620515_รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก ครั้งที่ 49
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1ToxANJjzhdaloGUcQx-mr6GK84qd4zt5iZ0HdlW54gg/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=13RSierUBX6LPcQ1ZeDeCZynTVi9tz9XA
พ่อครูว่า…วันนี้วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2562 ที่บวรสันติอโศก
_SMS วันที่ 13 พ.ค. 2562 (สำมะปี๋ซีวิต)
_คอยไท · ผมฟังและร้องเพลงขวัญทุกวันเลยครับพ่อครู
_จันทรพนา สิทธิพันธุ์ · อยู่ไหนๆ…ท่านก็ให้ธรรม..อย่างดีที่สุด..ขอพ่อครู..โปรดถนอมสุขภาพ…ให้ธรรม..อยู่ประจำที่..ก็ประเสริฐสุด..พอควรแก่..กำลังแล้ว..ลูกๆๆๆๆเป็นห่วงมาก..ตลอดเวลา..กราบ..สาธุ
อัมพร กุลศักดิ์ศิริ · กราบเรียนถามพ่อท่านว่าการที่เราจะอโหสิกรรมให้ใคร เราจะพูดตอนไหนดี ครับ
พ่อครูว่า…พูดตอนไหนก็ได้คิดของคนให้อโหสิกรรมแล้วกัน อโหสิคืออภัย ยกเลิกที่จะไปจองเวรจองกรรมอะไรกัน ที่จะไปมีอะไรที่จะผูกพันอะไรต่อไปเรียกว่าอโหสิกรรม จิตใจของคนอโหสิกรรมเมื่อใดก็เมื่อนั้น ส่วนคู่ของเราที่จะอโหสิหรือไม่ก็เป็นเรื่องของเขา หากเราอโหสิกรรมแต่จิตใจเขาไม่อโหสิก็ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอยู่ที่ใจ อโหสิ ใจเป็นสำคัญ หากพูดไปอีก บอกไปเลย ก็ดี ยิ่งจะพูดแล้วทางกายกรรมก็ไม่มีอะไรที่จะไปปฏิบัติกรรมเพื่อที่จะหาทางแก้แค้นเอาคืนอะไรกันอีกเลยมันก็ยิ่งดีใหญ่
_SMS วันที่ 14 พ.ค. 2562 (พุทธศาสนาตามภูมิ : สมณะ สิกขมาตุ สันติอโศก)
_ไชยะ ทองเข้ม ความหมายของ คำว่าขวัญนั้น หาคำจำกัดเฉพาะเจาะจงชัดๆได้ไม่ง่าย …ผู้ที่ตั้งคำนี้ขึ้นมามีจิตใจละเอียดอ่อนลึกซึ้ง มีดวงตาเห็นสภาวะของจิต ที่ไม่มีตัวตนแต่เป็นสภาพมีลักษณะต่างๆ เป็นนามธรรม ขอบคุณ ท่านสมณะ ได้นำเรื่องนี้มาสาทกธิบาย กราบนมัสการครับ
_ปาลิตา ทองสุขนอก · ท่านเจ้าคะฟังธรรมวันนี้หนูรู้สึกว่าพวกเราไม่มีอะไรดีเลย ทำดีอะไรก็มีข้อแม้ไปหมด ทำดี๊ดี แต่ก็ไม่มีอะไรดี สอนดี๊ดีแต่ฟังแล้วรู้สึกไม่ดี แบบนี้คือกรรม ที่คิตแต่สิ่งที่ไม่ดี เราก็เลยต้องเป็นคนไม่ดี งงงง ยิ่งคิดยิ่งงงงง
_3867พ่อครูพูดเรื่องอนิจจังวสสังขาราฯเคยเห็นสณ.สม.ญตธ.อาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้ว!ทำไมไม่มีชาวมังสะวิรัติบริจาคร่างกายให้เป็นวิทยาทานการศึกษา แพทย์ฯเพราะกายอันบริสุทธิ์หลุดพ้นการเบียดเบียนสัตว์น่าจะยังปย.ต่อการศึกษาอันพาพ้นโรคภัยเวรกรรมวิบาก มลพิษภาวะได้?
_9454เมื่อกรรมชั่วยังไม่ส่งผล คนเขลาจะเห็นความชั่วเป็นน้ำผึ้ง
_กราบเรียนถามพ่อท่านในรายการสัมมะปี๋ วันนี้ค่ะ
-
ศาสนาที่พ่อท่านนำพาทำ จะไปได้นานแค่ใหน ขึ้นอยู่กับความมากน้อย เข้ม ลึก ในอาริยคุณที่ลูกศิษย์ฝึกฝนได้มรรคผลอยู่ในตนใช่ใหมคะ ? หรือมีคนที่มีบารมีมาเกิดร่วมสืบทอดงานศาสนาต่อคะ? หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน…
พ่อครูว่า..ใช่ ก็ต้องทั้งสองส่วน
-
ความทุกข์ลดลง ไม่ค่อยทุกข์มาก ชิวๆ สบายๆ ทำให้ขาดสติ และเนิ่นช้านานมาก … จะทำอย่างไร จึงจะออกจากภาวะนี้ได้คะ ออกยากมาก… เพราะโทษภัยที่ส่งผลมีน้อยถึงน้อยมาก…
กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ
พ่อครูว่า..แล้วขาดสติกับเนิ่นช้ามันเจริญหรือเสื่อมแล้วจะไปอยู่กับความเสื่อมทำไม อันนี้แหละ ฟังดีๆ
ก็เข้าใจผิด เนิ่นช้ามันพูดน้อยเสียที่ไหน แล้วไปหลงว่าความทุกข์ลดลง ไม่ค่อยทุกข์มาก ไปหลงผิดยึดติดว่ามันสบายๆ แล้วตัวเองก็มีปฏิภาณเขารู้ว่าทำให้ขาดสติทำให้เนิ่นช้า แล้วความขาดสติกับความเนิ่นช้ามันคือความเสื่อมนะ ทำอย่างไรจะออกจากภาวะนี้ได้ ก็คนถามมานี้สับสน ไม่ชัดตรงไม่แม่นในสัจจะสภาวะ คุณคิดจะออกจากสภาวะนี้ดีแล้ว ออกยากมาก เพราะคุณไปหลงจมอยู่กับอันนี้ แล้วปฏิภาณรู้ด้วยว่าทำให้ขาดสติ แล้วบอกว่าโทษภัยส่งผลน้อยถึงน้อยมาก ..ก็มันมาก คุณเห็นให้ชัดเจนว่ามันมีโทษมากนะ ไม่ใช่โทษน้อย ตัวที่คุณติดยึดคือตัวที่บอกว่าผลมันมีโทษน้อย ไปหลงติด
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าถึงบอกว่าคนเราใครก็แล้วแต่ที่เป็นแบบนี้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าปล่อยตัวให้ไปตามสบายมีแต่ความสบาย อะไรเจริญยิ่ง ก็อกุศลเจริญยิ่ง แต่ถ้าเผชิญทุกข์ กุศลเจริญยิ่ง
“เมื่อเราอยู่ตามสบาย (ยถาสุขัง โข เม วิหรโต) อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก (ทุกขายะ ปนะ เม อัตตานัง ปทหโต) อกุศลธรรมย่อมเสื่อมลง กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง”
(เทวทหสูตรจากปพระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 15)
_ก่อนวันอโศกรำลึกผมเคยใช้รหัส 9849 sms มา เป็นเหตุให้เกิด 48 พรรษา ปีนี้ผมก็อยากจะพูดว่า วันสวยนะครับ คือ อยากเชิญชวนญาติธรรมที่เป็นข้าราชการมีวันหยุดหลายวัน ให้ไปร่วมงานที่บ้านราชฯ
เมื่อวันพุธที่แล้ว พ่อครูเคยพูดว่า ทิศที่ชาวอโศกไม่ควรไป คือ ทิศบูรพา กับทักษิณ คือ อ.บูรพา กับ นายทักษิณ ก็เป็นอจินไตย
พ่อครูว่า…คุณทักษิณจมไปในทางโลกีย์จมไปในทางการเมืองหนัก ส่วนอ.บูรพาจมไปในทางธรรมะหนัก จมมากเลย ก็สงสารแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ได้แต่ให้ข้อคิดไปตามประสาปรารถนาดี มีแต่นำพาเข้าไปลึกในทางเทวนิยม มันก็ยิ่งมืดยิ่งงมงายยิ่งลึกลับยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้ได้ด้วยกัน จมในภพความคิดของตนเองเป็นมโนมยอัตตา ที่ไปใหญ่เลย คืออัตตาที่จิตตัวเองสร้างจิตตัวเอง และมโนมยอัตตากลายเป็นนิรมาณกาย คือกายที่ตนเองเนรมิตขึ้น ทั้งที่มันไม่มีตัวตนแล้วก็บริโภคร่วมกันเป็นการร่วมเสพ เห็นสมคล้อยไปด้วยกัน เหมือนพูดกันรู้เรื่องแต่ต่างคนต่างภพ ต่างคนต่างปั้นว่าตรงกันๆ แต่ที่จริงต่างคนต่างสัญญา ย นิจจานิ
อาตมาเคยอธิบายเหมือนคนเข้าทรง พูดภาษาโคบอล พูดกันเหมือนรู้เรื่องโมเมไป แต่ว่าพูดอีกทีไม่เหมือนเดิมแล้ว คือสัมโภคกายบริโภคร่วมกัน มันจะเมาขนาดไหนคิดดูสิ ทั้งที่ไม่รู้กันแต่รู้กัน แล้วก็เป็นอาทิสมาณกาย ครบ พวกกายมิจฉาที่เป็นมโนมยอัตตาครบสามเลย นิรมาณกาย สัมโภคกาย อาทิสมาณกาย อาทิสมาณกายคือ ไม่มีจริง ไม่มีใครรู้ใครเห็นด้วยเหมือนคนตาบอดคุยกันในเรื่องแสงสี
แล้วมันไม่ใช่เพียงแค่คนเดียวมีเยอะมากด้วย อาตมาพยายามจะคลายความ ก็ขอแวะเข้าไปหาสัจจะความรู้ที่อาตมาจะนำมูลสูตร 10 มา
-
มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) . .
-
มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) . . . .
-
มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) . . .
-
มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) .
-
มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ) . . .
-
มีสติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ) . . . .
-
มีปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ) . กัปตันรู้ยิ่งยอด
-
มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ) . หลุดพ้นสุดยอดที่จะรู้ยิ่ง
-
มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา). = สอุปาทิเสสนิพพาน.
-
มีนิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน) = อนุปาทิเสสนิพพาน
(พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 58)
ความมีฉันทะนั้นที่จะต้องยินดีเห็นดีเห็นงาม ไม่ใช่เป็นการบังคับนะ นั่นคือเบื้องต้น ถ้าไม่มีจิตยินดีเต็ม ไม่มีจิตยินดีจริงเป็นการเสแสร้ง จ้างให้คุณก็ไม่มีทางปฏิบัติธรรมพุทธศาสนาบรรลุอะไรเลย แม้ข้อที่ 2 มนสิการ การทำใจในใจ ท่านจะไปแปลว่าสำคัญมั่นหมาย มนสิการยังไม่มี โยนิโส โยนิโสแปลว่าถ่องแท้ คำว่ามนสิการคือทำที่ใจ ใจมันตรงไหนเป็นนามธรรม หทยรูป ทำให้โยนิโสฯ ถ่องแท้แยบคาย ให้ลงถึงที่เกิด ให้กิเลสตาย แล้วจิตมันเกิดตรงที่กิเลสตายนี่แหละ
การทำคือลงมือปฏิบัติ การแยบคายถ่องแท้ เป็นเรื่องของปฏิภาณปัญญา มนสิการ อันหนึ่งทำ อันหนึ่งรู้ โยนิโส คือรู้ การ คือทำ ทำที่จิต รู้ก็ที่จิตทำก็ที่จิต อย่างนี้เป็นต้น และสำคัญที่อาตมายืนยันเลยว่า
ผัสสะเป็นสมุทัย ต้องมีผัสสะ เป็นเหตุในการปฏิบัติ ถ้าไม่มีผัสสะในการปฏิบัติที่ไม่ใช่เหตุในอริยสัจนะ อันนี้ต้องมีผัสสะเป็นเหตุของมรรค ยังไม่ใช่ผล เป็นต้นของการปฏิบัติธรรมเลยต้องมีผัสสะเป็นสมุทัยเลย ปฏิบัติธรรม คนหลับตาปิดทวาร 5 ภายนอก เหลือแต่ทวารในเป็นหนึ่ง ทวารใจ ก็เลิกเลย ศาสนาพุทธไม่มี ศาสนาพุทธไม่มีปิดทวารเลย เปิดทวารหมด อาตมาจะพูดไปอีกกี่นานเท่าไหร่จะ 50 ปีแล้ว ตีทิ้งตีไม่บันยะบันยังเรื่องนั่งหลับตานี่แหละ เอาพระสูตรมาเล่าให้ฟังไม่รู้กี่พระสูตรตั้งแต่เริ่มต้นพระไตรปิฎกเล่ม 9 คือพรหมชาลสูตร ท่านก็ว่า ล. 9 ข. [87] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ 5 ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
แล้วสูตรสองเป็นสามัญผลสูตร ต้องปฏิบัติมีศีลอันเป็นอาริยะ สำรวมอินทรีย์อันเป็นอาริยะ มีสติอันเป็นอาริยะ ปฏิบัติให้ลดละจนเป็นสันโดษที่เป็นอาริยะ
พระสูตรที่ 3 เป็นอัมพัฏฐสูตร ท่านกล่าวถึง ความเสื่อม 4 ประการคือไปตามหาอาจารย์อยู่ในป่า
-
ผู้ยังไม่มีวิชชาและจรณะ แต่ไปแสวงหาอาจารย์ในป่า โดยเก็บผลไม้หล่นกินบำรุงชีพ อย่างมักน้อยมากๆ
-
ไม่เก็บผลไม้กิน แต่ถือเสียม ตะกร้า หาขุดเหง้าไม้ หาผลไม้กินระหว่างออกแสวงหาอาจารย์ในป่า
-
สร้างเรือนไฟไว้ใกล้หมู่บ้าน แล้วบำเรอไฟรออาจารย์
-
สร้างเรือนมีประตูสี่ด้านไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แล้ว สำนักรอท่านผู้อยู่มีวิชชาและจรณะอยู่ (อัมพัฏฐสูตร เล่ม 9 ข้อ 163)