ธรรมปัจจเวกขณ์ (33)
26 พฤษภาคม 2519 ณ พุทธสถานแดนอโศก
ผู้เรียนรู้จบนั้นคือเรียนรู้คำว่าชีวิต เข้าใจชีวิตเกิดมา แล้วก็จะรักษามันไว้ด้วยปัจจัย ซึ่งปัจจัยก็ไม่มากไม่มาย ไม่ประกอบไปด้วยความหลง ด้วยรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัสอะไร และก็ไม่ได้หอบหวงหาบหามอะไร มากมายอะไร รู้ความจำเป็นของชีวิตได้ด้วยปัจจัย และบริการประกอบอีกเล็กน้อย นอกนั้นก็มีแต่ความดิ้นรนของจิต ที่มันไปหลงสมมุติของโลก มันจะไปหลงเขาหลอกเขาล่ออะไรมา ตั้งแต่เก่าแต่แก่ติดตามมาเรื่อยๆ เราจะต้องย้อน ย้อนประวัติศาสตร์ ลงไปถึงสิ่งที่เขาพอกเพิ่มขึ้นมา มันเกินแก่ชีวิต มันหนักหนามากมาย เราลดลงไปจนกระทั่ง ถึงแก่นของปัจจัยจำเป็นของตัวสำคัญ ของการยังชีวิตไว้ หรือเลี้ยงชีวิตไว้ เราได้สิ่งนั้นเป็นเป้าหมาย แล้วก็อยู่กับโลกอย่างสบาย จะกินจะอยู่จะอะไร เราเลิกหลง มีความรู้ชัด และมีการตัดจิตที่เคยเสพย์คุ้น ที่มันเคยหลงเคยติด ในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส และสมบัติบ้าๆ อะไรเยอะแยะ เรารู้ได้ทันรู้ได้เท่า เราไม่หลงเมาหลงมัน แล้วมันก็อยู่กับโลกเขาสบายดี ที่นี้เราก็จะต้องอยู่โดยการให้เป็นประโยชน์ด้วย เราจะต้องช่วยเหลือเพื่อฟาย ให้คนอื่นเขาได้รู้บ้าง เพราะถ้าเขาร้อนกันมาก เราก็อยู่กับเขามันก็ลำบาก เขาเอาไฟมาก็อยู่โดยธรรมดา เราก็จะต้องรับรู้สึก เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องให้อยู่ด้วยเย็น ให้เขาอยู่ด้วย อย่างไม่ต้องมีเรื่องร้อนเรื่องร้ายอะไร เป็นการปราณีสัตวโลก เป็นการช่วยสัตวโลก เป็นการให้ผู้อื่นรู้ความจริงสัจธรรม ให้เขาได้เบาได้ว่างได้ง่าย ให้เขาได้ลดละขึ้นมาบ้าง และก็มันมีหลักอยู่ว่า เมื่อเป็นมนุษย์เป็นคน ก็ต้องมีการงานนั้นแหละเป็นของที่ควรจะเป็นไป เหมือนเครื่องกลที่เขาสร้างขึ้นมาเครื่องหนึ่ง ก็ควรให้มันได้เดินเครื่อง ให้มันทำผลผลิตให้มันทำงานให้แก่โลก เมื่อเรารู้แล้วว่า เราทรงอยู่ได้ ด้วยพอดีอย่างนี้แล้วละก็ ทำงานให้แก่โลก ตามความเป็นเครื่องกลของเรา หรือเป็นที่ให้ผลผลิตได้ เราก็ทำให้แก่โลกเขา ด้วยความไม่ดูดาย แล้วไม่ใช่ว่ามีตัณหาอยากใคร่ ที่จะแสดงจะทำมากเกินไป เราก็จะทำตามควร มันได้มาก เราก็เป็นเครื่องกลชั้นดี ก็เท่านั้นเอง ก็ให้ประโยชน์แก่โลกได้มาก ก็ไม่ต้องแกล้งไม่ต้องลดหย่อน เป็นไปด้วยธรรมดา คนนั้นก็จะเป็นคนที่สมบูรณ์ รู้ความพอในตัวแล้วก็มีประโยชน์แก่โลก เพราะฉะนั้น แม้การกินการเป็นอยู่ การใช้สอย โลกเขาจะปรุงจะสร้างจะก่ออะไร เราก็เข้าใจเขาได้ แล้วเราก็จะทำให้ถูก ทั้งสภาพที่เรียกว่ากติกา หรือสมมุติหรือว่าระเบียบ หรือวินัย ถูก ในทุกๆส่วนที่เราจะรู้ตามหลักเกณฑ์ และปัญญาอันลึกซึ้งของเราสอดแทรกลงไป แล้วก็ไป อ้า…บางอันแก้ไขก็แก้ไข บางอันไม่ต้องแก้ไขเลยเป็นไปได้ และด้วยดีเราเลยทำ และด้วยอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ฉะนั้น เราถือหลักถือ เกณฑ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ต้องทำให้ตรงตามของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราลองดูแล้วเรียบร้อย และเราเห็นผลดี มันอยู่อย่างชัดเจน ผลเสียมันมีน้อย ผลดีมันมีมากอยู่ แล้วเราก็ทำไปอยู่ โดยเราถือว่า เราเป็นลูกศิษย์ท่าน เดินตามกฎ-ระเบียบของท่าน มันก็ไม่มีปัญหาอะไรแล้ว เราก็ต้องช่วยทำศาสนานี้ ดำรงศาสนานี้ส่งเสริมศาสนานี้ ชักจูงไปให้แก่ผู้คนเขาได้รับด้วย เราได้รับแล้วผลนั้นๆ แล้วของเราก็สบาย ง่าย เบา รู้เท่ารู้ทัน แล้วก็เป็นประโยชน์แก่เรา แล้วเราก็เป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งมวล ให้เขาได้รู้ตามเราบ้าง.
*****