610718_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ พระอรหันต์ที่แสดงธรรมอันไม่ควรตู่ท้วง
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://drive.google.com/open?id=1avFVb9xvowz-OmnUiaRGl3UpU_810rzpOoHidpPs5yA
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=1PaJUEHVNJl63RAC-SWoN_UzYPzdhNB6H
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก ที่นี่ตอนนี้พายุเซินติญก็เข้า เข้าหลายภาคด้วย แต่ฝนจะตกน้ำจะท่วมแดดจะออกเราก็ปฏิบัติธรรมกันต่อ ที่บ้านราชฯก็มีการเข้าค่าย
ค่ายสัมมาอาริยมรรค เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเก่า
“เข้าพรรษาสู่โลกหน้าในโลกนี้”
ครั้งที่ 30 ณ หมู่บ้านชุมชนราชธานีอโศก
ศุกร์ที่ 20 – อาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2561
รับสมัครผู้สนใจเข้าค่าย ฟรี! (จะอยู่กี่นาทีได้)
สมัครได้ที่ อุทยานบุญนิยม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หรือ
โทรฯ คุณชญาดา 087-4437865
ตอนนี้เขาก็มีความสนใจที่จะสัมภาษณ์ 13 หมูป่าที่รอดชีวิต คนสนใจกันมาก ถ้าหากมีคนมาสนใจธรรมะโลกุตระของพ่อครูก็คงจะทำให้โลกเจริญ ทำให้โลกนี้ดีขึ้น
คนฟังธรรมะอยู่ทางบ้านได้เห็นบรรยากาศของบวรราชธานีอโศกแล้วก็คงจะอยากมาที่นี่กันเพราะว่าที่นี่คนเยอะ มีกิจกรรมอะไรหลายอย่างที่ดีๆ ที่ขาดไม่ได้คือการฟังธรรม
พ่อครูว่า…อาตมาได้ทบทวนดู ที่ทำงานมาจนถึงวันนี้ ก็นานไกลเหมือนกันนะ ใกล้จะ 50 ปีแล้ว ในหลวงทรงงานมา 70 ปี อาตมานี่ ยังไม่ถึง 50 ปี ชักบ่นๆแล้ว มีคนมาถามว่า ทำไมแต่ก่อนนี้ไม่ถอยแม้ครึ่งก้าว ไม่ลงใต้ดินแม้ครึ่งเมล็ดงา แต่ทำไมตอนนี้พูดเหมือนท้อ มันก็รู้สึกว่า ทำไมหนอ คนเราถึงดื้อดึงยากเย็น พูดแล้วพูดอีกอย่างไรก็ อาตมาทุบแล้วทุบอีกก็ยังไม่รู้สึกตัว ทำไมเป็นคนหมดความรู้สึก ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ความจริงแล้วอาตมาไปไหนไม่รอด อาตมารู้ว่าตัวเองไม่มีทางทำอะไรอื่น ต้องมาบรรยายธรรมะของพระพุทธเจ้าเท่านั้น จะมีคนฟังหรือไม่มีคนฟัง ต้องบรรยาย อาตมาไม่เห็นอันอื่นเลย เกิดมาแล้วจะทำอะไรดีกว่านี้ อาตมาเลือกทำสิ่งที่ดีที่สุดแล้วนะ พูดไปแล้วก็อาจจะดูน่าหมั่นไส้มากคือ
อาตมาแน่ใจว่าได้นำธรรมะที่ถูกต้องของพุทธเจ้ามายืนยัน มาสืบทอดของพระพุทธเจ้า ไปผิดไปจากที่อาตมาพูด เขาตำหนิไม่เข้าใจ อาตมาก็พูดอย่างมั่นใจ ไม่ได้เป็นอื่นเลย ไม่ได้มีว่า ทำเพื่อไปข่มขี่ดูถูก ไม่ใช่ ด้วยสัจจะจะต้องทำเช่นนั้น เพราะเขาพากันหลงผิดไปเยอะ จนกระทั่งไม่เหลือ อาตมาก็เอาหลักฐานในพระไตรปิฎกมายืนยันเข้าแล้ว เขาก็ดื้อดึงดัน
ที่ดื้อดึงดันก็เป็น รู้นะว่าถูกต้องแต่ไม่ทำ เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก แต่บางคนโง่ฟังแล้วไม่รู้ว่าคืออะไร ไม่รู้ว่ามีค่าอะไรก็แล้วแต่เถอะ มันโง่ เหมือนสีซอให้ควายฟัง จะโทษควายไม่ได้เลย เราก็ต้องรู้ว่าควาย
แต่อาตมาก็ไม่เชื่อว่าสังคมพุทธศาสนาทุกวันนี้จะมีแต่ควาย ใครเชื่อก็ช่างเถอะ อาตมาจึงดันๆๆ เขาก็ว่าทำไมต้องดื้อดึงดันจัง อาตมาก็ทบทวน ในโลหิจสูตร
-
[360] ดูกรโลหิจจะ ศาสดา 3 จำพวกนี้ ควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ ศาสดา 3 จำพวกนั้นเป็นไฉน?
ดูกรโลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาไม่ได้บรรลุแล้ว เขาไม่ได้บรรลุประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น. แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อสุขของท่านทั้งหลาย. สาวกของเขาย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา. เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใดประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว ท่านไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลายสาวกของท่านนั้นย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและย่อมหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เหมือนบุรุษที่รุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังถอยหลังหนี หรือดุจบุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ 1 ซึ่งควรท้วงในโลกและทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.
-
[361] ดูกรโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาไม่ได้บรรลุแล้ว เขาไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของเขาย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว ท่านไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านนั้น ย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและไม่หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดาเหมือนบุคคลละเลยนาของตนแล้ว สำคัญเห็นนาของผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้. ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ 2 ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.
-
[362] ดูกรโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาได้บรรลุแล้ว เขาได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกของเขาไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านได้บรรลุแล้ว ท่านเองได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกของท่านนั้นไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ 3 ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนั้น ก็จริงแท้เป็นธรรมไม่มีโทษ ดูกรโลหิจจะ ศาสดา 3 จำพวกเหล่านี้แล ควรท้วงได้ในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาทั้งหลายเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.
สรุปคือ ศาสดาที่ควรตู่ท้วง มี 3 อย่างคือ
-
ผู้สอนไม่บรรลุธรรม และสาวกไม่ตั้งใจฟัง
-
ผู้สอนไม่บรรลุธรรม แต่สาวกตั้งใจฟัง
-
ผู้สอนบรรลุธรรม แต่สาวกไม่ตั้งใจฟัง
ศาสดาที่ไม่ควรตู่ท้วง คือ ผู้สอนบรรลุธรรมะ และสาวกก็ตั้งใจฟัง
อาตมานี้พ้นจาก 3 ประเภทนี้ เพราะอาตมาบรรลุ แล้วก็
ประเด็นคือทำไมต้องบอกว่าบรรลุ ทำไมไม่สอนไปโดยไม่ต้องบอกแล้วให้คนมาบรรลุเอง มีคนที่เป็นผู้สอนในโลกนี้ที่มีคนมาตั้งใจฟังมากกว่าจะมา คนฟังมากกว่าอาตมา แต่ประเด็นคือ เขาถือว่าบรรลุแล้วไม่บอกว่าตนเองบรรลุอันนั้นถือว่าไม่ได้บรรลุ อาตมาก็ว่า อันนั้นยังไม่ถูกต้อง เขาถือว่าอันนั้นถูกต้องคือบรรลุแล้วอย่าไปบอกผู้อื่นอันนั้นถูกต้อง แต่อาตมาบอกว่าไม่ถูกต้อง บรรลุแล้วอย่าบอกว่าคนอื่นบรรลุ นั้นไม่ถูกต้อง
อาตมาไม่ได้อยู่ในข่าย 3 ข้อนี้ ฟังรายละเอียดให้ดี
พระพุทธเจ้าตรัสใน 12. โลหิจจสูตร
เรื่องโลหิจจพราหมณ์
————————
[352] ครั้งนั้น โลหิจจพราหมณ์เกิดมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ ควรบรรลุกุศลธรรม ครั้นบรรลุแล้ว ไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภ ว่าเป็นธรรมลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ดังนี้
โลหิจจพราหมณ์ได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุลเสด็จจาริกมาในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึงบ้านสาลวติกาโดยลำดับ และเกียรติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงกระทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดามนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล.
[353] ครั้งนั้น โลหิจจพราหมณ์ เรียกโรสิกะช่างกัลบกมาว่า มานี่แน่ะ เพื่อนโรสิกะท่านจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลถามพระสมณโคดมผู้มีอาพาธน้อยพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกำลังอยู่สำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์ถามถึงพระองค์ผู้มีอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกำลังอยู่สำราญ อนึ่ง จงทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์ เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้. โรสิกะช่างกัลบกรับคำโลหิจจพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์ถามถึงพระองค์ผู้มีอาพาธน้อยพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกำลังอยู่สำราญ และให้กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์ เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้.
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วด้วยดุษณีภาพ.
[354] ครั้งนั้น โรสิกะช่างกัลบกทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะถวายอภิวาททำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคตามคำของท่านแล้ว และพระผู้มีพระภาคก็ทรงรับนิมนต์แล้ว.
ลำดับนั้นโลหิจจพราหมณ์ได้ตกแต่งขาทนียโภชนียะอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น แล้วเรียกโรสิกะช่างกัลบกมาว่า มานี่แน่ะ เพื่อนโรสิกะ ท่านจงไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้วกราบทูลเวลาแด่พระสมณโคดมว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้วภัตตาหารสำเร็จแล้ว. โรสิกะช่างกัลบกรับคำโลหิจจพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.
ทรงโปรดโลหิจจพราหมณ์
[355] ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังบ้านสาลวติกาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. เวลานั้น โรสิกะช่างกัลบก ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์เกิดมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ ควรบรรลุกุศลธรรม ครั้นบรรลุแล้ว ไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้วไม่ควรสร้างเครื่องจองจำอื่นขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงเปลื้องโลหิจจพราหมณ์เสียจากทิฏฐิอันลามกนั้น. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่เป็นไร โรสิกะ ไม่เป็นไร โรสิกะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโลหิจจพราหมณ์แล้ว ประทับเหนืออาสนะอันเขาปูลาดไว้. ลำดับนั้น โลหิจจพราหมณ์จึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนให้อิ่มหนำแล้ว.
[356] ลำดับนั้น โลหิจจพราหมณ์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสวยแล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว จึงถืออาสนะอันหนึ่งซึ่งต่ำกว่า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโลหิจจพราหมณ์ว่า จริงหรือ โลหิจจะ ได้ยินว่า ท่านเกิดมีทิฏฐิลามกเห็นปานนี้ว่าสมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ ควรบรรลุกุศลธรรม ครั้นบรรลุแล้วไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำอื่นขึ้นใหม่ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดังนี้.
โลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญเป็นอย่างนั้น.
ภ. ดูกรโลหิจจะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านครองบ้านสาลวติกานี้มิใช่หรือ.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เป็นอย่างนั้น.
ดูกรโลหิจจะ เราขอถามท่าน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โลหิจจพราหมณ์ครองบ้านสาลวติกาอยู่ โลหิจจพราหมณ์ควรใช้สอยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในบ้านสาลวติกานั้นแต่ผู้เดียว ไม่ควรให้ผู้อื่น ดังนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น จะชื่อว่าทำอันตรายแก่ชนที่อาศัยท่านเลี้ยงชีพอยู่ได้หรือไม่?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าทำอันตรายได้.
เมื่อทำอันตราย จะชื่อว่าหวังประโยชน์ต่อชนเหล่านั้นหรือไม่หวัง.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์.
ผู้ที่ไม่หวังประโยชน์ต่อ จะชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเมตตาไว้ในชนเหล่านั้น หรือจะชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู.
เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นสัมมาทิฏฐิ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ดูกรโลหิจจะ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดเดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง.
[357] ดูกรโลหิจจะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงปกครองแคว้นกาสีและโกศลมิใช่หรือ.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น.
ดูกรโลหิจจะเราขอถามท่าน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงปกครองแคว้นกาสีและโกศลอยู่ พระองค์ควรทรงใช้สอยผลประโยชน์ที่เกิดในแคว้นทั้ง 2 นั้นแต่พระองค์เดียว ไม่ควรพระราชทานแก่ผู้อื่น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น ชื่อว่าทำอันตรายแก่พวกท่านและคนอื่นๆ ซึ่งได้พึ่งพระบารมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเลี้ยงชีพอยู่ได้หรือไม่?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าทำอันตรายได้.
เมื่อทำอันตราย จะชื่อว่าหวังประโยชน์ต่อชนเหล่านั้นหรือไม่หวัง.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์.
ผู้ที่ไม่หวังประโยชน์ จะชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเมตตาไว้ในชนเหล่านั้น หรือจะชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู.
เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ดูกรโลหิจจะ ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดเดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง.
[358] ดูกรโลหิจจะ ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันฟังได้ว่า ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าโลหิจจพราหมณ์ครองบ้านสาลวติกา ควรใช้สอยผลประโยชน์อันเกิดในบ้านสาลวติกาแต่ผู้เดียวไม่ควรให้ผู้อื่น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น ชื่อว่าทำอันตรายแก่ชนที่อาศัยท่านเลี้ยงชีพอยู่ เมื่อทำอันตราย ย่อมชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ต่อ เมื่อไม่หวังประโยชน์ต่อ ย่อมชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฉันนั้นนั่นแล ดูกรโลหิจจะ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ควรบรรลุกุศลธรรม ครั้นบรรลุแล้วไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้. บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำอื่นขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามกเพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น ชื่อว่าทำอันตรายแก่กุลบุตรผู้ที่ได้อาศัยพระธรรมวินัยอันตถาคตแสดงไว้แล้ว จึงบรรลุธรรมวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ คือทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง และแก่กุลบุตรผู้ที่อบรมครรภ์อันเป็นทิพย์ เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ เมื่อทำอันตราย ย่อมชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ต่อเมื่อไม่หวังประโยชน์ต่อ ย่อมชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ดูกรโลหิจจะ ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่ามีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดเดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง.
[359] ดูกรโลหิจจะ ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันฟังได้ว่า ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปกครองแคว้นกาสีและโกศล พระองค์ควรใช้สอยผลประโยชน์อันเกิดขึ้นในแคว้นทั้ง 2 นั้นแต่พระองค์เดียว ไม่ควรพระราชทานแก่ผู้อื่น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น ชื่อว่าทำอันตรายแก่ชนทั้งหลาย คือตัวท่านและคนอื่นๆ ผู้ที่ได้พึ่งบารมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเลี้ยงชีพ เมื่อทำอันตราย ย่อมชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ต่อ เมื่อไม่หวังประโยชน์ต่อ ย่อมชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฉันนั้นนั่นแล ดูกรโลหิจจะ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ ควรบรรลุกุศลธรรม ครั้นบรรลุแล้วไม่ควรบอกแก่ผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำอื่นขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้กล่าวอย่างนี้นั้น ย่อมชื่อว่าทำอันตรายแก่กุลบุตรผู้ที่ได้อาศัยพระธรรมวินัยอันตถาคตแสดงไว้แล้ว จึงบรรลุธรรมวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ คือทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง และกุลบุตรผู้ที่อบรมครรภ์อันเป็นทิพย์ เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ เมื่อทำอันตราย ย่อมชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ต่อ เมื่อไม่หวังประโยชน์ต่อ ย่อมชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ดูกรโลหิจจะ ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติเป็น 2 คือนรกหรือกำเนิดเดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ศาสดาที่ควรแก่การท้วง 3 จำพวก
-
[360] ดูกรโลหิจจะ ศาสดา 3 จำพวกนี้ ควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ ศาสดา 3 จำพวกนั้นเป็นไฉน?
ดูกรโลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาไม่ได้บรรลุแล้ว เขาไม่ได้บรรลุประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น. แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อสุขของท่านทั้งหลาย. สาวกของเขาย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา. เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใดประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว ท่านไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลายสาวกของท่านนั้นย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและย่อมหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เหมือนบุรุษที่รุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังถอยหลังหนี หรือดุจบุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ 1 ซึ่งควรท้วงในโลกและทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.
-
[361] ดูกรโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาไม่ได้บรรลุแล้ว เขาไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของเขาย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว ท่านไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านนั้น ย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและไม่หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดาเหมือนบุคคลละเลยนาของตนแล้ว สำคัญเห็นนาของผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้. ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ 2 ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.
-
[362] ดูกรโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาได้บรรลุแล้ว เขาได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกของเขาไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านได้บรรลุแล้ว ท่านเองได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกของท่านนั้นไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ 3 ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนั้น ก็จริงแท้เป็นธรรมไม่มีโทษ
ดูกรโลหิจจะ ศาสดา 3 จำพวกเหล่านี้แล ควรท้วงได้ในโลก และทั้งการท้วงของผู้ที่ท้วงศาสดาทั้งหลายเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.
ศาสดาที่ไม่ควรท้วง
[363] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้วโลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ศาสดาบางคนซึ่งไม่ควรท้วงในโลกมีบ้างหรือ.
พ. ดูกรโลหิจจะ ศาสดาที่ไม่ควรท้วงในโลกมีอยู่.
ล. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ศาสดาที่ไม่ควรท้วงในโลก เป็นไฉน.
ดูกรโลหิจจะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษผู้ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรมพระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่าฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่(โภคคักขันธาปหายะ) ละเครือญาติน้อยใหญ่(ญาติปริวัตตังปหายะ) ปลงผมและหนวดนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
พ่อครูว่า…อันนี้ท่านตรัสมาตั้งแต่พระสูตรต้นๆเลย คือ
มีศีลอันเป็นอาริยะ สำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะ มีสันโดษอันเป็นอาริยะ
พวกเราที่มาอยู่ในชุมชนชาวอโศกเป็นพวกใจพอ ถ้าใจไม่พอก็ต้องออกไปแสวงหาแย่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขกับเขา แม้อยู่ในนี้บางคนก็ยังไปญี่ปุ่นไปหาเงินไปซักผ้า ได้ผู้ที่ใจพอสันโดษแล้วไม่ต้อง อาตมาไม่ได้ใส่ความมีคนจริง อะไรกันนักกันหนามาอยู่ในนี้แล้วยังไม่ทราบซึ้ง ชีวิตอยู่ในนี้ดีแล้ว ในสังคมชาวอโศกส่วนใหญ่เลย เป็นคนที่สันโดษ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่สันโดษก็จะออกไป ใครจะมีมากน้อยก็แล้วแต่ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ คนที่ไม่ดิ้นแล้วอยู่ในนี้ก็สบาย ทำงานกันไปช่วยกันไป หากใครไม่ขี้เกียจไม่ตกงานแน่ อย่างน้อยก็มาตั้งเก้าอี้ กวาดศาลา ช่วยกันเด็ดผัก ไม่อย่างนั้นก็ลงพื้นดิน ปลูกผักรดน้ำ มีอะไรเยอะแยะ ที่นี่มีงานให้ทำตลอด ใครจะไปช่วยโรงปุ๋ย ใครจะไปช่วยโรงยา ทำแปรรูป เยอะแยะ ไม่ได้มีงานที่มอมเมาเป็นพิษไม่ได้มิจฉา ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ค้าขายเนื้อสัตว์ สิ่งเป็นพิษสิ่งมอมเมา ไม่มี บริสุทธิ์ ไม่มีการที่จะได้เงินทองจากสิ่งเหล่านี้ บริสุทธิ์ ทั้งมิจฉาวณิชชา 5
พวกเราบริสุทธิ์ถึงขั้นมิจฉาชีพ 5 พวกเรานี่ ปฏิบัติธรรมอาตมาเห็นว่าประสบความสำเร็จ บางคนพ้นมิจฉาชีพ 5 (พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 275 มหาจัตตารีสกสูตร)
-
การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา) มีในงานการเมือง
-
การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง
-
การตลบตะแลง (เนมิตตกตา) ยังเสี่ยง-ยังไม่แน่แท้ ยังไปเสี่ยงต่อบาปอยู่
-
การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา) คนนี้ไม่ทำชั่วด้วยตัวเองแล้ว แต่ยังมอบตนไปรับใช้กับผู้ที่ผิดอยู่ เอาพฤติกรรมบริสุทธิ์ตัวเองไปรับใช้ คนบาปอยู่ เป็นทาสนายทุน ขึ้โกงทุจริตอยู่ ไม่เสียดายไม่มีศักดิ์ศรีตัวเองหรืออย่างไร อยู่ในโลกสังคมของเรา ผู้ที่บรรลุแล้ว ไม่ทุจริตมีอาชีพบริสุทธิ์สุจริตแล้ว จะไม่ไปรับใช้คนพวกนี้ แม้จะจบ Doctor จบสูงเท่าไหร่ก็ไม่ทำ จะทำงานส่วนตัวหรืออยู่กับหมู่กลุ่ม นิปเปสิกตะ
-
การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา) มาอยู่ในหมู่แล้วทำงานโดยไม่รับสิ่งแลกเปลี่ยน