621125_รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 82
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่…https://docs.google.com/document/d/1jAXTVi_M7sS9Z-HV6hJHECccu7qW_I9pkMZrHtNjEQs/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1kbsi35nDwpc-aZu9E4a_U-_dONvA4UEu
พ่อครูว่า… วันนี้วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ที่บวรราชธานีอโศก
_SMSวันที่23-24พ.ย.2562
_คิดถูก คิดถูก:ชื่นชมท่านจันทร์ที่แววไวในการช่วยพ่อครูตัดรอบเมื่อเห็นเวลาเหลือน้อย
_พิศมัย ชำนาญคิด: ยังไงก็ขอให้พ่อครูอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรงนะคะ ถึงจะขอไม่ได้ก็อยากขอนะคะ กราบนมัสการค่ะ
_7630ท่านจันพูดมากจัง!!??
_ไม่ระบุชื่อ_อยู่กับปัจจุบันจึงหมายความว่า ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่โวยวาย ไม่ตีโพยตีพาย…ใจไม่ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะไปติดอยู่กับคำว่า “น่าจะ” หรือ “ไม่น่าจะ” ถ้าติดอยู่กับคำว่า น่าจะ ไม่น่าจะ อาการความคิดนี้เอาตัวเองเป็นเกณฑ์หรือเปล่า ฝากถามด้วย
พ่อครูว่า…แต่ละคนก็เอาตัวเองเป็นเกณฑ์ทั้งนั้นแหละ จะรู้สึกอย่างไรและจะปฏิบัติอย่างไรกับสิ่งที่ตัวเองคิดว่าควรจะปฏิบัติ มันก็จะมีการปฏิบัติตามที่ตัวเองรู้สึก และก็จัดการปฏิบัติออกมาตั้งแต่จิตจนถึงวาจาจนถึงกาย กันทั้งนั้น เพราะจิตเป็นประธาน ปฏิบัติต้องปฏิบัติได้เรียนรู้จิตจัดการกับจิต จนกระทั่งสามารถที่จะมีอำนาจ ยังจิตเป็นในอำนาจได้ วสวัตตี หมายความว่าเราสามารถที่จะควบคุมจิตใจเราได้ ให้จิตของเราประพฤติกระทำหรือแม้แต่จะให้ออกมาทางกายทางวาจา ก็คือจิตเป็นตัวประธานทั้งนั้น
_กุญแจ เงินทอง : สมณะ ถักบุญ ก็น่าจะเป็น ไอนสไตน์ / ภาระงาน ต้องมีคนรับชอบ ถ้าไม่มีใครรับ ดูแล เชื่อมต่อ งานโพธิสัตว์ ก็ไม่สำเร็จ
พ่อครูว่า..มันคนละคนกัน อ่านความแล้วก็จะให้ท่านถักบุญเป็นไอนสไตน์ให้อาตมา
กายแตกตายต่างหรือเหมือนกันอย่างไร
_1614กายแตก ชีวิต แตกทำลาย ต่างกัน หรือ เหมือนกันอย่างไร /กายสเภทา หมายถึงอะไร
พ่อครูว่า..กายแตกก็หมายถึงสภาพขององค์ประชุม กายคือองค์ประชุม กายไม่ได้มีแค่ 1 ทุกวันนี้เขาหมายถึงเพียงภายนอกอย่างเดียว เป็นมหาภูตรูปอย่างเดียวไม่มีอุปาทายรูปด้วยซึ่งมันผิด กายต้องมีทั้งอุปาทายรูปและมหาภูตรูป
กายแตก หากเข้าใจความเป็นกายในพยัญชนะที่หมายถึงว่า ความเป็นภายนอกมันแยกให้เห็น กายแตก ชีวิตแตกทำลายไป
คำว่า เภทา แปลว่าแตก เมื่อกายนี้แตก ก็คือส่วนของชีวิตที่คุณมีจิตวิญญาณรับรู้ภายนอกและภายในมันแตกไปส่วนนึง เมื่อกายแตกตาย จิตวิญญาณก็แยกแตกกันไป
ถามว่าชีวิตหรือชีวมวลหมดไหม…ก็ยังไม่หมด กายแตกไปส่วนหนึ่ง แต่ชีวิตไม่แตก
กายแตกกับชีวิตแตก มีส่วนที่ไม่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่ง
ทีนี้ ชีวิตที่แตกทำลาย เราจะต้องรู้จักความเป็นชีวิตของจิตวิญญาณ
ในอุปาทายรูป 24 ชีวิตจะต้องเรียนรู้พลังงานของชีวิตที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ แล้วทำให้อินทรีย์พลังงานของชีวิตให้ลึกซึ้งขึ้นไป ส่วนใดส่วนหนึ่งหากมีอินทรีย์ ชีวิตของกิเลสอยู่ในจิต เราต้องรู้จักชีวิตินทร์ของกิเลสแล้วทำให้มันแตกตาย ทำลายไป
ชีวิต ประกอบด้วยกายกับจิต
กายสเภทา หมายถึงกายแตก ส่วนหนึ่งก็ตายไปส่วนหนึ่ง ทีนี้คนเราตายแล้วตายเล่าด้วยร่างกาย แต่จิตวิญญาณยังไม่แตกสลายโดยเฉพาะยังมีกิเลสอยู่ ศาสนาพุทธต้องเรียนรู้ตัวกิเลส
กายกลิ คือตัวกิเลส กายคือองค์ประชุมของกลิ กลิ แปลว่าตัวโทษภัยของจิต ต้องทำลายกายกลิให้แตกตายไปได้ อย่าง นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ) พระอรหันต์ทำให้กายกลิตายอย่างนิรันดร แต่ร่างกายของพระอรหันต์ยังไม่ตาย
อรหันต์ดับอาสวะสิ้นองค์ใดที่ร่างกายยังไม่ตาย พระอรหันต์นั้นชีวิตินทรีย์ของกายกลิ ของกิเลสหมดไปแล้วไม่มาทำงานในกายพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าจึงมีระบบวิธีให้อุปัชฌาย์ที่บวชลูกศิษย์ขึ้นมาจะต้องสอนเรื่องกรรมฐานคือการแยกกายแยกจิตให้รู้ชัดเจนแยกแยะความเป็นกาย เมื่อไหร่ไม่ใช่กาย ถึงต้องทำให้กายแตกดับไปเรื่อยๆจนที่สุดเหลือแต่ชีวิตินทรีย์ รู้กายในกาย
กายในกายต้องมีสภาพเนื่องกันมาถึงเวทนาในเวทนา เนื่องมาถึงจิต จนต้องเอาอกุศลจิตมาฆ่าให้หมด ต้องรู้จิตในจิตอย่างเจโตปริยญาณ 16
ก็ฆ่าราคะโทสะโมหะตายไปจากกายที่ยังมีสภาพสองรูปกับนาม
อรหันต์มีรูปกับนามที่เป็นกายสะอาด ไม่มีราคะโทสะโมหะนี้ ถ้าพระอรหันต์ท่านยังไม่ยอมตาย ถ้าหลังกายแตกตายแล้ว กายสเภทาปรัมรณา
กายกลิคือกิเลส แต่จากพระอรหันต์ไปหมดแล้วยังเหลือรูปนามของท่านเที่ยงมีชีวิต ยังไม่ยอมปรินิพพานเป็นปริโยสาน
กายแตกตาย ของพระอรหันต์แต่ละชาติท่านก็ยังไม่ยอมปรินิพพานเป็นปริโยสาน ท่านก็ได้ตั้งจิต จะไปนิพพาน ท่านก็ตั้งจิตต่ออีก ไม่ยอมให้รูปนามนี้แตกสลายกลายเป็นอุตุธาตุอุตุนิยามไปเลย เพราะพระอรหันต์จะต้องทำจิตตัวเองให้เป็นวัตถุธาตุได้ มีปรินิพพานเป็นปริโยสานได้ จึจะชื่อว่าเป็นพระอรหันต์
พีชนิยามเป็นจิตอาศัยที่ไม่ทุกข์ไม่สุขเหมือนพืช ไม่มีบาปไม่มีบุญแล้ว สิ้นบุญสิ้นบาป เป็นคนทำกรรมใดก็ไม่มีบาป บุญ เป็นกรรมที่มีแต่กุศล
อาตมาบรรยายไปอาจารย์สำนักต่างๆก็ควรฟัง จะได้ชัดเจนขึ้น
ถ้าไม่รู้แม้แต่ความหมายที่ถูก บรรยายก็ยังไม่รู้แล้วจะให้เป็นสภาพทางนามธรรม นำพยัญชนะที่ระบุไว้ว่าจะบรรลุต้องแยกธาตุจิตให้เป็นอุตุนิยามที่พีชนิยามได้
อาตมามาพูดคนหาว่าอวดตัวอวดตน แต่อาตมาไม่ได้มีจิตสาเฐยจิตอะไร ก็อวดไปคนก็ด่าด้วยซ้ำ เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ คนที่สัมมาทิฏฐิฟังอาตมารู้เรื่องเข้าใจ อย่างนี้ทุกที นี่เป็นเครื่องตรวจสอบพิสูจน์
อย่างพวกคุณเข้าใจได้ดีแล้ว แต่กิเลสเรายังไม่หมดก็ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมให้ได้จนกว่าจะได้ทำให้ตัวเองเป็นพระอรหันต์ได้ จะได้สืบสานศาสนาต่อไป ผู้ที่ไม่เข้าใจไม่เชื่อก็จะไม่ได้สิ่งนี้ โดยเฉพาะไม่เชื่อว่าอาตมาเป็นผู้ที่เป็น อาริยบุคคลแท้จริง เขาก็เสียผล ชาตินี้เขาก็จะ ไม่ได้อะไร
อาตมาพาทำจนเป็นสังคม วรรณะ 9 สาราณียธรรม 6 มีกถาวัตถุ 10 พูดไปอย่างไรก็อยู่กับ
-
เรื่องที่ชักนำให้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉกถา) .
-
เรื่องที่ชักนำให้สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิกถา)
-
เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกิเลส (ปวิเวกกถา) .
-
เรื่องที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีกับหมู่กิเลส (อสังสัคคกถา) .
-
เรื่องที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (วิริยารัมภกถา) .
-
เรื่องที่ชักนำให้บริสุทธิ์ในศีล (สีลกถา)
-
เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ (สมาธิกถา) .
ให้รู้จักสวรรค์ ศาสนาพุทธไม่ปรุงแต่งเอาสวรรค์ อสังสัคคะ เขาแปลว่าไม่คลุกคลีกับหมู่ที่เป็นโลกีย์ ปุถุชน ไม่สัมผัสสัมพันธ์แต่ถ้าเราใกล้จะไปคลุกคลี แต่แรงเราไม่ได้ ถูกเขาดึงลงไปก็อย่าไปเข้าใกล้ อย่าไปร่วมสังสัคคะกับเขา อย่างนี้เป็นต้น
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
ศรัทธากับปัญญาในจรณะ 15
_สิกขมาตุม.กล้าข้ามฝัน…ได้อธิบายเรื่องปัญญา 8 ประการหลายข้อเหมือนเป็นศรัทธา
พ่อครูว่า…ศรัทธามันเกิดจากความเข้าใจการเรียนรู้เพิ่มขึ้น แล้วเพิ่มเป็นปัญญา ศรัทธาหมายความว่ามีปัญญาที่ได้สะสมเข้าไป แล้วก็เชื่อ
ศรัทธา 3 ระดับ
เชื่อถือ เชื่อฟัง เชื่อมั่น
เชื่อถือ ก็เชื่อแต่ยังไม่ปฏิบัติตาม แต่เชื่อฟังนี้เชื่อแล้วก็ปฏิบัติตาม ได้ผลแล้วก็จะเชื่อมั่น
ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา แต่คนศรัทธาที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญามีเยอะ
ศรัทธากับปัญญา ในสัทธรรม 7 มี ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติปัญญา
ศรัทธากับปัญญาเป็นหัวท้ายของสัทธรรม 7
ผู้ที่เริ่มด้วยศรัทธา ถึงจะได้ปัญญาอย่างสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้น เรียนรู้ปฏิบัติมีสัมผัสก็จะเกิดจิต จิตของเราเกิดกิเลส พอสัมผัสอะไรแล้วกิเลสมันเกิดก็รู้ว่านี่มันเป็นกิเลส
กิเลสเกิดในขณะปัจจุบันมีสัมผัสที่เป็นความจริง แต่ถ้าไปหลับตาแล้ว เป็นอดีตกับอนาคต มันไม่ใช่ปัจจุบันมันไม่เป็นความจริงจริงๆ
อดีตก็เป็นเรื่องเก่าที่ระลึกขึ้นมาเฉยๆ อนาคตก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น พุทธเจ้าจึงสรุป ทิฏฐิ 18 อย่างในอดีต ส่วนอนาคตมีตั้ง 44 ละเมอเพ้อพกไป
พระพุทธเจ้าไม่เอาการปฏิบัติทั้งอดีตและอนาคต ท่านเอาที่ปัจจุบันทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ
ผู้ที่แสวงหาเปิดใจรับฟังอาตมาบ้างจะได้ความรู้เพิ่ม ต้องมีปรโตฆษะ ค่อยๆเชื่อก็ศรัทธา แล้วนำมาปฏิบัติ
แต่ถ้าปฏิบัติศีลผิด ข้อ 1 สัมผัสกับสัตว์แล้วคุณเกิดจิต กับสัตว์หรือคนก็ตาม สัมผัสแล้ว หมายฆ่า หรือไม่ฆ่า ไม่ได้ใช้อาวุธ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางสาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
จิตเราไม่เป็นเช่นนี้ก็จะละอาย ยิ่งมีความละอายสูงขึ้นก็เรียกว่าโอตตัปปะ จิตเปลี่ยนแปลงได้ลดกิเลสที่เป็นโทสมูล หรือพยาปาทะจนไม่มีกิเลสพวกนี้ก็เป็นพหูสูตร
พหุ แปลว่าสารถี พาธรรมะพระพุทธเจ้าศาสนาพระพุทธเจ้าขับเคลื่อนไปได้ พหูสูตรเขาแปลแค่ว่ารู้มากก็ไม่ผิด แต่ในบาลีมีแปล พหุว่า สารถีด้วย บางเล่มก็ไม่ได้แปล แต่บางเล่มเก็บมาได้อย่างนี้
แม้แต่สัมผัสกับคน คนนี้มีกิเลสรักหรือชังก็ตาม สภาวะเป็นวิบากเก่าหรือวิบากใหม่ก็ตาม สัมผัสแล้วเราจะคบกันได้ไหมกิเลสเก่ากิเลสใหม่ก็ไม่ติดใจต่างคนต่างวิบากใครวิบากมัน ก็ช่วยเหลือกัน อย่างอาตมาก็ตำหนิเขาก็เป็นการช่วยเหลือนะ อาตมาตำหนิธัมมชโยตำหนิมหาบัว แม้มหาบัวจะสิ้นแล้วแต่ผู้ยึดตามแนวมหาบัวมีเยอะ ก็เลยขอหยิบมาให้รู้ว่าอย่างนี้มันผิด ก็ใช้คำตำหนิให้เกิดความรู้ เพราะมันเสียเวลา เติมน้ำหนักของมิจฉาผล
_GoodLuck 159 GoodWealth 159 • 1.) ยังชื่นชมท่านจำลองอยู่เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง. 2.) ทำไม TV เยอะจัง จอใหญ่ใช้ไฟเยอะ ห้องก็จะร้อนด้วยนะขอรับ [ ไม่มีเจตนาอื่นใด ]
พ่อครูว่า…คงเห็นที่ห้องอาตมามีโทรทัศน์ 3 จอ ไปที่สันติฯมี 3 จอให้ ปฐมฯ มี 2 จอ อาตมาดูรู้เรื่องนะ ถ้าดูไม่รู้เรื่องจะเปิดทำไมให้มันเสียค่าไฟ ทำไมรู้เรื่อง เพราะความเร็วของจิตนั้นเร็วกว่าแสง เพราะฉะนั้นดูแค่ 3 จอง่ายมาก เสียงเดินทางช้ากว่าแสงกว่าเสียงแสงของสามจอมา อาตมาฟังทันหมดแหละ
ดูแล้วก็รู้อะไรเพิ่มขึ้นที่จริงเกรงใจน่ะมี 3 จอแต่ที่จอทำงานก็มีอีกจอ 1 เป็น 4 จอ แต่ได้ยินเสียง บางทีได้ยินเสียงก็รู้ว่าเรื่องนี้ควรดูก็ได้พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่อย่างนั้นคนก็จะมาว่าเรานั่งนาน ที่จริงเวลาทำงานเขียนหนังสือมันมีอิริยาบถเปลี่ยนอยู่นะ อาตมาก็ relax อยู่ในนั้น อาตมาพอทำได้ก็ขอบคุณที่ห่วง
อรหันต์กับการอวดอุตริมนุสธรรม
_Thai Ch • ถ้ามีคุณวิเศษ(อุตริมนุษย์ธรรม)ในตนจริงๆแล้วบอกคนอื่นได้เฉพาะผู้ที่มีคุณธรรมเสมอกัน(เพื่อนสหธัมมิก)เท่านั้น. ไม่ใช่พูดอวดมั่วๆออกสื่อไปทั่ว ถ้าอวดมั่วๆออกสื่อก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์สิครับ..(ปาจิตตีย์สิกขาบทที่8)พระอรหันต์ท่านไม่ยอมผิดอาบัติแม้สิกขาบทเล็กน้อยหรอก..
อธิษฐานเดินจงกรมตามแบบฝึกสติกายวิเวกท่านก็บอกว่าเป็นลัทธิเดียรัจถี.ต้องเดินออกกำลังกายตามแบบพละศึกษาอย่างนี้จึงถูกหรือครับ.
พ่อครูว่า…คนที่ไม่มีภูมิเขาไม่ฟังอาตมาหรอก เปิดดูแล้วเขาก็ไม่ดูต่อหรอก มันจะมีว่า อาตมาเทศน์อวดไป คนที่ฟังแล้วรับไม่ได้ก็จะไม่ฟังต่อหรอก ไม่อาบัติปาจิตตีย์หรอก แต่คนที่เปิดดูอาตมานั้นจะเป็นเพื่อนสหธรรมิกทั้งนั้นแหละ คนที่รู้เรื่องแล้ว แต่คนที่เขาไม่ฟังเขาเป็นคนที่ไม่รับอยู่แล้ว
ถ้าอาบัติปาจิตตีย์ก็จริง ถ้ามีอุตริมนุสธรรมที่มีจริงในตน ก็หากอวดก็ไปปลงอาบัติกับเพื่อนสหธัมมิก ที่จริงไม่ได้มีจิตอยากอวดแต่เป็นการแสดงออกธรรมดาให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย อาตมาจะไม่อาบัติ อาตมาไม่ใช่อาริยะธรรมดา แต่อาตมาเป็นอรหันต์ อวดให้ตายก็ไม่มีอาบัติ คนก็จะยิ่งหมั่นไส้หนักไปอีก อาตมาก็ไม่รู้จะทำไง ก็พูดความจริงสู่ฟัง
_สู่แดนธรรมว่า..ฐานะพ่อท่านหมู่สมณะยกให้อยู่แล้ว
พ่อครูว่า…แม้ไม่อยากแต่อาตมาอวดไป คนฟังอธิบายแล้วว่าเขาไม่ฟังหรอก พอได้ยินว่าอาตมาเป็นอรหันตฺ์เขาเปลี่ยนช่องเลย
แต่ถ้าสมัยโบราณ หากคุณนั่งตรงหน้านี้ แล้วท่านจะแสดงอรหันต์ คุณไม่ชอบใจก็เดินหนีได้
_สู่แดนธรรมว่า…ฐานะที่ผมเคยเป็นพระข้างนอกมา คนเขาถือว่าอรหันต์จะต้องอาบัติไม่ได้ แต่ที่จริงยกเว้นได้ใช่ไหม
พ่อครูว่า…ยกเว้นได้ ยกสติวินัยไม่มีอาบัติหรอกท่านใจบริสุทธิ์ ท่านประมาณแล้วอรหันต์บางองค์ก็คะนองทำอะไรเวอร์ๆได้
เรื่องนี้อาตมาเข้าใจว่าทำไมต้องทำเวอร์ ๆ ถ้าคุณเข้าใจมันจะมีนัยละเอียดลึกซึ้งมากเลย
มีคนอธิบายว่าดาราแสดงละครจะต้องทำเวอร์ๆไว้ ต้อง overacting ให้หน่อย ไม่อย่างนั้นคนไม่ชัดเจน ถึงแม้เขาจะบอกว่าคนที่แสดงเป็นธรรมชาติไม่เวอร์เลย แต่ต้องเวอร์ เพราะต้องการเน้นสภาวะจริง ไม่เช่นนั้นมันจะจืด ไม่เนียนไม่ชัด จะเน้นอะไร จะเน้นลักษณะใด นี่เป็นรายละเอียดของศิลปะ
สิกขมาตุกล้าข้ามฝันว่า อรหันต์ คนจะชอบที่รูปเหมือนพระอัสสชิ แต่จะชอบสภาวะที่เหมือนพระสารีบุตร
พ่อครูว่า…หากว่าอาตมาเอาแต่ทำตามคำตำหนิก็ทำงานได้ยาก ยุคนี้ไม่ใช่ในยุคที่จะเอาโลกุตรธรรมมาประกาศและทำให้คนเข้าใจได้ จนสามารถรับเอามาปฏิบัติจนบรรลุจนเป็นหมู่มวลเป็นสังคม ยืนยัน สังคมอโศกเป็นสังคมพระอริยะ ไม่ได้บอกว่าเป็นอาริยะธรรมดาด้วย แต่เป็นอาริยะในระดับอนาคามีภูมิเป็นต้นไปด้วย สังคมมวลชนชาวอโศกแต่ละสังคมทุกวันนี้ ถึงขั้นสาธารณโภคีด้วย ซึ่งยิ่งลึกซึ้งซับซ้อน เพราะสาธารณโภคีในยุคของพระพุทธเจ้ายังทำไม่ได้ในฆราวาส อาตมาไม่ใช่ว่าเก่งแต่ในยุคนี้มันทำได้เพราะไม่ใช่ในยุคที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์
สาธารณโภคี มาทำงานในนี้ก็ต้องเสียสละ รายได้ ผลผลิต เอาเข้ากองกลางทั้งหมดไม่เอาเป็นของตัวเอง แต่ไม่ได้เป็นการบังคับให้ทำนะ ขออภัยสำหรับผู้ที่อคติแล้วอาจจะมีความชังอาตมาก็เป็นเรื่องของท่าน ก็เป็นจิตที่เป็นอกุศล ทั้งรักและชังก็เป็นกิเลสทั้งคู่
_อธิษฐานเดินจงกรมตามแบบฝึกสติกายวิเวกท่านก็บอกว่าเป็นลัทธิเดียรัจถี.ต้องเดินออกกำลังกายตามแบบพละศึกษาอย่างนี้จึงถูกหรือครับ.
พ่อครูว่า…มันมีพลความ แต่คุณดึงมาว่าอาตมาบางจุด อาตมาก็ขออภัยที่ทำให้เห็นเช่นนั้นก็เคารพความต่างของความเห็นได้
พูดยกย่องตนอย่างไม่มีกิเลส
_ภัสชล Patsachol Wongkachatewan • ท่านไม่สมควรกล่าวหาผู้อื่นแต่ยกตนเองขึ้นแบบนี้ค่ะ หลวงพ่อธัมชโยท่านมีลูกศิษย์ลูกหาศรัทธามากมายมหาศาล ท่านยังไม่เคยกล่าวร้ายผู้ใดเลยไม่ว่าจะพระหรือโยม และหลวงพ่อก็ไม่เคยพูดจายกตนเองขึ้นแบบท่านด้วย เพราะท่านปฏิบัติดีจนลูกศิษย์ลูกหาศรัทธาเองด้วยใจและปฏิบัติตามท่านค่ะ
พ่อครูว่า….อาตมาไม่ได้กล่าวหาแต่เห็นความจริงตามความเป็นจริง อาตมาไม่ได้กล่าวหา อาตมาทักท้วงว่ามันผิดนะ ผู้อื่นผู้ใดที่อาตมาท้วง ก็ท้วงด้วยหลักฐาน มีการอ้างอิงยืนยันมีหลักของธรรมวินัยมาประท้วงไม่ได้มากล่าวหา
ถ้าอาตมาท้วงผิด คุณก็ว่าอาตมาสิ ไปท้วงผิดอย่างไร อาตมาไม่ได้กล่าวหานะ เกินเลยกว่าขั้นกล่าวหาแล้ว ซึ่งการกล่าวหายังไม่ได้ อาตมาก็ตัดสินเองว่าอันนี้ควรจะท้วง อาตมาไม่กล่าวหา แต่อาตมาท้วงและตำหนิ
ถ้าอาตมาไม่ยกตัวเองอาตมาก็ผิด เพราะอาตมาอยู่เหนือแล้ว หากไม่ยกตนก็ผิดสัจจะ
คนไม่เข้าใจว่าผู้ที่ถูกต้องมีความจริงต้องเป็นอย่างอาตมา แต่คนก็เปรียบเทียบกันอย่างไรจะใช่ คุณก็จะได้ศึกษาเปรียบเทียบ อันไหนมันตรงธรรมวินัยกว่าอันไหนมันถูกต้องกว่า คุณก็ใช้ปัญญาญาณ ตัดสินตัวใครตัวมัน อย่างไหนเป็นธรรมวาที อย่างไรอธรรมวาที
จะว่าอาตมาข่มคนอื่น แต่คนที่ถูกต้องเหนือกว่าคนผิด จะยกหรือไม่ยกก็ตาม จะยกไปข่ม พยัญชนะว่าอาตมายกข่ม อาตมาก็ชี้ว่าอันนี้เหนือกว่าอันนี้
จะเอาความมีมากมายมหาศาลเป็นเครื่องตัดสิน ก็ขออธิบายว่าการรู้โลกุตรธรรมกับการรู้โลกียธรรม ที่คนเป็นปุถุชนยินดีในโลกียธรรมแล้วก็ปรุงแต่งโลกียธรรมให้มีรสชาติ เป็นสิ่งที่น่าศรัทธาเลื่อมใสชื่นใจเขาเก่ง เกณฑ์ในการยกตัวอย่างยืนยันประโลมกิเลสของคน แล้วคนก็ไปชอบกันมากๆ อาตมาไม่เห็นเป็นเรื่องเก่งที่น่าไปริษยาแต่อย่างใด ทำอย่างนั้นก็ยิ่งตลกและจูงนำให้คนลงนรกมากมาย
ธรรมกายท่านไม่ได้กล่าวร้ายใครหรอกและท่านก็จะไม่ทำ หรือว่าการชมทำไมคนเขาจะไม่ชอบเอาแต่คำชม แล้วท่านก็ชมตน ชมพวก ท่านก็ไม่ได้ไปชมคนอื่น
คนที่จะตำหนิคนอื่นได้จะต้องเป็นคนที่ยอดเยี่ยม คนที่ชมคนอื่นมากๆนั้นจะไปเก่งอะไรคนชมคนก็ชมได้ การตำหนิแล้วเขาไม่มาทำร้ายไม่มาฆ่าเราก็ดีแล้ว ตำหนิแล้วเขาก็ยังนิ่งอยู่ ตอนนี้แล้วเขาก็ไม่ได้มาทำร้าย เขายังนิ่งอยู่นี่เป็นฝีมือนะของอาตมา
เรื่องตำหนิพูดไปแล้วต้องเหมือนผ้าชุบน้ำมันไหม้ไฟบนหัว ต้องรีบเอาออก ความผิดต้องรีบบอกกัน ทุกวันนี้เวลาน้อยมากเลย ข้อจำกัดที่อาตมาจำเป็นจำนน แต่ธัมมชโย ไม่อาจหาญตำหนิหรอก คนละฟากฟ้ากับอาตมาเลย สรุปแล้วต่างคนต่างก็มีความเห็นกันไปก็เลือกเอาที่ชอบที่ชอบกันเถอะส่วนใครจะมีฉันทะเอาอันไหนก็เป็นธรรมดาของมนุษย์โลก
พระพุทธเจ้านี้ยกตัวเองอย่างขนาดเลย แล้วก็บอกผู้อื่นมีคติที่ไปไม่นรกก็เดียรัจฉาน
จริงๆก็เป็นเรื่องของความต่างกัน ศึกษาแล้วก็บอกความต่างกันเท่านั้นเอง ถ้าไม่ศรัทธาอาตมาก็ไม่เป็นไร คุณก็ฟังอย่างแสลงไปเรื่อยๆเพราะมันจะไม่ตรงกับทิฏฐิของคุณ แต่ถ้าฟังอาตมาด้วยดีอย่ามีอคติคุณก็จะมีปัญญา
_ธนะฤทธิ์ รักษ์ชูชื่น • พอๆกับธรรมกายนั่นเเหละ
สติในสัทธรรม 7 กับสติในโพชฌงค์ 7
_สมณะคิดถูก…สติในสัทธรรม 7 อยู่ช่วงท้ายๆ ทีนี้ ที่อยากถามคือมันต่างกันอย่างไร สติในสัทธรรม 7 กับสติในโพชฌงค์ 7
พ่อครูว่า…สติ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกระบวนการของจรณะ 15
สติเมื่อแยกย่อยไป มีคนถามว่า สติในมรรคมีองค์ 8 กับโพชฌงค์ 7 ต่างกันอย่างไร
หากปฏิบัติเกิดเหตุแห่งการตรัสรู้ก็เป็นสติที่เป็นสัมโพชฌงค์
โพชะ หรือโพธิ แปลว่าการตรัสรู้ คือ มีความรู้ความเข้าใจแล้วก็ได้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติลงตัวได้มรรคได้ผลจึงเป็นโพชฌงค์ทั้ง 7 เป็นต้น
สติสัมโพชฌงค์ก็เท่ากับคุณปฏิบัติสติในมรรคมีองค์ 8 ก็ดีหรือสติในสติปัฏฐาน 4 ก็ดี พิจารณากายในกายได้ผล พิจารณาเวทนาในเวทนาได้ผลตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ตามองค์ธรรมต่างๆ ก็เรียกว่า สตินั้นเป็นสติสัมโพชฌงค์
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ เป็นภาคปฏิบัติ ต้องสังวรปธาน สำรวมสังวรอินทรีย์ทั้ง 6 แล้วก็ปหานกิเลสให้ได้แล้วก็รักษาผลที่ได้ปหานกิเลสได้ นี่เป็นสัมมัปปธาน 4 ด้วยอิทธิบาท 4
ความอิทธิบาทคือความพากเพียรที่เริ่มต้นด้วยฉันทะ หากไม่มีฉันทะเป็นมูลกา แล้วปฏิบัติธรรมให้เกิดการทำใจในใจมนสิการ
ปฏิบัติธรรมทำใจในใจไม่เป็นทำใจไม่ได้ก็ปฏิบัติได้แต่เปลือกนอกไม่ถึงใจ ไม่ได้ผลอะไรหรอก ในมูลสูตร 10
-
มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) . .
-
มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) . . . .
-
มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) . . .
-
มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) .
-
มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ) . . .
ทำให้ถึงอุเบกขาเป็นฐานนิพพาน เจริญด้วยองค์ 5 ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา
ต้องมีธัมมวิจัย หากไม่มี ให้นั่งหลับตาอย่าไปคิดมากอะไร เป็นการปฏิบัติที่ผิด แม้ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ องค์แห่งมรรค สัมมาทิฏฐิ
ยกตัวอย่างอ.บูรพา เขียนบรรยายไป เป็นบาปไป
สติในสัทธรรม 7 ต้องปฏิบัติให้เกิดสติสัมโพชฌงค์
ทำจิตให้เป็นพีชะได้ก็คืออรหันต์
_สมณะคิดถูก อยากทราบลักษณะจิตที่เป็นพีชะ ที่ว่า
พ่อครูว่า…จิตเป็นธาตุรู้ระดับพีชะ พีชะมีแต่สัญญากับสังขาร ไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณ เราสามารถทำจิต มนสิการไม่ให้มีกิเลสที่เป็นบาป ไม่ทำบาป จิตเราก็เป็นพีชะ ไม่มีบาปไม่มีบุญ
ฌานคือพลังงานไฟก่อนบุญ ไปเผากิเลส เมื่อเผาราคะไปได้ก็เป็นส่วนบุญ เผาได้หมดก็หมดบุญ บุญก็จบ บุญก็ไม่มีอีกบาปอกุศลก็ไม่มีอีก กิเลสก็หมด คำว่าสติ จึงต้องใช้ในองค์ธรรม จรณะ15
ก็ทำจิตให้เป็นพีชะ จิตที่ไม่มีอาการไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่มีบาปไม่มีบุญ คุณทำจิตให้ไม่สุขไม่ทุกข์ได้จิตก็เป็นพีชะ แต่จิตจะทำงานได้เก่ง เพราะมีพลังงานสูงกว่าพีชะ จิตเราไม่ทำบาปทำบุญแล้ว ก็เอาจิตมาทำงานสร้างสรร สัพพปาปัสสอกรณัง กุสลสูปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง
กรรมกิริยาของอรหันต์จึงมีแต่กุศล
-
การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพปาปัสสะ อกรณัง)
-
บำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม . (กุสลัสสูปสัมปทา)
-
ความชำระจิตให้ผ่องแผ้ว (สจิตตปริโยทปนัง)