กระเทียมพันธ์ุแก้ว มาแล้วที่ แปลงปู่เถา
เป็นวันบวร ที่ชาวเราให้ความสำคัญอีกวันหนึ่ง ในรอบสัปดาห์ ก็จะเวียนมาบรรจบอีกครั้ง ครั้งนี้ชุมชนราชธานีอโศกต่างมีกำหนดหมายว่าเป็นของ บ้าน วัด โรงเรียน มาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันเป็นวัฒนธรรมที่ดี มีความหมายสำคัญว่า ทุกๆคนที่อยู่ในชุมชนแห่งนี้ มาร่วมเป็นกำลังกาย +ใจ ให้กับหมู่คณะ กับส่วนกลางนั่นเอง ว่าจะไปร่วมกิจกรรม อะไรบ้าง ในวันบวร. วันจันทร์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2561 นี้
กลุ่ม 1,3,4,5,6 งาน ปลูกกระเทียมริมมูล ฝั่งทิศตะวันตก ท้ายหมู่บ้านเฟสหนึ่ง ( ปู่เถา ) ให้เตรียมร้องเท้า ไปด้วย (สมาชิก ประมาณ 59 คน)
กลุ่ม 2 งานเกี่ยวข้าว หลังอาคาร บวร. ( พ่อทุ่งข้าว ) ติดสวนแม่เปลี่ยนเตรียมอุปกรณ์ เคียว,รองเท้า,ถุงมือ,รถใช้บรรทุกข้าว.
กลุ่ม 7งานดายหญ้าหลังอาคารบวร.( แม่เปลี่ยน ) เตรียมรองเท้า,หมวก อุปกรณ์อื่นๆแม่งานเตรียมให้้แล้ว.
สมุนพระราม ชั้นป.1-3 ทำงานช่วยพี่ดาวน้อย ( สู่แสงพุทธ)
กิจกรรมปลูกกระเทียมพันธ์ุแก้ว
เช้าตรู่ เวลา 05.00 น. นักเรียน สสธ. ทุกชั้นปี มารวมตัวกันที่ศาลาเผิ่งกัน เพื่อมารับโอวาทจากสมณะมือมั่น ปูรณกโร เพิ่มพูนสัมมาทิฏฐิ มีคุรุดินดอนเป็นที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส และมีคุรุคนอื่นๆต่างมาเป็นพี่เลี้ยงของนักเรียน เป็นการบูรณาการการศึกษา ที่พร้อมทั้ง นักบวช ผู้ใหญ่ เด็กๆมาร่วมเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน เกิดสังคมที่จะเห็นได้ชัดเจนว่าคุณธรรมของคนมีศีลธรรม มีคุณธรรม ที่เข้มแข็ง คราวถึงโอกาสที่จะทำการงานใดๆในชุมชนก็มีการประชุมปรึกษาหารือกันก่อนลงมือปฏิบัติจริงนั่นเอง มาที่กิจกรรมการปลูกกระเทียม ที่แปลงปู่เถาดูแลค่ะ กับสมาชิกร่วม 60 คน ในพื้นที่ 5 ไร่ ซึ่งจะปลูกต้นหอมด้วยต่อไปในอนาคต สำหรับเช้านี้ปลูกกระเทียมได้ประมาณ เกือบ3 ไร่ก่อน พบกับบรรยากาศค่อนข้างสบายๆกับสายลมพัดพาไอเย็นของอากาศในฤดูหนาว ยายๆที่นี่บอกว่า ลมหนาวมาแล้วนะ ใครไม่เสื้อกันหนาวระวังเป็นหวัดนะ ครั้นได้ยินแล้วก็กระตุกความรุ้สึก นับเป็นความห่วงใย ไมตรีจิตที่อบอุ่น มองทอดยาวไปในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล ร่มเย็น สุดตาแลเห็นสองฝั่งชิดขอบแม่น้ำมูน เป็นลำน้ำแห่งชีวิตของชาวอุบลราชธานี ไหลผ่านราชธานีอโศก เห็นสายน้ำระยิบระยับยามต้องแสงอาทิตย์อ่อนๆ หากวันนี้ท้องฟ้ากลับครึ้มฟ้าครึ้มฝน เลยเห็นเพียงกระแสลมพริ้วผ่านมากระทบผิวน้ำให้ไหวตามแรงลมหนาวอยู่ไม่ขาดสาย ความงดงามจากธรรมชาติ ในส่วนหนึ่งของบ้านราชฯนี้จะประทับใจไม่น้อยเลย นอกจากนั้นบรรยากาศในการทำงานร่วมกับเด็กๆ ก็สนุกสนาน ผู้ใหญ่ก็มีปิติยินดีพอใจที่ได้ทำงานในพื้นที่ไม่ต้องต่อสู้ หลบเลี่ยงกับมดแดงไฟ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปรับปรุงจากรถไถ ยกร่อง ด้วยพี่น้อง7-8 คน ในคณะของคุณแก่งธรรม หรือปู่เถาของเรานั่นเอง เมื่อถึงพื้นที่ ทุกคนต่างก็ได้รับคำแนะนำจากแม่ฐานพ่อฐานงาน แจกแจงหน้างานทำอะไรก่อนหลังแล้วเราก็ลุยกันเลย ด้วยผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมกันมาหลายครั้ง เลยพอรู้แนวทางบ้าง เช่น ใช้ไม้คราด นำมาคราดแถว เป็นแนวตรงๆ ,นำกลีบกระเทียมลงร่องแถว ห่างระยะไม่เกิน 1 คืบ แล้วกดกลีบกระเทียมพอครึ่งกลีบ เป็นใช้ได้ มีอุปสรรคบ้างได้แก่ ดินที่เรากดกลีบกระเทียมนั้นบางจุด แข็งเกินไปกดไม่ลงพื้นดิน ต้องเพิ่มการรดน้ำ แต่เราก็แก้ไขปัญหาโดยใช้ไม้แหลงกดนำทางช่วย งานจึงผ่านไปได้ด้วยดี แม้จะทำบ้างเล่นบ้าง แต่ทุกคนก็มีความสุข สำราญ เบิกบานใจ เรารู้ว่าสิ่งที่ทำนี้เป็นการงานที่ไม่มีโทษภัยแก่ผู้ใด ไม่ได้หวังสิ่งใดเป็นการตอบแทน ตรงกันข้ามเป็นงานที่เป็นกุศลที่ดี สร้างทรัพย์ให้แก่ผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ เผื่อแผ่ให้พี่น้องต่างบวรได้รับประทานในอนาคตอีกด้วย และที่สำคัญได้กำไรอาริยะคือ ขาดทุนของเราคือกำไรของเรา ทำมาก ใช้น้อย สิ่งที่เหลือสามารถเผื่อแผ่ผู้อื่นได้ สอดคล้องกับระบบการศึกษาบุญนิยมที่พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ บอกว่า “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา” ที่ปลูกรากฐานให้ผู้เรียนมีวิถีชีวิตที่ตรงแนวทางของหลักสัมมาอาริยมรรคมีองค์ 8 เน้นที่ศีลเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันนับว่าเป็นการพัฒนาร่วมกันไป ที่จำเป็นต้องมีกิจกรรมที่ทำตามลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่การสร้างพื้นฐาน การใช้ชีวิต มีพอกินพอใช้ของแต่ละคน ส่งผลต่อสังคมในหมู่บ้าน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวังแต่ถูกต้องตามหลักวิชา ยึดศีล สมาธิ ปัญญาเป็นแกนให้เกิดความมั่นคงพอสมควรพร้อมอ่านจิตใจตนเองให้ถูกทางไปด้วย ตามฐานะแต่ละคนที่กระทำได้มากน้อยแตากต่างกันไป สุดท้ายได้เวลาพักรับประทานอาหารทุกๆคนต่างกล่าวอำลาพ่อฐานงานจากนั้น แยกย้ายกันไปรับประทานอาหารเช้าที่ ศาลา และโรงครัวกลาง