ม.ค.232019กสิกรรมธรรมชาติชุมชนราชธานีอโศกสัมมาสิกขาราชธานีอโศกสาขาราชธานีอโศกกิจกรรมวันบวร วันจันทร์ที่ ๒๑ ม.ค. ๒๕๖๒ เช้านี้มีกิจกรรมที่ขอโฮมแฮง ชาวชุมชน และญาติธรรมที่พอจัดสรรเวลาได้ มาช่วยกันเตรียมงานในหลายจุด ตามที่นิสิต วนบและนร.สสธ.ได้เป็นจิตอาสา ลงช่วยกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังต้องการกำลังเพิ่มอีกในทุกจุดค่ะ มี ๖ ฐานงาน กลุ่ม ๑..เก็บหอยเชอรี่ ที่นาโม บริเวณ นาโยนริมถนน ตรงกลาง (อาบุญลาภ อาก๋อย) กลุ่ม ๒..ซ่อมต้นข้าว ที่นาโม (อาน้อย ร้อยหล้า อาสุดา) กลุ่ม ๓/กลุ่ม ๕..ใส่ปุ๋ยหลุมปลูกต้นไผ่ ที่ลานตาก หน้าโรงปุ๋ย (ส.ด่วนดี) กลุ่ม ๔..ขัดตะไคร่น้ำ ที่น้ำตกหินน้ำไหล หลังอาสนะ (ส.คมคิด) กลุ่ม๖..ใส่ปุ๋ยแปลงปลูกแตงโมกับพี่น้องศีรษะอโศก (สม.ผาแก้ว กลุ่ม ๗..ไปที่ข้างอาคารบวร ปลูกมะเขือ ข้างแปลงเพอร์มาคัลเจอร์ (แม่เปลี่ยน) -บันทึกงานเตรียมดินปลูกหลุมไผ่ ที่ลานตากหน้าโรงปุ๋ย โดยสมาชิก ว.นบ. กลุ่ม ๓ และ กลุ่ม ๕ พร้อมนักเรียนประจำกลุ่มทั้งนักเรียนและผู้ใหญ่ถึงที่หมายไล่เลี่ยกันประมาณ ๖.๓๐ น. พวกเราแบ่งกำลังกันตักทราย ๒ ส่วน ผสมดินพร้อมปลูก ๑ ส่วน ลงท่อที่เตรียมไว้ งานตักทราย และดินปลูกเป็นค่อนข้างหนัก สำหรับการทำระยะยาว แม้จะมีเครื่องมือทุ่นแรงอยู่บ้าง เป้าหมายความสำเร็จของงานไม่ได้อยู่ที่งานเสร็จเรียบร้อยอย่างเดียว เป้าหมายหนึ่งของงานบวร คือฝึกออกจากตนเองมาพบหมู่กลุ่มใหม่ๆ งานใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ ทั้งได้เรียนรู้ความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ของชุมชนของเราด้วย ระหว่างทำงานเราได้พูดคุย ปฏิสันถาร รู้สารทุกข์สุกดิบของผู้ใหญ่ด้วยกัน ของเด็กนักเรียน ขนดินปลูกไป ขนทรายไป ตอนแรกก็ให้ใส่เต็มหลุม หนูเจน พึ่งมานึกออกตอนเวลาผ่านไปเกือบหนึ่งชั่วโมง ว่าคุณคำนึงบอกไว้ ว่าให้ใส่แค่ครึ่งหลุมพอ พวกเราจึงแก้ปัญหา หลุมไหนใส่แล้วก็แล้วไป หลุมใหม่ใส่แค่ครึ่งหลุมพอ งานของพวกเราเร็วขึ้น แม้ทีมตักจะล้า แต่ทีมขนและเข็นยังไม่ล้า ก็ผลัดงานกันทำด้วยรอยยิ้ม ความอบอุ่น จากนั้น ๘.๑๗ น. เรานั่งรวมตัวกันสรุปงาน แม้ไม่มีสมณะ อาหนเหินก็ยินดีเป็นตัวแทนผู้ใหญ่ พาพวกเราสรุปงาน เจน และ เจเจ ต้นหลิว สรุปได้บรรยากาศดี ได้ทั้งงาน ได้ออกจากทำงานกับเพื่อนๆวัยไล่เลี่ยกัน มาทำงานกับน้องๆ มัธยม และสมุนพระราม สนุกดี จากนั้น ผู้ใหญ่ ปล่อยนักเรียนออกจากฐานเกือบๆ ๘.๓๐ น. บันทึกงานกลุ่ม1เมื่อได้รับเสียงประกาศช่วงเช้าผู้ใหญ่ในชุมชนที่จัดสรรเวลามาร่วมกิจกรรม ต่างก็ทยอยมุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางแปลงนาบริเวณนัดหมายกันเป็นระยะๆ เด็กสส.ธ มาตามที่คุรุนัดหมายให้ทำงานในขบวนการกลุ่มอยู่แล้วช่วยเก็บหอยเชอรี่ที่นาโมบริเวณถนนตรงกลาง มีคุณบุญลาภ+อาก๋อยเป็นพ่อฐานแม่ฐานงาน กิจกรรมครั้งนี้มีผู้ใหญ่ในชุมชน+เด็กๆสส.ธ ร่วมด้วยช่วยกัน ประมาณ22คน เก็บหอยได้ประมาณ100 กก.ค่ะแม่ฐานเล่าให้ฟังว่าจะนำใบมะละกอหั่นบ้าง เปลือกกล้วยบ้างแล้วมาโรย หอยจะมารวมกันกินเป็นกลุ่มๆเพื่อได้เก็บได้ง่ายขึ้น เป็นบรรยากาศเช้าที่มีลมหนาวพัดโชยมาพร้อมสายลม พอสายๆพอมีแสงแดดออกทำให้คลายความเย็นจากลมได้บ้าง สภาพท้องนาในพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ดูงดงามตามธรรมชาติ ที่ธรรมชาติมอบให้ เป็นพื้นดินที่ค่อนข้างจะสมบุรณ์ มองเห็นคันนาสะอาดตา โล่งเตียนบ่อบอกถึงความเอาใจใส่ดูแลของฐานงานทำนาเป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ มีซากวัชพืชต่างๆ ที่ย่อยสลายได้ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อคน สัตว์ แลเห็นอยู่ เป็นศิลปะแห่งท้องทุ่งนา ต้นกล้าข้าวในนาก็พร้อมเจริญเติบโตอย่างงดงามเป็นลำดับๆ เดิมทียังไม่พบสถานที่จริง มีความคาดหวังว่าพื้นดินตามท้องนา คงจะเป็นดินโคลน เหยียบย่ำแล้วจะและ ลึก การเดินลุยตามท้องนาคงจะอืดอาด เชื่องช้าเป็นแน่แท้ ครั้นไปถึง ลงไปสัมผัสดู ไม่เป็นดังที่คิดไว้ กลับตรงข้ามเลย เป็นสภาพดินยังแข็งเหนียวอยู่ ไม่เละจนเกินไป เดินเหินได้ตามปกติ พอเดินได้สะดวก มีการปล่อยน้ำเข้าระหว่างนาให้น้ำในนาไม่แห้งเป็นระยะๆค่ะ เด็กๆก็มีเวลาได้พูดได้คุยกับผู้ใหญ่บ้าง เปลี่ยนบรรยากาศที่เคยทำงานกับเด็กๆด้วยกัน มาเพิ่มความคุ้นเคยกับผู้ใหญ่มากขึ้น ส่วนผู้ใหญ่ก็ได้เปิดความรู้สึกใหม่ๆขึ้นมาบ้าง จากไม่กล้าคุยกับเด็กๆ ก็หันมาพบปะพูดคุย ทักทายกันและกันมากขึ้น ดั่งคำพ่อครูเคยพรำ่สอนชาวเรา ให้เป็นคติเตือนใจฟังว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด ก็หมั่นอ่านจิตอ่านใจตัวเองไป พร้อมปรับใจไปด้วยกัน เพราะสิ่งที่ทุกคนควรมีนั่นก็คือการได้มาสะสมบุญ สะสมกุศลกรรมที่ดี ที่บริสุทธิ์ต่อไปให้เป็นอาริยทรัพย์แท้ของตน นับว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลกสังคมทุกวันนี้ ชาวเราไม่ได้เน้นที่ต้องมีวัตถุ มากมายมาเพื่อตนเอง โดยเฉพาะเงินตรา ที่คนมักจะมองว่าสำคัญเหนือสิ่งใด แต่สถานที่แห่งนี้ ณ เวลานี้ ที่ผืนแผ่นดินพุทธแห่งนี้ เงินตราก็อาจมีได้แต่ไม่ใช่เพื่อตนเองไปทั้งหมด จัดสรรเพื่อเป็นองค์ประกอบกิจการงานอันไปสู่กิจประโยชน์สูง ประหยัดสุด ในระบบสาธารณโภคี เป็นส่วนใหญ่ ดังจะเห็นเชิงประจักษ์ว่า อาคารบ้านเรือน วัตถุ ข้าวของ องค์ประกอบ ในพื้นที่ของชุมชนแห่งนี้ ดูใหญ่โตมโหฬารนั้น ก็เนื่องมาจาก รายได้แต่ละคนเป็น 0 บาท ทุกคนมาทำงานให้กับส่วนกลางทางชุมชนฟรี หรือระบบสาธารณโภคีนั่นเอง บ้างก็พากันเรียกว่า “หมู่บ้านคนจน” สำหรับชาวเราแล้วมักใช้คำว่า “คนจน อย่างสุขสำราญเบิกบานใจ” สิ่งที่ผลิตในวันนี้ก็จะเป็นผลผลิตเพื่อตนเองได้พออาศัย พอเป็นที่พึ่งไม่ให้เดือนร้อนตน พร้อมแจกจ่ายเพื่อ ผู้อื่นๆ และสังคมอื่นๆต่อไป จากนั่นพอได้เวลาจึงเลิกภารกิจการงานรอบเช้านี้ ก็ค่อยแยกย้ายกันไปกินข้าวทันที Categories: กสิกรรมธรรมชาติ, ชุมชนราชธานีอโศก, สัมมาสิกขาราชธานีอโศก, สาขาราชธานีอโศกBy thuengthip23 มกราคม 2019 Author: thuengthip Post navigationPreviousPrevious post:620119 เพียงใบ…เพาะชำได้หรือNextNext post:620119ค่ายสัมมาอาริยมรรค ครั้งที่ 36 รุ่น ขยันรับใช้ มีแต่ให้ ไม่มีอคติRelated Posts670127 งานเทปูนลานสู่สูญ รอบ 2 (บ้านราช)28 มกราคม 2024660407 กาบมะพร้าว สวนไวพลัง7 เมษายน 2023650828 ประชุมชุมชนบ้านราช2 กันยายน 2022650901 จัดโรงบุญปันสุข1 กันยายน 2022650828 ชุมชนชื่อ Happy Village มากราบพ่อครู31 สิงหาคม 2022650824 งานมรณานุสสติ แม่จลกลณี สุคัณธนาค25 สิงหาคม 2022