[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=jDTbjWrTioY[/embedyt][embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=jDTbjWrTioY[/embedyt]
ห่อผักสวยด้วยน้ำใจ
กิจกรรมในสวนทำกิน เป็นแปลงกสิกรรมไร้สารพิษ ที่มีทีมคุรุสัมมาสิกขาราชธานีอโศก หลายท่านใช้เป็นห้องเรียนรู้สอนเด็กๆสร้างประสบการณ์ชีวิตจริง มีชีวิตชีวาทุกครั้งเมื่อได้สัมผัส กับบรรยากาศท่ี่มีเสียงนกร้องแว่วมา อากาศสดชื่น ฝนตกให้ฉุ่มฉ่ำเย็นในบางวันพื้นดินยังอุดมสมบูรณ์รองรับพืชผัก ตามฤดูกาลที่หามาปลูกอยู่ปลูกกินเสมอ พอเพียงกับชุมชนแต่ละช่วงได้
ในแต่ละเช้าคุรุยิ่งดาว สำรวจพืชผักเพื่อที่จะนำกาบกล้วยมาบรรจุห่อพืชผักเป็นรูปทรงน่ามอง ผ่านมือที่จัดสรรรูปแบบออกมาอย่างดูดี ได้อามุ่ยชาวชุมชนมาช่วยออกไอเดียเพิ่มยิ่งประสานความคิดเห็นได้ดีทีเดียว คุรุยิ่งดาวบอกว่าทำไปแล้วมีความสุขไป แถมมีไอเดียเพิ่มขึ้นอีกมากเลย
จุดแรกคิดว่าเราน่าจะมีพิชผักแปลกๆที่แตกต่างจากผักที่เราเคยปลูกบ้าง เพื่อความหลากหลายเป็นต้นว่า กลุ่มผักสีสดใส หรือเข้ม น่าจะมีเข้ามาปลูกเพิ่มขึ้น และต้องการให้ชาวชุมชนเราได้กินอย่างอุดมสมบูรณ์ อยากให้เขามีกินกัน คงจะเกิดจากความพร่องที่จะหามาปลูกเหมือนว่าได้ไปเห็นสังคมที่เขามีเงินซื้อ เขาอยากกินเขาก็นำเงินมาซื้อได้เลย มาคิดว่าหากเราไม่มีเงินเราจะสามารถปลูกอยู่ปลูกกินได้ไหม
พืชผักสวนครัวเหล่านี้ เป็นผักที่เหลือเฟือมันเป็นสิ่งเหลือเฟือสำหรับเรา แต่น่าจะมีประโยชน์ กับผู้อื่น ก็พยายามทำให้รู้ว่าเราสามารถกำหนดงานของเราเองได้ไม่มีใครมาบังคับให้ต้องทำว่าเริ่มงานกี่โมง–เลิกกี่โมง ซึ่งเป็นงานมีคุณค่ามีอิสะเสรีภาพมาก สุขภาพจิตใจผู้ทำย่อมดีไปด้วยกัน มีผู้สนใจจากจุดต่าง ๆในชุมชนเรา เช่นแม่เปลี่ยน(แสนสุข) เก็บผลผลิตมาให้บ้าง แล้วแต่โอกาส มันเป็นเรื่องของน้ำใจ บ้างก็เก็บตัวอย่างพริก หรือเอาผักต่าง ๆมาให้แพ็ก เราก็แจ้งยอดวันหนึ่ง แม่ขายได้เท่าไหร่ เราก็แจ้งไป ครั้งแรกได้ 200 กิโลกรัม จัดห่อเป็นแพ็กได้ 20 แพ็กๆละ 200 บาท ครั้งที่ 2 =450 กิโลกรัม = 45 แพ็ก ครั้งที่ 3 480 กิโลกรับ = 48 แพ็ก พอมาจับตัวเลขรู้สึกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมา คนก็เห็นภาพชัด ก็มีจัดมุ่งหมายที่จะทำ เกิดแรงจูงใจ เพราะบางทีคนทำสวน ทำกสิกรรม คิดว่าทำอยู่ทำกินตามปกติก็พอแล้ว เหมือนเราทำลอย ๆไป แต่วันนี้มีคุณค่า เช่นผักบุ้งวันหนึ่งได้ผักบุ้งมา 20 กำ ปกติจะถอนทิ้ง เอามาตกแต่งแล้วห่อกำละ 5 บาท ส่งร้านค้าที่อุทยานฯ สหกรณ์บ้าง เราเห็นว่ามันเยอะ เราก็จะถอนทิ้งอยู่แล้ว เด็ดด้วยถอนทิ้งด้วย อากาศก็ร้อนในแต่ละวันแบบนี้ก็จะขาดประโยชน์ไป เช่นสัปดาห์นี้ พิสูจน์แล้ว 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ 11,000 บาท แล้วสวนอื่นก็ได้ข้อคิดว่า ในสวนของตนเองที่ทำไว้หากมองดีๆจะเห็นผักที่สามารถนำมามัดขายได้ ยังมีเหลืออยู่ ไม่ต่้องตีความคิดไป แบบเก็บเล็กผสมน้อย อย่างนี้ก็ช่วยชุมชนเราได้ระดับหนึ่ง ดีกว่าปล่อยให้พืชผักเราเน่าเสียในแปลง “ไม่ใช่แค่คนเก็บผักขาย แต่เรามองให้เห็นถึง ความใส่ใจในพืชผักในสวนของตัวเอง พร้อมเก็บข้อมูลด้วยทำงานในสวนไปด้วย อย่างฤดูกาลนี้ไม่น่าจะเก็บอะไรได้ก็สามารถเก็บผลผลิตแถมก่อเกิดรายได้ตามมาสะพัดให้กับชุมชนเของเรา
ก้าวต่อไปยังคิดค้นหาพันธ์พืชผัก สีสรรแปลกใหม่ รูปแบบที่แตกต่างมาปลูกด้วยเช่น คะน้าใบหยัก แครอท ฯลฯ ไม่ใช่แค่เรามองเห็นเฉพาะในสื่อหรือในหนังสือเท่านั้น หากมีโอกาสแล้วก็พัฒนาต่อไปอีกได้ ให้เกิดขึ้นจริง ในสวนแห่งนี้ ”