บันทึกผ่านเลนส์ ส่องโพธิกิจ…แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ต้องปฏิบัติธรรมแบบสัมมาทิฏฐิเท่านั้น
วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2561
เช้านี้เวลาประมาณ 8.07 นาที ท่านสมณะถักบุญได้นำอาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมงานมากราบนมัสการพ่อครูและได้สนทนาธรรมกันในเรื่องที่อาจารย์เป็นวิศวกรรุ่นใหม่ และมีแนวความคิดในเรื่องโลกทุกวันนี้มุ่งสู่เทคโนโลยีพัฒนาไปหาหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมมากเกินไป อาจารย์ปัญญา จึงมีแนวความคิดสร้างสมดุลให้กับสังคมโดยมุ่งสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ลดการใช้ยาและปุ๋ยเคมี ออกแบบนวัตกรรม 2 ด้านทั้ง 4.0 และ 0.4 พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ อีกนัยยะหนึ่งก็สำหรับกสิกรที่ทำกสิกรรมแบบปราณีต ดั้งเดิมเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานและเวลาเพื่อที่จะนำเวลาที่เหลือไปต่อยอดพัฒนาส่วนอื่น รวมถึงชาวนายุคนี้คนทำนาสุขภาพเสียกันมาก ทั้งเรื่องดำนา เกี่ยวข้าว อาจารย์จึงออกแบบนวัตกรรมที่ช่วยตั้งแต่การเพาะกล้าและหยอดข้าวโดยให้ชื่อนวัตกรรมนี้ว่า ไอ้เคี่ยมTransformer (I-KIAM) ที่สามารถลุยนาหล่ม นาลาดชัน ได้ฉลุย พ่อครูให้สาระธรรมเกี่ยวกับเรื่องชาวอโศก มีสัมมาอาชีพในเรื่อง สามอาชีพเพื่อมนุษยชาติ โดยกสิกรรมไร้สารพิษเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุด ที่ชาวอโศกถนัด และมุ่งต่อยอดพัฒนาเพื่อผลิตอาหารมีคุณค่า ประณีต ซึ่งเป็นอาหารที่ไร้สารพิษสู่สังคม โดยที่มีการดำเนินชีวิต กินอยู่ร่วมกันแบบสาธารณโภคี ทำให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ โดยหลักเศรษฐกิจของชาวอโศก ก็ดำเนินไปเช่นเดียวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งพ่อครูได้นำพาชาวอโศกปฏิบัติเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจคือ
1.ไม่เป็นหนี้
2.ทำให้พอกินพอใช้
3.ทำให้เกินกินเกินใช้
4.เมื่อทำเกินแล้วที่เหลือเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นและสังคม
โดยทุกคนมีสมรรถนะ ความขยันความเพียรให้มากเป็นคนไม่ขี้เกียจ สนทนาเสร็จสิ้นเวลาประมาณ 8.25 นาที พ่อครูได้มอบหนังสือเราคิดอะไรหนังสือคนจนที่มีแบบ และหนังสือสัจจะชีวิตภาค 4 ให้ทางอาจารย์และทีมงาน จากนั้นทีมงานได้กราบนิมนต์พ่อครูถ่ายรูป ก่อนที่จะนมัสการลากลับในเวลา8:30
หลังจากทุกคนกลับไปแล้ว พ่อครูได้ตรวจSMS ที่ท่านปัจฉาดินไท นำมาถวายเพื่อเตรียมตอบคำถามในรายการวิถีอาริยธรรมที่จะแสดงธรรมในช่วงเวลา 9.00 น
เวลา 8.55 นาทีพ่อครูลงจากชั้น 4 มาที่ชั้นล่างเฮือนศูนย์สูญ ท่านสมณะฟ้าไท นั่งรอเพื่อเตรียมจัดรายการ มีพวกเรานำองุ่นป่ามาถวายตกแต่งที่เวทีแสดงธรรมพ่อครูบอกว่าการตกแต่งเวทีของพวกเราไม่เหมือนที่อื่น ซึ่งมีเครื่องประดับเป็นแก้วแหวนเงินทองของมีค่า แต่ของเราเป็นพืชผักผลไม้สีสันก็หลากหลาย ดอกไม้ก็เป็นดอกไม้ที่รับประทานได้
วันนี้พ่อครูแสดงธรรมตอบ SMS เพียง 1 ข้อในเรื่องสวดมนต์ที่ในสังคมพุทธเมืองไทยยังมิจฉาทิฏฐิ สวดมนต์ผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า พ่อครูอรรถาธิบายในเรื่องสวดมนต์แบบสัมมาทิฏฐิถึงชั่วโมงครึ่ง เวลาที่เหลือจึงได้ตอบSMSและคำถามที่ค้างอยู่
เวลา 11.07 นาที พ่อครูลงมาฉันภัตตาหารร่วมกับท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและญาติโยมจำนวน 68 คนที่นั่งกันครึ่งศาลา พ่อครูฉันภัตตาหารพร้อมทั้งอ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย
เวลา 11.07 นาที พ่อครูลงมาฉันภัตตาหารร่วมกับท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและญาติโยมจำนวน 68 คนที่นั่งกันครึ่งศาลา พ่อครูฉันภัตตาหารพร้อมทั้งอ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย
เวลา13.40 นาทีหลังจากที่พ่อครูฉันภัตตาหารเสร็จ ท่านเดินออกมาดูที่น้ำตกหินน้ำไหล จากนั้นมายืนรอรถสัญญาตะวันที่ด้านล่างสวนไม้ตาย เจอรถทีมกสิกรรมที่ทำสีใหม่ ไม่รู้ว่าจะเรียกสีอะไร โดยมองแล้วเป็นรถใช้งานภาคกสิกรรมจริงๆ เพราะมีทั้งหัวมันและต้นมันที่จะเตรียมไปปลูกในวันบวรเต็มคันรถ
เวลา 13.43 นาที พ่อหินเข้มขับรถสัญญาตะวันพาอาจารย์ปัญญามารับพ่อครูตามคำนิมนต์ของท่านสมณะถักบุญให้พ่อครูไปดูเครื่องหยอดข้าวและเครื่องเพาะกล้าที่อาจารย์ปัญญาจะทำการสาธิตบริเวณแปลงที่นา รถสัญญาตะวันจึงพาไปที่อาคารบวรบริเวณถนนด้านข้างอาคารพ่อใหญ่นาทานเข้ามากราบนมัสการพ่อครูและขออภัยพ่อครูที่ได้ไปถอนหญ้าหน้าลานสะโพและบอกว่าถ้าพ่อครูต้องการให้ปลูกใหม่ก็ทำได้ อาจารย์ปัญญาอธิบายการหย่อนกล้าที่เมื่อเช้าได้ทำการสาธิตบริเวณที่นาข้างอาคารบวร ให้พ่อครูได้รับทราบ ผ่านลงมาถนนทางลัดไปโรงปุ๋ยพลังชีวิตเพื่อดูผลการหย่อนข้าวเมื่อเช้านี้ อาจารย์ปัญญาเห็นกล้วยขึ้นงามมาก เหมือนป่ากล้วย ท่านให้ข้อคิดว่าป่ากล้วยนี้มีช่องแสงผ่านน้อย ทำให้มีความชื้นถ้ามีศัตรูพืชมาลงก็จะเสียหายทั้งแปลงได้ พ่อครูบอกว่าหมู่บ้านเราปลูกอะไรก็อุดมสมบูรณ์ไม่ใช่แค่กล้วยหรือมะละกอเท่านั้น ผ่านมาทางโรงจุลินทรีย์ก็เห็นต้นชายาขึ้นอุดมสมบูรณ์มาก รถสัญญาตะวันนำพ่อครูผ่านบริเวณซ่อมเรือ เลี้ยวเข้าถนนตรงซอยเพื่อมาถึงที่นาลานกราบ ทีมงานยังไม่พร้อม พ่อครูจึงเลี้ยวแวะไปดูปริมาณน้ำบริเวณริมแม่น้ำมูนก่อน เห็นรถตุ๊กๆจอดข้างทางหน้าสวนทำกินสอบถามว่ามาส่งคนเล่นน้ำตกหินน้ำไหล รถสัญญาตะวันมาถึงริมแม่น้ำมูน ปริมาณน้ำยังทรงตัว รถวิ่งมาตามถนนสันเขื่อนริมมูนพบฝูงวัว 5ตัวกำลังเล็มหญ้า ผ่านมาบริเวณรังนกกระจาบที่ต้นกุ่มริมมูน ซึ่งนกก็ยังส่งเสียงอยู่ที่รังเช่นเคยแสดงว่ายังมีนกกระจาบอาศัยอยู่ยังไม่หนีไปไหน
รถมาถึงบริเวณลานกราบใกล้แท๊งค์ประปาเดิม ศิษย์เก่าวิษรุจน์กำลังตีแปลงเทือกนาเพื่อให้ดินมีความนุ่มและเกลี่ยหน้าดินให้เหมาะสมกับการหย่อนกล้า
จากนั้นอาจารย์ปัญญาได้อธิบายการทำนาในยุค4.0 ที่ใช้นวัตกรรมมาช่วยในการทำนารวมถึงนวัตกรรมที่อาจารย์ปัญญาและทีมงาน ได้ประดิษฐ์ขึ้นชื่อ ไอ้เคี่ยมซึ่งพัฒนาให้ใช้งานได้ง่าย สามารถพ่วงติดท้ายรถไถนาเดินตามโดยออกแบบให้รถวิ่งบนถนนก็ได้ แต่พอจะลงที่นาก็เปลี่ยนล้อสำหรับตะกุยดินได้ ท่านอาจารย์บอกว่าเครื่องหย่อนกล้ารุ่นนี้ชื่อ ไอ้เคี่ยม ประกอบไปด้วยชั้นสำหรับใส่ถาดกล้าเป็นวงกลม 2 ชั้นแต่ละชั้นมีสิบสองแถวบรรจุถาดต้นกล้าแถวละ 5 ถาดด้านซ้ายฝั่งขวาคนขับติดตั้งเก้าอี้สำหรับคนนั่ง สำหรับเติมถาดกล้าใส่เครื่องคีบหย่อนกล้า ส่วนด้านซ้ายคนขับมีช่องรองรับถาดเปล่า ซึ่งเครื่องคีบจะดันถาดส่งออกอัตโนมัติหลังกล้าข้าวหมดแล้ว การทำงานของรถหย่อนกล้าที่มีหน้ากว้าง 2.5 เมตร สามารถหย่อนกล้าข้าวได้แถวละ 10 กอแต่ละกอห่าง 25×25 เซนติเมตรพื้นที่ 1 ไร่ใช้เวลาหย่อนกล้า 40 นาทีและหลังจากนั้น หย่อนกล้าไปแล้ว 2 วันต้นกล้าฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ดีกว่าใช้แรงงานคนที่ต้องใช้ถึง 8 คนต่อวันถึงจะดำนาได้ 1 ไร่ท่านอาจารย์ยังบอกว่าสำหรับเครื่องเพาะกล้าสามารถเพาะได้ 1,200 ถาดต่อชั่วโมง มีท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุ ชาวชุมชนและนักเรียนสัมมาสิกขาโดยเฉพาะนักเรียนอาชีวะเกษตรให้ความสนใจเรียนรู้ในเรื่องนวัตกรรม 4.0 สำหรับช่วยทำนา พ่อครูดูจนจบกระบวนการหยอดข้าว
เวลาประมาณ 15.15 น. พ่อหินเข้มขับรถสัญญาตะวันไปส่งพ่อครูที่ด้านหน้าสขจ.พ่อครูพร้อมคณะท่านปัจฉากลับขึ้นชั้น 4 เฮือนสูญถึงห้องทำงาน พ่อครูยืนมองภูมิทัศน์บริเวณหน้าต่างชั้น 4 ซึ่งมองเห็นทางน้ำตกหินน้ำไหล หมู่บ้านเฟส 1/1 เฟส 1/2 รวมถึงริมแม่น้ำมูนพ่อครูยังมีดำริว่าถ้าสามารถให้เป็นน้ำตกลงไปตั้งแต่ชั้น 4 เอียงน้ำให้ไหลตกลงไปที่น้ำตกหินน้ำไหลก็จะงดงามมาก และสนทนากับพวกเราต่อในเรื่องสมัยก่อนที่พ่อครูเข้ากรุงเทพก็มาเป็นเด็กวัดที่วัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นวัดแรกที่พ่อครูมาอาศัยอยู่เป็นเวลากว่า 1 เดือนก่อนจะไปเช่าหอพักอยู่ จากนั้นพ่อครูอ่านหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะเป็นปกติเช่นเคย..