611001_รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 18
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1QDfYuD1czIqjqSoXOr2rBeDDATNVxfBOsvw3nL132dQ/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=1ur1atzXpPrBFZT8yoU2XnCm5o3C9hE-u
พ่อครูว่า…วันนี้วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก นึกถึงพวกข้าราชการปลดเกษียณนะ ปีจอวันจันทร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 10
SMS วันที่ 28 กย. 2561 (พ่อครู : พุทธศาสนาตามภูมิ)
_1614อย่าเข้าใจว่าโกรธทีหนึ่งแล้วก็แล้วไปนะ โกรธทุกทีจะเพิ่มอนุสัยแห่งความโกรธ คือ ความเคยชินแห่งความโกรธให้เข้มข้นทุกที เราจะโกรธง่ายขึ้นทุกที จะสะสม เปน สันดาน สั่งสมไป – พุทธทาสภิกขุ
พ่อครูว่า…จริง อาตมาก็รับรองว่า เป็นความจริงอย่างนั้น
อาตมามีโศลกอันหนึ่งว่า…ความโกรธอย่างไรแม้นิดแม้น้อยเมื่อเกิดขึ้นในจิตแล้ว Kick It Out เอามันออกไปจากจิตให้สะอาดทันที อย่าเอาไว้ อย่างหยาบ กลาง ละเอียด แม้เล็กเท่าละอองธุลีก็เอาออกไป เอาไว้รังแต่ทำให้เราเลวร้าย
มาเรียนกับอาตมากับชาวอโศกจะเป็นคนที่หายโกรธได้เร็ว เพราะจะเป็นผู้ที่รู้โทษภัย สายอื่นจะโกรธนาน สายอาตมาจะโกรธน้อย โดยเฉพาะอาตมาชื่อรัก ไม่ใช่สายเครียด ก็คงมาจาก เคียด นี่แหละ
_ศีลห้าเป็นข้อห้ามทำชั่วซึ่งกำหนดมีห้าประการแต่ความหมายลึกซึ้งใครปฏิบัติได้ ต้องมีผัสสะ กระตุ้นให้ การปฏิบัติธรรมกระเตื้องขึ้นใช่หรือไม่คะ
พ่อครูว่า…ถูกต้อง อาตมาเอาศีลนำมา จนกระทั่งผู้รู้ว่า จะศึกษาศีลให้ไปสันติอโศก จะศึกษาสมาธิให้ไปธรรมกาย จะศึกษาปัญญาให้ไปสวนโมกข์ อย่างนี้เลย
แต่อาตมาว่าหากไปศึกษาธรรมกายก็เป็นมิจฉาสมาธิ ศึกษาปัญญาอย่างอื่นก็จะได้เฉโกไปเยอะ ท่านพุทธทาสก็เป็นพระอาริยะอยู่ มีภูมิปัญญาโลกุตรธรรมบ้างแล้ว
สื่อธรรมะพ่อครู(เทวดา นรก สวรรค์) ตอน เมตตากับราคะห่างกันคนละโยชน์เลย
_เมตตา กับ ราคะ ห่างกันแค่ เส้นยาแดงผ่าแปด จะแยกแยะ สังวรระวังอย่างไรคะ ถึงจะไม่ตกหลุม
พ่อครูว่า…อ่านให้ชัด เมตตานี้ ศาสนาพุทธเป็นโลกุตระ ราคะนี้มันคนละโลกเลย มันอบายมุข
เมตตาเป็นโลกียะก็ได้ เข้าใจเป็นมิจฉาทิฐิก็ได้เป็นเมตตาแบบโลกีย์
อย่างอาตมา อธิบายเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาก็ไม่เหมือนกับที่เขาอธิบาย เขาอธิบายเมตตาก็คือ เห็นเขามีทุกข์ก็เลยอยากให้เขาพ้นทุกข์ กรุณาก็เลยอยากให้เขามีสุข ก็มีแต่อยาก มุทิตาก็อยากจะไปยินดีกับเขาที่เขามีสุข ไม่ทุกข์แต่ของพุทธมุทิตาคือยินดีที่ไม่ทั้งสุขทั้งทุกข์ ยิ่งอุเบกขาโลกียะกับโลกุตระไปกันคนละอย่างเลย
พระพรหมคนละองค์ พระพรหมของศาสนาโลกียเป็นพระพรหมหลายหน้าไม่รู้กี่หน้า แต่ของพุทธนั้นมีสี่หน้า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แต่พระพรหมของศาสนาอื่นแยกแยะด้วยบัญญัติภาษา ไปเยอะแยะ ไปไม่รู้กี่พันหน้า ล้านหน้าก็ได้ พระพรหม เพราะความเข้าใจในสภาวะธรรมหรือบัญญัติแตกแยกกัน ไม่ตรงกัน ไม่เหมือนกัน มีเยอะมาก ส่วนโลกุตระจะไปทางทิฏฐิเดียวกัน รู้ความสุข ทุกข์เป็นอาริยสัจ โดยเฉพาะสุขนั้นเป็น อัลลิกะ ส่วนทุกข์นั้นเป็นอาริยสัจะ
สุขกับทุกข์เป็นเมถุนธรรม เป็นภาวะคู่ ถ้าดับได้จริงก็ต้องดับทั้งคู่ ดับสุข ทุกข์ก็ดับ ดับทุกข์สุขก็ดับ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ เหมือนกับเหรียญ 2 ด้าน ถ้าไม่มีเหรียญก็ไม่มีสองด้าน ถ้ายังมีเหรียญอยู่ คุณก็ต้องมีอยู่ 2 ด้าน จะผ่าเป็นกระดาษบางอย่างไรมันก็มีสองด้านอยู่ดี นอกจากคุณจะแหลกแยกกระจุยไปเลย คุณก็ไม่เหลือวัตถุธาตุอันนี้มันจึงไม่มี
สรุปแล้วเมตตาคือจิตโลกุตระ ปรารถนาให้เขามีโลกุตระให้เขาพ้นทุกข์พ้นสุข
กรุณาคือลงมือกระทำช่วย
แล้วอย่าไปหลงติดยินดีว่าเราเป็นผู้ทำ เป็นผู้มีบุญคุณ อย่าไปทำจิตอย่างนั้น เขาจะจำได้หรือจำไม่ได้ก็แล้วแต่เขา เข้าจักกตัญญูกตเวทีหรือไม่ก็แล้วแต่เขา ไม่ได้คิดหวังผลตอบแทนอะไรทั้งนั้น วาง อุเบกขาปล่อยวางไปเลย นี่คือลักษณะของโลกุตระ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา
ส่วนราคะ นั่นคือต้นตอโทสมูล เค้าแรกคือราคะ ถ้าบอกว่า ภวราคะ ก็ยังเบา ราคะนี่เป็นคำสรรพนาม ไม่ใช่วิสามัญนาม เป็นคำกลางๆรวมๆ แต่หากเข้าใจแล้วก็เป็นคำเสียจะเป็นคำดีไปไม่ได้ ราคะ คือหมายถึงภาวะไม่ดีทั้งนั้น แม้โลกีย์หรือโลกุตระ
แต่ถ้าโลกุตระ เมตตาไม่ใช่หมายถึงสิ่งไม่ดี ส่วนราคะแน่นอนไม่ดีแน่ ต่างกันไกล แต่นี่มาบอกว่าห่างกันไกลแค่เส้นยาแดงผ่าแปด
สื่อธรรมะพ่อครู(โพธิปักขิยธรรม 37) ตอน โพธิปักขิยธรรม 37 แบบสั้น
_ต่าย ณ สกล ขอเรียนถามว่า อินทรีย์ 5 กับพละ 5 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ถ้าเหมือน ทำไมจึงนับซ้ำในโพธิปักขิยธรรม 37
พ่อครูว่า…อินทรีย์ กับพละก็มีนัยยะต่างกัน ภาษาไทยบอกไม่ชัดเจน อินทรีย์หมายความว่าเป็นฐานเป็นมรรค พละเป็นผล
อินทรีย์มาก่อนพละ พละคือผล บางทีก็ใช้คำว่าผลแทน คำว่าอินทรีย์ 5 พละ 5 ก็เป็นหลักสอง
ปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม 37 คือ สติปัฏฐาน 4 อิทธิบาท 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8
สัมมัปปธาน 4 คือ สังวรปธาน สังวรว่าเกิดกิเลสขึ้นเมื่อสัมผัส ผัสสะ ก็ปหานกิเลสได้ ทำได้ก็ทำซ้ำๆ เป็นอาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง อาเสวนาคือทำซ้ำ ภาวนาคือ ทำให้เกิด ผลอย่างที่ทำได้นี่แหละ พหุลีกัมมังคือทำให้มากทำให้บ่อย จนทำได้ทุกปัจจุบันสั่งสมเวทนาเป็นอดีต 36 ปัจจุบัน 36 จะไม่สงสัยในอนาคตอีก 36 ทำได้กิเลสสูญแน่ ทำได้เกิดผลเป็นอินทรีย์ พละ 5 อ่านมโนปวิจาร 18 ได้ จึงแยกแยะโลกุตระกับโลกียะได้
ยืนยันว่าต้องมีสัมผัส 6 ลืมตาปฏิบัติ หลับตาปฏิบัติไม่มีทางบรรลุธรรมพระพุทธเจ้า ปฏิบัติธรรมไม่มีกายภายนอกไม่ครบกาย พระพุทธเจ้าย้ำว่าต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย เขาเพี้ยนเอาคำว่ากายแค่ข้างนอก ที่จริง กายนี่เน้นที่ จิต มโน วิญญาณ แต่ต้องมีภายนอกด้วย นี่มันยากอย่างนี้แหละ
อินทรีย์ 5 พละ 5 ก็เหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกันตรงมีเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย พละเป็นผล อินทรีย์เป็นมรรค
_SMS 29-30 กันยายน 2561
_วาส ทองจันทร์ · กราบนมัสการพ่อครูครับ ตั้งแต่เกิดมาผมยังไม่เคยเห็นใครที่แสดงธรรมได้ชัดเจอได้เนื้อๆ และไม่กลัวหน้าอินหน้าพรหมไดๆอย่างแกล้วกล้าอาจหารอย่างนี้เลยครับ ถูกใจคนซาดีสม์อย่างผมมากครับ กราบสาธุๆ
พ่อครูว่า…อินทร์กับพรหมอาตมารู้จักดี ทำไมต้องกลัวด้วย
_จาก ลูกศีรษะอโศก
กราบนมัสการพ่อท่านที่เคารพยิ่ง ขออนุญาตกราบเรียนผลจากการฟังธรรม เรื่อง อุปาทาน อาสวะ อนุสัย ความจริงแล้วเกินภูมิของลูก แต่ก็อยากเขียนมารายงานตามความเข้าใจของตัวเองที่เกิดจากสภาวะ ถูกผิดอย่างไร ขอความเมตตาจากพ่อท่าน แก้ไขชี้แนะ ให้ลูกด้วยค่ะ
-
คำว่า อุปาทาน มีลักษณะดังนี้ เป็น “รูปใน” เทียบได้กับสังโยชน์ 3 มีความยึดติดเหนียวแน่นในสิ่งที่ตัวเองชอบ ชัง ดูด ผลัก ในคนสัตว์สิ่งของและอื่นๆ ที่เป็นสเปก ล็อกไว้เป็นสักกายะ สั่งสมไว้ในจิตเป็นก้อนแข็งปึกเหมือนหินสลายยาก เป็นสแตติก มีผัสสะเบาๆ เคลื่อนตัวออกมาเป็นไดนามิค เรียกว่า ตัณหา คือความใคร่อยาก เห็นได้เร็วและชัด ควบคุมอารมณ์ได้ยาก มักไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัว ก็โดนกิเลสเล่นงานแล้ว เช่น เวลาหิวมากๆ เป็นของที่ชอบ ตัวอย่าง ชอบปิซ่า (แต่เราตั้งตบะไว้ว่าไม่กิน) ก็คว้ากินโดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัว ก็ลงกระเพาะแล้ว ต่อมาก็เศร้าใจ “เราไม่น่าเลย” อย่างนี้ ถูกต้องหรือไม่คะ
-
คำว่า อาสวะ มีลักษณะดังนี้ เป็นอรูป เทียบได้กับอุปกิเลส 16 เป็นกิเลสละเอียด เห็นได้ยากมาก ต้องกระทบผัสสะหนักๆ แรงๆ จึงเห็นได้ ถูกต้องหรือไม่คะ