620118_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ เรียนรู้เทวะคือธรรมะ 2 ให้ถึงอนัตตา
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1plPQCAaJBoOv1BJGvf3LN-VDn-7Wsf564CnnTwjPgGs/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=1xUAP-GJTCUvO3aLrlpzYYzuo6BxcJPFi
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้มีค่ายสัมมาอาริยมรรค เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเก่า
“ขยันรับใช้ มีแต่ให้ ไม่มีอคติ”
ครั้งที่ ๓๖ ณ หมู่บ้านชุมชนราชธานีอโศก
ศุกร์ที่ ๑๘ – อาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๒
รับสมัครผู้สนใจเข้าค่าย ฟรี! (จะอยู่กี่นาทีได้)
สมัครได้ที่ อุทยานบุญนิยม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี หรือ
โทรฯ คุณชญาดา ๐๘๗-๔๔๓๗๘๖๕
วันนี้ก็มีผู้เสียชีวิตรายหนึ่งที่บ้านราชฯ ชื่อโยม จันทร์เพ็ญ เป็นญาติธรรม ปฏิบัติธรรมตั้งแต่ปี 2517 เป็นแม่ของคุณแหม่ม ไอดิน จะเผาวันอาทิตย์เวลา 14:00 น
หัวใจของประชาธิปไตยที่พ่อครูกล่าวไว้มี 1. มีอิสระเสรีภาพ 2.ไม่มีตัวตน 3. มีปัญญา และต้องเป็นผู้ขยันรับใช้ มีแต่ให้ ไม่มีอคติ
พ่อครูว่า…คุณใบฟ้าก็เป็น FC ที่เหนียวแน่นตลอด พ่อครูเป็นเหมือนจอมทัพของกองทัพธรรม ลูกๆเป็นเหมือนทหารกล้า กองทัพจะทรงพลังที่สุดได้อย่างไรหากขาดจอมทัพผู้นำโลกุตระ ที่สูงเยี่ยมสุดยอดไร้ผู้ใดเปรียบ ณ กาละนี้ ดังนั้น จึงขอกราบอาราธนาให้พ่อครูได้โปรดอนุรักษ์ ดำริที่มุ่งมั่นในการขยายอายุขัย ตราบถึง 151 ปีดังเดิมเถิดค่ะ มวลมหาอวิชชายังรายล้อมลูกๆเหลือคณานับ เฉกเช่นขนโคกับเขาโค การขยายอุดมการณ์อโศกเพื่อมนุษยชาติให้เป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์ รับพลังแห่งพุทธธรรมที่จะส่งผลต่ออายุพระพุทธศาสนาอีก 2000 ปีนั้น ต้องการจอมทัพผู้นำพาอย่างสูงสุดค่ะ
พ่อครูว่า…ขอให้อาตมากัดฟันอยู่ไป กระเสือกกระสนถูลู่ถูกังไป ก็จะมีเด็กที่มีเชื้อสาย ยังรอหนุ่มสาวที่มีเชื้อสาย แต่เขาก็อยู่ข้างนอก เขาว่าไม่ทิ้งหรอกแต่ก็ไม่รู้จะมาเมื่อไหร่ได้แต่ร้องเพลงรอ เอาละ ก็ไม่เป็นไร จนกว่าจะมาก็มากัน ถ้าเผื่อว่า ราชธานีอโศกมีคนถึง 2000 เมื่อไหร่ นี่พันหนึ่งยังไม่ถึงนะ มันน่าจะได้เป็นตำบลบุญนิยม ซึ่งจะมีหมู่บ้านสัก 10 หมู่บ้าน ก็มีคนฟอร์มๆกันอยู่ พยายามก่อหวอดกันมาก็เป็นไปตามธรรม
_จากปุญญา ธัมมา… ทัศนคติ กับ สัมมาทิฏฐิ ต่างกัน หรือ เหมือนกันคะ
พ่อครูว่า..ทัศนคติ คือความคิดความเป็นธรรมดา เป็นความคิดองค์รวมหรือเป็น จิต อคติมโนคติ เป็น Concept ธรรมดา แต่สัมมาทิฏฐินั้น ภาษาอังกฤษยังไม่มี ยังไม่รู้เรื่องสัมมา ทิฏฐิคือความคิดความเห็น ลักษณะทฤษฎี ที่จริงก็มาจากภาษาสันสกฤตว่าทฤษฎี ถ้าเป็นภาษาบาลีก็บอกว่าเป็นทิฏฐิ หรือ theory มีหลักเกณฑ์หลักการไปตามนั้น โลกๆเขาก็มีทิฏฐิทฤษฎี แต่ที่เป็นสมานั้นเป็นของเฉพาะพระพุทธเจ้า ท่านก็มีนิยาม ถ้ามีสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็จะมีความรู้ 10 หลัก สัมมาทิฏฐิ 10 จะเป็นตัวตัดสิน ว่าถ้าใครมีความรู้ชัดเจนในทิฐิทั้ง 10 นี้ เอามาใช้ได้อธิบายได้ขยายความได้ พาประชาชนปฏิบัติมีคุณสมบัติคุณธรรม มีคุณลักษณะตรงตามทิฐิ 10 นี้ได้ ผู้นั้นคือสยังอภิญญา มีความรู้พิเศษในระดับที่มีของตนเอง ข้ามภพชาติมา ไม่มีครูบาอาจารย์ก็ได้ จะมีครูบาอาจารย์ก็ได้ มีของตนเองเป็นปัจจัตตังจนถึงขั้นเป็นสยังอภิญญา แล้วเป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธะและเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นคุณธรรมคุณสมบัติที่สูงส่งไปตามลำดับ
ทัศนคตินั้นยังอยู่ในกรอบของโลกียธรรม ส่วนสัมมาทิฏฐินั้นเป็นโลกุตรธรรม เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ไม่ใช่ความรู้ทั่วไป ติดตามไปแล้วจะเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ 10
-
ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง) รู้จักการทาน คนที่ทำทานแล้วมีผล การทำทานนั้นผลเป็นคุณเป็นโทษผลดีผลชั่วก็ได้ สำคัญก็คือมีผลเป็นโลกุตระ ไม่ใช่ผลแต่แค่โลกียะ อย่างนี้เป็นต้น การทำทานแล้วมีผลเป็นโลกุตระ คือทำทานแล้วสามารถมนสิการเป็น ทำใจในใจของตนเองให้ไม่มีภพชาติ ให้ก็คือให้ไม่ใช่จะเอา ไม่ใช่ต้องการอะไรขึ้นมา ทำใจได้ว่าใจของเราไม่มีสาเปกโข ไม่มีความหวังจะได้อะไรตอบแทน ต้องรู้อาการจิตของตัวเองที่จะไม่มีเส้นโค้งอะไรให้กับตัวเอง ไม่มีความต้องการไม่มีความปรารถนามาให้ตัวเลย นั่นคือการทำทานที่ให้อย่างเป็นโลกุตระเต็มที่มีผล ถ้ายังโค้งนิดหน่อย ไม่กี่องศาแต่ไกลมากกว่าจะกลับมามันก็อาจจะดีอยู่บ้าง แต่เป็นโลกียะอยู่ ถ้าเป็นโลกุตระนั้นต้องไม่โค้ง นอกจากไม่โค้งแล้วต้องตรงอย่างถาวร ตรงอย่างไม่มีที่จะสะดุดไปโค้งที่ใดเลย กระทบกระแทกกับโลกียะข้างหน้าก็ไม่โค้ง นั่นคือโลกุตระที่สมบูรณ์แบบ นั่นคือการโยนิโสมนสิการ
เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา).
-
ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) คือวิธีปฏิบัติจะต้องเป็นสัมมา ต้องอ่านจิต อ่านอาการจิตแล้วลดกิเลสได้ ถึงจะเป็นผู้ที่มี อัตถิ ยิฏฐัง
-
สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง) คือผลของการปฏิบัติทาน ศีล ทานภาวนา ศีลภาวนา เกิดผลเป็นโลกุตระ ยังบกพร่องเท่าใดก็แล้วแต่ แต่ต้องเป็นผลโลกุตระที่แท้ หุตัง สามอย่างนี้คือบุญกิริยาวัตถุ 10 สามข้อแรก คือของพระพุทธเจ้าแท้
ผู้ที่ปฏิบัติได้ก็จะเกิดข้อที่ 4
-
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) กรรมเป็นของของตน ตนเองต้องเป็นทายาทของกรรม แต่ละชาตินั้นกรรมพาเกิดพาเป็นทั้งนั้น กรรมสะสมเป็นตระกูลเป็นเผ่าพันธุ์ของตนเอง กรรมจึงเป็นทั้งสงคราม เป็นทั้งที่พึ่งอาศัยของเรา มีสรณะ และสุดท้ายไม่ต้องทำสงครามแล้ว อรณะ เอาชนะตลอดกาล ผู้ที่เป็นอรหันต์ขึ้นไปแล้วจะทำสงครามชนะตลอดกาล อาจจะพลาดพลั้งแต่ก็ยังรบต่อจนชนะ ถ้ายิ่งเก่งเป็นโพธิสัตว์สูงขึ้นเป็นอรหันต์สูงขึ้น ก็ยิ่งรบชนะไปเรื่อยๆ ไม่มีแพ้ ดูเหมือนจะแพ้ แต่ที่สุดแห่งที่สุดคือชนะ ทุกอย่างไม่ได้เกิดจากGod แต่เกิดจากกรรมที่พาเป็นไปทั้งนั้น
-
โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ แปลว่าโลกนี้ คือโลกโลกียะ โลกเก่าๆที่มนุษย์สัตว์โลกวนเวียน
-
โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ คือโลกอื่นจากโลกโลกียะ แยกโลกนี้โลกหน้าได้ แยกโลกโลกียะโลกุตระได้ อธิบายได้ และพาปฏิบัติได้ โลกโลกุตระต้องรู้จักกิเลส ลดกิเลสได้ รู้จักเวทนาในเวทนา โดยเฉพาะเวทนา 108 มโนปวิจาร 18 แยกตามเคหสิตเวทนากับเนกขัมสิตเวทนา ที่เป็นตัวหลักของเวทนา 108 ถ้าผู้ใดแยกไม่ได้จับสภาวะของเคหสิตเวทนาไม่ได้ แล้วทำเนกขัมสิตเวทนาไม่ได้ คนนั้นก็ยังไม่ใช่โลกุตระ ยังไม่มีทางปฏิบัติให้เป็นจิตที่เป็นคนโลกใหม่ ผู้ใดที่ทำจิตให้เป็นคนโลกใหม่ได้จึงจะเป็นโลกุตระบุคคล ก็จะรู้จักอยังโลโก ปโรโลโก และอธิบายได้ จะต้องรู้จักสัตว์ทางจิตวิญญาณ
-
มารดา มี (อัตถิ มาตา)
-
บิดา มี (อัตถิ ปิตา)
-
สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา) ไม่ใช่สัตว์ที่เป็นตัวตนบุคคลเราเขา จะเป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณ ที่เกิดจากการมีสภาวะของพ่อและแม่ เกิดจากการกระทำของกรรมตัวบุคคลแต่ละบุคคลทำกรรมของตนเอง มีแต่ผู้ที่รู้สอนบอกปฏิบัติเองก็จะเกิดเป็นโลกใหม่ โลกุตรธรรม ได้
สัตว์โอปปาติกะ ก็จะมีผู้ช่วยให้เกิดหมายถึงพ่อและแม่ ไม่ได้หมายถึงพ่อแม่ทางร่างกายแต่เป็นพ่อแม่ทางธรรมะ ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกว่าอิตถีภาวะกับปุริสภาวะ รวมกันทั้ง 2 อย่างทำให้เกิดจิตที่เป็นตัวเราพัฒนาขึ้น เช่นศีลกับปัญญา ช่วยกันเหมือนมือล้างมือด้วยมือล้างเท้าด้วยเท้า ช่วยกันเพื่อจะปั้นลูกขึ้นมา ทำให้ลูกเกิด ศีลข้อ 1 ศีลเป็นแม่ แล้วก็ปัญญารู้จักการปฏิบัติ ปฏิบัติศีลเป็นอย่างนี้ สัมผัสกับสัตว์แล้วต้องอ่านจิตของเรา จิตของเรามีเมตตาจะไปฆ่าหรือไม่ เราก็ทำลายกิเลส ที่เป็นอกุศลจิต ทำได้ทำได้ก็คือปัญญาที่รู้จริงและก็ทำให้กิเลสตาย จึงเรียกว่าปัญญาเป็นตัวทำลายกิเลส ปัญญาอันยิ่ง เป็นพลังงานร่วมกับปุญญะ เป็นเทวะ ทำให้กิเลสตายหรือลดจางคลายลงเรื่อยๆส่วนแห่งบุญจนดับสนิทได้
พยัญชนะที่พูดเป็นภาษา ผู้ที่ปฏิบัติได้สภาวธรรมตรงกับภาษานี้ได้ ก็จะได้เป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ คุณจะรู้ของคุณเอง คุณรู้ผิดก็ผิดนะ คุณรู้ถูกก็เป็นของคุณไม่มีใครกำหนดได้เลย คุณเป็นผู้พิพากษาเอง พิพากษาผิดเพี้ยนก็เป็นเอง พิพากษาถูกต้องก็ถูกตรงเป็นสัจจะที่มันลึกซึ้งไม่มีใครช่วยใคร ตนเองพึ่งตัวเองช่วยตัวเองจนตนเองต้องชัดจริงได้ของตนเองจริงเลย มันลึกซึ้งเป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ
เพราะฉะนั้นก็จะรู้ว่า อื่นๆที่เป็นแม่เป็นพ่ออีกมีเยอะ อะไรเป็นเชิงของอิตถีภาวะก็คือแม่ ปุริสภาวะก็คือพ่อ ให้เกิดโลกุตระจิต บรรลุไปเรื่อยๆ เป็นพระโสดาบัน สกิทาฯ อนาคาฯ
ท่านถึงเรียกว่าจิตที่จะเป็นโอปปาติกะจิตแท้จริงก็คืออนาคามีเป็นต้นไป นอกนั้น ต่ำกว่านั้นก็ยังจะพ่ายแพ้ต่อโลกเป็นโลกียะรส ยังแลบเลียรสโลกีย์ อนาคามีก็ไม่แลบเลียรสโลกีย์ภายนอก จะมีภายในก็อ่อนแรงโลกีย์แล้ว ออกมาข้างนอกไม่ได้ คนนี้ก็จะเหมาะสมไปทำงานบริหารประเทศเพราะคนนี้ไม่เห็นแก่ตัว ทำงานโดยเห็นแก่ผู้อื่นแม้จะเป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ส่วนตัว
ผู้ที่สามารถรู้จริงเป็นจริงในสภาวะทั้ง 9 นี้ผู้นั้นก็จะเป็น สมณพราหมณ์ในข้อที่ 10
10.สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) . . . . .
(พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 257)
อาตมาเองประกาศตนเป็นคนในข้อที่10 เป็นสยังอภิญญา ไม่ได้เอาความรู้นี้มาจากอาจารย์คนใดในชาตินี้ ไม่มีศิษย์พี่ศิษย์น้องอะไร มีความรู้ของตัวเองมาแต่ชาติปางก่อนสะสมมา ใครเชื่อก็แล้วแต่ใครไม่เชื่อก็แล้วแต่ คนเชื่อก็ได้ประโยชน์คนไม่เชื่อก็เสียประโยชน์ไปไม่มีปัญหาเราก็ทำงาน อยากให้คนมาสมัครใจมีฉันทะมีความยินดีเอง พอใจเองมาเอา
พระพุทธเจ้าสอนไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พยัญชนะก็รู้กันทั้งนั้น แต่สภาวะล่ะ สภาวะที่เป็นวัตถุมันไม่เที่ยงมันไม่คงที่มันเปลี่ยนแปลงไป ก็เห็นได้ง่าย บางอันก็อยู่นานกว่าจะละลาย เราตายไปแล้วมันก็ยังอยู่ อยู่เป็นพันปีหมื่นปี วัตถุบางอย่าง เราตายหลายรอบแล้วมันก็ยังไม่ละลายหายไปก็ได้ แต่ที่บอกว่าจะต้องอ่านให้เห็นความไม่เที่ยงจริงก็คือในจิตเรา
จิตเราไม่เที่ยง เหลาะแหละ เดี๋ยวก็ไปเสพโลกีย์เดี๋ยวก็ตลบตะแลงเป็นโลกุตระ แต่คนที่ไม่รู้โลกุตระเลยก็ไม่เข้ามาหาทางโลกุตระ แต่คนที่ไปเสพโลกียะไม่เข้าฐานโลกุตระก็จะวนอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะมีปัญญามีธาตุรู้ ที่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างโลกียะกับโลกุตระ มันสวนกระแสกัน คนนี้จะไปเอารวยคนนี้จะมาจน คนนี้อร่อยด้วยรูปอย่างนี้ คนนี้ไม่เอาแล้วรสอะไรมันติดยึด ก็ลดลง เสียงอย่างนี้กลิ่นอย่างนี้รสอย่างนี้อะไรอย่างนี้ คนได้ติดในลาภ ยศสรรเสริญ โลกียสุข
ก็จะมีความรู้เรียกว่าปัญญาว่าเราติดในโลกีย์ แล้วเราก็ทำออก เรียกว่าเนกขัมมะ แล้วเราก็หลุดออกมาได้จริง จนกระทั่งมีกาละเวลาตกผลึก จนกระทั่งชัดเจนแล้วเราก็ไม่เอา เราก็เห็นใจโลกเขาอย่างไม่ได้ข่มเบ่ง ไม่ได้ไปซ้ำเติมอะไรเขาหรอก แต่ก็บอกให้รู้ว่ามันยังต่ำมันยังไม่เจริญนะมันยังจะทุกข์ร้อน ก็มีวิธีการพูดสิ่งที่ต้องกดก็กดข่มก็ข่ม นิคคัณหะ แต่ไม่กดไม่ข่มคืออะไรมันยาก แต่ผู้สามารถรู้กายวิญญัติ วจีวิญญัติหรือมโน อาการเคลื่อนไหวของนัจจะ คีตะ วาทิตะ ก็จะอ่านออกว่า อาการเคลื่อนไหวอย่างนี้มันเป็นโลกียะอยู่ อาการเคลื่อนไหวอย่างนี้มันเป็นโลกุตระอยู่ก็จะอ่านที่ใจของเรา
อาการมันจะกลับกันเลย ดูเหมือนแรง เหมือนโกรธมีแรง แต่ใจไม่มีเลยมีแต่สงสาร อย่างนี้คนอ่านไม่ได้ มันเป็นสภาวะสิริมหามายา
อ่านอาการ ตามด้วยอาการอย่างกาลามสูตร แล้วมาตีความว่าเราเป็นอย่างนั้น คนนั้นก็น่าสงสาร คนนั้นยึดถือตามอาการ บอกว่าอาการอย่างนั้นคืออาการโกรธ อาการเป็นโลกียะอยู่ เขาก็ตีความตามอาการ พระพุทธเจ้าท่านก็สอนว่าอย่าไปยึดติดตามอาการ โดยเฉพาะอาการภายนอก คุณไปหยั่งรู้อาการภายในจิตของเขาได้อย่างไร ซึ่งยากมาก ยิ่งเป็นคนที่สามารถ เห็นอาการความไม่เที่ยง อาการเหล่านี้ถ้าไปติดยึดอยู่เห็นมันเที่ยง มันก็จะมีทุกข์มีสุข เป็นเทวะ
ปีนี้อาตมาเพิ่งตีแตกเรื่องเทวะ บวชมาทำงานศาสนาตั้งแต่ 13 นี่มัน 62 แล้วนะ 49 ปีแล้ว มันไม่ใช่น้อยๆ กว่าจะเอาเทวะธรรมะ 2 มาขยายความก็ต้องทำงานมา 49 ปี ผ่านมากว่า 4 นักษัตรแล้ว ใคร จะหาว่าอาตมาหลงใหลคลั่งไคล้ ในศาสนาพุทธก็แล้วแต่ อาตมาว่าศาสนาพุทธยังสูงขึ้นกว่านี้ได้อีก ใครจะเห็นว่าอาตมาหลอกก็แล้วแต่ ใครจะเห็นว่าจริงก็แล้วแต่
รู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ต้องรู้อัตตา 3
-
การยึดครองหรือได้ตัวตนวัตถุภายนอก (โอฬาริกอัตตา ฯ)
-
การยึดครองหรือได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ปั้นรูปสัญญา ไม่อาศัยวัตถุภายนอกหยาบๆ แล้ว (มโนมยอัตตา ฯ)
-
การยึดครองหรือได้อัตตาที่หารูปมิได้ หรือรูปละเอียดที่ปั้นสำเร็จขึ้นด้วยสัญญา (อรูปอัตตา ปฏิลาโภ) .