ตลาดอาริยะ”: สนามปฏิบัติธรรมและการขับเคลื่อนทางสังคมของชาวอโศก
บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 35(2): กรกฎาคม – ธันวาคม 2559 หน้า 96-122
บทคัดย่อ
“อโศก” เป็นขบวนการพุทธศาสนาที่ทำงานเผยแผ่ศาสนาตามแนวทางของตัวเองภายใต้การนำของสมณะโพธิรักษ์ โดยได้ขยายเครือข่ายชุมชนปฏิบัติธรรมและสมาชิก หรือ “ญาติธรรม” ไปทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลากว่า 4 ทศวรรษนับจากการก่อตั้งเครือข่ายเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นหน่วยการผลิตทางเศรษฐกิจโดยดำเนินการภายใต้หลักปรัชญาที่ชาวอโศก เรียกว่า “บุญนิยม” บทความนี้พยายามทำความเข้าใจระบบคุณค่าเชิงศีลธรรมตามหลักปรัชญาดังกล่าวผ่านการศึกษาสนามสำคัญทางเศรษฐกิจของชาวอโศก คือ “ตลาดอาริยะ”
ผู้เขียนเสนอว่า กระบวนการที่ชาวอโศกนิยามการทำงานหนักเพื่อสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นว่าเป็นการลดละเลิกกิเลสอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะนำ ไปสู่การพ้นทุกข์หรือนิพพานได้ในที่สุดเป็นตัวอย่างรูปธรรมของเศรษฐกิจที่อิงกับระบบคุณค่าเชิงศีลธรรมบนพื้นฐานการตีความหลักพุทธศาสนา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อวิพากษ์แต่ขณะเดียวกันก็อ้างอิงกับโวหารของโลกทุนนิยมสมัยใหม่เพื่อการขับเคลื่อนทางสังคมด้วย
คำสำคัญ พุทธศาสนาเถรวาท, ระบบคุณค่าเชิงศีลธรรม, ขบวนการอโศก, บุญนิยม, ตลาดอาริยะ
Abstract
“Asoka” is one of Thailand’s contemporary Theravada Buddhist movements which has campaigned for its exegesis of dhamma under the leadership of Samana Bodhiraksa. The movement has expanded its practicing communities and networks of patrons over the past four decades. These Asoka communities and networks constitute a social enterprise under a philosophy known as “Boon-niyom”, (as opposed to capitalism, or “Thun-niyom” in Thai). This article discusses Boon-niyom morality from one of Asoka’s key socio-economic activities called “Talad-ariya”
(Noble Market). It illustrates how this event form a field of Asoka’s dhamma practices, where its members’ labour and devotion for the benefits of others are considered a virtuous pathway towards salvation and ultimately nirvana. It finally argues that this event exemplifies Asoka’s nuanced moral economy which proclaimsto criticize capitalism, but has at the same time adopted its rhetoric as the basisof their movement.
Keywords
Theravada Buddhism, morality, Asoka Movement, Boon-niyom, Talad-ariya
Ref: http://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/11/JSA-35-2-bundit.pdf