ก.ย.272019ศาสนา620927_พุทธศาสนาตามภูมิ สันติอโศก ฌานวิสัยในวิชชาจรณะ อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/10sM-pVOPZq8qzQBaDtrgMeuF2E77Um6LZYChyyNkvlE/edit?usp=sharing ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1zuM5g2AnmlJoazhlwyW-fbFSW5BwLQS8 พ่อครูว่า…วันนี้วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 ที่บวรสันติอโศก แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน วันนี้เริ่มต้นงานเจ พวกเราก็ไปเตรียมงานเจกันพอสมควร ก็มีอยู่ที่นี่พอสมควร จริงๆแล้วอาตมาอยากจะเอา คุหัฏฐกสุตตนิสเทสที่ 2 มาอ่าน ขยายความให้หลายๆรอบ มันชัดเจนดี เพื่อให้รู้รายละเอียดของคนที่ติดยึด ในโลกนี้ เห็นแล้ว อาตมาทำงานมา 50 ปี เหนื่อยกับคนติดยึด พูดอย่างไรก็เฉยๆ ดูท่าทางมีความรู้มีปฏิภาณปัญญานะ (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) มีความรู้ แต่ก็ทำไมดูๆแล้ว ก็ว่ารู้แต่รู้แล้วอาตมาก็ว่ามันยังไม่ใช่ ก็มารู้อย่างที่อาตมาว่าควรจะรู้แบบโลกุตระหรือแบบนี้ ซึ่งประเด็นชัดๆคือทวนกระแส เขาก็พอเข้าใจทวนกระแสเขารับได้ แต่เขาไม่เปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติ ที่ไม่เปลี่ยนก็คือไปนั่งหลับตานี่แหละเป็นเรื่องใหญ่ มันเป็นการยืนยันเด็ดขาดเลยว่า มันจะไม่ได้ครบ จะบอกว่าไม่ได้เลยก็ไม่ใช่ มีบ้างได้บ้าง อาสวะบางอย่างสิ้นไปได้บ้าง อาจจะได้ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ถึงขนาดที่ว่าจะไม่ได้เลย อาจจะได้บ้างแต่ไม่มีทางที่จะได้ถ้วนรอบ ไม่มีทาง หลับตากับลืมตา 2 แบบ แบบที่มีทฤษฎีที่ปฏิบัติโดยหลับตา กับแบบที่มีทฤษฎีปฏิบัติลืมตา หลับตาแล้วมันก็จะเกิดจิตเป็นฌานเป็นสมาธิ อย่างหลับตานี่มันก็ไม่มีอินทรีย์ 6 ไม่มีโภชเนมัตตัญญุตา ไม่มีชาคริยานุโยคคะ ซึ่งเป็น 3 ข้อเป็นหลักปฏิบัติสำคัญ ถ้าไม่มีการสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ไม่มีโภชเนมัตตัญญุตาไม่มีชาคริยานุโยคะ ก็ผิดหลักการปฏิบัติของศาสนาพุทธในหลักใหญ่ คือวิชชาจรณะสัมปันโน ในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพุทธคุณ 9 มีจรณะและวิชชา มันไม่มี เพราะฉะนั้นความเฉลียวฉลาดที่เกิดอยู่ในภพหลับตา แล้วเขาก็มั่นใจว่ามันจะเกิดเองได้ หลับตาปฏิบัติให้สนิทดีและปัญญาจะโผล่มา แล้วการปฏิบัติหลับตานี้ไม่มีจรณะข้อ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติ ปัญญา ศรัทธาก็คือความรู้ความเชื่อถือ ความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีก มันจะเกิดซับซ้อนขึ้น จากการปฏิบัติ 3 ข้อหลักถ้าหากปฏิบัติได้ถูก มันก็จะยิ่งมีศรัทธา จิตใจก็จะยิ่งมีความละอาย ละอายต่อศีลที่ห้ามไว้ ละอายต่อสิ่งที่ไม่ดีงาม โดยเฉพาะปฏิบัติไปตามหลักศีล แล้วละอายสูงไปเป็นโอตตัปปะ จะกลัวเกรงไม่ทำผิด เป็นเครื่องชี้บ่งความเจริญของจิต ที่เป็นคุณสมบัติคุณธรรมที่มันยิ่งใหญ่ขึ้น มันจะเป็นเครื่องประกันเลยว่าจะไม่ทำบาป มันละอาย กลัว ไม่ทำ หิริโอตตัปปะ ยิ่งทำก็มีมากขึ้นเป็นพหูสูต การเป็นพหูสูตไม่ได้หมายถึงเป็น learned man ผู้รู้มากอะไรอย่างนั้น แต่นี่คือความรู้ที่มันมีมากขึ้นจริงๆ แล้วจะมีธาตุรู้ที่เป็นปฏิภาณปัญญา ว่าเป็นความรู้ที่ได้นี้ดีจริงๆ มันควรจะได้สูงกว่านี้มีอีกไหมอย่างนี้ มีอีกก็จะทำการวิริยะสติปัญญาที่เป็นจริง ซับซ้อน วิริยะ สติ ปัญญา ความเพียร สติตื่นมารู้ปฏิบัติแล้วจะเกิดปัญญา สำทับด้วยปัญญา มันเป็นปัญญินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น ศรัทธาก็เป็นศรัทธินทรีย์เพิ่มขึ้น ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติ ปัญญา มาถึงปัญญาก็เป็นข้อ 11 ปัญญาคืออะไรก็เอาทั้ง 11 ข้อนี้ไปจำกัดความ ตั้งแต่ศีลข้อที่ 1 จะต้องมีปัญญาเรื่องอะไร ก็คือเรื่องของสัตว์ เรื่องศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของเกี่ยวกับวัตถุ พีชะและอุตุ ข้าวของ ที่ไม่ใช่สัตว์ เรายืนยันแต่ละหลัก ไม่ได้พูดเลอะๆหลวมๆ แต่เป็นเรื่องที่อธิบายได้ถูกบรรลุถึงขั้นไหนจนถึงที่สุดได้เลย ความรู้เหล่านี้เกิดจากการปฏิบัติธรรมะทั้ง 11 ข้อนี้ มันเป็นความจริงที่เราได้รู้ความจริงนี้จากแต่ก่อนมันคลุมเครืออำพรางมืดมัว หรือมันเข้าใจไปคนละเรื่องแต่มันเปลี่ยนมาเป็นอย่างนี้แล้วไม่ใช่อย่างมืดมัวและคลุมเครือ แต่มันชัดเจนจริงๆเพราะว่ามันเป็นฤทธิ์เดชของฌาน ทำให้เกิดความชัดเจนแจ่มแจ้งเป็นเนื้อตัวของความจริง ล่อนจ้อนขึ้นๆ ไม่มีอะไรบังไม่มีอะไรปิดอำพราง มีแต่เนื้อสดๆแท้ๆของความจริงที่จริงขึ้นด้วยอำนาจของฌาน ทั้ง 4 ฌานคือไฟ เผาตัวพรางคือกิเลส ตัวที่ทำให้คนอวิชชา โง่หลงผิดยังไม่จริงแท้เต็มสมบูรณ์ ฌานจะมีคุณสมบัติอย่างนี้ ฌานที่ 1 ก็ต้องตรวจแล้วตรวจอีก วิตกวิจาร ดูแล้วดูอีกทบทวนซ้ำปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีก ตรวจแล้วตรวจอีก ปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีกจนให้ถึงที่สุดแห่งที่สุดให้ได้ จุดหมายอยู่ตรงนี้ เราก็ทำไป ฌาน1 วิตกวิจาร อาเสวนาภาวนาพหุลีกัมมัง จนกระทั่ง ยิ่งปฏิบัติก็จะยิ่งปิติ มันก็ยิ่งเป็นความจริง พอใจยินดี แล้วจะกลายเป็นความสงบสุข สุขคือด้วยความจะหยุด ก็จะค่อยๆสงบลงไม่ต้องไปทำอะไรอีก พอ เบาได้แล้วหยุดได้แล้ว สุขสงบลงไป เรียบร้อยไปเรื่อยๆ เพราะความจริงปรากฏเพราะสิ่งที่เราได้ปฏิบัติประพฤติจนเป็นจนมี มันมีมันเป็นขึ้นมาแล้วจริงๆแล้ว เพราะฉะนั้นตัวกิเลสตัวที่กวนไม่สงบมันหมดๆๆ จนตรวจสอบถึงขั้นอรูป อากาสาฯ วิญญานัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญานาสัญญาฯ บางเบาละเอียดจนสุดละเอียดลงไปเรื่อยๆจนหมด จะว่าไม่จริงก็ไม่ได้ จะว่าไม่ได้ตรวจสอบก็ไม่ได้ ตรวจสอบกันจนกระทั่งจะไม่ใช่ก็ไม่ใช่ไม่ได้ จะว่าใช่มันสุดจะใช่แล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนะ มันสุดยอดสมบูรณ์แบบพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ การสำคัญมั่นหมายลงไปในสิ่งนั้นจนสมบูรณ์แบบ สัญญาทำงานเต็มที่นิโรธ แน่นอน ซึ่งดูได้จากการตรวจสอบจากเวทนา คือ ความรู้สึกซึ่งเป็นตัวกรรมฐานแท้ ตัวปฏิบัติแท้ของพระพุทธเจ้า เวทนา เป็นกรรมฐานเดียวด้วย ไม่ใช่มี 40 กรรมฐานที่เป็นเรื่องนอกรีต ที่อรรถกถาจารย์ได้เติมขึ้นไป อย่าว่าแต่ 40 อย่างเลย จะเป็นร้อยก็ได้ เอาอะไรก็ได้มาเป็นกรรมฐานเป็นเครื่องจดจ่อ พวกสะกดจิตเพ่งแบบนี้ สมถะ เหมือนกับเพ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือพุทโธแต่ในกสิณ 40 ไม่มีคำว่าพุทโธ ก็เป็นบัญญัติเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นวิธีปฏิบัติหลับตากับลืมตา ลืมตาปฏิบัติจึงรู้ชัดเจนอาการกิเลสที่เป็นนามธรรมแล้วเราก็รู้ว่าได้ปฏิบัติให้กิเลสลดลง จนกิเลสมันตายมันหมด ขณะที่สัมผัสอยู่กับปัจจุบันก็รู้เลยว่ากิเลสไม่มียังลืมตานี่แหละเป็นปัจจุบันธรรม เป็นธรรมะที่จริงที่สุดยิ่งกว่าอดีตยิ่งกว่าอนาคต ปฏิบัติลืมตาหลัดๆนี่แหละ แล้วก็ทำให้มันลดลงไปได้เลย เป็นปัจจุบันทันสมัยที่สุด เป็นความเจริญศิวิไลซ์ หรืออาริยชน ที่ได้คุณสมบัติเป็นธรรมะที่บรรลุ เป็นความรู้สึกพ้นเป็นนิพพานเป็นวิมุติ จะเรียกด้วยบัญญัติภาษาก็ได้ นิพพานก็ได้ หลุดพ้นจากโลก หลุดพ้นจากอัตตา โลกก็มี กามภพ รูปภพ อรูปภพหรือเรียก โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา ซึ่งบัญญัติเอานี้มันหมายถึงสภาวะธรรมอย่างไร ก็สามารถดับได้จนหมดเรียบร้อย เป็นสภาพของจิตที่ล้างกิเลสออกได้หมดสะอาดบริสุทธิ์แล้ว จึงเป็นจิตตัวที่เราถือว่าเป็นจิตสะอาดบริสุทธิ์ ที่เราได้ล้างกิเลสออกไปแล้วก็สะอาดบริสุทธิ์จริง ตรวจสอบแล้วแล้วอีก ที่อธิบายไปอันนี้แหละเป็นสุดยอดของจิตสะอาดที่ตกผลึกลงเป็นของเรา มีกิเลสอีกกี่เรื่องก็ตกผลึกไป คุณก็เป็นพระอาริยะที่อยู่ในโลก เขาตกเป็นทาส แต่เราก็หลุดพ้นจากความเป็นทาสเหล่านั้นออกมาแล้ว จิตตกผลึกตั้งมั่นจิตเป็นสมาธิ จึงไม่ใช่เรื่องพื้นๆ จิตนั้นพ้นจากจรณะ 15 วิชชา 8 เป็นจิตที่สิ้นอาสวะ เป็นจิตสะอาดที่ตกผลึก จิตที่พ้นจรณะ 15 วิชชา 8 คุณสมบัติของจิตก็เชื่ยวชาญชำนาญขึ้น ทั้งปริมาณก็มากขึ้นรวมกันขึ้นมาเป็นจิตบริสุทธิ์ ปริโยทาตา เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ มีทั้ง 2 ด้าน ทั้งสมรรถนะความสามารถ quality and quantity ฟังอีกที คำว่าสมาธิที่บอกว่าเป็นการสะกดจิตให้หยุดนิ่งนั้นเป็นสมาธิแบบเด็กๆ กับสมาธิที่อาตมาอธิบาย มันไปไกลเลย เพราะฉะนั้นเป็นสมาธิของนายป่องเอี้ยม เด็กๆ ขออภัยที่พูดดูข่มแต่สื่อให้เห็นชัดเจน ฌาน ลืมตาปฏิบัติกับหลับตาปฏิบัติ มันจึงต่างกัน หรือเป็นสมาธิหลุดพ้นวิมุติ ชัดเจนว่า สมาธิแบบไหนที่มันควรได้มากกว่ากัน ลืมตาทำมันเป็นปกติ แต่หลับตาทำมันเสียเวลาต้องไปหาสถานที่ ไม่หาสถานที่ก็แล้วแต่ คุณไม่เกี่ยวอะไรกับใคร แต่การลืมตาปฏิบัติเกี่ยวข้องอยู่กับคนอื่นอย่างอื่นทันทีทันใดอย่างมีปกติสามัญชีวิต สมณะแสนดิน พ่อครู…อ่านและอธิบายคอลัมน์เปิดยุคบุญนิยม ข้อเขียนปิดเล่มสุดท้าย ฉบับ 350 เราสาธยายมาถึงว่า ผู้มี“ฌาน”แบบพุทธจึงต้องมี“ธาตุรู้”ที่เรียกว่า “ปัญญา” เพราะเป็น“ธาตุรู้โลกุตระ” ซึ่งเป็นธาตุรู้ชนิด“อื่น(อัญญธาตุ)”ที่มันเกินมันพ้นไปจาก“ความรู้”แค่“โลกียสัจจะ”คนละทิศทางเป็นธาตุใหม่ที่แตกออกจากกระเปาะเก่า ออกมาสู่โลกใหม่ เช่น คนทางโลกมุ่งไปรวย ทางนี้บอกมุ่งมาจน มันสวนทางกัน คนหนึ่งมาเอามี อีกคนหนึ่งเอาไม่มี เป็นสองทิศทาง “ความรู้”โลกียะนั้นเป็นธาตุรู้แค่“เฉโก” คือ ความเฉลียวฉลาด ที่ยังไม่ใช่“ปัญญา” “ธาตุรู้”ที่เรียกว่า“เฉโก”จะไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“สักกาย”ของตนที่เป็น“กายกลิ(กิเลส)”คือ“ตัวตนของกิเลส”ในตน แม้ฉลาดขนาดความรู้ของพระศาสดาของศาสนาอื่นก็ยังเป็นความฉลาดแบบเฉโกทั้งสิ้น ที่พูดนี้ไม่ได้ลบหลู่ดูถูกนะ สรุปคือต้องรู้ตัวตนของกิเลสเรียกว่าสักกายะ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมีปัญญารู้ สักกายะ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมีปัญญารู้สักกาย นั่นคือ ผู้ที่โวหารชาวพุทธเรียกกันว่า “พ้นสักกายทิฏฐิ”ซึ่งเป็นการ“พ้นสังโยชน์”ข้อแรกของ“โลกุตรภูมิ” จึงจะเป็นผู้มี“ปัญญา”ที่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ตัวตนของกิเลสในตน(สักกาย)”แท้จริง คือ มีรู้ที่“พ้นสักกายทิฏฐิ” แม้รู้จักกิเลสแล้ว แต่คนมิจฉาทิฏฐิ ก็จะข่มไว้ หรือลืมทิ้งไป หรือข่มไว้ หยุดไว้ หยุดๆๆๆ เขาก็ทำกันอย่างนั้นทั้งนั้นเรียกวิกขัมภนปหาน ปหานด้วยการกดข่ม สู่แดนธรรมว่า… บางสำนักสื่อว่า แค่รู้ก็พ้นแล้ว พ่อครูว่า…และต้องเป็นผู้รู้จักวิธีปฏิบัติกำจัดกิเลสด้วย คือ ต้องมี“ศีลพรต”ที่กำจัดกิเลสได้ นั่นคือ“ไตรสิกขา” จึงจะเกิด“ฌาน”แบบพุทธได้ แล้วไม่ใช่รู้กันได้ง่ายๆ ที่จะรู้จริงๆ ผู้รู้แล้วเข้าใจจะต้องมาปฏิบัติอย่างนี้ทีละลำดับตั้งแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสนะ จึงเป็นฌานแบบพุทธ ผู้มี“ธาตุรู้”ที่ยังเป็น“เฉโก”อยู่คือ ผู้ยังไม่มี“ธาตุรู้”ที่เรียกได้ว่า“ปัญญา”ก็ยังไม่มี “ฌาน”แบบพุทธ มีแต่“ฌาน”หลับตาในภพ ไม่ใช่“ฌาน”ที่เดินทางเข้าสู่“ชาครณะ” ที่เป็น“ความตื่น” แต่เป็น“ฌาน”ที่เดินทางเข้าสู่“เสยยะ” ที่เป็น“การนอน” ก็ยิ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อเดินทางเข้าสู่“ความหลับ” ซึ่งไม่ใช่“ฌาน”ที่เกิดจาก“จรณะ 15 วิชชา 8 ”อันเป็น“พุทธคุณ”ของพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่“ฌาน”ที่เป็น“ความตรัสรู้”ของพระพุทธเจ้าอยู่ชัดๆ ซึ่งเป็น“ฌาน”นอกศาสนาพุทธ จึงไม่มี“ปัญญา”ที่“พ้นสักกายทิฏฐิ”ได้ กายนั้นเขาก็เข้าใจกันแค่ภายนอก แต่ของเราไม่ได้หมายถึงข้างนอกอย่างเดียว ต้องมีทั้งนอกและใน เบื้องต้นต้องพ้นสักกายะ แต่เขาไม่รู้จักกาย ก็จะไม่รู้สักกายะ มีแต่สักจิตตะ “ฌาน”ที่ไม่มี“ธาตุรู้”ขั้น“ปัญญา”จะไม่สามารถ“เผา”กิเลสถูกตัวตนของ“กายกลิ” “กายกลิ”คือ สิ่งชั่วช้าที่อยู่ในกาย คือ กิเลส คือกายโทษ = โทษที่อยู่ในกาย นั่นเอง ผู้ที่จะสามารถ“กำจัด”กิเลสได้ จึงต้องมี “ฌาน” หรือสามารถสร้างจิตให้เป็นพลังงานที่เรียกว่า“ไฟ” มีประสิทธิภาพ“เผา”กิเลสได้ “ฌาน”ที่ไม่สัมมาทิฏฐิตามความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจะกำจัดกิเลสไม่ได้จริงแท้ “ฌาน”โลกีย์ได้แต่กดข่มกิเลสไว้ หรือมีวิธีชะลอกิเลส ไม่ให้มันออกฤทธิ์ชั่วระยะ หนึ่งได้ เร็วบ้าง นานบ้างเท่านั้น แล้ว“หลง” กันว่า กิเลสหมดสิ้น หรือกิเลสดับสนิท อาจกดข่มได้นานมากๆๆ จนถือว่านิรันดร์ คือกิเลสมีอยู่นิรันดร์ เหมือนอาฬารดาบส อุทกดาบส ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไหร่จะออกมา เขาไม่ได้ล้างกิเลส แต่กิเลสมีนิรันดร์ เขาหลงว่ามันไม่มีแต่มันมีไปนิรันดร์ เขาจะบอกให้ตามไปดู เราก็ไม่ตามหรอก อย่างโลหิตตัสพราหมณ์ตามว่าที่สุดแห่งโลกอยู่ที่ไหน ไปตามถามพระพรหม ไปถามว่าที่สุดแห่งโลกอยู่ที่ไหน ไปทวงต่อหน้าลูกศิษย์พระพรหมถามสามครั้ง พระพรหมก็ว่าข้านี่แหละใหญ่ๆๆ สามครั้ง ก็เลยลากไปหลังม่าน ต่อหน้าบริวารพรหมก็ขายหน้า เราตอบไม่ได้เสียศักดิ์ศรีพระพรหมหมดสิ ก็บอกว่าไปถามพระพุทธเจ้าสิ มาถามเราได้อย่างไร เราไม่บอกหรอกว่าเราไม่รู้ ซึ่งทฤษฎีใดก็ตาม ที่ยังไม่ใช่“โลกุตระ” ของพุทธ จะไม่สามารถแยกความเป็น“เทฺว” ออกเป็น“2”อย่างมีนัยสำคัญต่างๆ แล้วจัดการให้เป็น“1” และเป็น“0”ได้สำเร็จเลย ทำ 1 ได้เหมือนกันแต่เป็นแค่เอกจิต ไม่ได้เอกัคคตาจิตที่เป็นจิตที่เป็น 1 อันยิ่งใหญ่ ศาสนาพระเจ้าสอนว่าอย่าไปแย้งการตัดสินของพระเจ้า พระเจ้านิรันดร ใครก็ไม่รู้จักท่านได้ เป็นเทวะที่หมายเอาถึงจิตวิญญาณเป็นประธานสิ่งทั้งปวงคือพระเจ้า แต่ของพระพุทธเจ้า จิตวิญญาณของคุณเองเป็นประธานของส่ิงทั้งปวง จนสามารถทำลายพระเจ้าได้เลยนี่คือของศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธสามารถแยกธาตุจิตให้เป็น 1 เป็น 0 ได้ เป็นพีชะ เป็นอุตุได้เลย … มีศาสนาพุทธเท่านั้น ที่ตีแตกแยกแยะ “เทฺว”ได้ และ“ดับ”ความเป็น“เทฺว”ได้สนิทหมดสิ้น ด้วย“ฌาน” ด้วย“บุญ”นี่เอง จึงเป็นศาสนาเดียวที่ทำความเป็น“0” ให้แก่จิต-เจตสิก-รูป-นิพพานสำเร็จจริง ศาสนาพุทธจึงมี“นิพพาน”ศาสนาเดียวในโลก ศาสนา“เทฺวนิยม”ไม่มี“นิพพาน” แต่“ฌาน”มีทั้งไม่ใช่พุทธทั้งที่เป็นพุทธ “ฌาน”ที่ไม่ใช่พุทธยังเป็น“ฌานโลกีย์” หรือเป็นของ“เทฺวนิยม”นั้นแบบหนึ่ง ไม่สามารถ“เผา”กิเลสได้ เพราะไม่มี“ปัญญา”ที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ตัวตนกิเลสของตน(สักกาย)” ส่วน“ฌาน”ของพุทธนั้นก็อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็น“ฌานโลกุตระ”สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง “ตัวตนกิเลส”ที่เป็น“สักกายะ(รูปนามของตน)” “ฌาน 2 ชนิด”จึงมีนัยสำคัญแตกต่างกัน ตามที่ได้สาธยายมานี้แล “ฌาน”จึงจะเป็น“พลังงานจิต”ที่ถึงขั้นมีประสิทธิภาพทำให้เกิด“บุญ”ได้จริงแท้ นั่นคือ “กำจัดกิเลส”สำเร็จจริง พลังงานอะไรที่ยิ่งใหญ่ขนาดนิวเคลียร์ ก็ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ พลังงานฌานที่สามารถทำลายกิเลสได้จึงยิ่งใหญ่กว่า ส่วนผู้ที่ทำ“ฌานทั้ง 4”ได้เชี่ยวชาญจนชำนาญถึงขั้น“ได้โดยไม่ยากโดยไม่ลำบากในฌานทั้ง 4” ก็เป็นผู้“ทำใจในใจของตน”ให้เป็น“ฌาน”ขึ้นใช้งานพิเศษ ซึ่งไม่ใช่งาน“เผากิเลส”แล้ว แต่เป็นเพียง“อุณหธาตุ”คือ“ไฟที่ใช้ประโยชน์”อันพอเหมาะตามต้องการได้เสมอ อรหันต์ หมดบุญ มีแต่ฌาน ฌาน…นี่คือภาคปฏิบัติ….พระเสขบุคคล จึงต้องใช้บุญทำบุญอยู่นั่นเอง แต่ปุถุชนไม่มีสิทธิ์ทำบุญได้….แต่จะทำบุญได้ต้องทำฌาน จะทำฌานได้ต้องมีจรณะ 15 ที่สำคัญยิ่ง “ฌาน”นี้เป็นพลังงาน“อุณหธาตุ”เท่านั้น ซึ่งไม่ได้“ฆ่ากิเลส”แล้ว เสร็จกิจแล้ว แต่เป็นพลัง“ฌาน 4”ที่ใช้งานวิเศษยิ่ง ฌาน นี่ใช้ฌานเป็นรูปฌาน 4 แม้ที่สุดจะตรวจสอบด้วยอรูปฌาน 4 ก็ทำได้ และผู้ยังไม่สมบูรณ์แบบก็ต้องตรวจด้วย อรูปฌาน 4 จนสมบูรณ์ การตรวจสอบก็หมดไป อรูป วิญญาณนี้คู่หนึ่ง สิ่งที่เหลือกับไม่มีต้องหมดไป พ้นความสงสัยทั้งหมดเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ อรูปฌาน 4 เป็นการตรวจสอบ ชีวิตของอรหันต์โพธิสัตว์จึงต้องใช้ฌาน “ฌาน”นี้จึงใช้เป็น“เครื่องอาศัย”ไปกับการดำเนินชีวิตได้ตลอดของพระอรหันต์และพระโพธิสัตว์ผู้มี“ภูมิ”ผ่าน“กตญาณ”แล้ว ซึ่งแตกต่างกับคำว่า “ฌาน”ที่ยังทำหน้าที่“บุญ” “ฌาน”ของพุทธจึงเป็น“อุณหธาตุ”ซึ่งเป็นธาตุพิเศษมีประโยชน์ยิ่ง มีประสิทธิภาพวิเศษยิ่งเกินจะมี“ฌาน”ในลัทธิใดๆเหมือน เพราะฉะนั้น “ฌาน”ที่ไม่ใช่แบบพุทธ จึงเป็นโลกียะทั้งนั้น ซึ่งเป็น”ฌาน”ปกติทั่วไปตาม“ทิฏฐิ”อันเป็น“เทฺวศาสตร์”อยู่สามัญปกติในโลก “ฌาน”โลกีย์จึงรู้จักกันได้ไม่ยาก ส่วน“ฌาน”ของพุทธนั้นรู้จักรู้แจ้งรู้จริงยากมาก คัมภีรา-ทุททสา-ทุรนุโพธา-สันตา-ปณีตา-อตักกาวจรา-นิปุณา-ปัณฑิตเวทนียา “ฌาน”ของพุทธจึงแตกต่างกับ“ฌาน” โลกียะทั่วไป มีนัยะลึกซึ้งกันคนละ“ทิฏฐิ” ถ้า“ฌาน”ที่“ไม่สัมมาทิฏฐิ”ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็ถือว่า“มิจฉาทิฏฐิ”อยู่ “บุญ”เกิดได้ใน“ฌาน”ที่“สัมมาทิฏฐิ”แบบพุทธเท่านั้น ซึ่งต้องเป็น“ฌานโลกุตระ” “ฌานแบบพุทธ”คือ “ฌาน”ที่เกิดตามกระบวนการ“จรณะ 15” ตั้งแต่เริ่มต้นคือมี“ศีล”เป็นข้อกำหนดในแต่ละ“ปริเฉท”ไป เมื่อมี“ผล”ในหนึ่ง“ปริเฉท”จบ ศีลก็จบ “ผล”ของ“ศีล”ปริเฉทนั้นๆ ทีละปริเฉท “ศีล”ข้ออื่นก็จะมี“ผล”ขึ้นใน“ปริเฉท” ใหม่อีกที เป็น“อธิศีล”แต่ละข้อในแต่ละ“ปริเฉท”หนึ่งๆ บริบูรณ์เป็นลำดับๆไปแต่ละขั้น ยกตัวอย่างรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส อย่างพูดกับหลวงตาบัว พูดเรื่องศีลข้อเลิกกินหมาก รับรองไม่ยอมพูดกับอาตมาต่อเลย เขาจะไม่รู้ ดีไม่ดีก็คือไม่ชอบใจอาตมาเลย หรือพูดไปก็ไม่รู้จะพูดต่อได้อย่างไร หรือไม่ชอบใจเลย เพราะจะโดนดูถูกโดนข่มมันจะไปไม่รอด แต่ดีแล้วไม่เจอกันคนหนึ่งไปแล้ว คนหนึ่งยังอยู่ “ฌานลืมตา”จึงเป็น“ฌาน”ที่มีลำดับน่าอัศจรรย์ตาม“ศีล” ไม่ใช่“ฌาน”เหมาเข่ง เพราะ“ฌานหลับตา”ไม่มี“ศีล”เป็นข้อกำหนดแต่ละขั้นเลย จึงไม่เกิดมรรคผลตามกระบวนการ“จรณะ 15 วิชชา 8” ผลก็ไม่มีตาม“ศีล”ไปแต่ละข้อ ก็ไม่มีการเจริญไปทีละขั้นๆ อันเป็นลำดับอย่างน่าอัศจรรย์ ยกตัวอย่างเรื่องศีลแต่ละข้อ เรื่องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น “ฌานหลับตา”ที่ไม่มี“ศีล”กำหนดขั้นตอนจึงไม่มี“สมณะขั้นที่ 1 ซึ่งมี“ศีล”ขนาด หนึ่ง-สมณะขั้นที่ 2 ก็มี“ศีล”เป็น“อธิศีล”อีกขนาดหนึ่ง-สมณะ ขั้นที่ 3 ก็มี“ศีล”เป็น“อธิศีล”สูงไปอีกขนาดหนึ่ง-สมณะขั้นที่ 4” ก็มี“ศีล”เป็น“อธิศีล”อีกขนาดหนึ่ง ก็เป็นไปตามลำดับของ“ศีล-สมาธิ-ปัญญา”ตามแต่ละขั้นของ“สมณะ”แต่ละขั้นๆ เมื่อไม่มี“ศีล”เป็นข้อกำหนดแต่ละขั้น ก็ไม่มีความเป็นลำดับ ดังนั้นโสดาบัน-สกิทาคามี-อนาคามี-อรหันต์”ที่เป็นลำดับ ก็ไม่มี ชัดเจนแจ่มแจ้งมั้ย? “หลับตา”นั้นไม่มี“จรณะ 15”แน่นอน พุทธจะปฏิบัติตาม“ศีล”แต่ละข้อให้บริบูรณ์ใน“ปริเฉท”ของศีลนั้นๆ จนกระทั่งแต่ละข้อเกิด“อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา-อธิมุติ”บริบูรณ์ก็เป็นอันเจริญไปแต่ละ“ปริเฉท” “ศีล”เป็นข้อกำหนดให้เกิด“อธิจิต”จึงแตกต่างจาก“อธิจิต”ใน“ฌานหลับตา” “อธิจิต”ที่มี“ศีล”กำหนด“วิมุติ” จึงคือ“จิตหลุดพ้นจากกิเลส”ไปแต่ละข้อแต่ละขั้น ก็จะมีผลสำเร็จไปเป็นลำดับๆ แต่ละ“วิมุติ”ใน“ปริเฉท”หนึ่งๆคือ“จิตที่สะอาดจากกิเลสนั้นๆ” ผ่านวิชชาจรณะ แล้วตกผลึกสะสมลงกระทั่งเป็นจิตแข็งแรงมั่นคง หรือ“จิตตั้งมั่น” จึงจะเรียก“จิต”นี้ว่า“สมาธิ” “สมาธิ”คือ จิตที่สะอาดจากกิเลส แล้วจึงจะตกผลึกสั่งสมลงเป็น“จิตตั้งมั่น” ชัดมั้ย? “สมาธิ”ของพุทธจะไม่ใช่จิตที่“ถูกสะกด” ให้แนบแน่น(อัปปนา)เข้าไปๆๆแค่นั้นเท่านั้น แต่เป็น“จิตสะอาด”จากกิเลสจึงเจริญขึ้นแล้วตกผลึกสะสมลงเป็น“จิตตั้งมั่น”เป็นลำดับๆ “สมาธิของพุทธ”จึงมีขั้นมีตอน สมาธิของพุทธเป็นจิตที่บริสุทธิ์สะอาดแล้ว จึงสั่งสมตกผลึกสมาธิ ซึ่ง“สมาธิ”แบบพุทธต้องเรียกเต็มว่า “สัมมาสมาธิ”ที่เกิดจาก“มรรค 7 องค์” แล้วเกิด“อธิจิต”ตกผลึกตั้งมั่นเป็น“สัมมาสมาธิ” ถ้าคนผู้ใดยังมิจฉาทิฏฐิในคำว่า“ฌาน”ก็ดี “บุญ”ก็ดี “สมาธิ”ก็ดี จะไม่สามารถเกิด “ผล”ตรงตามพระอนุสาสนีเป็นเด็ดขาด “ฌาน”คือ “พลังงานไฟ(ทางจิต)” ซึ่งเป็น“ไฟวิเศษ”ที่มีปัญญา“เผา(ฌายติ,ฌาม)”กิเลส หรือฆ่า“ไฟราคะ-ไฟโทสะ-ไฟโมหะ”ได้จริงๆ “ฌาน”ในโลกนี้มี 2 แบบ คือฌานแบบทั่วไป กับฌานแบบของพุทธที่สัมมาทิฏฐิ “ฌาน”แบบทั่วไปไม่เป็น“พลังงานไฟ” “ฌาน”แบบของพุทธที่สัมมาทิฏฐิเท่า นั้นเป็น“พลังงานไฟ”กำจัดกิเลสได้ จึงชื่อฌาน แม้แต่“ฌาน”ในศาสนาพุทธที่มิจฉาทิฏฐิกันอยู่ก็ไม่สามารถเป็น“พลังงานไฟ” เผากิเลสได้ มีแต่เสริมเติมกิเลส ทับถมกิเลสเข้าไปอีกอย่าง“โมหะ”หรือหลงผิดกันอย่างหน้าตาเฉย ไม่รู้สีรู้สา ว่าตนเองทำผิดอะไร “ฌาน”ตามแบบทั่วไปนั้นเป็น“ฌาน”ที่ยึดถือตามแบบ“เทฺวนิยม”ทั้งหลาย จะไม่สามารถ“เผา(ฌาเปติ)กิเลส”เป็น“บุญ”ได้เลย เพราะ“ฌาน”ตามแบบทั่วไปของ“เทฺวนิยม”จะเป็น“ฌาน”ที่ ไม่ใช่“พลังงานไฟ” แต่จะเป็น“พลังงานเย็น”ที่เป็น“สมถจิต”ยิ่งๆขึ้น จะเป็นพลังงานที่ยิ่ง“นิ่ง-ยิ่งจับตัวแน่นเข้าๆ-ยิ่งหยุด–ยิ่งแข็ง-ยิ่งอืด-ยิ่งไม่แคล่วคล่อง-ยิ่งช้า-ยิ่งเฉื่อย-ยิ่งเย็น-ไม่มีไฟทำงาน-ยิ่งไม่รับรู้โลกกว้าง-ยิ่งไม่มีโลกวิทู เป็นพลังงานคนที่ประสงค์ร้ายจะเข้ามาถึงตัวเราไม่ได้ เหมือนทศกัณฑ์กับนางสีดาที่เข้าใกล้นางสีดาไม่ได้ (สีตะแปลว่าเย็น) แต่ทศกัณฑ์ก็ต้องการนางสีดา แต่โดนสัจจะเข้าใกล้ไม่ได้เลย เป็นเรื่องอจินไตยอย่างหนึ่ง “ฌาน”ตามแบบทั่วไปของ“เทฺวนิยม” ไม่มี“ปัญญา”รู้ในความเป็น“กาย”ที่ครบทั้ง“รูปนาม” โดยเฉพาะมี“นาม”เป็นสำคัญ ไม่ว่า“กายกรรม”ที่หมายถึงหรือที่แปลว่า การกระทำทางกาย ซึ่งกระทำด้วย“รูป-นาม (มีนามด้วย)”ให้เกิดผลตามตนต้องการ แต่“กายกรรม”ทุกวันนี้ก็ไปแปลว่า การออกกำลังกาย ซึ่งไปหมายเอาแต่ผลทาง “ร่าง”ภายนอก“คือ“สรีระ”แค่นั้นให้แข็งแรง ซึ่งผู้รู้บางท่านแปล“กายกรรม” ว่า “กรรมอันสัตว์ทำแล้วด้วยกาย” ก็ยังงงอยู่ดี แม้คำว่า“กาย”อื่นๆ เช่น กายกัมมัญญตา,กายปัสสัทธิ,กายปาคุญญตา,กายสักขี,กายมุทุตา,กายลหุตา,กายวิการ ฯลฯ เป็นต้น ล้วนพาซื่อ ไปหมายเอาแต่เฉพาะ“ร่างภายนอกเท่านั้น” ไม่มีความเป็น“จิต” ร่วมด้วยเลย ซึ่ง“ผิด”อย่างมหันต์ทีเดียว เพราะถ้าหากเข้าใจ“กาย”อย่างนี้ก็จะไม่สามารถทำความเป็น“ฌาน”แบบพุทธได้เป็นอันขาด จะไม่บรรลุโลกุตรธรรมได้เลย สังคมคนทั้งหลายทั่วไปในโลกนั้นทำ “ฌาน”แบบทั่วไปของ“เทฺวนิยม”กันทั้งสิ้น แต่“ฌาน”ของพุทธมันตรงกันข้ามกับ“ฌาน” ของ“เทฺวนิยม” เดินทางไปคนละทิศ “ฌาน”ของพุทธจะต้องเกิด“พลังงานไฟ”ขึ้นในจิตใจได้ จึงทำ“การเผา(ฌาปน)”กิเลส จนมีผลแท้ ที่สุดสำเร็จถึงขั้น“บุญ”สิ้นได้จริง “บุญ”เป็นพลังงานขั้นโลกุตระ อาริยบุคคลเท่านั้นจึงจะสร้างพลังงานนี้ขึ้นในจิตของตนเองได้ และเป็นแค่ในปัจจุบันนั้นๆเท่านั้น “บุญ”จึงไม่มีอยู่ในสถานที่ ในบุคคล ใครจะ“ได้บุญเป็นอันมาก”หรือจะ“มีบุญเป็นอันมาก”ก็เป็นการ“ชำระกิเลสออกไป”คือ“สูญเสียส่วนของจิตที่เป็นอกุศล”ไปแท้ๆและเป็นกันอยู่ใน“ปัจจุบันนั้น”เท่านั้น จบกาละที่เป็นปัจจุบันนั้นไปแล้ว ไม่มี“บุญ” ตกค้างอยู่ในที่ใด ในบุคคลใด แม้ในจิตใด จบ วันนี้ Category: ศาสนาBy Samanasandin27 กันยายน 2019Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:620914 บันทึก ประชุมตั้งกองอำนวยการที่ บริเวณ รร.กุดระงุมNextNext post:620929_วิถีอาริยธรรม สันติอโศก อจินไตยของปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า และวิเวก 3Related Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024