ธรรมปัจจเวกขณ์ (9)
26 กุมภาพันธ์ 2519 ณ พุทธสถานแดนอโศก
ทุกๆวันก็ได้บอกด้วยปากพูด เพื่อที่จะแจกแจงให้เข้าใจ ให้มีความลึกซึ้งในปัญญาขึ้นมา เพื่อที่จะรู้ๆๆ แต่การบรรลุนั้น ไม่ได้อยู่ที่การรู้อย่างเดียว มันรู้ด้วย แล้วเราก็กระทำได้ตามที่รู้นั้นด้วย เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงว่า ให้พิจารณาให้คิดให้นึก ให้มีความรู้ในเรื่องต่างๆ ให้มีความรู้ในการกระทำ หรือโครงสร้างต่างๆ เพื่อที่จะกระทำอย่างโน้น จะกระทำอย่างนี้ พิจารณาอะไรต่ออะไรไปจริงๆ ก็ต้องกระทำจริงๆ และพากเพียรจริงๆด้วย ให้บรรลุผล ให้รู้จริงลงช่องลงร่องกันว่า มันทุกข์ก็เป็นอย่างนั้น มันติดอยู่ก็เป็นอย่างนั้น ลดการติดลงไป แล้วหลุดพ้นจากการติดลงไป แล้วเป็นอย่างนั้น ก็ให้เกิดผลซับซาบรู้จริง แล้วก็รู้ว่าเราเบาก็เป็นอย่างนั้น สบายก็เป็นอย่างนั้น พ้นภาระแล้วก็เป็นอย่างนั้น ตรวจเข้าไปหาตนที่เรา จิตติดอะไร ตรวจจริงๆ กระทำโดยตามเวลา เวลาที่เราอยู่คนเดียว เวลาที่เราทำงาน รับสัมผัสปฏิบัติสติปัฏฐานอยู่ มีผัสสะมีเวทนารับรู้ อย่าให้มันมีตัณหา อย่าให้มันมีอุปาทาน อย่าให้เกิดภพ อย่าให้เกิดชาติ ทุกๆสิ่งก็จะไม่เกิด ตามไปจนกระทั่งถึงอุปาทานอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะรู้เท่าทันมันหมด มาตั้งแต่ว่า เรามีนาม-รูป เรามีสฬายตนะ เรามีผัสสะ เรามีเวทนา ก็ให้รู้เท่าทันในเวทนา ว่ามันหมายเอาอะไร มันไม่เที่ยง เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามใจไม่ได้ ผัสสะจะต้องเกิดอยู่ ตราบเท่าที่เรายังมีสฬายตนะทั้งหมด เรายังมีทวารรับรู้ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เราก็ยังจะต้องรับผัสสะ จะต้องรู้เกิดการกระทบ รู้แล้ว ถ้าเราหลงมันเป็นสุข หลงมันเป็นทุกข์อยู่ โดยไม่รู้ความจริงว่า อย่างนี้เราเรียกว่าสุข อย่างนี้เราเรียกว่าทุกข์ ในจิตใจของเรา ไม่โน้มเอนไปในทางสุข อย่างไม่เป็นไปตามสังขาร เราก็จะหนักจะยุ่ง
ถ้าผู้ใดไม่ติดสุขที่เป็นไปตามสังขาร แล้วรู้ว่า ความสงบนั้นแหละ วิเศษกว่ายิ่งกว่า การพักการหยุดนั่นแหละวิเศษกว่ายิ่งกว่า ผู้นั้นก็จะค่อยยังชั่ว ไม่มีภาระมาก แล้วเราก็รู้จักตัวทุกข์เป็นคู่กับตัวสุข ว่าทุกข์ก็ย่อมเกิดอยู่ตามสังขาร เมื่อสังขารร่างกายเราก็ยังมีการงาน เราก็ย่อมเป็นไปเพื่อ เอื้ออนุเคราะห์โลก พอที่เราจะทนได้โดยไม่ยาก ทนได้โดยไม่ลำบาก แล้วเราก็รู้ว่านี่เป็นทุกข์ ตามสภาวะเหมือนกัน ทุกข์ตามจริง เป็นการสงเคราะห์อย่างที่ทนได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แล้วก็เป็นไป ช่วยอนุเคราะห์โลก ทำได้เท่าใดมากเท่าใด ผู้นั้นก็เป็นประโยชน์ต่อโลกมากเท่านั้น เรารู้ในใจเราอยู่ว่าเราไม่ได้ทำเพื่อตัวเพื่อตน เราไม่มีอะไรเพื่อตัวเพื่อตน เราละราคะ เราละโทสะ หมดราคะ หมดโทสะ เป็นผู้รู้ ไม่หลงหัวเป็นหาง ไม่หลงหางเป็นหัว ไม่หลงผิดเป็นถูก ไม่หลงดีเป็นชั่ว รู้ดีเป็นดี รู้ชั่วเป็นชั่ว ตามที่สังคมเขา.
*****