620929_วิถีอาริยธรรม สันติอโศก อจินไตยของปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า และวิเวก 3
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1A6DC7lQUQCfAWD8E7wSsQNPLVk6pnDkOwleU_kd6d08/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1MSYxE3PjmU-qfaR9J13oPIgOsM6-EnSA
สมณะเพาะพุทธว่า… วันนี้วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562 ที่บวรสันติอโศก รายการนี้ จัดในเวลา 18:00 นถึง 20:00 น
มีประเด็นเรื่องการกินเจ กราบนมัสการครับ ทัศนคติเรื่องการกินมังฯกินเจ มีปราชญ์ทางพุทธศาสนา ได้มีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไว้ดังนี้ อยากทราบว่า ความเห็นเช่นนี้เป็นสัมมาทิฏฐิหรือไม่ครับ
เรื่อง การกินเจ ไม่ใช่การทำบุญ … การกินเนื้อสัตว์ ไม่ใช่การทำบาป
การกินเจ (ตั้งใจไม่กินเนื้อสัตว์) จริงๆไม่ได้บุญ
อธิบาย คือ เราไม่กินข้าวขาหมู แล้วคิด(จิตนาการ) ว่า หมูจะไม่ถูกฆ่า เปรียบได้กับเรานั่งอยู่บ้านเฉยๆ แล้วคิด(จิตนาการ) ว่า เราไปช่วยสอนหนังสือคนอนาถา บุญที่เราไปสอนหนังสือคนอนาถานั้น ไม่มี ไม่เกิด เพราะเรา นึกๆคิดๆไปเองไม่ได้ทำ ไม่ได้กระทำจริง ถ้าอยากได้บุญ เราต้องช่วยชีวิตสัตว์ มี 2 ข้อ คือ
-
ช่วยชีวิตมันโดยการไถ่ชีวิต ซื้อสัตว์ที่กำลังถูกฆ่านำมาปล่อย
- เมตตาสัตว์ไม่ทำร้ายมัน อย่างนี้เป็นบุญ
แต่การกินเจ บุญไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง(ช่วยชีวิตสัตว์) เป็นเพียงแต่คิดไปเอง
พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์
พระพุทธเจ้าปฎิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
-
เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
- พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
- อนุญาตในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
- อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก
การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง คือ
-
ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
- สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
- ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
- อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
- เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
- ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
- ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
- ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
- ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
- ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ 10 วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย
การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ 5 คือ
-
ปาโณ สัตว์มีชีวิต
- ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
- วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
- อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
- เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง 5 ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ 1 เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”
การกินผักก็อาจจะต้องฆ่าสัตว์ทางอ้อมไปด้วยเช่นกัน เพราะต้องไถดิน ใส่ปุ๋ย ใช้ยากำจัดแมลง อาจทำให้แมลงต่างๆ ไส้เดือนตายได้ ถ้าแบบนี้บาปก็คงไม่ต้องทำสัมมาอาชีพกันเลย
หลวงปู่แหวนท่านบอกว่า
“ไอ้วัวควายกินหญ้าอยู่ตั้งนาน ไม่เห็นเป็นพระอรหันต์ซักตัว”
กราบนิมนต์พ่อครูวิสัชนา คำสอนเหล่านี้ด้วยครับ…กราบนมัสการครับ
พ่อครูว่า…ก็ต่อเรื่องของเจหรือมังสวิรัตินี้ก่อน ร่วมยุคร่วมสมัยกันดี ตอนนี้เป็นวัฒนธรรมการกินเจซึ่งเป็นเรื่องของชาวจีน กินเจ 9 วัน ก็เมืองไทยตอนนี้ เจริญขึ้นในเรื่องนี้ก้าวหน้าขึ้นเยอะ เรื่องของการกินอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ จะเรียกว่าเจหรือเรียกว่ามังสวิรัติ สาระสำคัญคือการไม่กินเนื้อสัตว์ ส่วนรายละเอียดการไม่กินเนื้อสัตว์นั้นจะเป็นบาปหรือเป็นบุญจะเป็นกุศลหรือไม่เป็นกุศลเราจะได้วิเคราะห์วิจัยกันให้ฟังไปอีก
อาตมาก็พูดถึงเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อนบวช แล้วก็นำเรื่องมังสวิรัตินี่แหละเป็นบุญญาวุธหมายเลข 1 มาตั้งแต่ต้นจนเมื่อยแล้วจนมาบัดนี้ติดลมในประเทศไทยแล้ว ใครเคยเล่นว่าว เมื่อชักไปบนอากาศแล้วเราก็ถือเชือกเฉยๆ แต่ว่าวก็อยู่ได้เพราะลมบนมันจะแรง บางทีมันจะดึงว่าวตัวใหญ่ๆไปเลย คือติดตลาดแล้วติดสังคม สังคมรู้สึกว่าจะมีแนวโน้มเห็นดีเห็นงามแล้วก็พากันเลิกกินเนื้อสัตว์กันเพิ่มขึ้น แล้วก็จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อาตมามั่นใจว่าเป็นเรื่องของมนุษย์ผู้มีจิตเจริญ มาสู่การเห็นว่าจริงๆแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ควรกิน
เนื้อสัตว์ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรกิน เป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้า อย่าว่าแต่ควรกินเลย มันเป็นเรื่องที่รายละเอียดอีกมาก เกี่ยวกับความเป็นสัตว์โลก ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวจนถึงเป็นพระพุทธเจ้า เป็นจิตนิยาม พลังงานที่มนุษย์สังเคราะห์กัน
(พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สมณะเพาะพุทธว่า…เนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ควรกิน เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้าในลังกาวตารสูตร
พ่อครูว่า…คำว่าเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ควรกิน ถ้าคนไทยฟังภาษาไทยเข้าใจ เนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่มนุษย์ มนุษย์นี้กินเนื้อสัตว์ควรหรือไม่ควรก็บอกแล้ว เนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่ควรกิน แค่นี้คุณไม่เข้าใจเหรอ ถ้าเข้าใจแค่นี้คุณจะไปกินทำไม แล้วคนที่พูดนี่คือพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัส ไม่ใช่คนธรรมดา พระพุทธเจ้าตรัสว่าเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่ควรกิน แล้วไปกินมันทำไม เป็นของไม่ควร ถ้าผู้ที่มีจิตละเอียด ชัดเจนเชิงปัญญาสมบูรณ์แล้วมันก็ชัดแล้ว
มันมีนัยมากมายเกี่ยวกับสัตว์ อาตมาเคยบอก ถ้าผู้ใดเข้าใจแล้ว สัตว์ที่เกิดมาเริ่มเป็นเซลล์เดียวก็ตาม สัตว์เซลล์เดียว ก็ปล่อยเขาเลยอย่าไปยุ่งกับเขา เขาจะมีวิบากของเขาไปเรื่อยๆ คนแต่ละคนมีวิบากร่วมกับสัตว์มา คนเคยกินเนื้อสัตว์กันมาทั้งนั้นเคยหลงผิดเคยถูกครอบงำด้วยอวิชชามาทั้งนั้นไม่เว้นใคร แม้แต่คนที่เกิดในอินเดีย เขาไม่ได้กินเนื้อสัตว์กันมาตั้งแต่ต้นตระกูล ปู่ของปู่ๆๆๆ แต่ก็ปู่ของปู่ๆๆเขาล่ะ คนระลึกถึงไม่ได้หรอกก็เคยกินมาทั้งนั้นแหละเนื้อสัตว์ คนนั้นเป็นอวิชชาผิดมาก่อนถูกทั้งนั้น เมื่อรู้ว่าผิดก็จะทำต่อทำไมรู้เมื่อไหร่ก็หยุด แน่ใจแล้วว่ามันไม่ดีจริงๆ ก็หยุด อะไรจะไม่มีอะไรจริงเท่าความจริง ความจริงนั่นแหละจริงที่สุดเลย ความจริงแล้วใครบอกว่าไม่จริงคนนั้นต้องโง่ มันเป็นความจริงคุณมาแย้งความจริงได้อย่างไรคุณก็โง่ นี่พูดกันอย่างปิดปากเลย
ที่คุณคนนี้แสดงความมา อาตมาก็ไม่อยากจะต่อความยาวสาวความยืดเท่าไหร่ คนที่แสดงมาก็อ้างหลักธรรมคำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือของอรรถกถาจารย์ อย่างบุญกิริยาวัตถุ 10 ที่จริงของพระพุทธเจ้ามีแค่ 3 ข้อ
ที่พระพุทธเจ้าปฏิเสธพระเทวทัตก็ตามเขาก็เก็บมา
พร้อมให้เหตุผลว่า
-
เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
-
พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
-
อนุญาตในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
-
อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก
คนกินเนื้อสัตว์เป็นคนเลี้ยงยากหรือเลี้ยงง่าย แค่ความเห็นอย่างนี้ คนกินเนื้อสัตว์นี้เป็นคนเลี้ยงยาก แค่นี้ก็แย้งกันแล้ว พูดกันอย่างพื้นๆ สัตว์ตัวหนึ่ง กับพืชใบหนึ่ง คุณจะไปเอาสัตว์มากินกับพืช อะไรเอามากินง่ายกว่ากันอะไรมันจะดิ้นรนมากกว่ากัน แค่นี้ก็บาปมากหรือบาปน้อยกว่ากันชัดเจนอยู่แล้ว แล้วยิ่งใช้ปฏิภาณปัญญา พืชมันก็ไม่จองเวรจองกรรมแต่สัตว์มันจองเวรจองกรรม แค่นี้เอาเหตุแค่นี้มาแย้งก็ดูจะยากแล้ว
อนุญาตให้กินเนื้อสัตว์ที่ไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ฆ่าเฉพาะตน อันนี้เบี้ยวบาลี
ไม่รู้ไม่เห็นไม่สงสัย บริสุทธิ์โดยส่วนสาม
-
สัตว์ที่เห็นว่าถูกฆ่า 2. เนื้อนี้คนฆ่ามาไม่ใช่สัตว์ฆ่ากันเอง เดนสัตว์กินหรือสัตว์ตายเอง ปวัตตมังสะ แต่เขาเบี้ยวบาลี อุทิสมังสะคือสัตว์ที่ถูกฆ่าแล้วเจาะจงให้คนนี้กิน คนชื่อนี้กินแล้วบาป แต่คนอื่นกินแล้วไม่บาป ทำไมต้องเจาะจงเฉพาะแค่คนนี้ได้บาป คุณจะเหมาว่า ก็ว่าเขาเป็นต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ตัวนี้ก็เลยเหมาเอาบาปไปคนเดียว แล้วคนฆ่าไม่บาปด้วย หรืออย่างนั้นหรือ จะแย้งด้วยมุมต่างๆนี้เยอะมาก อาตมาไม่ต่อ
อาตมาอยากจะยกตัวอย่างสามเหตุผลง่ายๆ
เหตุผลที่ 1 เรื่องของสัตว์นี้พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ ใครๆก็รู้ อาจจะมีคนไม่รู้อยู่ประเด็นหนึ่งก็คือว่า พระพุทธเจ้าท่านห้ามขาย ห้ามค้าขายเนื้อสัตว์ ยังมีคนเบี้ยวบาลี แย้งว่าท่านห้ามค้า ไม่ใช่ห้ามขายหรือประมาณนี้อาตมาจำไม่แม่นแล้ว ก็ว่าค้านี้มันก็มีขายกับซื้อ เขาแย้งว่าท่านห้ามขายไม่ได้ห้ามค้า หรือห้ามค้าไม่ได้ห้ามขายอะไรประมาณนี้
อาตมาก็ว่า ค้า หรือขายก็อันเดียวกัน ค้าคือมีการซื้อการขาย ถ้าขายก็มีแค่ขายออกไป แล้วมันต่างกันตรงไหน ก็แย้งเอาพยัญชนะสองตัวมาแย้งเท่านั้น ความจริงแล้วมันแย้งไม่ได้
หากห้ามค้าก็ไม่มีการซื้อขาย เขาแย้งว่า ห้ามขายนี้ซื้อไปกินได้ คนขายบาปแต่คนซื้อไม่บาป
อันต่อมา ห้ามค้าขายสัตว์เป็น และอันต่อมาห้ามค้าขายเนื้อสัตว์
มิจฉาวณิชชา 5
-
การค้าขายอาวุธ (สัตถวณิชชา)
-
การค้าขายสัตว์มีชีวิต (สัตตวณิชชา)
-
การค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)
-
การค้าขายสิ่งมอมเมา (มัชชวณิชชา)
-
การค้าขายสิ่งที่เป็นพิษ (วีสวณิชชา)
(พตปฎ. เล่ม 22 ข้อ 177)
สมมุติว่าเมืองไทยดีมากปฏิบัติตามศีลได้ 95% คนไทย 70 ล้านไม่ฆ่าสัตว์เลย เนื้อสัตว์ก็ไม่มีการขาย ก็จะมีแต่สัตว์ที่ตายเองหรือเดนสัตว์กินทั้งนั้นไม่ได้ถูกคนฆ่า แต่จะหาเนื้อสัตว์ที่ตายเองหรือเดนสัตว์กินมันจะมีน้อยมาก หายาก
ก็จะมีคนที่ไม่กินมากกว่า และเป็นของหายากที่สุด แพงที่สุด อย่างเหล็กไหล หายากที่สุด คนไม่เกี่ยวบอกว่าไร้สาระอีกคนกลุ่มหนึ่งบอกว่าแพงที่สุดเลย คนอีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าเอามาทำประโยชน์อะไรก็ไม่ได้เอามาทำโต๊ะเก้าอี้เดี๋ยวมันไหลหนีไปหมด
สรุปว่าไม่มีการค้าขายไม่มีการฆ่า นี่ก็จบแล้ว แต่ สำหรับคนจะกินนั้นก็ไม่จบ เราก็ไม่ว่าอะไร เราว่าไปแล้วแต่คุณได้ยินคุณก็ยังเถียงเลย อาตมาก็เลยได้คนจำนวนหนึ่งที่แม้จะบรรยายมาจนเมื่อย คนจำนวนนี้มาพูดแทนอาตมาเยอะแล้ว อาตมาก็จะมีเรื่องที่พูดต่อไปไม่ใช่มีแต่เรื่องมังสวิรัติอย่างเดียว อาตมาก็เลย บายให้ทางนั้นช่วยพูดไป
ประเด็นที่อาตมาอยากจะสรุปให้ฟัง 2 ความหมายชัดๆ ว่า
พระพุทธเจ้าไม่ได้สนับสนุนการกินเนื้อสัตว์ และพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ได้ฉันเนื้อสัตว์
ที่ยกตัวอย่างมามากแล้ว
ถ้าพระสมณโคดม เจ้าชายสิทธัตถะ มาออกบวชและก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเผยแพร่ศาสนา มนุษย์คนหนึ่งอยู่ในโลกสังคมมนุษย์ ถ้าหากท่านฉันเนื้อสัตว์เป็นปกติ คนเอาเนื้อสัตว์มาถวายท่านก็ฉันเป็นธรรมดา ท่านบอกว่าไม่บาปไม่บุญอะไรหรอก ฉันก็ฉันเป็นปกติตลอดเวลา ในสีหสูตร มีอเจลกะ นิมนต์พระพุทธเจ้าไปฉันอาหาร คือสีหเสนาบดี เหมือนกับนายกฯในยุคโน้น ก็บอกให้ลูกน้องไปซื้อเนื้อสัตว์มาทำอาหารถวายพระพุทธเจ้าที่จะมาฉันอาหารที่บ้าน พระพุทธเจ้าก็รับนิมนต์ ก็ไปฉันเนื้อสัตว์ที่บ้านสีหบดี เสร็จแล้วพวกอเจลกะ พวกเหมือนธนาธร ตะโกนแหกปากอยู่นี่ ถ้าสมัยนี้ก็คงจะกดไลน์กันใหญ่ พวก อเจลกะ ก็ตะโกนใหญ่เลยว่า พระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์ เจ้าข้าเอ๊ย พระสมณโคดมฉันเนื้อสัตว์แล้ว ๆๆ เป็นผู้เสื่อมแล้ว …ถ้าพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์เป็นปกติ อเจลกะเขาจะไปตะโกนแหกปากทำไม จะไปฟ้องประชาชนทำไมในเมื่อพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์เป็นปกติ อย่างนี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ฉันสัตว์เป็นปกติ ถ้าเข้าใจประเด็นนี้ก็จบแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันเนื้อสัตว์เป็นปกติ ไม่ใช่ว่าท่านฉันเนื้อสัตว์เป็นปกติ พูดไม่รู้กี่ทีแล้ว ทำไมไม่ชัดเจน ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็คงจะชัดเจนว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ฉันเนื้อสัตว์
.อีกประเด็นหนึ่ง อธิบายซ้ำซากหลายทีแล้วในชีวกสูตร
-
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจงมุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)
-
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้”
-
สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ) ชีวกสูตร ล.13 ข.60
สมณะเพาะพุทธว่า…ชีวกสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ข้อ 56 ซึ่งมีข้อความว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ข้าพเจ้าคือท่านพระอานนท์ ท่านได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน คือสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้ว่า ชนย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าใคร่จะทราบว่าชนทั้งหลายที่กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ หรือว่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้าด้วยคำไม่จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
“ดูก่อนชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระองค์ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเจาะจงเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าว แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการ คือเนื้อที่ตนเห็น 1 เนื้อที่ตนได้ยิน 1 เนื้อที่ตนรังเกียจ 1
ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการนี้
ก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น 1 เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน 1 เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ 1
ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ 3 ประการนี้”
ส่วนข้อความในพระสูตรมีต่อไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในบ้านหรือคามนิคมใดๆ ก็แผ่เมตตาไปทั่วทิศ ตลอดโลกทั้งปวงแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ก็เมื่อคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ให้รับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ขณะที่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่เคยคิดเลยว่าคนเหล่านั้นอังคาสเธอด้วยอาหารที่ประณีต และไม่เคยคิดที่จะให้เขาถวายอาหารเช่นนั้นอีก เธอไม่ได้ยินดียินร้ายในอาหารเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องถอนตน บริโภคอยู่
ดูก่อนชีวก ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งตนหรือผู้อื่นบ้างหรือไม่”
หมอชีวกกราบทูลว่า “ไม่เบียดเบียน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อไปว่า “ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษใช่หรือไม่”
หมอชีวกกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” แล้วทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบมาว่า พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา ข้าพระองค์เพียงแต่ได้ยินได้ฟังมา บัดนี้ข้าพระองค์ประจักษ์ชัดแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
“ดูก่อนชีวก บุคคลที่มีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้นตถาคตละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
ดูก่อนชีวก ถ้าท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะเป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน”
หมอชีวกทูลรับว่า “ข้าพระองค์หมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนั้น”
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสต่อไปอีกถึงภิกษุในธรรมวินัยนี้ว่า เมื่ออยู่ที่ใดก็มีใจประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขาในสัตว์ทั้งปวง ทั่วทุกทิศ ตลอดโลก ตามลำดับดังที่เล่าไปแล้ว กล่าวคือ เมื่อภิกษุนั้นรับนิมนต์ของผู้ใดแล้ว แม้ได้อาหารที่ประณีตท่านก็ไม่เคยคิดเลยว่า ขอให้ผู้นั้นจงถวายอาหารที่ประณีตอย่างนี้อีก แต่ท่านเป็นผู้ไม่ยินดียินร้ายในอาหารเหล่านั้น เป็นผู้บริโภคด้วยปัญญาเป็นเครื่องถอนตน เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจะชื่อว่าเบียดเบียนตนและผู้อื่นได้หรือไม่ และจะชื่อว่า ภิกษุนั้นฉันอาหารอันมีโทษได้หรือไม่
หมอชีวกทูลว่าไม่ได้ แล้วทูลต่อไปว่า “ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พระพุทธเจ้าทรงมีปกติอยู่ด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา คำนั้นสมจริงแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพยานในเรื่องนี้ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะแล้ว เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน”
หมอชีวกทูลว่า “ข้าพระองค์หมายเอาเช่นนั้นพระเจ้าข้า”
ก็เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า พระองค์และภิกษุสาวกของพระองค์เป็นผู้มีอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาต่อสัตว์ทุกชนิด ทุกประเภท ทั่วโลกหาประมาณมิได้
เหตุไฉน จึงจะเป็นอย่างที่คนทั้งหลายกล่าวหาพระองค์ว่าพระองค์รับและฉันปลาและเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
“ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ 5 ประการคือ
-
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมาดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 1 นี้
-
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 2 นี้
-
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 3 นี้
-
สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 4 นี้
-
ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ 5 นี้
ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ 5 ประการนี้“
จากชีวกสูตรนี้ ท่านจะทราบว่า การฆ่าสัตว์เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกของพระองค์นั้นบาปมาก คือบาปตั้งแต่สัตว์นั้นถูกนำตัวมาทีเดียว ไม่เพียงแต่ผู้ฆ่าหรือผู้สั่งให้ฆ่าจะเกิดบาปเท่ากัน แม้สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่าก็เกิดบาป คือเกิดอกุศลจิตคิดกลัวภัย กลัวตาย ได้รับทุกข์โทมนัสมาก ทั้งในเวลาที่ถูกนำตัวมาและในเวลาที่ถูกฆ่า และด้วยอกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น อาจทำให้สัตว์นั้นไปเกิดในอบายได้อีกด้วย นับว่าน่าสงสารมาก เพราะฉะนั้นอย่าฆ่าเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าเลย ไม่ว่าฆ่าเล่น ฆ่าเอามากิน หรือฆ่าเพื่อทำบุญ เพราะแทนที่จะได้บุญกลับได้บาปมากทีเดียว ชีวิตใครใครก็รัก เรารักตัวกลัวตายกลัวถูกฆ่าอย่างไร สัตว์ทั้งหลายก็รักตัวกลัวตาย กลัวถูกฆ่าอย่างนั้นเหมือนกัน
พ่อครูว่า..ในชีวกสูตร มีคำว่า สัญจิจจะ ปานัง ชีวิตาโมโรเปตุง คือเจาะจง หรืออุทิสะ ปานัง คือชีวิต ชีวิตาโมโรเปตุง คือการฆ่า
เขาไปแปลว่า เจาะจงผู้ใด พูดนั้นไม่ได้กิน แต่ที่จริงสำคัญคือ เจาะจงว่า คนเป็นผู้ฆ่ากินไม่ได้ แต่ถ้าสัตว์ฆ่ากันก็กินได้ มันเป็นเดนสัตว์กิน
สัตว์มันฆ่าสัตว์ เป็นสัตว์กินเนื้อมันก็ฆ่ากันทั้งนั้นไปยุ่งกับมันทำไมวิบากกรรมวิบากมัน เอาแต่เฉพาะคน ปฏิบัติเฉพาะกับคน คนที่มีปัญญา เขาก็จะไม่กินแม้แต่เนื้อสัตว์ที่เป็น ปวัตตมังสะ คือเดนสัตว์กินคือสัตว์ทิ้งแล้ว หรือสัตว์ที่ตายเอง จะไปกินมันทำไม กินแต่พืชก็เพียงพอแล้ว แต่คนที่จะกินก็หาประตูจะกินให้ได้ ก็หาแง่เพื่อกิน คนไม่กินจะหาแง่ไปกินทำไม
คนไม่กินก็ไม่กิน มีด.ญ.ฝรั่งที่ในคลิปว่า มันเป็นสัตว์จะไปกินมันทำไม เด็กไร้เดียงสายังรู้เลยว่าไปฆ่ามันทำไมสงสารมัน สัตว์ก็ว่ามันเป็นสัตว์ Animal ไปกินมันได้อย่างไรมันเป็นสัตว์ อาตมาว่า เด็กคนนี้ ด่าแสบมากเลยนะ คนอะไร ไม่รู้ว่าอันนั้นเป็นสัตว์แล้วคุณก็เป็นสัตว์ สัตว์อื่นก็เป็นสัตว์ต่างคนต่างเป็นสัตว์ต่างเกิดมามีชีวิต สัตว์ทุกตัวก็มีชีวิต ที่ท่องกัน สัตว์ทั้งหลายเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นเพื่อนทุกข์ ก็พูดมาแต่ไหนแต่ไร แต่ทำไมจะกินจะบำบัดแต่ทุกข์ฉัน มันพูดเอาแต่ได้
ประเด็น 5 ข้อนี้ ตั้งใจฟังให้ดีๆ 5 ข้อนี้พระพุทธเจ้าสรุปไว้สุดยอดแล้ว ไม่มียอดมากกว่านี้แล้ว โดยสรุปคือบาปเป็นอันมาก ไม่ใช่บุญเลย บุญแค่ .00000001 ก็ไม่มี มีแต่บาป ล้านๆๆๆ บาปเป็นอันมากไม่เป็นบุญเลย
-
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจงมุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)
-
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้”
-
สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ ย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ) ชีวกสูตร ล.13 ข.60
เอาของไม่ควรไปให้กินก็บาปแล้ว สองก็ให้เขาอร่อยอีกนะ แล้วก็จะให้เขาติดรสเนื้อสัตว์อีก ก็บาปอีกเท่าไหร่ แล้วเอาไปให้ผู้ที่ไม่สมควร ภิกษุผู้เป็นสาวกพระพุทธเจ้ากับพระพุทธเจ้า คุณจะทำบาปกับคนธรรมดาก็บาปประมาณหนึ่ง แต่ไปทำบาปกับพระพุทธเจ้าจะบาปกี่ซับซ้อน บาปข้อที่ 5 นี้บาปที่สุดไม่มีอะไรยิ่งใหญ่เท่าแล้วในเรื่องการทำบาปกับกินเนื้อสัตว์ เคราะห์คุณดีที่ในยุคนี้ไม่มีพระพุทธเจ้า แต่คุณก็เอามาถวายสมณะโพธิรักษ์ ก็พอกันเลย หรือสงฆ์อื่นก็ตามท่านเพาะพุทธก็ตาม
สมณะเพาะพุทธว่า..ต่อให้คนมาถวายพ่อท่าน พ่อท่านก็ไม่ได้ยินดี
พ่อครูว่า…อกัปปิยะก็คือไม่ควรแล้ว เป็นคำสุดยอด ไม่ใช่คำที่ใช้บังคับแต่เป็นคำสอนอนุสาสนีธรรมดาว่าไม่ควร ให้เกียรติคุณคิดเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ แต่ถ้าว่าอย่าทำนี้เป็นcommand บังคับแล้ว ในมหาปเทส 4 เป็นต้น เป็นสุดยอดแห่งผู้ดี แต่ผู้หยาบก็เข้าใจยาก แต่ผู้ละเอียดก็เข้าใจได้
ขอสรุป ในยุคกาลกินเจ ในข้อที่คุณเอามาอ้างองค์ 5 อาตมาก็ว่าไม่มีในพระไตรปิฎก อยู่ในอรรถกถาจารย์ที่ว่า
-
ปาโณ สัตว์มีชีวิต
-
ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
-
วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
-
อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
-
เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น