621030_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ วิโมกข์ วิชชา พาให้วิเวก
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1qRnIWLRbv6L1__v_SOhauILdau2p9W4cw7V-RpKSHJM/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1wZeuajcdAZCnEeVq9xiRrt4RibJ5yCDu
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่บวรราชธานีอโศก ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ใกล้จะถึงงานมหาปวารณา เป็นการมาสรุปผลการดำเนินการของแต่ละชุมชน ว่ามีความเสื่อมหรือเจริญในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
ตอนนี้เรามีหนังสือชาวอโศกออกใหม่อีก 1 เล่ม คือรวมคนจะมีธรรมะได้อย่างไรเล่ม 3 รวมข้อเขียนของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ออกคู่กับหนังสือพิมพ์เราคิดอะไรเล่มสุดท้าย
พ่อครูว่า…SMS
_3393ปฏิบัติธรรมอยู่บ้านไม่มีคนด่าหรือทำหยาบคายด้วยรู้สึกไม่เจริญในธรรมพ่อท่านแนะนำด้วยค่ะ
พ่อครูว่า…มาที่นี่สิ ด่ามีแน่ แต่หยาบคายคงหาไม่ได้ ด่าอย่างใช้ศิลปะในการด่า
_1614การที่ไม่รู้จักเปลี่ยนอารมณ์เรียกว่า ติดข้องหรือไม่ ต้องอยู่คนเดียวไม่ให้ใครยุ่ง การมี โลกส่วนตัว /บุญคุ้มเกล้า
พ่อครูว่า…ติดข้องแน่
วิโมกข์ วิชชา พาให้วิเวก
_1614คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ (จากพุทธพจน์) อันไม่ใช่ธุระ คืออย่างไร เผือกใช่ไหมคะ
ปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้าถ้าหากสัมมาทิฏฐิมันจะได้ทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน
ประโยชน์ตนพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นการทำให้กิเลสลดลง การที่เราหยุดทำชั่วประพฤติดีก็ได้ประโยชน์ แต่ถ้าถึงปรมัตถ์ก็ทำให้เรากิเลสลดได้ อันนี้คือประโยชน์ตนที่สำคัญ พระอรหันต์เป็นผู้หมดประโยชน์ตน ตรงที่กิเลสหมดแล้ว หมดแล้วเลิกหมดแล้วจบไม่ต้องปฏิบัติอีก จึงเรียกว่าจบกิจ เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อหมดสิ้นไปแล้ว เป็นเรื่องที่จบแล้วจบเลยเที่ยงแท้ถาวรยั่งยืนตลอดกาลนิรันดร นี่เป็นสุดยอดของศาสนาพระพุทธเจ้า
814] ข้าแต่ท่านกัสสปะ คนพาลได้กระทำอะไรให้แก่ท่านหรือ ขอท่านจงบอก
เหตุนั้นแก่โยม เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ปรารถนาเห็นคนพาล?
[1815] คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควรจะแนะนำ ย่อมชักชวนใน
สิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำชั่วเป็นความดีของเขา คนพาลนั้นถึงจะพูดดีก็โกรธ เขามิได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็นความดี.
วิโมกข์ 8 วิเวก 3 วิชชา 8
คนเข้าใจผิดกันว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์อาเทศนาปาฏิหาริย์
ยกตัวอย่างผู้ที่ปฏิบัติธรรมตามศีลได้ เริ่มต้นศีลข้อที่ 1 ไม่ฆ่าสัตว์ คนนี้ไม่ฆ่าสัตว์หยุดฆ่าสัตว์เลยเด็ดขาด นี่คือปาฏิหาริย์ บางคนก็อาจจะคิดว่าเราไม่ได้ฆ่าแต่เรากินเนื้อสัตว์ เช่นยุงมันกัดเรานิดหน่อยเราก็ตบมันนิดหน่อยเผื่อตายเอง ใจเสาะอะไรอย่างนี้คือไม่เข้าใจรายละเอียด ศีลข้อที่ 1 ที่บอกว่าไม่ฆ่าสัตว์มันมีรายละเอียดอีก อีกหลายประโยค อีกหลายวลี แม้แต่ที่ท่านละเว้นว่าปฏิบัติเฉพาะสมณะก็ไม่ได้กำกับไว้
วางทัณฑะ วางศาสตรา วางเครื่องมือที่จะไปฆ่า เป็นผู้มีความละอาย มีความเอ็นดู เป็นผู้มีความกรุณาหวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ อย่างนี้เป็นต้น มีความละอาย เป็นความรู้สึกจริงใจเลยว่าเราจะทำบาปทำกรรมเราจะไม่ทำ มีแต่ใจที่ละอาย มันไม่ดีไม่เข้าท่า หากโอตตัปปะ ก็กลัวเลยไม่ทำ แต่หิรินี่ หากกิเลสยั่วแรงหน่อยก็ละเมิดได้ ยังไม่แข็งแรงเท่าไหร่ มีความละอาย มีความเอ็นดูสัตว์กรุณาสัตว์ หวังประโยชน์ต่อสัตว์ทั้งปวงอยู่
พืชไม่มีเวทนาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข หากเป็นจิตนิยามก็มีทุกข์มีสุข ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวก็มีบาปมีกุศลอกุศลแล้ว สัตว์เซลล์เดียวก็พัฒนามาเป็นคนได้ แต่ก็ยังไม่มีความรู้อะไรมากจนกระทั่งพัฒนาไปมีความดีได้มาก วนเวียนกับวิบากชั่วดีอยู่อีกหลายรอบ ขออภัยยกตัวอย่างอาตมาเกิดมาชาติแล้วชาติเล่า ก็ไปเป็นหัวหน้าเผ่าหลายชาติ เพราะว่าทำดีมีคุณธรรม แต่ว่ามันไม่เที่ยงมันก็จะต้องผิดพลาดมันก็จะต้องมีกรรมซับซ้อน
มีคนแย้งว่า องคุลีมาลทำไมโหดร้ายแต่ว่าเป็นอรหันต์ได้ พระเจ้าอโศกมหาราชทำไมฆ่าคนอีกเยอะแยะ แล้วบอกว่าเป็นโพธิสัตว์ระดับสูง อาตมาก็ยังไม่เก่งที่จะขยายความมันซับซ้อนหลายชั้นมากเลย เหมือนกับผู้ที่อาตมาเคยพยากรณ์ว่าเป็นอรหันต์ แต่คนที่เขาเคยถูกคนนี้ตบเอา เขาก็บอกว่าเป็นพระอรหันต์ทำไมมีโทสะตบเขา เขาก็ว่าไม่เชื่อ เป็นต้น
มันมีเหตุการณ์หรือแรงอะไรอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างพระเจ้าอโศกสั่งประหารภิกษุเลว มันเป็นเรื่องลึกซึ้ง
คนที่เลวร้ายทำลายศาสนานี้บาปหนักมาก ถ้าจะว่าแล้วพระเจ้าอโศกมหาราชจัดการให้เขาหยุดเสีย ที่ถูกฆ่าเพราะคุณทำบาปทำลายศาสนา ท่านก็เสียสละท่านก็ยอมรับวิบากแต่ฆ่าเพื่อรักษาศาสนาให้สะอาดขึ้น หากปล่อยให้ปู้ยี่ปู้ยำศาสนาก็จะบาปมาก
อจินไตยพวกนี้ ก็อย่าไปตู่ท่านเลย อย่าไปเพ่งโทษท่าน มันเป็นวิบาก
จรณะ 15
-
ศีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล . . 9. วิริยะ ปรารภความเพียร
2.อินทรีย์สังวร คุ้มครองทวารอินทรีย์ 10. สติ อันเป็นอาริยะ . .
3.โภชเนมัตตัญญุตา ประมาณในโภชนา 11. ปัญญา
4.ชาคริยานุโยค ประกอบความตื่น 12. ปฐมฌาน .
5.ศรัทธา (เชื่อมั่น) . . 13. ทุติยฌาน
6.หิริ (ละอายต่อบาป) . 14. ตติยฌาน
-
โอตตัปปะ. (สะดุ้งบาป). 15. จตุตถฌาน
-
พาหุสัจจะ แทงตลอดในพหูสูต . (พตปฎ.ล.13/34)
ส่วน วิชชา 8
-
วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) . .
-
มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้) .
-
อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) ดู พตปฎ.9/133
-
ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)
มาดูที่วิโมกข์ 8
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
-
ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) . (*พ่อครูแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)
พตปฎ. ล.10 ข.66 / ล.23 ข.163
สามข้อแรกกำกับว่าต้องมีการเห็นมีผัสสะภายนอก
หูได้ยินเสียง และต้องมีจิตวิญญาณภายในรับรู้ด้วย ต้องมีสองเสมอ เป็นเทวะ มีกายมีรูป นาม อันหนึ่งเป็นธาตุรู้อีกอันเป็นตัวรู้ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) ต้องมีสัมผัสเกิดธาตุรู้ทางทวารทั้ง 5
ล.29 ข้อ [30] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.
3.ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต . โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) จิตคุณปฏิบัติให้มีความโน้มไปสู่วิมุติวิโมกข์ คุณต้องรู้ว่าจิตคุณไปในทิศทางถูก
ฌานมี 4 แต่คนเข้าใจผิดว่าฌานคือวิโมกข์ แต่ไม่ใช่ ฌานคือเหตุ วิโมกข์คือผล หากไม่มีทิศทางก็ไปไม่ถึงที่สุด สุภันเตวะ คือต้องให้ไปในทิศทางที่ถูกต้องเสมอๆ
วิโมกข์ 8 สามข้อนี้ชัดเจนต้องมีสัมผัสทั้งนอกและใน
ยุคพระพุทธเจ้าเป็นพวกปฏิบัตินั่งหลับตาทั้งนั้น พระพุทธเจ้ามาเปิดฉาก แต่อาตมานี้พระพุทธเจ้าท่านทำมาก่อนแล้ว แต่ยุคพระพุทธเจ้าท่านเปิดใหม่เลย แต่ท่านค่อยทำค่อยประนีประนอม ทำแรงไม่ได้เขามีเยอะ พวกต่างศาสนาอาตมาไม่ไปยุ่งด้วยมากแต่พวกชาวพุทธอาตมาทำเต็มที่
ในวิโมกข์ 8 ท่านกำชับที่ประโยคที่ว่า ต้องมีการสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย
[41] บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ 8 ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า “ปัญญาวิมุติ”
(กตโม จ ปุคฺคโล ปญญาวิมุตฺโต อิเธกจฺโจ ปุคฺคโล น เหว โข อฏฺฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปญญาย จสฺส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ อยํ วุจฺจติ ปุคฺคโล ปญญาวิมุตฺโต ฯ)
สายศรัทธา
-
สัทธานุสารี . >
-
สัทธาวิมุติ . >
-
กายสักขี . >
(ต้องอาศัยวิโมกข์ 8)
สายปัญญา
-
ธัมมานุสารี .
-
ทิฏฐิปัตตะ .
-
ปัญญาวิมุติ . .
(มีวิโมกข์ 8 มาตลอด)
-
อุภโตภาควิมุติ รวมทุกสายที่บรรลุครบครัน
กายสักขีต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย แต่ปัญญาวิมุติ ก็ย่อมสูงกว่ากายสักขี จะไปบอกว่าไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกายไม่ได้ แต่ต้องแปลว่าไม่ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย อันนี้แปลดีกว่า เพราะว่าทำมาตั้งแต่เริ่มทิฏฐิปัตตะก็มีสัมผัสวิโมกข์ ด้วยกายแล้ว เพราะสัมมาทิฏฐิ
ส่วนศรัทธาวิมุติไม่ชัดเจนว่าต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย เพราะเชิงปัญญาไม่ชัดเจน จึงช้าไม่รอบถ้วนเท่าสายปัญญา
ส่วนอรูปฌาน 4 เป็นการตรวจสอบ ตรวจสอบสมบูรณ์จบที่ฌาน 4 ส่วนอรูปฌานก็เป็นการตรวจสอบ เหมือนเพชรมีอะไรมาเคลือบให้หม่นก็เช็ดออก เหมือนอรูปฌาน 4 ท่านไม่ประมาท ให้สมบูรณ์แบบใสสะอาด จึงเรียกสัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่าใช้สัญญาเคล้าเคลียแทงทะลุรอบ ปฏิเวธ ด้วยการปฏิบัติปัจจุบัน 36 สั่งสมอดีต 36 ปัจจุบัน 36 อนาคตก็ย่อมต้องบริสุทธิ์ตลอดกาล จะต้องรู้ต้องเข้าใจว่าจะปฏิบัติทุกปัจจุบันให้กิเลส 0 ได้คุณต้องสั่งสมอันนี้ซึ่งมีกระบวนการของสิ่งที่จะปฏิบัติตั้งแต่ เวทนา 108
ต้องเข้าใจเวทนา 36 ปฏิบัติเนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา ต่างกันกับเคหสิตอุเบกขาเวทนา
พวกนั่งหลับตาปฏิบัติไม่สัมมาทิฏฐิ ได้แค่ เคหสิตอุเบกขาเวทนา
เขาก็อธิบายต่างกับอาตมาก็ได้ กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เป็นสัตตาวาสข้อที่ 1 ได้รูปนาม องค์ประกอบสมบูรณ์ คนละกำหนดหมาย
-
สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางเหล่า
แม้เป็นพรหมก็ไม่บริสุทธิ์แต่ของพระพุทธเจ้าเป็นพรหมชั้นที่ 3 วิสุทธิเทพ
เรื่องสัตตาวาส 9 ขอเอาไว้ก่อนนะไม่อธิบายตอนนี้
วิชชา 8
-
วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง)
-
มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้)
-
อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) ดู พตปฎ.9/133
ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)
วิปัสสนาญาณต้องเกิดขณะมีการกระทบจากภายนอก มีธาตุรู้ เกิดความรู้เมื่อสัมผัสทุกทวารทั้ง 5 ครบ ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติครบสมบูรณ์ การปฏิบัติธรรมมาพระพุทธเจ้าจะต้องไม่ขาดจาก จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลก อาโลกคือมีแสงสว่างของโลกอยู่
การไปปฏิบัติหลับตานั้น มีพระสูตรที่ว่า
-
อินทริยภาวนาสูตร (152)
[853] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[854] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกรอุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ
อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ
พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต ฯ
พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ
[855] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
พ่อครูว่า…สมัยก่อนคนเขาก็สำนึกดี พูดแล้วเขายอมรับได้แต่คนสมัยนี้พูดไปเขายอมรับได้ยากกว่ามาก พระพุทธเจ้าทำแบบประนีประนอมกับพวกเดียรถีย์งงหลับตา แต่ของอาตมาไม่ไว้หน้าเพราะพระพุทธเจ้าท่านทำมาก่อน
ไม่ใช่โพธิรักษ์กล้า แต่ไม่ใช่ จะกล้าหรือไม่กล้าไม่เกี่ยวอยู่กับองค์ประกอบ ใช้สัปปุริสธรรม 7 มหาปเทส 4
วิชชา 8
-
วิปัสสนาญาณ (ความรู้แจ้งเห็นจริง – หรือรู้ความจริงในเหตุที่มีความจริงเกิด .. รู้กิเลสตายจริง อกุศลดับจริง) . .
-
มโนมยิทธิญาณ (ความมีฤทธิ์ทางจิต ที่จิตสามารถ เนรมิต “ความเกิด” อย่างใหม่ขึ้นมาได้)
-
อิทธิวิธญาณ (จิตมีอานุภาพในการบรรลุขจัดทำลายกิเลส ได้หลากหลายวิธี) ดู พตปฎ.9/133
-
ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)
-
เจโตปริยญาณ (กำหนดรู้ความแตกต่างในจิตขั้นอื่นๆ ของตนได้รอบถ้วน) &
-
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (การย้อนระลึกถึงการเกิดกิเลสเก่าก่อน มารู้อริยสัจจะจนหายโง่จากอวิชชา)
-
จุตูปปาตญาณ (รู้เห็นการเกิด-การดับของจิตที่ดับเชื้อกิเลส แล้วเกิดเป็นสัตว์เทวดา หรืออาริยะสัตว์) .
-
อาสวักขยญาณ (ญาณที่รู้การหมดสิ้นอาสวะของตน)
(พตฎ. เล่ม 9 ข้อ 127 – 138)
ทำให้กิเลสดับทำให้จิตเกิดใหม่นี่คือมโนมยิทธิ เกิดสัตว์โอปปาติกสัตว์ในตัวเรา ทำให้กิเลสตายได้ก็เกิดใหม่ เหมือนงูลอกคราบ ดาบออกจากฝัก หรือหญ้าไส้ปล้อง
อิทธิวิธญาณ ท่านไปแปลกันว่าทำคนเดียวให้เป็นหลายคนได้ แต่ที่จริงไม่มีคำว่าคนหรอก
ที่จริง คือ เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ… คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ (เอโกปิ หุตฺวา พหุธา โหติ พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ) คือทำคนให้มีกิเลสหมดไปได้เหมือนกันได้นั่นเอง ทุกคนก็เป็นเหมือนคนเดียวกันคือคนไม่มีกิเลสได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ไม่ได้เป็นเหมือนการเล่นกลหรอก แต่เป็นการทำให้กิเลสหายวับไปได้เลย หรือปรุงให้เขาเหมือนมีกิเลส เหมือนแม่ครัวปรุงอร่อยให้คนอื่นกินแต่แม่ครัวไม่ได้ติดอร่อย เหมือนแม่เล่นหม้อข้าวหม้อแกงกับลูกทำเล่นเป็นสนุกไปเท่านั้น อนุโลมให้ลูกเท่านั้น ที่จริงยืนบนฐานไม่มีได้แล้ว
ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ (สู่แดนธรรมว่า เหมือนไปเที่ยวห้างแล้วไม่ติดขัด เดินฝ่าภูเขาออกไปได้) สิ่งเหล่านี้เหมือนกองกิเลสหนามากในโลกแต่เราเดินผ่านไปได้สบาย แต่คนที่ติดเขาเดินผ่านไม่ได้ แต่เราเดินผ่านได้เหมือนเดินในที่ว่าง
โสดาบันเป็นยิ่งกว่าเอกราชทั่วทั้งแผ่นดิน .
ยิ่งกว่าสวรรคาลัย
ยิ่งกว่าอธิปไตยใดในโลกทั้งปวง . .
คือ พระโสดาปัตติผล .
ผู้พ้นอบายได้แล้ว ไปเจออบายที่ไหนก็ผ่านได้ เช่นบ่อนพนันมีที่ไหนๆ มาเก๊า ปอยเปต ลาสเวกัส เราก็ว่างเฉยได้เหนือมันได้ เราเอกราชทั่วทั้งแผ่นดิน ยิ่งกว่าสวรรค์ของโลก เราหมดสวรรค์ด้วยกับอบายการพนัน การละเล่นจัดจ้าน กีฬาจัดจ้าน โสดาบันอาจสนุกกับกีฬาที่ไม่รุนแรง แต่พวกมวยซัดกันเลือดออก ยิ่งโบราณเอาทวนแทงสู้กันตายเลย สู้กับเสือมันฆ่ากันตายเลย โสดาบันก็ไม่ทำแบบนั้น เดี๋ยวนี้ทำอาวุธมาฆ่าแกงกัน
สูงกว่าคือไม่มีสวรรค์ไม่มีนรก ยิ่งกว่าอธิปไตยใด คือมีอำนาจหลุดพ้นได้ โสดาฯก็ผ่านอบาย สกิทาฯก็สูงขึ้นกว่าอีก
ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ ..แทรกแผ่นดินลงไปได้ สิ่งที่หยาบกร้านแข็งเหมือนกำแพงก็ไปได้ ดำลงไปได้ ดินจะหนาก็ดำลงไปได้เหมือนลงน้ำ
เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คนอื่นถูกน้ำหนักถ่วง แต่เราเดินสบาย เหมือนเหาะไปในอากาศ
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
อาตมาเคยอธิบายว่าลูบหัวล้านพระอาทิตย์พระจันทร์ได้ เหมือนแม่นาคยื่นมือไปจับได้ คุณจะสัมผัสในโลกของนรกสวรรค์ หรือความร้อนหยาบแรงของโลก แต่เรามีอำนาจนรกร้อนแต่เราอยู่ได้
สู่แดนธรรมว่า..เหมือนพ่อท่านพาเดินไปชุมนุมทางการเมือง ท่ามกลางความหวาดเสียว อาทิตย์คือทักษิณ พระจันทร์คือปู
พ่อครูว่า…ปูอาจมีอำนาจมากกว่าหลอกได้ woman touch ซับซ้อนกว่าทักษิณ ละเลงความฉิบหายวายป่วงได้มากกว่าทักษิณ
ทักษิณจะทำลายประเทศถึง ห้าแสนล้านหรือ แต่ปูนี่ปู้ยี่ปู้ยำกว่าห้าแสนล้าน
สรุป ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้อันนี้ คุณจะพาซื่อว่าเอาตัวตนร่างกายเหาะไปพรหมโลกที่เป็นลูกๆเลยไม่ใช่
กายคือรูปนาม ในพรหมโลก 16 หรือ 20 ที่คนติดยึดบัญญัติภาษา แล้วไปมีสถานที่เมืองพรหมแต่ละชั้น ใน พรหม 20 ชั้น
ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ
ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ
ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ
ต่อมาอีก 3
ชั้นที่ 4 ปริตตาภาภูมิ
ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ
ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ
หมวด 3
ขั้นที่ 7 ปริตตาสุภา
ขั้นที่ 8 อัปปมาณาสุภา
ขั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ
ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ คือพวกลอย เช่นพวกมีศักดินา ยศ ชั้นสูงส่ง และมีความฉลาดสามารถทำให้คนเชื่อ เช่นธัมมชโย ถ้าจะเทียบธัมชโยก็เหมือนเวหัปผล ส่วนทักษิณเหมือนอสัญญีสัตว์
หลอกเชิงทักษิณใช้อำนาจการเมืองยศ เงิน ส่วนธัมมชโย ใช้อำนาจโวหารคารม ใช้นามธรรม อรูปมากกว่า ส่วนทักษิณใช้รูปมากกว่า
ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ ดับสัญญาไม่รู้เรื่อง
สุทธาวาส 5
ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
สุทธาวาส 5 เปรียบเทียบก็คืออนาคามี 5 ในสายสัมมาทิฏฐิ
-
อันตราปรินิพพายี (ผู้เพียรทำปรินิพพานในระหว่างภพ)
-
อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพานด้วยสามารถ)
-
สสังขารปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก ประกอบปุญญาภิสังขารในภพตนให้มากๆ)
-
อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้การปรุงแต่งอภิสังขารให้มากนัก)
-
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (สภาวธรรมไม่เป็นสองรองใคร หรือไม่เป็นน้องใครอีก แล้วปรินิพพานไว)
พระพุทธเจ้าสมณโคดมท่านไม่ประชุมอยู่ในภพนี้ สุทธาวาส อาตมาก็เช่นกันจะรีบตายรีบเกิด แต่ก็อาจมีวิบากทำให้ช้าได้ แต่อาตมามาปางนี้น่าจะตายแล้วรีบเกิดเร็วได้ พวกคุณอย่ารีบตายก่อนละกัน หากอาตมา 151 พวกคุณตายก่อนนะ
ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ
ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
สม.กล้าข้ามฝัน
ส.เดินดิน
พ่อครูว่า…อธิบายกลับไปที่ อิทธิวิธญาณ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกได้
กายคือรูปนามตัวเราไปตลอดพรหมโลก
พรหมโลกที่เขาหมายกันเป็นภพชาติ แต่ผู้ปฏิบัติหมดภพชาติ พรหมโลกจะมีกี่ชั้น 20 ชั้นเราก็มีรูปนามไปได้หมด เข้าใจพรหมโลกที่เขายึดถือกัน เช่นที่ว่ามา 20 ชั้น
4 ชั้นคือรูปพรหม อีก 16 ชั้นคืออรูปพรหม แต่เขาเข้าใจเป็นตัวตน เรานี่แหละใหญ่ๆ ใหญ่แค่ปริสัชชา ขั้นบริวารทุกวันนี้ก็มีเยอะ หลงตนว่าใหญ่ ว้ารู้ ข้านี่แหละใหญ่
ในพวกแราก็ยังมีครูอาจารย์ แม้เป็นลูกศิษย์ก็มีมหาพรหมที่ใหญ่กว่าสองอันแรกอีก เป็นพรหมมีตัวตน เป็นนามธรรมอย่างยิ่งข่มเบ่งกัน
สูงไปอีก ก็มีราศี อาภา มีแสงนามธรรมซับซ้อนไปอีก
ปริตตาก็นิดน้อย อัปปมานาภาก็มากหาที่สุดมิได้เลย อาภา เปรียบเหมือนแสงสว่างคือความรู้สามารถ ก็สูงกว่าพวกแรกพวกครูและบริวาร
อาภัสราก็สูงละเอียดไปอีก อาภัสราใหญ่กว่ามหาพรหมที่ละเอียดกว่าสว่างกว่า มหาพรหมคือเบื้องต้นอยู่ เสมือนเด็กๆ
ชั้นที่ 4 ปริตตาภาภูมิ
ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ
ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ
สูงกว่ามหาพรหม
ส่วน ขั้นที่ 7 ปริตตาสุภา
ขั้นที่ 8 อัปปมาณาสุภา
ขั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ
เหนือชั้นกว่า อาภัสรา มันมีฝ่ายดำฝ่ายขาว
เช่น พวกนั่งหลับตาสมาธิฝ่ายขาวก็คือพวกธรรมกายฝ่ายดำก็คืออาจารย์มั่น นั่งหลับตาดับปี๋ อีกพวกลืมตาให้สว่างๆๆ
ซับซ้อน จะว่าจริงๆแล้วเหมือนกับสว่างจะเหนือกว่า แต่แท้จริงสว่างนี้แย่กว่าสุภกิณหา สุภกิณหาสูงว่าอาภัสรา
สายอ.มั่นสูงกว่าธรรมกาย เพราะสายนั้นใช้สว่างโลกหลอก แต่สายอ.มั่นหลอกน้อยกว่า หากเราเข้าใจสภาพพวกนี้จะไม่สับสน ก็ขอบคุณที่เป็นตัวอย่างให้เราได้ศึกษา เพราะว่ามันแย่ แล้วดูหลอกแบบอาภัสรา หรือธัมมชโยนี้หลอกได้ชัดเจนว่าอ.มั่น
ขอเทียบกับมหาบัว
มหาบัวหลอกเอาเงินคนแต่ซ้อนว่าไม่ได้เอามาเป็นของฉันนะ ธัมมชโยก็หลอกว่าไม่ได้เป็นของฉัน แต่เนียนกว่า แต่มหาบัวไม่เนียนแต่หยาบกว่าเอาไปให้ประเทศเลย แต่ธัมมชโยนี้เนียนกว่าจะมีประชาชนถูกหลอกมาได้มากกว่ามหาบัว
แล้วคนที่เป็นลูกศิษย์ของธัมมชโย ฉลาดแกมโกงแบบโลกีย์หาเงินทองได้เก่งกว่าผู้ที่เป็นลูกศิษย์มหาบัว ลูกศิษย์มหาบัวหาเช้ากินค่ำแบบคนทั่วไปแต่พวกที่เป็นลูกศิษย์ธัมมชโยนี้เป็นแบบไฮโซ เศรษฐีพันล้านหมื่นล้าน มันซับซ้อนหลายชั้น
สรุปง่ายๆ ธัมมชโยหลอกคนได้สูงกว่ามหาบัว
และซ้อนอีก มหาบัวยังเอามาทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ แต่ธัมมชโยไม่เลย ซ้อนลงไปอีก เรียกว่าจมดิ่งมหาอเวจีหนักกว่ามหาบัวอีก ก็ต้องขออภัยที่กล่าวพาดพิง เพื่อให้เป็นวิชาการเป็นการศึกษา อาตมาไม่ได้รังเกียจหรือชิงชัง ไม่ได้กระทบกระเทือนอาตมาเพราะอาตมาไม่ได้เอาทั้งสองอย่าง แต่มันกระทบกระเทือนพระศาสนา อาตมาไม่ได้กระทบ เขาหลับตาทั้งคู่ แต่อาตมาลืมตาไม่ได้เป็นคู่แข่งเขาเลย มันเดินกันคนละรางคู่ขนานไม่มีทางชนกันหรอก
อิทธิวิธญาณ มีฤทธิ์เดชอำนาจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจให้คนหลงตกในอำนาจอย่างมหาบัวหรือธัมมชโย มีหลากหลายไม่ได้ซื่อตรง อย่างมหาบัว คนเข้าใจไม่ได้ง่ายๆหรอกเขาหวังดี แต่ความซับซ้อนของมหาบัว มีอัตตาสูงจนหลงอัตตาตัวเอง ภาคภูมิ ที่จริงเป็นภพชาติของพรหม ชั้นสูง เป็นผู้ที่มีประโยชน์คุณค่าต่อประเทศชาติเอาทองคำเข้าคลัง แล้วตัวนั้นก็มีจริงคนก็ต้องยอมรับ แต่อัตตาของมหาบัว คนไม่รู้จักว่ามหาบัวติดยึดเท่าไหร่ ข้องอยู่ในถ้ำหนักเท่าไหร่ ในตัวมหาบัว อันนี้สิ เป็นธรรมะ
มันไม่ไปเกี่ยวกับใครแต่เกี่ยวกับมหาบัวเอง จมในถ้ำในข้องไกลวิเวก ภาคภูมิในอันนี้ อธิบายรูปธรรม ตายไปแล้วจมในถ้ำนี้อีกนานแสนนาน แล้วจมในถ้ำของมหาบัว หนักกว่านางวิสาขาจมในทางสุขไม่ได้ไปหลอกใคร แต่มหาบัวซ้อนหลอกคนหลงติดอัตตาแต่ไม่เหมือนนางวิสาขา ไม่รู้ไปเกิดหรือยัง มหาบัวบอกชาติสุดท้าย แต่ก็อาจจมในภพนานอีกเท่าไหร่ไม่รู้ อาฬารดาบสไม่ใช้โลกีย์ประกอบนะ แต่มหาบัวเอา ลาภยศสรรเสริญไปผนวกกับความหลงของตนเองอีก มหาบัวหนักว่าอาฬารดาบสอุทกดาบสที่พระพุทธเจ้าบอกว่าชิบหายใหญ่แล้ว อันนี้มหาบัวก็อภิมหาฉิบหายแล้วหนอ
อาตมาไม่ได้ลงโทษท่านนะแต่ท่านเป็นภันเต เป็นตัวอย่างให้ใช้อ้างอิงทางวิชาการซึ่งมันเข้าใจได้ดีขึ้นใช่ไหม อาตมามีวิบากนะ เพราะลูกศิษย์ท่านมีเยอะ โกรธเคืองอาตมาแน่ อาตมาต้องรับวิบาก อาตมายอมเสียเพื่อให้ประโยชน์แก่ประชาชน ขออภัยพูดแล้วเหมือนยกตนเอาดีเข้าตัว
แต่ธรรมะพระพุทธเจ้า คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) . ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริท่านั้น) (พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 34)
ทิพโสตญาณ (สามารถแยกแยะ การได้ยินสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เช่น กิเลสปะปนมากับคำร่ำลือ กับเสียงที่เกินกว่าคนธรรมดาเขาจะรู้นัยยะได้)
แยกสิ่งที่ไกลที่ชัดได้แม่น (สู่แดนธรรมว่า เหมือนกับการหาเสียงของพรรคอนาคตใหม่ พวกเราก็สามารถฟังเสียงสองได้)
แม้แต่ทักษิณเราก็ฟังออกได้ ผู้อื่นที่ได้ยินก็ท้วงมาตอนนี้ก็มีมากเลย เขาท้วงได้มากกว่าทักษิณอีก แต่อาจไม่ได้ไปเหมือนทักษิณ น่าจะไปอยู่ที่กักกันมากกว่าแต่เขาคงหาช่องทางออกไปได้ ในสังคมเราห้ามไม่ได้จะมีสิ่งเหล่านี้ เพราะอวิชชามันหลายชั้นมาก
เจโตปริยญาณ ท่านก็ตรัสไว้ว่ามี 16 อย่าง
คือ การกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น (รู้สัตว์ชั้นต่ำสูงในจิตตน-ปรสัตตานัง) .
รู้บุคคลชั้นต่ำ-สูงอื่นๆในจิตอาริยของตน(ปรปุคคลานัง) เป็นปรมัตถ์.
-
สราคจิต (จิตมีราคะ)
-
วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
-
สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
-
วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
-
สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
-
วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
-
สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) .
-
วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
-
มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)
-
อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)
-
สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ)
-
อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) จิตคุณถอนอาสวะสิ้น
-
สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) สั่งสมจิตถอนอาสวะ
-
อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์)
-
วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . .
-
อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) .