620624_รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 55
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/195FiMRt2SaBPJD8likfl9m3XucGYtHW8KVPTVRP4BgU/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1UIQnZyJGbfd6opo00NjEk6JCe6RSNQNK
พ่อครูว่า…วันนี้วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2562 ที่บวรปฐมอโศก วันนี้เป็นวันที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในอดีตตรงกับ มิถุนายน พ.ศ. 2475
SMS วันที่ 23 มิ.ย. 2562 (รายการวิถีอาริยธรรม สันติอโศก)
สื่อธรรมะพ่อครู(การเมืองบุญนิยม) ตอน คุณลักษณะประชาธิปไตยที่แท้จริง
_1614 beaver ขอความเห็น พ่อครู วันนี้ ในอดีตตรงกับ มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก่อปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อบังคับให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พ่อครูว่า…เดิมเป็นประชาธิปไตย ก่อนที่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถือว่ายังมีระบอบประชาธิปไตยแบบเก่า แบบที่โลกๆเขามีกัน มีผู้บริหารใหญ่แบบที่เขามีกันเรียกว่าพ่อขุน หรือเรียกว่าพ่อเมือง เป็นหัวหน้าเผ่า หัวหน้าสังคมประเทศหัวหน้ากลุ่มชน นายกต่อมาเขาก็พัฒนาการปกครองมาจนถึงในยุคนี้ก็เป็นประชาธิปไตย ซึ่งมันมีระบอบวิธี มีความรู้มีความหมายซึ่งกันและกันว่า ประชาชนกับผู้บริหารปกครอง จะต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไร มีหน้าที่อย่างไรมีสิทธิอย่างไรต่างๆนานา (มี ด.ญ.แพงเพ็ญ คลานมา หลวงปู่ทักทาย) ของเราก็มีความเป็นชีวิตชีวาไม่ได้เคร่งเครียดไม่ได้ซีเรียสเหมือนกับที่อื่นๆเขา เป็นธรรมชาติธรรมดาสังคมมีทั้งเด็กทั้งคนแก่ ป่วยโทรม นั่งรถเข็นมาใส่สายเสียบจมูกมาก็ยังนั่งอยู่เลย มาร่วมรายการนี้ดูเถอะ แสดงถึงความสนใจความขมีขมัน
ความเห็น อาตมาก็ไม่ออกความเห็นอะไร ดีแล้วล่ะ มันเป็นการพัฒนาของสังคมมนุษยชาติตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน บางประเทศก็ยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์บางประเทศก็เป็นประชาธิปไตยหรือบางประเทศก็แฝงๆ สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นถ้าหากผู้ปกครองไม่มีความเป็นทศพิธราชธรรม เอาแต่ใจตัวเอง ก็จะเป็นทรราช แต่เดี๋ยวนี้ไม่อย่างนั้นแล้ว เขามีสิทธิมนุษยชน มีความเห็นอกเห็นใจกันเข้าใจกัน ต่างคนต่างได้พัฒนาตนเองให้เป็นคนดีของสังคม ให้เป็นผู้มีประโยชน์คุณค่า ซึ่งความรู้ในรายละเอียดโดยปริยายพวกนี้ รวมแล้วความรู้กว้างๆ แม้จะลึกก็ตามก็พอจะรู้กันดีสำหรับผู้ที่มีปัญญามีปฏิภาณ รู้เรื่องสังคมมนุษยชาติควรจะเป็นเช่นนี้ แต่ในความเป็นจริงของมนุษย์ ของสังคม มันก็อยู่ที่ตัวมนุษย์เอง จะเป็นผู้ที่มีความรู้ถึงคุณธรรมต่างๆ ที่จะเห็นแก่ผู้อื่น เห็นแก่ตัวให้น้อยหรือไม่มีความเห็นแก่ตัวเลย และเป็นผู้ที่ขยันหมั่นเพียร ทำประโยชน์รับใช้มวลมนุษยชาติให้มากที่สุดได้ นี่เป็นอุดมคติที่สูงส่ง ของความเป็นคน ผู้ใดประพฤติจึงเป็นจริงได้แม้จะอยู่ในฐานะสูงถึงขั้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อย่างในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นผู้ที่มีคุณธรรมดังกล่าวนี้เป็นตัวอย่าง เรียกได้เลยว่าเป็นยอดประชาธิปไตย ซึ่งมีรายละเอียดลึกซึ้งซับซ้อนหลายชั้นมาก ทุกวันนี้คนจะเข้าใจคำว่าประชาธิปไตยจริงๆได้ยากที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งซับซ้อนยาก เข้าใจกันไปคนละแง่มุม ประเทศต่างๆ แม้แต่นักศึกษาทางรัฐศาสตร์แท้ๆก็ยังยากที่จะเข้าใจถึงความเป็นประชาธิปไตยที่ดี อาตมาก็อธิบายได้ยากเหมือนกัน พยายามอธิบายพยายามจะบอกจุดสำคัญว่าประชาธิปไตยต้องมีคุณลักษณะสำคัญ
-
ไม่มีตัวตนไม่เห็นแก่ตัวเลย
-
เสียสละเต็มที่
-
รับใช้ประชาชนรับใช้มวลมนุษยชาติ จะต้องเป็นคนที่มีภูมิปัญญารู้จักกันประมาณมีสัปปุริสธรรม 7 มหาปเทส 4 ตามพระพุทธเจ้าตรัส พระพุทธเจ้าเป็นยอดนักประชาธิปไตยที่สูงสุด ที่นักประชาธิปไตยหรือนักรัฐศาสตร์ก็ยังเข้าใจไม่ค่อยได้ อาตมาถึงได้พยายามจะแทรกรายละเอียดที่มันมีหลักฐานยืนยันต่างๆซึ่งมันก็ยากเพราะว่าในยุคพระพุทธเจ้านั้นเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เต็มรูปแบบเลยยังไม่มีประเทศไหนๆในยุคนั้นยังไม่มีประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นคำศัพท์ว่าประชาธิปไตยก็ยังไม่มี จึงมีแต่ศัพท์ที่แสดงออกที่มันพอเข้าใจได้ว่านี่แหละลักษณะนี้คือประชาธิปไตย อาตมาก็นำมายืนยันแล้ว
มีคำว่าอธิปไตยที่แปลว่าอำนาจ หรือสิทธิอย่างเต็มที่ของตนเอง เป็นของประชาชนเรียกว่าประชาธิปไตย ให้อำนาจของประชาชนเป็นอำนาจใหญ่อำนาจส่วนรวม เป็นความเห็นของส่วนรวมถือว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้องสูงสุด ความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีกลวิธีของนักบริหารปกครอง ไม่ว่าจะมาเป็นระบอบประชาธิปไตยระบอบคอมมิวนิสต์ อำนาจของผู้ปกครองก็จะพยายามทำให้คนเข้าใจว่าการประพฤติของเขาเป็นประชาธิปไตย เขาจะมีเชิงชั้นเป็นอำนาจสิทธิส่วนตัวของเขาเป็นใหญ่โดยกิเลสของคน ก็จะเป็นอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง พหุชนหิตายะ(เพื่อหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก)พหุชนสุขายะ(เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ(รับใช้โลก ช่วยโลก)
3 คำนี้เป็นคำที่สรุปรวมจากอธิปไตย 3 คือโลกาธิปไตย อัตตาธิปไตย และธรรมาธิปไตย
อธิปไตยอันแรก โลกาธิปไตย เป็นพลังที่เป็นของโลกของส่วนรวม ของหมู่ข้างนอกทั้งหมดเลยเรียกว่าอธิปไตยของโลกโลกาธิปไตย
ส่วน อัตตาธิปไตย คือ อำนาจของเราตัวตนของเราและเราจะใช้อำนาจของเรากับอำนาจส่วนรวมของคนในโลก เราจะเรียกว่าโลกาธิปไตยหรืออนุโลมเรียกว่า ประชาธิปไตย ก็คือเป็นอำนาจของประชาชนในโลก หรืออำนาจของประชาชนในประเทศที่เรารับผิดชอบ อํานาจอธิปไตยของเรากับกลุ่มชุมชนสังคม หมู่บ้านนี้ เรามีอำนาจหน้าที่ที่จะดูแลบริหารปกครองในหมู่บ้านนี้ ก็เป็นอธิปไตยของผู้ดูแลปกครองนั้นซึ่งจะต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนรวม หรือมวลประชาชนตามขอบเขตที่กำหนดหมายกันไว้ อันนี้ของหมู่บ้าน อันนี้ของอำเภอนิคมจังหวัด อันนี้ของประเทศ อันนี้กว้างไปถึงหลายประเทศจนกระทั่งร่วมกันเป็นกลุ่มสมาชิก เช่นขณะนี้เขามีกลุ่มรวมตัวกันเพื่อให้ได้มีคุณภาพมีประโยชน์ต่อโลกต่อสังคมมากที่สุดเรียกว่ากลุ่มอาเซียน ก็มีประชุมอาเซียนซัมมิท มารวมกลุ่มกันปรึกษาหารือกันเพื่อจะมีหลักเกณฑ์ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์คุณค่าต่อสังคมโลกต่อมวลมนุษยชาติในโลกให้ดีที่สุด ก็เป็นความคิดที่จะทำให้เกิดความมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างดีที่สุดก็เป็นความดี
ถ้าให้อาตมาขอออกความเห็นในวันนี้ที่เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอาตมาก็ว่าดีแล้ว ก็ได้โยงใยไปถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ประพฤติตั้งแต่ในยุคของพระพุทธเจ้าเลยท่านมีธรรมนูญของท่านเองเลย คือ ศีล หลักเกณฑ์ของศีลคือธรรมนูญของพระพุทธเจ้า จุลศีลมัชฌิมศีลมหาศีล 3 หลักใหญ่
อาตมาพยายามอธิบายเขาก็เข้าใจต่างๆกันไป เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในความดูแลหรืออยู่ในคณะของพระพุทธเจ้าเอง ตั้งแต่ในยุคพระพุทธเจ้าแล้วก็จะมาประพฤติอยู่ภายใต้อำนาจศีล 3 หลักนี้ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
จุลศีล คือหลักเกณฑ์แต่ละข้อซึ่งมี 26 ข้อ
26 ข้อนี้เป็นหลักปฏิบัติที่แต่ละคนปฏิบัติแล้วก็จะได้บรรลุธรรม เป็นคุณธรรมส่วนตัวเป็นโลกุตรธรรมไปตามแต่ละข้อ ไม่ถึง 26 ข้อก็บรรลุพระอรหันต์ได้ ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วจะปฏิบัติ 26 ข้อนี้ได้อย่างสบายมีศีลเป็นปกติไม่ลำบากในสิ่งทั้งหลาย ปฏิบัติศีลสมาธิปัญญาก็จะถึงวิมุติได้ ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ของศีลเป็นข้อวัตรแล้วจะตรวจสอบไม่ได้ ตรวจสอบคนที่จะมีคุณธรรมแท้ไม่ได้ต้องเอาศีลเป็นตัววัด แม้แต่ตัวใครก็ตามถ้ามีหลักเกณฑ์ของศีลและวัตรเราก็จะรู้ว่าเราเป็นพระโสดาบันสกิทาคามีอนาคามีแล้ว อธิบายไปก็จะค่อยๆเข้าใจ
เริ่มต้นด้วย 3 ข้อใหญ่ของศีล 5 จะเข้าใจแล้วเราบรรลุศีลทั้ง 3 ข้อจะรู้เลยว่าเราเป็นพระโสดาบันสกิทาคามีอนาคามี แม้ขยายความในศีลทั้ง 3 ข้อจนถึงพระอรหันต์เลยก็ได้ ถ้าเรารู้ในการเกี่ยวโยงเกี่ยวเนื่องกัน แต่ถ้าเข้าใจเป็นกรอบขอบเขตของศีลที่จะเป็นเบื้องต้น แค่ความหมายเบื้องต้นท่ามกลางบั้นปลาย เราได้บรรลุศีลทั้ง 3 ข้อนี้เป็นเบื้องต้นเราก็จะบรรลุพระโสดาบันเป็นอย่างต่ำ
ที่ถามมาจะว่าเป็นการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องธรรมะเป็นเรื่องสังคมมนุษยชาติอะไรก็แล้วแต่เป็นเรื่องของมนุษยชาติกับสังคม เป็นความหมายของแต่ละความหมายแต่ละชื่อแล้วก็ระบุความสำคัญ ความเป็นไปตามแต่ละพยัญชนะซึ่งเรียกกันไปแต่ละความหมาย
จุลศีล เป็นศีลที่ผู้ประพฤติแล้วจะบรรลุธรรมด้วยตนเอง ส่วนมัชฌิมศีล เป็นข้อที่ละเอียดลึกซึ้งสูงขึ้นต่อจากจุลศีล เพราะฉะนั้นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติตามพยัญชนะจุลศีล ก็เอามัชฌิมศีลเป็นอธิศีลที่สูงขึ้นขยายความขึ้นได้เหมือนกัน ถ้าเป็นผู้ที่มีปฏิภาณปัญญาเข้าใจแล้วก็จะใช้ปฏิบัติกับตนเองบรรลุธรรมไปสูงสุด
ส่วนมหาศีลนั้นเป็นศีลที่ระบุกำหนดบอกองค์รวมของศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้นมหาศีลจึงเป็นตัวกำหนดว่าศาสนาพุทธนั้นจะไม่มีที่ห้ามไว้ในมหาศีล เป็นข้อกำหนดห้ามไม่ให้มีในศาสนาเลย มหาศีล จะยืนยันว่าศาสนาพุทธมีในชุมชนในปัจจุบันนี้เมืองไทยมีศาสนาพุทธในวัดในสำนักไหน ที่บอกว่าตัวเองเป็นพุทธ เอามหาศีลเป็นตัวจับ ถ้าหากละเมิดมหาศีลไปหมดเลยก็ไม่ใช่พุทธ ละเมิดไปมากก็ไม่ใช่ ละเมิดไปครึ่งหนึ่งก็ไม่นับว่าเป็นพุทธ ต้องไม่ละเมิดได้น้อยที่สุดก็เป็นพุทธมากเท่านั้น ถ้าหากไปละเมิดอยู่ก็เป็นพุทธน้อยลงเท่านั้น ถ้าหากละเมิดน้อยก็เป็นพุทธมาก มหาศีลคือเครื่องยืนยันความเป็นศาสนาพุทธทุกวันนี้เขาก็ยังไม่ค่อยเข้าใจกัน
ในสมัยพระพุทธเจ้ายังไม่แพร่หลายอย่างเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบบทาสที่ยังไม่รู้จักสิทธิมนุษยชนก็ยังเกิดประชาธิปไตยไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่แล้ว โลกทั้งโลกหมดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว เป็นยุคทาสก็หมดแล้วทุกคนรู้จักสิทธิมนุษยชนดี จึงทำให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างดี อย่างเช่นชาวอโศกเป็นมวลมนุษย์ บอกได้เลยว่าเป็นมนุษย์ที่มีคุณสมบัติของความเป็นประชาธิปไตย ขออภัยอย่าหาว่าคุยตัวเองหลงตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุด ชาวอโศก ไม่ได้บังคับเลยมีอิสระ
ประชาธิปไตยจะมีหลักเกณฑ์อยู่ 1 ข้อคือทุกคนมีอิสระเสรีภาพสมบูรณ์แบบ ในชาวอโศกคนที่มาเป็นมวลสมาชิกชาวอโศกไม่มีใครบังคับให้มา ทุกคนสมัครใจมาเองไม่มีความพอใจก็ออกไปได้ ไม่มีการเสียค่าสมัครสมาชิก มาได้อยู่ได้ก็อยู่ไปหากอยู่ไม่ได้ก็ออกไป อย่างนี้เลยในสังคมของศาสนาพุทธในสังคมชาวอโศก
เพราะฉะนั้นก็ขอยืนยันว่า อาตมามั่นใจว่าอาตมามีความรู้ของอาตมาว่าประชาธิปไตยเป็นแบบนี้ แล้วก็พาให้คนในชาตินี้อาตมาทำงานศาสนามาเกือบ 50 ปีแล้วก็ได้มวลประชาชนเป็นหมู่กลุ่ม เป็นหมู่บ้านชุมชนกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย 30 หมู่บ้านอะไรก็แล้วแต่ที่มีอยู่ทุกวันนี้ ทั่วประเทศนี้ล้วนเป็นประชาธิปไตยที่มีความมีอิสระเสรีภาพและมีการบริหารทางเศรษฐศาสตร์ถึงขั้นเศรษฐศาสตร์สาธารณโภคี คือทุกคนอยู่อย่างพี่อย่างน้องอยู่อย่างสมบัติส่วนกลาง กินใช้แบ่งกันใช้อย่างไม่มีใครเป็นเจ้าของซึ่งสูงสุดที่สุดเลยในระบอบการบริหารปกครองประเทศที่เขาต้องการว่า ทรัพย์สินส่วนกลางเป็นของทุกๆคนที่จะแบ่งกันกินใช้เฉลี่ยกันทั่วถึง มีสิทธิทั่วกัน ทุกระบอบ แม้แต่เผด็จการเขาก็ต้องการ แต่เผด็จการจริงๆนั้นตัวผู้ควบคุมอำนาจจะไม่แจกจ่ายทั่วถึงทั้งนั้นเองแม้แต่คอมมูนิสต์ก็เป็นคณะหมู่กลุ่มที่พยายามจะให้เป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุด จะให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากที่สุดแต่ความเห็นแก่ตัวของคณะบริหารคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่คนคนเดียวบริหารเท่านั้นเอง แล้วก็บริหารเพื่อจะให้แจกจ่ายเจือจานส่วนกลางไปเพื่อมวลมนุษยชาติเพื่อประชาชนที่เขาดูแลบริหารอยู่ ให้ได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เขาก็เข้าใจกันดีทั้งนั้นแต่เพียงแต่ว่าจะปฏิบัติได้ครบครันละเอียดลออตามที่รู้ไหม ความรู้นั้นละเอียดลออดีแต่ปฏิบัติได้ไม่ครบเพราะว่ามีกิเลสแฝง ทั้งของตัวผู้ปกครองและตัวประชาชน เพราะฉะนั้นจะต้องให้ทำให้คนลดกิเลสทั้งมวลประชาชนและตัวผู้บริหารสำคัญจะต้องลดกิเลสก่อนไม่เห็นแก่ตัวก่อน เห็นแก่ประชาชนรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริงนี่แหละคือนักประชาธิปไตยที่สูงส่ง ทำการรับใช้ประชาชนจริงๆไม่เห็นแก่ตัวเลยแล้วก็มีความรู้ความสามารถในการบริหารมวลประชาชน นั่นแหละคือดีที่สุด
และการบริหารที่ดีที่สุดก็คือบริหารโดยไม่ต้องบริหาร
บริหารโดยคนทุกคนรู้จักสิทธิหน้าที่แล้วปฏิบัติอยู่ในสังคมอย่างรับผิดชอบอย่างที่ไม่เห็นแก่ตัว อย่างที่ลดละกิเลสของตนเองเสียสละให้แก่มวลประชาชนไปเรื่อยๆนี่แหละคือความรู้คร่าวๆ แล้วคนเหล่านั้นจะมีความรู้โดยปริยายได้ลึกซึ้งและมากมายพอปฏิบัติตรงตามจุดมุ่งหมายที่เราเรียกว่ายอดประชาธิปไตย
อาตมาก็ขอขยายความเพียงแค่นี้ 24 มิถุนายน 2475 ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ทุกวันนี้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญเปลี่ยนผู้บริหารแม้แต่พระเจ้าอยู่หัว เพราะของเราเป็นประชาธิปไตย 2 ขาเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบที่ครบความเป็นเทวเป็นธรรมะ 2 ที่มีทั้งประชาชนและพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่าราชประชาสมาสัยมีพระราชาและประชาชนอาศัยซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกันช่วยเหลือกันอยู่ซึ่งเป็นระบบของมนุษยชาติที่สมบูรณ์ที่สุด มีกายกับจิต มีประธานกับเป็นผู้ที่อยู่ในความดูแลปกครองบริบาลและเป็นผู้ที่มีคุณธรรมอย่างเช่นในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยที่ทั่วโลกรับรองทั่วโลกเข้าใจ ทั่วโลกยอมรับนับถือ อาตมาก็ต้องขอเอาสิ่งที่จริงปรากฏการณ์จริงอย่างในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระตัวอย่าง (พ่อครูไอ ช่วยตัดออกด้วย )
นิมนต์จิบน้ำ
_นรามล ทองคำ · ชอบมากค่ะ ฟังแล้วทำให้หายโง่เลยค่ะ สาธุ
สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน การสำรอกอวิชชาต้องใช้บุญเท่านั้น
_ โกศล สุขเล็ก : อยากทราบความหมายของคำว่า ..สำรอกอวิชชา
พ่อครูว่า…อวิชชาไม่ได้หมายถึงความโง่ทั้งหมดเลย อะไรๆก็วิชชานั้นไม่ใช่ คนที่บริหารประเทศทั้งหลาย เป็นพวกที่อวิชชามากเลยเป็นยอดเผด็จการอย่างเช่น ฮิตเลอร์เป็นต้น เป็นยอดอวิชชา เป็นนักเผด็จการที่เรียกว่าใช้อำนาจตัวเองเป็นอำนาจบาตรใหญ่ ไม่พอใจไม่ได้ดั่งใจก็ฆ่า ให้กลัวเลย ยกตัวอย่างคนที่ปฏิบัติมาแล้วเป็นอย่างนี้เยอะอย่างเช่นฮิตเลอร์ คนศึกษาก็รู้ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอีกเยอะ แต่ว่าทำไม่ได้เพราะว่าทุกวันนี้สังคมโลกเขาไม่ให้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ถึงขนาดนั้น แต่เขาก็แอบทำและแฝงซ้อนวิธีการทำ ถึงขั้นฆ่าแกงก็มี ซึ่งโดยคุณธรรมแล้วคนเราอย่าไปฆ่าคนทั้งนั้น แม้แต่สัตว์ ตัวใดก็อย่าไปฆ่าเลย ยิ่งเป็นคนแล้วเอาเถอะแม้เขาจะเป็นคนชั่ว วิบากของเขาก็จะมีก็จะจัดการด้วยตัววิบากเอง ดีไม่ดีเขาก็เดินหัวทิ่มคะมำตายไปเองก็ได้ที่บาปของเขา สารพัดที่มันจะเป็นไปได้หลายๆอย่าง หรือจะถูกเสือกัดตายถูกรถชนตาย ตายโหงตายแบบเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่ทุกข์ทรมานอย่างโน้นอย่างนี้ ศึกษาศาสนาพุทธจะได้เรียนรู้กรรมวิบากซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้งมากที่สุดเลยนะเจ้านี้ศึกษาเรื่องของมนุษยชาติด้วยกรรมวิบาก
คนมีกรรมมีวิบาก วิบากคือสิ่งที่สั่งสมจากผลของกรรม ออกฤทธิ์ความชั่วออกฤทธิ์ความดี ฤทธิ์ความชั่วเรียกว่าบาป ฤทธิ์ดีเรียกว่ากุศล อาตมาไม่เรียกว่าฤทธิ์ดีคือบุญ เพราะว่าบุญไม่ใช่ความดีเลยทีเดียว ไม่ใช่ความดีเต็มที่ไม่ใช่ความดีโดยตัวเองเต็มที่ มันพูดความดีก็ไม่ได้พูดความไม่ดีก็ไม่ได้ ซึ่งเป็นคำที่อธิบายยากมากคำว่าบุญ จะว่าดีก็ดีสุดดีเลย ถ้ามันฆ่ากิเลส กิเลสเป็นตัวเลวที่สุดในโลก และไม่มีอะไรจะทำร้ายได้ นอกจากพลังงานของคนที่สร้างพลังงานบุญขึ้นมาแล้วบุญจะฆ่ากิเลส ไม่มีอะไรอื่นจะฆ่ากิเลสได้เด็ดขาดจริงจังเท่ากับบุญ อาตมากำลังขยายบุญ เปิดคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์เราคิดอะไรคำว่าเปิดยุคบุญนิยม เพราะว่าคำว่าบุญนี้ไม่มีศาสนาอื่นจะรู้นะ แม้คนในศาสนาพุทธก็รู้ได้ยากกับคำว่าบุญ ที่จะรู้ได้สมบูรณ์แบบ อาตมาเป็นพระโพธิสัตว์ระดับ 7 จึงรู้คำว่าบุญได้ดีประมาณนี้ ถือว่าดีมากแล้วที่อาตมารู้ ถ้าหากยิ่งเป็นโพธิสัตว์ระดับ 8 หรือเป็นระดับ 9 เป็นผู้ที่เป็นปัจเจกพุทธะก็ยิ่งจะรู้ดียิ่งกว่าจะอาตมาอีก จะขนาดนี้ก็เอาเถอะ ถ้าไม่ใช่พลังงานบุญจะฆ่ากิเลสไม่ได้จริงอาจจะกดข่มได้ แต่มันไม่ได้ฆ่ากิเลสนี่เป็นเรื่องลึกซึ้งติดตามให้ดีๆแล้วจะรู้ จะค่อยๆเข้าใจ
สื่อธรรมะพ่อครู(ศีล สมาธิ ปัญญา) ตอน ทำไมชาวอโศกต้องเป็นชาวนา
_ใจกลั่น …จะถามเรื่องเกี่ยวกับนา จะถามให้เด็กๆฟังด้วย ทุกวันนี้คนห่างเหินจากนารู้สึกว่าข้าวแค่ไปซื้อก็กินได้ แล้วถ้าหากปลูกฝังให้เด็กๆเป็นชาวนากัน โตขึ้นจะได้เงินสักเท่าไหร่ ทำไมชาวอโศกต้องเอาเรื่องชาวนามาปลูกฝังให้กับเด็กๆ
พ่อครูว่า…ถามดีมากกับคำถามนี้ ขอบอกให้ทราบโดยทั่วกันเลยไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียนหรือว่าเป็นผู้ใหญ่ทุกคน เคยได้ยินไหมว่าหลวงปู่เป็นคนพูดยืนยันว่าชาวอโศกจะต้องเป็นคนที่รู้จักการทำนาให้ถ้วนทั่ว ทุกคนจะต้องทำนา เพราะพระพุทธเจ้าเองได้ตรัสว่า ข้าวเปลือกเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง อาหารเป็นหนึ่งในโลก ความหมายของอาหารหมายถึง กวฬิงกลาหาร อาหารที่กิน จะเป็นสัตว์เดรัจฉานมันก็กินอาหารอย่างของมัน สัตว์ที่กินเนื้อสัตว์ สัตว์ที่กินพืช สัตว์ที่กินทั้งสัตว์และกินพืชก็ว่ากันไป แต่คนนั้นเป็นสัตว์กินพืชรู้ว่ากินเนื้อสัตว์ได้ แต่คนมีปัญญาดีแล้วไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์เพราะไม่ต้องการต่อวิบาก และที่รู้ยิ่งจริงๆในศาสนาเลย ก็รู้ว่าเรื่องของกรรมวิบากมันลึกซึ้งมากที่จะเกี่ยวโยงกันมีวิบากแก่กันและกันไปอีกนานจนกว่าจะปรินิพพานเป็นปริโยสานตามกันไปนั่นแหละ มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นเรื่องที่เป็นบาปเป็นอันมากละเอียดมากตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อาชีวกสูตรว่า บาป เป็นอันมากไม่ใช่บุญเลย ถ้าใครมีปฏิภาณเข้าใจว่าบาปที่มันเกี่ยวกับสัตว์นี้ มันลึกซึ้งมากเลย
-
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจงมุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)
-
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้”
-
สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส เมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ) ชีวกสูตร ล.13 ข.60