620217_เทศน์ทวช.งานพุทธาฯครั้งที่ 43 บ้านราชฯ เรื่อง เทวฺครองโลก ตอนที่ 3
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/18lGK8tvlvsa_pRGeF571dXxFN-PrMIG_oRPOJdU-WdE/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1tpWrK8alDSw4BKXYFGm1SsQctvKuIagj
พ่อครูว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บวรราชธานีอโศก อีก 2 วันก็เป็นวันมาฆบูชา เราก็มาต่อเทวะครองโลก ลองรวมๆกัน คำว่า เทพ หรือ เทวะ หรือ เทวดา
โดยพยัญชนะ เทวฺ แปลว่า 2 โดยพยัญชนะ แต่โดยสภาวะแล้วมันไปกันใหญ่เลย โดยสภาวะ มิจฉาทิฏฐิแต่ละทิฐิแต่ละคนที่มีอุปาทาน ก็เป็นเทวะไปใหญ่ ตั้งแต่เป็นมารเรียกว่าเทพบุตรมาร ก็เป็นเทพ เทวะ หรือจะเรียกแบบชมเชยคือ เทพบุตร เทพธิดา สุดยอดแล้ว เป็นคำสแลงก็เรียกว่าขั้นเทพ แต่นี่มันเป็นมาร มันเป็นมารแปลงตัวมาร้ายกาจมาก ทางด้านฝ่ายฆราวาส ก็ยกตัวอย่างปัจจุบันที่เห็นก็เช่นทักษิณ ขออภัยที่ต้องกล่าวนามเพราะว่าเป็นสิ่งที่สะดวก สบาย และก็ชัดเจน เป็นตัวอย่างในปัจจุบันนี้ ในขณะนี้ยืนยันได้ ผู้ที่ศึกษาก็จะเข้าใจได้ดี ก็ได้ประโยชน์ เราไม่ได้ไปเป็นศัตรูอะไรกันหรอก เขาก็ทำของเขาวิบากของเขาเราก็ทำของเรา ทางด้านสายธรรมะก็คือธัมมชโย เป็นเทพบุตรมาร ขนาดหนัก มารผีซาตาน เป็นสัตว์ที่บอกชื่อชั้นเลวร้าย นี่ก็ขั้นเทพทั้งนั้น
ที่ว่าเทวะครองโลกคืออย่างนี้ ผู้ที่เป็นใหญ่ในระดับโลกขณะนี้ก็มี ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงยุคนี้ ในระดับ เจงกิสข่านโหดเหี้ยม ฆ่าแหลก หรืออย่างฮิตเลอร์ ของเยอรมัน เทพบุตรมาร หลอกคนให้หลงเชื่อเยอะแต่เลวร้ายหนัก นี่ก็เป็นเทพเทวบุตรมาร
ขั้นต่อมาก็เป็นกามเทพ ร้ายกาจมากหลอก หวาน ฆ่าคนด้วยเกสรดอกไม้ ฆ่าคนด้วยลูกศรอาบน้ำผึ้ง กามเทพ หลงใหลติดยึด ด้วยกาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือด้วยโลกธรรม ลาภยศสรรเสริญโลกียสุขเอามาเป็นเครื่องล่อหลอก ด้วยเหลี่ยมมุมอะไรต่างๆสุดยอด ขนาดทักษิณขนาดธัมมชโยอย่างนี้แหละ ถ้าเบาลงมาหน่อยก็เป็นขั้นกาม อบาย อย่างทักษิณ ธัมมชโยก็เป็นระดับอบายมุข สูงขึ้นมาก็เป็นกามเทพ เป็นเทวะครองโลกแย่งชิงรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสจัดจ้านเมากันไป สนุกสนานรื่นเริงกันทุกวันนี้ โอลิมปิกนี่แหละยอดกามเทพ อาตมาจัดอยู่ในขั้นการขั้นอบายมุข โอลิมปิก หรือเซียบเกม ระดับร้อยล้านพันล้าน ก็ลงทุนกัน แล้วเดี๋ยวนี้สื่อสารถ่ายทอดให้คนดูกันทั่วโลก ครอบงำกัน เป็นการพนัน ฆ่าแกงกัน แย่งชิงฆ่าแกงพนันกันโกงกัน ซับซ้อน เป็นโทษภัยหนักมาก เขาไม่รู้เรื่องพวกนี้แต่มันเรื่องจริง เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าไม่เข้าใจสภาวะ โดยพยัญชนะพวกนี้เอามาสื่อแล้วก็ชัดเจน ก็จะกลายเป็นโทษภัย
พวกเราหลุดพ้นมาได้ก็ค่อยๆไล่ขึ้นมา ชั้นต่ำชั้นกลาง พอขั้นกามเทพแล้ว สูงขึ้นมาก็เป็นเทพทางจิตวิญญาณ เป็นเทพอยู่ข้างใน ซึ่งก็มีกิเลสมาร มีกิเลสอยู่ในจิต แล้วกิเลสก็เป็นธรรมดาตามขั้นตอน เทวบุตรมารเลวร้ายที่สุดแล้ว มารต่างๆก็ไม่ถึงขั้นนั้นก็ลดลงมา ผีมารต่างๆ แต่เทพบุตรมารหนักสุดแล้ว เอาตัวกิเลสร้ายกิเลสแรง กิเลสขั้นปลอมเป็นเทวดาเป็นเทพขั้นต่ำสุดเป็นเทวบุตรมาร
1.กิเลสมาร 2.ขันธมาร 3.อภิสังขารมาร เป็นขั้นซับซ้อน ขั้นต่ำสุด 4.เทพบุตรมาร 5.มัจจุมาร
อันนี้ก็เรียบเรียงโดยอรรถกถาจารย์ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าทีเดียวแต่ก็ใช้ได้
มาขยายความตามลำดับของพระพุทธเจ้าเลย
เทพเทวดา 6 ชั้น
ล.23 ข.49 ทานสูตร เทวดา 6 อย่าง พรหม 1 อย่าง
อันที่ 1 จาตุมหาราชิกา(ท้าวกุเวร ท้าววิรุฬหก ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์) คือ ทำทานแล้ว มี ก็ปั้นรูปให้เป็นยักษ์มาร แย่งชิงฆ่าทำร้ายผู้อื่น ฆ่าผัวมันเสียเอาเมียมันมาโหดร้ายมาก เป็นเทวดาชั้นที่ 1 สมมุติเทพชั้นที่ 1
1.สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ
2.ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ
3.สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ
4.อิมํ เปจฺจ ปริภุญฺชิสฺสามีติ(ให้ข้ามภพชาติ) ทานํ เทติ
อันที่ 2 ดาวดึงส์ คือ ทำทานเพราะว่าเห็นว่าเป็นความดี เป็นเทพแต่เขาก็ปลอมเป็นของหลอกของไม่จริงดาวดึงส์ ตาวติงสา อาการ 32 ของชีวิต มันเป็นสุขเป็นความสบายเป็นความชอบใจพอใจสมใจรื่นเริงบันเทิงใจ สะใจไปก็แล้วแต่ เป็นดาวดึงส์ทั้งนั้น บําเรออารมณ์ให้รู้สึกชอบ กับชัง มันเป็นราคะกับโทสะ แม้แต่โทสะอย่างสะใจซับซ้อน มันก็คือดาวดึงส์ แม้จะเป็นโทสะอย่างสะใจ ซาดิสซึม โรแมนติกอิซึ่ม คือสมใจตามอุปาทาน ก็เป็นสิ่งที่หลอกลวงให้คนติดยึด ให้อยู่ในเวลาอย่างนั้น สูงขึ้นมาเป็นชั้นต่อไป
อันที่ 3 ยามา คือ ทำทานเพราะเพื่อเป็นประเพณี ยาวนานไปกับกาละเวลา ก็จะของให้ชอบใจอย่าจากฉันไป จะต้องการให้อยู่กับเราไปนานๆ นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งดียิ่งชอบใจ ได้ยาวเท่าไหร่ได้นานเท่าไหร่สมใจที่ตัวเองชอบ ก็อยู่กับภพชาติเท่านั้น เป็นแดนใจของผู้ที่มีความทุกข์ความสุข ได้มากเท่าไหร่เป็นยาม ได้1 ยาม 2 ยาม 3 ยาม 4 ยาม 6 ยาม ได้100 ยาม ต่อเนื่องกันไปก็ยิ่งชอบ เรียกว่าเป็นความผิดยึดได้ตามสิ่งที่พอใจตามอายุเวลาอยู่ได้นาน ไม่เสื่อมไปจากที่ตัวเองต้องการเป็นอุปาทาน นี่แหละเป็นเรื่องหลอกให้คนเสียเวลาเสียแรงงานเสียทุนรอน เสียสภาพให้ติดยึด
อันที่ 4 ดุสิต คือทำทานเพราะเห็นว่า สมณะหุงหาอาหารเองไม่ได้ สีตะ แปลว่าเย็นสงบให้พักให้หยุด ผู้ที่เรียนรู้อย่างสัมมาทิฎฐิแล้วก็จะรู้จักพักรู้จักเพียร ส่วนผู้ไม่รู้ก็ไม่รู้จักพักให้พักก็ไม่พัก ก็จะเอาแต่เกิด เอาแต่สมใจให้หยุดให้พักให้วรรค ก็ไม่หยุดพักไม่เว้น พวกมันพวกนี้ไม่มีสิทธิ์ได้เข้าขั้นดุสิตหรอก ผู้ที่ไม่ทิ้งภพชาติก็ได้พักขั้นดุสิต นอกนั้นก็ไม่ยุ่งเกี่ยว เพราะฉะนั้นเป็นที่พักที่หยุด ที่อาศัย
อันที่ 5 นิมมานรดี คือทำทานเพราะทำตามฤาษีใหญ่ๆ เป็นที่ๆเก่งสุดเก่ง จะว่าเก่งเกินกว่าจตุมหาราชก็ได้ ด้วยตัวเองเลยนะนิมมารนรดี ตัวเองทำเองเลย ฆ่าเองแกงเอง สุดสามารถ ยอดถือว่ายอดแล้ว ใหญ่กว่านักเลง มีอำนาจมาก ลงมือเอง
อันที่ 6 ปรนิมมิตวสวัตตี ทำทานเพราะว่า อยากได้ปลื้มใจ(อตฺตมนตาโสมนสฺสํ) ถือว่าสูงสุดยอดกว่านิมมานรดี เพราะว่ามีผู้อื่นมีบริวารมีลูกน้องเก่งเหมือนกัน ตัวเองก็เก่งยอดกว่านิมมานรดีแล้วยังมีคนอื่น ปรนิมมิตวสวัตตีมาช่วยเสกช่วยสร้างช่วยทำช่วยเพิ่มเติมให้อีก ให้ตัวเองได้มากได้หนักได้เต็มที่อีก สุดยอดไปในทางบาป สุดยอดแห่งบาปเลย เป็นเทพบุตรมาร
ทีนี้ ถ้าเราเอามาอาศัยอธิบายขั้นเทพ
เทพมี 1.สมมุติเทพ 2. อุบัติเทพ 3. วิสุทธิเทพ
สมมุติเหตุคือเทพโลกีย์ปุถุชนวนเวียนสูงต่ำซับซ้อน เรียกว่าเทวบุตรมารซับซ้อนอยู่อย่างนั้นแหละ
ส่วนอุบัติเทพเป็นเทพโลกุตระ เป็นเทพรู้จักทำวิธีให้เราเกิดใหม่ เกิดเป็นเทพชั้นตั้งแต่โสดาบัน เป็นอริยะขึ้นไปตามลำดับ โสดาบันขึ้นไป สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ สูงสุดเป็นพระอรหันต์ถือว่าเป็นวิสุทธิเทพ เป็นเทพขั้นสูงสุด อุปัติเทพ จึงเป็นเสขบุคคลเป็นอริยขึ้นไป จนกระทั่งบรรลุสูงสุดก็เรียกว่าวิสุทธิเทพ
ทีนี้เทพทางโลกุตระหรือโลกียะ แบ่งซอยไปอีก
ในระดับอุปัติเทพ เสขบุคคล ก็ยังอาศัย อุปกิเลส อาศัยกิเลสลดลง ต้องเป็นเทพสูงขึ้น เป็นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี เป็นอรหันต์ เป็นพระโพธิสัตว์ อนุโพธิสัตว์ อนิยตโพธิสัตว์ นิยตโพธิสัตว์ มหาโพธิสัตว์ ไล่ไป ก็ถือว่าเป็นผู้ที่จะทำความเจริญ เจริญโลกีย์ก็ถือว่าได้รสชาติโลกีย์มากมายบำเรอใจ ได้ลาภยศสรรเสริญมากมีอำนาจมาก ได้รับสรรเสริญยกย่องเชิดชู ทางโลกีย์ทางเทพบุตรมาร ก็ยกย่องเชิดชูกันมีบริวารมีอะไรเหมือนกัน ทางด้านดีเขาก็ชม ทางด้านโลกุตระก็ชมเหมือนกัน ก็มีสภาพ 2 เป็นเทวะ ทุกอย่าง
เทวบุตรมารก็มีสองก็ชื่นชมยกย่องกัน มาทางด้านโลกีย์แต่ทางด้านดีกุศลก็ชมกัน ด้านโลกุตระก็แน่นอนต้องยกย่องชื่นชมกันเหมือนกัน
มาถึงขั้นโลกุตระในเทวดา 6 ชั้น
ก็ซับซ้อน ยิ่งดียิ่งสูง ก็ยิ่งละเอียด ยิ่งเป็นพรหม เป็นเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาที่ละเอียดสูงส่งขึ้นเรื่อยๆ ซ้อนในเทวดาในพรหมยิ่งเป็นพรหมละเอียดสูงขึ้น ถ้าจะไล่พรหมขึ้นไปถึง 16 ชั้นก็จะยืดยาด
ชั้นที่ 1 ปาริสัชชาพรหม เป็นขั้นต้นของผู้ที่จะทำความละเอียดบริสุทธิ์เลย
ชั้นที่ 2 ปุโรหิตาพรหม
ชั้นที่ 3 มหาพรหม
ต่อมาอีก 3
ชั้นที่ 4 ปริตตาภาภูมิ มีแสงเจริญขึ้น
ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ มีแสงอันประมาณมิได้เลย ไปตามบารมี ประมาณได้ตามบารมี ก็มีแสงยิ่งขึ้นๆ ก็เป็น อาภัสรา
ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ เป็นหัวหน้าของทางด้านสว่าง สายขาว
หมวด 3
ขั้นที่ 7 ปริตตาสุภา สุภาคือสูงกว่า
ขั้นที่ 8 อัปปมาณาสุภา
ขั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ สายดำ กลับกันกับ อาภัสรา ที่จริง ขั้น สุภกิณหานี้สูงกว่า อาภัสรานะ สุภะแปลว่าดี ดำดี กัณหาแปลว่าดำ ก็เป็นสายดำสายมืดกับสายสว่างอาภัสรา สองสาย
ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ เป็นพวกลอยฟ่อง เป็นตัวย่ิงใหญ่ประกาศตัวตนสูงส่ง มีลูกมีผลเป็นรูปเป็นร่าง
ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ อันนี้ไม่มีตัวไม่มีตนกำหนดไม่ได้ เป็นผู้ไม่มีการกำหนดรู้ อสัญญี เป็นสัตว์ที่ไม่มีผู้กำหนด Invisible เป็นพวกไม่มี ท่านเรียก Realm of non percipient being
สุทธาวาสอีก 5
ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ ของท่านประยุทธ์แปลว่าไม่ผู้เสื่อมจากสมาบัติ ก็ยังเป็นแบบเทวนิยมอยู่ อธิบายต้องเข้าต้องออกสมาบัติอีก
ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ ท่านแปลว่าไม่ทำความเดือดร้อนให้กับใคร
ถ้าให้อาตมาอธิบายก็คือลักษณะที่ได้แล้ว ไม่เสื่อมไม่เป็นโทษภัยกับใคร ผู้ที่ละเอียดอย่างพระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่าจะไม่อาศัยแดนสุทธาวาส 5 ท่านจะผ่านไป ถ้าไม่อย่างนั้นจะต้องมาอาศัยอยู่ในแดนนี้ มันสบายมันว่างมันเบา เหมือนอนาคามี 5 นี้ตกในภูมิอนาคามี 5 จะจมในแดนเหล่านั้นนานมาก แต่สายปัญญาที่เรียงลำดับแล้วเป็นปัญญาธิกะ จะไม่มาเสียเวลาอยู่ในนี้จะต่อเนื่องไปเลย ส่วนพวกที่จะอยากพักบ้างก็ตามบารมีของแต่ละคน สมัครใจจะพักตรงนี้ พักหนึ่ง สองพัก ห้าพัก ร้อยพักก็ตามแต่ละคนจะอาศัย เป็นเรื่องอิสรชเสรีภาพ สามารถที่จะเลือกเอาได้ตามใจ
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
สุทธาวาสก็ก็คล้ายกันอนาคามี 5
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้เพียรทำปรินิพพานในระหว่างภพ) มันไม่รู้จะไปปรินิพพานเมื่อไหร่มันแล้วแต่ยถากรรม ปล่อยไปตามเหตุปัจจัย อันตรา แปลว่าในระหว่าง
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพานด้วยสามารถ) ผู้สามารถจะพากเพียรทำได้มากได้น้อยก็อยู่ที่ตัวเองจะมีความอุตสาหะวิริยะ เร็วเท่าไหร่ก็ได้บางทีก็ไม่เร็วนัก
๓. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก ประกอบปุญญาภิสังขารในภพตนให้มากๆ) ผู้มีภูมิสูงกว่า อุปหัจจะแล้ว ถ้าพากเพียรมาก สังขารมากก็จะเร็ว
๔. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้การปรุงแต่งอภิสังขารให้มากนัก) อันนี้ก็ไม่ต้องใช้การปรุงแต่งมากก็ได้แล้ว แต่ถ้าสสังขารก็ต้องต่ำกว่าก็ต้องปรุงแต่งมากหน่อยต้องใช้สังขารปรุงแต่งมากหน่อยหนึ่งจึงจะพ้นบรรลุ แต่อสังขารคือไม่ต้องปรุงแต่งมากหรอก ต่างจากอันตราคือไม่ปรุง ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ส่วน อสังขารปรุงแต่งไม่มากนัก สสังขารปรุงมากหน่อย
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (สภาวธรรมไม่เป็นสองรองใคร หรือไม่เป็นน้องใครอีก แล้วปรินิพพานไว) อันนี้เหนือใครแล้ว ไม่มีใครเทียมแล้ว อันนี้สุดยอด แทบจะเรียกว่าหยุดได้แล้ว จะหยุดหรือไม่หยุด จะตัดหรือไม่ตัด จะอยู่หรือไม่อยู่ เรียกว่า หมายความว่าอยู่ในขั้นสุดแล้วจะเกิดก็ได้จะตายก็ได้ จะเป็นอมตะบุคคลแล้ว ถ้าหากบรรลุก็เป็นอมตะบุคคล เป็นบุคคลอยู่ในระดับที่ 9 ในมูลสูตร 10
ไล่เอามูลสูตรก็ได้
ถ้าใครไม่มีฉันทะไม่มีความยินดีไม่มีทางไปได้ แค่มาทดสอบเรียนรู้อยากรู้เฉยๆ จะไปปักใจอีกฝั่งนึงแล้วแต่อันนี้อยากรู้เฉยๆ มาศึกษาเฉยๆ คนนี้ก็หมดสิทธิ์ที่จะบรรลุ ไม่มีฉันทะ อยากรู้เฉยๆ แต่ไอ้ที่ตัวเองปักใจอีกอันหนึ่ง อย่างนี้ก็มีพวกสายเทวนิยมจะมาลอง เขาบอกว่าอเทวนิยมไหนมาลองหน่อยซิ ถ้าเขาไม่มีใจที่ยินดี สนใจแต่ไม่มีฉันทะ ไม่มีความพอใจยินดีว่าเข้าท่านะ มันไม่มี มันจะมีจุดเริ่มต้นอย่างนี้
เพราะการทำใจในใจ มนสิการ การทำใจของตนเอง สร้างใจตนเอง ผลิตใจตนเองให้เป็นอริยบุคคลให้เป็นโลกุตระ มันไม่ได้ง่ายๆ มันไม่มีตัวตนมันไม่มีรูปร่างมันไม่มีสีสันไม่มีอะไรเลย นามล้วนๆ ถ้าคุณไม่มาเรียนอภิธรรม คุณไม่มาไล่จิตเจตสิกต่างๆรายละเอียดของ แม้แต่ขั้นรูปก็ต้องเป็นรูป 28 คุณก็ไม่รู้อาการของรูป 28 ว่ามันปรุงแต่งอย่างไรสร้างสรรค์อย่างไรขั้นรูป จะไปพูดถึงขั้นเจตสิกอีก 89 อีก 52 แจกจิตไปอีก 89 121 เมินเสียเถิดอย่าคิดถึงไม่มีทางเป็นไปได้ เรื่องมนสิการจึงไม่ใช่เรื่องตื้นๆ ทุกวันนี้โยนิโสมนสิการก็ไปแปลกันอีกอย่างหนึ่ง นอกจากอโยนิโสมนสิการก็แปลเหมือนกัน
มนสิการ แปลว่าการทำใจ โยนิโส หมายความว่าต้องทำอย่างถ่องแท้ชัดเจนถูกต้องนะ หรือ ลงไปถึงจุดเกิด โยนิโสมนสิการ ทำใจในใจ ลงไปถึงที่เกิดที่ หทยรูปนะ ถ้าไม่ถูกหทยรูปไม่เป็นได้
หทยรูป กำหนดรู้ไม่ได้ง่ายๆมันไม่มีหลักแหล่งไม่มีสถานที่กำหนดหมาย เพราะฉะนั้นพวกอภิธรรมไม่เข้าใจก็นึกว่า หทยรูป มีอยู่ที่หัวใจ ช่องที่ 4 มีน้ำหล่อเลี้ยงสีฟ้า ใส สวยนะ ไปโน่น เป็นรูปธรรม ก็อธิบายไปตามแต่อาจารย์ไหนเขาจะมีนิมิตของเขา แต่โดยนามธรรมนั้นไม่มีรูปร่างไม่มีสีสันอะไรหรอก
เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าไม่มีการทำใจในใจซึ่งสำคัญมากเลย ก็ไม่มีความรู้แม้แต่ในสุริยะเปยยาล ปรโตโฆษะ โยนิโสมนสิการ
หรือแม้แต่ปัญญาวุฒิ ก็จะต้องเรียนรู้ต้องรู้จักโยนิโสมนสิการว่าเป็นอย่างไรอย่างถ่องแท้จากสัตบุรุษ ท่านได้สอนได้บรรยายให้ฟังชัดเจน โยนิโสมนสิการเป็นอย่างนี้เองหรือ ถึงจะปฏิบัติธรรมได้อย่าง ธรรมานุธัมมปฏิปัตติ ได้มรรคได้ผลไปตามลำดับ หรือจะควงจักร 4 หรือจะควงจักร โยนิโสฯได้
จักร 4(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 31)
-
ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม) .
-
สัปปุริสูปัสสยะ (การคบหาสัตบุรุษ) .
-
อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบธรรม) สำนวนตามไวยกรณ์ แต่สภาวะคือพวกนี้มีสัมมาให้เกิดการตั้งลงของความเป็นอัตตา ปณิธิ แปลว่าตั้งตน ตั้งขึ้นมี ผล static เกิดผลตั้งเค้าเงื่อนไป เป็นอัตตา
อัตตาอันนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นตัวตน อุปาทาน แต่เป็นอัตตะอาศัย ของผู้ที่ปฏิบัติได้ นี่แหละที่มันเข้าใจยาก อัตตสัมมาปณิธิ จึงไม่ได้แปลว่าตั้งตนโดยชอบเท่านั้น คือมีตัวตนแล้วตั้งตนได้อย่างถูกต้อง ทำตนถูกต้องให้เกิดการเจริญ
จักร 4 เป็นการทำงานควงจักรได้ไปสู่ผลเจริญ ทิศทางสูงสุดได้
อันที่ 3 นี้ อัตตสัมมาปณิธิ จึงแปลไม่ง่าย ถ้าใช้ตั้งตนไว้ในทางที่ถูกนี้ก็แปลถูก แต่ก็คือการสร้างสิ่งที่เป็นประสิทธิภาพ ของความสามารถของเรา สร้างขึ้นได้ หยั่งลงเป็นนิธิ เป็นคลัง เป็นที่เก็บเป็นที่สะสมเป็นที่รวมไปเรื่อยๆ อย่างถูกต้องอย่างเสมอ ก็เกิดอัตตาของโพธิสัตว์ อัตตาของผู้ที่พัฒนาการ อัตตาของผู้ที่มีสมรรถนะความรู้โลกุตระด้วยนะ เพราะฉะนั้น อัตตาตัวนี้ไม่ได้หมายถึงโลกียะเลยนะ เพราะฉะนั้นจึงเจริญขึ้นได้ สั่งสมไปข้ามภพชาติ มันจะเป็นโพธิสัตว์ไปเป็นสูงสุด ไม่ได้เลย ถ้าเผื่อว่าไม่สะสม อัตตาไปเป็นต้นทุนไว้
ต่อไปถึงขั้นที่ 4
-
ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำแล้วในปางก่อน ไว้เป็นที่พึ่งอาศัย) เป็นสิ่งที่ได้แล้วของเก่าที่สะสมมา สะสมอะไร สั่งสมบุญ แต่บุญสั่งสมไม่ได้ ปุญญตา ความเป็นบุญสั่งสมไม่ได้ เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อนที่ยอกย้อน สะสมไม่ได้แต่ได้บุพเพกตะ ได้จากอะไรได้จากบุญที่ตัดกิเลสไปแล้ว แล้วจะมีกิเลสอีกได้อย่างไร เหมือนได้แต่ความสะอาด ศาสตร์คือความไม่มี แต่ความไม่มี สะสมความไม่มีมาได้เรื่อย บุพเพกตปุญญตา