610905_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ นั่งหลับตาปฏิบัติหมดสิทธิ์บรรลุธรรม
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่…https://docs.google.com/document/d/1wkcrjfoUfUXfbkOePOiSSjfpUrcrgh42VTUD_U6DNdI/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=1DiZgy3GK80z-YMCIgz-KbAKnzf13P3HH
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันพุธที่ 5 กันยายน 2561 ที่บวรราชธานีอโศก ผู้สนใจรายการนี้ก็คือผู้ที่สนใจธรรมะโลกุตระ ที่แตกต่างจากจอโทรทัศน์อื่น จอนี้ไม่พานั่งหลับตามีแต่วิจัยวิจารณ์ตัดกิเลสอย่างไร ศาสนาที่ถูกต้องควรเป็นทิศทางไหน ตอนนี้พูดเรื่องอรหันต์กันได้หากเราปฏิบัติธรรมโลกุตระ ตามที่พ่อครูพาทำ
มีเกษตรกรจากอำเภอเดชอุดม มาอบรมที่นี่ เขาทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช้ยาฆ่าแมลงแต่ขายพืชผักไม่ได้ แต่เขายังมีอบายมุขยังไม่ถือศีล ยังเล่นหวย ทำให้คนไม่เชื่อถือ หากคนมีคุณธรรมคนจะเชื่อถือ ชาวอโศกคนเชื่อถือในคุณธรรม เมื่อคนเชื่อถือได้ผลผลิตที่ออกมาก็มีคนเชื่อถือไปด้วย เราไม่ได้ขายแค่ผัก ขายของ แต่เราขายคุณภาพของคน หากคนมีคุณธรรมแล้ว สิ่งที่เป็นผลผลิตก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพราะเขาเชื่อในบาปกรรม และลดละกิเลสจึงเป็นผู้ให้ได้มากขึ้น เอาให้แก่ตัวเองน้อยลง สังคมเราจึงเป็นสังคมที่ทำเพื่อคนอื่นมาก เอาให้แก่ตัวเองน้อย
พ่อครูว่า…SMS 3 – 4 กันยายน 2561
_1614 เราไม่มีทางรู้เลยว่าเผลอทำให้คนอื่นเสียความรู้สึกหรือเปล่า เหมือนกับที่คนอื่นไม่มีทางรู้เลยว่าทำให้เราเสียความรู้สึกไหม จะพูดตรง ๆ แบบไหนดีคะ
พ่อครูว่า..ตอบ…คุณจริงใจก็แล้วกัน หากไม่พูดรุนแรงกระโชกโฮกฮากเกินไปไม่เป็นไรหรอก
_3867 เคยดูรก.สารคดีโลกเรื่องผู้สูงวัยญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น!แต่ประชากรลดลงเพราะคนรุ่นใหม่มัวแต่งกับงานไซเบอร์ผลิตหุ่นยนต์จนไม่มีเวลาแต่งงานมีครอบครัวผลิตลูกหลาน!
พ่อครูว่า…แก้ไขไม่ยากหรอกเรื่องไม่มีลูก
_3867 ขณะที่เวเนฯอาเจนฯเผชิญวิกฤติศก.!ตะวันออกกลางเผชิญสงครามก่อการร้าย!ยุโรปเผชิญผู้อพยพลี้ภัยทะลัก!มหาอำนาจเผชิญภัยธรรมชาติ!พลังหุ่นยนต์ไร้หัวใจฤาจะกู้วิฤติภัยได้ดีกว่า พลังคนสามัคคีรวมน้ำใจ?
พ่อครูว่า…หุ่นยนต์คืออุตุนิยาม เขาได้พยายามทำให้มันละเอียดลออในวงจรต่างๆ จนเหมือนคน แต่พีชนิยาม ไม่มีเวทนา แต่มีตัวตนของมันเอง มันก็ปรุงแต่งของมันเอง ส่วนหุ่นยนต์ไม่ได้ปรุงแต่งตัวเอง คนอื่นป้อนรหัสใส่รหัสให้มัน แล้วรหัสมันจะไปเพิ่มได้บ้าง มีการพัฒนาการที่เกินกว่าคนสร้างได้อีกนิดหน่อย มันเป็นพลังงาน รังสีเติมเต็มไปบ้างแต่ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันอะไรหรอก พลังงานมันไม่เคลื่อนที่ก็ไม่เกิดอะไรแล้ว มันเป็นสสารและพลังงานโดยตรงไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่ ISH ไม่มีความเป็นประธานในตัวมันเอง มันเป็นพลังงานกับ circuit ต่างๆเป็นตัวสั่งตัวทำงาน ถ้าเขาเรียนรู้ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยามแบบพุทธ เขาจะไม่ทำต่อเพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ก็ให้เขาลองทำกันไป จะทำได้ละเอียดยิ่งขึ้น มันเป็นแค่พลังงานและสสารไม่ใช่ถึงชีวะ
_พระพุทธธรรมโม พุทธธรรมะ ·สาธุ…กราบพ่อครู…ผู้เป็นสยังอภิญญาในยุคมืดขอรับ..ขอแสงสว่างแห่งธรรมจงแผ่ขยาย…เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่ออนุเคราะห์มวลมนุษย์สืบต่อไปครับ
_แหม่ม สวิส รายการสำมะปี๋ซีวิตครั้งต่อไป….ขออนุญาตกราบเรียนฝากคำถามค่ะ
“มโนมยิทธิ”คืออะไร มีกี่แบบ ใช่หนทางดับทุกข์หรือไม่คะ
พ่อครูว่า…ก็โปรดติดตามพรุ่งนี้
_พุทธพิมพ์ไพร….เรียนพ่อครู ลูกได้ฟังรายการสัมมะปี๋ชีวิตเมื่อวานนี้ ได้ประโยชน์มากเลยค่ะโดยเฉพาะกับคำถามของอาปีกแก้ว ที่ถามมาเรื่องไข่ลมในการทําจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคำถามคือ
-
นักปฏิบัติธรรมที่ไม่หยุดอยู่ จะขวานขวายทำศีลของตนเองให้บริสุทธิ์ยิ่งๆขึ้นเหมือนอาปีกแก้วที่รู้สึกว่า มีตัวไม่สบายใจเรื่องไข่ลม
-
เมื่อเกิดความไม่สบายใจหรือติดขัดในการปฏิบัติธรรมก็ให้เข้าหาสัตบุรุษ ซึ่งอาปีกแก้วก็มาถามคำถามพ่อครู ผู้เป็นสัตบุรุษที่สุดในโลกนี้
-
ความกระจ่างเกิดขึ้นทันทีเมื่อได้ฟังสัตบุรุษและที่สำคัญได้ใช้กระบวนการกลุ่มแก้ปัญหาด้วยคือ สิกขมาตุก็สามารถหาสิ่งทดแทนไข่คือถั่วเหลือง
หมายเหตุ ถ้าเราไม่ยอมแพ้หรือจนมุมในปัญหา โดยมีศีลเป็นกรอบ เราก็จะได้ปัญญาอันเกิดจากการแก้ปัญหาภายใต้กรอบของศีล เหมือนได้ถั่วเหลืองมาใช้ทดแทนไข่ค่ะ
พ่อครูว่า…ถูกต้อง ชัดเจน สิกขมาตุเป็นหญิง เป็นคนค้นพบว่าเอาถั่วเหลืองไปหมัก 3 เดือน อาตมาสรุปได้ หมักกับน้ำซาวข้าว สามเดือนแล้วก็จะได้คุณสมบัติของโปรตีนที่มาแทนไข่ได้เลย เอามาทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้เลย ก็จบเรื่องที่เราต้องไปเกี่ยวข้องกับไข่
เหมือนมีคนถามว่ากินไข่ลมก็บาปไหม ไข่ลมไม่มีเชื้อของชีวิตนะ อาตมาก็ตอบไปว่า แล้วแม่มันจะรู้ไหมว่าไข่นี้ เป็นไข่ลม หรือไม่ใช่ไข่ลม มันเป็นสัตว์เดรัจฉานมันก็ไม่รู้มันก็หวงแหน
ข้อสำคัญคือ ไปติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในความเป็นไข่ แม้แต่สมมุติว่านี่คือไข่กับสมมุติว่านี่คือถั่วเหลือง แม้ว่า จะทำให้ถั่วเหลืองมีรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสเหมือนใครอย่างไรก็ตามคนก็จะกินไข่ อย่างนี้เป็นต้นจะรู้รายละเอียดของเราว่าติดขั้นไหน ขั้นหน้ามืดที่เป็นไข่ จนเอาอะไรมาแทนไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น
_ลูกศีรษะอโศก…อาสวะ สาสวะ อนาสวะ สามคำนี้แตกต่างอย่างไร
พ่อครูว่า…อาสวะ คือกิเลสเต็มๆ สาสวะคือเริ่มปฏิบัติ เสขบุคคล เริ่มรู้จักกิเลส ทำให้กิเลสลดลงได้เป็นส่วนแห่งบุญ เรียกสาสวะ
อนาสวะ แปลว่ากิเลสดับสิ้นเกลี้ยง สามขั้นตอน
1.กิเลสเต็ม 2. ทำให้กิเลสลดได้ 3. ทำให้กิเลสหมดไปได้ ไม่ยากเลยแต่ที่ยากคือรู้จริงและทำได้หรือไม่ หมดจริงอนาสวะ การที่เหลือนิดน้อยหนึ่งกับหมดเกลี้ยงนั้นรู้ได้ยาก
มาถึงวาระสำคัญมาก ก่อนอื่นก็ขอคารวะภิกษุที่มีความพากเพียรแต่ไม่สัมมาทิฏฐิเท่านั้นเอง จึงไม่บรรลุธรรม
วันนี้จะพูดอย่างแตกหักว่า นั่งหลับตาไม่มีทางบรรลุธรรม อาตมาพูดมา 40 กว่าปีแล้ว ท่านอาจจะเคยได้ยินได้ฟัง แต่ก็ไม่สนใจ ท่านตีทิ้ง ก็จะจมลงไปหนัก แต่ผู้ที่ท่านยังพอฟังบ้างไม่ฟังบ้าง อาบน้ำกลัวเปียก ก็ไม่ได้อาบน้ำจริงสักที วันนี้อย่างไรก็ขอพูดกันให้ชัดเจนว่า
ผู้ที่นั่งหลับตาทำสมาธินั้นไม่มีสิทธิ์บรรลุธรรม เพราะปฏิบัติไม่ครบทวารทั้ง 6 พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ล. 31 ข้อ 620 โลกุตรธรรม 46 มีโลกุตรธรรม 9 โสดาปัตติมรรค …ไปจนถึงอรหัตตผล และนิพพานอีก 1 รวมเป็น 9 และโลกุตรธรรม 37 หรือโพธิปักขิยธรรม 37 รวมเป็น 46
ทีนี้ไปนั่งหลับตา พอฟังคำว่า กายในกาย เป็นโลกุตระ ข้อที่ 1 ใน โพธิปักขิยธรรม 37 คนนั่งหลับตาไม่มี กาย 5 อยู่ภายนอก กายมันมี 6 กาย
กายคือ ธรรมะ 2 คือธรรมะ 2 ของข้างนอกก็ 5 ธรรมะ 2 ของภายในอีก 1 ก็เป็น 6
คุณมีธรรมะ 1 คือกายหนึ่งเท่านั้นไม่รู้อีก 5 แล้วบรรลุธรรมได้อย่างไร ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีเบื้องต้นท่ามกลางบั้นปลาย มันก็ต้องทำจากข้างนอกไปหาข้างในจากความหยาบไปหาความละเอียด นี่ก็เป็นเรื่องที่ผิดพลาดแล้ว สุสูสังลภเตปัญญัง ฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา การหลับตาปฏิบัติไม่มีธรรมะ 2 ไม่มีรูปกับนาม
มันมีกามรูป กามภพ ภายนอก แต่กามของคุณไม่มีกาย เพราะหลับตาปฏิบัติ หลับตาก็ไม่มีกาม ไม่มีการสัมผัสเลยแล้วก็ตีกลุ่มว่าไม่มีแล้วกาม โมเมชั่นสูตร มันไม่ใช่ ไปไม่ได้ นี่ก็อธิบายไปตามลำดับ อธิบายไปเรื่อยๆ
แม้แต่มูลสูตร 10 มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) ทำได้ด้วยตัวเองไม่ใช่พระเจ้าบันดาลให้ พระเจ้ากับคนเป็นวิญญาณเดียวกันก็ทำให้สูงสุดได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทุกคนพิสูจน์ได้ในชีวิตจริง ส่วนพระเจ้าของเทวนิยมไม่มีใครสัมผัสได้ไม่มีใครรู้จริงว่าอยู่ที่ไหนมีแต่ปกาศกมาประกาศ แม้แต่ปกาศกก็ไม่เห็นพระเจ้า โมเสส ไปขึ้นเขาแล้วเห็นแสงได้รับมาจากพระเจ้าแล้วก็มาประกาศมันไม่สามารถพิสูจน์ได้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นสาวะกะสังโฆ ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ที่เป็นสิ่งพิสูจน์ได้ การที่พระเจ้าตรัสแล้ว พิสูจน์ไม่ได้พระเจ้าเป็นตัวอย่างไรอยู่ตรงไหน แต่พระพุทธเจ้ามีตัวตนมีคนจริง มีมนุษยชาติจริงๆ แล้วทุกคน สามารถที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ แต่พระเจ้า ไม่มีใครจะเป็นพระเจ้าได้ แต่มีตัวตนใหญ่โตมโหฬาร เจ้าของพระพุทธเจ้ามีสละเสรีภาพไม่มีอัตตา ตัวตนสมบูรณ์แบบ ทุกคนสามารถพากเพียรไปเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งได้ แต่ของทางโน้นหมดสิทธิ์ไปเป็นพระเจ้า ไม่มีใครมองเห็นสัมผัสไม่ได้ด้วย เป็นเรื่องลึกลับ แต่ของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องบทความลึกลับเด็ดขาดอรโห
ก็มีสิทธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ในศาสนาอเทวนิยม แต่ศาสนาเทวนิยมไม่มีใครเป็นพระเจ้าได้แม้แต่จะเป็นพระบุตรก็ไม่ได้ พระบุตรก็คือผู้ที่พระเจ้าส่งมา ถ้าไม่มีพระเจ้าทรงมาก็ไม่มีพระบุตรไม่มีประกาศก ประกาศกต้องเป็นผู้เชื่อมโยงกับพระเจ้าได้เท่านั้นคนอื่นไม่มีสิทธิ์ มีพระบุตรเท่านั้น เล่นตีกิน สงวนอัตตาไว้เยอะแยะเลย
นั่งหลับตาสะกดจิตจะไม่มีความจริง ความจริงคือ ทิฏเฐ หรือปัจจุบัน บาลีก็คือ ปัจจุปัน ทุกคนร่วมรู้กันได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เรียกมาดูได้เอหิปัสสิโกจึงถือว่านี่คือความจริง ความจริงที่ต้องมีมนุษย์ร่วมพิสูจน์กันได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อย่างน้อยเป็นสาม แต่ของเทวนิยม มีมากที่สุดอย่างมากสุดเป็น 2 คือ พระเจ้ากับพระบุตร แล้วก็จริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่ของอเทวนิยมนี้ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถึงความจริงนี้ร่วมกันได้หมดเลย
เพราะฉะนั้นความแคบของเทวนิยม กับความกว้างของอเทวนิยมที่มีความกว้างไม่มีที่สิ้นสุดจึงต่างกัน
นักรบธรรมว่า…พุทธศาสนาเป็นสากลพิสูจน์ได้ทุกๆสมัย
พ่อครูว่า…แล้วแต่คนพิสูจน์ที่มีภูมิรู้จึงจะพิสูจน์ได้ไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์
เกร็ดดิน…พระเจ้ามีพระบิดาพระบุตรพระจิต
พ่อครูว่า…ยังแวดวงความรักมิติที่ 3 เขาคลี่ไม่ออก คลี่ความเป็นพระบิดา พระบุตร พระจิตไม่ออก พุทธนั้นแม้แต่พระมาตา เป็นแม่เป็นพ่อ เป็นผู้กำเนิดสัตว์โอปปาติกา เป็นนามธรรมเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ สัตว์โอปปาติกะเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ มีพ่อมีแม่ แม้แต่เป็นชีวะก็เป็นเพศผู้เพศเมีย ได้กำเนิด ทันสมัย ล้ำยุคสมัย พิสูจน์ได้ทุกยุค
ผู้ที่นั่งหลับตาจึงหมดสิทธิ์บรรลุธรรมพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เพราะปฏิบัติ มูลสูตร
มีผัสสะเป็นสมุทัยไม่ได้
มูลสูตร 10
-
มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา)
-
มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) ถึงที่เกิด หทยรูป ที่ไม่ได้อยู่ที่หัวใจช่องที่4 มีเลือดสีฟ้า เขาก็ว่ากันไปตามอภิธรรมบรรยาย ไม่ใช่ มันเป็นนามธรรม อยู่ในคูหาสยัง อยู่ในร่างกายอันเป็น protoplasm แล้วมี cytoplasm ที่เป็นนามธรรมในนี้ ขออาศัยวิทยาศาสตร์มาธิบายหน่อย
เรื่องที่ต้องรู้คือ รูป 28 นาม 5
-
มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) เป็นสมุทัยภาคมรรค ปฏิบัติ ส่วนสมุทัยภาคจิตนิยาม ภาคนาม อาริยสัจ 4 มีตัณหาเป็นสมุทัย แต่ผัสสะเป็นสมุทัยในมูลสูตร เป็นการสัมผัสนอกใน แต่ตัณหาเป็นสภาวะภายในจิต ถ้าแค่นี้ เข้าใจไม่ได้ มีสัญญากำหนดหมายไม่ถูกต้องกัน ก็แน่นอน คุณก็ไม่มีทางที่จะบรรลุธรรมได้ แต่สมุทัยของมรรค คือผัสสะ กับตัณหาเป็นสมุทัยแค่นี้ก็แยกไม่ออกแล้ว ถ้าแยกอย่างนี้ไม่ได้ไม่มีทางบรรลุธรรม
เพราะฉะนั้นไปนั่งหลับตาคุณไม่มีผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะ 6 ไม่มี ก็ปิดประตูที่จะบรรลุธรรม จะไปปฏิบัติเวทนาจากผัสสะ แล้วไล่เวทนารวมลงเป็นหนึ่งได้ เอกสโมสรณาได้ โดยรู้จักเวทนา 108 หากปิดทวาร 5 ภายนอกเหลือแต่ภายในจะมีมโนปวิจาร 18 ได้อย่างไร ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย 6 ทวาร แล้วสัมผัสกับภายนอก เกิดกิเลส จะรู้ได้อย่างไร
หยาบ มาหาละเอียด ตั้งแต่โอฬาริกอัตตา หยาบ ภายนอก มาถึง มโนมยอัตตา หมดมโนมยอัตตาก็ลืมตาสัมผัส หมดกามภพ ก็ไม่ได้หลับตาปิดทวารทั้ง 5 แต่คุณก็อยู่กับกาม แต่อยู่เหนือกามภพ แต่จิตคุณ 0 ไม่เกิดกิเลสเลย ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ จะกระทบกระเทือนกระแทกอย่างไรก็แข็งแรงตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในโลกกระทำใดๆเลย นี่ทั้ง 5 ทวารนะ แต่ว่า ถ้าอยู่แต่ในทวารภายในอย่างเดียว ก็ เนรมิตเอาปั้นเอา คุณจะ 0 ก็ 0 ของคุณคนเดียว แต่ว่าไม่มีการกระทบสัมผัสอะไรกับใครเลย บอกใครก็ไม่ได้ มันมีสิทธิ์ทำความหลุดพ้นเลยได้เลย ของพระพุทธเจ้ารับรองกันมากคนด้วย ยิ่งรับรองกันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจริงเท่านั้น แต่คุณสัญญายนิจจานิ คนเดียว อย่างนี้ไม่ใช่สัจจะ
ในจูฬวิยูหสูตร สัจจะมีหนึ่งเดียว แล้วสัจจะเป็นอย่างไร ละเอียดลออมาก
จูฬวิยูหสูตรที่ 12
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
[419] สมณพราหมณ์ทั้งหลายยึดมั่นอยู่ในทิฐิของตนๆ ถือมั่นทิฐิแล้ว ปฏิญาณว่าพวกเราเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวต่างๆ กันว่า ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรมคือทิฐิ ผู้นั้นคัดค้านธรรมคือ ทิฐินี้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลายถือมั่นทิฐิแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และกล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์สองพวกนี้ วาทะไหนเป็นวาทะจริงหนอ เพราะว่าสมณพราหมณ์ทั้งหมด นี้ ต่างก็กล่าวกันว่าเป็นคนฉลาด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
หากว่าผู้ใดไม่ยินยอมตามธรรม คือ ความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนพาล คนเขลา เป็นคนมีปัญญาทราม ชนเหล่านี้ทั้งหมดก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าชนเหล่านี้ทั้งหมดถือมั่นอยู่ในทิฐิ ก็หากว่าชนเหล่านั้นเป็นคนผ่องใสอยู่ในทิฐิของตนๆ จัดว่าเป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด มีความคิดไซร้ บรรดาคนเจ้าทิฐิเหล่านั้น ก็จะ ไม่มีใครๆ เป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฐิของชนแม้เหล่านั้น ล้วนเป็นทิฐิเสมอกัน เหมือนทิฐิของพวกชนนอกนี้
อนึ่ง ชนทั้งสองพวกได้กล่าวกันและกันว่าเป็นผู้เขลา เพราะความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะเหตุที่ชน เหล่านั้น ได้กระทำความเห็นของตนๆ ว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง
(สิ่งอื่นเปล่า) ฉะนั้นแล ชนเหล่านั้น จึงตั้งคนอื่นว่าเป็นผู้เขลา ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริงแท้แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวทิฐินั้นว่า เป็นความเท็จไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายมาถือมั่น (ความจริงต่างๆกัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็วิวาทกันเพราะเหตุไรสมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัดมาทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกันเพราะสัจจะอะไรเล่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลายให้ต่างกันออกไปด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลายกล่าวยกตนว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป สัจจะมากหลายต่างๆ กัน จะเป็นอันใครๆ ได้สดับมา หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมากหลายต่างๆ กัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มี
ในโลกเลย ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมากำหนดความคาดคะเนในทิฐิทั้งหลาย (ของตน) แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรมอัน เป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ ก็บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรม เหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคน เขลาไม่ฉลาด บุคคลเจ้าทิฐิย่อมติเตียนบุคคลอื่นว่าเป็นผู้เขลาด้วยทิฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยลำพังตน ย่อมติเตียนผู้อื่นกล่าวทิฐินั้นเอง บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฐินั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐินั้นเต็มไปด้วยความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง และมัวเมาเพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วยใจว่า เราเป็นบัณฑิต เพราะว่าทิฐินั้น ของเขาบริบูรณ์แล้ว
อย่างนั้น ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทราม ด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทรามไปด้วยกัน อนึ่ง หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ไม่มีใครเป็น ผู้เขลา ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่นจากนี้ไปชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด
เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมาก เพราะว่า เดียรถีย์เหล่านั้นยินดีนักด้วยความยินดีในทิฐิของตน เดียรถีย์ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้เท่านั้น หากล่าวความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลาย โดยมาก
เชื่อมั่นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลาย รับรองอย่างหนักแน่นในลัทธิของตนนั้น อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนักแน่นในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่นว่าเป็นผู้เขลาในลัทธินี้เล่า
เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่นว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่ บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนฝ่ายเดียว เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็นต้นขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละการวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาทในโลก ฉะนี้แล ฯ
จบจูฬวิยูหสูตรที่ 12
สัจจะแท้ต้องมีคนรับรองร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ยิ่งมากคนก็ยิ่งจริง นิพพานอย่างเดียวที่เที่ยงที่ 0 คือจิต นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ) “นิจจัง-ธุวัง-สัสสตัง-อวิปริณามธัมมัง-อสังหิรัง-อสังกุปปัง” นี่คือเที่ยงแท้อย่างเดียวจิตที่ไม่มีกิเลส ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา แม้จะกระทบกระแทกกระเทือนอย่างไรก็ ไม่หวั่นไหวไม่เคลื่อน ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ แต่ถ้าคุณไม่ได้กระทบกระแทกสัมผัสอะไรเลย จะรู้ได้ยังไงว่าไม่หวั่นไหว
เรื่องหลับตาปฏิบัติ พระพุทธเจ้าระบุว่าการเจริญอินทรีย์ภาวนาของพระอริยะ ในล.14 ข้อ 854 10. อินทริยภาวนาสูตร (152)
[853] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้งนั้นแล
อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[845] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกร อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ
อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ
พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการ เจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต ฯ
พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวก
ไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ
[855] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์
นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์
ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต เป็นการสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ่อครูว่า..หลับตาก็เหมือนคนตาบอด ลัทธิของพุทธจึงไม่ปิดตาปิดหู อาตมาจำได้ว่ามีสูตรอื่นอีก ว่า ถ้าอย่างนั้น เธอก็ไปทำลายตาให้ตาบอดสิ จำไม่ได้ว่าอยู่พระสูตรไหน แทงตาให้บอดจะได้บรรลุธรรม
ขออภัยวันนี้ต้องแตกหัก ขอตีทิ้งจริงๆเลย หลับตาปิดหูปฏิบัติอยู่ในภพเดียวนี่ โดยเฉพาะอ.บูรพา ผดุงไทย เขียนบรรยาย ยังไม่สำเหนียกว่า ตัวเองควรจะตื่นได้แล้ว อาตมาก็เลยขี้เกียจเอามาอ่าน มันเมื่อยแล้ว ดำอยู่อย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ผู้ใดดื้อด้าน อาตมา ขอปรับอาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ 13
สม.กล้าฯข้ามฝัน…สม.รินฟ้า…ส.แสนดิน
พ่อครูว่า…ก่อนอื่นก็ขออภัย สังฆาทิเสสข้อที่ 13 ไม่ใช่แต่เป็นข้อ 12 ภิกษุเป็นคนหัวดื้อ ก็ปรับอาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ 12 นะ ว่ายากสอนยากสอนเท่าไหร่ก็ดื้อดึง สอนอย่างไรก็ดึงการยึดมั่นถือมั่นจนพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย แรงนะ สังฆาทิเสสเป็นอาบัติที่หนักรองจากปาราชิก สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 12 ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายาก
เป็นคนที่ยึดมั่นถือ มาลองดูอย่างที่อาตมาท้าทายให้มาพิสูจน์ เอหิปัสสิโก อยู่ที่นี่สัก 5 ปีพิสูจน์ดู
เอาอานาปานสติ สูตร มาอธิบาย
[282] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
*โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท
พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง
บางพวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวก
โอวาทพร่ำสอน 40 รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ
สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[283] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ทั้งเป็นวัน
ปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
ลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้
เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง
คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ
ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ
4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท 1- พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าว
ว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ 4 เดือนแห่ง
ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ
เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ
@1. คือวันเพ็ญเดือนสิบสองเพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง บาง-*พวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 40 รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[284] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
เหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ
บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การ
กระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้
บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก
มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลก
ยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
[285] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น
พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ
สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง 5 จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ
มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯพ่อครูว่า..เราก็พูดอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าในหมู่อโศกก็มีพระอาริยะอย่างนี้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี
เพราะสิ้นสัญโญชน์ 3 อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ
สิ้นสัญโญชน์ 3 อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน
เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า..แม้แต่ปฏิบัติลืมตาย่างหนอก้าวหนอ ยกหนอ เคลื่อนไหวหนอ ก็เป็นเพียงวิธีสมถะ ทั้งนั้นเลยไม่ได้เข้าไปถึงเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่เข้าไปหาเวทนาเลยสักครั้งเดียว เพราะฉะนั้น เวทนา 108 จึงไม่ได้ปฏิบัติ จมกับกายที่ไม่เต็มเต็ง คุณไม่ได้เคลื่อนถึงความรู้สึกอารมณ์เลย
เวทนามีที่ กายิกธรรม สัมผัสร่างกายภายนอก คุณไม่มีเวทนาที่เป็นเจตสิกตั้งแต่เริ่มต้นเลย คุณก็ให้หยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นสงบเท่านั้นเอง ไม่ได้เคลื่อนจากสมถะไปถึงไหน แล้วไปเรียกว่าวิปัสสนา มันเป็นเพียงสมถะเคลื่อนไหว มันไม่ใช่วิปัสสนาเลยไม่ได้วิจัย ในเวทนา 108
เวทนา 108 หากไม่ดูตั้งแต่ เวทนา 2 กายิกเวทนา เจตสิกเวทนา
แล้วมันก็รู้สึกสุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ได้มีอีก 3 แล้วมันเกิดจากทวารไหน ตาหูจมูกลิ้นกายใจ 6 ทวาร มีภาวรูป 9 ก็เพราะใจมันไปร่วมกับอีก 5 ทวารแล้ว โดยที่เรียกว่ารวมกับกาย เอาสภาวะในใจร่วมกับกายด้วยก็เลยลบออก 1 ก็เลยกลายเป็นภาวรูป 9 แทนที่จะเป็น 10 กายมันรวมกับใจด้วยก็เลยต้องหักออก 1 กายมันควบทั้งกายและใจ ก็เลยหักออก 1เพราะมันสองในหนึ่ง หนึ่งในสอง เพราะ ตาหูจมูกลิ้น ถือว่า กาย แล้วใจก็ถือว่ากาย
เพราะฉะนั้นใจ ถ้าใจไม่ไปอยู่กับตาหูจมูกลิ้น สี่ นั้นก็ไม่ได้ ก็ไม่รู้สึกอะไรเป็นแท่งเฉยๆตาหูจมูกลิ้น คุณก็ต้องมีใจไปร่วมทั้งนั้น ใจไปร่วมกับทั้ง 4 แล้วถือว่าคือกายภายนอก เพราะฉะนั้นใจก็เลยไปร่วมกับนอก 4 แล้วใจอีก 1 รวมกับอีก 4 ก็เลยได้ครึ่งหนึ่ง ได้กาย 4 ใจ 1 รวมกันเข้าก็เป็น 9 อาตมาก็อธิบายไม่เก่ง ไปอ่านอภิธรรมดีๆ
กายมันร่วมกัน เป็น 1 มี 4 นี่แหละที่มีคู่เป็น 9 แต่กาย มีอันเดียว ก็เลยเป็น 9 พอไหวไหม อันนี้น่าเห็นใจ ก็เหลือ 9
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า..สติปัฏฐาน 4 จะอยู่ต้น อานาปานสติจะอยู่ปลาย หากเอาอานาปานสติขั้นก่อนก็เลยไม่เป็นลำดับถูต้อง
[286] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า..
-
สังวรปธาน (เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น)
-
ปหานปธาน (เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว)
-
ภาวนาปธาน (เพียรสรรสร้างให้กุศลเกิดขึ้น)
-
อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ ไม่ให้เสื่อมลง)
(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 14)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญอิทธิบาท 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
-
ฉันทะ (พอใจรักใคร่ในธรรม ในเป้าหมาย)
-
วิริยะ (พากเพียรลดละกิเลส เพียรเอาชนะกิเลส)
-
จิตตะ (เอาใจทุ่มเทโถมเข้าใส่ ฝักใฝ่ไม่ท้อถอย)
-
วิมังสา (หมั่นตริตรองพิจารณาทบทวนธรรมเสมอๆ)
(พตปฎ.เล่ม 35 ข้อ 505)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญอินทรีย์ 5 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
-
สัทธา (ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็นสัทธินทรีย์ ฯ)
-
วิริยะ (ความเพียรที่มีพลังขึ้น เป็นวิริยินทรีย์ ฯ)
-
สติ (ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็นสตินทรีย์ ฯ) .
-
สมาธิ (ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรงเป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)
-
ปัญญา (ความรู้จริงในความจริงแห่งธรรม ฯ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญพละ 5 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…พละคือผล คือพลังสูงสุด ก็เรียกว่า จบ สูงสุดมีผลสำเร็จ ในศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็เป็นพละ เป็นผล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ 7 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
-
สติ (ความระลึกได้) เปรียบเหมือนจักรแก้ว
-
ธัมมวิจัยะ (ความเฟ้นธรรม) เปรียบเหมือนช้างแก้ว
-
วิริยะ (ความเพียร) เปรียบเหมือนม้าแก้ว
-
ปีติ (ความอิ่มใจ) เปรียบเหมือนมณีแก้ว
-
ปัสสัทธิ (สงบจากกิเลส) เปรียบเหมือนนางแก้ว .
-
สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น) เปรียบเหมือนคหบดีแก้ว
-
อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) เปรียบด้วยปรินายกแก้ว
(พตปฎ. เล่ม 11 ข้อ 81)
คุณต้องมีสติ เป็นตัวตั้งของโพชฌงค์ ขององค์แห่งการบรรลุธรรม โพธิ โพธะ คือความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วเอามาสอนคนให้รู้ตาม คำตรัสรู้คือ พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ท่านได้บรรลุแล้วรู้สึก ได้ความรู้แล้ว ถ้าท่านไม่เอามาตรัสหรือประกาศ ท่านก็เป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ปรินิพพานเป็นปริโยสานไป ท่านก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งความตรัสรู้ก็ไม่มี มีแต่ความรู้ของปัจเจกพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ได้ตรัสให้คนใดคนหนึ่งในโลกรู้เลย จึงไม่ได้ตรัสรู้ ไม่มีการตรัสการพูดออกมาให้คนได้ยิน
ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ปรินิพพานเป็นปริโยสาน ท่านมีสัมมาสัมโพธิญาณของท่านแล้ว แล้วก็มีคนอธิบายว่าท่านสอนคนไม่เป็น ไม่ใช่หรอก แม้แต่ยังไม่พระโสดาบันก็สอนคน จ้อยๆเลย แต่โสดาบันบางคนก็พูดจังเลย อย่าอยากพูดมากนัก เป็นกัมมารามตา ยินดีหลงงานมาก คือ กัมมารามตา ยินดีในภัสสารามตา พูดอยู่นั่นแหละ พักบ้าง ไอ้หนู
อธิบายบรรเทาหน่อย แถมเชิงตลกนิดหน่อย
คุณทำได้ผลก็ยินดีปีติ ยินดีปีติมากไปก็เสียผล ท่านก็ให้ลดลง
-
ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย)
-
ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ)
-
โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพักๆ)
-
อุพเพงคาปีติ (ปีติแรงกล้า โลดลอย)
-
ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน)
(จาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค)
พ่อครูว่า ปีติก็ให้มันแผ่ซ่านบางเบาอย่าให้มันแรงจนหยุดยั้งไม่ได้ สมองแตกตายได้ พวกที่ชนะในเกมกีฬา ดีใจจนเส้นประสาทเส้นสมองแตกตาย ดีใจนี่ตายเลยได้ ประสาทเสียกลายเป็นมนุษย์พืชได้ มันได้ผลก็รู้ยินดีได้ ได้ยินดีอย่าให้มัน แค่ยินดีเราก็รู้ว่าได้ผลแล้ว เป็นมุทิตาจิต เบาบาง
มาถึงปีติสัมโพชฌงค์แล้วให้ลดลงไปเป็นปัสสัทธิอย่าให้แรง เมื่อปีติปัสสัทธิจิตก็ตกผลึก ปัสสัทธิไม่ใช่สมถะ วิเวกเป็นองค์รวม
ปัสสัทธิคือ การปฏิบัติเกิดผลสำเร็จ ส่วนสมถะซื่อบื้อ สะกดจิตเข้าไปนิ่งๆ ความต่างของความสงบ ปัสสัทธิกับสมถะต่างกัน
สมถะ เป็นความสงบที่ยังมิจฉาทิฐิ หรือเทวนิยม ส่วนปัสสัทธิ เป็นความสงบของวิปัสสนาของอเทวนิยม ได้ผลครบก็เป็นวิเวก 3 กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก
ตัวสุดท้ายของโพชฌงค์ ไม่หวั่นไหว อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนาน แน่วแน่ แนบแน่น ปักมั่นเป็นอุเบกขาอย่าง นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ) “นิจจัง-ธุวัง-สัสสตัง-อวิปริณามธัมมัง-อสังหิรัง-อสังกุปปัง”จำทำงานปรุงแต่งร่วมกับสังคมก็ไม่มีสมาธิเคลื่อน บริสุทธิ์ไม่เปื้อน เพราะมีมุทุภูตธาตุ จิตแววไว แคล่วคล่อง จะให้เกิดให้ดับก็เร็ว เป็นสิริมหามายา คือตัวมุทุภูตธาตุ ให้เกิดหรือตายก็ได้มีมากก็ได้มีน้อยก็ได้จะให้มีก็ได้จะให้เป็นศูนย์ก็ได้ นี่คือความสำเร็จ (พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สมณะฟ้าไท…วันนี้พ่อครูยกมือท่วมหัวขออภัยต่อ ครูบาอาจารย์สายหลับตา เอาหลักฐานในพระไตรปิฎกให้เห็นเลยว่าคนหลับตาปฏิบัติไม่รู้ในกามจะปฏิบัติให้ลดละกามได้อย่างไร อย่างฤาษีตาไฟ ก็ยอมรับแล้วว่าได้ทำอะไรกับเด็ก ที่บ้านอาตมามีพวกฤาษีเต็มเลย มีธูปเทียนเต็มไปหมด วันหนึ่งฤๅษีตาไฟก็ทำให้ไฟไหม้บ้านวอดเลย
พ่อครูว่า…เขาพูดแดกดันฤาษีตาไฟว่า ห้ามลืมตาไม่งั้นไหม้หมดเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้
ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…โพชฌงค์ 7 เปรียบเสมือนการก้าว ส่วนมรรคทั้ง 8 องค์ เปรียบเสมือนทางเดิน แต่เขาว่าพาซื่อ พระพุทธเจ้าประสูติมาก็มีโพชฌงค์ 7 หมายถึงพระพุทธเจ้าเดิน 7 ก้าว อาตมาก็ว่าต่อว่าหลังจากก้าวที่ 7 และพระพุทธเจ้าเดินหรือนั่งหรือถอยหลังหรือไปข้างหน้าหรือนอน ที่จริงแล้ว หมายถึงโพชฌงค์ 7 สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
มีทางเดินมีการเดิน เราอยากเดินหากเราไม่รู้จักทางเดินก็ลงนรก ก็ต้องมีสัตบุรุษมาชี้ทางเดินให้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…อุเบกขาเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่ใช่อุเบกขาสะกดจิต อาจจะทำได้นานเป็นชาติเลย หลายชาติก็ได้ แต่ไม่ใช่ ไม่ได้เรียนรู้กิเลสแล้วทำให้กิเลสจางคลายเห็นความไม่เที่ยงของกิเลสว่ามันเกิดก็ได้ดับก็ได้ทำให้ไม่มีก็ได้ ทำให้มันลดลงไปตามลำดับอย่างน่าอัศจรรย์ ลดไปจนไม่มีเลย ดับแล้วไม่เกิดอีกๆๆ จนกระทั่งดับสนิท นิโรธ เห็นความจางคลาย วิราคานุปัสสี ทำให้หมดได้นิโรธานุปัสสี ทำให้สงบแบบนี้นิโรธแบบนี้ ปฏิปัสสัทธิ เป็นการทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ใช่สงบแบบสมถะ อย่างนี้แหละทำซ้ำเลย อาเสวนาภาวนาพหุลีกัมมัง ทำอย่างที่เคยได้นี่แหละอย่าให้ผิด ทำให้มาก พหุลีกัมมังก็สั่งสมอนุรักขณาปธานไปได้เรื่อยๆ มีเมตตา เห็นเขาเป็นทุกข์ก็อยากให้เขาพ้นทุกข์หรือแม้แต่เห็นเขาหลงสุขก็อยากให้เขาพ้นสุข ของพุทธพ้นทุกข์พ้นสุข ไม่ใช่ให้พ้นทุกข์แล้วมามีสุขก็เลยยินดีกับเขาแล้ววางเฉยไม่ใช้เมตตาอยากให้เขาพ้นทุกข์ แม้แต่ว่าอยากให้เขาพ้นจากความหลงสุขด้วย ให้มามี วูปสโมสุข สุขสงบจากกิเลส ขออาศัยภาษาสุข คือสุขจากจิตว่างจากกิเลสไม่ใช่สุขบำเรออารมณ์โลกีย์
ผู้ใดสามารถที่ทำให้ได้มีการช่วยคน เห็นคนเป็นทุกข์ เห็นคนหลงสุขก็ช่วยเขาให้พ้นทุกข์พ้นสุข ช่วยได้เพราะเราลงมือช่วย ไม่ใช่อยากให้เขาพ้นทุกข์แต่ไม่ได้ลงมือทำเลย แล้วก็บอกมุทิตา ยินดีกับเขาโดยไม่ได้ทำเลยไม่ช่วยเขาสักทีเลย เขาอธิบายผิด
เมตตาคืออยากให้เขาพ้นทุกข์พ้นสุข แล้วกรุณาคือลงมือช่วยเขา แล้วก็ยินดีที่เขาพ้นทุกข์พ้นสุขได้ แล้วก็วางได้อุเบกขา
อุเบกขาอย่างเคหสิตะ เป็นโลกียธรรม ก็ต้องรู้ว่าต่างจาก เนกขัมสิตอุเบกขา
มุทิตา เขาบรรลุผลก็ยินดีด้วย จิตยินดีก็ชั่วแวบ เหมือนเหยียดแขนคู้แขน เหมือนหายใจออกหายใจเข้าก็จบ ก็รู้ว่าจบกิจยินดีด้วยก็จบ แล้วก็วางเป็นอุเบกขา เป็นฐาน
เพราะฉะนั้น ในบารมี 10 ทัศ จึงจบด้วย เมตตากับอุเบกขา
เมตตากับอุเบกขาเป็นฐานอาศัยของพระอรหันต์ พระอรหันต์จบกิจแล้ว
พระอรหันต์มีอยู่ สามเส้า
บารมี 10 ทัศ คือ 1.การให้ทาน 2.ศีล 3.เนกขัมมะ 4.ปัญญา 5.วิริยะ 6. ขันติ 7. สัจจะ 8.อธิษฐาน 9.เมตตา 10. อุเบกขา
ปฏิบัติทาน ศีลให้เนกขัมมะ แล้วจะเกิดปัญญาตามรู้ว่าการปฏิบัติทานการปฏิบัติศีลของเราเป็นเนกขัมมะ เกิดปัญญารู้ผลอย่างไร
ในสัมมาทิฏฐิ 10 ทินนัง ยิตถัง หุตัง ทำทาน ทินนังสัมมา ศีลหรือยิตถังสัมมา ก็ได้ผลหุตังจิตลดกิเลสได้
บารมี 4 1.การให้ทาน 2.ศีล 3.เนกขัมมะ 4.ปัญญา ข้อแรกทำได้แล้วก็เพียรต่อไป ขันติ บารมี แล้วจะรู้สัจจะ สมมติสัจจะปรมัตถสัจจะ ก็รู้ความจริงจนกระทั่งทำ สัจญาณ กิจญาณ จนตั้งใจ อธิษฐานทำเพิ่ม มันยังไม่จบก็ตั้งจิตทำต่อไป มีวิริยะ ขันติ สัจจะ อย่างที่มันได้ผลตามเนกขัมมะตามปัญญาได้ก็คือจบ
อรหันต์จะอาศัยสามเส้าคือ ทาน เมตตา อุเบกขา เป็นกตญาณของเราจบแล้ว ก็มาทำงานต่อเป็นโพธิสัตว์สั่งสมเป็นอเนญชาสังขาร มุทุภูตธาตุก็ยิ่งดี กัมมัญญาก็ยิ่งเจริญ ปภัสสราก็ยิ่งใสแจ๋วๆ ไม่มีแก่ อาภัสราเขายังแก่ นี่คนนะ แต่อาภัสสราของธรรมะไม่มีแก่ ยิ่งจะใสแจ๋วมากยิ่งขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ปภัสสรา
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นพรหมวิหาร 4 หรือเรียกว่า อัปปมัญญา ครบ 4 ก็เจริญขึ้นมาๆ จากหัวข้อข้างต้น สติปัฏฐาน 4
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…การเจริญอานาปานสตินั้นอยู่หลังสติปัฏฐาน 4 และหลังข้อธรรมๆอีกเยอะแยะ จึงจะมาเข้าสู่
[287] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…อานา อาปานะ แปลว่าลมหายใจเข้าหายใจออก ถ้าหากนักสะกดจิตดูลมหายใจนั่นเป็นของฤาษีสะกดจิต แต่ของพระพุทธเจ้านั้น ให้มีลมหายใจเข้าออกอยู่ในชีวิตประจำวัน คือยังไม่ตาย หายใจเข้าแล้วก็ออกได้ด้วยหากเข้าแล้วไม่ออกก็ตาม ออกแล้วไม่เข้าก็ตาย คุณยังมีลมหายใจออกหายใจเข้ายังมีชีวิตอยู่ แล้วก็ปฏิบัติมาได้เรื่อยๆ ไม่ได้แค่มานั่งดูลมหายใจเข้าออก แต่ว่ากระบวนการสติปัฏฐาน 4 และอื่นๆอีกคุณไม่ได้ทำเลย ไม่ใช่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
บำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
หมายความว่าทำอยู่ในทุกอิริยาบถก็มีลมหายใจเข้าออกอยู่นั่นแหละ ตลอดไปตามมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติในอาชีวะ กัมมันตะ วาจา สังกัปปะ แล้วจัดการที่สังกัปปะนั่นแหละเป็นตัวหลัก คุณก็ทำอานาปานสติไป ย่อมบําเพ็ญสติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน 4 ก็จะบริบูรณ์เจริญได้ แสดงว่าอานาปานสติของคุณ คุณต้องปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ด้วยจึงจะเจริญ หัดทำแต่อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 ไม่ได้ทำกายนอกกาย กายในกายไม่รู้เรื่องเลย สติปัฏฐาน 4 จะเจริญได้อย่างไร
แล้วต้องเจริญโพชฌงค์ 7 อีก
สมณะฟ้าไทสรุป….จบ
[288] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
ไม่เผลอเรอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
*ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
ได้เป็นอย่างดี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
*เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
ตั้งมั่น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
ได้เป็นอย่างดี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อม
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘