610916_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ต้องทำสติปัฏฐาน 4 ก่อนอานาปานสติ
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1KKnrJQpi7G430OGeBXEcRXhF6d31fg4Am0b-w8CSZjM/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=1XuKi1EDYRU6GWnXtjmJVDOHqF17Wh34I
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2561 ที่บวรราชธานีอโศก รายการนี้ เป็นรายการโลกุตระ ที่หาฟังจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
พ่อครูว่า..ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมยินดีกับ Camera Women มีช่างกล้องหญิง เรียก ยายกล้อง ไม่ใช่ตากล้อง ได้ยายกล้องเริ่มต้นขึ้นมา ก็รู้สึกจะเป็นมิติใหม่ ฤกษ์ใหม่ของชาวอโศก ผู้ชายก็ไม่ค่อยจะมาทำ เราเห็นว่าเป็นการทำงานที่เป็นสาระวิเศษสุดยอด ผู้ที่มีภูมิปัญญาก็จะมาทำแน่นอน เพราะชีวิตของคนไม่มีอะไร สุดท้ายเข้าไปหาสูงสุดเป็นอรหันต์ เป็นความสุดยอด ถ้ายังไม่เป็นอรหันต์ก็ อรหก อรเหินไป บ้าๆบอๆ ไปเหนือล่องใต้ ลงนรกขึ้นสวรรค์ วนเวียนไม่รู้แล้วไม่รู้กี่ชาติเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังไม่รู้ตัวยังไม่รู้สึกยังไม่เบื่อ ก็เป็นไปตามธรรมดาธรรมชาติ คนที่เบื่อแล้วรู้แล้วก็มา
สื่อธรรมะพ่อครู(สมาธิพุทธ) ตอน ต้องทำสติปัฏฐาน 4 ก่อนอานาปานสติ
คนที่มาติดยึดนั่งหลับตา ประเภทเจโตกับปัญญาสองทิศ ก็น่าเห็นใจ
พวก เจโต จะเอาแต่นั่งแต่หลับได้หยุด เหมือนก้อนดินก้อนหินต่างๆนานา อาตมาก็ต้องปลุกอย่างนี้ตลอดเวลา ยุคไหนก็ปลุก เพราะว่าสายหยุด ไม่ใช่หยุดยามสายนะ แต่สายพวกหยุดนิ่งหยุดกับที่ แล้วจะไม่ทำงาน เสียประโยชน์เสียคุณค่าความก้าวหน้าของตัวเองก็ไม่มี มีแต่จมๆๆ จมดักดาน ก็ยิ่งแย่ ตัวเองหนักหนาสาหัสเสียเวลา ดีไม่ดีก็จมอย่าง อาฬารดาบส อุทกดาบส ติดหนักเป็นกัปป์ พระพุทธเจ้าจึงอุทานว่าฉิบหายแล้วหนอ ก็ปลุกกันอย่างนี้แหละ พวกนั่งไม่หยุดง่ายหรอก มันติด มันสบายแบบไม่เข้าท่าไม่เจริญกินๆนอนๆไป ทำอะไรนิดๆหน่อยๆ คนที่จริงแล้วทำได้มากกว่านั้น อาตมาเวลายังไม่พอใช้เลย เวลาเดี๋ยวหมดๆ เวลาไม่พอใช้ทำงานไม่ทัน
อาตมาเปิดพระไตรปิฎกเล่ม 14 พระพุทธเจ้าตรัสไว้ โบราณอาจารย์ก็เรียบเรียงไว้ตั้งแต่ สูตรแรก เทวทหสูตร จนถึงสูตรสุดท้าย อินทริยภาวนาสูตร
เทวทหสูตร มีเขียนไว้ว่า ตั้งตนบนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง ผู้ตั้งตนบนความสบายอกุศลธรรมเจริญยิ่ง
“เมื่อเราอยู่ตามสบาย (ยถาสุขัง โข เม วิหรโต) อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก (ทุกขายะ ปนะ เม อัตตานัง ปทหโต) อกุศลธรรมย่อมเสื่อมลง กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง”
(เทวทหสูตรจากพระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 15)
สรุปว่าอยู่เฉยๆเอาแต่ขี้เกียจ ลอยไปลอยมา อกุศลธรรมเจริญยิ่ง กุศลธรรมเสื่อม ผู้ที่ขวนขวายอุตสาหะ พากเพียรวิริยะ ขยันหมั่นเพียร อย่างนั้นกุศลธรรมเจริญยิ่ง อกุศลธรรมเสื่อม ในเทวทหสูตรชัดเจน มีนัยต่างๆไล่เรียงไป
ทีนี้สูตรจบ
-
อินทริยภาวนาสูตร (152)
[853] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้งนั้นแล
อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[854] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกร อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ
อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ
พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการ เจริญอินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต ฯ
พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวก
ไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ
พ่อครูว่า..พวกเทวนิยม ทำให้เวทนาเป็น 1 เป็น 0 ไม่ได้ แต่ของอเทวนิยมของพุทธนี้ ทำให้เกิดให้ตายได้ ทำให้เป็น 0 เป็น 1 ก็ได้ จะทำให้เกิดนิรันดรหรือตายนิรันดรก็ได้ พระพุทธเจ้าทำได้ แล้วท่านก็ทำแล้ว หรือว่าคุณสมัครใจจะอยู่นิรันดรก็อยู่อย่างดีด้วยนะ อยู่อย่างไม่เป็นโทษภัย ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นโทษ สูงสุดก็คือพระพุทธเจ้า คุณจะเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ท่านก็สร้างศาสนา 1 ศาสนา สมัยเดียว ท่านก็เหน็ดเหนื่อยหนักหนา สอน เป็นพระโพธิสัตว์ก็สอนมาจนเหนื่อยแล้ว ท่านก็ทำอยู่อย่างนี้แหละกับมนุษย์โลก จะไปสงสัยอะไร
สุดท้ายเอาล่ะพอที เราไปก็สลายสูญ อัตภาพก็หมดไป ไม่เหลืออะไรที่จะมาเกาะกุม กำเนิดอีก มันก็ชัดเจนอย่างนี้ คุณยังไม่ถึงก็อยากจะเป็นพระพุทธเจ้า 2 สมัย 3 สมัยก็เอาสิ ถ้าคุณคิดว่าเป็นพุทธเจ้านี่ไม่ฉลาดเท่าไหร่เลย เป็นพระพุทธเจ้าแท้ๆอยู่ได้หลายสมัยคนก็กราบทุกชาติ เป็นพุทธเจ้าสุดยอดแล้วเรื่องอะไรจะรีบตายเสียดายของ เห็นไหมมันมี อัตตามานะซ้อน ก็คุณพูดอย่างคุณก็มีอัตตาแน่นอน แต่ท่านไม่มีอัตตาอะไรก็จบได้สูญได้
จะเป็นอะไรก็ศาสนาพุทธสอนให้เป็นพุทธเจ้าได้ที่สุดยอดแล้ว แล้วสุดยอดก็มีหนึ่งเท่านั้น เป็นหนึ่งเสร็จสุดยอดแล้วก็ศูนย์เท่านั้นเอง สลายไป ถ้าคุณยังไม่สุดยอดจริง ก็แน่นอนคุณต้องคิดว่ามันต้องมีต่อ แต่ถ้าคนสุดยอดจริงๆแล้วต่อจากนั้นก็สูญไปเลย ถ้าคุณสุดยอดแล้วก็ยังไม่สูญ จะถอยลงมา 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 แล้วก็ยังมา 10 9 8 7 6 5 4 3 2 ก็ไม่รู้จักจบ มันยอดแล้วก็มาหาต้นอีก สุดหัวแล้วมาหาตีนใหม่ มันไม่แน่มันไม่จริง
ท่านบอกว่าให้มาเรียนรู้ 3 ชอบ ไม่ชอบ ทั้งไม่ชอบหรือชอบ และเรียนรู้ความดับ ถ้ามันยังมีอยู่คือ สังขตะ คือ Static หรือ สังขาร คือ Dynamic
เมื่อเรียนรู้ก็เรียนรู้ขณะสังขาร เคลื่อนที่ สังขตะ มันไม่เคลื่อนที่จะไปเรียนรู้อะไรได้ ต้องอาศัยการเกิดจึงมีการเคลื่อน มีตัวตนมีเรื่องราวอะไรออกไปยืดยาด ก็เรียนรู้แต่หยาบ ละเอียดสุดท้าย ละเอียดที่สุดมันก็จะละเอียดถึงขั้นอุเบกขาเป็นอันสุดท้าย เรียกว่าเป็นฐานนิพพาน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงอุเบกขาก็คือดับความชอบความไม่ชอบ ทั้งความชอบหรือความไม่ชอบทั้ง 3 อันเกิดขึ้นนั้นแล้วเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
[855] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์ อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต เป็นการสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[856] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
[857] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะหยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระอานนท์
ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[856] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
[857] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
[859] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัดอย่าง นี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังตล่อมก้อนเขฬะ ไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
[860] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขา จึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือน อย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
[861] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดทั้งความชอบใจและไม่ ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแลเป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากอย่างนี้ เหมือนบุรุษมีกำลังหยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็ว ทีเดียว ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
[862] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบ ใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต … เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ … เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา …เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย … เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน … เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่ายเกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ
[863] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่ง ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้ง ไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่
อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ฯ
พ่อครูว่า…เน่าก็เน่าไม่เน่าก็ไม่เน่า ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ดีมันก็ดี ไม่ดีก็ไม่ดีไม่ได้ติดใจอะไรถ้ายังอยู่ในโลกก็ต้องมี 2 อย่างนี่แหละ อย่างนี้แหละพระอริยที่เจริญอินทรีย์แล้ว
มาข้อสุดท้ายนี่แหละ คนชอบเอาอันนี้ไปตีกินนัก
[864] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต … เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ … เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา … เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความ สำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติ สัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ
[865] ดูกรอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย จงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล ฯ
จบ อินทรียภาวนาสูตร ที่ 10
พ่อครูว่า…พระพุทธเจ้าตรัสกับพระที่ใกล้ถึงเสขบุคคลแล้ว ให้ไปอยู่โคนไม้เรือนว่างท่านตรัสกับสาวกผู้ที่มีอินทรีย์พละแล้ว จนจะจบแล้ว จะได้ทบทวนระลึกชาติเอาความหลังที่ผ่านมา สะสมมาเท่าไหร่คุณจะได้แน่นจะได้มีความเป็นครูอาจารย์ที่สมบูรณ์แบบ ท่านสอนเอาอันสุดท้ายแล้วคนก็ชอบเอาเบื้องต้นมาตีกินนั่งหลับตาแค่นี้ ก็จบแล้ว เห็นไหมพวกมักง่ายมักได้ด่วนได้ จะเอาด่วนๆลัดเฉพาะเลย ต้องรู้บริบท ยุคกาลสมัย ท่านตรัสกับผู้ที่อบรมสั่งสอนอยู่ขณะนั้น ท่านสอนกับพระอรหันต์พระอาริยะที่จะต้องแข็งแรงมั่นคงออกไปเผยแพร่ถ่ายทอดสืบทอดศาสนาต่อไป สรุปแล้วผู้ปฏิบัติธรรมเหล่านี้มามีบารมี
แต่พวกเราไม่มีบารมีเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง ก้นแตกตายกันพอดี เห็นขี้ช้าง แล้วคุณตัวเล็กแค่แมว จะขี้ออกมาเท่าขี้ช้าง เอาตัวทั้งตัวก็ไม่เท่าขี้ช้างเลย
สรุปแล้ว เราต้องรู้ทุกๆบริบท ทุกขณะวาระปริเฉทที่หมายถึงอะไร ไม่เช่นนั้นจะหลงทางตีกินคนเรามันชอบลัด ตีกิน ก็เลยหลวม ไม่ครบ พระพุทธเจ้าตรัสว่าความเป็นลำดับต้องครบเป็นลำดับ อย่าข้ามขั้น ความเป็นลำดับที่น่าอัศจรรย์ มันไม่ใช่แค่ 1 2 3 4 5 6 แต่มันมีหมุนรอบเชิงซ้อน หมุนรอบ 3 3 3 แล้ว 9 9 9 แล้ว 81 81 81 อีก ไปต่ออีก
วันนี้จะตีหัวเข้าบ้าน สรุปแล้วหยุดเรื่องหลับตาปฏิบัติแล้วเพ่งฌาน
คำว่าเพ่งฌาน… แต่ก็ไปนั่งหลับตาปฏิบัติ ไม่ได้ทำฌานแบบที่พระพุทธเจ้าสอนเลย
ขอสรุปจริงๆว่า ต้องกำหนดหมายให้แม่นชัดใน กาละไหน วาระไหน บุคคลอย่างไร เหตุการณ์อะไร เรื่องราวเหตุการณ์อะไรเอาให้ชัด อย่าไปปนเปเอามา
อินทริยภาวนาสูตร ผู้ฉวยเอาคำสอนพระพุทธเจ้ามาตีกินอ้างอิงเพื่อที่จะมาเป็นอันนี้มาเป็นคนที่ได้ระงับ แล้วก็พวกที่ได้เจโตสมถะ สายปัญญาเขาทำได้แล้วตีกินเลยไม่มีเบื้องต้นท่ามกลางไม่ได้ เขาก็จะได้อย่างนี้ สะกดจิต เทวนิยมเป็นแบบนี้
อาตมาขอรื้อทิ้งแตกหัก เลิก ใครไม่เลิกก็ไปที่ชอบที่ชอบของใครก็ของใครเท่านั้นเอง
จบอินทริยภาวนาสูตร อาตมาบริภาษ ตีทิ้งแล้วนะ มาศึกษาอีกที อานาปานสติสูตร ก็คือคุณจะเอาแต่นั่งเอาแต่ดูลมหายใจเข้าออก ไปโคนไม้เรือนว่าง ไปทำแบบนี้ เป็นอาจารย์ใหญ่ให้ลูกศิษย์ลูกหากินๆนอนๆ คนโง่ก็มีเยอะคนฉลาดมีน้อยเขาก็มีลูกศิษย์เยอะ ในยุคคนโง่เยอะมันก็เป็นแบบนั้นในยุคนี้ก็มีคนโง่เยอะอยู่ ก็เริ่มต้นแต่ต่อไปในอนาคตอีก 400 ถึง 500 ปีคนฉลาดก็จะมีเยอะขึ้นคนโง่ก็จะน้อยลง ตอนนี้คนฉลาดมีน้อยคนโง่มีเยอะก็ทนเอา ใครพยายามรักษาชีวิตให้ยืนยาวต่อไป ใครไปเร็วก็ต้องรีบมาต่อ เราก็ต้องสร้างต่อไป
-
อานาปานสติสูตร (118)
[282] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะท่านพระมหาโกฏฐิตะท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์และ พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้างบางพวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 40 รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[283] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ 4 เดือนแห่ง ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง
บางพวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 40 รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[284] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมากมีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
[285] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น พระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง 5 จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดาแม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามีเพราะสิ้นสัญโญชน์
3 อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์
3 อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า..แสดงว่า ธรรมะที่เจริญสูงสุดคือสติปัฏฐาน 4 ผู้รู้จักสติปัฏฐาน 4 พิจารณากายในกายเวทนาในเวทนาจิตในจิตธรรมในธรรมได้ผล ผู้นี้แหละเป็นผู้ที่เจริญจริง ถ้ากายในกายก็ยังเป็นมิจฉาทิฐิไม่ได้ผล เวทนาในเวทนาก็ยังมิจฉาทิฐิไม่ได้ผล ได้ผลที่ผิดด้วยแล้วหลงผลที่ผิดนั้นน่าสงสาร ก็ช่วยยาก แต่ถ้าเผื่อว่า ผู้ที่ถูก
[286] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรใน
อันเจริญสัมมัปปธาน 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
อิทธิบาท 4 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
อินทรีย์ 5 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
พละ 5 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
โพชฌงค์ 7 อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
เมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
กรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
มุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
[287] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
พ่อครูว่า…อานาปานสติ แปลว่าลมหายใจเข้าออกเป็นเพียงสิ่งอาศัย ไม่ใช่ธรรมะ คุณทำเพื่อให้ได้มีปัญญาในสติปัฏฐาน 4 อานาปานสติแปลว่าลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่ปัญญา ปัญญาอยู่ที่สติปัฏฐาน 4 คุณต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
พ่อครูว่า…หากมัวเมาอยู่ที่อานาอาปานะ คือ ลมหายใจเข้าออกก็ยังงมงายอยู่อย่างนั้นปัญญาไม่เกิด
[288] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
พ่อครูว่า…อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี คำว่า ก็ดี ภาษาบาลีว่า วา
จะหายใจอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องทำกายสังขารให้รำงับ กายสังขารคืออะไร หากไม่สัมมาทิฏฐิก็เข้าป่าอีก กายเขาก็ว่าคืออยู่ที่ร่างกายไม่กระดุกกระดิกนั้นผิด กายไม่ได้หมายถึงแค่ดินน้ำไฟลมภายนอกแต่กายหมายถึงมโนจิตวิญญาณ หมายถึงองค์รวมทั้งภายนอกและภายใน กายหมายถึงจิตวิญญาณแต่เอาภายนอกก่อน ละเอียดอย่างนี้ก่อน
กาย กับ อัตตา กายมันเนื่องจากนอกก็ทำที่ภายนอกก่อน
กายข้างนอกคือ โอฬาริกอัตตา พยัญชนะ โอฬาริกอัตตากับกายคืออันเดียวกัน มโนมยอัตตา อันที่สองก็มาเป็นรูป อันในลึกเข้าไปอีกเป็นอรูปก็ไล่เข้าไป
เมื่อทำได้ผล ได้เกิดปีติตามลำดับ ท่านก็พ่วงด้วยภาษาว่าทำได้ทุกทีก็ยังหายใจเข้าออก สั้นยาวอยู่ จนคุณเกิดปีติก็จะเกิดสุขต่อมา
คุณก็พิจารณาว่าสุขนี่แหละมันเป็นอาการของจิตสังขารแล้ว ความสุขนี่แหละเป็นเรื่องของจิตสังขาร คุณก็พยายามพิจารณาจิตสังขารต่อจากกายสังขาร ของคุณทั้งนั้น แล้วก็ไม่ได้ขาดหายไปไหน ก็ยังลืมตาสัมผัส แต่จิตต้องมีมุทุภูตธาตุเร็วไว แสงกระทบรูปมันช้า จิตมันเดินเร็วกว่า เดินทางไปร้อยรอบห้าร้อยรอบแล้วเดินทางได้เร็วกว่าแสงวิ่ง
มันก็อยู่กับภายนอก คุณสัมผัสกับระกำ สัมผัสกับกล้วย สัมผัสกับส้มโอ คุณก็เห็นอยู่นั่นแหละ สำหรับภายนอก ตอนแรกก็ดูว่ากิเลสเราภายนอกมันมีความ ใคร่อยากอะไรหรือเปล่าแต่ถ้าคุณดูแล้วไม่มีความอยากอะไรกับภายนอก กระทบอย่างไรยั่วอย่างไร ผลไม้ระกำนี่ชั้น 1 นะ แต่เราก็มีแต่กลางๆ มีรสก็รู้ว่าระกำ แต่หากใจเราเหลือภายในระริกระรี้เหลือรูปราคะ เราก็รู้ว่า ใจยังหวั่นไหวกับสิ่งภายนอกอยู่ หรือมันไม่มี รูปราคะก็ไม่มี อรูปมีไหม?
ถ้าคุณเองก็ไม่มี หรือมีอยู่แต่มีมานะซ้อนมีความยึดถือ ว่าข้ารู้ดี ไม่มีหรอก มีมานะจิตถือดีซ้อนไปอีกเราก็อ่านอีก
ต่อมาระงับจิตสังขารได้ก็มีปีติ ได้เป็น ปีติที่ได้แล้ว ได้นาน ได้เป็นขณะๆ
-
ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย)
-
ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ)
-
โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพักๆ)
-
อุพเพงคาปีติ (ปีติแรงกล้า โลดลอย)
-
ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน)