621004_รายการสำมะปี๋ซี่วิต สันติอโศก ครั้งที่ 73
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1oM19E9lAj_mv0aqk2zkdFYhuPcrKdOQ75KCq-0ZJolU/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1IbeKODWDsf4CXJkFMXiD-QR3LMgJrRok
พ่อครูว่า…วันนี้วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 ที่บวรสันติอโศก
_พลอยแผ้ว…แต่ก่อนได้เคยช่วยงาน อาจารย์อาภรณ์ พุกกะมาน อ.ได้บอกให้ดิฉันช่วยทำงานเรียบเรียงคำเทศน์สอนของพ่อครูเป็นหนังสือ เป็นงานที่ดิฉันชอบ ได้เคยเรียนถามพ่อครู แต่พ่อครูไม่ได้ตอบมา ดิฉันก็เลยว่าเราเป็นแค่ฆราวาส ซึ่งอาจเป็นความน้อยใจของตัวเอง และก็เลยไม่ได้ทำงานนี้มา เพราะคุณธรรมเรายังน้อยอยู่พ่อครูจึงไม่ได้ตอบเรามา อาจเพราะภาษามีแต่สภาวะยังน้อยอยู่
ตอนนี้ทำงานไปเรื่อยๆทำได้ทุกอย่าง ว่าจะไปทำร้านขายยากับพี่สงกรานต์
พ่อครูว่า…เอาที่เป็นเนื้อๆหน่อย ต้มเปื่อยไปเรื่อยๆก็ไม่ได้เนื้อ ก็ต้องหยิบให้เป็นชิ้นเป็นอัน งานในอโศกเรามีเยอะไป ก็ไปช่วยสงกรานต์ก็แล้วกัน
สื่อธรรมะพ่อครู(สาราณียธรรม 6 พุทธพจน์ 7) ตอน สาธารณโภคีเป็นระบบยิ่งใหญ่ในโลก
_พลังเพ็ญ..แต่ก่อนทำงานในระบบทางโลก แต่เมื่อมาอยู่ในระบบสาธารณโภคี ต่อมาได้กลับไปช่วยทำงานที่บ้านเรื่องน้ำท่วม ทำให้เปรียบเทียบเห็นว่า ระบบสาธารณโภคีแม้จะเกิดปัญหาอย่างไรก็จะมีความร่วมมือร่วมมือกัน แต่ไปเห็นสังคมอื่น เป็นสังคมต่างอยู่เห็นแก่ตัว ไม่มีความเมตตาต่อกัน ต่างคนต่างก็อยากได้ของที่แจก แต่ที่บ้านราชฯทั้งที่เราเดือดร้อนแต่เราก็ไม่เดือดร้อน ทำให้เชื่อมั่นในระบบที่พ่อครูนำพา ทำอย่างไรเราจะพัฒนาจิตเราให้อยู่ในระบบนี้ได้ดีขึ้น
พ่อครูว่า…ความรู้สึกของคนที่รู้สึกว่าพวกเราไม่มี เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม แต่จริงๆแล้วชาวอโศกทุกแห่งมีความมีเมตตากายกรรมเมตตาวจีกรรมเมตตามโนกรรม
จิตเมตตา คุณมีเมตตาเมื่อใด คือ ความเห็นแก่ตัวคุณต้องไม่มีหรือมีก็ต้องไม่ให้แสดงออก แม้คนชั่วเป็นโจรก็ต้องมี คนสะสมจิตเมตตามาตั้งแต่เป็นสัตว์เดรัจฉาน แม่ของสัตว์เดรัจฉานเลี้ยงลูก ตัวเองหนักตัวเองเจ็บตัวเองจะเหนื่อย ดีไม่ดีลูกเล่นด้วยอย่างแรงเจ็บ ก็ไม่เป็นไร ลูกมันก็สบายใจได้สนุกสนาน แต่มันเล่นกับเราแรงไปหน่อย เจ็บ มันสะสมมาแล้วตั้งแต่เป็นสัตว์เดรัจฉาน มาเป็นคนก็จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น จะบอกว่าพวกเราไม่มีเมตตาไม่ได้ ผิด มีเมตตา
สิ่งที่พิสูจน์ยืนยันว่าเรามีเมตตาต่อกันคือความหยาบของความไม่มีเมตตา ทางกายกรรม วจีกรรม เท่าที่ชุมชนพวกเรามีไหม มีหยาบทางกายกรรม วจีกรรม ก็ไม่มี ตบตีกันแรงๆ ไม่มี 30-40 ปีมาแล้ว ฆ่าแกงกันไม่มี หรือตีกันนับรายกันได้ error หรือจิตใจไม่อยู่ในเกณฑ์ที่อยู่กับชาวอโศกก็อยู่ไปแล้วไม่อยู่ในนี้หรอก ที่อยู่ในนี้ได้เขารู้สึกตัวแล้วเขาก็ไม่ได้ทำอีกเลย พวกเราก็มีละเมิด แต่ก็ไม่ทำอีกแล้ว มีบ้าง แม้แต่วาจาที่ด่ากันแรงๆก็ไม่มี หอกปาก อย่างที่จะมีมากๆก็คือไม่พูดกันเลย ไม่ชอบใจก็ไม่ต้องพูดกันไม่ต้องเกี่ยวข้องกัน ลักษณะไม่พูดกันเลยไม่ต้องเกี่ยวข้องกันคุณจะเป็นอย่างไรไม่ต้องพูดกันต่างคนต่างทำฉันไม่เกี่ยวอันนี้คือลักษณะของ พรหมทัณฑ์ ต่างคนต่างไม่ยุ่งกันคุณจะดีจะร้ายอย่างไรฉันไม่เกี่ยว รุนแรงที่สุดแล้วสำหรับพรหมทัณฑ์ ในสังคมอาริยบุคคล ซึ่งรองจากปาราชิก ที่ต้องขับออกจากหมู่ แต่พรหมทัณฑ์อยู่กับหมู่ แต่เป็นหมาหัวเน่า คุณจะดีจะชั่วอย่างไรไม่แนะนำสั่งสอน ให้คุณศึกษาเอาเอง แต่สำหรับปาราชิกไม่ให้ร่วมด้วยเลย
ลาภธัมมิกา คือลาภที่ได้โดยธรรม โดยสุจริต ก็เอาเข้ากองกลางสาธารณโภคีหมด กินใช้ร่วมกัน ซึ่งสาธารณโภคีคือเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ที่อาตมาเองภาคภูมิใจ ที่พาพวกเราทำมาตั้งแต่ตั้งปฐมอโศกไปหมู่บ้านแรก ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ใช้สาธารณโภคี แต่มันก็ไม่ยอมให้เป็นอื่น ก็เป็นระบบสาธารณโภคีมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ที่ปฐมอโศกทำขึ้นมาตั้งแต่ทำพื้นดินทำต้นไม้ จากนั้นก็บูรณะเป็นศีรษะอโศก ศาลีอโศก ที่ป่าช้า ที่สันติอโศกตอนนี้ขยายไม่ออกแล้วที่ดินแพงมาก
แม้แต่ที่สุดใจดีจะไปซื้อที่ข้างหลังไร่กว่า เขาจะเอา 17 ล้าน อาตมาก็บอกว่าไม่ต้องซื้อ หากซื้อก็ทำที่จอดรถยนต์ เพราะมันคับคั่ง แต่คิดเห็นอีกที ถ้าขืนเป็นที่จอดรถยนต์ถนนซอยนี้กลายเป็นซอยตันเลย จะทำอย่างไรให้ซอยนี้ไม่มีการจอดรถเลย ถ้าทำได้ให้ซื้อที่ทำที่จอดรถได้ แต่นี่เขาจอดฟรีตลอดเลย ข้ามปีเลย
สาธารณโภคีเป็นระบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เอาแต่ประเด็นที่สมาชิกของสังคมกลุ่มนี้ ทุกคนทำงานแล้วเสียภาษีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่เอาเข้ากระเป๋าตัวเองเอาเข้ากองกลางหมด ทุกคน ส่วนใครจะมีส่วนแบบเก็บก็เป็นกิเลสของเขาแต่เขามีสำนึกทุกคน จะใช้ส่วนตัวก็ไปเบิกได้ แต่ต้องอยู่ที่บารมีด้วย แต่ถ้าใช้ไม่เข้าเรื่องเขาก็ไม่ให้ เป็นธรรมดา ต้องให้สมควรพอเป็นไป เพราะพวกเราไม่มีจิตเห็นแก่ตัวลำเอียง แม้จะมีจิตลำเอียงก็พยายามไม่ลำเอียง หัดฝึกด้วยพฤติกรรมจริง เป็นการปฏิบัติธรรมที่สูงสุดแล้ว ไม่ต้องไปตั้งหลักเกณฑ์ เป็นหลักเกณฑ์กลางกลางคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และมีสัมผัสเป็นปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท ทำได้เนียน เป็นลำดับที่น่าอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า
คนไม่กล้าจะหมดจริงก็ต้องแอบๆ หมักไว้แล้วกินกับหมู่ไป ใช้ส่วนตัวไป ก็จะไปมีปัญหาอะไร กลัวจะหมดก็ใช้ของหมู่
สู่แดนธรรมว่า…พวกเราชาวอโศกไม่ค่อยมักได้ มีแต่คนขยันปลูก แต่ไม่ขยันเก็บ
พ่อครูว่า..ของที่ควรดูแลรักษาก็ไม่ค่อยมีใจรักษา เป็นของส่วนกลางก็จริง เราเองก็ต้องช่วยดูแลรักษาด้วย แม้ไม่ใช่ของเราใช้ก็ตาม เช่นเศษไม้ของดีๆก็มี แต่เราเห็นแล้วไม่เกี่ยว แต่ช่างไม้เห็นไม้เก็บ ช่างเหล็กเห็นเหล็กก็เก็บ แต่เราไม่ใช่ช่างที่จะต้องใช้แล้วก็ปล่อยให้มันทิ้งไป อยู่อีกนานไม่มีใครเก็บ แต่ถ้าเป็นธนบัตรนี้เก็บนะ 10 บาท 5 บาท 20 บาท 100 บาทก็เก็บ
_สิกขมาตุสัจฉิกตา..
สื่อธรรมะพ่อครู(โพธิปักขิยธรรม 37) ตอน กิเลสไม่เที่ยงและจางคลายได้อย่างไร
_สู่สายพุทธ…จะเล่าเรื่องการปฏิบัติแบบเดินที่หนูฝึกมา เดินเพื่ออ่านอาการของจิตให้รู้ เห็น พิจารณา อาการของตัณหาที่เกิดขึ้น เช่นเป็นอาการตื้อๆ ตึงๆ หนักๆ จิตเร่ิมไม่สบายไม่ปกติ นั้นคืออาการของตัณหา จิตอ่านอาการตัณหาได้ รู้ เห็น พิจารณาจึงจดจ่อกับอาการนั้น แล้วพิจารณาเป็นไตรลักษณ์ ว่าอาการตัณหาไม่เที่ยงไม่จริง จางได้ดับได้ พูดกับตัวเองจนอาการนั้นดับไป แต่จิตจดจ่อตลอด จนอาการมันจางลงจนดับและไม่มีในตอนนั้น
พ่อครูว่า…ใช่ เป็นจริงไม่มีอะไรตั้งอยู่นานไม่มีจางคลายนอกจากกิเลสของคุณจะมีจริง นอกจากกิเลสของคุณต้องการให้มันยามะ ยาวนานต่อไปอีกอย่าเพิ่งหาย ให้อยู่นานๆหน่อยอร่อยดี แซบดี เป็นสุขดี อัสสาทะดี รสกิเลสดีมันก็ไม่อยากให้หมด แต่ถึงจะนานขนาดไหนจะเบื่อไหม..สุภาษิตจีนว่าไว้ งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา อันนั้นเป็นสิ่งหยาบ แต่จะสุขทุกข์ก็ไม่ทนทานนาน เป็นวันไม่ได้หรอก จะสุขอย่างไรก็ตามให้ทั้งวันก็ไม่ได้
ถ้าคุณได้ปฏิบัติว่าไม่ต้องอะไรมากมายไม่ต้องยาวยืด เราจะรู้ว่าไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นอะไร อันนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้
-
อนิจจานุปัสสี (ตามเห็นความไม่เที่ยงของกิเลสตัณหา).
-
วิราคานุปัสสี (ตามเห็นความจางคลายของกิเลส)
-
นิโรธานุปัสสี (ตามเห็นความดับของสัตว์กิเลสตัณหา)
-
ปฏินิสสัคคานุปัสสี (เห็นการย้อนทวนกลับไปสลัดคืน)
(พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 288)
ก็จะเห็นความไม่เที่ยงของอาการ มันจะค่อยๆลดลง ไม่เพิ่มอีก จนกระทั่งไม่มีหยุด ไม่มีหยุดก็ตายเลย คนที่มีความสุขสนุกสนานมากมายพวกเต้นพวกนักกีฬาเตะเข้าโกล ทำท่าที แต่บางทีดูเจ็บแต่ก็ทนได้ นักฟุตบอลทำสถิติตัวเองไว้เลยว่าแต่เขาโกงไปเท่าไหร่แล้ว รสอร่อยนี้ต่างกับไม่อร่อย อาการมันลดลงไปตามเวลา สุดท้ายดับได้ ตามอนุปัสสี 5 ดับแล้วบางทีฟื้นได้บ้าง มีแวบมาอีกได้ ถ้าพลังปัญญาสูงจะดับแล้วดับเลย หรือใช้เจโตสะกดไว้ อาจสะกดไว้ได้นาน จนนึกว่าไม่มี แต่คุณก็ตายก่อน เกิดชาติใหม่หรือหลายชาติก็ขึ้นมาใหม่เพราะพลังงานที่ยึดติดมันมาหลายชาติ
หากไม่ทำอย่างวิปัสสนาบ้างลดกิเลสได้จริง จะไม่ถาวรสนิทจริง ตัวปัญญาจึงเป็นตัวยิ่งใหญ่ ปัญญาไม่ใช่ธาตุรู้สามัญ เป็นธาตุรู้วิเศษสุดยอด ปัญญาเป็นพลังงานไฟ เผากิเลสได้เรียกว่าปัญญา
อาตมาเพิ่งจะมาสรุปคำว่าสมาธิ ที่เป็นสมาหิโต ในเจโตปริยญาณ 16 สมาหิโต อสมาหิโต มีสอุตริจิต อนุตรจิต อันนี้เป็นคู่สุดท้าย สอุตรจิต เขาแปลว่าจิตนี้ดีแล้วแต่จิตที่ดีกว่านี้ยังมีอีก
หรือคำว่าสมาธิ จะเรียกว่าสมาหิโตก็ได้ เป็นตัวจิตตั้งมั่นที่จบ จริงๆแล้วสมาธิตัวนี้คือการสั่งสม จากจิต จรณะ 15 วิชชา 8 ถอนอาสวะสิ้น วิชชาตัวสุดท้ายคือถอนอาสวะสิ้น
-
วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) . .
-
มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้) .
-
อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) . . ดู พตปฎ.9/133
-
ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)
-
เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน) &
-
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อน มารู้อริยสัจจะจนหายโง่จากอวิชชา)
-
จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดา หรืออาริยะสัตว์) .
-
อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน)