ส.ค.182019ศาสนา620818_วิถีอาริยธรรม สันติอโศก ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1Tt1k46loQySn7Rf22aLRV1g8xbTBytEb4KqwaG45Us4/edit?usp=sharing ดาวโหลดเสียงที่ .https://drive.google.com/open?id=1itaiFtQzrRjXFq1Ani9aS3fZhH9WtcAF ส.เพาะพุทธ…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2562 ที่บวรสันติอโศก ส.เพาะพุทธดำเนินรายการไปกับส.เดินดินไปได้ 25 นาที พ่อครูกลับมาจากการไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล จึงได้มาร่วมรายการต่อ จากส.เดินดิน พ่อครู สื่อธรรมะพ่อครู(จรณะ 15 วิชชา 8) ตอน ฌานของพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15 พ่อครูว่า…ทิฏฐิคือความรู้ ลัทธิ แต่รู้ขั้นญาณ เริ่มตั้งแต่รู้จักทิฏฐิแต่ทิฏฐิยังไม่รู้จักกิเลส เป็นแต่เพียงว่าความเข้าใจ รู้ความหมายรู้ข้อกำหนดในปัจจุบันที่จะประพฤติเท่านั้นเอง รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง แล้วมีวิธีทำให้กิเลสลดลง แต่กิเลสมันลดไปจากเดิมเราเรียกว่าเป็นส่วนบุญ คือบุญชำระกิเลสได้ สมมุติว่ากิเลสมี 100 ปฏิบัติธรรมแล้วทำให้กิเลสมันถูกฆ่า 10 หรือ 20 ฆ่ากิเลสไปได้คือส่วนบุญ คือส่วนที่เสียไปส่วนที่ถูกทำร้าย เพราะฉะนั้นการได้บุญคือการได้เสีย การได้บุญนี้คือการเสียไป ถ้าหากไม่ได้พูดกันให้ชัดเข้าใจกันให้ดีเข้าใจผิดกันหมด ไปเข้าใจว่าบุญเป็นกุศลเป็นของได้มาที่จริงแล้วบุญไม่มีได้อะไร มีแต่เสียไป มีแต่ถูกฆ่าไป ถูกทำลายไปเรื่อยๆ ฆ่าเสร็จงานจบเสร็จบุญไม่มีเลย บุญทำงานไม่ออก ออกฤทธิ์เดชไม่ได้ กิเลสหมดแล้วบุญหมดหน้าที่ พระอรหันต์เป็นผู้ที่สิ้นบุญสิ้นบาปจึงจะถึงนิพพาน นิพพานเป็นศูนย์แล้ววนไปตายไปเกิดอีกไม่ได้ นิพพานตายแล้วตายเลย ตายแล้วจบเลย ตายแล้วฟื้นไม่ได้ ไม่อย่างนั้นไม่มีนิพพาน สูญแล้วกลับมาอีกไม่ได้ เป็นเรื่องเข้าใจได้ยากมากจริงๆเลยสำหรับสัจธรรมเรื่องนี้ ฌานเป็นมรรคบุญเป็นผล บุญกับฌานก็ต้องมีมาด้วยกัน หากไม่มีฌานมาก่อนบุญไม่เกิด เพราะฌานเป็นพลังงานจิต คนที่สามารถเรียนรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้า เรียนรู้จรณะ 15 ถ้าเรียนรู้ไม่มีจรณะ 15 ฌานไม่มี คนที่จะมีฌาน 1 2 3 4 ของศาสนาพุทธ จะต้องมีจรณะ 11 มีศีลเป็นข้อหลัก ศีลข้อ 1 ไม่ทำร้ายสัตว์ไม่ฆ่าสัตว์ศีลข้อที่ 2 ไม่ลักขโมยไม่ทุจริตเกี่ยวกับของผู้อื่น เกี่ยวกับดินน้ำไฟลมเกี่ยวกับพืช พืชไม่ใช่จิตนิยามแต่สัตว์เป็นจิตนิยาม ศีลข้อที่ 1 เรียนรู้เรื่องของสัตว์เรื่องของจิตนิยามส่วนเรื่องของศีลข้อที่ 2 เป็นเรื่องของอุตุนิยาม พีชนิยาม ซึ่งไม่มีจิต พืชไม่ใช่จิตวิญญาณไม่มีการสืบทอดต่อข้ามชาติจองเวรจองกรรมกันไม่มี ต้องชัดเจน แล้วเราก็ปฏิบัติกับพืชกับดินกับสัตว์ มันก็จะชัดเจนมันก็จะไม่มั่ว ไม่วุ่นวายไปหมดเลย เป็นชีวะมันบาปเหมือนกันไม่ใช่เลย จะได้ชัดเจนที่สุดแม้แต่ที่สุดคนเป็นมนุษย์พืชแล้วไม่มีสิทธิ์ที่จะฟื้นขึ้นมา เป็นจิตนิยามหรือเป็นสัตว์อีกแล้ว เป็นมนุษย์พืชแล้วก็เท่ากับพืชธรรมดา คนที่จิตวิญญาณพลังงานตกลงไปถึงขั้นเป็นพืชแล้ว พีชนิยาม ถ้าเราปล่อยให้ตาย จะเรียกว่าฆ่าก็ตามไม่ให้มีชีวะต่อ ไม่บาป พูดไปแล้วเหมือนอำมหิต ก็ลูกฉันพ่อฉันเป็นคนแต่ตอนนี้ไม่ใช่คนที่เป็นจิตนิยามแล้วมันเป็นพีชะ อาศัยร่างเก่าร่างของคนแต่ว่าพลังงานจิตพลังงาน พีชะ พลังงานไม่เป็นจิต แล้วเป็นพลังงานขั้นพืชไปหาอุตุ มันก็เหมือนพืช เราไปทำลายหรือว่าเราปล่อยให้ตาย พูดให้ร้ายแรงว่าเหมือนฆ่า เอาสายออก ไม่บาปหรอก หมอนายแพทย์ก็ดี ญาติโกโยติกา อย่าไปเสียใจอะไรมากมายจนเกินไปจะไปโกรธคนนั้นคนนี้ว่าทำให้ตาย ขนาดพืชมนุษย์เราร่างกายเป็นร่างเก่าเป็นร่างคนแต่พลังงานที่อยู่ในร่างนี้มันไม่มีวิญญาณครอง ไม่มีกรรมวิบาก จะเป็นบาปเป็นบุญเป็นกุศลอกุศลไม่มี ก็เหมือนกับทำลายพืช เพราะฉะนั้นกินพืชตัดพืชมากินตัดพืชตัดอะไรต่ออะไรมันถึงไม่บาปอะไรหรอก แต่บางคนว่า พืชไม่บาป แต่ทำไมให้พระไปเด็ดไม่ได้อันนี้มันเป็นกฎระเบียบเป็นสมมติสัจจะว่าพระที่เป็นสมมติสงฆ์บวชมาแล้ว ต้องอาศัยญาติโยมจะกินจะอยู่จะอะไรต่ออะไรก็ต้องด้วยญาติโยมทำมาให้ ปรปฏิพัทธาเมชีวิกา เนื่องด้วยผู้อื่นให้ผู้อื่นเลี้ยงไว้จะไปหากินเองปลูกเองตัดเองไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์ของวินัย เพื่อภิกษุจะได้สัมพันธ์กันกับฆาราวาส ฆราวาสจะไปรับภาระเรื่องอาหาร พืชพันธุ์ธัญญาหารเอามาให้กินจึงจะได้กิน พระไม่สะสมอาหารไม่ไปเด็ดอะไรมากินไม่ได้ถือเป็นอาบัติ ถือว่าเป็นโทษภัยต้องระมัดระวังต้องไม่ทำเป็นหลักเกณฑ์ของพระวินัยเพื่อที่จะได้สัมพันธ์กับมนุษยชาติ กับฆราวาส คนละหน้าที่ เพราะฉะนั้นภิกษุหมดหน้าที่กังวลเรื่องอาหารถ้าญาติโยมไม่ทำมาให้กินก็อดตาย ต้องแน่จริงอย่างนั้น ต้องทำตนให้เหมาะสมให้เขาเลี้ยงไว้เป็นกฎเกณฑ์ถ้าคุณไม่ดีพอเขาไม่เอามาให้คุณกินก็อดตาย เพราะว่าเงินก็ไม่มีซื้อขายก็ไม่ได้ ไปเด็ดอะไรกินก็ไม่ได้ปลูกกินเองก็ไม่ได้ ถ้าอยู่ไหนกฎในวินัยในระเบียบของพระของเจ้าจริงๆ ก็จะต้องสัมพันธ์ระหว่างฆราวาสโยมระหว่างพระภิกษุ ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างคนที่มีหน้าที่มีการอาศัยซึ่งกันและกันเรียกว่า ภิกษุ ร่วมกัน ภิกษุประชาสมาสัย ส.เพาะพุทธว่า..วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย บ้านกับวัดผลัดกันช่วยก็อวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง ถ้าเราใช้คำพูดว่าตายจากความเป็นมนุษย์ไปแล้ว เมื่อคนที่เป็นมนุษย์พืชก็ตายจากมนุษย์แล้ว การถอดสายยางช่วยเหลือออกก็ไม่ได้เป็นการฆ่า พ่อตายจากความเป็นมนุษย์แล้ว ฟังดูว่าถ้าฆ่าไม่บาปมันจะสวนกับความรู้สึก พ่อท่านบอกว่าต้องมีจรณะ 11 แล้วจะมีฌานอีก 4 พ่อครูว่า…พวกหลับตาปฏิบัติหมดสิทธิ์ที่จะมีฌานของพระพุทธเจ้า เข้าฌานเป็นฤาษีนอกรีตพุทธ ฌานพระพุทธเจ้าต้องมีกระบวนการ 11 นี้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ฌาน ศีลเป็นข้อกำหนด ต้องมีการปฏิบัติที่ไม่ผิดอปัณกปฏิปทา ถ้าปฏิบัติผิดไปจาก 3 ข้อนี้ก็ไม่ใช่พุทธ ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คนไปสำรวมอินทรีย์เดียว สำรวมแต่ในใจไม่มีอีก 5 ทวารนั่นก็ไม่ครบนั่นไม่ใช่การสำรวมอินทรีย์ที่จะมีโภชนามัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ สำรวมอินทรีย์จะบอกว่า 6หรือไม่ 6แต่มันต้อง 6 กับโภชเนมัตตัญญุตานั้นก็ต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องอุปโภคบริโภคก็ต้องเปิดทวารทั้ง 6 ตาหูจมูกลิ้นกายต้องได้บริโภค ถ้าไม่ได้บริโภคคุณก็ไม่มีโภชเนมัตตัญญุตา ก็ปฏิบัติไม่ครบไม่ถูก ตาหลับแล้วก็ผิดสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 แล้วไม่ได้ปฏิบัติโภชเนมัตตัญญุตาแล้วก็ไปอยู่ในภพก็ไม่ตื่นไม่ใช่ชาคริยานุโยคคะไม่ใช่คนอื่นเป็นคนหลับหลบอยู่ในภพ เพราะฉะนั้น ฌาน จะเกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เป็นจรณะเป็นข้อกำหนด ฌานที่เกิดโดยไม่มีเหตุปัจจัยที่พูดนี้ก็ไม่ใช่ฌานของพุทธ เป็นชานอ้อย ชานหมาก อาตมาเคยขยายความไปแล้ววันนี้เอาให้ละเอียด ฌานจะเกิดได้ต้องมีจรณะ 11 ตั้งแต่ศีลเป็นข้อสำคัญแต่นี่นั่งหลับตาคุณก็ไม่เกี่ยวกับศีล ศีลข้อ 1 เกี่ยวกับสัตว์ คุณจะไปนั่งหลับตาแล้วจะไปเจอกับสัตว์อย่างไร อาตมาเคยนั่งหลับตาปฏิบัติอยู่ที่วัดอโศการามยุงทะเลมาเกาะเต็มตัว แต่เราก็ไม่รู้เรื่องเพราะตัดภพภายนอกอยู่แต่ภพภายในเป็นฌานฤาษี แต่พอลืมตาออกมา รู้สึกยุงทำไมมันกัดเต็มไปหมดมีตุ่มแดงเต็มไปหมด คันยิบ แต่ว่าตอนนั่งเข้าไปอยู่ในภพ ไม่รู้สึกว่ามีอะไรมากัดหรอก มันต่างกันอย่างชัดเจน ถ้าศีลปฏิบัติตามหลัก 3 ข้อที่ไม่ผิดนี้จึงจะถูก ถ้าไม่มี 3 ข้อนี้ก็ปฏิบัติผิดไปจากพุทธ เป็นปัณกะ คือผิด ต้องอปัณกะ คือไม่ผิด ถ้าไม่มี 3 ข้อนี้ ปัณกปฏิปทา เป็นการปฏิบัติที่ผิด ถ้ามี 3 ข้อนี้จึงจะเป็นอปัณกปฏิปทา ตาต้องตื่นรับรู้หูต้องตื่นรับเสียงจมูกต้องรับกลิ่นลิ้นต้องตื่นมารับรส กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ต้องตื่นมารับรู้จึงจะเป็นการตื่นครบ 3 ข้อ ผ่าน 3 ข้อนี้แล้วจิตก็จะเกิดผลที่เรียกเป็น สัทธรรม 7 ศรัทธาหิริโอตตัปปะพหูสูตวิริยะสติปัญญา มี 7 ภาวะของอาการของจิต เรียกว่าเจตสิก 7 ศรัทธา จะเกิดความเข้าใจความเชื่อถือ ความรู้ เป็นอย่างนี้หรือ? เช่นศีลข้อ 1 สัตว์นี้ ถ้าเราไปเกี่ยวข้องทำให้มันเจ็บปวดทำให้มันรักมันชังมันก็ผูกพันนะ เราอย่าไปเกี่ยวข้องกับมัน มันก็อยู่ส่วนมัน มันมีวิบากของมัน สัตว์ทั้งหลายก็ไปตามวิบาก เราอย่าไปเลี้ยงสัตว์ อย่าเอาสัตว์มาใช้ อย่าไปฆ่าสัตว์อย่าไปทำให้มันรัก ถ้ามีความรักกับสัตว์ ชังกับสัตว์มันก็ผิดทั้งนั้น เป็นความผูกพัน ถ้าไปนิพพานแล้วจะไปยุ่งอะไรกับสัตว์ไปก่อวิบากทำไม วิบากที่มีเก่าก็เยอะแยะแล้ว ตัดมันให้ได้ลดมันให้ได้ แต่นี่ไปเพิ่มมันอีก แล้วคุณจะไปนิพพานหรือเปล่า ถ้าคุณจะไปนิพพานแล้วเรื่องความเป็นสัตว์นี้ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวจนเป็นสัตว์ล้านเซลล์ที่เป็นคน คนนี่แหละที่เป็นตัวสำคัญ ถ้าจะไปนิพพานต้องวางอุเบกขา ถ้าจะเกี่ยวข้องก็ต้องให้เป็นกุศลเป็นอกุศลนั้นเลิกเด็ดขาด เดี๋ยวเจอกันอีกไม่รู้แล้วชาติแล้วชาติเล่า แต่ถ้าเจอกันก็ทำแต่กุศลเป็นวิบากดีต่อกันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามันเป็นส่วนที่ไม่ดีเป็นพยาบาทเป็นความโกรธแค้นฆ่ากันชาติแล้วชาติเล่า เหมือนหนังจีน ชาติหน้ายังไม่สาย แก้แค้น 10 ปียังไม่สาย หนังจีนนี่ ส.เพาะพุทธว่า เขาถือว่าการแก้แค้นเป็นการกตัญญู เขาบูชาพ่อต้องแก้แค้นให้พ่อถ้าไม่แก้แค้นให้พ่อถือว่าไม่กตัญญูต่อพ่อ แม้แต่สัตว์เราไม่ทำรัก ไม่ทำร้าย ผมก็คิดว่าทำรักคือทำร้าย เช่นรักสัตว์ ประคบประหงมสัตว์ ให้สัตว์มันหลงรักเราผูกพันกันไม่มีจบ เอาสัตว์ไปนอนด้วยติดแอร์ให้มันแล้วบอกว่ามีเมตตาต่อสัตว์รักสัตว์ ผมถามว่ามีเมตตาหรืออัตตา พ่อครูว่า…เป็นอัตตา อัตตนียาเลย พ่อท่านเคยพูดว่า การนำสัตว์มาเลี้ยงคือการกักขังสัตว์ให้สัตว์ติดในภพชาติของความเป็นสัตว์มันจะเกิดมาเป็นสัตว์อีกไม่รู้กี่ชาติ พ่อครูว่า…มันก็จะผูกพันกับคนอีก เป็นเวรานุเวร เขตที่ตัดระหว่างสัตว์กับคน สัตว์ปล่อยให้มันไปอยู่ตามยถากรรม ไม่ว่าจะเจอสัตว์ที่มันฆ่ากัน งูจะไปกินเขียดเราจะไปแย่งเขียดออกจากปากงู เสือมันจะกินกวางก็ต้องปล่อยมันมันเป็นวิบากของมัน อย่าไป Tiger ใส่เกือก อย่าไปยุ่งกับมัน มันจะไปเกี่ยวเกาะกัน เพราะพวกมันนี้มันจะไปรู้เรื่องอะไรพวกสัตว์ สัตว์มันก็จะบอกว่าเอ็งเป็นก้างขวางคอ เป็นไทเกอร์ใส่เกือกมัน มันก็ผูกพันจองเวรจองกรรม เอาล่ะมันจะยืดชาติไปในรายละเอียด อธิบายสัทธรรม 7 ไม่มีศีล ฌานไม่เกิด อปัณกธรรม 3 ไม่เกิดก็ไม่เกิดฌานพุทธ คนจะไปหลับตาสะกดจิต เป็นฌานโลกีย์ทั่วไปสามัญก็แล้วแต่ แต่ฌานพระพุทธเจ้ามีหลักเกณฑ์ชัดเจนที่ วิชชาจรณะสัมปันโน เป็นความรู้ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้วันนี้ ของศาสนาอื่นศาสนาอื่นที่ไหนรู้ไม่ได้ ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มี เพราะฉะนั้นเริ่มต้นที่ สัทธรรม 7 ศรัทธาจะรู้จะเห็นจะเข้าใจว่าอย่างนี้เองหรือ เกี่ยวข้องกับของเกี่ยวข้องกับสัตว์ก็ตาม ของที่ไม่ใช่ของของเรา เราอยากไปเอามาเป็นของเรา ผู้ที่มีความรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว การทำทุจริตทำร้ายสัตว์ก็ทุจริต คือจริตเลว จริตชั่ว เช่นไปเอาของที่ไม่ใช่ของของเรา ของคือวัตถุธาตุทั้งหลาย มันแบ่งแยก สัตว์ก็เป็นจิตนิยามส่วนพีชะพืชก็เป็นสิ่งที่ไม่มีวิบาก แต่ของของเขา เขายึดถือว่าเป็นสิทธิของเขาอย่าไปเอาของเขาที่เขาไม่ให้ ถ้าเขาให้คุณเอาได้แต่ถ้าเขาไม่ให้อย่าไปเอาอย่าไปอยากได้ของของคนอื่น ของของคนอื่นอย่าไปอยากได้ถ้าอยากได้ก็ทำเองสร้างเอง สร้างไม่ได้ก็เอาของไปแลกเขาตามที่ตกลงกันตามราคาอย่างนี้เป็นต้น มันก็เป็นระบบของมนุษยชาติ ไม่มีการได้ไม่มีการเสียไม่มีการขาดทุนไม่มีการกำไร ไม่มีการติดหนี้ พัวพันอะไรกันอีกมันจบอยู่ในตัว เพราะฉะนั้นผู้ที่มี หิริ เป็นสัทธรรมข้อที่ 2 ละอายต่อความไม่ถูกต้องจะไปทำให้สัตว์มันเกิดวิบาก ไปเอาของเขามาเป็นทุจริตมันไม่ดีมาเป็นความชั่วก็จะละอาย มีจิตละอายเป็นธาตุแท้เป็นความรู้สึกความรู้ความจริงของจิตที่รู้สึกละอายไม่เอาไม่ทำ แต่มันยังไม่สูง คำว่า หิริ กับโอตตัปปะ มันเป็นสัจจะ 2 ชนิด ที่คนที่เกิดความละอายต่อสิ่งที่เป็นสิ่งที่ทุจริตสิ่งที่ไม่ควรก็เกิดความละอายแต่มันยังไม่สูง ก็เผลอๆหรือกิเลสมันแรงๆก็ทำ หลับหูหลับตาลับหลังก็ขโมยก็เอาแต่ถ้าต่อหน้าต่อตาไม่เอา มันเป็นหิริ แต่ถ้าเกิดว่ากำลังของความละอายมันสูงขึ้นมันก็กลัวเลยไม่ใช่แค่ละอายมันก็จะไม่เอาเรื่องทุจริตเรื่องโกงไม่เอาไม่ทำมันมีวิบากจริงนะถ้าทำอย่างนี้ ชาติแล้วชาติเล่าไม่จบแล้วจะไปนิพพานได้ไหม จะไปนิพพานต้องตัดเหตุปัจจัยที่เราจะต้องใช้หนี้สินใช้วิบากต้องเลิก ก็จะเกิดกำลังทั้งความรู้ปัญญาความฉลาดเพียงพอ ถึงโอตตัปปะ แล้วมันจะไม่ทำเพราะมันกลัวบาปกลัวการทุจริตกลัวอกุศลกรรม ไม่ทำ มันจะมีแรงมากมีพลังงานสูง เมื่อคุณไม่ทำบาปไม่ทำชั่ว กุศลจิต จิตของคุณก็สะอาดก็ดีขึ้นเป็นพหูสูต เป็นความรู้เป็นความจริง พ คือ พฤติ ส่วน ห คือความจริงความแท้ ก็จะมีมากขึ้นๆ เรียกว่าเป็นผู้เจริญด้วยพหูสูตเจริญด้วยความรู้ความจริงได้ความรู้แล้วก็ทำความจริงได้ความรู้และกระทำความจริงมากขึ้น มากเท่าไหร่ก็เรียกว่าพหูสูตยิ่งขึ้น หรือเป็นคำขยายอีกคำเรียกว่าพาหุสัจจะ ก็เป็นคำที่ใช้แทนกันได้คือสัจจะที่มันมาก พาหุหรือพหู คือมาก มากขึ้นมากขึ้นมากขึ้น เมื่อคุณได้เพิ่ม ได้ความจริงแม้จะตัดกิเลสด้วยก็เป็นความจริงที่ดีคุณก็ยิ่งจะ โอ้โห มีวิริยะสติปัญญาเต็ม สัทธรรมอีก3 ข้อ เป็นพลังงาน Coefficient เช่นเป็นพลังงานสัมประสิทธิ์เสริมหนุนให้ทำอีกทำแล้วมีเหตุปัจจัยอีกทำแล้วทำอีก มีเป็นหลายร้อยหลายล้านเหตุปัจจัย ก็จะทำการกำจัด ทุ ทั้งหลาย ทำอีกๆ ด้วยวิริยะด้วยสติด้วยปัญญา วิริยะคือหมั่นเพียรพากเพียรขยันทำ โดยมีหลักเกณฑ์ของสติปัญญา ในการสร้างอินทรีย์ 5 พละ 5 ศรัทธาวิริยะสติสมาธิปัญญา ใน 5 ตัวของอินทรีย์หรือพละ มันไม่มีคำว่าสมาธิ จะสร้างพลังงานฌานในจิตก็ 4 คำนี้ แล้วก็มาปฏิบัติให้เกิดจิตจริง เกิด หิริโอตัปปะแล้วได้ธรรมะเป็นพหูสูต ก็เห็นผลที่มันเกิด หิริโอตตัปปะ พหูสูต ลดละสิ่งที่น่ากลัวน่าละอายออกไปได้ดียิ่งขึ้น ความรู้ก็เป็นปัญญาความรู้ก็ยิ่งทำให้คุณมีความวิริยะ แล้วคุณก็ปฏิบัติโดยมีสติเป็นทหารเอก สติกับวายามะ สติกับความพากเพียร มีวิริยะก็คือวายามะ เป็นศรัทธาวิริยะสติแล้วก็พากเพียรปฏิบัติให้เกิดผลด้วยวิริยะสติปัญญาสามเส้า กิเลสลดลงๆ เป็นจิตสะอาดๆ จิตสะอาดก็ตกผลึกลงเรื่อยๆ จากผลงานของการทำลายกิเลสหรือเผากิเลสหรือฆ่ากิเลส ด้วยภาษาว่าพลังงาน ฌาน ฌานแปลว่าไฟ พลังงานของจิตเป็นไฟที่มีฤทธิ์อำนาจสูงกว่าไฟราคะไฟโทสะไฟโมหะ ไฟฌานที่กำจัดไฟราคะหน้าราคะมาเผา หน้าโทสะมาเผา หน้าโมหะมาเผา พลังงานฌานมีฤทธิ์กว่า คนที่ไปทำพลังงานนั้นก็มีไฟหรือ ฌานนี้จริง ฌานไม่ใช่พลังงานเย็น แต่เป็นพลังงานที่ร้อนกว่าราคะโทสะโมหะมันมีพลังงานสูงยิ่งกว่า สูงกว่าไฟราคะโทสะโมหะ ทำเป็นเล่นไป นั่งหลับตาได้ฌานเย็น มันคนละทิศทางเลยคนหนึ่งวิ่งไปสู่ท้องฟ้าอีกคนหนึ่งวิ่งไปสู่ก้นเหวเลย ฌานฤาษีกับฌานพุทธคนละเรื่องเลย ทำฌานก็ต้องทำพลังงาน มีวิตกวิจารเป็นต้น ฌาน 1 มีวิตกวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิตกวิจารก็คือ ถ้าเข้าใจฐานจิต ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ แยกกิเลสออกจากจิตให้ได้ จะมีจิตแฝงปนเป็นราคะโทสะ ก็มีทฤษฎีมีวิธีการกำจัดกิเลสให้ได้กิเลสนี้ก็ลดได้ ก็คือตักกะ ตัวที่จิตดำริแล้วมีกิเลสผสมก็จัดการกิเลสให้ลดลงพฤติกรรมก็ดีขึ้นเรียกว่า วิจาร จาระ แปลว่าพฤติ อาการของจิต เราทำได้ยิ่งขึ้น กิเลสที่มีทำให้มันไม่มี เรียกว่า วิ เชิงไม่ เจริญมากยิ่งขึ้น วิ มีความหมาย 2 อย่าง 1 จัดการสิ่งที่ไม่มีไม่ให้มี ได้แล้วก็ให้มีสิ่งที่เจริญสิ่งที่ดีมากยิ่งขึ้น วิ จึงเป็นเทวดาที่ยอดเลย เป็นเทวะคือ ลักษณะ 2 ลักษณะ แล้วเราก็รู้จักด้วยปัญญา แยกใช้ภาวะคู่นี้ได้ ทำให้มันไม่ ปฏิเสธทำลาย แล้วทำให้มันมี ทั้งไม่ ทั้งมี นี่ จะสำเร็จผลทั้งคู่ มีดีมากยิ่งขึ้น ไม่ หมดลงไปหมดลงไป แยกยาก วินี่แยกยาก เพราะเป็นเทวะแท้ ๆ มันจะ ดวิ หรือ เทวฺ คือตัว ท คือตัวพลังงาน ท คือพลังงานหนุ่มแน่นแข็งทน ทหาระ คือแข็งแรงหนุ่มแน่น สรุปแล้ว สามารถที่จะกำจัดกิเลสได้จริงสั่งสมเป็นพหูสูตก็เป็นจิตที่สะอาดแล้วตกผลึกสะสม การตกผลึกของจิตสะอาดสั่งสมลง มากเข้าๆ ก็แข็งแรงเป็นผลึก ปึกแผ่น แน่นหนาเรียกว่าตั้งมั่นแข็งแรง จิตตั้งมั่นอันนี้แหละเรียกว่าสมาธิ ฌาน 1 2 ไม่ต้องวิตกวิจารมากแล้ว เพราะการรู้จักแล้วรู้จักได้เก่งรู้จักได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพรู้ได้เร็วขึ้นทำได้เร็วยิ่งขึ้นรู้ทั้งวิตกและวิจาร พฤติการณ์ของจิต สมรรถนะของจิตมันดียิ่งขึ้นเก่งยิ่งขึ้นเร็วยิ่งขึ้นมันก็ไม่ต้องไปกังวลเพราะมันทำได้จนกระทั่งเป็นอัตโนมัติทำได้เร็ว เราก็จะมีปิติยินดีที่เราทำได้เรียกว่ามีความเจริญ ปีติ ลดลงเป็นอุปกิเลส ปีติ ลด ฌาน 3 ก็จะเหลือแต่ความสุข สุคือดี ข คือว่าง มันก็ลดลงเหลือแค่สุข กับเอกคตาหรือเรียกว่าภาวะสงบแล้วอุเบกขาก็จะเข้ามา พลังงานของอุเบกขาก็จะเริ่มต้นที่ฌานที่ 3 แล้วยิ่งเจริญเป็นฌานที่ 4 แม้จะอาการยินดีในว่างก็จะลดลงๆเฉย ไม่มีแม้แต่ยินดีกลางๆไม่ผลักไม่ดูดจึงเรียกว่าอุเบกขา ปริสุทธา บริสุทธิ์อยู่ ทำยิ่งขั้นก็เก่งยิ่งขึ้นปริโยทาตา อุเบกขาก็ยิ่งเก่งยิ่งเรามีสมรรถนะสูงไม่ต้องทำอะไรมาก มุทุภูตธาตุ ทำให้เกิดอุเบกขาที่เก่งยิ่งขึ้นก็เป็นแรงที่เสถียรสถิตย์ เป็นแกนของจิตที่เป็นปัสสัทธิไม่ใช่สมถะ เป็นอัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา แนบแน่น แน่วแน่ ปักมั่น เป็น 3ตัวของสังกัปปะ 7 สั่งสมทั้งความเร็วไวคล่องแคล่วเรียกว่า กายปาคุญญตา มีรูปนามที่คล่องแคล่วของเวทนาสัญญาสังขาร ในกระบวนการสามเส้าเร็วไว มีผลสำเร็จที่เก่งขึ้นๆ ทำอย่างนี้ได้ เป็นพหูสูต แล้วมีสัมประสิทธิ์ของวิริยะสติปัญญา สามเส้าเป็นตัวหนุนเสริมทำให้เจริญขึ้นอีก มีวิริยะไม่ถอย เก่งเตือนสติที่รับรู้ได้เร็วทำงานได้เร็วด้วยปัญญาเป็นตัวประธาน ปัญญาเป็นตัวฉลาดรู้รอบ สามเส้า วิริยะ สติ ปัญญา เป็นสามเส้าที่เป็นสัมประสิทธิ์ทำให้เสริมความเจริญมากยิ่งขึ้น ฌาน 1 ลดลงก็เป็นฌาน 2 เหลือ ปีติ สุขแล้วเอกัคคตา เป็นฌาน 4 ปีติ สุขหมดไปเหลือแต่เอกัคคตา กับปัญญา เป็นจิตเป็นหนึ่งอย่างยิ่ง เป็นเอกัคคะ อัคคะ แปลว่ายิ่งใหญ่ ยอด เลิศ ไม่ใช่เอกธรรมแต่เป็นเอกัคคตาธรรม ถ้าเอกธรรมมีแต่ธรรมะ 1 ที่นั่งหลับตา ไม่ยุ่งอะไรกับใครมันต่างกันคนละความหมายต่างคนลักษณะ ต่างคนละสภาวะ ถ้าไม่รู้ ลิงคะ อาการ เพศที่ต่างกัน ที่กำลังอธิบายความแตกต่างกันคุณก็ไม่ชัดเจนคุณก็แยกไม่ออกว่าเราจะทำพลังงานจิตของเรามันถูกต้องตามพระอนุสาสนีย์ของพระพุทธเจ้าตามคำสอนพระพุทธเจ้าหรือเปล่า มันลงร่องลงรอยตามคำสอนพระพุทธเจ้าหรือเปล่าถ้าไม่ถูกมันก็ไม่ได้เรื่องแต่ถ้ามันถูกมันก็ได้ผล มันก็เป็นธรรมะเป็นสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิสัมมาปฏิบัติสัมมาปฏิเวท หลักการพยัญชนะบอก ศรัทธาวิริยะสติสมาธิปัญญา หรือ หิริโอตตัปปะพหูสูตวิริยะสติปัญญา จะเกิดเสริมหนุนกัน เป็นหิริโอตัปปะ เป็นพหูสูตวิริยะสติปัญญาที่มากยิ่งขึ้น ฌาน 1 วิตกวิจารลดลง ไม่ใช่ให้หยุดคิดหยุดนึกไม่ใช่เลยแต่ยิ่งคิดยิ่งนึกได้เร็วยิ่งเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้นสำหรับวิตกวิจารแล้วรู้จักการลดละปล่อยวาง ปีติ เรารู้แล้วเราเพิ่มขึ้นพลังงานในตัวเพิ่มขึ้นปีติมันก็ไม่ต้องไปผลักดันมันก็จางลงไป ไม่เสียแคลอรี่ต้องไปใช้พลังงานกับตรงนี้ ก็จะมีพลังงานไปทำสิ่งที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งพลังงานชั้นที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นพลังงานอุเบกขาพลังงานที่สงบของความวางเฉยมากยิ่งขึ้น ฌาน 4 สุดท้ายจึงจบด้วยอุเบกขา ความเป็นอุเบกขาคือความไม่ใช่ไม่รู้อะไรแล้วก็วางเฉย แต่รู้ยิ่งรู้จริงรู้ครบรู้คล่องรู้รอบ เวทนาก็เร็ว สัญญาก็เร็วสังขารปรุงแต่งก็เร็ว ไม่เปื้อนด้วยนะ เป็นอภิสังขาร ปรุงแต่งอย่างเจริญยิ่งเลย ไม่ใช่ไม่นึกไม่คิดไม่ทำงานอะไรเลย พูดตรงนี้แล้วนึกถึงอาจารย์บูรพา ผดุงไทย อ่านแล้วก็เห็นว่า เขาจมวนอยู่ในฤาษี อยู่ในนิรมาณกายแล้วก็มีพรรคพวกที่สัมโภคกายบริโภคการร่วมกันอย่างไม่รู้เรื่องเลยที่เป็นอาทิสมานกายเป็นกายที่ไม่เห็นด้วยกันเลยมันเป็นของใครของมันแต่ก็โมเมว่ารู้กันนะ ต่างคนต่างสร้างภพ สร้างดาวกันคนละดวงแต่นึกว่าเป็นดาวดวงเดียวกันสักวันหนึ่งดาวพวกนี้คงจะโคจรมากระทบตีกันแตก สร้าง Star Wars กัน ส.เพาะพุทธ..เราได้ฟังพ่อท่านอธิบายฌานในจรณะ 15 วิตกวิจาร ใน ฌาน 1 มี วิ ที่แปลได้ 2 แบบ คือไม่ กับ มียิ่งขึ้น พ่อครูว่า..ฌานนี่แหละคือเผาให้ไหม้ไปเลย ส.เพาะพุทธว่า..วิแบบไม่คิดนึกเป็นฤาษี แต่วิแบบพุทธนึกคิดอย่างยิ่ง สุข มาจาก สุ คือดี กับ ข คือว่าง แปล สุข ว่า ว่างนั่นแหละ ดี ความมีเป็นความไม่เที่ยงแต่ความไม่มีเป็นความเที่ยง พ่อครูว่า…เป็นสภาวะคู่ ทำอันหนึ่งให้มีอีกอันนึงก็มี สัทธรรม 7 เมื่อเราทำ หิริโอตัปปะพหูสูตเราก็จะมีพลังงานเสริมสร้างให้เกิดด้วยวิริยะสติปัญญา เป็นพลังงานสามเส้า ให้เกิดการพัฒนา วิริยะ ก็ทำให้แข็งแรงทั้งนอกและในสติตื่นเต็มร้อย ไม่ให้บกพร่อง เต็มทั้งทวาร 5 ทวาร 6 รู้ทั้งรูปนอก และใน มีทฤษฎีในการปฏิบัติทำให้กิเลสมันลดลงได้ คุณทำเป็น คุณก็จะได้ผลจริงเป็นปีติ จากวิตกวิจารเป็นปีติ ดีใจที่เราทำได้แต่อย่าไปหลงภพดีใจ เป็นเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งดีใจมันก็เป็นภพไม่รู้แล้วก็ต้องลดปิติมันถึงจะเป็นสุข สุขะคือสงบสุข คือว่างนั้นแหละดี ก็เหลือแต่จิตที่เป็นใหญ่ เอกัคคะ เป็นเอกัคคตา เป็นจิตที่เลิศยอดมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นจิตที่ปราศจากกิเลส ถ้าไปติดที่อารมณ์สุขมันก็ยังเป็นภพชาติได้ คุณก็จะต้องเรียนรู้ว่า สุขมันก็เป็นความสงบที่เกิดจากเหตุปัจจัย ผู้ที่เรียนรู้เป็นพระอรหันต์จึงรู้จักสุขก็อาศัยเหตุปัจจัยที่เกิดความสุขมันก็ต้องมีสุขมันก็ต้องนำมาใช้อาศัย แต่มันไม่ใช่ของเราจริงๆไม่ใช่เราจริงๆก็ต้องปล่อย จาก 1 เข้าเป็น 0 ได้ หากไม่ปล่อยมันก็จะเป็น 2 ไปเรื่อยๆ เป็น 1 ที่ยิ่งใหญ่ เอกัคคะ แม้เอกัคคะ ใหญ่ที่สุดสูงสุดเท่าไหร่เป็นพระเจ้าหรือยอดของพระเจ้าเลยก็ตาม มันก็เท่ากับที่เรายึดถือไว้ ถ้าเราไม่ยึดถือไว้เสียมันก็จะหมดลงไปได้ เราเรียนรู้ศาสนาพระพุทธเจ้าแล้วเราจะรู้ว่าเราไม่ยึดถือเลย มันก็ไม่เหลืออะไรเลยถ้าเรายังไปยึดถืออยู่ อุปาทานไว้ มันก็ยังมีอยู่ถ้าเราไม่ยึดถือไว้ เราก็จะเข้าใจอาการยึดอาการวาง ไม่ต้องใช้ภาษาเรียกคุณก็จะรู้ว่าอาการวางมันเป็นอย่างนี้ มุญจิตตะ หรือมุญจิตตุ ปล่อยวางเปลื้องออกไป ญาณที่เป็นมุญจิตุกัมยตาญาณ ในญาณ 16 ก็จะมีอาการอย่างนี้ทำอาการอย่างนี้เรียกว่าปล่อยวาง อาตมาทำภาษาทำมือให้รู้ว่าเป็นอาการอย่างนี้คุณก็ต้องไปทำให้เกิดอาการนี้ได้ในตัวเอง อาตมาทำหน้าเฉยๆ แต่คนก็ต้องรู้ว่าไปทำใจในใจของคุณให้เกิดอย่างไรต้องทำการมนสิการ มนสิกโรติ ทำใจในใจของคุณให้มันเป็นอาการอย่างนี้อาการวางปล่อยไม่ยึดมั่นถือมั่นปล่อยไปเถอะ คุณทำเป็นก็จะเกิดปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ คุณก็จะรู้ของคุณเอง ใครไปรู้แทนคุณไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็มารู้แทนเราไม่ได้ อ๋อ อย่างนี้เองหรือเป็นแล้วเป็นแล้ว คุณก็เอาความเป็นแล้วของคุณไปทำต่อไปต่อไป วางมันเป็นอย่างนี้เองหรือ วางแล้วมันไม่มีการยึดถือไว้มันก็ปล่อยไป แล้วสบาย คุณทำอย่างนี้ได้ ในญาณ 16 มุญจิตตุกัมยตาญาณ ทำอีกๆ เป็นปัจเวกขณญาณ เป็นมัคญาณ ผลญาณตามเหตุปัจจัย ทำเข้าสะสมเข้าไป แล้วก็ทบทวนได้แล้วนะดีแล้วถูกต้องแล้วนะไม่มีอะไรปลอมแปลง จนกระทั่งสุดท้ายคุณก็ได้ครบบริบูรณ์ก็ตั้งมั่นแข็งแรง บริบูรณ์ด้วยญาณ 16 ครบมัคญาณผลญาณ คุณก็ตัด โคตรญาณโลกีย์เลย โคตรภูญาณ บ๊ายบายโลกีย์เลย ก็เป็นนิพพาน เป็นอาสวักขยญาณ หมดเชื้อเยื่อใยหมดโคตรหมดใยโลกีย์ ฌาน 1 2 3 4 ก็คือพัฒนาการของคุณสมบัติหรือ คุณวิเศษธรรมวิเศษที่คุณปฏิบัติได้ อาตมาอธิบายให้เป็นภาษาไทยเด็กก็ฟังได้ผู้ใหญ่ก็ฟังได้ ถ้าคุณยิ่งเข้าใจสภาวะธรรมเอาไปทำให้ตรงได้ยิ่งดีด้วย พระพุทธเจ้าขยายเป็นภาษาไทยเก่งสู้อาตมาไม่ได้หรอกเพราะตอนนั้นภาษาไทยยังไม่มีในยุคนั้น ในยุคนี้ภาษาไทย อาตมาก็เก่งขนาดนี้ เก่งภาษาไทยกว่า ท่านปรินิพพานไปแล้ว อาตมานี่กลัวแต่คนที่เก่งกว่าพระพุทธเจ้าคนอื่นๆไม่กลัวเลย ส.เพาะพุทธว่า..พ่อครูอธิบายสภาวะธรรมที่เอามาจากของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น พยัญชนะเป็นโวหารของเราสภาวะเป็นของพระพุทธเจ้า พ่อครูว่า…สรุปฌานทั้ง4 แล้วการนั่งหลับตาปฏิบัติธรรมฌาน อธิบายเป็นภาษาอย่างที่อาตมาอธิบายไม่ได้หรอก ถ้าท่านใด นั่งหลับตาทำฌานแล้วอธิบายได้เก่งอย่างอาตมาก็มาอธิบายดูสิ ให้ประชาชนตัดสินว่าอะไรจะเป็น สวากขาตธรรม ตรงตามพระพุทธเจ้ามากกว่า ขออภัยที่พูดเหมือนกับไปท้าทาย แบบปักกิ่งหว้าเหมือนกับสมัยพุทธกาล ฌานทั้ง 4 มาจากจรณะ 15 ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาทำ ซึ่งจะไม่รู้ว่า หิริโอตัปปะพหูสูตวิริยะสติปัญญาคืออะไร จะไม่มีกระบวนการของ สัทธรรม 7 นี้ไม่มีกระบวนการตั้งแต่ ศีล สำรวมอินทรีย์โภชเนมัตตัญญุตาชาคริยานุโยคอะไร คนไม่ได้ถือศีลอะไรเลยไม่ได้สำรวมอินทรีย์ไม่ได้ประมาณในการบริโภค โภชเนมัตตัญญุตาเลย ตื่นก็ไม่ตื่นไปนั่งหลับ นี่คือความไม่ตรงตาม สวากขาตธรรม ท่านตรัสไว้ดีแล้ว แต่พวกคุณไม่รู้เรื่องไม่เอามาใช้เลยแล้วตีทิ้งด้วย อย่านึกคิด หลับตาลูกเดียว ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง พูดเอาเอง ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้ ฌานเกิด ฌานอยู่ที่ไหนปัญญาอยู่ที่นั่น จะต้องทำพลังงานไฟให้เกิดการล้างที่กิเลส จนกิเลสหมดสลายด้วยพลังปัญญาฌาน เป็นผลบุญ ปัญญะทำงาน ปุญญะสำเร็จผล เมื่อฌานเสร็จ จิตก็สะอาดในจรณะ 15 ๆ ไม่ได้กล่าวถึงสมาธิ สมาธิคือจิตที่สะอาดตกผลึกสั่งสม จึงต้องเกิดจากฌานที่ถูกต้องจึงจะเป็นจิตสะอาดที่ตกผลึกเป็นจิตตั้งมั่น คำว่าจิตตั้งมั่นโดยการไปสะกดจิตให้จิตแข็งแรงและบอกว่าจิตใจตั้งมั่นอยู่ทนนานได้มันก็เป็นได้แต่มันคนละเรื่องกัน กับของศาสนาพุทธ อันนี้เกิดจากจรณะ 15 สั่งสมตกผลึกเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นสมาธิจึงมีความรู้ตั้งแต่วิปัสสนาญาณมโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ โสตทิพย์และเจโตปริยญาณ นี่เป็น 5 ญาณที่จะเกิดผล ส่วน อีก 3 ญาณคือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ เป็นการทบทวนให้รู้ว่ากิเลสมันเกิดหรือดับแล้วเราได้ทำให้กิเลสมันดับจนอาสวะสิ้นไปหรือไม่ได้แล้วแน่หรือไม่ สั่งสมลงเป็น ปุเพกตปุญญตา กต แปลว่าแล้วๆ สั่งสมอะไร สั่งสมเรื่องของบุญ ปุพเพกต ปุญญะคือสภาพที่บุญเผากิเลสผสมลงไป บุพเพกตปุญญตา คุณจะมีอันนี้คือมีอันที่ไม่มี ทำกิเลสให้ไม่มีแล้วนี่แหละ แล้วก็ความหมายของคุณก็คือมีความไม่มีไม่มีกิเลสอาสวะไม่มี ไม่มีไม่มี แล้วมีอะไรก็มีความไม่มี หมดภาษาไทยจะพูดแล้ว แต่สับสนไหม..ไม่ ชัดเจน ฉลาดนี่ อาตมาอธิบายแค่นี้ก็เข้าใจ ส.เพาะพุทธคำว่ามี เป็นคำสมมุติ แต่คำว่าไม่มีนี้เป็นสภาวะของความเที่ยง เราเข้าถึงความไม่มีกิเลสที่แท้จริงก็ถึงความนิยตะ เที่ยงแท้ได้ พ่อครูอธิบายฌานเป็นมรรค บุญเป็นผล ต้องมีฌานเป็นไฟเผากิเลส คนที่มีไฟแรงกว่าไฟราคะโทสะโมหะ คนนี้เผาแล้วก็ยิ่งเย็นไม่ใช่ยิ่งร้อน วันก่อนไปเจอเพื่อนเก่าพ่อท่านสมัยเรียนเพาะช่าง ชื่อคุณอู๋ เขาว่าพ่อท่านเป็นคนที่โกรธไม่เป็น พ่อครูว่า…อาตมาเป็นคนไม่โกรธนั้น แต่ดุแรง ดุจัดเลย ดุจนเรียกว่า ฝ่ามืออรหันต์เลย ไม่เชื่อ ถามนี่ เลย ก้อยนี่ โดนฝ่ามืออรหันต์ ส.เพาะพุทธว่า…โดนฝ่ามืออรหันต์ โดนติเตียน หลวงตาแพรเยื่อไม้ว่า อะไรที่รกให้ติทำให้เตียน แล้วเอกลักษณ์ของศาสนาพุทธคือ การติเป็นเรื่องหลัก พ่อครูว่า..การติเตียนนี้เหมือนกับการรู้ว่ามีผ้าชุบน้ำมันไหม้ไฟอยู่บนหัวของเรา เราก็ต้องรีบเอาออก ความเลวร้ายความไม่ดีอยู่กับเรา 1 วินาทีมันก็ไม่ไหวแล้วยิ่งอยู่เป็นเดือนเป็นปีต้องรีบออก ส่วนดีนั้นมันจะอยู่กับเราอีกนานเท่านานก็ไม่เป็นไรยิ่งมันมีความเจริญยิ่งขึ้นความดีนั้นมันคนละเรื่องกันเลย อย่างนี้ไม่ชัดก็ไม่รู้จะพูดกันอย่างไรแล้ว สรุปอีกที ฌาน 4 จะเห็นความต่างชัดเจน ว่าฌานนั่งหลับตาสมาธินั้นไม่มีอะไรไม่มีเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิด เป็นฌานดื้อๆทื่อๆ แต่ฌานพระพุทธเจ้ามีเหตุปัจจัยอะไรที่สัมพันธ์กันอย่างนั้นอย่างนี้เราสามารถจับอาการของจิต อย่างนี้เกี่ยวกับฌาน รู้แล้วเราก็ไปปฏิบัติให้เกิดการลดละมันก็จะเกิดความจริงสัจจะชัดมากยิ่งขึ้นมีจริงเป็นจริงมากยิ่งขึ้นได้ แต่นี่มันจับอะไรก็ไม่ติดมันก็ไม่รู้ แต่นี่ขนาดพูดกันนิดเดียวมันยังมีอีกมากกว่านี้แต่คุณรวบรวมสิ่งที่พูดกันนี้ให้ได้เอาไปทำเองแล้วจะรู้เป็นปกติ กิเลสเรื่องนี้เราไปจัดการมันหมดเราก็จะรู้ว่ามันหมด มันไม่หมดเราก็ต้องจัดการอีก เรารู้ความไม่เกิดของกิเลส มันเกิดกิเลสมันเป็นอย่างนี้เราจัดการมันจนมันไม่เกิดแล้ว เหตุปัจจัยที่มากระทบกระแทกกระทุ้งแล้วเราก็เกิด ตอนนี้มันกระแทกเราแรงกว่าเก่าอีกมันก็ยังไม่เกิดกิเลส คุณก็จะรู้ด้วยตัวของคุณเองไม่มีใครบอกคุณให้รู้หรอกพุทธเจ้าก็บอกให้ไม่ได้ คุณต้องรู้เอง สรุปฌาน 4 นี้เกิดจากเหตุปัจจัยแล้วทำให้จิตใจสะอาดตกผลึกเป็นสมาธิเป็นสัมมาสมาธิจึงไม่ใช่สมาธิคนไปนั่งหลับตา หรือไม่นั่งหลับตาไปทำด้วยวิธีอื่นๆ หัดลดกดข่ม มันก็แข็งแรงได้ แต่มันต้องมีเหตุปัจจัยตามคำสอนพระพุทธเจ้าเรียกว่าพระอนุสาสนี ท่านได้ตรัสไว้ดีแล้วเรียกว่า สวากขาตธรรม คำสอนพระพุทธเจ้าชัดเจนอย่างนี้เอง เพราะฉะนั้นฌาน 4 ที่ได้จึงเกิดจากสมาธิ ในจรณะไม่มีคำว่าสมาธิ แต่ให้รู้ไว้ในฐานที่เข้าใจว่าเป็นผลจากฌานทั้ง๔ ทำให้จิตใจสะอาดปราศจากกิเลส เที่ยงแท้ตกผลึกลงไปได้เรื่อยๆเป็นเนกขัมมะ ถึงขั้นสุดท้ายเป็นอเนญชาภิสังขาร เป็นความตั้งมั่นที่แข็งแรงไม่หวั่นไหว หรือจะเป็นนัยยะ ที่แน่วแน่ แนบแน่น ปักมั่น อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา ของพวกนั่งหลับตาสะกดจิตแบบฤาษีจะมีแต่คำว่า อัปปนา ไม่มี พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา มีแต่ อัปปนา แน่นๆๆ แต่ของพุทธแน่นอย่างสมบูรณ์แบบจนเป็นอัตโนมัติจนเป็นเองเป็นตถตาอย่างนี้เป็นต้น สู่แดนธรรม..ที่พ่อท่านกล่าวถึงจรณะ 15 ไม่มีคำว่าสมาธิ เพราะว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติจึงพูดถึง ฌาน แต่สมาธิเป็นผลของการปฏิบัติ พ่อครูว่า…เป็นผลของจิตตกผลึกตั้งมั่นสะอาดแข็งแรงลงไปเป็นสมาธิ ส.เพาะพุทธ …ฌาน คือการปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมสมาธิทำฌานได้ครบก็เป็นสมาธิ พ่อครูว่า..เป็นผล ผลนั่นแหละเรียกว่า อธิจิต เป็น สมะ + อธิ สมะ คำนี้ยิ่งใหญ่ในศาสนาพุทธ สมณเป็นต้น สมณะ แปลว่า สมะ ที่ไม่มี สมะ คำว่า น คือไม่ แต่ถ้า ณ คือยังอยู่ แต่ยังอยู่อย่างเรียกว่าเป็นผู้ที่บรรลุแล้ว สมะ สงบแล้ว รู้แจ้งดีแล้วเป็นสมัญญา มีธาตุรู้อัญญา เข้าไปทำ ส กับ ม สำเร็จแล้ว ส.เพาะพุทธ…ส กับ ม แปลว่าสม่ำเสมอได้หรือไม่ พ่อครูว่า…ได้ ส กับ ม ส เป็นพลังงานในระดับที่ 5 เอาตัวที่ 5 ของเศษวรรคมาเรียก ย ร ล ว ส เป็นพลังงานเกิน 4 ทำงานที่เต็มที่สุดเรียกว่าพลังงานระดับ 9 พลังงานครึ่งหนึ่งของ 9 แล้วเป็นพลังงานที่จะไปต่อได้อย่างดีเรียกว่า 5 พนักงานระดับ 5 เหนือชั้นกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ถือว่าสัมโพธิปรายนะ มีแต่เจริญไปสู่ที่สูงที่สุดได้ ส.เพาะพุทธ 5 คือพระโสดาบัน แล้ว 6 7 8 ไปอีก พ่อครูว่า…พอ 5 เป็นตัวที่เลยจากครึ่งไปแล้ว เราจึงเอาตัว ส ที่เป็นพลังงานเศษวรรค ไปรวมกับกับ ม ตัว ม คือจิต มนะ มโน นี่แหละ มนะ แปลว่าจิต แต่มันไม่ใช่จิตแต่มันยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นจิต มนะ ม คือตัวที่ 5 ของ ป ผ พ ภ ม ทำให้เจริญขึ้น ป มีผัสสะ แล้วทำเจริญเป็นพ เป็นภ แล้วสูงสุดก็เป็น ม นี่คือสภาวะของวรรคนี้ สมะ ก็เท่ากับ ตัวงานที่เอา ส.เสือ เป็นพลังงานเศษวรรคในสังขยาเลข 5 มาใช้ ควบกับจิต จิตมีพลังงาน สัมประสิทธิ์ขั้นที่ 5 พร้อมที่จะสลายก็ได้พร้อมที่จะอยู่เหนือก็ได้ ก็เป็นสมณะ ณ ตัวนี้ ท่านมาใช้ตัว น หนู แต่ใช้ ณ เณร ตัว ณ อยู่ในวรรค ฏ ฐ ท ธ ณ กึ่งหนึ่งของพยัญชนะวรรคที่ 4 ท่านจึงเอาไว้ใช้ร่วมกับ สมะ กึ่งเดียว ณ เณร สมณะจะได้สลายได้ง่าย แต่ถ้าสมนะ ก็สูงไป จะสลายได้ยากกว่า ถ้าแปล น ว่าไม่อีก็ไม่ได้ ต้อง ณ นี่คือ ในขณะนั้นหรือ ณ ขณะนั้น ข แปลว่าว่าง ณ แปลว่ายังอยู่นะ ขณะนี้ ขยายพยัญชนะสู่สภาวะตามที่อาตมามีภูมิ ที่เข้าใจในพยัญชนะต่างๆ เดี๋ยวนี้ก็ดึงเอามาขยายอธิบายให้ฟังได้เยอะพอสมควรต่อไปจะเยอะขึ้นกว่านี้ เพราะอาตมายังชัด ความรู้เดิม อาตมามีความรู้เหล่านี้กล่าวมาแล้วมาในชาตินี้ก็เอามาใช้ อาตมาจึงไม่งงไม่สงสัยว่าทำไมอาตมาจำพยัญชนะบาลีพวกนี้มาได้ตั้งแต่เด็ก ก ข ค ฆ ง อะไรพวกนี้ อาตมาจำได้คล่องปรี๊ด เพราะว่าสภาวะของเก่ามาแล้ว ติดตามให้ดีพยัญชนะเหล่านี้จะสื่อถึงสภาวะให้พวกเรารู้ได้มากกว่านี้เพราะว่ารากฐานของภาษาไทยมาจากภาษาบาลี ภาษาไทยเอามาร่วมกับภาษาบาลีจึงกลายเป็นภาษาที่พัฒนามาแล้ว ส.เพาะพุทธ…ข แปลว่า ว่าง ส่วน ณ คือให้มันมีอยู่ตอนนั้น ถ้าเราจะแปล ขณะ ว่า ในตอนนั้นว่างอยู่หรือจะแปลว่าอะไรดีครับ พ่อครูว่า..พร้อมจะสลายสูญเลยขณะที่มันมีอยู่แต่พร้อมสลายสูญเลย พอปิดฉากปั๊บก็สลายไปเลย ขณะมันอยู่ในปัจจุบันนั้นเลย เมื่อปัจจุบันหมดขณะก็หายไปเลย ขณะนี้มันอยู่ในปัจจุบัน เร็วยิ่งกว่า สมยะหรือสมัย ยิ่ง สมยะ นี่เยอะเลย เอกังสมยัง นี่โอ้โห สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ส.เพาะพุทธว่า..ยาวไปเป็นมหาวรรคเลย สมัยยาวกว่า ขณะ จึงไม่แปลกแปลประโยคพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าขณะอย่าล่วงเลยไปเสีย ถ้าบุคคลที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป เขาจะพากันยัดเยียดอยู่ในนรกเศร้าโศกอยู่ วิธีที่จะทำให้เราไม่ยัดเยียดอยู่ในนรกคือให้เราบำเพ็ญขณะให้เป็น พ่อครูว่า…ใน ปหาน 5 ท่านจึงใช้ ตทังคปหาน ต ท กับ วิกขัมภสะ กับสมุจเฉท และ ปฏินิสรณะ ตทังคะ ก็คือ ต กับ ท (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) ส.เพาะพุทธว่า…พ่อท่านอธิบายพยัญชนะไปสู่สภาวะ บางอันก็ผ่านหูไปแล้วแต่ทำให้เราชัดเจนมากยิ่งขึ้นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือคำว่าสุข สุ แปลว่าดี ข คือว่าง..คือ ว่างนั้นแหละดี พ่อครูว่า..แม้แต่ สุคต คือไปนั่นแหละดี แม้จะหยุดอยู่ว่างอยู่ก็ดี สุข ก็ดี สุค ก็ดี ส.เพาะพุทธว่า…ว่างนั่นแหละดี หากจำเป็นต้องไป สุคต ก็ไปนั่นแหละดี พ่อครูว่า… สุคม ก็ไปเดินทางนั่นแหละดี ส.เพาะพุทธว่า…เราจะเข้าถึงธรรมได้ต้องทำให้เกิดความสุขคือความว่างแล้วมีการดำเนินไปที่ดี พ่อครูว่า…ก็ขอวรรค โฆษณาสินค้าหน่อย มีสาราณียกรของหนังสือเราคิดอะไร มาถึงอาตมาว่า… ในฉบับที่ 350 ออกเดือนกันยายนขณะนี้กำลังทำอยู่ยังไม่เสร็จ ฉบับ 351 จะออกเดือนตุลาคม 2562 เป็นฉบับครบรอบ 25 ปี หนังสือพิมพ์เราคิดอะไรเกิดในเดือนตุลาคม มันก็เลยเกี่ยวเนื่องไปถึงเดือนนี้ จะออกเดือนตุลาคมเป็นฉบับครบรอบ 25 ปี จะแถมหนังสือรวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไรเล่ม 3 จะไปแถมได้ต้องไปออกพร้อมกับเดือนพฤศจิกายน overlab กัน เหลื่อมกันอยู่ ก็กราบขออภัยต่อพ่อท่านด้วยว่า ออกเดือนตุลาคมอาจล่าไปถึงกลางเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนก็ได้ ที่ออกช้าเพราะว่าเรามีเล่มแถม ฉบับสุดท้ายมีเล่มแถม เราไม่มีโรงพิมพ์เอง ต้องไปให้โรงพิมพ์เพื่อนๆช่วยพิมพ์ เราประกาศขายเครื่องพิมพ์ด้วย สรุปจะตีพิมพ์อีก ฉบับ 350 กับ 351 ฉบับเดือนกันยายนกับตุลาคมแต่จะไปคลอดตอนพฤศจิกายน แล้วก็จะยุติครบรอบ 25 ปี 25 ปีนี้เป็นควอเตอร์ 1 ของ 100 แต่ก็ยังมีทำกันอยู่ใน IT ในกระดานชนวนเล็ก จะไปกดดูเอาได้ เท่าที่จะมีเขียนกันอยู่ก็มีนักเขียนมากกว่า 10 คน ตั้งแต่เกิดมาถึง 25 ปีไม่ได้จ่ายเลยสักบาทให้แก่นักเรียนทุกคนทำงานฟรีกันทั้งนั้นอาตมาถึงซาบซึ้งในเรื่องของการทำงานฟรีกันจริงๆ พวกเรามีน้ำใจและมีความอุตสาหะวิริยะ บางท่านก็งานยุ่งก็ทวงแล้วทวงอีก พยายามเขียนจนได้ บางทีไม่เขียนมาเราก็บอกว่าฉบับนี้ของท่านไม่มีนะข้ามไป ส.เพาะพุทธว่า..รวมถึงหนังสือเล่มอื่นๆหรือไม่เช่นดอกหญ้าดอกบัวน้อย สารอโศก พ่อครูว่า…เนื่องด้วยหนังสือพิมพ์“เราคิดอะไร” ได้ดำเนินการเผยแพร่สัจสาระด้วยเอกลักษณ์ “ไร้มายา เข้มคุณค่า” มาจนถึงปีที่ ๒๕ แล้ว คณะผู้จัดทำหนังสือก็ล่วงเข้าสู่วัยวันอันสมควรที่จะต้องยุติงานนี้ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้จึงขอแจ้งต่อท่านผู้อ่านว่า คณะผู้จัดทำหนังสือพิมพ์“เราคิดอะไร”ได้มีมติว่า ให้ยุติการจัดพิมพ์หนังสือ“เราคิดอะไร” โดยฉบับที่ ๓๕๑ ซึ่งเป็นฉบับครบรอบปีที่ ๒๕ (แถมฟรี! หนังสือ“รวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไร” เล่ม ๓) จะออกในเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ เป็นฉบับสุดท้าย ส่วนสำนักพิมพ์กลั่นแก่นยังคงดำเนินการต่อไป โดยจะรวบรวมคำบรรยายธรรมะของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์พิมพ์เป็นหนังสือเล่มเพื่อแจกแก่สมาชิก“เราคิดอะไร” ตามวาระที่เหมาะสม ขอกราบขอบพระคุณในน้ำใจเสียสละของนักเขียนและมิตรไมตรีของสมาชิกทุกท่าน ที่กรุณาสนับสนุนหนังสือพิมพ์“เราคิดอะไร”มาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ด้วยจริงใจไมตรี คณะผู้จัดทำหนังสือ“เราคิดอะไร” สำนักพิมพ์กลั่นแก่น อาตมาก็ขอแถมนิดหนึ่งว่า เราไม่ได้หมดเนื้อหมดตัวนะที่เราหยุดพิมพ์ จริงๆแล้วหนังสือพิมพ์เราคิดอะไรเปิดความลับให้ฟังว่า มันอยู่ได้เพราะเงินที่ขายอุปกรณ์การแพทย์ ใหญ่ไหม? อันนี้ทางอย.เขาให้แล้วนะ เป็นอุปกรณ์การแพทย์เลยนะ ขายอันนี้ พวกเราทำขายได้เงินมาทำหนังสือพิมพ์เราคิดอะไร อุปกรณ์การแพทย์นั้นคือ …ขวดดีท็อกซ์ กับสายดีท๊อกซ์ ทางอย.ยอมรับเลยให้เรียกว่า เป็นอุปกรณ์การแพทย์เพราะของเราได้คุณภาพ พูดไปแล้วจะได้โฆษณาขวดดีท็อกซ์ของอโศกด้วย ไม่ได้เจตนาจะโฆษณา แต่เป็นความจริง อย.ยอมรับเลย โรงงานอยู่ข้างๆนี้แหละ ทำขายกันจนทำหนังสือพิมพ์ แต่ก็ยังขายต่อไปนะ อุปกรณ์การแพทย์ขวดดีท็อกซ์ แต่หนังสือพิมพ์เราคิดอะไรก็จะหยุด เพราะฉะนั้นเงินเหล่านั้นก็จะเป็นเงินสต๊อกไว้สำหรับพิมพ์หนังสือเล่ม ที่อาตมาก็คงจะเขียนไปตามวาระ วันนี้ก็ไปโรงพยาบาลมา รู้สึกว่าเลือดเราไม่ค่อยดี อะไรอย่างนี้ เลือดขาดวิตามิน เขาก็พยายามเติมสิ่งที่ขาดให้ ก็ว่าไป ก็ต้องขอบคุณหมอต่างๆที่ช่วยกันดูแลต่างคนต่างช่วยคนละไม้คนละมือ ทั้งๆที่อาตมาไม่ได้เป็นคนมีเงินมีทองอะไรเลยเขาก็ช่วยกันไปคนละไม้คนละมือคนนั้นนิดคนนี้หน่อย หลายผู้หลายคน โดยเฉพาะประธาน เอาภาระแล้วก็ใครไม่เอาภาระก็ไปเครียดกับเขา อาตมาว่าอย่าไปเครียดกับเขาเลยหมอประธาน นิคเนมว่าหมอโต อย่างไรก็ขอบคุณอย่างยิ่งอย่าไปเครียดกับคนอื่นเขาเลย คนอื่นไม่ได้ดั่งใจก็ต้องขออภัย บอกว่าทำไมไม่ดูแลพ่อท่านอาตมาก็เห็นใจ ส.เพาะพุทธว่า..สรุปจบ พ่อครูว่า..ขอต่อนิดนึงว่า…ความเสียเปรียบสูงส่งกว่าความเสมอภาค ความเสียเปรียบที่สูงส่งกว่าความเสมอภาค ความเสมอภาค คือ ความไม่มีใครได้เปรียบ ไม่มีใครเสียเปรียบ นั้นดี แต่ไม่ดีที่สุด แน่นอนว่า ดีกว่าการมีคนถูกเอาเปรียบในสังคม แต่ที่ดีกว่าความเสมอภาค ก็คือ มีการเสียเปรียบ ของคนผู้ยินดีเสียสละให้แก่คน แก่สังคม อย่างสมัครใจและเต็มใจ อาจจะถึงขั้นเสียเปรียบ แม้แต่สละชีวิตตน ฉะนี้แหละ คือ ความเสียเปรียบ ที่สูงส่งกว่า ความเสมอภาค ~ สมณะโพธิรักษ์ ~ Category: ศาสนาBy Samanasandin18 สิงหาคม 2019Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:620816_รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก ครั้งที่ 64NextNext post:นาม วิชชาจรณะ…โดยสมณะโพธิรักษ์Related Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024