620215_เทศน์ทวช.งานพุทธาฯครั้งที่ 43 บ้านราชฯ เรื่อง เทวฺครองโลก ตอนที่ 1
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1gjz7wqRSqloRDyyy4XcsHaKiqOlABB2XdmXNAHnnfNQ/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่..
https://drive.google.com/open?id=1EW5v4Qyeh1kD9XyYkmFTzmDDaG7DQ4T_
พ่อครูว่า…ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บวรราชธานีอโศก
แดนคนจนด้วยหัวใจ
ครืนครืนฟ้าลั่นแล้ว โลกา
ตื่นเถิดชาวประชา อย่าคู้
ทำประทีปชวาลา อรุณรุ่งเรืองรอง
ตื่นเถิดเหล่านักสู้ศึกนี้ ใหญ่นัก
คนจนมีสุขแท้ เพื่อนไทย
เป็นทาสเขาทำไม เนินช้า
มาสมานสมัครร่วมสมัย สมองมุ่งมั่นเฮย
ขอฝากดินฝากฟ้า เฟื่องฟุ้งขจรขจาย
คนจนมิใช่ไร้ ปัญญา
จนใช่ถือกะลา พึงไซร้
จนพึ่งพุทธนำพาโรจน์ จรัสเจริญแล
จนจิตพร้อมรับใช้ ชาติเชื้อมนุษยชน
ประนมกรสิบนิ้ว วันทา
น้อมรับใช้ชาวประชา ชาติชี้
ทวยราษฎร์ทั่วฟ้าสุธา ทั่วถิ่นไทยแฮ
เรื่องปลดภัยหมดหนี้ สุขล้วนมวลไทย
เสียงกลองรบลั่นแล้ว ไทยเอย
มัวหลับใหลแนบถนน ขนาบข้าง
เสียงลมพัดไผ่รำเพย โลมลู่ลมเฉย
ทารกเหมือนไทยร้าง รุ่มร้อนไทยฤา
อ.เป็นต้น นาประโคน
พ่อครูว่า…หัวข้อที่เราจะบรรยายคือ เทวะครองโลก พึ่งมาแยกแยะปีนี้นะเทวะ แต่ก่อนความรู้เก่ายังไม่มา ดังนั้นพวกเราก็จะได้รับฟังเป็นกลุ่มแรกของโลก
คำว่าเทวะ หรือเทวดา คือความเป็น 2 เทวะ แปลว่าความเป็น 2 แล้วตีแตกไม่ได้เลยนะ ไปขีดข่วนอะไรนิดหน่อยก็ไม่ได้เลยนะ ยกไว้สุดยอดเลย ก็เลยเห็นชัดเจนว่ายึดมั่นถือมั่นอย่างสุดๆตีไม่แตกแยกไม่ออก
เทวะคือสอง สภาวะก็คือ 2 คือรูปกับนาม พระเจ้าก็หมายถึงพระจิตวิญญาณ จิตวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ ก็คือธาตุรู้ ธาตุรู้จะบอกว่า ธาตุรู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นพระผู้มีอำนาจ มีการบงการมีการสั่งการในมนุษย์ทุกคน ก็มีจิตวิญญาณของตน เป็นประธาน สั่งการตัวเราทั้งนั้น ที่จริงอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นเรารู้ตัวเรา ตัวเราทั้งหมดคือ 2 คือเทวะ คือรูปนาม
พระพุทธเจ้าแยกแยะรูปนามออกเป็น 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
วิญญาณแยกย่อยเป็นเจตสิก 3 เวทนา สัญญา สังขาร
สังขารคือเทวะ คือธาตุรู้ที่ปรุงแต่งกันอยู่ อันหนึ่งเป็นธาตุรูป อันหนึ่งเป็นธาตุนาม
หากไม่เรียนรู้ว่า ธาตุรูป นามคืออาการอย่างไร โดยเฉพาะมีอาการกิริยาเป็นกรรม
สั่งการ ให้เกิดบทบาทลีลา กาย วาจา ใจ เป็นร้อยเทพ พันเทพ หมื่นเทพ แสนเทพ เจ็ดพันล้านเทพในโลก คนประมาณเจ็ดพันล้าน แล้วเจ็ดพันล้านเทพ เทพแต่ละตน ต้องยกให้เป็นตนก็สูงกว่าตัวหน่อย แต่ตนนี่เป็นผีเป็นมารนะ ผีตนหนึ่งเทวดาตนหนึ่งมารตนหนึ่ง แต่เทวะเขาแยกไม่ออกก็เลยให้เทวะเป็นใหญ่ โดยเข้าใจว่า พระเจ้าสั่ง จะดีได้ต้องพระเจ้า ทุกข์สุขก็เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าทั้งหมด ก็เป็นความไม่รู้ของคนที่ยอมยกอำนาจให้พระเจ้า สำนักงานอย่างไรก็ไม่รู้สำนักงานอยู่ไหนก็ไม่รู้ไม่มีใครแตะต้องได้เลยสั่งการอย่างเดียว ยกให้เป็นผู้สั่งการ
พระเจ้ามีโองการ ที่บันทึกมาแล้ว แล้วโองการที่บันทึกมาแล้ววิจัยวิจารณ์ก็ไม่ได้แตะต้องไม่ได้ ฟัง เชื่อแล้วปฏิบัติตามอย่างนั้น คนก็เลยเป็นลักษณะ เอกังสวาที หนึ่งเดียว อย่างไรๆก็ไม่ทราบ แยกแยะ กระจาย วิจัยวิจารณ์ออกไม่ได้ ไม่เป็นวิภัชวาทะ เป็นหนึ่ง ไม่สามารถแยกออกจากหนึ่งได้ ไม่สามารถแยกออกจากหนึ่งได้เลย เป็นลัทธิ เอกังสวาที ตัดคลี่ออกไม่ได้
ใครมีปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้เฉพาะความเฉลียวฉลาดของโลกุตระของพระพุทธเจ้า แต่เขาเอาความเฉลียวฉลาดไปใช้คำว่าปัญญาก็เลยกลายเป็น เฉโก ทางโลกีย์ก็เรียกปัญญาก็เลยไม่เป็นส่ำ แยกแยะ ปัญญา เฉโกก็ไม่ได้
สรุปแล้วความรู้เทวก็เป็นความรู้แบบโลกีย์อยู่อย่างนั้นไปตามกาละเหตุปัจจัยยาวนานเท่าไรก็อยู่อย่างนั้น แต่ของพระพุทธเจ้านั้นจะรู้ทั้งความเป็นเทวะที่ยึดมั่นถือมั่นเป็นแกนเก่าและที่มีการพัฒนาไปตามกาล ผสมส่วนได้ แม้ที่สุดจะใช้มหาปเทส 4
สัปปุริสธรรม 7 กับมหาปเทส 4 นั้นใช้ต่างกันอย่างไร
สัปปุริสธรรม 7 นั้นเป็นการแยกแยะ เหตุปัจจัยต่างๆกระบวนการของเหตุปัจจัยต่างๆ มีเนื้อหาสาระมีองค์รวมทั้งหมดเรียกว่าธรรมะ และมีตัวหลักเรียกว่า อัตตะ
-
ธัมมัญญูตา (รู้จักทุกองค์ประกอบ)
-
อัตถัญญูตา (รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย)
-
อัตตัญญูตา (รู้จักตนเอง)
-
มัตตัญญูตา (รู้จักประมาณจัดสรรสัดส่วน)
-
กาลัญญูตา (รู้จักกาลสมัย)
-
ปริสัญญูตา (รู้จักหมู่กลุ่มบริษัทอื่น) มวลมนุษยชาติ หรือตั้งแต่กลุ่มน้อยจนถึงกลุ่มใหญ่ ชาติประเทศทั่วโลก ถ้าเราเป็นกลุ่มนับถือพุทธศาสนาก็คือพุทธศาสนิกชน
-
ปุคคลปโรปรัญญูตา (รู้จักบุคคลอื่น)
(พตปฎ. เล่ม 23 ข้อ 65)
มหาปเทส 4 นี่แหละ สำคัญที่กาลัญญุตา รู้จักกาละ โดยเฉพาะกาละนี้ คำสอนพระพุทธเจ้ามีมาแล้ว เหมือนกับโองการพระเจ้า คำสอนพระเจ้าก็มีมาแล้วแต่ในยุคนี้คือพุทธ
คำสอนจะมีคำซ้อนอย่างหนึ่งห้ามอย่างหนึ่งอนุญาต ในมหาปเทส 4
หลักหนึ่ง เมื่อมีสิ่งใดพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วเป็นคำห้ามการกระทำเหมือนโองการพระเจ้า อะไรอนุญาตให้ทำได้ ก็ทำได้ ทีนี้กาละนี้ยุคนี้ อะไรที่มันนอกเหนือเกินกว่าที่พระพุทธเจ้าห้ามไว้ก็ไม่มี อนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มี มันเกิน มันในยุคนี้มันในกาละนี้ อันนั้นแหละให้ใช้วิจารณญาณเอง ตรวจสอบเอง ว่าสิ่งใดควรให้ลด สิ่งใดไม่ควร เห็นว่าไม่ควรก็ไม่ทำ มันมีมุมที่ยาก
มหาปเทส 4
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
(พระไตรฯ ล.5 ข.92)
เราตั้งสติดีๆ สิ่งใดควรกับไม่ควร อนุญาตหรือไม่ สุดท้ายก็ใช้สติปัญญาของเราเอง ผู้ใดไม่เข้าใจกาละกับกรรม
กาละคือเวลา ยุค 2562 ปี ผ่านมาแล้ว ศาสนาพุทธนับผ่านมาตั้ง 2562 ปีมาถึงวันนี้แล้วไม่เที่ยง ความจริงความรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เปลี่ยน แต่คนเราเข้าใจคำสอนพระพุทธเจ้าเพี้ยนไป เพราะกาละไม่ใช่กาละเมื่อก่อน 2562 ปี
ขณะนี้ก็มีความไม่เที่ยงอีกมากมาย คำสอนเก่าแต่คนเข้าใจมีทิฏฐิ ยึดมั่นถือมั่น เปลี่ยนไปยึดในสิ่งที่ผิดแล้วแยกไม่ออกตีไม่แตกแยกไม่ได้ในรูปนาม สมมุติสัจจะ เป็นธรรมะ 2 รูปกับนามต่างๆนานาเข้าใจไม่ได้หมด
ที่คนเราจะเข้าใจอะไรถูกผิดต้องมีของเปรียบเทียบ จึงต้องมี 2 เสมอ เราจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เราต้องเทียบคู่นะ จับไม้สั้นไม้ยาวบางที ถึงรู้ว่ามีข้อแตกต่างอันนี้สั้นอันนี้ยาว สั้นยาวอย่างไรก็ต้องรู้นัยแตกต่าง
นัยแตกต่างคือความรู้ มาถึงยุคนี้แล้ว มีความแตกต่างกัน เช่น แตกต่างกันว่าอันนี้ถูกอันนี้ผิด ไอ้นี่ดีๆไอ้นี่ชั่ว ไอ้นี่สุข ไอ้นี่ทุกข์ อย่างนี้เป็นต้นที่ละคู่ทีละคู่คือเทวะ ต้องแยกให้ออกถ้าแยกไม่ออกคุณไม่รู้จัก ดีชั่วก็สมมุติกันไปดีชั่วของแต่ละศาสนาไม่เหมือนกันดีชั่วของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน ดีชั่วของคนสองคนยึดถือก็ไม่เหมือนกัน อาจจะตรงกันในบางทียึดถือคำสอนเดียวกันก็ตรงกันบ้าง แต่มันก็มีแตกต่างกันในละเอียด
ทุกศาสนาก็สอนความดีความชั่วที่แตกต่างกัน แต่มีศาสนาเดียวเท่านั้นที่สอนสุขทุกข์ ให้มาตีแตกเรื่องสุขทุกข์ มาแยกแยะเรื่องสุขทุกข์ ศาสนาพุทธแยกแยะความสุขความทุกข์ ตีแตกแยกแยะจนเห็นว่า ปัดโธ่เอ๋ยสุขทุกข์มันเป็นเรื่องอุปาทาน เป็นเรื่องกิเลสเป็นเรื่องของไม่มีตัวตน เป็นเรื่องที่เป็นการยึดมั่นถือมั่น มีศาสนาเดียว เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธศาสนานี้ตึแตกความสุขความทุกข์ ตีแตกเทวะตจคู่นี้อย่างสำคัญ เสร็จแล้วก็เห็นว่ามันไม่มีจริง จริงๆมันเป็นทุกข์มันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ ความสุขนั้นเป็นความเท็จ อัลลิกะ แต่ทำไงล่ะ เราเป็นคนแล้ว สุขก็ไม่เอา ทุกข์ก็ไม่เอา สุขเป็นเรื่องหลอก ทุกข์ก็เป็นเรื่องต้องรู้จริงต้องมีอาริยธรรมต้องมีความประเสริฐต้องมีความเฉลียวฉลาดสุดยอดที่จะรู้สัจจะที่เรียกว่าทุกข์
เรียกคำเต็มว่า ทุกข์อริยสัจ ความจริงที่ผู้ประเสริฐเท่านั้นจะรู้ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป แท่งนี้ทั้งแท่ง รูปนามนี้คือแท่งทุกข์
ทุกข์ตั้งแต่ที่เลี่ยงไม่ได้ เลี่ยงไม่ได้ก็ต้องอยู่กับมัน
ก. ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ (ทุกข์อันเกิดจากกาย) .
-
สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย
-
นิพัทธทุกข์ ทุกข์อยู่เนืองนิตย์ คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
-
อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์ในการหากิน-การทำงาน .
-
พยาธิทุกข์ อวัยวะเจ้าการทำหน้าที่ไม่เป็นปกติ
-
วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรม เลี่ยงวิบากเก่าไม่ได้
-
ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอดเพราะการประชุมแห่งขันธ์ 5 อันยังอาศัยมีชีวิตอยู่
ข. ทุกข์ที่เลี่ยงได้ (เจตสิกทุกข์ อันสามารถดับเหตุได้แท้)
-
ปกิณกทุกข์ (ทุกข์จรแห่งกิเลส คือ โศก ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ เมื่อพรากจากคนที่รัก หรือพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นต้น)
-
สันตาปทุกข์ (ทุกข์ คือ ความร้อนเผาใจ อันนื่องมาจากกิเลสไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ แผดเผา)
-
สหคตทุกข์ (ทุกข์ไปด้วยกันกับโลก เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข)
10.วิวาทมูลกทุกข์ (ทุกข์มีสงครามวิวาทะเป็นรากเหง้า)
ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้แม้แต่เป็นพระพุทธเจ้าก็เลี่ยงไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ตายตัวแล้ว เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องมีเหมือนกัน ศาสนาพุทธตีแตก สิ่งเหล่านี้ได้ สามารถแยกแยะสิ่งเหล่านี้ได้ จึงอยู่กันอย่างค่อยยังชั่ว แม้จะอยู่กับแท่งทุกข์แท้ๆ แต่มีนามธรรมที่เฉลียวฉลาดเป็นอริยะเป็นสัจจะอย่างอริยะ คนอาริยะเท่านั้นที่จะรู้ทุกข์สี่นี้ที่เป็นปรมัตถ์ แล้วก็สามารถที่จะเอาชนะ พอเป็นไปได้คือ
ก. ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ (ทุกข์อันเกิดจากกาย) .
1.สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย …แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังมีการเจ็บป่วยเลย
-
นิพัทธทุกข์ ทุกข์อยู่เนืองนิตย์ คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ จะเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ให้กินข้าวสัก 100 วันก็หิวเหมือนกัน พระอรหันต์ก็ต้องมีโหยหิว จะบอกว่าอยากไหม คำว่าอยากนี้ลึกซึ้ง หิวกระหายก็ลึกซึ้ง
อย่างอาตมานี้บอกเลยไม่เคยอยากกินข้าวเลย น้ำก็ไม่เคยอยาก แต่ถึงเวลากินก็ต้องกิน หิวไหมกระหายไหม ถ้าให้อดหลายวัน จะเรียกหิวกระหายก็ได้แต่มันหยาบไป แต่มันโหยมันมีความต้องการอยู่ในร่างกาย แต่อยากมันไม่อยากอย่างเคยอยาก แต่ร่างกายสั่งการให้โหย กระหาย มันพร่องมันชักไม่ดีแล้ว เหมือนกับเครื่องยนต์น้ำมันน้อยแล้ว กระตุกแล้ว ฉึกๆฉักๆแล้วนะ มันจำนน หิวกระหาย ปวดขี้ปวดเยี่ยวหิวกระหาย พพจ.ก็เลี่ยงไม่ได้
-
อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์ในการหากิน-การทำงานตต เป็นการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ คุณเป็นคนต้องหาอาหารเลี้ยงชีพ สัตว์ก็ทำ
-
พยาธิทุกข์ อวัยวะเจ้าการทำหน้าที่ไม่เป็นปกติ แยกออกไปต่างหาก เป็นความเจ็บป่วยเลย ถ้ามันปวดขึ้นมาก็ทุกข์แน่ๆ
-
วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรม เลี่ยงวิบากเก่าไม่ได้ อย่างอาตมานี้ไอ อาตมาชัดเจนในกรรมวิบาก ทุกข์เพราะวิบาก มีวิบากกรรมที่ต้องไอ แต่ไม่เจ็บคอ ไอแรงแต่ไม่เจ็บคอก็ค่อยยังชั่ว ไม่ต้องอะไรมาก วิบากด่าเขาเก่ง ที่จริงน่าจะใช้คำว่าตำหนิแรงๆ ด่าคือตำหนิแรงด้วยอารมณ์แต่อาตมาตำหนิแรงๆ ไม่ได้มีอารมณ์โกรธ แต่พวกที่หาว่าอาตมาเอาแต่ด่าคนตำหนิคน ซึ่งเขาก็ว่าใส่เต็มๆสิ่งที่อาตมาจะว่าตำหนิก็แน่นอน ใช้ภาษา นิคคัณหะ ตำหนิสิ่งไม่ดีงาม แต่ต้องพูดตำหนิมาก เพราะคนที่ดีที่ต้องชมก็น้อย ถ้าจะชมก็ชมชาวอโศกคตัวเองอีก ไปชมคนทางโลกอย่างพลเอกประยุทธ์เขาก็ว่าอีก ส่วนคนที่ตำหนิอาตมาก็ตำหนิซ้อนอาตมา แต่ชี้ตำหนิแล้วเข้าท่าหน่อยมีสาระก็ดี แต่ตำหนิแล้วไม่เป็นสาระเลยอันนี้ก็ไม่เข้าท่า จะตำหนิมาทำไม
วิปากทุกข์นี้ หลายคนก็มีกัน ก็ต้องรับที่ปากไปไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ปัญหาเหตุแก้เหตุปัจจุบันก็ไม่ได้มันเป็นเหตุเก่าเป็นมาจากวิบากเก่า
-
ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอดเพราะการประชุมแห่งขันธ์ 5 อันยังอาศัยมีชีวิตอยู่
ขันธ์ 5 รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ในจำนวนขันธ์ 5 นี้สุขทุกข์อยู่ที่ไหน สุขทุกข์อยู่ที่เวทนา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมาเรียนที่เวทนา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแก้ไขเรื่องความสุขความทุกข์ รูปก็คือรูป สัญญาก็คือธาตุรู้ที่มีหน้าที่กำหนดรู้จดจำ สังขารก็คือธาตุรู้ที่มันปรุงแต่งกันอยู่ นามธรรมรวมก็เรียกว่าวิญญาณ พระพุทธเจ้ารู้จักธาตุพวกนี้
ส่วนร่างกายไม่ใช่หน้าที่ของพระพุทธเจ้าที่ต้องไปเรียนรู้ รูปขันธ์เป็นเรื่องของหมอนายแพทย์ พระพุทธเจ้าก็ยกให้ชีวกโกมารภัจจ์ไป มันป่วยมันเจ็บอะไรก็ให้ชีวกโกมารภัจจ์ไปรักษา ส่วนนามธรรมนั่นสิ มันดีมันชั่ว ก็เรียนรู้ตามโลกสมมุติ
ศาสนาไหนก็ตามคนสามัญก็ระลึกถึงดีถึงชั่ว ก็พยายามทำสิ่ชงที่ดีไม่ทำสิ่งชั่ว อันนี้ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าตรัสรู้ช ละชั่วประพฤติดี ไม่ใช่ความรู้ของพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ความดีความชั่วไม่ตรงกันหมดด้วยสมมุติว่าอันนี้ดีอันนี้ชั่ว ก็ต้องทำไปตามสมมติ แต่สัจจะของความทุกข์ความสุขนี้พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้จนกระทั่งแก้ไขไม่ได้ แก้ไขไม่ได้เพราะว่าสุขทุกข์มันเป็นเทวะ เป็นสิ่งคู่
เมื่อมันแก้ไขไม่ได้ สุขทุกข์ก็เลยต้องรู้มันให้จริง มันคืออะไรจนสุดท้ายก็รู้ว่า เป็นสุขนี้มันเกิดมาเพราะแท่งก้อนนี้ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป เพราะฉะนั้นเราก็เรียนรู้แต่ละตัวที่ยึดถือด้วยความไม่รู้ อวิชชา ยึดถือตามสมมุติ บางคนก็ยึดถือในสภาวะก็มี ความรู้สึก แล้วก็ไม่รู้ว่าความรู้สึกของตนเองนั้นมันก็คือสิ่งที่ตนเองยึดถือ ถ้าเราไม่ยึดถือเสีย มันก็หมดเลย พยัญชนะง่ายมาก พอไม่ยึดถือมันก็หมดสุขหมดทุกข์ มันก็ไม่มี ผู้ที่ไม่ยึดถือแม้แต่สุขแต่ทุกข์ มันจะเกิดขึ้นก็ช่างศีรษะมัน เพราะฉะนั้นอาการของจิตเราเมื่อไม่ยึดถือแล้วมันก็ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มันจะเป็นอาการอย่างไรก็รู้ตามจริง นี่เป็นเรื่องของภาษาง่ายๆคือเทวะคู่ อย่าไปยึดมั่นถือมั่น รู้ตามจริง 2 สภาวะเป็นเทวะทั้งคู่
รู้ตามจริงอีก พอรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ อาการสุข อาการทุกข์ มีเวทนา ความรู้สึกสุขกับทุกข์ จริงๆแล้ว ความรู้สึกที่เกิดสุขกับทุกข์นั้น
ทุกข์ตรงกันหมดทุกคน ทุกข์คือ ความจริง ทุกข์คือสิ่งหนึ่งที่สัมผัสแล้วตรงกันหมด
เช่น สีแดง ศาสนาไหนมาสัมผัสด้วยตาเห็นสีแดงเหมือนกันหมด นั่นคือทุกข์ สีแดงนี้จะตั้งอยู่ไม่ได้หรอกมันไม่เที่ยง มันตั้งอยู่แล้วมันก็เสื่อมไป ถ้าอยากจะชลอให้มันอยู่ ให้มันแดงอยู่อย่างนี้ เดี๋ยวมันก็เพี้ยนไป อาจจะนานหน่อย สีแดงรุ่นนี้รับรองไม่ถึง 100 ปี ก็จะสลาย สีแดงไม่เหลืออยู่ไม่เที่ยง มันประคองตัวมันเองอยู่ไม่ได้ตลอดการเรียกว่าทุกข์ เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วมันไม่มีตัวตน นั่นคือความแท้จริง ของทุกข์
ตีแตกทุกข์ออก เราก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นมันไม่ใช่ตัวตน เราก็อาศัยชั่วคราวอาศัยใช้เป็น แล้วเราจะต้องอาศัยมาใช้ในร่างกายชีวิตเราไหม ถ้าหากอันนี้เป็นสาระชีวิตร่างกายต้องการ ตอนนี้เลยขณะนี้เลย ขาดอันนี้แหละก็เอามาใส่ ไม่ได้อันนี้เอาอันอื่นทดแทนได้ไหม คนนั้นก็อยู่กับสิ่งที่อาศัย อย่างเหมาะควร คนนั้นก็หมดภาระ เพราะรู้ทุกข์แล้ว
แต่คนโง่อวิชชา อันนี้คืออันนี้เป็นสาระที่ควรใช้ คุณต้องการกะหล่ำปลีได้มาก็จบ แต่ถ้าไม่ชอบกะหล่ำปลี ก็ไปกินขี้แทน ก็จบ
กะหล่ำปลีเป็นสิ่งที่ควรใช้อาศัยแต่ไปยึดถือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบ ก็ไปหากะหล่ำแปก็หามาสิ นั่นคือฟุ้งซ่าน บ้า ทั้งที่มันมีความจริงสิ่งเดียว แต่สิ่งที่ตัวเองไปยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเอาอย่างนี้เป็นอย่างนี้เลย คือตัวไม่มีความจริง เป็นทุกข์กับเท็จ อันนี้เป็นทุกข์จริงๆนะอันนี้ก็ยึดถือตั้งอยู่ให้ไม่ได้ ต้องอาศัยสังเคราะห์ร่างกายไปก็อาศัย แล้วจบเลยไม่ติดยึด นี่ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
เป็นนามธรรมก็รู้อันนี้คือสิ่งจริงๆ แล้วต้องอาศัยไหมถ้าต้องอาศัยก็จบ ไม่อาศัยแต่ถ้าชอบมากอาศัยมากเกินไป ผูกพันติดยึดอันนี้ก็ไม่ได้ ทุกข์อีกซ้อน ต้องการอันนี้ถ้าไม่ได้อันนี้ก็ทุกข์นิรันดร
อาตมาไม่มีภาษาจะอธิบายจบแล้ว ถ้าเข้าใจ ก็อาศัยสิ่งที่ดีเท่านั้น ยกตัวอย่างให้ชัดเจน ในชีวิตมีปัจจัย 4 โดยเฉพาะเรื่องอาหาร พวกเรานี้ไม่มีทุกข์ เรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาตมาว่าพวกเราสบายเรื่องเครื่องนุ่งห่ม แต่ก่อนนี้ โอ้โหเสื้อผ้าต้องทันสมัยต้องมีแฟชั่นต้องมีตัวนั้นตัวนี้ แล้วก็ลำบากลำบนต้องมีมากมายต้องมีไปตามแฟชั่น ซื้อมาเต็มตู้ ยิ่งผู้หญิงถูกเขาหลอกให้ซื้อ คนมีสตางค์ก็ซื้อไปเก็บไปทั้งนั้นแหละ คนไหนไม่โง่ไม่มีหรอกผู้หญิง นอกจากไม่มีสตางค์ก็จำนนทั้งนั้น ชี้หน้าได้เลย อย่าว่าแต่ผู้หญิงเลยผู้ชายต้องบ้าแฟชั่น ตอนนี้ต้องสั่งเสื้อยืดมาจากอเมริกา อะไรต่ออะไรยังจำได้เสื้อมองตากูร์ หรืออะไร เราก็สั่งมาใส่เท่ทุกทีใส่ทีไร คนอื่นไม่มีง่ายๆมันแพง ชิบหายกับสิ่งเหล่านี้ เห็นความโง่ไหม นั่นแหละคนที่เคยโง่มาก่อนกับแฟชั่นผู้หญิง อาตมาผู้ชายก็ยังโง่อยู่อย่างนี้ ทั้งที่เสื้อผ้าก็คือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใส่กันร้อนกันหนาวกันแมลงสัตว์กัดต่อยกันอุจาดจบแล้ว มันมีความสกปรกก็ซักล้างอย่าให้มันเกิดเชื้อโรค
อาหารคือเครื่องเลี้ยงชีพ เรือนชานที่พักอาศัยกันร้อนกันหนาวหลบแดดหลบฝน กันแมลงสัตว์กัดต่อย ยารักษาโรค ปัจจัย 4 ถ้ามีโรคภัยก็ใช้ยารักษา แต่ของสำคัญที่สุดก็คืออาหารต้องกินทุกวัน ส่วนเครื่องนุ่งห่มก็ต้องทุกวันแต่มันก็ไม่ต้องมากมายอะไร พวกเรามาศึกษาตรงตามพระพุทธเจ้าหมดเลย ทุกวันนี้อาหารก็ไม่เดือดร้อนเครื่องนุ่งห่มก็ไม่เดือดร้อนบ้านช่องเรือนชานก็ไม่เดือดร้อนยารักษาโรคก็กลายเป็นเจ้าแห่งยา นี่จบเภสัชกันมาไม่รู้เท่าไหร่ อย่านึกว่าอโศกเราไม่สำคัญในสังคมไทย อโศกปรุงแต่งยาจนคนข้างนอกเขาเชื่อถือนะ ให้เขาใช้สอย เป็นที่รับนับถือใช้ได้ เรามีความรู้แล้วก็รู้ในสิ่งที่สำคัญ นอกนั้นชาวอโศกเราไม่ไปปรุงแต่งอะไรมากมายกับเขา เราสบายเบาแล้วชีวิตนี้
อาตมาอธิบาย พวกเราเป็นคนที่พ้นทุกข์หลุดพ้นจากความทุกข์ที่คนชาวโลกเขายึดถือกัน อาตมาพยายามเอาคำสอนพระพุทธเจ้ามาสอนให้เข้าใจ ได้ตัดเขตอรหันต์อยู่ตรงไหน
ใครพ้นทุกข์จากโลกๆเขาได้มากก็เป็นอรหันต์แล้วอรหันต์มีเยอะแยะ
อาตมาชัดเจนอยู่แล้ว อธิบายให้พวกเราเข้าใจใครเห็นแล้วก็จะพบว่าชีวิตเราเป็นอรหันต์ตั้งมากมายอย่างน้อยอนาคามี อยู่กับโลกกับสิ่งในโลกนี้เราก็ไม่ทุกข์หรอกเรื่องในโลก ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง ข้างในตัวเองเท่านั้นแหละส่วนใหญ่ พวกชาวอโศกนี่แหละอนาคามี ยึดถือเรื่องรูปกระทบกระเทือนกันนิดหน่อยไม่มีปัญหา รูปราคะ อรูปราคะ ยิ่งเหลือเศษนิดหน่อยอรูปราคะ ยึดถือดีเหลือเศษมานะ เพ่งโทษคนนั้น หน่อย เอ็งดีแล้วแต่ก็ไปว่าคนอื่น ยิ่งโพธิรักษ์ก็เกิดมาเพื่อว่าก็เลยต้องปากเปียกปากแฉะ ใครจะท้วงอย่างไรอาตมาก็ไม่หยุดจะว่า เพราะเขามีมานะ อาตมาก็ถือดี สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องว่า มีมานะ นอกนั้นก็ฟรุ้งฟริ้งกระจายเศษธุลี อุทธัจจะ ก็เป็นสิ่งที่เกิดอยู่เป็นธรรมดา คุณยังไม่รู้เท่านั้นแหละ อวิชชาสังโยชน์สุดท้าย อะไรที่ไม่รู้
อย่างอาตมา อะไรที่ไม่รู้แต่ไม่เป็นสาระอะไรมากก็ปล่อยให้มันฟุ้งกระจายไปในจักรวาลในกลุ่มคนในศาสนาพุทธก็ช่างศีรษะก็ช่างหัวมัน เราก็มาเอาสิ่งที่เห็นว่าว่ากันได้ที่เขายึดถือกันอยู่ก็เป็นมานะ มีความต้องการดียึดถือดีรู้ดีเอาภาระดี อาตมาก็เป็นคนมีมานะเอาภาระเรื่องนี้ ทำเรื่องนี้เป็นภาระ เราก็รู้แล้วเราก็ทำด้วยความตั้งใจ มีเจตนาดีทำเพื่ออะไรรู้ว่าทำเพื่ออะไรได้ประโยชน์อะไรก็ว่ากันไป อาตมาไม่มีปัญหามีหน้าที่ที่จะทำสิ่งที่อาตมามั่นใจว่าสิ่งใดเป็นสิ่งดี สิ่งใดเป็นสิ่งที่รู้ควรรู้ สิ่งใดไม่ควร ตามมหาปเทส ก็ทำสิ่งนั้น
อาตมาทำอยู่ก็คือมาตีแตกแยกแยะ สิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว โดยเฉพาะสิ่งใดเป็นความสุขสิ่งใดเป็นความทุกข์ มาตีแตก ธรรมะ 2 ตลอดเวลา ทีละคู่ๆ มาทำหน้าที่ตีแตกเทวะทีละคู่ๆ แล้วก็พูดอย่างนี้ อธิบายอยู่อย่างนี้ตลอดกาลนาน มีตัวเปรียบเทียบ สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควรสิ่งใดถูกสิ่งใดไม่ถูกสิ่งใดทุกข์สิ่งใดสุข สิ่งใดดี ไม่ดี สิ่งใดทรงอยู่สิ่งใดไม่ทรงอยู่
สิ่งที่ควรทรงอยู่คือ วิชชาคือความรู้ รู้ยิ่งรู้จริง สิ่งที่ไม่ควรก็คืออวิชชา จบที่อยู่กับสิ่งที่ควร สิ่งที่ไม่ควรก็ไม่มีแล้วในเราก็จบ เป็นอรหันต์
ถ้าใครเข้าใจพยัญชนะนี้โดยลึกเข้าไปถึงสภาวะ วิชชา ความรู้ แล้วก็มีชีวิตอยู่ด้วยวิชชา
อวิชชาหรือสิ่งที่ไม่ใช่วิชชา พระพุทธเจ้าท่านแยกแยะไว้ละเอียดอีกมุมหนึ่งมี 8 อย่าง
-
ไม่รู้..ทุกข์ (ทุกฺเข อญฺญาณํ)
-
ไม่รู้..ทุกขสมุทัย (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ)
-
ไม่รู้..ทุกขนิโรธ (ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ)
-
ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ 8)
-
ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง) ปุพพันเต อัญญาณัง
-
ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง) อปรันเต อัญญาณัง
-
ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต อัญญาณัง) .
-
ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่ง การเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (หรืออิทัปปัจจยตา)