620719_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ หมวดแห่งสัมมาทิฏฐิ ตอน 1
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่…https://docs.google.com/document/d/15M4Fv8RT6nmS6jUR24DUlm9BU-rXXpAE4aCfuT2i2rQ/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1aKEBoMqDYgFoDIRSEGiDrPO83IIJOHcG
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2562 ที่บวร ราชธานีอโศก วันนี้เป็นวันที่พ่อครูสมณะโพธิรักษ์อายุได้ 85 ปี 1 เดือน 14 วัน เราได้เข้าพรรษามา 3 วันแล้ว โดยทั่วไปการเข้าพรรษาก็เป็นหน้าที่ของนักบวชในศาสนาพุทธ ที่จะต้องประจำอยู่กับที่ในสมัยโบราณ แปลว่าไปไหนก็จะไปเหยียบข้าวเขาตาย แต่ทุกวันนี้ไปไหนมาไหนก็มีแต่ถนนไม่มีข้าวให้เหยียบ ปีนี้ฝนแล้งประชาชนไม่มีน้ำจะใช้ เขื่อนบางแห่งน้ำเป็นศูนย์เลย เดือดร้อนมาก เราก็ปฏิบัติธรรมไป ญาติโยมก็ได้ตามมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดตามพุทธสถานต่างๆ มาถือศีลปฏิบัติธรรม ถ้าถือศีลอย่างสีลัพพตุปาทานก็คือทำศีลตามเขาไป แต่พวกเรามีการตั้งศีลอย่างปฏิบัติจริงจัง มีการตั้งตบะธรรม
เมื่อวานนี้มี ดญ.น้ำในเพ็ญ เขียนว่า 1.จะไม่พูดคำหยาบข้อ 2 จะไม่ฆ่าสัตว์ข้อ 3 จะไม่ทำชั่ว (พ่อครูว่า…มีเด็กบอกว่า เขาจะไม่ทำชั่ว เขาก็ถามว่าจะไม่ทำชั่วอะไรเขาก็บอกว่าจะไม่ปวดอึ) จะไม่กินจุบจิบจะไม่รับประทานอาหารตอนเย็น
ผู้ใหญ่บางคนบอกว่าจะใช้เงินให้น้อยลงจะใช้เท่าที่จำเป็น
การทำฌานปนกิจกิเลสให้มอดไหม้ คือใช้ปัญญา ปัญญาอยู่ที่ไหนศีลอยู่ที่นั่น ศีลอยู่ที่ไหนปัญญาอยู่ที่นั่น หากจะไปนั่งหลับตาแล้วให้เกิดปัญญาเลยไม่มีทาง จะมีฌานต้องมีศีล จะมีปัญญาต้องมีศีล อานิสงส์ของการมีศีลคือมีความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ เป็นอันดับแรก จิตใจก็สงบขึ้นเป็นปกติเป็นสมาธิ มีญาณปัญญา มีวิมุตติญาณทัสสนะเกิดขึ้นเกิดวิชชาและวิมุตติหลุดพ้น เป็นไปตามลำดับ ในกิมัตถิยสูตร
หากเราทำตามลำดับก็จะได้เป็นพระอรหันต์แน่นอน ปัจจุบันนี้พ่อครูอธิบายเรื่องธรรมะ 2 เราก็มารู้เวทนา 2 ต้องรู้สังกัปปะ 7 ตักกะ วิตักกะ แต่หากไม่มีศีลเป็นเบื้องต้นก็จะเละเทะ ไม่มีเบื้องต้นท่ามกลางบั้นปลาย
พ่อครูว่า…ก่อนอื่นก็โอภาปราศรัยกับ sms
SMS วันที่ 18 ก.ค. 2562
ศาสนาพุทธยินดีในป่าแต่เป็นศาสนาอยู่กับเมือง
_1614พุทธพจน์ ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู คำว่า หลุดพ้น ในที่ทั้งปวง อยู่ ในป่าคนเดียว มีความหมาย อย่างไร
พลังบวก แบบนี้ใช่ไหมคะ copy ข้อความจากสมณะหินแก่น คือ ต้ังใจ ทำใจให้เบิกบานแจ่มใส เมื่อใจดีทุกอย่างก็จะดี มีอะไรมากวนใจให้เศร้าหมองก็ปรับเปลี่ยนใจใหม่ให้ดีเสมอๆ ถ้ากวนมากๆก็อย่าไปสนใจ หรือหาเหตุผลมาหักล้างเช่น เศร้าไปทำไม ไม่มีประโยชน์ ทุกข์เปล่าๆ คิดเสร็จก็ยิ้ม 555 สาธุ
พ่อครูว่า…มันก็น่าสงสัยนะคำว่าอยู่ในป่าคนเดียวไหนบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่ให้ปฏิบัติในป่า พระพุทธเจ้าไม่มีบอกว่าไม่ให้ยินดีในป่า อาตมาเคยพูดบอกว่าอาตมาเป็นคนยินดีในป่าไปอยู่กรุงเทพฯก็สร้างป่าในเมือง อยู่ที่ไหนก็สร้างป่าที่นั่น จิตใจยินดีในป่า ฟังดีๆนะ คำว่าป่า ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นที่น่ารังเกียจคำว่าป่า แต่คำว่าหลุดพ้น
คำว่าป่า ไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจอะไรแต่เป็นเรื่องน่ายินดีด้วยอาตมาเป็นผู้ยินดีในความเป็นป่า
คำว่าอยู่ป่าคนเดียว คุณเอง หากว่าคุณปฏิบัติถูกต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อที่จะบรรลุอรหันต์หลุดพ้น คุณก็ต้องปฏิบัติมานานแล้ว ต้องปฏิบัติทั้งตอนอยู่บ้านอยู่เรือน แม้คุณจะไปอยู่ป่า แล้วคุณเข้าไปปฏิบัติในป่า คุณก็หลุดพ้นในป่าได้ จะอยู่ที่ไหน คุณได้ปฏิบัติตามลำดับได้มรรคผลตามลำดับหลุดพ้นมา อย่าว่าแต่อยู่ในป่าเลย อาตมาอยู่ในห้องน้ำแล้วกำลังเยี่ยว ก็ยังหลุดพ้นเลย บรรลุเลย อย่าว่าแต่อยู่ในป่าเลย อาตมาอยู่ในห้องน้ำคนเดียวก็ยังหลุดพ้นเลย
เพราะฉะนั้นอย่าไปติดยึดในสถานที่ จะต้องเข้าใจในสถานที่ว่าศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาคนป่า โดยเฉพาะต้องตั้งต้นก่อน ผู้ที่มีวิชชาจรณะ ผู้ที่เข้าถึงวิชชาจะระณะสัมปันโน แต่ผู้ที่ไม่มีจรณะ 15 วิชชา8 แล้วผู้นี้ไม่ไปอยู่ป่า
พระพุทธเจ้าตอนออกบวชแรกเริ่มก็หลงอยู่ป่ากับเขาที่เขานิยมกัน ท่านก็ไปปฏิบัติในป่า สุดท้ายท่านก็ไปบรรลุในป่า แล้วท่านก็มาสอน ตั้งแต่ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ท่านก็สอน ว่า ความเสื่อมของภิกษุที่จะแสวงหาธรรมะพระพุทธเจ้าในทางที่ผิดโดยไม่เข้าใจว่าผู้มีวิชชาและจรณะอยู่ในป่า เป็นพระป่า พระที่บรรลุธรรมอยู่ในป่าอย่างนั้นไม่ใช่ นี่แหละคือความเสื่อม พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตั้งแต่ท่านยังอยู่ ศาสนาพุทธเพิ่งเริ่มต้นด้วย ยังไม่รุ่งเรืองเต็มที่ท่านตรัสไว้ในอัมพัฏฐสูตร ซึ่งกล่าวถึงอาจารย์ของ อัมพัฏฐมานพ และอาจารย์
กล่าวถึง ทางแห่งความเสื่อมของชาวพุทธ 4 ประการ
-
ผู้ยังไม่มีวิชชาและจรณะ แต่ไปแสวงหาอาจารย์ในป่า โดยเก็บผลไม้หล่นกินบำรุงชีพ อย่างมักน้อยมากๆ
-
ไม่เก็บผลไม้กิน แต่ถือเสียม ตะกร้า หาขุดเหง้าไม้ หาผลไม้กินระหว่างออกแสวงหาอาจารย์ในป่า
-
สร้างเรือนไฟไว้ใกล้หมู่บ้าน แล้วบำเรอไฟรออาจารย์
-
สร้างเรือนมีประตูสี่ด้านไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แล้ว สำนักรอท่านผู้อยู่มีวิชชาและจรณะอยู่ (อัมพัฏฐสูตร เล่ม ๙ ข้อ ๑๖๓)
ข้อที่ 4 นี้เหมือนกับพวกธรรมกาย เจตนาอ้างว่าหาอาจารย์นั้นส่วนมากต้องการปริมาณคนมามากๆ มาขึ้นกับเขา มาเป็นบริวารมากมาทำทานให้มากเป็นกิเลสที่ซับซ้อน ทั้งลาภยศสรรเสริญโลกียสุข ในข้อ 4 ส่วนข้อ 1 2 เน้นเข้าป่า ข้อ 3 บานเบิกอวิชชา เน้นลาภยศสรรเสริญโลกียสุข อย่างที่มีตัวอย่างคือธรรมกาย
แหมดีนะมีตัวอย่าง
ส่วนที่ว่าอยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสองมันหมายความว่า นามธรรม เพราะลดกิเลสตัณหาได้ละตัณหาปราศจากราคะโดยส่วนเดียว
เอกะ ภาษาบาลี เขาแปลว่าอยู่ผู้เดียวที่จริงแต่ว่าโดยส่วนเดียว เช่น ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียวปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว โลกุตระ เขาเรียกว่าความรู้แบบเฉกาหรือเฉกะ มาจากรากศัพท์ ฉ ที่แปลว่า 6
ถ้ารู้อย่างทั่วไปโลกีย์ รู้ฉลาดสูงสุดได้เป็นศาสดาองค์ใดองค์หนึ่ง สร้างศาสนาเลย หรือรู้ทางโลก เป็นจอมจักรพรรดิเป็นยอดเศรษฐีเป็นคนเก่งกาจสร้างอะไรต่างๆได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดขนาดไหนก็แล้วแต่ ก็เฉกาหรือเฉโกทั้งนั้น
ไม่ใช่การรู้จักกิเลสแบบทฤษฎีศาสนาพุทธ ตรัสไว้เลย จำเพาะไว้เลยว่า การรู้ของศาสนาพุทธนั้นแตกต่าง จากชาวโลกโลกีย์ทั้งหลายเขาออกมาเรียกว่า อัญญา เป็นอื่นจากอันนั้น อัญญะ เป็นอันใหม่อันอื่นเลย อัญญธาตุ
เริ่มต้นตั้งแต่พยัญชนะ อัญญะ เป็นจิตที่เกิดรู้อันนี้ขึ้นมา เป็นอัญญธาตุ จิตก็เข้าสู่กระแสโลกุตระ พอเข้าอัญญะก็มาเป็นอัญญา เป็นความรู้อื่นที่ต่างไปจากความรู้โลกีย์ทั้งหลาย แล้วมาเจริญเป็นพยัญชนะอย่างอื่น กัญญา ธัญญา ถัญญา ภัญญา สัญญา
สัญญา มี 2 อย่างคือเป็นโลกิยะหรือเป็นโลกุตระก็ได้ฆ
กัญญา ก็เป็นโลกิยะแปลว่าผู้หญิง หรือ เป็นความเจริญไปเรื่อยๆยังเป็นอิตถีภาวะ
ซึ่ง มันละเอียดลออ แต่ถ้าอัญญา หรืออัญญธาตุ จนถึงขั้นที่เป็นปัญญา
อักษร ป เป็นอักษรตัวต้นของพยัญชนะบาลีแถวที่ 5มีอักษร ป ผ พ ภ ม เป็นตัวดำเนินบทบาท ส่วน กข ฆ ค ง เป็นตัวเริ่มต้น
รากเหง้าของภาษาบาลี
วรรคที่ 1 ก ข ค ฆ ง
วรรคที่ 2 จ ฉ ช ฌ ญ
วรรคที่ 3 ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรคที่ 4 ต ถ ท ธ น
วรรคที่ 5 ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
จนเจริญเต็มคือ ม เป็นตัวจิตวิญญาณ
ก เริ่มต้นเป็นตัววัตถุ
ม เริ่มต้นที่เป็นตัวจิต
อักษรเหล่านี้คือสภาวะที่อาตมาก็ไม่เก่งเท่าไหร่ แต่ก็พยายามอธิบายเท่าที่มีภูมิปัญญา ส่วนเศษวรรค คือพลังงานในระดับที่ มันจะเป็นตัวสภาวะต่างๆที่เป็นรูปธรรม แล้วก็มีนำมาทำทำงาน เริ่มต้น ย ร ล ว ส ห ฬ อํ เป็นนามธรรมที่มักจะมาประกอบและยังมีสระอีก อะ เป็นเอกพจน์ ส่วนอา เป็นพหูพจน์ขึ้นมา
อะ อา อิ อี อุ อู
โอ ก็เป็นรอบหมุนที่ครบ
พยัญชนะตัวต่างๆเหล่านี้อาตมาก็ค่อยๆเติมความรู้ไป เราเป็นอะไรก็แล้วแต่ต้องใช้ภาษาคำพูด พยัญชนะเป็นตัวบอกภาษา ภาษาคำพูดจะเกิดก่อนพยัญชนะ สภาวะเกิดก่อนภาษา พยัญชนะก่อตั้งมาเรียกสภาวะก็ค่อยๆละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
คำว่า หลีกเร้น เหมือนกันเลย อยู่แต่ผู้เดียวไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว คือหมายความว่า ชีวิตก็มี แต่กิเลสไม่มีเลยหนึ่งเดียวเท่านั้นไม่มีสอง ไม่มีเพื่อน 2 ไม่มีกิเลสเป็นเพื่อน 2 จะมีธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ธาตุแท้ธาตุเดียวความถูกต้องอันเดียว
ภิกษุมีปกติอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ เสียง… กลิ่น… รส… ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ (มโนวิญเญยยา) อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่
ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นในธรรมารมณ์นั้นอยู่ ฯลฯ เมื่อไม่ยินดี ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง (น โหติ นันทสัญโยชนสัง)
แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในที่สุด-บ้านก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว (เอกวิหารีติ)
มิคชาลสูตร ล.๑๘ ข.๖๗
พ่อครูว่า…ไม่มีเพื่อน 2 คือไม่มีกิเลสตัณหาอุปาทาน
มีจิตว่างนี้ก็ไม่ใช่ว่างโดยไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบยืนยัน ว่ามันว่างอย่างไร เขาก็ว่าว่างๆ แล้วพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าจิตว่างนั้นว่างจากกิเลสตัณหาอุปาทาน ไม่มีกิเลสเป็นเพื่อนสองเลย มันว่างไปหรือหมายถึงขีดขั้นที่เป็นศูนย์
0 นี้ไม่มีกิเลสเลย ตอนเป็นๆก็ต้องรู้ความ 0 อันนี้
มันว่างคือว่างจากกิเลสตัณหาอุปาทานโดยละเอียดมีแต่รู้ความจริงตามความเป็นจริง
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวาย(ทรถา) ชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะ และชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ (พ่อครูว่า…ไม่มีไม่มีอาการหงุดหงิดเล็กน้อยนิดหน่อยอย่างไรก็ไม่มี)
มีไม่ว่างอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย (ทรถา) คือความเกิดแห่งอายตนะ๖ (ที่)อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
(จูฬสุญญตสูตร ล.๑๔ ข.๓๔๑)
ธรรมะพระพุทธเจ้าท่านถึงใช้คำว่า คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) . ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น) (พตปฎ. เล่ม ๙ ข้อ ๓๔) ในพรหมชาลสูตรท่านจ่าหัวไว้เลย
เห็นตามได้ยาก ทุทัสสา คือมันยากที่จะรู้ที่จะเห็นตามได้
ทุรนุโพธา คือโพธินี้คือโลกุตระ หรือโพชฌงค์ เป็นการรู้แบบโลกุตระเป็นความรู้แบบพระพุทธเจ้าไม่ใช่ความรู้แบบเฉกา
ตั้งแต่อัญญา ปัญญา ที่เป็นธาตุรู้ของศาสนาพุทธทั้งนั้น ความรู้อื่นที่ไม่ใช่ความรู้
อาตมามาชาตินี้ไม่ได้เน้นเรื่องความรู้ทางโลก หรือพยัญชนะ แต่เน้นสภาวะ หัวสมองอย่างอาตมาน่าจะได้ปริญญาสักใบ ก็น่าจะได้ แต่ไม่มีโอกาส อาตมาเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ แต่ไม่ได้ไปเรียนเลย ที่จุฬาก็ยังไม่ถึงขนาดลงทะเบียน อ.ตอนมัธยมจะให้อาตมาไปเรียนสายสื่อสาร ยุคแรกเช่น สมิต ที่เป็นคนอยู่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือคนรุ่นแรกของสื่อสารมวลชนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้ไปเรียนเพราะว่าอาตมาต้องทำงานโทรทัศน์ รายการออกหัวค่ำ ภาคทไวไลท์ ภาคเย็น ส่วนกลางวันก็ทำงานเต็มเวลามีตอนเย็นอีกที่เป็นเวลาพักก็มาทำงานอีก อาตมามีรายการเกือบทุกวันบางวันวันละ3 รายการ เป็นรายการวิชาการ ติดต่องานการ โอ้โห อาตมาติดต่อคนใหญ่คนโตต้องเอามานำเสนอ คือมันเป็นรายการสารคดี มันไม่มีสปอนเซอร์ไม่ใช่บันเทิง หาสปอนเซอร์ได้ยากเพราะเขาไม่ค่อยเอากันเขาก็เหมามาให้อาตมาหมด อาตมานี่เป็นเบ๊ รับใช้ทำงานมากแต่รายได้น้อย พระเอกเขาได้ 150 อาตมาได้ 80 อย่างนี้เป็นต้น ที่จริงเป็นฐานะที่อาตมาจะต้องเป็นแบบนี้ไม่ต้องริษยาจะต้องอดทนไม่ต้องไปแข่งกับใคร
นิมนต์จิบน้ำ
สมณะฟ้าไท…ศาสนาพุทธต้องยินดีในป่าแต่ไม่ติดป่าไม่ปฏิบัติธรรมในป่า จะเป็นศาสนาเมืองผู้บรรลุธรรมจะต้องไปสู่เมือง พระอรหันต์ 60 องค์แรกก็ให้ไปในเมืองรูปพระองค์อย่าไปที่ซ้ำกัน แม้เราก็จะไปอีกแห่ง พ่อครูพาอยู่เมืองแต่สร้างป่าในเมืองให้สิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นการเกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมลดละกิเลสได้ มันไม่ดีเราก็สร้างให้มันดีที่มันดีอยู่แล้วเราก็สร้างให้ดียิ่งขึ้น เราสร้างป่าในเมือง
พ่อครูว่า…ศึกษาดีๆ บางที พูดได้ละเอียดละออไม่ได้ครบง่ายๆ
_ເກດມະນີ ສຸກສະຫວັນ · ກາບນະມັດສະການທ່ານສາມະນະສິຂະມາດ ຈະເລີນທັມ ຂໍຕັ້ງຕະບະຈະກິນເຂົ້າຄາບດຽວ ແຕ່ຖ້າບໍ່ໄຫວຂໍເປັນໝາກໄມ້ໜິດນ່ອຍ?
(เกษมณี สุขสวรรค์ กราบนมัสการ พ่อท่าน สมณะ สิกขมาตุ เจริญธรรม ขอตั้งตบะ จะกินข้าวคาบเดียว แต่ถ้าบ่ไหวขอเป็นหมากไม้นิดหน่อย)
_ปิ๋ม วิไลรัตน์(จากสวีเดน) กราบนมัสการพ่อท่านที่เคารพอย่างสูงค่ะ เมื่อวันที่ 17ก.คพ่อท่านได้แสดงธรรมมีหัวข้อหลายหัวข้อที่ดิฉันสนใจค่ะ หัวข้อหนึ่งที่สนใจเป็นพิเศษ คือรูป 28 ซึ่งดิฉันได้พยายามเรียนรู้เข้าใจหัวข้อนี้มาเรื่อยๆค่ะ จนได้เข้าใจได้หลายหัวข้อต้นๆของรูป 28 แล้วค่ะ
คำถามแรกคือรูป 28 กับรูปขันธ์คืออันเดียวกันใช่ไหมคะ
พ่อครูว่า…รูป 28 อธิบายให้สมบูรณ์แบบได้ยาก แม้แต่พระป่าเรียนจบเปรียญ 9 ปริญญาเอกก็ไม่ได้อธิบายได้ง่ายๆ เรื่องของความปฏิสัมพันธ์ของรูป 28 ไปถึงอุปาทายรูป 24 ถึงวิการรูป อาตมาก็ค่อยๆอธิบายไป
คำถามแรก รูป 28 เอาไปแตกแยกอธิบาย บางตัวก็เป็นรูปขันธ์ มันมีภาวะ 2 ก็เป็น2 แล้ว แล้วก็ภาวะ 2 ก็ค่อยมาถึงหทยรูป ก็รู้ว่ามันมีชีวิตไหม ชีวิตรูป มันมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตแล้วก็ต้องอ่าน ในชีวิตรูป มันก็จะมีแรงแห่งชีวิต ถ้าเป็นชีวิตของโลกียก็เป็นอย่างหนึ่งชีวิตของโลกุตระก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นสัตว์โลกที่เป็นโลกุตรสัตว์ได้ ชีวิตก็จะเจริญ
เรียนรู้อุปาทายรูปก็จะรู้ว่าตัวเองจะเดินอย่างไรต่อไป
เช่น ถ้าเราจะให้มันหมดชีวิต กิเลสมันเป็นชีวิต เราก็ต้องให้มันหมดชีวิต หมดอินทรีย์หมดพละของกิเลส แล้วมีอินทรีย์พละของอาริยบุคคล เป็นผู้ที่หลุดพ้น ซ้อนในชีวิต
อาหารรูป คือ เครื่องอาศัย
อาหารรูป อย่างลึกซึ้ง
_คำถามที่ 2 รูปขันธ์นี้เป็นลักษณะของทั้งคนและสัตว์เดรัจฉานด้วยไหมคะแต่คงไม่ได้รวมถึงพืชใช่ไหมคะ เพราะพืชคงไม่มีหทัยรูปใช่ไหมคะ
คำถามที่ 3 พ่อท่านบอกอาหารรูปมีอยู่ 1 คือ กวฬิงการาหาร แล้วพ่อท่านก็พูดต่อไปว่าซึ่งก็จะนำไปสู่วิญญาณอาหาร อันนี้แหละค่ะขอให้พ่อท่านช่วยขยายหน่อยได้ไหมคะ ที่พ่อท่านพูดสั้นๆเอาไว้ คือถ้าในรูป 28 มีอาหารรูปแค่เพียงหนึ่ง ฉะนั้นอาหารอย่างอื่นอย่างเช่น วิญญาณอาหารซึ่งเป็นเรื่องของนาม มีอาหารอะไรอีกบ้างบ้างคะ ขอให้พ่อท่านช่วยอธิบายเพิ่มด้วยค่ะ ดิฉันจำได้ว่าพ่อท่านเคยแสดงธรรมเรื่องนี้แล้วแต่ขอให้ทบทวนให้ใหม่ด้วยค่ะ ขอกราบขอบพระคุณและกราบนมัสการค่ะ
พ่อครูว่า…อาหารที่ว่านี้ ก็ย้อนไปที่อาหาร 4
เมื่อไปปฏิบัติอาหารอยู่ใน อุปาทายรูปคือ การสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็จะเกิดสภาวะที่เป็นรูปที่ใจ
รูปที่ใจนี่แหละในอาหาร 4 มันมี
๑. กวลิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม) . .
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) .
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) . .
๔. วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ กำหนดรู้นาม-รูป . อันเป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่แห่งสังขาร เพื่อการเกิดในภพใหม่ คือมีปัจจัยเกิดชาติชรามรณะ ทุกข์ และความคับแค้น) .
(ปุตตมังสสูตร พตปฎ. เล่ม ๑๖ ข้อ ๒๔๑-๒๔๔)
อาหารคือคำข้าว เอาตัวนี้มาเป็นตัวอย่างอธิบาย จะเป็นทางเสียงจะเป็นทางตา จะเป็นทางอาหารที่รับรสทางลิ้น เป็นการติดอย่างหนักหนาสาหัส แม้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ต้องกินอาหารแต่ รูปเสียงกลิ่นก็ไม่มีก็ได้ กิเลสทั้งหมดอยู่ในอาหารที่เป็นตัวหลัก
เพราะฉะนั้นในอาหาร 4 มันจะต้องมีตัว ผัสสะ มโนสัญเจตนา ด้วย
ถ้าคุณไม่ผัสสะของจริง ก็จะเป็นนึกว่าอาหารที่เราเคยกินเป็นอย่างไร
แล้วเจตนา นี้มี 3 คือ เจตนาเป็นกามตัณหา เจตนาเป็นภวตัณหา เจตนาเป็นวิภวตัณหา 3 อย่างนี้
เจตนาที่เป็นกามตัณหาเกิดจากกามคุณ 5 เป็นเบื้องต้นคุณยังมีอยู่ก็ต้องทำให้มันหมด กามตัณหามีกามาวจร มีการสัมผัสทางรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอยู่ในชีวิต ปฏิบัติเริ่มต้นนี้ได้คุณก็ไม่ต้องไปนั่งหลับหูหลับตาปิดทวารทั้ง 5 แต่ลืมตาอยู่นี่แหละ แล้วเป็นพระอนาคามี หมดกามตัณหาก็เหลือ ภวตัณหา คุณก็ล้างกิเลสรูปราคะ ล้างได้ก็เหลืออรูปราคะ หมดภพ 3 ภพนี้แล้วก็เหลือแต่วิภวภพ
ล้าง มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และอนุสัยอีก คุณก็ต้องรู้ภพชาติเหล่านี้หมด สภาวะที่มันมีกิเลสเท่าธุลีละอองขนาดไหน เพราะฉะนั้นคุณจะต้องรู้รูปนามถึงจะรู้ชัดแยกแยะได้ ถึงจะรู้ถึงวิญญาณอาหาร รู้จากนามรูป ธาตุ 2
หากว่าไปนั่งสะกดจิตอยู่อย่างเดียวนั้นมันคนละทิศคนละทางแล้ว อาตมาจะขยายผลเอาหลักฐานมาขนาดไหนหนอ พวกนั่งหลับตาสมาธิถึงจะรู้ ที่บอกว่า ผางบรรลุผาง บรรลุปึ๊ง สว่าง อะไรก็แล้วแต่ อาตมาก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร เมื่อไหร่ท่านจะเข้าใจได้ ท่านก็ยังจมอยู่อย่างนั้นเมื่อไหร่คุณจะออกมา คุณเล่นปิดประตู คุณเปิดประตูรับแล้วจะมีปัญญา มันไม่ได้หายไปไหนปัญญามันจะรู้หมดบรรลุด้วยปัญญา
อาตมามีของเก่าที่ไปนั่งหลับตาที่มีสัญญาแบบโลกๆ ก็ยังสามารถเอามาอธิบายได้ แม้ในชาตินี้ก็ยังเป็นลิงลมอมข้าวพองไปนั่งหลับตากับเขา ก็รู้มีสัญญารู้มันไม่หายไปไหนแต่รู้ว่าอะไรใช่อะไรไม่ใช่อะไรเป็นเนื้อแท้ของโลกุตระอะไรที่ไม่ใช่ จะชัดเจน คือรู้สองอย่างมีสองอย่างเลย แต่ที่มีสองอย่างอย่างไม่ใช้ก็ปิดใส่เซฟ หรือเอาไปจมในทะเลที่หายไปเลย แต่สัญญามันไม่ได้ลืมง่ายๆ
สรุปที่ปิ๋มเขาถามมา บอกว่า ก็อธิบายผ่านมาแล้ว กวฬิงการาหาร จะนำไปให้เรียนดูอาหาร 4 ได้
ต้องรู้นาม 5 เวทนาสัญญาเจตนาผัสสะ มนสิการ ต้องดูอาหาร 4 ก่อน หากแยกแยะไม่ได้ว่ามันมีเหตุปัจจัยสัมพันธ์กันยังไงก็ขยายไม่ออก
ส่วนอาหาร 4 อาตมาไม่เก่งกว่าพระพุทธเจ้าเราอธิบายได้แค่อาหาร 4 ส่วนเครื่องอยู่อาศัยที่เป็นอย่างอื่นอีกมีอีกเยอะแยะ อาหารสัปปายะ ธรรมะก็สัปปายะ ธรรมะก็รวมหมดเลย (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) ไม่บอกให้พักก็พักเองก็แล้วกัน
สมณะฟ้าไท…การตัดกิเลสพวกเราชาวอโศกจะเรียนรู้เรื่องอาหารกายเป็นสำคัญ พ่อครูว่า..ตัดกิเลสเรื่องกินได้กิเลสก็หมดไปครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย เมื่อกายเราก็เบา แน่นอนจิตวิญญาณเราก็เบาแน่นอน ทำให้จิตมุทุภูตธาตุ
ปฏิบัติเป็นลำดับจึงบรรลุจริงตามลำดับ
พ่อครูว่า…ตั้งใจติดตามไปดีๆ
พยายามเรียนรู้และปฏิบัติไปตามลำดับจะไม่สับสน ถ้าคุณไม่หลุดพ้นไปจากหยาบกลางละเอียด คุณจะเอาแต่ รู้ ๆ ๆๆ รู้อย่างไรก็ยากในสิ่งที่ลึกซึ้งขึ้นไป จะใช้ตรรกะมาแทนความรู้ในขั้นละเอียด ยากมาก ฐานต้น ต้องปฏิบัติหลุดพ้นทิ้งออกมาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้น ฐานอบายมุขคุณยังไม่ทิ้งแล้วจะไปรู้ฐานของกามได้อย่างไร
ฐานกามไม่ทิ้งแล้วจะไปรู้ฐานของรูปได้ละเอียดละอออย่างไร
มันเกี่ยวพันกันถ้าเขียนเป็นวงกลมมันก็เหลื่อมสัมพันธ์กันอยู่ คุณไม่ทิ้งเรื่องกามคุณไม่ทิ้งเรื่องอบายมุข แต่คุณก็ยังมีสัมผัส เหลื่อมกันอยู่ จะไปได้อย่างไร พอไปอีกสามสี่ห้าชั้น คุณจะไปยืดตัวที่ติดอยู่อย่างไร 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น 8 ชั้น มันจะไปกับคุณหรือ
หากว่าเอาแต่ถามโดยไม่ทิ้งเบื้องต้นมา อาตมาบอกเป็นรูปธรรมอย่างมหาบัว ติดสิ่งเสพติดที่หยาบแม้กระทั่งหมากไม่ขาดปากนะ ติดหนัก แล้วจะไปรู้ขั้นละเอียดที่เป็นอนาคามีหรือเป็นอรหันต์อะไรต่ออะไร คุณจะรู้ได้อย่างไร มันจะขาดมันจะสะอาดและความบริสุทธิ์อยู่ตรงไหน
ความบริสุทธิ์ก็คือความบริสุทธิ์ของโลก อบาย สิ่งเสพติดคุณยังไม่ขาดเลย สิ่งเสพติดขั้นอบายมุข ขั้นต่ำสุด คุณยังไม่ขาดเลย แล้วก็จะไปรู้ความสะอาด คุณยังไม่ขาดจากสิ่งที่เป็นกิเลสสิ่งสกปรกแล้วคุณจะไปรู้ความสะอาดตรงไหน ฟังความนี้ให้ชัด
สิ่งที่ปนเปื้อนยังมีอยู่แม้จะเหลือน้อยเท่าไหร่มันก็ยังปนเปื้อน แต่ความขาดสนิท อบายมันต่ำสุดแล้วคุณก็ยังไม่รู้จัก ปริสุทธา ความบริสุทธิ์จากของหยาบที่สุดคืออบาย คุณก็ยังไม่ขาด เบื้องต้นอย่างน่าอัศจรรย์
พระพุทธเจ้าจึงได้ปรับการปฏิบัติที่เป็นลำดับอย่างน่าอัศจรรย์ หากไม่เป็นลำดับมันก็จะยืดไปอย่างไม่เป็นลำดับ ขั้นที่ 1 คุณยังไม่บริสุทธิ์สะอาดเลย คุณจะรู้จักความสะอาด ปริสุทธาตรงไหนชัดเจนขึ้นไหม
ปหาราทสูตร
-
มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
- พระธรรมวินัยมีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
- น้ำในมหาสมุทรมีปกติคงที่ไม่ล้นฝั่งสาวกทั้งหลายของเรา ย่อมไม่ละเมิด สิกขาบทที่บัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
- มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นจนถึงบนบกทันที สงฆ์ (ในพระธรรมวินัยนี้)ไม่ร่วมกับผู้ทุศีลและจะขับไล่ให้ไกลจากสงฆ์
- มหานทีทุกสาย ไหลลงสู่มหาสมุทร แล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่ามหาสมุทรทั้งสิ้น
- คนในวรรณะ ๔ เหล่า คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เมื่อออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่าสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ทั้งสิ้น
- แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลไปรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหา สมุทรพร่องหรือเต็มได้
- ในพระธรรมวินัยนี้ แม้มีภิกษุจำนวนมาก่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-นิพพาน ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้
พ่อครูว่า…เอาคำสอนพระพุทธเจ้ามายืนยันถึงจะครบ ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ครบครันแล้วต้องมีปัญญาตั้งแต่ ศีลต้องมีปัญญา ฌานก็ต้องมีปัญญา ศีลไม่มีปัญญาไม่ได้มีแต่ เฉกาเฉโก หรือฌานก็ต้องมีปัญญาควบคู่ ขาดปัญญาไม่ได้จะเอาแต่สัญญา
ปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้าหากไม่รู้สภาวะของสัญญาและปัญญาไม่ได้ แม้แต่พืชมันก็มีแต่สัญญากับสังขาร
สัญญา คือการกำหนดรู้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นความรู้ พืชมันมีความรู้ว่าจะเอาถ้าตัวไหนไปปรุงแต่งสังขารเป็นตัวมัน มันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขไม่มีธาตุของพยาบาทรักหรือชัง เป็นธาตุรู้ที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นธาตุรู้แค่ พีชนิยาม ยังไม่ถึงขั้นจิตนิยามที่เป็นวิญญาณ
รายละเอียดต่างๆพวกนี้จะต้องมาเข้าใจสภาวะ
หากว่าอาตมาเป็นพระโพธิสัตว์ระดับ 8 ก็คงอธิบายได้เก่งกว่านี้อีกเยอะ จะไปเก่งกว่าตัวเองก็ไม่ได้ คนที่เก่งกว่าจะมาเป็นระดับ 8 สูงกว่าอาตมามีอยู่หรือไม่ก็มาช่วยน้องหน่อยสิพี่
_เป็น ตรีลักษณ์ หรือองค์ 3 ของสถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ สู่ยุค ศิวิไลของประเทศอย่างนี้
-
คสช.ได้เสร็จสิ้นภารกิจ (คืนความสุขให้ประเทศไทย) อย่างสมบูรณ์ในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2562 ส่งต่อให้นายกฯตู่ นำครม.เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ กล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสมเด็จพระราชินี(ยังไม่มี นาถ ถ้า นาถ จะต้องเคยสำเร็จราชการแทนพระเจ้าอยู่หัว)ก็เริ่มปฏิบัติงานรับใช้ประชาชาติอย่างเป็นทางการ
- ประกาศวันที่ 16 เป็นวันอาสาฬหบูชาขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 พุทธศาสนิกชนพุทธมามกะพุทธบริษัท 4 ได้น้อมรำลึกถึงวันที่พระพุทธศาสนามีครบองค์ 3 ของพระรัตนตรัยสืบเนื่องจากปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
- อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม (ยังไม่ถึง) เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นศูนย์รวมใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่าที่จะได้ถวายพระพรแด่พระองค์ท่านทั่วประเทศทั่วโลก
พ่อครูว่า…ก็เป็นการแสดงความเห็นว่ามีแน่นอน เป็นการแสดงความภักดีต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาในวันนั้น วันนั้นแน่นอนนายกฯตู่ก็ต้องทำเต็มที่ ข้าราชบริพารหรือแม้แต่มวลประชาชนคนไทย ถึงเวลานั้นวันนั้นก็ต้องทำกันไปจะมีพฤติกรรมอย่างไร โอ้โห นี่มีเรียงเต็ม อดีตปัจจุบันอนาคตต่อไปนำทาง
_จาก…ลูกหนอนใต้ต้นโพธิ์
ตั้งแต่พ่อครูเทศน์เรื่องที่พ่อครูบอกว่า “อาตมาทำตัวเล็กที่สุด บนจุดปัจจุบัน เล็กที่สุดจนไม่มีตัวตน” ทำให้ลูกปิ๊ง ขึ้นมาว่า ปัจจุบันนั้นมันไม่นานอะไรเล๊ยยยย!!! เช่น กำลังจะคิดว่า เวลานี้คือปัจจุบันนะ มันก็กลายเป็นอดีตไปซะแล้ว
จากนั้น ติดตามฟังและทบทวนสภาวะเรื่องทำปัจจุบันจากพ่อครูอย่างต่อเนื่อง ทำให้พิจารณาได้ว่า ณ จุดเล็กๆเพียง 1ในล้านของเสี้ยวของวินาที (ไม่รู้ว่าจะเปรียบเทียบความเล็กที่สุดของเวลาในปัจจุบันด้วยหน่วยอะไรค่ะ)
ณ เวลานั้นเมื่อมีผัสสะมากระทบ เกิดเวทนา เกิดกาย เกิดรูป เกิดนาม ให้เรามนสิการถึงแดนเกิด ถึงเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ มากมาย 108 ประการ ถ้าทำตามพ่อสอน ลูกจะจับคู่อารมณ์นั้นว่า สิ่งไหนเป็นเคหสิตตะ สิ่งไหนเป็นเนกขัมมะ
จิตอกุศลต่างๆก็ kick it out ออกจากจิต เหลือจิตที่เป็นกุศล จนเกิดวจีกรรม กายกรรมเป็นกุศลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
ช่วงที่ทำใจอยู่ถ้าได้ฝืนไม่ตามใจตัวเอง ลดความเห็นแก่ความสบายของตัวเอง ทำตามมติหมู่ หมู่ให้อะไรเราทำ คิดว่าหมู่ไว้ใจ มั่นใจว่าเราจะช่วยหมู่กลุ่มได้ เป็นสิ่งจะที่ทำเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะทำเรื่องของตัวเอง
ณ วินาทีที่ชนะใจตัวเองได้ เหมือนได้เหรียญทอง ยิ่งขัดใจไม่ตามใจตัวเองได้เมื่อใด เหมือนสะสมเหรียญทองได้ทุกครั้ง(จิตมีผรณาปิติ) ทำให้ผลในปัจจุบันนั้นมีแต่กุศล จิตดิ้นน้อยลงเพราะสภาวะอิตถีลดลง
ยิ่งตามฟังและทบทวนสภาวะไปอย่างต่อเนื่อง พ่อครูบอกว่าไม่ต้องหวังผลใดๆ ทำเหตุในปัจจุบันนั้นให้เป็นบุญ ในทุกวินาที ผลที่เกิดขึ้นจะตามมาเอง เจ้าอย่าหวัง อย่าสาเปกโขกับผลในอนาคต ทำจุดเล็กๆ(เหตุ)ในปัจจุบันนั้นให้มีแต่ดีก็พอ
ลูกพยายามทำตามพ่อสอนอย่างนี้ถูกมั๊ยคะ ขอความกรุณาพ่อครูแนะนำลูกด้วยค่ะ
น้อมกราบขอบพระคุณพ่อครูสุดเกล้า สุดเศียรค่ะ
พ่อครูว่า…ถูกต้องแล้ว ที่พูดมานี้ดี อธิบายไปถูกต้องใช้ได้
พ่อครูว่า…คอมเม้นที่จะมีต่อต้านก็มี พวกที่ด่าทอหยาบคายแสดงว่าเห็นว่า เขาอยู่ในดินแดนที่หยาบไป เราก็ไม่ต้องเอาเรื่องมากหรอก เพราะว่าเขาอยู่ในฐานที่หยาบมาก จะพูดกันอย่างละเอียดก็คงจะพูดกันยาก เราก็ต้องเข้าใจฐานะของบุคคล ต้องเอาแต่ที่พูดกันรู้เรื่อง โดยเฉพาะผู้ที่หยาบคายมามากๆพูดมาอย่างกระแทกแดกดันเพื่อจะให้สะใจไม่ตั้งใจจะศึกษาเราก็ไม่เสียเวลามาก ส่วนผู้ที่แสวงหาศึกษาจริงๆอันนี้น่าเห็นใจ เราก็ชอบที่จะเอามาอธิบายเพราะมันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา อาตมาก็ทำไป อาตมายังรู้สึกว่าตัวเองอธิบายยังไม่เต็มที่ของตัวเองรู้สึกว่าไม่ครบดีถ้วน
อย่างพระพุทธเจ้าท่านมาประกาศศาสนา ท่านก็ประกาศกับสังคมสาวกสมัยพุทธกาลประกาศกับโลกว่า เราได้อธิบายหมดแล้ว เหมือนกำมือแบ แต่ ท่านก็บอกแต่เพียงว่า ใบไม้ในกำมือเดียวนะ แต่ใบไม้มันมีทั้งป่า พระพุทธเจ้าถึงไม่ได้สอนโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าสมณโคดมองค์นี้ไม่ได้สอนเรื่องของพระโพธิสัตว์ ปล่อยให้โพธิสัตว์อย่างอาตมานี้ มาหนักหนาลำบากลำบนอยู่นี่ ท่านไม่ได้สอนโพธิสัตว์ แต่ท่านสอนให้บรรลุอรหันต์เท่านั้น
ในพยัญชนะในพระไตรปิฎกของพระสมณโคดมที่เก็บมา มันจึงมีความรู้อรหันต์ในระดับใบไม้กำมือเดียว แต่อาตมามันมีความรู้โพธิสัตว์มาแล้ว มาพบพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ก็มีมาแล้ว แต่ท่านไม่ได้อธิบาย เป็นแต่เพียงพาดเพิงต้องเข้าใจโดยปริยายไปเองเท่านั้น อาตมาอยู่กับพระพุทธเจ้ามาแล้วก็ศึกษามาโดยปริยาย
พระพุทธเจ้าท่านเน้นสอนแต่อรหันต์ ท่านจึงบอกหมดแล้ว 80 ปีท่านก็ปรินิพพานแล้วไม่ไหว ขออธิบายซ้อนอันนี้ เกินกว่ามนุษย์จะคิดได้
พระสมณโคดมเป็นผู้ที่สอน มาประกาศศาสนามีมาฆบูชาครั้งเดียว มีพระอรหันต์ที่มาโดยไม่ได้นัดหมายแค่พันสองร้อยห้าสิบองค์ น้อยที่สุดแล้ว ของพระพุทธเจ้าบางพระองค์นั้นมีพระอรหันต์มารวมกันหลายล้านองค์ มีมาฆบูชาตั้งหลายครั้ง
คนก็เข้าใจว่าสมณโคดมยังไม่สูง ยังเป็นพระพุทธเจ้าชั้นต่ำ ซึ่งเข้าใจผิด พระสมณโคดมนี่แหละสูงกว่าองค์ที่มีอรหันต์หลายล้านองค์ คนที่มาประกาศหลายล้านหนักหรือเบากว่าสมณโคดม ก็งานหนักกว่านะ ของพระสมณโคดมงานเบากว่าง่ายกว่าสบายกว่าและท่านก็จบไป คนที่เป็นพระพุทธเจ้าสอนมาจนเป็นพระโพธิสัตว์อย่างอาตมา สอนมาจนเมื่อย แล้วพระพุทธเจ้าสมณโคดม ก็เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ เป็นโพธิสัตว์องค์โต เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ขึ้นไปสูงแล้วก็ลงมาต่ำ อธิบายเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ที่สุด มีมาฆบูชาหลายครั้งมีสาวกเป็นล้าน เสร็จแล้วก็ลดลงมา ช่วยเหลือสุดท้ายแล้ว ท่านก็ต้องตรวจให้ครบวงจรความเป็น 0 กับความไม่มีที่สิ้นสุด ท่านจึงประกาศความเป็นพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระพุทธเจ้าสมณโคดมก็จะไปเทียบกับว่าสูงหรือต่ำกว่าองค์อื่นไม่ได้หรอก ไม่มีองค์ไหนต่ำกว่าองค์ไหนหรอก
เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดไปแล้วพระพุทธเจ้าสมณโคดมสูงกว่าพระพุทธเจ้าที่มีมาฆบูชา 100 ครั้งอะไรอย่างนี้ เพราะพระพุทธเจ้าบางองค์ พระพุทธเจ้าสมณโคดมจะต้องทำมาเกินสุดขีดของพระพุทธเจ้า จะต้องมีมาฆบูชาอีกครั้งในศาสนาของพระองค์ แล้วจะต้องมีพระสาวกพระอรหันต์มาประชุมกันเป็นกี่แสนกี่ล้าน อาตมาไม่มีภูมิรู้ถึงอัตราอันนี้ที่เป็นพระพุทธเจ้า ปาง 8 อาจจะรู้นะ ปาง 7 ยังไม่รู้ แต่รู้แล้วว่าไม่มีพระพุทธเจ้าองค์ไหนสูงหรือต่ำกว่ากัน
หากว่าคุณได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คุณอยากเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สูงสุดไหมล่ะ เออ ทั้งที่พระพุทธเจ้าเบาทุกอย่าง เป็นอรหันต์มันก็ไม่มีทุกข์เป็นโพธิสัตว์ก็ไม่มีทุกข์ ยิ่งเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพทธเจ้าก็ไม่มีทุกเข์แล้ว งั้นก็สอนไปดีกว่าพิสูจน์สิ่งที่เป็น cyclic order ความครบของทุกอย่างที่จะครบจึงจะถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์แบบ เป็นพระพุทธเจ้าได้แล้วทำไมไม่เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สูงสุดให้ครบ และผู้ที่เรียนรู้เป็นพระพุทธเจ้าไม่ต้องเอามาก คุณมีภูมิปัญญาความเฉลียวฉลาดสามารถเรียนได้ก็ยิ่งเจริญ เพราะอันนี้ใช้ชีวิตแต่ละชาติไป คุณมีทั้งสมองมีทั้งเวลาที่ไม่จำกัด คุณจะตั้งเป็นพระพุทธเจ้าในอีกกี่กาละก็ไม่กำหนดหรอกไม่เสียภาษีด้วย จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ ต่ำองค์สูงก็ต้องไปได้ไม่ต้องเสียภาษีไม่ต้องเสียอะไรเลย คุณทำไมจะไม่ทำ
เพราะฉะนั้นความเที่ยงแล้ว เป็นโพธิสัตว์ก็เข้าใจอันนี้แล้วโพธิสัตว์ก็มีความเที่ยงแล้ว แน่นอนต้องเอาความเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้แน่นอน พระพุทธเจ้าองค์ที่เที่ยงแล้วและจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สูงสุดยิ่งจะเป็นความเที่ยงใหญ่ แล้วท่านทำไมไม่เอานึกออกไหม ทำไมท่านจะไม่เอา เพื่อจะให้รู้ที่สุดแห่งที่สุดของทุกอย่าง พระพุทธเจ้าก็เป็นผู้ที่สุดจนไม่มีที่สุดอีกแล้ว พยัญชนะใช้คำว่าไม่มีที่สุดนั่นแหละคือมันสุดจนไม่มีอะไรที่อีกแล้ว ไม่มีที่สุดเป็นผู้รู้ที่มีที่สุด ก็คือที่สุดแห่งที่สุด ที่สุดแห่งที่สุดก็คือคน พระเจ้ามาพูดไม่ได้ไม่มีอะไรมาพิสูจน์ยืนยัน แต่คนนี่แหละรู้ที่สุดที่สุดสูงสุดที่สุดในจิตวิญญาณ พระเจ้าก็เป็นจิตวิญญาณธาตุพระเจ้าก็มีวิญญาณธาตุแต่ได้ในกรอบของเทวนิยม แม้จะมาเป็นอเทวนิยมก็ยังไม่ได้เลย แค่นี้ก็ชัดเจนอย่างเป็นเทวะเราก็เป็นได้อย่างโลกีย์สูงสุดไม่เห็นจะยากอะไร แต่หากว่ามาเป็นโลกุตระนี้ยิ่งใหญ่กว่าแม้จะเล็กจะน้อยก็มาก
ศาสนาเทวนิยมบางองค์ท่านมีเชื้อของโลกุตระบ้างแต่มันไม่มากพอที่จะทำให้ท่าน ตัดใจจากโลกียได้เพราะเชื้อความใหญ่ เชื้อความห่วงโลกโลกีย์ จนท่านได้เป็นศาสดา ได้เป็นศาสดาแล้วท่านก็ไม่ไปไหนหรอกจะต้องมาเริ่มต้นเป็นพุทธใหม่บางองค์ แต่ที่จริงมันไม่เริ่มต้นทีเดียวหรอก มันจะมีโลกุตระอยู่บ้าง มากหรือน้อยก็ตามแต่ละศาสดา บางองค์มีโลกุตระมากอยู่แล้วก็มาทางนี้ก็ได้เร็ว
การจะได้เป็นศาสดาทางโลกียก็ไม่ใช่ธรรมดานะ มนุษย์จะต้องกราบไหว้เคารพบูชาจะต้องติดตามท่าน เป็นสาวกของท่านไม่ใช่เรื่องธรรมดา นี่คือสุดยอดแห่งสุดยอด ไปเรื่อยๆ อาตมาก็ต่อยอดไปเรื่อยๆ
ผู้ใดที่ไม่รู้เรื่องยกมือขึ้น ….ไม่มีเลยหรือโอ้โห
พวกเราฟังแล้วก็มีธรรมรส วิมุติรส เลิศกว่ารสใดๆ รสส้มโอ รสอื่นๆขี้หมา นี่มันเลิศกว่ารสใดๆ แม้ธรรมรสที่เป็นรสชาติโลกีย์ก็ยังไม่เป็นเลิศเท่าวิมุติรส
อาตมาจะเริ่มหาวิธีบรรยายหมวดแห่งสัมมาทิฏฐิ นี่ก็เพิ่งทำได้ไปถึงหมวดที่ 5
หมวดแห่งสัมมาทิฏฐิ
หมวด 1 ศีลยอดเยี่ยมในโลก(สีลัง โลเก อนุตตรัง) หรือ “อยู่ผู้เดียว”ที่เป็นโลกุตระ (ผู้มีปกติแม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ เดียรถีย์และสาวก คืออยู่กับชาวบ้านสังคมธรรมดาสามัญนี่แหละ มีชีวิตเหมือนผู้คนทั้งหลาย แต่ผู้คนผู้นี้ละตัณหา-ละกิเลสได้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้“มีปกติอยู่ผู้เดียว”
พ่อครูว่า..อรหันต์ที่จะไปเช็คผลในป่า อาตมาก็เคยไปป่า
-
ไปป่านั้น คุณไปป่าแล้วจะไปหลงติดป่าหรือไม่
-
คุณไปป่าแล้วจะฟุ้งซ่านมาหากามโลกีย์หรือไม่ ไปป่าแล้วจิตเราฟุ้งออกมาหรือไม่ อาตมาไม่มีทั้งกามทั้งโลกีย์ จะติดป่าก็ไม่ติด แต่ยินดีในป่ามากกว่ายินดีในเมือง อาตมามีจิตใจยินดีในป่า มาอยู่เมืองในชาตินี้ไม่เคยไปแย่งป่าใคร จนกระทั่งเกิดคดีบุกรุกที่ดินป่าเขาก็ไม่มี รัฐบาลเขาก็เอาเรื่อง เดี๋ยวนี้เขาก็มีคนบุกรุกป่า แต่เขาก็ไม่เอาเรื่องเพราะว่าเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อยู่ ถ้าจะเอาเรื่องจริงๆก็ทำได้ ผิดกฎหมาย อาตมานั้นไม่เคยจะไปละเมิดกฎหมายบุกรุกป่าเลยมีแต่สร้างป่าในเมืองทั้งนั้น
อาตมาไม่ได้พูดด้วยภาษาแต่พูดด้วยจิตที่ยินดีในป่า เอาเถอะ บ้านราชฯ อีก 50 ปีมาดูเถอะจะเป็นป่า ต้นไม้ที่ปลูกไม่ต้องห่วงหรอก เราจะตัดต้นไม้ในวาระจำเป็น นอกนั้นให้มันอยู่ เราเป็นคน ต้นไม้มันอยู่เป็นประโยชน์ต่อเรา เราจะเอามันออกทำไม ถ้ามันไม่เป็นประโยชน์ก็เอามันออกกลางเช่นไมยราบยักษ์ มันมีหนามแหลมวัวควายเข้าไม่ได้ด้วย แต่มันจะมีประโยชน์ก็มีน้อย แต่มันบุกรุกนี่สิ มันไม่ฟังเสียงใครด้วย และหากยังอยู่แล้วออกฝักกระจายก็หนักอีก มันซับซ้อน
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก ถ้าไม่มีศีลไม่เข้าใจศีลไม่ได้เริ่มต้นด้วยศีล ศีลเป็นตัวเริ่มต้นที่สุด
ศีลเยี่ยมยอดในโลก นี่ 1แล้ว หรืออยู่ผู้เดียวก็ 1 แล้ว ถ้าไม่เริ่มต้นด้วย 1 คือศีลไม่ได้ ศีลคือหลักปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ
จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
จุลศีลก็เป็นหลักเกณฑ์สำคัญถึง 26 ข้อต้นก็หยาบ ศีลข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ศีลข้อที่ 3 4 5
ในศีลข้อ 1 พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาสตรา มีความละอายมีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ ศีลข้อที่ 1 ข้อที่ 2 คนละทิศทางคนละเหตุปัจจัย
ศีลข้อที่ 1 คือเรื่องของสัตว์เกี่ยวข้องกับสัตว์ ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวข้องกับของ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดการลักทรัพย์รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ไม่ประพฤติตนเป็นขโมยเป็นผู้สะอาดอยู่
เกี่ยวกับของของเราที่ไม่ใช่ของของเราแล้วไปละเมิดมันเป็นทุจริตกรรม ส่วนสัตว์นั้นเป็นโทสะ เป็นโลภะได้
พอมาข้อที่ 3 สมณโคดมละการประพฤติที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุน อันเป็นเป็นกิจของชาวบ้าน
เมถุนแปลว่าสภาพผู้ที่ไม่แยกคู่จนเป็นหนึ่ง เมื่อเป็นคู่ก็มีเรากับของเรา พรากออก คือไม่มีของเรา มีแต่เรา นี่คือพรากคู่
เสพรส ยิ่งเป็นเราเป็นของเราใหญ่ จะเป็นรูปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจก็ตาม
ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน
ข้าศึกแก่พรหมจรรย์นั้นทุกด้านไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสัตว์เกี่ยวกับของ การทุจริต อกุศลทั้งปวง รวมแล้ว อยู่ใน 3 ข้อนี้
ข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ข้อที่ 3 หากว่าเข้าใจที่อาตมาอธิบายไปมาตลอด คุณเป็นพระอรหันต์ได้ใน 3 ข้อนี้
ข้อที่ 4 ดูกรภิกษุทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งเมื่อปุถุชน กล่าวชมตถาคตพึงกล่าวเช่นนี้ว่า พระสมณโคดมละจากการพูดเท็จเว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่ความจริงดำรงคำสัตย์มีถ้อยคำเป็นหลักฐานเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก
อาตมาก็พยายามอ้างอิงหลักฐานในพระไตรปิฎก หลักฐานที่เกิดมรรคผลจริงเกิดการปฏิบัติจริงมีตัวตนสังคมจริง มีพฤติกรรมทางรัฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์จริง อาตมาก็นำมาขยายความให้ฟังอย่างนี้เป็นต้น ก็เรียกว่ามีหลักฐาน ประพฤติมีหลักฐานเป็นถ้อยคำที่มีหลักฐานควรเชื่อถือได้ไม่พูดลวงโลกเป็นคำสัตย์
ข้อที่ 5 พระสมณโคดมเว้นขาดจากคำพูดส่อเสียด ฟังความจากข้างนั้นแล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นั้นเกิดแตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อให้คนหมู่โน้น แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบในคนพร้อมเพียงกัน(คำว่าชอบคำนี้มาจากบาลีว่า อารามะ) ยินดีในคนพร้อมเพียงกัน (คำว่า ยินดี บาลีใช้คำว่า ) เพลิดเพลิน(นันทิ) ในคนพร้อมเพียงกัน
-
พระสมณโคดม ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ.
-
พระสมณโคดม ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ
ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.
การพูดเพ้อเจ้อแม้แต่จะพูดธรรมะชั้นสูงแต่พูดกับคนที่เขาไม่รู้เรื่องเหมือนกับพูดกับหัวโตมันก็เป็นการเพ้อเจ้อ ต่อให้คุณพูดคำที่เป็นธรรมะชั้นสูงแต่เขารับไม่ได้คุณก็พูดไปคนเขาก็ไม่รู้เรื่อง ก็เป็นการเพ้อเจ้อไป ดีไม่ดีหลงเป็นกิเลสอวดตัวตน คนรับฟังไม่มีใครเขารู้เรื่องเลย แม้แต่ว่าอาตมาถามว่ารู้เรื่องไหม ก็ไม่มีใครไม่รู้เรื่อง
การพูดส่อเสียด อาตมาถึงปรามพวกสื่อสารมวลชน ที่เขาสัมภาษณ์แล้วก็ทำให้คนทะเลาะกัน หากว่าเขาหยุดทะเลาะกันจะไม่มีเรื่องไปออกอากาศอันนี้เป็นเรื่องบาปกินหัว นักสื่อสารมวลชนทั้งหลายแหล่
สมณะฟ้าไทว่า…บางคนเขาฟังแล้วก็ไปพูดหมดโดยไม่ระวังว่าเขาจะทะเลาะกัน
พ่อครูว่า…คำที่มีความหมายเราก็จะต้องกรองในการสื่อสาร ไม่เช่นนั้นมันกลายจะเป็นคำที่ส่อเสียด ทำให้ทะเลาะกันทำให้ไม่จบทำให้ไม่เกิดประโยชน์ไม่เกิดการเจริญ ก็เป็นคำที่ส่อเสียด ต้องพูดให้เกิดการเจริญทั้งสองฝ่าย มันอาจจะมีการขัดแย้งกัน โต้ตอบกันบ้างเป็นธรรมดา ต้องศึกษาธรรมะให้ละเอียด ไม่ว่าฝ่ายไหนก็แล้วแต่ถ้าไม่มีธรรมะ โดยเฉพาะที่เป็นโลกุตรธรรมก็ยาก
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธมีโลกุตรธรรม ใส่ใจบ้างเถอะ อย่าให้มัน แหม โลกุตระเป็นหมัน แต่ไม่เป็นหมันหรอกอาตมาเอามาประกาศในชาตินี้ นี่ 49 ปีแล้วจะเต็ม 50 ก็ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ถ้าไปชน 7 พฤศจิกายน 2562 ก็จะเต็ม 49 ปี เลย พฤศจิกายน 62 ก็จะเข้าปีที่ 50 เลยไปอีก ไปจนถึงพฤศจิกายน 2563 ก็จะเต็มปีที่ 50
ตอนนี้เป็นนักษัตรที่ 2 ที่ขยายอายุขัย ถ้าไปถึงนักษัตรที่ 3 ก็จะเป็นสามเส้า ให้เลย 108 ปีไป ก็คงจะรู้กันในวงกว้างในโลก อาตมาคงจะเบางานมากขึ้น คนจะมาช่วยก็คงจะเยอะกว่านี้ คนที่รู้ก็คงจะมาช่วยสนับสนุนก็เกิดความเจริญงอกงามในโลก โลกก็จะเจริญงอกงามเป็นโลกุตรธรรมของโลกขึ้นไปอีกเยอะทีเดียว
นี่คือสัจธรรมที่อาตมาเห็นว่าขอสรุปตรงนี้ ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น เป็นธรรมะของคน พระพุทธเจ้าไม่ได้ศึกษาอะไรนอกจากศึกษาเรื่องคนกับเรื่องสังคม พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกพยายามทำความเข้าใจในคำพูดนี้ พระพุทธเจ้าศึกษาเรื่องคนกับสังคม สัตว์โลกก็คือมนุษย์นี้ แล้วก็เอาความรู้นี้ที่ตรัสรู้ มาสอนเรียกว่าโลกุตระ
สัตว์เดรัจฉานรู้โลกุตระไม่ได้ สัตว์มนุษย์พวกที่เรียนรู้โลกุตระไม่ได้เลยเขาก็จมอยู่ในโลกียะ ตายไปเป็นสัตว์เดรัจฉานสัตว์นรกตามเรื่องวิบากของเขา ส่วนผู้ที่แสวงหาโลกุตระ ก็จะเริ่มมาได้รับความรู้ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ทุกพระองค์
ศาสนาศาสนาพุทธ หมายเอาอะไร หมายเอาโลกุตระ ที่ไม่ใช่โลกุตระไม่ใช่แก่นแท้เนื้อในของศาสนาพุทธ ศาสนาโลกียะสูงสุดก็ได้เป็นศาสดา เขาก็พากันทำความดีไม่ทำความชั่ว แต่ศาสนาโลกียนั้นไม่ได้เรียนรู้เรื่องสุขเรื่องทุกข์ ไม่ได้พ้นความสุขความทุกข์ ไม่ได้เรียน
ความสุขความทุกข์จึงเป็นโลกุตระ ศาสนาเทวนิยม เป็นพวกสุขนิยม ติดสุข แล้วก็ไม่รู้จักสุข ความสุขกับความทุกข์เขาแยกกันไม่ออก เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ได้เรียนรู้ทุกข์อริยสัจเลย เขาติดแต่ความสุข แล้วสุขนิยมก็ผู้ที่สูงที่สุดในสุขนิยมก็คือพระเจ้า มีพระบุตร ที่จริง พระบุตรก็คือพระเจ้านั่นแหละเป็นความรู้ของพระบุตรเอง
พระบุตรของศาสนาเทวนิยมใดก็แล้วแต่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮิบรู ศาสนาบาไฮ ศาสนาอะไรก็แล้วแต่ก็เป็นศาสนาเทวนิยมที่แตกแขนง มันไม่เป็นอย่างเดียวไม่เป็นสัจจะเป็นหนึ่งเดียว เป็นสัจจะที่ต่างคนต่างว่าของฉันถูก ในพระสูตรนี้ยากมากที่จะอธิบาย
สรุปแล้วพระพุทธเจ้าสอนเรื่องคน เพราะคนนี่แหละทำให้โลกเจริญ ทำให้โลกแตก ทำให้โลกชำรุดทรุดโทรมหรือโลกจะอยู่ได้ดี ทำให้แกนโลกเพี้ยนไป ก็คือฝีมือของคนนี่แหละร้ายกาจ ถ้าลำดับมันอยู่ของมันเองจะไม่เร็ว แต่แม้แต่จรวดที่ยิงออกไปนอกโลกมันก็ดันโลกนะ มันทีละน้อยนะ แต่น้ำหยดลงหิน หินมันยังกร่อนแล้วหัวใจอ่อนๆล่ะ โลกก็ต้องผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ
บรรยากาศโลก ทะลุ ฝีมือใคร ธรรมชาติมันกรองโลกด้วยบรรยากาศโลก โอโซนบัง แต่เดี๋ยวนี้มันทะลุเพราะคน มันยิงจรวดและทำอะไรตะพึดตะพือ ยิงดาวเทียมออกไป ส่งออกไป เพราะฉะนั้นบรรยากาศในโลกก็เลยแปรปรวน อะไรพวกนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันทั้งนั้น วัตถุมันก็ว่ากันไป
อาตมานี่มุ่งมาทางธรรม ซึ่งละเอียดลออเป็นชีวะมีความสุขความทุกข์ คนมีความทุกข์มากจึงทำชั่วได้เยอะ เพราะเขาหลงว่าความสุขมาก มีความทุกข์มากเพราะเขาหลงความสุขมากเขาต้องได้อย่างนี้ต้องเป็นอย่างนี้ต้องมีอย่างนี้ต้องไปสัมผัสอย่างนี้เขาถึงจะมีความสุข
คุณจะเอาความสุขคุณก็คือเอาทุกข์มาทั้งนั้นเลย คุณเอาสุข 1 คุณก็เอาทุกข์ 1 มา
ถ้าลดทุกข์ได้ 1 ลดได้ 10 คุณก็ลดทุกข์ได้ ทุกข์ก็น้อยลง ดับเหตุได้หมด เหลือ 3 ก็เหลือทุกข์น้อยลดทุกข์อีกเหลือ 2 เหลือ 1 หมดทุกข์ 1 ก็ไม่มีทุกข์เลยความสุขก็ไม่มีด้วยเพราะความสุขความทุกข์นั้นแยกกันไม่ได้ มันเป็นเทวะมันเป็น 2
อาตมาจะต้องเกิดมาขยายความพวกนี้ถ้าหากไม่มีอาตมาเกิดก็ไม่มีคนมาไขความรู้เรื่องนี้หรอกคุณจะไม่ได้ยินจากใคร ในยุคนี้ไป จนกระทั่งหมดยุคของศาสนาพุทธ 2500 กว่าปี
คนจะมากล่าวต้องเป็นโพธิสัตว์ในระดับที่ อาตมาถึงบอกว่า พี่ที่เป็นโพธิสัตว์สูงกว่าจะมาช่วยน้องหน่อย จะได้มีบัญญัติภาษาลีลาอะไรมาช่วยให้ละเอียดลออกว่าอาตมา พวกเราจะได้รู้มากขึ้น
ถ้ามีพี่ เป็นพระโพธิสัตว์ พี่ของโพธิสัตว์ก็จะต้องมีมวล ก็ต้องมีคณะเป็นรูปธรรม พี่ของโพธิสัตว์ก็ต้องทำงานจะมาอยู่เฉยๆได้อย่างไร คนก็ต้องรู้จักแล้วต้องมีบริวาร ที่จริงไม่ได้อยากได้บริวารอาตมาก็ไม่ได้อยากได้บริวาร แต่ต้องมีผู้ที่ร่วมช่วยกันทำงานพระพุทธเจ้าก็ต้องมีผู้ที่เนื่องต่อกันทำงานเป็นคณะเดียวกัน ก็ตามบารมี อาตมาก็มีตามบารมี ถ้าเป็นโพธิสัตว์ผู้ที่เป็นพี่ก็ต้องมีคนที่ทำงานด้วย
อย่างพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นโพธิสัตว์ระดับ 6 ท่านก็ต้องมีของท่านเป็นรูปธรรม ท่านไม่ได้อธิบาย แต่ฐานจิตของคนไทยมีโลกุตรธรรมเป็นพื้น
ปรากฏการณ์ที่เมื่อท่านสิ้นพระชนม์คนก็ไปกันเต็มไปหมดไม่มีอะไรไปล่อเขา ไม่ได้มีโลกีย์ไม่ได้มีลาภยศสรรเสริญอะไรไปล่อเขา ที่มาในหลวงนี่นะมาเองกันทั้งนั้นเลย มาด้วยอะไร? จริงๆแล้ว พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านให้ลาภแก่ประชาชนนิดหน่อย ท่านไม่ได้แจกอะไรมากมาย คนรวยก็แจกยศ จริงๆ เขาก็ไม่ได้มาด้วยยศ คนจนจะมามาก คนมียศมีศักดิ์ก็มาด้วยความเต็มใจไม่ได้มาด้วยอำนาจของยศศักดิ์ มันมีความลึกอยู่ในจิตใจคนที่เป็นโลกุตระจิตของคนไทย เพราะศาสนาพุทธนี้สร้างประเทศก็เป็นพุทธมาตั้งแต่ต้น รากเหง้าของพุทธ ตั้งแต่เริ่มต้นบริสุทธิ์กว่านี้เยอะมาถึงตอนนี้เปื้อนไปเยอะ บาปของใครก็ของใคร
อาตมาถึงพูดเพราะสงสารคนที่เขามาทำบาปเพิ่ม พูดบอกเท่าไหร่ก็ไม่รู้ น่าสงสารที่สุดเลย เอาล่ะ เวลาเหลือ 3 นาที สรุปว่าอาตมายังจะทำงานศาสนาพุทธนี้เพื่อให้เผื่อพอไว้ใจได้ เพราะอาตมารับปากจากพระพุทธเจ้าสมณโคดมว่าจะมาเป็นผู้สืบทอดศาสนา อาตมาจึงระบุลงไปว่าอาตมาเป็นผู้ที่ สยังอภิญญา มีสัมมาทิฏฐิ 10 จึงนำสัมมาทิฏฐิ 10 มาแตกแยกวิจัยเพื่อให้เรารู้ความหมายและเอาไปปฏิบัติได้ตั้งแต่การทาน ศีล ภาวนา มีผล เกิดผล หุตัง จนถึง กัมมานัง โลกนี้โลกหน้า ความเป็นแม่ เป็นพ่อ ลูกที่เป็นสัตว์โอปปาติกะเป็นอย่างไรจนถึงข้อที่ 10 สมณพราหมณ์ สยังอภิญญา เป็นอย่างไร ถ้าไม่ใช่อธิบายสัมมาทิฏฐิ 10 นี้ไม่ได้หรอก
มีใครบ้างที่อธิบายสัมมาทิฏฐิ 9 ข้อนี้ ท่านอธิบายแม่ว่าเป็นผู้ที่มีบุญคุณ พ่อเป็นผู้ที่มีบุญคุณ แค่นั้นเอง ท่านเข้าไปถึงปรมัตถ์ถึงโลกุตรธรรมที่ไหน แม้แต่การแยกโลกนี้และโลกหน้าที่เป็นโลกุตระโลกียะแยกเวทนาที่เป็นเนกขัมมะ และเคหสิตะ ในเวทนา 108 มีใครแยกแยะได้บ้าง แม้แต่ของท่านประยุทธ์ ปยุตโตที่ท่านรวบรวมไว้ ขออภัย ท่านก็เห็นว่ามันละเอียดเกินไป ท่านก็เลยไม่รวบรวมมารายละเอียดของเวทนา 108 หนังสือเล่มสำคัญของท่าน พจนานุกรมประมวลศัพท์ประมวลธรรม
เอาล่ะ พูดไปก็เหลือเวลาไม่ถึง 1 นาทีแล้ว
สมณะฟ้าไทสรุป….จบ
หมวด 2 (1)ปรโตโฆสะ (2)โยนิโสมนสิการ หรือ (1)ธรรมทั้งสองเหล่านี้(เทฺว ธัมมา) รวมเป็นหนึ่งในเวทนา โดยส่วนสอง(ทฺวเยนะ เวทนายะ เอกสโมสรณา ทภวันติ) (2)อยู่ผู้เดียว-อยู่ด้วยเพื่อนสอง ที่มีนัยสำคัญของโลกุตระ จึงเป็นเรื่องของ“ปรมัตถธรรม”แท้ๆ มิใช่ตัวตนบุคคลเราเขาเลย (นี่แหละคือ ภาษาที่เป็น“ศิริมหามายา” คำพูดที่เหมือนนักเล่นกล ยากที่จะเข้าใจว่า ใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง พูดว่ามี แต่ที่แท้ไม่มี พูดเหมือนกลับกลอก แต่ที่แท้เป็นความจริง)
หมวด 3 (1)อปัณณกปฏิปทา (2)อภิสังขาร (3)วิเวก 3 หรือ (1)ลัทธินอกพุทธ(ปุพเพกตเหตุวาทะ,อิสสรนิมมานเหตุวาทะ,อเหตุอัปปัจจยวาทะ) (2)มนุษย์ชมพูทวีป(สุรภาโว,สติมันโต,อิธ พรหมจริยวาโส) (3)อธิปไตย 3 (โลกาธิปไตย,
อัตตาธิปไตย,ธรรมาธิปไตย) [อธิบายแถม… “3 เส้า”ของปฏิจจสมุปบาท ไล่เรียงไปทีละ“3” ที่เป็นเหตุเป็นปัจัยกะนและกัน เช่น อวิชชา-สังขาร-วิญญาณ, สังขาร-วิญญาณ-นามรูป, วิญญาณ-นามรูป-อายตนะ, นามรูป-อายตนะ-ผัสสะ, ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา, เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน, ตัณหา-อุปาทาน-ภพ, อุปาทาน-ภพ-ชาติ, ภพ-ชาติ-โศก ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปยาสะ]
หมวด 4 (1)การกำหนดรู้“รูปนาม”ด้วย 4 ภาวะ (อาการ-ลิงคะ-นิมิต-อุเทศ) พตปฎ. เล่ม 10 ข้อ 60
(2)การติเตียน/สรรเสริญ 4 บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษจะคุ้มครองตนให้มีคุณสมบัติ หาโทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ ไม่ติเตียน ย่อมประสพ(การเกิด)บุญ(ชำระกิเลส) เป็นอันมาก เพราะเป็นผู้มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ ใคร่ครวญสืบสวนแล้ว จึง… ๑.กล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน(นิคคัณเห นิคคหารหัง) ๒.กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ(ปัคคัณเห ปัคคหารหัง) ๓.ทำความไม่เลื่อมใสให้เกิด ในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๔.ทำความเลื่อมใสให้เกิด ในฐานะที่ควรเลื่อมใส(๒๑/๓) ซึ่งเป็นหน้าที่การงานของโพธิสัตว์แท้ๆโดยตรงทีเดียวที่ต้องทำ
(3)ผู้ติเตียนและสรรเสริญ ๔ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏในโลก ๑.พวกกล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๒.พวกกล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๓.พวกไม่กล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ตามความ
จริง โดยกาลอันควร ๔.พวกกล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ตามความเป็นจริ
ง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร บุคคล ๔ จำพวกนี้ เป็นผู้งามที่สุด ประณีตที่สุด เพราะมีความงามอย่างยิ่ง คือ ความเป็นผู้รู้จักกาลอันควรที่จะติเตียน รุ้จักกาลอันควรที่จะสรรเสริญ(๒๑/๑๐๐) ผู้ไม่ชอบ“การตำหนิ”ก็เพราะ“ตนเองยังมีกิเลสที่เป็นอัตตา โดยเฉพาะกิเลสอัตตามานะ และผู้ที่เป็นงัวสันหลังหวะ ไม่อยากให้ใครแตะต้องแผลหลังหวะของตน ไม่ต้องการให้ใครเห็นแผลของตน หรือมันจะเจ็บเป็นธรรมดา (ผู้ไม่มีแผล ย่อมไม่มีเจ็บ ก็เป็นธรรมดา)
(4)ความเสื่อมของนักบวช ๔ เมื่อนักบวชไม่ได้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ไม่ได้ถึงพร้อมด้วยจรณะ จึงกระทำความเสื่อม ๔ ประการนี้เป็นลำดับ ๑.หอบบริขารเข้าไปสู่ราวป่า ตั้งใจว่า จะอาศัยกินผลไม้ที่หล่น ไปแสวงหาอาจารย์ที่มีวิชชาจรณะในป่า เพราะมีมิจฉาทิฏฐิว่า ผู้มีวิชชาจรณะจะต้องเป็นนักบวชที่อยู่ป่า นักบวชที่อยู่บ้านไม่ใช่ผู้ปฏิบัติเพื่อนิพพาน หลงผิดว่า ผู้จะปฏิบัติบรรลุธรรมต้องออกป่าปฏิบัติ [นี้เป็นความเสื่อมของศาสนาพุทธ ก็เพราะมิจฉาทิฏฐิว่า นักบวชต้องออกป่าไปปฏิบัติธรรมในป่า จึงจะบรรลุวิชชาจรณะ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิแท้ ไปหลงยึดถือตามทิฏฐิของเดียรถีย์ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้ จะไม่มีความรู้ใน“ไตรสิกขา”บริบูรณ์ ไม่มีลำดับอันน่าอัศจรรย์ของ“ไตรสิกขา”ที่เป็นเบื้องต้น-เบื้องกลาง-เบื้องปลาย] ๒.ถือเสียมและตะกร้าเข้าสู่ราวป่า ตั้งใจว่า จะอาศัยกินเหง้้าไม้และผลไม้ ๓.สร้างเรือนไฟ(ศาลาวิหารที่ยึดถือลัทธิการจุดธูปจุดเทียนบูชาซึ่งมันเป็นจารีตของเดียรถีย์ เป็นเดรัจฉานวิชาของพุทธ การมีลัทธิอย่างนี้นี่แหละเป็นความเสื่อม) ๔.สร้างเรือนมีประตู ๔ ด้าน ไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง แล้วพำนักอยู่ด้วยตั้งใจว่า มีท่านผู้ใดเดินทางมาจากทิศทั้ง ๔ นี้ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เราจะบูชาท่านผู้นั้น ตามสติกำลัง เพราะหลงผิดว่าผู้อยู่ป่า หรือผู้มาแสวงหานิพพานในป่านี่แหละคือผู้มีวิชชาจรณะ(๙/๑๖๓-๑๖๖) ซึ่งเป็นการหลงผิดตั้งหน้าไปเป็นเดียรถีย์แท้ๆ จึงเป็น“ความเสื่อม” ประเด็นของความเสื่อมจากศาสนาพุทธอยู่ตรงที่หลงผิดว่า ผู้จะบรรลุนิพพานต้องไปปฏิบัติใน“ป่า”
-
หรือ ผู้หลีกเร้น ๔ [ผู้บรรลุหลุดพ้นธรรมจาก“มิจฉาทิฏฐิ”เหล่านี้ได้] คือ ผู้ปฏิบัติได้ดังนี้ (๑) ทิฏฐิสัจจะ(การยึดถือทิฏฐิผิดเหล่านี้ว่าจริง)ของผู้มีกิเลสแน่นหนาที่เห็นว่า โลกเที่ยง หรือ โลกไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด, ชีวิตกับร่างกายเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวิตกับร่างกายเป็นคนละอย่าง, สัตว์ตายแล้วเกิดอีก หรือ สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีก, สัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มี หรือ สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีกก็มี, สัตว์ตายแล้ว เกิดอีกก็ไม่ใช่ หรือ สัตว์ตายแล้ว ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ทิฏฐิสัจจะเหล่านี้ทั้งหมด ผู้ปฏิบัตินั้น บรรเทาได้แล้ว ละได้แล้ว สละคืนแล้ว (ถ้ากิเลสยังไม่ลดละจางคลายทิฏฐิเหล่านี้ หรือยังไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริงอย่างสัมมาทิฏฐิในเรื่องนี้ ก็หมดสิทธิ์จะบรรลุอรหันต์ (๒) ผู้ปฏิบัตินั้นละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหาพรหมจรรย์ การแสวงหาทั้งปวงสละหมดแล้ว (๓) ผู้ปฏิบัตินั้นมีกายสังขาร อันสงบระงับได้แล้ว บรรลุอุเบกขา ซึ่งไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ เป็นเหตุให้สติบริบูรณ์อยู่ (๔) ผู้ปฏิบัตินั้นละอัสมิมานะได้แล้ว กระทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติได้ดังนี้แหละเรียกว่า “ผู้หลีกออกเร้นอยู่” (๒๑/๓๘) จึงไม่ใช่ไปหลงผิดตื้นๆว่า ผู้หนีออกป่าคือ “ผู้หลีกออกเร้น”เด็ดขาด