บันทึกผ่านเลนส์ ส่องโพธิกิจ..พลีชีพ ลดกิเลสเพื่อนาวาบุญนิยม
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2561
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่พ่อครูจะแสดงธรรมในช่วง 9.00 น.ในรายการวิถีอาริยธรรมก่อนจะถึงเวลาที่พ่อครูจะแสดงธรรม ท่านสมณะหินจริงและคุรุได้นำนักเรียนเดินจงกรมเข้าศาลาเพื่อกราบท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและผู้ใหญ่ชาวชุมชน ก่อนที่จะแยกย้ายไปรวมตัวรับประทานอาหาร …ใกล้จะถึงเวลาพ่อครูแสดงธรรม ผู้เข้าค่ายสัมมาอาริยมรรคครั้งที่ 30 “เข้าพรรษาสู่โลกหน้าในโลกนี้”ได้มาถ่ายรูปพร้อมกันที่บริเวณหน้าโต๊ะแสดงธรรมพ่อครู..นักเรียนสัมมาสิกขาเข้าศาลากราบท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุรวมถึงผู้ใหญ่ในชุมชน..
พ่อครูเตรียมเอกสารต่างๆ รวมถึงพระไตรปิฎกเพื่อใช้ประกอบในการแสดงธรรมหลังจากพ่อครูแสดงธรรมเสร็จ ถึงเวลาฉันภัตตาหาร ท่านปัจฉาดินไทจัดสำรับภัตตาหารหลังจากที่ทีมแม่ครัวได้นำมาถวายก่อนหน้านั้นแล้ว อาหนึ่งฟ้า นาวาบุญนิยม เข้ามากราบนมัสการสนทนาธรรมกับพ่อครู น้องรุณ ฟางรวงทอง นำสายบัวมาถวายพ่อครูเรียนพ่อครูว่าเป็นสายบัวที่ปลูกไว้หน้าบ้าน เพิ่งเก็บมาสดๆถวายหลวงปู่..
วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่มีผู้มาฟังธรรมเต็มศาลา หลังจากฟังธรรมเสร็จก็ยังมาร่วมรับประทานอาหารกันพร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างอบอุ่นเป็นเหมือนครอบครัวใหญ่ที่มีทั้งพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุ และผู้ใหญ่ชาวชุมชน…
12.48 น.หลังฉันภัตตาหารเสร็จ พ่อครูออกมาเดินที่ถนนหลังพระพุทธโต ฝนเริ่มตกพรำๆ ท่านปัจฉาหนักแน่น ถวายเสื้อกันฝนคลุมให้พ่อครู เดินไปสักพักฝนเริ่มตกหนักท่านปัจฉานิมนต์พ่อครูหลบฝนในสโตนเฮ้าส์พบท่านสมณะสอนนั่งพักอยู่ภายใน สโตนเฮ้าส์ พอฝนเริ่มซาพ่อครูเดินออกมาถนนตรงมูน ไปด้านหน้าป้ายบวรราชธานีอโศก เพื่อดูตำแหน่งที่จะติดตั้งรูปหล่อพ่อครูปางอภัย พี่ปุ๊ก ทองไทและรุณ ฟางรวงทอง ที่กำลังจะมาถ่ายทำก็เข้ามากราบนมัสการพ่อครู พ่อครูได้กรุณาแนะนำท่านสมณะแก่นเกล้า ว่าสมควรจะติดตั้งบริเวณไหน โดยให้ท่านแก่นเกล้าลองกะคาดคะเนวัดดูความพอดีของรูปหล่อโลหะซึ่งได้นำมาไว้ใกล้ๆบริเวณกองหิน ..พ่อครูเข้าไปยืนดูรูปหล่อโลหะมีความสูงเกือบ 5 เมตรเห็นร่องรอยการเจียรเพื่อแยกออกจากแผ่นที่เป็นฉากโลหะเพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายและติดตั้ง…
พ่อครูเดินมาตรวจดูงานสร้างถนนซึ่งเริ่มเทคอนกรีตเกือบจะเต็มแบบที่วางเอาไว้แล้ว แต่เนื่องจากวันนี้เป็นวันอาทิตย์คนงานไม่ได้มาทำงานคงต้องรอวันรุ่งขึ้น พ่อครูเดินมาที่ถนนตรงกลาง ผ่านวิทยาลัยอาชีวะ เห็นดอกคุณนายตื่นสาย ยังคงบานได้งดงาม ผ่านมาเห็นทีไรพ่อครูก็ชื่นชมผู้ดูแลที่ดูแลดอกไม้เป็นอย่างดี คุณแหม่มและน้องกวางเข้ามากราบนมัสการพระครู…
..พ่อครูเดินมาถึงบริเวณลานหินลูกรัง ซึ่งกำลังมีการยกเรือออกจากสาลี่ ทีมศิษย์เก่าเข้ามากราบนมัสการพ่อครู รวมถึงนักศึกษาอาชีวะที่กำลังเตรียมงานบนเรือก็นั่งกราบนมัสการพ่อครูเช่นเดียวกัน พ่อครูเดินลงไปดูที่เรือ ศิษย์เก่าสุวรรณ ฟ้าลือเข้ามากราบนมัสการพ่อครู ท่านเดินเข้าไปดูสภาพของเรือกระแชงไม้โบราณที่เก็บไว้เป็นเวลานานก็ผุพังไปไม่น้อย ซึ่งได้เดินทางมาถึงที่นี่ตั้งแต่เมื่อคืน น้องรุณ ฟางรวงทอง ได้รายงานข้อมูลการเดินทางก่อนหน้านี้ไว้ว่า โครงการอนุรักษ์เรือไทย
ย้ายเรือจากแม่น้ำบางปะกงสู่แม่น้ำมูล อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
ระยะทาง 609.7กม.
เรือที่ขน: กระแชง 3 ลำ
กว้าง 6.20 ซ.ยาว 18 เมตร
**เรือลำเล็ก 1 ลำ กว้าง 4 เมตร ยาว 11 เมตร เอาใส่เรือแม่
เดินทาง 64 ชีวิต ทั้งนักบวช ศิษย์เก่า ญาติธรรม น้องๆอาชีวะ
ผู้บริจาคเรือคือคุณวิชาญ จิรเวชบวรกิจ เป็นญาติธรรมเก่าแก่ ซื้อไว้ประมาณ 19 ปีที่แล้ว เพื่อประกอบการทำร้านอาหารมังสวิรัติ ที่บางปะกง ต่อมาเลิกกิจการจึงบริจาคเรือนี้ให้วัด พร้อมออกค่าใช้จ่ายในการขนย้ายให้อีกด้วย
เตรียมขบวน 22.09 น.
เคลื่อนขบวน 22.29 น.
สรุปการเดินทางครั้งนี้ไม่ได้ขนแค่เรือ แต่มี 3 สิ่งใหญ่ๆที่ย้ายพร้อมกัน
1.ขนเรือไปบ้านราช จากอ.บางปะกงฉะเชิงเทรา
2.มีรูปหล่อทองเหลือพ่อครู ที่ย้ายจากวิหารพันปีสันติอโศกไปบ้านราช
3.บิ๊กเทลเลอร์มือ2 เก่าเก็บ แบบมีดอลลี่ 32 ล้อ บรรทุกน้ำหนัก 200 ตัน ซื้อไปเพื่อขนหินทรายก้อนใหญ่ ในพื้นที่ทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน จาก อ.โขงเจียมมาปรับภูมิทัศน์ที่บวรราชธานีอโศก
มีเจ้าหน้าตำรวจ จาก สภ.วารินชำราบ มาช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องเส้นทางให้ด้วย 4 นาย
พอมีใบสำรวจเส้นทางแจกให้แต่ละทีม จึงรู้สึกว่าการเดินทางเป็นไปด้วยความปลอดภัยและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะในนั้นมีการสำรวจไว้ละเอียดมากค่ะ พี่สุวรรณบอกว่า “ถือว่าการเดินทางคืนแรกเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีอุปสรรคปัญหาใหญ่อะไร แผนของเราคือการยึดเหตุการณ์เฉพาะหน้าและเอาปัจจุบันให้สำคัญที่สุดครับ”
ฝ่ายเสบียงนำทีมโดยป้าดาวนา สัจจมุกดา ป้าเตรียมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงยารักษาโรค เผื่อใช้ในยามจำเป็น เมื่อคืนที่รถยางรั่วตอนตี 2 ทีมก็มาจกข้าวเหนียวจ้ำแจ่วเห็ดแจ่วบองที่ป้าเตรียมมา
เมื่อวานพี่ต้อง สิทธิชัย ศิษย์เก่าบ้านราชมาช่วยขนเรือ นำเห็ดนางฟ้าที่เพาะเลี้ยงมาให้ด้วย ป้าดาวนาก็จะได้นำมาทำอาหารถวายท่านสมณะและให้ทีมงานได้ทานในเช้านี้ แต่ยังไม่ทราบว่าเราจะได้จอดพักทานข้าวกันที่ไหน…
ศิษย์เก่าสุวรรณ ฟ้าลือ รายงานการทำงานที่ผ่านมาฝนเริ่มตกพรำๆ ท่านปัจฉานิมนต์พ่อครูนั่งพักที่ศาลาริมทางฝั่งตรงข้าม ซึ่งพ่อครูยังคงนั่งให้กำลังใจดูกันย้ายเรือยกออกสาลี่วางบนฐานเตรียมซ่อมโดยมีทีมงานศิษย์เก่า นักเรียน นักศึกษา ของสัมมาสิกขา รุ่นพี่รุ่นน้อง ช่วยกันอย่างเข้มแข็ง อบอุ่น มีท่านสมณะแก่นเกล้าเป็นที่ปรึกษาและคอยช่วยเหลือ พ่อครูชื่นชมการทำงานการเรียนรู้ของสัมมาสิกขาที่เรียนรู้คู่การปฏิบัติ ทุกนาทีเป็นหน้าที่ของการเรียนรู้ฝึกฝนจากรุ่นสู่รุ่น เราจะพบเจอศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้เป็นประจำจากกิจกรรมการงานที่เกินกำลังของผู้ใหญ่ชาวชุมชนอย่างเช่นงานขนหิน ขนเรือ หรือวัตถุชิ้นใหญ่ๆ ซึ่งผู้ใหญ่ชาวชุมชนไม่สามารถมีกำลังพอที่จะทำงานนี้ได้ ก็ได้อาศัยลูกๆนหลานๆเอาภาระเรื่องนี้จนสำเร็จภารกิจทุกงานมองเห็นพลังคนรุ่นใหม่เป็นลูกหลานพญาแร้ง ที่เป็นกำลังสำคัญของชาวอโศก..
การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นคล่องตัวเนื่องจากแต่ละคนพอมีประสบการณ์จากการเคลื่อนย้ายเรือ จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้สามารถวางแผนและร่วมกันทำได้อย่างแววไวและมีประสิทธิภาพ มีเรือลำที่ 3 เป็นเรือกระแชงที่มีเรือลูกอยู่ด้านใน พ่อครูเย้าว่าเรือแม่ออกลูกได้ ดูแล้วก็เป็นดั่งที่พ่อครูพูดจริงๆเหมือนเรือออกลูกแล้วจับมาวางอยู่ข้างๆกับเรือแม่ บรรยากาศที่เห็นเป็นบรรยากาศของความสามัคคีรวมพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ของชาวอโศก พ่อครูนั่งดูการทำงานจนเสร็จสิ้นภารกิจยกเรือ2 ลำสุดท้ายวางบนฐาน..ศิษย์เก่าสุวรรณ ฟ้าลือกราบนิมนต์พ่อครู ถ่ายรูปปิดภารกิจในครั้งนี้และพร้อมใจกันกราบนมัสการขอบพระคุณพ่อครูด้วยจิตยินดีในการเป็นลูกหลานอาสาช่วยงานหลวงปู่..
หลังจบภารกิจย้ายเรือ พ่อครูทราบข่าวว่าที่โรงปุ๋ยกำลังขาดแรงงานสำหรับขึ้นปุ๋ยจึงได้ตรงไปที่โรงปุ๋ยพลังชีวิตเพื่อช่วยเข็นปุ๋ยขึ้นรถจำนวน 640 กระสอบซึ่งมีทั้งท่านสมณะ ผู้ใหญ่ชาวชุมชนและนักเรียนบางส่วนได้เข้ามาช่วยอยู่แล้ว พ่อครูยังเต็มใจยินดีในการช่วยเข็นปุ๋ยอยู่เสมอ บรรยากาศที่โรงปุ๋ยก็จะเห็นบรรยากาศของความเป็นครอบครัวอีกเช่นกัน เป็นบวรที่แท้จริงเพราะมีทั้งในเรื่องการศึกษาที่มีแก่นแกนคุณธรรม มีสัมมาอาชีพที่เป็นสามอาชีพเพื่อมนุษยชาติ คือกสิกรรมไร้สารพิษ ปุ๋ยสะอาดและขยะวิทยาด้วยหัวใจ เรายังเห็นรอยยิ้มจากเด็กๆที่เข้ามาเรียนรู้กับผู้ใหญ่ในชุมชน แม้เด็กนักเรียนสมุนพระรามในชมรมจิตอาสาก็มากับครูติ้วและเข้ามากราบนมัสการพ่อครู ก่อนที่พ่อครูจะกลับที่พักชั้น 4 เฮือนศูนย์สูญ..