611026_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ เรื่อง สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายในเอกกนิทเทส
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1Mk5M5xKgSosvrkijxrO3yC3y1x2amsWGofG6O2UBtvA/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=12h63S68H37bYkVcxonOy-yVxeoORRYgZ
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2561 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้อากา ศร้อนจัดแต่พรุ่งนี้เขาบอกว่าจะหนาว รักษาสุขภาพให้ดีจนถึงงานมหาปวารณา วันนี้มีการประชุมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ มีนายอำเภอมาเป็นประธานประชุม และมีผู้อยู่ฝั่งตรงข้ามของบ้านราชฯริมฝั่งมูน บอกว่า จะมาขายพืชผักไร้สารพิษที่นี่ได้ไหม เราก็บอกว่าให้มาอบรม 5 วัน 4 คืน มีเกษตรกร 20 คนก็มาได้ เขาก็ว่าทำไมเราปลูกผักยังไงงามจัง
คนอีสานมีสิ่งที่จะขายได้เยอะ เช่นมะม่วงน้อยต้นใหญ่ มะม่วงไร้สารพิษเอามาขายที่เราได้ คนนิยม มะขามเปรี้ยวขายได้ต้นละเป็นหมื่น ฝรั่งบักสีดา ก็ขายได้ คนอีสานมีสิ่งที่เอามาใช้ประโยชน์ใช้กินได้เยอะ
พ่อครูว่า…มีแตงแคนตาลูป อะโวคาโด ปลูกไปทำไมพวกนี้ มันไม่ใช่ถิ่นของเราไม่ใช่ดินแดนของเรา บางทีเรากินไม่เป็น สิ่งที่เราปลูกแล้วกินเป็นกันก็ขายแล้วก็แจกกันเลย หยวกกล้วยเอาไปหมก เอาไปทำน้ำ เอาไปทำแกง ได้หลายอย่างเลย ตำส้มหยวกกล้วย
สมณะฟ้าไทว่า…ผักบุ้งแดงมีธาตุอาหารสูงมาก ไปกินทำไมผักบุ้งจีน ผักบุ้งแดงเป็นยาอย่างดีเลย แต่กสิกรปลูกพวกนี้ไม่เป็นแล้ว เขาบอกว่าทำไมกล้วยท่านงามจัง ก็เป็นแรงจูงใจให้เขามาศึกษา ไม่อยากให้เขาเสียเวลาปลูกพืชผักที่ลงทุนสูงและก็ขาดทุนราคาตกต่ำ
พ่อครูว่า…นี่พริกนะ ไม่ใช่ลูกบวบนะพริก
สมณะฟ้าไทว่า…เรามีประกวดแฟนพันธุ์แท้พ่อครูหลายประเภทนะในงานมหาปวารณา รายการเพลงพ่อครู หนังสือพ่อครู เป็นต้น
พ่อครูว่า…SMS วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2561 (สมณะ สิกขมาตุ : บ้านราช)
_1701 กราบนมัสการท่านสมณะฟ้าไท ท่านสมณะถักบุญและท่านสิกขมาตุกล้าข้ามฝัน ขอบพระคุณที่ย่อยสภาวะธรรมอธิบายให้เข้าใจเรื่องกามกับอัตตาฟังง่ายขึ้น วันนี้ถูกใจมากท่านฟ้าไทเน้นเรื่องลดละกิเลสชัดเจนดีมากค่ะ ยิ่งฟังยิ่งเพลิดเพลิน ต้องติดตามทุกครั้งค่ะ
_เมย์ อรวรรณ นมัสการค่ะ“อย่าบังคับคนรอบข้างให้เป็นเหมือนกับเรา”(สุดยอด)เจ้าค่ะ สาธุค่ะ
_แก้วลา ไชยวงค์ · ขอให้บุญนิยมทีวีช่วยถ่ายทอดธรรมะย้อนอดีดที่พ่อท่านเทศน์หลังจากทำวัตรเช้าเสร็จลงในเฟสให้ด้วยเจ้าค่ะ ถ้าวันใดอากาศปกติก็เปิดทีวี แต่ถ้าวันนั้นฝนตกฟ้าร้อง จะได้เปิดเฟสบุ๊คค่ะ
SMS วันจันทร์ที่ 22-23 ตุลาคม 2561
_0085 ทำไมเราบอกให้คนอื่นได้ง่ายกว่าบอกตนเอง?
..เพื่อนมาบ่นถึงบุคคลที่สามในทำนองว่ารำคาญที่เขาชอบมาตำหนิการทำงานของเพื่อน
..ดิฉันตอบทันทีว่า พ่อครูสอนว่า..เราต้องมีธัมมวิจัยทุกผัสสะ เราต้องมีธัมมวิจัยทุกกรรมกิริยา คิด พูด ทำ แต่ดิฉันไม่ได้ทำกับตนเองทุกผัสสะเหมือนกับที่บอกเพื่อนค่ะ
_1614 ลูกหลวงพ่อฤๅษีลิงดำกล่าวไว้ครับ ทำไมบัวต้องมี 4 เหล่า ทำไมเราถึงคบทุกคนไม่ได้ ดูไม่ดีเลย เราต้องสามารถคบทุกคนได้ซิ นี่คือคำถามในใจ ตอนเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านสอนถูกแล้ว ทำไมบัวต้องมี 4 เหล่า #เราไม่ได้เกิดมาเพื่อเปลี่ยนโลก #เราเกิดมาเพื่อเปลี่ยนตัวเราเอง #และไม่มีใครเกิดมาเพื่อเราแต่สิ่งที่รู้ยาก มองไม่ค่อยจะเห็นคือข้อบกพร่อง สิ่งไม่ดีของเราเอง คนที่รู้ได้ชัดเปรียบ ดั่ง มีตาทิพย์ ถูก ต้อง ไหมคะ
พ่อครูว่า…ตาทิพย์คุณพูดเป็นภาษาของพุทธ แต่ตาทิพย์ของฤาษีและเดียรถีย์หมายถึงการเห็นสิ่งหลอกลวง สิ่งที่คนธรรมดาเห็นไม่ได้ เป็นอุปาทาน เป็นมโนมยอัตตา เป็นภาษาหมอก็เรียกภาพหลอน แล้วนึกว่าจริงอีกเยอะ แต่คืออุปาทาน สายเทวนิยมน่าสงสาร มีอุปาทานเยอะมาก
เริ่มตั้งแต่พระเจ้า ก็เป็นอุปาทาน ตอนนี้อาตมากำลังเขียนหนังสือคนจนที่มีแบบเล่ม 2 ขยายความเรื่องเทวะ ยังนึกเลยว่า สายเทวะ จะมาเล่นงานเราหรือเปล่า วิเคราะห์วิจัยแต่ก็เป็นเรื่องความรู้ก็ยอมเสี่ยงดู เพราะเป็นความรู้ที่ไม่มีใครรู้ในยุคนี้ ตัวเองชัดเจนความจริง จะได้ให้ผู้ที่มีปัญญาที่แสวงหาได้เข้าใจ ว่าเป็นอย่างนี้เองหรือ อาตมาเจตนาด้วยความจริงใจว่านี่คือสัจธรรม ไม่ได้ข่มเบ่งหรือทำลายเขาหรอก ก็เป็นความจริงของสัจธรรม
_7680 กราบนมัสการพ่อครูฯ ขอเรียนถามว่าระหว่างการชักชวนคนอื่นมาเข้าวัดปฏิบัติธรรมกับการปฏิบัติอธิศีลที่ตนเอง เราควรให้ความสำคัญเรื่องไหนมากกว่า เพราะเหตุใดครับ
พ่อครูว่า…ไม่น่าถาม เอาตัวเองนั่นแหละ เอาอธิศีลตนเองให้จำเริญๆ จะได้เป็นตัวอย่างให้คนอื่นเขา ได้ความเจริญแล้วจะได้เอาไปอธิบายคนอื่นเขาได้เป็นประโยชน์ ไม่อย่างนั้นก็ให้คนอื่นเขาไม่ได้ มีแต่เรื่องหลอกลวงกันไปมา
_รักเอื้อ หลักเขต · กราบนมัสการพ่อครู..ที่สอนจับกิเลสให้ทัน…
_ในสวนดาว น้อมกราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ ขอกราบเรียนถามถึงความเข้าใจว่าลูกเข้าใจถูกต้องหรือไม่คะ ความแตกต่างของการพิจารณาแบบโลกียะกับการพิจารณาแบบโลกุตระแตกต่างกันแบบนี้ใช่หรือไม่คะ
การพิจารณาโดยทั่วไปแบบโลกียะเพื่อให้ปล่อยวางเป็นเพียงการพิจารณาแบบหยาบๆ เป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ใช้เพียงเหตุผลและตรรกะมาประกอบการพิจารณา ทำให้สุดท้ายกิเลสก็จะกลับมาเกิดอีก เพราะไม่ได้ไปแก้ที่รากเหง้าของกิเลสในจิต
แต่การพิจารณาแบบโลกุตระเป็นการพิจารณาแบบแยบคายให้ลึกซึ้งถึงจิตในจิต เป็นนามธรรม จนกระทั่งเห็นความจางคลายของกิเลสว่าไม่เที่ยงจนทำให้เราเกิดปัญญาและรู้สึกไม่ดูดไม่ผลักกับผัสสะนั้นๆได้ เป็นการพิจารณาถึงต้นเหตุของทุกข์ จึงทำให้เกิดการลดละจางคลายและปล่อยวางได้ในที่สุด
เช่น เรื่องการทานมังสวิรัติ ถ้าพิจารณาแบบโลกียะ เราจะเลิกทานเนื้อสัตว์เพราะว่าต้องการดูแลสุขภาพหรือเจ็บป่วย แต่ก็เคยเห็นว่าสุดท้าย หลายๆคนก็ต้องกลับมากินเนื้อสัตว์ใหม่อยู่ดี แต่ถ้าเราพิจารณาในแง่โลกุตระคือเราเลิกทานเนื้อสัตว์ไม่ได้เพราะเราเสพติดความอร่อย ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา แล้วเราก็เห็นว่าความอร่อยมันไม่มี เราอุปทานมันเอง แล้วค่อยๆล้างความอร่อยจนในที่สุดจิตไม่เสพติดในรสชาติของเนื้อสัตว์แล้ว เราก็จะไม่กลับไปทานมันอีก ทำให้เราสามารถเลิกทานเนื้อสัตว์ได้ ลูกเข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่คะ
พ่อครูว่า…ใช่ สมถะจะได้ชั่วคราว ได้ตรรกะ ภาษา เป็นอัตวาทุปาทาน เป็นบัญญัติแล้วเอามาใช้เป็นประโยชน์ว่า ความหมายอย่างนี้ทำอย่างนี้ เวลาใช้แล้วมันก็จะได้เหมือนกันแต่มันแป๊บเดียวแล้วมันก็มาใหม่ มันไม่ขาด มันไม่ได้ฆ่าต้นเหตุ มันได้แค่บรรเทา ใช้สิ่งเหล่านี้มาแก้ เหมือนกับเราหมดทุกข์ด้วยการไปเสพสุข เสวยสุขมันก็บำบัดทุกข์ แค่นั้นเองไม่ได้ไปล้างที่เหตุ ไม่ได้ไปแก้ไขที่เหตุ
มันไม่เที่ยงมันเป็นเหตุแห่งทุกข์จริงๆ แล้วมันไม่เที่ยงมันไม่มีความจริงเลย เป็นของหลอกมันหลงติดมานาน ซึ่งมันไม่มีภาษาที่จะง่ายกว่านี้อีกแล้ว เป็นภาษาที่ตรงที่สุดสั้นที่สุด และก็น่าจะเป็นภาษา ตาย แล้วแน่นอน จบตรงนี้ กำลังพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้เดี๋ยวก็เปลี่ยนไปเป็นมาและมันเป็นเหตุให้เราคาราคาซังทุกไม่จบ ทุกข์ๆสุขๆ จนกว่าจะเกิดปัญญาตัวที่ฉลาดรู้ทันจริงๆ แล้วมันก็มีพลัง ปัญญานี้มีพลังทำให้เกิดต้นเหตุนี้จางคลายไปได้ ถ้ามีพลังใครมีพลังได้ไวได้มากก็วับ สลายความโง่ความยึดติดนี้ได้เร็วก็ดีสิ แต่ที่นี้มันไม่ได้ เราก็ต้องทำไปๆจนกว่ามันจะมีฤทธิ์ จะเพิ่มความเฉลียวฉลาดความรู้ความจริง
พลังปัญญาที่จะบำบัดหรือกำจัด พลังโง่ที่ไปติดยึด มันจึงต้องใช้ มันไม่มีทางอื่นที่จะใช้ได้ดีกว่านี้ ไปกดข่ม ก็ได้ชั่วคราวไม่แจ้งชัด ปัญญามันรู้ความจริงเป็นเหตุผลหลักฐานความจริงแท้จริงๆเลย โดยธาตุจิต ธาตุเวทนา สัญญา สังขาร ธาตุรู้ เป็นปัญญาที่ไปละลายเปลี่ยนแปลงธาตุที่อื่นที่ไปติดยึด ในเวทนา สัญญา สังขาร มันสลายอันนี้ไปเลย มันก็ไม่มีตัวตนของเวทนา ตัวตนของสัญญา ตัวตนของสังขาร ตัวตนของวิญญาณ มันก็สลายหายไป
_สุชาดา · น้อมกราบนมัสการพ่อครูและท่านสมณะสิกขมาตุค่ะ และขอบพระคุณท่านผู้ถามปัญหาด้วยค่ะเพราะทำให้เราได้ตรวจสอบตัวเองไปด้วยค่ะ
_วาส ทองจันทร์ · กราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพยิ่งครับ ผมติดตามชมและฟังพ่อครูเป็นประจำไม่ค่อยจะพลาดชมเลย นอกจากไม่ได้อยู่บ้าน แต่ก็จะหาดูหาชมตามยูทูปก็พอได้ครับ ผมยิ่งฟังยิ่งชอบเพราะนับวันจะดุเด็จแบบที่จะหาชมและฟังจากพระที่อื่นไม่ได้เลย เพราะธรรมที่อื่นส่วนมากจะเป็นธรรมเบาใจ แบบหวานๆเย็นๆเย็นๆเท่านั้นครับ
_ผู้ครอบครอง จักรวาล · พ่อท่านคือนิยตโพธิสัตว์(ระดับ7)ของจริงครับ
_โพธิปัก ขิยธรรม พ่อครูผู้สยังอภิญญา. โพธิสัตว์ระดับ7 กระผมขอฟังธรรมจากพ่อครูโพธิรักษ์ทุกชาติไป
_ได้ฟังเพลง หรือจะรอให้พ่อสิ้นที่ท่านสมณะเด่นตะวัน แต่ง ฟังแล้วรู้สึกซาบซึ้งใจจนน้ำตาไหล จึงคิดว่า จะตอบแทนพ่อครูด้วยการปฏิบัติบูชา ในพรรษานี้ ตั้งตบะ ที่สำคัญที่ติดมากชอบมากคือขนมหวาน แต่ก็กินน้อยมากแล้ว เห็นโทษภัยทำให้เกิดโรคภัยและทำให้แก่เร็ว จึงเลิกกินอาหารที่ทำจากน้ำตาลและกะทิทุกชนิด จะเลิกตลอดชีวิต
_จาก บ้านเล็ก เมืองน้อย
อำนาจเงิน กับ อิทธิพลของศีล เป็นพลังงาน 2 ขั้ว ที่อยู่ตรงข้ามกัน และมีแรงดูดผลักที่สวนทางกัน
การสะสมเงินมากๆ จะมีอำนาจเป็น โลกียะทรัพย์ สามารถใช้เงินซื้อ-สั่ง ผู้คน-สิ่งของ ได้ดั่งเนรมิต แต่จะไม่ได้รับความยินยอมพร้อมใจที่แท้จริงจากผู้คน จึงเกิดเป็นสังคมกลวง ที่เสแสร้งแกล้งดัด หักเล่ห์ชิงเหลี่ยมสารพัด สังคมจึงร้อนรุ่ม-วุ่นวายไร้ที่พึ่งพิง
การขัดเกลากิเลสออกด้วยศีล จนยอมมาเป็นคนจน มีจิตที่วางจากกิเลส เป็น อาริยะทรัพย์ หมดโลภ-โกรธ-หลง-ไร้อัตตาตัวตน เสียสละทำเพื่อผู้อื่น จนได้รับความนับถืออย่างยินยอมพร้อมใจ จึงจะสร้างพลังเย็น เปลี่ยนสังคมให้เกิดสันติสุขได้ ดังที่พ่อท่านได้นำพาชาวอโศกทำเป็นตัวอย่าง
ในสมัยก่อน ที่ผู้คนยังไม่ถูกอำนาจเงินครอบงำ ศีลธรรมประจำใจคือสิ่งเชื่อมโยงสังคมให้ร่มเย็น อาศัย ขนบ-ประเพณี ชักนำผู้คนให้อยู่ในครรลอง ดูแลสังคมให้เป็นธรรม….. เงินกับกฎหมายจึงเป็นของฟุ่มเฟือยในสมัยนั้น ขึ้นโรงขึ้นศาลไม่ค่อยมีให้เห็น
เมื่อระบอบทุนถูกสถาปนาขึ้น โดยมี โลกาภิวัฒน์ ช่วยเร่งปฏิกิริยา แพร่เชื้อความเป็นปัจเจกชน ปลูกฝังความเห็นแก่ตัว จนการแข่งขันแย่งชิงกลายเป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคม สมใจนายทุน เพื่อให้ฟังดูไม่น่าเกลียด การเอารัดเอาเปรียบจึงถูกตั้งชื่อใหม่ว่า ธุรกิจ
เงินทำให้ วจีกรรม กายกรรม ของคนเปลี่ยนไปได้ ให้เป็นผู้คล้อยตามได้ แต่เงินไม่สามารถควบคุมมโนกรรมให้อ่อนน้อมถ่อมตนได้ เหมือนอย่างที่ศีลมีอิทธิพลต่อจิต อบรมขัดเกลาจิตให้เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งกาย-วาจา-ใจ เป็นผู้เจริญขึ้นได้อย่างแท้จริง
เงินยิ่งเรืองอำนาจ ก็เปลืองกฎหมายมาก แต่ไม่ช่วยให้คดีความน้อยลง ความศักดิ์สิทธิ์ของเงินได้ทำลายความศรัทธาในศีลของผู้คนไปจนหมดสิ้น จริยธรรม กลายเป็นเรื่องตลกของทนาย ผู้คนเปลี่ยนเป็นนักลักลอบ-หลีกเลี่ยงกฎหมาย เพื่อธุรกิจจำต้องสะกดข่มยิ้มแย้มในที่สาธารณะ-แล้วค่อยลงมือลับหลังเมื่อสบโอกาส การนั่งหลับตาสมาธิจึงเป็นที่นิยม ขอเพียงเพื่อให้ดูดี แต่กิเลสยังคงหมักหมมอยู่ภายใน เป็นดังภูเขาไฟที่รอเวลาปะทุ
ดังนั้นเงินไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหาความเสื่อมของสังคมฉันใด การนั่งหลับตาสมาธิก็มิใช่หนทางของพุทธปฏิบัติ ที่จะยกระดับจิตให้เป็นผู้เจริญขึ้นได้ฉันนั้น
มรดกในโลกของทุนเป็นเพียง สินทรัพย์ ไม่เที่ยง ที่สืบ ทอดให้แก่ลูกหลานของตน
แต่อาริยะทรัพย์ คือ ศีลทรัพย์ ที่สถิตถาวรในจิต อบรมจิตให้ถึงขั้นสูญญตาได้ ซึ่งต้องปัจจัตตังกันเอาเองเท่านั้น จึงจะทำให้เกิดการสืบสานไปสู่ชนรุ่นหลัง แล้วมรดกที่เป็นอาริยะคุณนี้ จะยังความมีศีลมีธรรมให้คงไว้ในสังคมสืบไป
ไม่มีศีล….. ไม่มีทาง….. ไม่มีธรรม
_ใบฟ้า..
-
ณ กาละนี้ พ่อครูยกคนดีข่มคนชั่ว แยกความถูกผิดคมชัดอย่างแกล้วกล้าอาจหาญร่าเริงบันเทิงใจดิฉันเห็นเช่นนี้ค่ะ
-
หัวใจนั้นมี 4 ห้อง ดังนั้นหัวใจของพุทธศาสนาซึ่งประกอบด้วย ห้องที่ 1 อริยสัจ 4 ห้องที่ 2 คือไตรสิกขา ห้องที่ 3 คือธรรมะ 2 ห้องที่ 4 คือสัมมาหรือมรรคมีองค์ 8
-
เนื่องจากวันปิยมหาราช จึงเรียนถามว่าการเลิกทาสของพระเจ้าอโศกมหาราชและรัชกาลที่ 5 นั้น อานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่นั้นจะเกิดผลเช่นไร ทั้งสองพระองค์อยู่ในโพธิสัตว์ระดับใด
พ่อครูว่า…คุณถามมานั้นลึกและเป็นอจินไตยเกินไป อาตมาไม่มีเครื่องวัดที่จะตอบคุณได้อย่างดี เราก็ไม่อยากตอบเท่าไหร่ ตอบเดาไม่เข้าท่า อย่าอยากรู้เลย ให้รู้ของตัวเองเถอะเราจะได้รู้ว่าขนาดนี้คือขนาดนี้ ผู้ใดมีประมาณที่เรามี เข้าท่า ผู้ใดมีไม่เท่าเราก็รู้ว่าเขามีน้อยกว่าเรา คนนี้มีมากกว่าเรา เราจะซื่อสัตย์ เราจะเห็นความจริงตามความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อเราไม่มีอคติไม่เห็นแก่ตัวไม่หลงตัวหลงตน ความไม่หลงตัวหลงตนไม่มีตัวมีตนมันจะตรงซื่อสัตย์ จะเห็นว่าคนนี้มีมากหรือน้อยกว่าเราเป็นจริงตามสัจจะ แต่ถ้าคนมีความเห็นแก่ตัวมีอัตตามานะ มันก็จะ ลำเอียง บวกลบคูณหารตัวเอง จะใหญ่กว่าเขาจะดีกว่าเขาอยู่เรื่อย
พ่อครูว่า…มาดูในพระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ 36
อภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
เอกกนิทเทส
[17] บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ในกาลโดยกาลในสมัยโดยสมัยแล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พ้นแล้วในสมัย
พ่อครูว่า…ทุกอย่างจะเริ่มจาก 2 ทั้งนั้นที่เป็นสังขตธรรม อยู่เดียวไม่ได้ปรุงแต่ง ทุกอย่างเริ่มที่ 2 ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60 เป็นหัวใจของศาสนาพุทธเลย
[18] บุคคลผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ในกาลโดยกาล(กาเลนกาลัง)ในสมัยโดย สมัย(สมเยนสมยัง) สำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น หมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่าผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย พระอริยบุคคลแม้ทั้งปวง ชื่อว่าผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ ส่วนที่เป็นอริยะ
พ่อครูว่า…สัมผัสวิโมกข์ 8 อย่างไร วิโมกข์ 8 มีอะไร สัมผัสสัมพันธ์กันอย่างไร แล้วต้องกายนะ กายมีทั้งภายนอกภายใน กายมีคู่สังขารสังเคราะห์ด้วยนะ
วิโมกข์ 8 ข้อที่ 1 เวไนยสัตว์ของโลกุตระต้องมีอัญญธาตุเริ่มต้น แล้วมีความรู้แบบโลกุตระ จึงฟังรู้เรื่อง ต้องมีคนมีธาตุรู้มีจิตนิยาม และต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ มีพืชสัตว์หรือวัตถุเป็นต้น พตปฎ. ล.10 ข.66 / ล.23 ข.163
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) คนตาบอดก็ไม่เห็นรูป คนที่ไม่มีสติ ไม่มีการใช้สติสัมผัสสัมพันธ์รู้เรื่อง ไร้สติ สติดีอยู่แต่ในวาระนั้นไร้สติมันก็ไม่รู้จะเป็น รูปานิไม่ได้ รูปีคือรูป รูปานิคือ คนที่จะรู้รูป
ปัสสติ คือเห็น รูปอันแรกคือคำว่า ตา กับ รูป ตาก็ไปเห็น กระทบรูปหรือ
หูกระทบเสียง ได้ยิน จมูกกระทบกลิ่น ก็ได้กลิ่น เป็นธรรมะ 2 มีของจริงทั้งนอกทั้งในมีประสาท โคจรรูป มีสิ่งที่ถูกรู้ สัมผัส เกิดภาวะรู้ได้ยินได้กลิ่นได้รสสัมผัสเสียดสีเย็นร้อนอ่อนแข็ง นี่คือ ข้อแรกของวิโมกข์ 8 ต้องมีคนมีจิตวิญญาณ มีสิ่งที่ถูกรู้สัมผัสสัมพันธ์กัน ข้อนี้มีไปจนถึงข้อที่ 8 ของวิโมกข์นะ ไม่ขาด รูปี รูปานิปัสสตินะ อย่าไปทิ้ง
-
ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66) ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) คำว่า อัชฌัตตังแปลว่าภายใน พหิทา แปลว่า รูปภายนอก
อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เขาแปลว่า ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน อาตมาว่ามันไม่ถูก อัชฌัตตังแปลว่าภายใน อรูปคือ ความละเอียดกว่ารูป พหิทา เป็นภายนอกตัวหยาบ อัชฌัตตังคือภายใน ตัวอรูปคือตัวละเอียดภายใน
อัชฌัตตังภายใน พหิทาภายนอก สามมีรูปีรูปานิ แล้วต้องมีปัสสติ มีการสัมผัสเห็นอยู่ตลอดเวลา
ส่วน อรูปสัญญี นั้น สัญญีคือ ผู้มีสัญญาหรือผู้สำคัญมั่นหมาย แต่เอา อ ไปใส่หน้าเขาแปลว่า ผู้ไม่มีความสำคัญในรูป แล้วท่านก็เอารูปมาเป็นตัวยืนยัน ที่จริง อรูปกับสัญญี
สัญญีคือ ผู้กำหนดรู้ผู้มีสัญญา กำหนดรู้ภายใน ที่จริงกำหนดรู้หมดตั้งแต่ภายนอก โดยตนเอง เอโก ของตนเองทั้งหมด เป็นผู้มี ครบทุกอย่างทั้งภายในภายนอก รู้แล้วไม่รู้ ของตัวเองคนเดียว เอโก
พวกนี้สามารถที่จะรู้รูป มีรูปให้รู้ และมีปัสสติ มีการให้เห็นได้รู้สัมผัส ตั้งแต่ภายนอกพหิทา จนถึงภายใน อัชฌัตตัง
ภายนอก คืออบายภพ หมดอบายก็เหลือกามภพ หมดกามก็เหลือรูปภพ เลยรูปภพเข้าไปอีกคือ อรูปภพ จนครบหมดเลย ละไว้ในฐานที่เข้าใจรูปภพ
ภายนอกก็ไม่ได้บอก กามภพ แต่ก็ละไว้ แล้วรู้ว่าภายในมีภวภพหรือรูปกับอรูป
หมดภายในขั้นรูปภพแล้ว เหลืออรูปภพ เป็นการกำหนดรู้ภายนอกที่หยาบก่อน แล้วกำหนดรู้ภายใน
แต่ไปแปลว่า ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน ก็เลยไม่ได้ปฏิบัติอะไร ไปๆอย่างนี้มันก็เลยผิดเพี้ยน เป็นตำราคัมภีร์นะ คนที่ไม่รู้ภาษาบาลีก็ไปต้องอ่านภาษาไทย ก็แปลมาผิดๆอีก ขออภัย ต่อท่านผู้แปล ขอติติงเถอะ ขออนุญาตก็ขออภัย
ข้อ 2 นี้อาตมาจึงขอแก้ว่า ผู้ที่ใช้สัญญาทั้งภายนอก ทั้งภายใน ทั้งรูปภายนอก รูปขั้นกลาง รูปภายใน รู้หมดเลยรวบหมดเลย ทั้งภายนอกภายในทั้งขั้นกลางทั้งลึก เป็นผู้กำหนดสำคัญมั่นหมายเป็นขั้นตอนเป็นลำดับไปหมดเลย ข้อ 2 นี้เป็นองค์รวมหมดเลยเป็นความรอบรู้ในการปฏิบัติธรรม
ข้อที่ 1 ปูทางไว้ ว่าต้องมีรูป มีธาตุรู้ที่จะรู้ แล้วต้องมีวิญญาณมีการสัมผัส
ข้อที่ 2 ตั้งแต่ภายนอกภายใน จากรูป อรูป แล้วเป็นผู้มีการกำหนดรู้ สัญญี อย่าไปบอกว่าเป็นผู้ไม่สำคัญมั่นหมาย ไม่ใช่อสัญญี
แม้แต่คำว่าอสัญญี ก็ไม่ได้แปลว่า ผู้ไม่มีสัญญา แต่แปลว่าผู้มีสัญญาครบแล้ว ไม่ต้องมีไม่ต้องทำสัญญากำหนดรู้อีก นี่คือนัยะลึกซึ้ง
เพราะโลกุตระ ไม่ได้ปฏิเสธ 0 แต่ต้องทำสูญไปตามลำดับ กามภพ รูปภพ อรูปภพไม่ใช่สูญหมด แต่สูญไปทีละขั้น
ข้อที่ 2 ของวิโมกข์ 8 คือผู้ที่ครบครันในการปฏิบัติโดยใช้สัญญาเป็นการกำหนดหมายสำคัญมากในสัญญาตัวนี้ หน้าที่สัญญาคือจำใส่คลังความรู้ ต่างจากปัญญา ตรงสัญญาใช้ทั้งภายนอกภายในก็ได้ส่วนปัญญาต้องมีภายนอกเป็นตัวยืนยัน ต้องมีธาตุรู้คือภายในเนื้อแท้ ปัญญา มีอัญญาตัวหลักแล้วปัญญาต้องมีตัวนอก ปัญญา ปัญญินทรย์ ปัญญาพละ ต้องมีภาคปฏิบัติใน มรรคทั้งหมด ในการทำงานอาชีพในการกระทำการพูดการคิด เรียกว่าอาชีวะ ต้องมีหมดครบเลย
นั่นคือผู้ที่ใช้สัญญาให้มาเป็นปัญญา ปัญญาต้องมีภายนอก
-
ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต . โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น)