บายศรี สู่ขวํญ
คุรุดินดี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ วิชา การงานอาชีพให้กับเด็กนักเรียนสมุนพระรามรวม ชั้น ประถมปีที่ 4-5-6จำนวน 17 คน เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์วัฒธรรมไทยและเข้าใจประเพณี บายศรีสู่ขวํญ ท้องถิ่น เป็นการเพิ่มทักษะ เป็นงาน หรือทำงานเป็น สอดคล้อง ชุมชน เช่นสามารถนำไปปรับใช้ในงาน ทำพานพิธีไหว้ครู ทำกระทงในเทศกาลกินเจก็ได้ เป็นการฝึกใช้ชีวิตแบบ พอเพียง นำวัสดุที่ย่อยสลายง่ายไม่เป็นมลพิษ
คนไทยเชื่อว่าที่มีบายศรีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสร็มพลังใจให้เข็มแข็ง พลังใจที่เข็มแข็งดีแล้วย่อมส่งผลให้ประกอบภาระกิจหน้าที่นั้นฯบรรลุผลสำเสร็จได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งให้กำลังใจกัน เมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเสริมให้มีความสุข
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ ใช้เครื่องเชิญขวัญที่เรียกว่า ..”บายศรี” ทำด้วยใบตองรูปคล้ายกระทง
ส่วนประกอบของบายศรีคือ
1.ตัวหรือนิ้ว หมายถึงการม้วนใบตองให้เป็นตัวหรือนิ้ว
2.ปั้นหรือองค์หมายถึงตัวหรือนิ้วที่นำมานุ่งผ้ารวมกัน
3.แม่และลูกหมายถึงตัวหรือนิ้ว ที่นำมานุ่งผ้ารวมกันเป็นปั้นหรือ องค์ เรียกว่า แม่ หรือลูก เช่น แม่ 5 ลูก 3 , แม่ 5ลูก5 หรือแม่ 9 ลูก 5
บายศรีจำแนกได้ 6 แบบ
1.บายศรีปากชาม
2.บายศรีเทพ
3.บายศรีพรหม
4.บายศรีตอ
5.บายศรีหลัก
6.บายศรีขันธ์ 5
บายศรีปากชาม ประกอบด้วย
1.แม่ 9 นิ้ว ลูก 7 นิ้วหรือ 5 นิ้ว
2.แแม่ 7 นิ้ว ลูก 5 นิ้ว
3.แม่ 5 นิ้ว ลูก 3 นิ้ว
4.แม่ 9 นิ้ว ลูก 7 นิ้วหรือ 5 นิ้ว ลูกเป็นแมงดา
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบายศรี
1.ใบตอง
2.พาน-รองพื้นพานด้วยโฟม
3.ภาชนะปากกว้างสำหรับใส่น้ำแช่ใบตอง
4.สารส้ม
5.น้ำมันมะกอก
6.ใม้ปลายแหลม (ไม้เสียบลูกชิ้น)
7.ดอกไม้
8.กรรไกร สำหรับตัด
การฉีก ใบตองเพื่อเตรียมกรวยบายศรี ใบตองที่ได้ทำความสะดาดแล้ว
ขนาดของใบตองมี 3 ขนาด
- 3 นิ้ว
- 2 นิ้ว
- 1.5 นิ้ว