620913_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ คุหัฏฐกสุตตนิทเทสพระสูตรว่าด้วยความข้อง
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/19RYShDnIXepGQDZLR9NzsOaE1LQWq8BK86p1nBK5SIw/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1DW38ccQTHEI-yFDQ7K3NX4lGU-ooAJGT
สมณะฟ้าไทว่า…วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2562 ที่บวรราชธานีอโศก ปีนี้น้ำท่วมสูงสุดในรอบ 50 ปี ที่จังหวัดอุบลราชธานี นายกฯยังพูดถึงเลย เขาติด hastag #SAVEUBON กัน น้ำใกล้ท่วมถึงโรงพยาบาล เตรียมการกันใหญ่เลย เราบ้านราชฯน้ำท่วมก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ในเมืองท่วมแค่เข่าก็มีปัญหามาก พวกเราเป็นผู้ที่ถูกฝึกจากพระโพธิสัตว์มา ตั้งตนบนความลำบาก
พ่อครูว่า…มาดู sms
_SMS วันที่ 11 ก.ย. 2562 (พุทธศาสนาตามภูมิ)
_1182ถ้าอาทิตยนี้พ่อครูเทศน์วิถีอารยะธ. ยังไม่ได้! ขอดูสุขทุกข์ชาวอโศกแปรทุกข์ เป็นสุขกับวิกฤติภัยธรรมช.ที่สอนมวลชนรับมือทุกขวิบากกรรมด้วยธ.ทุกข์ อาริยะสัจ เป็นบทเรียนรับมือวิกฤติภัยโลกปรวนแปรต่อไปได้! สาธุธ.บุญนิยม
_1182บ้านเกิดคุณย่ารอยใบไม้สมัยเด็กจนถึงวัยรุ่นจะท่วมทุกปี!เป็นที่ต่ำใกล้น้ำ สุดหน้าน้ำหลากจะท่วมมิดคอลึกมิดหัว!เพื่อนบ้านจะเล่นผุดดำว่ายน้ำจนเคยชิน!มาอยู่กับน้องน้ำบ้านราชก็คงอยู่ได้แม้เหนื่อยกับข้าวของกองพะเนิน ขาดน้ำแคลนไฟ!ธ.แสงอรุณพ่อครูฯคุ้มกัลยาณมิตรธ.ทุกคน!สู้ๆนะ
_วางสุข จึงสิ้นทุกข์ · กราบนมัสการพ่อท่าน ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุครับ ยามประสพภัย ผู้ได้ฝึกปฏิบัติมาอย่างดีย่อมจะไม่ทุกข์..แต่ก็อยากได้พลังเพิ่มจากสัตบุรุษ (อยากฟังเสียงพ่อท่าน)
_รักธรรม สรหงษ์ · เห็นด้วยค่ะ ที่จะให้พ่อท่านมาพักอยู่สันติฯ ชั่วคราว
พ่อครูว่า…พ่อครูว่า ก็มีหมอโตแนะนำให้ไปสันติฯชั่วคราว ก็คิดว่าน่าจะไปในอีกไม่กี่วันนี้
_นิตยา ศิริวงษ์ · น้อมกราบนมัสการค่ะ -ศรัทธา เชื่อมั่นในสังคมสาธารณโภคีอย่างยิ่ง ค่ะ
พ่อครูว่า…ระบบสาธารณโภคีเป็นคุณธรรมอันวิเศษของมนุษย์ เป็นประชาธิปไตยถ้าถึงสาธารณโภคีก็สุดยอด คอมมิวนิสต์ถ้าถึงสาธารณโภคีก็สุดยอดแม้แต่เผด็จการ ถ้าเป็นสาธารณโภคีโดยมีจิตเป็นประธาน หากว่าไม่มีจิตเป็นสาธารณโภคีเป็นประธานก็ไม่สามารถเกิดได้ เป็นจิต พุทธพจน์ 7 สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคคียะ เอกีภาวะ คุณสมบัติจัดเข้าในพวกเราพิสูจน์ทำได้จริงจึงเกิด สาธารณโภคี เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ลาภธัมมิกา(สาธารณโภคี) ศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา (โสดาฯเสมอโสดาฯ…อรหันต์เสมออรหันต์)
แม้ยุคนี้จวนกลียุค เป็นกลียุคกันพอสมควรแล้วทั่วโลก แต่พวกเราก็อยู่ท่ามกลางกลียุคอันร้อนแรง สำนวนท่านพุทธทาสว่า ก้อนน้ำแข็งท่ามกลางเตาหลอมเหล็กอยู่ได้ หรือเขาเรียกว่าอยู่บนปากเหยี่ยวคือล่อแหลมกันมาก
_SMS วันที่ 12 ก.ย. 2562 (พุทธศาสนาตามภูมิ สมณะ สิกขมาตุ)
_9309ไม่ได้มาเยี่ยมมาช่วยแต่ขอบริจาคเงินครับบริจาคไปแล้ว30000บาทขอบคุณมากครับ
พ่อครูว่า…เราไหว้ผู้มารับบริจาค เหมือนกับฆราวาสไหว้สมณะ ทายกไหว้ปฏิฆาหก นี่เป็นสัจธรรมที่เป็นสิริมหามายา เป็นคัมภีราวภาโส หรือปฏินิสสัคคะ เป็นเรื่องสลับซับซ้อนกลับไปกลับมา สิริมหามายา หมายความว่าเป็นผู้ให้ความเกิด แต่ผู้ให้ความเกิดนี่ให้มาเพื่อความไม่เกิด อาตมามาเกิดเพื่อสอนให้คนไม่เกิด
ให้เกิดผู้ที่จะมาสอนให้คนไม่เกิด
เพราะฉะนั้นพลังที่ให้เกิดนี้มีแค่ 7 ถ้าไม่ถึง 7 ทำไม่ได้ 7 เป็นเบื้องต้น ถ้ายิ่ง 9 ให้เกิดก็ยิ่งเป็นอมตะ ให้เกิดให้ตายเองได้เลย ถ้าถึงขั้นเจ็ดนี้ผู้นั้นทำเกิดทำตายให้แก่ตัวเองได้ แต่คนอื่นจะเกิดจะตายยังชี้ให้ตัวเองไม่ได้ แต่ถ้าถึงระดับ 9 จะทำได้
เข้าสู่สูตร จากพระไตรปิฎก ล. 29 คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒
ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
[๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.
[๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว (พ่อครูว่า…ปิดทั้งของตัวเองและปิดทั้งของผู้อื่นตัวเองก็โง่ปิดตัวเองก็เลยไม่รู้ว่าตัวเองมีกเลส แม้มีก็ปิด ปิดบังผู้อื่นเสียด้วยแล้วเมื่อไหร่คนคนนี้จะตื่น) มีความว่าทรงตรัสคำว่า เป็นผู้ข้องไว้ก่อน. ก็แต่ว่าถ้ำควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ. คำว่า กายก็ดี ถ้ำก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดีกระท่อมก็ดี ฝีก็ดี หม้อก็ดี เหล่านี้เป็นชื่อของกาย.(คำว่ากายวิเวกคือเข้าไปติดในถ้ำในร่างกายของตน คำว่ากายนี้ไปยึดว่าเป็นร่างกายของตนก็ดี คือยึดนอกตัวหมดเลยสรุปแล้ว)
คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่งตอกติดไว้ที่ฝา หรือที่ไม้ขอ ฉะนั้น.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความปรารถนาในรูป ความเข้าไปถือ ความเข้าไปยึดในรูป อันเป็นความตั้งมั่น ความถือมั่น และความนอนตามแห่งจิต บุคคลมาเกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเพราะนั้น. จึงเรียกว่า สัตว์. คำว่า สัตว์เป็นชื่อของผู้เกี่ยวข้อง (พ่อครูว่า…คนปิดบังกิเลสที่มีของตนทุกคน แต่แสดงพฤติกรรมของกิเลสออกมานั้นน่าอายกว่า)
เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ. คำว่าผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสเป็นอันมาก ปิดบังไว้แล้ว คือ อันความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบลู่ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริตทั้งปวงอันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง อันความเดือดร้อนทั้งปวง อันอภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บ้งไว้ คลุมไว้ หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ครอบงำไว้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว.
(พ่อครูจิบน้ำ ส.ฟ้าไท…พูดสรุป…)
(พ่อครูว่า…เราพิสูจน์โลกอบาย จิตของเราสามารถทำให้จิตเราแยกธาตุให้เป็นอุตุธาตุได้เลยในโลกอบาย เขาปรุงแต่งอย่างจัดจ้านหยาบคาย โกงกินกัน การบันเทิงเริงรมย์กามคุณจัดจ้าน เราก็ไม่ได้สุขทุกข์กับเขา สงสารเขาด้วย แยกได้ตอนเป็นๆ คุณไม่เด็ดขาด เพราะปัญญามันมีพลังพอเป็นธาตุโลกุตระ มันมีฤทธิ์แรงที่ชัดเจนมันเกินกว่า หิริโอตตัปปะ พหูสูตร แล้วก็ทำจนเป็นวิชชา รู้แล้วรู้อีกรู้แจ้งรู้จริงรู้ชัดเจนจนไม่มีอะไรจะชัดกว่านี้ มันทั้งมีความเชื่อถือ เชื่อฟัง เชื่อมั่น เป็นศรัทธาพละ ผู้นั้นจึงหมดหลง)
[๓๒] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า คำว่า นรชน เมื่อตั้งอยู่ก็เป็นผู้กำหนัด ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความหลง เป็นผู้ผูกพัน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความถือตัว เป็นผู้ยึดถือ ย่อมตั้งอยู่ด้วยความสามารถความเห็น เป็นผู้ฟุ้งซ่านย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่แน่นอน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถความสงสัย เป็นถึงความมั่นคง ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถกิเลสที่นอนเนื่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่แม้ด้วยประการอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต … กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ … รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา … โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย … ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยมนะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดถือธรรมนั้นตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่แม้ด้วยประการอย่างนี้.(พ่อครูว่า…คุณโง่กับทวาร 6 ประกอบด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ไปชื่มชมเพลิดเพลิน ยึดถือตั้งอยู่อย่างนั้น
ธาตุนี้แยกไปเดี่ยวแล้วจบ แต่ธรรมะนี้ปรุงแต่งเป็นสองคู่สุดท้าย คือธาตุกับธรรมะ พระอรหันต์ที่แยก อุตุ พีช จิตได้แล้วทำ 2 ให้เป็น 1 แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็น 0 ได้ ทำจนสำเร็จ ตั้งแต่โลกียธรรมดีชั่วจนถึงโลกุตระ ให้สามารถอยู่เหนือ ล้างลดทำให้ตาย ทำให้แตกแยกได้ ทำให้ไม่มีความเป็นตนได้สมบูรณ์แบบ)
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ (พ่อครูว่า…คนที่เขาจมอยู่ในอบายมุข เหมือนกับจมอยู่ในสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เขาก็ไม่ให้เราเข้าไปใกล้ด้วย เหมือนกับเป็นมือแม่นาคที่ยื่นเข้าไปเขาก็หนี เราก็ยื่นไปไม่ได้ด้วย เขาเจอก็หนีอีก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา …
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สัญญานี้คือตัวกลางเป็นเทวะ คือ ตัวกำหนดรู้เป็นตัวแสนรู้ เสือกรู้ด้วย สัญญา แล้วเก็บใส่คลังความจำ เป็นตัวทำหน้าที่เก่งมาก คนที่เข้าใจหน้าที่ของสัญญาไม่ได้และมันมีนัยยะสำคัญต่างจากปัญญาอีก
สัญญาเป็นตัวงานเป็นตัวทำหน้าที่ แต่ปัญญานั้นเป็นตัวฉลาด ฉลาดที่เป็นโลกุตระ ฉลาดที่จะทำออก ฉลาดที่จะดับกิเลสได้ ซึ่งต่างจากกับเฉกาหรือเฉโก ที่ฉลาดแต่ติดกิเลส แต่ปัญญาฉลาดเอากิเลสออก ก็รู้ความแตกต่างระหว่างสัญญากับปัญญา
สู่แดนธรรมเสนอว่า ปัญญาคือต้นทุนเก่าสัญญาคือต้นทุนใหม่ จะใช้คำว่าต้นทุนไม่ได้เพราะว่าสัญญาไม่มีการแสวงหามีแต่การสะสม ปัญญาไม่มีการสะสม แต่สัญญาจะเกิดในคนทุกคนเป็นความรู้เดิมมีหมดแต่ปัญญาคุณต้องมารู้ใหม่จากลัทธิหรือศาสนาโลกุตระ คุณจึงจะมีความฉลาดที่เรียกว่าปัญญาอันเกิดมาตั้งแต่ อัญญธาตุ
หากไม่เกิดอัญญธาตุ เป็นความรู้ใหม่ที่ทวนกระแสโลกีย์ เป็นปฏิภาณไหวพริบอย่างที่มีมุทุธาตุ อัญญธาตุ ไม่สับสนเลย อย่างที่เคยอธิบายไว้ว่าอัญญาสิวตโภโกณฑัญโญ
อาตมาต้องเอามาขยายความแม้ว่าในพระไตรปิฎกจะไม่มีขยายความไว้ สัญญากับปัญญานั้นมีความต่างกันอย่างนี้
พวกนั่งหลับตาสมาธิ คุณอยู่ในภพเก่าไม่มีอันใหม่ คุณปฏิเสธสัตบุรุษ คุณก็เอาแต่ภพเก่าของคุณอีกนานนับชาติ คุณก็จะจมอยู่กับสัญญาเก่า หากไม่มีปรโตโฆษะคนนั้นก็ปิดประตูที่จะเจริญ จมอยู่ที่เดิมอยู่ในกะลาครอบ จนกว่าเขาจะมารู้ ว่าอันนี้ไม่ใช่อันที่เรารู้ ก็คือของอื่นที่ต่างจากที่เราเคยเรียนรู้เชื่อถือ แม้แต่อาจารย์ก็ไม่ใช่อาจารย์เก่า ไม่ใช่อาจารย์ แต่ก็ทำไมไม่เหมือน ก็ต้องเรียนบ้างสิ ศึกษาบ้างสิ แล้วคุณจะได้อะไรใหม่ แต่คุณก็ไม่ควรจะจมอยู่กับบ้านเก่าของคุณนี้อีกนานนับชาติ พูดไปแล้วก็นึกถึงอาจารย์ทั้งหลาย เช่นอาจารย์บูรพา ผดุงไทยเป็นต้น กล่าวถึงท่านบ่อยเพราะว่าท่านเขียนและสื่อสารอยู่ แต่ก็ขอบคุณอาจารย์บูรพา)
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา … หรือวิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในกาวฬิงการาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น
(พ่อครูว่า…ยกตัวอย่างกรณีของเชลล์ชวนชิม เขาทำให้คนติดในกามคุณ 5 ในเรื่องอาหารมากมาย เขาไม่รู้ว่าที่เขาทำทำให้คนติดยึดในกาวฬิงการาหาร นี่คือสิ่งที่เป็นสิริมหามายาที่น่าตกใจ อย่างคุณหมึก คุณถนัดศรี ก็ไม่เข้าใจ ไม่มีไหวพริบรู้ว่าตัวเองผิด แต่ก็ผิด น่าสงสาร
แต่ก่อนนี้ก็อย่างอยู่วงการด้วยกัน เขาเป็นนักร้อง แต่อาตมาเป็นนักแต่งเพลง)
วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใดชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไปมีอยู่ในที่ใด
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในผัสสาหาร … ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในมโนสัญญาเจตนาหาร …
(พ่อครูว่า…อาตมาเอามาอธิบาย…ก็น่าจะได้กันนะ ถ้าคุณฟังรู้สึกว่ารื่นเริง ฟังแล้วแม้ว่าจะเป็นธรรมะยากแสนยาก อาตมาว่าลึกซึ้งละเอียดประณีต
มาถึงวันนี้อาตมาว่าได้อธิบายธรรมะละเอียดไม่น้อย พวกคุณก็ยังรื่นเริงในธรรม ไม่ใช่ฟังแล้วไม่รู้เรื่องรำคาญหู แต่ฟังแล้วรู้สึกว่ามีธรรมรส โดยเฉพาะลึกซึ้ง วิมุติรส มันมีหิริโอตตัปปะ พหูสูตร ใครฟังธรรมแล้วเกิด ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต ก็จะมีวิริยะ สติ ปัญญาตามมา
วิริยะ สติ ปัญญา เป็นองค์ 3 ที่เป็นตัวเพิ่ม coefficient มันมีศรัทธาสูงขึ้น เป็นสัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ก็ยังมีหิริโอตัปปะ กลัวเลย ปฏิบัติได้มากขึ้นก็เป็นพหูสูตยิ่งมีความรู้มากขึ้นเป็นผู้รู้ที่ไม่ใช่ผู้รู้ธรรมดาแต่เป็นผู้รู้ที่สูงขึ้น ก็จะยิ่งมีวิริยะ สติ ปัญญา เพราะฉะนั้นพลังงานจากคุณจะต้องเอามาปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้เจริญเป็นพหูสูตก็คือ ฌาน 1 2 3 4 ในจรณะ 15 ที่เกิดอย่างนี้ได้ เพราะคุณปฏิบัติไม่ผิด 3 อย่าง สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ถ้าไม่มี 3 อย่างนี้ไม่มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูตไม่เกิด วิริยะก็หย่อน สติก็หย่อน ปัญญาก็หย่อน ฌานไม่เกิด
แต่นี่ฌานเกิด เราควรปฏิบัติไม่ผิดตามศีลแต่ละข้อ แล้วมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อธิวิมุติไปตามลำดับ
นี่คือจรณะ 15 ไม่ใช่เอามาแค่ท่องสอบเปรียญ แต่เป็นผลการปฏิบัติจริง)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความปรารถนา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไปมีอยู่ในที่ใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.
คำว่า หยั่งลงในที่หลง (สู่แดนธรรมว่า คำว่าหยั่งลง นี้ บาลีแปลว่าจมลง จะมีน้ำหนักแน่นกว่าคำว่าหยั่งลง)
มีความว่า กามคุณ ๔ คือ รูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต …กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ … รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา … โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่หลงเพราะเหตุไร กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์โดยมาก ย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม เป็นผู้หลงเสมอในกามคุณ ๕ เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ที่หลง. คำว่า หยั่งลงในที่หลงคือ หยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ก็หยั่งลงในที่หลง.
(พ่อครูว่า…อธิบายอนุปุพกถา 5
-
ทาน การสละ การให้
-
ศีล การชำระขัดเกลา ด้วยเจตนางดเว้น
-
สัคคะ (สวรรค์) .
-
กามานัง อาทีนวัง โอการัง สังกิเลสัง
-
โทษของกาม ความต่ำทรามของกาม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย . .