การบูรณาการรูปแบบองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้
ร้อยขวัญพุทธ มุ่งมาจน
ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล
วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2556
บทคัดย่อ
การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นรูปแบบการพัฒนาที่ละเลยความสำคัญ ขององค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่ในชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหา ด้านคุณธรรม จริยธรรม สุขภาพ วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการพึ่งตนเอง วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนราชธานีอโศก และนำเสนอรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ชาวชุมชนและผู้เข้ารับการศึกษาดูงานจากชุมชนช่วงเวลาดำเนินการวิจัย คือ พ.ศ. 2553-2555 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ใช้กับชุมชนทั่วไป และชุมชนชาวอโศกคือการประสานร่วมมือกันอย่างกลมกลืนระหว่างบ้านวัดโรงเรียน อาศัยปัจจัยนำเข้าคือ (1) แหล่งความรู้ได้แก่องค์กรชุมชน และ สื่อ (2) แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่คน และกิจกรรมต่างๆ มีกระบวนการเรียนรู้หลายรูปแบบ แล้วนำมาลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความรู้ในตัวคน สั่งสมเป็นพลังปัญญา ส่งผลให้รอดพ้นจากภัยคือปัญหาที่มีอยู่ กระบวนการพัฒนาชุมชนประกอบด้วย การรวมกลุ่มประกอบกิจกรรม การพัฒนาบุคลากร การคัดกรองความรู้ที่มาจากภายนอก การร่วมกันดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย การนำแนวคิดที่ประสบผลสำเร็จแล้วมาปรับใช้และพัฒนาให้เหมาะสม
คำสำคัญ : ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนแห่งการเรียนรู้รูปแบบ
The Integration of Local Knowledge and Wisdom of Ratchathani Asoke Community, Ubon Ratchathani : A Proposal of a New Model for a Community of Learning
Abstract
During the past several decades, Thailand has emphasized economic growth and ignored the importance of indigenous knowledge and local wisdom. As a result, communities in general are facing moral and ethical problems, health problems, environmental problems, and problems in their way of life and self-reliance. With this concern, this research aims to study the local knowledge and wisdom of the Ratchathani Asoke Community, and to propose a new model for learning in the community. This research uses the qualitative research method. The data was collected by questionnaires, in-depth interviews, and observations. The informants were the community leader, learning exchange facilitators, supporters for learning in general, community members, and visitors. This research was conducted from 2010 to 2012 . As a result of this research, this new model for learning called for harmonious cooperation between community, temple and schools. Such cooperation relied on two input factors, namely (1) sources of knowledge such as community organizations and media, and (2) sources of local wisdom, found in specific people and various activities. This new model had many learning processes through real experience. Through these learning processes, people accumulated knowledge, and transformed it into intellectual power which helped them when encountering problems which occurred in life. Community development consists of group activities, personal development, screening of knowledge from outside the community, cooperation in taking care of children, elderly, and people in ill health, adaptation of locally suitable concepts with appropriate development of the community.
Keywords: Knowledge, Local wisdom, Learning community, model
อ้างอิงจาก http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/2/DL_80.pdf