกลอก อย่าให้มันสลาย อย่าให้มันเสื่อม
รู้จริงๆว่าสิ่งที่เหลือไว้นิดนึง ก็รักษาไว้ สัมผัสแตะต้อง ไม่อย่างที่แม้รู้ตัวไม่รู้ตัวมาอย่างหยาบและละเอียดเราก็อ่านจิตเราได้ว่าเราไม่มี ไม่มีๆคุณก็ได้คำตอบได้ว่าสูญจากกิเลสได้อย่างหยาบกลางละเอียด คุณต้องทำอย่างนี้ได้อย่างนี้ ยิ่งกระทบกระแทกแรงอย่างไร สมาธิก็อยู่ดี ไม่ใช่ว่าไม่มีการกระทบเลยจะบอกว่ามีสมาธิอย่างนั้น ไม่ใช่เลยมันเป็นการหนี ไม่ใช่เหนือ มันเป็นการหนีสิ่งกระทบสัมผัส แต่นี่มันเหนือสิ่งที่กระทบสัมผัสอยู่ แม้กระทบอย่างแรงทีเผลอ มันก็ไม่เกิด มันก็ไม่มี แม้เราไม่ตั้งใจสู้ไม่รู้ตัวมันเล่นทีเผลอ ยิ่งเรามีสติรู้ตัวมันก็สู้ได้มันแข็งแรง เผลอหลายทีมันก็ไม่เกิด จนกระทั่งไม่รู้ตัว มาอีกก็ไม่สะดุ้งสะเทือนเลย นั่นเป็นตัวยืนยันว่าคุณหลุดพ้นแน่ชัด สมบูรณ์แบบ ต้องมีสติตื่นมีปัญญารู้อย่างครบครัน ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาอยู่ในที่ลับไม่รู้เรื่องรู้ราวทิ้งหนีไปเลย มันคนละทิศทางกันเลย เห็นไหม นี่คือสภาวะของจริงที่เราสัมผัสได้
สัมมัปปธาน มีสังวร ปฏิบัติจนกระทั่งกำจัดกิเลสได้เรียกว่าปหานปธาน ได้ก็รู้ว่ากำจัดกิเลสได้เป็นอย่างนี้เป็นภาวนา แปลว่าการเกิดผล ภาวนาไม่ได้หมายถึงไปท่องบทมนต์ ไม่ใช่ เป็นการปฏิบัติเท่านั้น ได้ผลอยู่เรียกว่าภาวนาเป็นตัวได้ผล แต่เขาเข้าใจผิด ดีไม่ดีเรียกการปฏิบัติว่าเป็นการภาวนาเข้าใจผิดเพี้ยนมันน่าสงสาร ก็จะวนผิดฝาผิดตัวจะไปบรรลุได้อย่างไร
สรุปว่าหากเราได้ผลเป็นภาวนา แล้วก็ทำซ้ำเป็นอเสวนาภาวนาให้เกิดผลเช่นนี้ พหุลีกัมมัง ทำให้มากๆๆๆ ก็จะตกผลึกสั่งสมเป็นสมาธิ
สมาธิยิ่งต้องกระทบอยู่กับมัน ไม่ใช่หนีไป อยู่อย่างพิสูจน์เลยว่า มันทนทานได้อย่างไม่มีอะไรจะมาหักล้างความทนทานได้แล้ว อสังหิรัง ไม่มีอะไรหักล้างความทนได้นี่อีกแล้ว มันเป็นสีทนได้ สีที่สุดยอดเลย ไม่ต้องทนมันก็แข็งแรงในตัวมันเองสุดยอด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…มีฉันทะคือความยินดี มีวิริยะคือพากเพียรปฏิบัติ มีจิตตะคือมีใจเท่าไหร่ก็ทุ่มเททำให้หมด มีวิมังสาคือคัดแต่เนื้อๆที่ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ 5 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…อินทรีย์ 5 คือพลังงานของมัน ความแรง ดีกรีของพลังงานจิต มันจะได้พลังงานโลกุตระ โลกียะก็เป็นพลังงาน เราได้พลังงานโลกุตระ ท่านแยกเป็น 5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ศรัทธาคือ ความเชื่อ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ เรามีแล้ว เราได้สิ่งนี้แล้วอันนี้ใช่ศรัทธาเลื่อมใสเข้าใจ ต้องอันนี้แหละทำอันนี้แหละ คุณก็มาพากเพียรวิริยะ อันที่ 2 ต้องพากเพียรเอาให้ได้ เขาปฏิบัติกันอย่างไรมีสูตรสำเร็จอย่างไรมีความหมายอย่างไร ก็มาปฏิบัติด้วยวิริยะ
ต่อมาก็สติ ปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าตัวสติเป็นตัวที่ 3 ของ 5 เป็นความสำคัญ คุณจะต้องมีศรัทธามีวิริยะตามมา ก็ต้องมาเอาสติ มีสติแล้วก็ต้องทำให้เกิดสมาธิกับปัญญาอีก 2
สมาธิคือจิตนั้นเป็นผลแล้วตกผลึกตั้งมั่น โดยมีปัญญาคือธาตุที่ฉลาด ฉลาดรู้แม้แต่ศรัทธาก็ต้องมีปัญญาด้วย ปัญญาคือความฉลาดโลกุตระ ไม่ใช่คนฉลาดแบบโลกียปุถุชน ที่เป็นอย่างเดิม ไม่ใช่ แต่เป็นคนใหม่มีความฉลาดแบบโลกใหม่แบบดาวดวงใหม่ ไม่ใช่ความฉลาดแบบดาวดวงเก่า ให้ออกมาสู่ดาวดวงใหม่ได้แล้ว ดาวดวงใหม่เขาเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เหมือนกัน มันต่างกัน ที่โลกนั้นจะเอาอันนี้เขาเรียกว่าดำ แต่ดาวดวงใหม่นี้จะออกไปจากดำ แม้แต่เริ่มเทาก็ต้องออกมาทันที เทาแก่ๆก็ตาม จะไม่ดำแบบหลุมดำเบอร์มิวด้าก็ตาม
มันมีพลังที่รู้ทิศทาง แล้วมีพลังทำออกจากที่เก่า ทำได้มาเรื่อยๆก็เรียกว่าเป็นอินทรีย์มาตามลำดับ มีพลังงานเพิ่มขึ้น เอาย้อนไปทวนอินทรีย์ ของศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ คือจิตที่ทำได้ผลตกผลึกลงเรียกว่าแข็งแรงตั้งมั่น เรียกว่าฌานขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 เรียกว่า ฌาน 1 2 3 4 ก็คือผลของสมาธิที่ทำ ขณะทำเราเรียกว่าฌาน
ฌานเป็นเหตุของสมาธิ ไม่ใช่สมาธิเป็นเหตุของฌาน ไปนั่งหลับตา จะเริ่มต้นด้วยสมาธิแล้วจิตจะเกิดฌาน มันเป็นคนละทิศทางกันเลยคุณเอ๋ย ไปนั่งสมาธิจนกระทั่งจิตเป็นฌาน ฌานลืมตามันต้องมีทวารทั้ง 6 ครบ แล้วได้ผลฌานคือไฟ เป็นพลังงานที่ไปเผากิเลสเรียกว่าฌานที่ 1 2 3 4 อย่างรู้เห็นแจ้ง อย่างลืมตา อย่างมีปัญญา ฌานอยู่ที่ใดปัญญาก็อยู่ที่นั่น ฌานกับปัญญาแยกออกจากกันไม่ได้
คุณจะมีปัญญาก็ต้องมีพลังงานชำระกิเลส ปัญญาคือธาตุรู้ที่กิเลสลดได้จริง เพราะฉะนั้นฌานคืออาวุธสลายกิเลส เมื่อคุณทำอาวุธหรือเครื่องเผาคือฌานสำเร็จ กิเลสก็ถูกเผาลงสำเร็จเรียกว่าผลของฌาน ตกผลึก ทีละตัวๆ ให้มากเข้าแน่นเข้า เรียกตัวมากเข้าแน่นเข้าของจิตที่สั่งสมเป็นผลลงเรียกว่าเป็นสมาธิ ส่วน ฌานคือตัวทำตัวเผา สมาธิก็เป็นผลของจิตที่สะอาดสั่งสมลงไปเรื่อยๆ หากทำสมาธิแล้วไปทำฌาน มันจะได้มรรคผลอย่างไรกันได้
คำเดียวกัน สมาธิ ฌาน คุณก็ใช้ แต่ก็ใช้คนละขั้วกับอาตมา อาตมาผิดคุณก็ถูก หากอาตมาถูกคุณก็ผิด คุณยืนยันไหมว่าคุณบรรลุมรรคผล แต่อาตมายืนยันว่าอาตมาบรรลุมรรคผล อาตมาไม่ได้หมายความว่าอาตมาเอาชนะคนอย่างที่จะเพียงเอาชนะ แต่อาตมาอ่านกิเลสว่ากิเลสอาตมาเบาบางลง กิเลสมันหมดกิเลสมันไม่มี จิตมันสั่งสมตกผลึกตั้งมั่นเป็นสมาธิ
กระทบสัมผัสกับเหตุทุกปัจจุบันเมื่อไหร่มันก็ไม่เกิดกิเลส อย่างทีเผลอก็ไม่เกิดกิเลส อย่างรู้ตัวก็ไม่เกิดกิเลส กระทบอย่างไรก็ไม่เกิดกิเลสแล้ว เพราะสั่งสมตกผลึกตั้งมั่น ยั่งยืนถาวรแข็งแรงมั่นคง นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
คุณก็ต้องปฏิบัติของจริงของคุณ ปฏิบัติได้ผลคุณก็ได้ผลของคุณ มันตรงกับของพระพุทธเจ้าหรือไม่ หากตรงเป๊ะเปรี๊ยะเลย ก็ใช่ นี่เป็นเรื่องจริงที่เรายืนยันพิสูจน์ธรรมะพระพุทธเจ้าได้ว่าเป็นเช่นนี้
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาก็เต็มแล้ว ระวังอย่าล้นก็แล้วกัน ระวังปัญญาจะล้นปัญญาไม่มีการล้น ปัญญาจะมีแต่ความพอดีพอเหมาะ ปโหติ ลงตัวเป๊ะเปรี๊ยะ ไม่มีเหลื่อมแลบเลยเรียกว่าปัญญาครบ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ครบเป็น พละ 5 เป็นตัวจบ อินทรีย์ 5 เป็นตัวสั่งสม
คุณต้องรู้สภาวะจิตอาการจิตของคุณเองว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คืออะไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ 5 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญโพชฌงค์ 7 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…พวกเราทั้งภิกษุฆราวาส มีการพากเพียรเรียกพระโยคาวจร
โพชฌงค์ 3 คือสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ 3 อย่างนี้เป็นตัวปฏิบัติ สำคัญที่สติและธรรมวิจัย แต่ตัวที่ 3 วิริยะคือความเพียร จะต้องพากเพียรปฏิบัติสติ แล้วก็ต้องมีธรรมวิจัย ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาสะกดจิต อย่างนั้นล้มเหลวตั้งแต่โพชฌงค์ข้อที่ 2 ไม่มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์แล้ว คุณวิจัยไม่เป็น ก็ไม่รู้จักทำวิจัย วิจัยจิตตัวเองนะ ไม่ใช่เป็นการทำวิจัยจบด็อกเตอร์ คนจบป. 2 แต่วิจัยจิตเป็นก็มี คนจบด็อกเตอร์แต่วิจัยจิตไม่เป็นเลยก็มี คนจบป. 2 วิจัยจิตเป็นก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ได้ เพราะฉะนั้นต้องมาวิจัยวิจารณ์ หรือวิตกเป็นธาตุเป็น วิจัยเป็นธาตุรู้
ตักกะจิตดำริ เราก็ต้องรู้ วิจัยแยกแยะ ว่าจิตนี้เป็นเวทนาแบ่งเป็นสอง
เวทนาแท้รู้ความจริงตามความเป็นจริง เวทนาอีกอย่างมีความชอบความชัง คือเวทนาเก๊ เวทนาแท้คือ อันนี้เขียวคือเขียว อันนี้ขาวคือขาว อันนี้คือดำ อันนี้คือรสชาติเปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรก็เป็นของแท้ คุณจะต้องวิจัยอ่านอาการอารมณ์ที่เป็นเวทนาเก๊ให้ได้ อันนี้มันไม่ใช่เวทนาที่มันเต็มๆ รู้ความจริงตามความเป็นจริง มันมีความชอบหรือไม่ชอบ อร่อยหรือไม่อร่อย สุขหรือทุกข์ อาการพวกนี้ คุณต้องอ่านว่า ก็มันของจริงจบแล้วมันก็เป็นอันเดียวอย่างเดียว
ระกำอันนี้หวานดีนะ ใครมาแตะไม่ว่าจะเป็นลิ้นไทยฝรั่งแขกราวลิ้นจีน ถ้าประสาทไม่เสียก็จะตรงกันหมดว่ามันจะหวานก็อย่างนี้ จะเรียกโดยภาษาฝรั่งก็เรียกไปจีนก็ได้ ไปไทยก็เรียกไปคำว่าหวาน คืออะไรก็ภาษานั้น แต่รสอันเดียวกันของแท้ตรงกันหมดเรียกว่ารสแท้
แต่รสหวานแล้วเกิดความชอบอันนั้นแหละ บางคนกินหวานอย่างนี้ไม่ชอบ ความไม่ชอบนั้นมันของเก๊ มันไม่จริงหรอกมันเป็นผีหลอก นี่แหละทำให้อาการตัวชอบไม่ชอบนี้หมดไป รู้ของจริงตามความเป็นจริงนั้นมันก็เหมือนกันหมด โดยสัจจะมีหนึ่งเดียว มันไม่มี 2 หรอก 2 มันเป็นของเก๊ทั้งนั้น เทฺว ธมฺมา ก็ต้องทำให้เป็นหนึ่งเดียวให้ได้ของแท้ ถ้ามีของปลอมอยู่คุณยังไม่บรรลุธรรม มันยังมีผีหลอกอยู่ แล้วผีพวกนี้ชอบแต่งตัวเป็นเทวดา ชอบนั่นแหละนั่นอันดับผี สุขนั่นแหละคือความทุกข์ ทั้งชอบก็ผีไม่ชอบก็ผีสุขก็ผี
เรามาเรียนวิธีเผาผี ฌาปนกิจผี ทำฌานคือทำไฟเผาผี พวกเรานี่พวกสัปเหร่อ แต่เผากิเลสอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้เผาอย่างอื่น อ้าวพรรคสัปเหร่อทั้งหลาย อย่าไปรังเกียจสัปเหร่อ นี่แหละพวกสัปเหร่อตัวจริง เป็นพวกเผาผีเผาซากที่ไม่เอาแล้ว
สติคือธาตุรู้ตื่น ไม่ใช่หลับ คุณหลับตาแล้วไปตื่นในหลับ รู้อยู่ในภพเฉยๆก็ได้ แล้วไปรู้ชัดเจนอยู่ในภพ มันอยู่ในภพนิดเดียวไม่มีอะไรกวนเลย แต่การลืมตามามีสติรู้กระทบอันนี้ยากกว่า
สัจธรรมนี้ ธรรมะพระพุทธเจ้ามีสติคือความตื่น ไม่ใช่ความหลับไม่ใช่ความหลบไม่ใช่ความอยู่ในภพ ให้ออกมานอกภพ จริง ภายนอกมันมีมากก็เอาอันใดอันหนึ่งมา ศึกษาไปตามลำดับ มากนักคุณก็จะไม่ไหว คุมไม่ได้ ให้เอาแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อน มีสติ
ยกตัวอย่างสัตว์มาเยอะแล้ว เอาศีลข้อ 2 เอาของที่เห็นๆนี่แหละ อย่างเช่นพืชที่เป็นวัตถุดินน้ำไฟลม
เอาแตงโม คุณสัมผัสแล้วชอบ ถ้าคุณไปยึดติดกำหนดหมาย แตงโมหากมีรูปอย่างนี้ สีอย่างนี้กรอบอย่างนี้สัมผัสอย่างนี้ชอบเลย คุณสัมผัสเข้า ใครมาสัมผัสแตงโมลูกนี้มากินเนื้อที่กรอบๆ เนื้อหวานเนื้อชุ่ม อะไรก็แล้วแต่ มันตรงกับสเปค ตรงกับที่เรากำหนดหมายอยู่ในใจเคยยึดถือว่าต้องอย่างนี้ ต้องได้แบบนี้ ดีที่สุด มันต่างจากนี้ไปก็ไม่เต็มที่ แต่ถ้าได้แบบนี้เต็มที่เลยถ้าได้ครบทุกมิติ ได้สัดส่วนตามที่เราเคยจดจำว่าต้องได้สัดส่วนนี้ มันก็มาพอดีกับที่ตัวเองยึดไว้ พอดีแตงโมลูกนี้มาพอดีกับตรงที่เราสมมติกำหนดไว้ก็เกิดความชอบ แต่กับอีกคนนึงมาเห็นว่าอย่างนี้ไม่เข้าท่าเลย พอสัมผัสแล้วไม่ชอบ ก็เห็นต่าง ตัวต่างนี่คือจิตสมมุติของแต่ละคน ต่างคนต่าง คนหนึ่งชอบคนหนึ่งไม่ชอบ แต่รสแตงโมนี้มันรสอันเดียวกันไหม ก็รสเดียวกันแท้ๆ แต่ต่างกันนี้ผีหลอก มันชอบ คุณก็ถูกผีหลอก มันไม่ชอบคุณก็ถูกผีหลอก แล้วใครถูกผีหลอก ก็กูเอง กูยึดเองว่ารสนี้กูไม่ชอบกูชอบ ชอบมากชอบน้อยกูเองทั้งนั้น บ้าอยู่คนเดียว ต้องรู้ให้ได้ว่าอาการนี้สัมผัสอีกทีไร แม้มันจะเคยตรงสเปคนี้ Spec นี้เคยชอบ มาสัมผัสอีกทีเดี๋ยวนี้ก็เฉย ชอบหายไปมีแต่เฉยกลางๆ ไม่รู้ตัวทีเผลอ กำลังนอนหลับใครเอามาใส่ปากพอรู้ตัวว่าอะไรเอามาในปาก แตงโมหรือ รสเป็นอย่างนี้เหรอเราเคยชอบ แต่เดี๋ยวนี้อาการชอบนั้นไม่มี คุณก็ยืนยันกับตัวเองได้ นี่คือเรารู้จักผีหลอกกับความจริง เราล้างผีได้หมด มันหลอกเราไม่ได้เลย ชอบก็ไม่มีชังก็ไม่มี สัมผัสทีไรก็รู้ความจริงตามความเป็นจริง มันไม่เอียงไปข้างชอบหรือไม่ชอบ จึงเรียกว่ากลางๆ เฉยๆ ว่างๆ สูญๆ
คือมันไม่มีทางชอบหรือไม่ชอบ หรือกลางๆ
คำที่ใช้แทนเป็นไวพจน์เป็นคำแทนสภาวะมีเยอะเลย แต่ผู้ที่รู้จักสภาวะแล้วรู้จักใช้ภาษาแทนอย่างไรก็จะเข้าใจความหมายของภาษา มันก็ตรงกับสภาวะหมด ภาษาจะเรียกให้เปลี่ยนแปลงอย่างไรใช้ต่างกันอย่างไรแต่สภาวะอันนี้อันเดียวกันหมด มันสูญว่างกลางเฉย ไม่มีอันตา ไม่มีส่วนแวบออกไปทางนั้นทางนี้ ไม่มีทุกทิศไม่ว่าจะเป็นทิศซ้ายขวาบนล่างกี่องศาก็ไม่มี อยู่ตรงนี้ตรงกลางตรงศูนย์
นี่คือคนบรรลุธรรม เป็นจุดบรรลุธรรมในอารมณ์จิต เรียกว่าความรู้สึกความรู้ธาตุรู้ ตรงนี้แหละ เมื่อเราอ่านสภาวะเรื่องหนึ่ง
นี่ตอนนี้เรายกตัวอย่างของ
สัตว์ เคยอธิบายมามากแล้ว แต่นี่เรื่องของ
นี่ หนังสือสัจจะชีวิตเล่ม 4 แต่ยังไม่จบนะ อย่านึกว่าจบง่ายๆ ราคา 450 บาท 8 หน้ายกปกแข็งด้วยนะ ถูกมาก
สติ ธัมมวิจัย วิริยะ
วิริยะคือความอุตสาหะพากเพียรจะต้องทำ ต้องพากเพียรรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ และรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ในการตื่น ไม่ใช่ไปรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ภายในจิตอย่างเดียว อย่างนั้นมันก็ง่าย โพธิรักษ์ก็ทำมานักหนาแล้วไม่ยากหรอก แต่การตื่นทางทวารทั้ง 5 นี่แหละมันยากกว่า กระทบทางตาทางหูทางลิ้น มันมาแล้วมันยากกว่ากันเยอะเลย แต่ก็ไม่ต้องกังวลเอาด้านใดด้านหนึ่ง กระทบทางตาก็เอาที่ตา ทางหูมาก็ช่างมันก่อน เราจะพิจารณาที่ตาก่อน ทางตายังไม่ได้เอาเรื่องหูอีก เดี๋ยวก็เป็นเรื่องจมูก เดี๋ยวก็กายเรื่องสัมผัสก็ไม่เอา เอาเรื่องตาก่อน เราก็ทำให้มันครบส่วน ให้ได้ผลตามที่เราปฏิบัติ
กระทบกับของไม่ใช่สัตว์ อ่านอาการเวทนาความรู้สึก มีกิเลสในความรู้สึกมันปรุงในสุขในทุกข์ ที่ฐานกลางๆเรียก อุเบกขา จิตเจโตปริยญาณ มี 16
ส่วนธรรมะนั้นไม่มากมีกุศลกับอกุศล โลกียะกับโลกุตระอีกคู่หนี่ง ไม่ยากแต่ครบ
มาเอาที่จิต เจโตปริยญาณ 16
คือ การกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น (รู้สัตว์ชั้นต่ำสูงในจิตตน-ปรสัตตานัง) .
รู้บุคคลชั้นต่ำ-สูงอื่นๆในจิตอาริยของตน(ปรปุคคลานัง) เป็นปรมัตถ์.
-
สราคจิต (จิตมีราคะ)
-
วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ) คำว่า วีตะแปลว่าล่วงไปหายไปตกไปหมดแล้ว
-
สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
คุณต้องวิจัยสติต้องรู้ตัวตลอดเวลา ถ้าจะเอาแต่รูปก็ต้องให้มันรู้ดำรู้แดงที่รูปเลย ให้มีผลที่ทำได้อันอื่นอย่าเพิ่ง แต่ถ้าทำได้แล้ว จะไม่ยุ่งยากอยู่เหนือมันแล้วก็ทำอันอื่นต่อ ก็จะมีบัลลังก์แห่งอินทรีย์พละ เรียกว่าฐานเจโตหรือฐานศรัทธา เป็นศัพท์ที่ แน่น แน่วแน่อัปปนา ตกผลึกเป็นพยัปปนา สูงเจริญขึ้น สูงเข้าไปหา เจตโสอภินิโรปนา จิตที่จะเป็นนิโรธสมบูรณ์ อภินิโรธ คือตัวนิโรธ นิระ ไม่มี จะเข้าไปสู่ตัวไม่มี อภินิโรปนา ก็สั่งสมจิตอันนี้ไปก็อ่านของจริงตัวเอง มันก็จะเจริญขึ้น คุณต้องอ่านของจริง ต้องมีวิจัยวิจาร วิตก
วิตกคือตัวทำงาน วิจัยคือแยกแยะ วิจารคือพฤติ หลักการของจิต มันมาทั้งตัวเรียก ตักกะ วิจัยแยกแยะมีธรรมวิจัย ธรรมะคือสิ่งที่ทรงอยู่ที่จะต้องทำ จนทำให้ตัวที่ไม่มีมันก็ไม่มี จนมันเหลือสิ่งที่มีที่สะอาดบริสุทธิ์ เรียกว่าใจสะอาด ใจมีอย่างเดียว ใจมีอย่างแท้ ใจไม่มีเศษของผีไม่มีเศษของกิเลสปนอยู่แซมอยู่
ได้กินแล้วก็รักษาได้ก็เสริมในสิ่งที่สะอาดให้มากขึ้น มีอีกเยอะแยะ ก็มันมีของอีกเยอะแยะของอันนี้ได้แล้วของอันนี้ก็ได้อีก คุณก็จะได้มีตัวที่คุณได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สติกับธัมมวิจัย สองอันนี้ร่วมกันทำงานตลอดเวลาด้วยวิริยะด้วยโพชฌงค์ 3
วิริยะเป็นแรงกล สติกับธรรมวิจัยเป็นแรงรู้แห่งปัญญา
เสร็จแล้ว คุณก็ทำได้ผล ได้จิตสะอาดขึ้นก็เป็นพฤติของจิตที่เป็นอาการ อาการนี้สะอาด อาการนี้ บริสุทธิ์ไม่มีความเป็นกิเลสแม้ละอองธุลี คุณก็จะต้องรู้ด้วยปัญญา ญาณ เป็นธาตุรู้
ธาตุรู้นี้เป็นปรมัตถ์ไม่ใช่ไปรู้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รู้วัตถุ แต่ต้องรู้นามธรรม โดยเฉพาะนามธรรมนั้นแยกเป็นตัวกิเลสกับไม่เป็นกิเลส แล้วชัดเจนว่าตัวที่ปราศจากกิเลสนั่นแหละคือรู้จักนิพพานรู้จักนิโรธ รู้จักวิมุติ
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้ได้ฟังเรื่องอภิธรรม…จบ
-
วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
-
สโมหจิต (จิตมีโมหะ)