พ.ย.272019ศาสนา621127_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ อรหันต์เป็นง่ายต้องแยกกายแยกจิตอย่างนักบวช อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1B4s0zXF-iAsikkw3XwPd8VLWvhbnniZRZFfiU_aYEzM/edit?usp=sharing ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1sguijf49M608gjsadzx22rtswEL1r9nm การบวชทำให้เป็นอรหันต์ง่ายกว่าเป็นฆราวาส สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้มีการโหวตสมณะใหม่ขึ้นมาอีก 1 รูป คือ สมณะแนวตรง อุชุปฏิปันโน เป็นรูปที่ 87 อาตมาบวชรูปที่ 96 ตอนนี้บวชรูปที่ 87 อุปัชฌาย์เดินดินว่า ทำไมคนไม่ค่อยมาบวช อาตมาก็ว่าคนอยู่ในฐานะฆราวาส เป็นพระอรหันต์ง่ายกว่า พ่อครูว่า…ไม่ใช่ บวชเป็นพระนั้นเป็นอรหันต์ง่ายกว่า เพราะว่าเป็นทางที่สะอาดบริสุทธิ์ดุจสังข์ขัด แต่เป็นฆราวาสก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ แต่เป็นพระนั้นมีศีลมีวินัยที่เป็นข้อบังคับมาก ไม่ใช่ว่าฆราวาสทำผิดพระวินัยของพระแล้วจะไม่บาป มันก็มีบาปแต่มันมีน้ำหนักที่เจตนาน้อยกว่ากัน เจตนาตั้งใจมาบวชเพื่อปฏิบัติธรรมมันก็เต็มรูป แล้วก็ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะมาปฏิบัติงาน แล้วผู้ที่มาบวชเป็นพระ เป็นผู้ที่มีสัญญากับประชาคม สัญญากับทุกๆคนว่าจะมาบวช โดยที่ตัวเองสละทรัพย์ศฤงคารบ้านช่องเรือนชาน สละญาติ โภคขันธาปหายะ ญาติปริวัตตังปหายะ ให้ประชาชนเลี้ยงดูไว้ มันมีอะไรหลายๆอย่างซับซ้อนเสร็จแล้วก็มาบวช บวชเสร็จแล้วไม่อยู่ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าก็มีความบาปซ้ำซ้อน ก็เหมือนกับบวชแล้วสัญญากับประชาชน ว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้หมดกิเลส เพราะฉะนั้นไม่ได้มาสะสมลาภยศสรรเสริญโลกียสุขแม้แต่ญาติโกโยติกา มีลูกมีเต้ามีผัวมีเมียไม่รับผิดชอบแล้วออกมาแล้ว ก็หมายความว่ายกให้ประชาชนยกให้ แต่เสร็จแล้วเราก็มาละเมิดมาสะสมทรัพย์ ดีไม่ดีก็มาวุ่นวายกับเรื่องผู้หญิงผู้ชายอะไรกันอีกเป็นการบาปซ้ำซ้อน ตัวเองก็โกหกสังคม สมณะฟ้าไทว่า..แสดงว่ามาบวชนี้ยาก สมัยก่อนคนไม่มีใจอย่างอื่นมากคิดแต่บวชอย่างเดียว แต่ตอนนี้มีทางเลือกหลากหลายคนก็เลยยากที่จะมาบวช พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าท่านทำให้พระเป็นผู้ดีเต็มร้อย จะแต่งกายอย่างไรจะกินอยู่อย่างไร แม้แต่การเคี้ยวข้าว ก็ไม่ให้กินมูมมาม เรื่องผู้หญิงผู้ชายก็มีการสอนไว้ เรื่องการใช้เงินสะสมเงินเข้าไม่ได้ สมณะชาวอโศกไม่มีแน่ ต้องมาเป็นคนศูนย์ทั้งกายและใจในองค์ประกอบทั้งหมด แต่ว่ารับภาระดูแลเอาใจใส่งานการ คนไม่เห็นแก่ตัวแล้วก็จะทำเพื่อผู้อื่นมารับภาระผู้อื่น พ่อครูว่า…อาตมาภูมิใจที่เกิดมาในยุคนี้แล้ว ซึ่งเป็นพระเป็นเจ้ามันไม่เอาภาระ มันไม่ได้ปฏิบัติตรงตามพระพุทธเจ้าท่านประสงค์พุทธประสงค์ แต่อาตมามาทำได้ตามธรรมวินัยตามพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้า ก็เลยให้คนมาบวชแล้วก็มาปฏิบัติตนเพื่อที่จะลดกิเลส ลดกิเลสแล้วก็จะต้องรับผิดชอบ เป็นผู้สนองประชาชน ที่เขาให้ข้าวให้น้ำเลี้ยงดูเอาไว้ด้วย ไม่ใช่วันนี้ออกป่าเขาทำไม่เอาภาระอะไรต่างๆนานา ซึ่งมันเป็นหนี้ บวชอย่างนั้นเป็นหนี้ ท่านใช้ประโยคว่า ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังประกอบเดรัจฉานวิชชาอีก สมณะฟ้าไทว่า…หากเป็นพระทุศีลแล้วจะไปกินก้อนข้าวชาวบ้านให้กินก้อนเหล็กเผาไฟแดงเสียยังดีกว่า พ่อครูว่า…มันเป็นวิบากแท้จริงที่ซับซ้อน อีกอย่างหนึ่งก็จะกลายเป็นเรื่องเล่น มาบวช สามเดือน สมัยพระพุทธเจ้าไม่มีหรอก บวชเข้าพรรษาแค่ 3 เดือน ดีไม่ดีบวชเล่นบวชแค่ 15 วันบวชหน้าศพบวชดารา บวชเท่ๆ ไม่มีหรอก คือมาทำให้เลอะเทอะ เห็นการบวชเป็นของเท่ แต่ตัวเองบวชแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ดีไม่ดีบอกว่าทำพิธีบวชแล้วได้บุญได้กุศลอย่างธัมมชโยทำ หมวดทีละร้อยทีละพันปีละหมื่นคน แต่ว่าเป็นการทำให้เลอะเทอะ อาตมาพูดได้เลยว่าพระเหล่านั้นไม่ได้จริงจัง มาทำสังฆาทิเสส โดยเฉพาะข้อที่สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองโดยที่เขาไม่ประสีประสา บางทีเขาก็อดไม่ได้หรอกไม่ถึงเดือนเขาก็ทำ แล้วก็กลายเป็นพระไม่บริสุทธิ์ อปกตัตตะ อยู่ปนกับพระปกตัตตะ เละไปหมด อาตมาจึงอยู่ร่วมกับสังคมอย่างนั้นไม่ได้ก็เลยออกมา เขาทำปาราชิกกันเยอะแยะโดยเฉพาะเรื่องเงินปาราชิกกันมหาศาล ผู้ที่จะมาบวชเพื่อการชำระกิเลสจริง ให้เป็นคนเจริญให้เป็นคนบรรลุธรรม กับคนที่มาทำเละเทะอยู่อย่างนี้ มันจะให้อยู่ด้วยกันไปด้วยกันมาด้วยกันได้อย่างไร นี่แหละเป็นเรื่องที่สุด สมัยพระพุทธเจ้าท่านรู้ว่าใครไม่บริสุทธิ์ก็จะไม่ร่วมทำสังฆกรรมด้วยเลย พูดไปแล้วใครจะว่าเป็นเรื่องยกตนข่มท่านเป็นเรื่องอวดดี แต่จริงๆแล้ว เรื่องที่ดีควรจะแสดงควรจะยกย่อง สิ่งที่ไม่ดีก็ควรจะข่ม ควรจะตำหนิ ควรจะทำลาย อย่าให้มาปฏิบัติประพฤติกันอยู่ มันเป็นสัจจะมันเลี่ยงไม่ออก สิ่งที่ผิดมันเยอะก็เลยต้องตำหนิเยอะว่าเยอะ เมื่อจะยกย่องคนที่ดีที่ถูกต้องก็เลยเหมือนกับยกตัวเอง _SMSวันที่25พ.ย.2562 _จักรพล พุทธพัฒนา: ได้ยินได้เห็นพระอรหันต์องค์เป็นๆนี้ช่างโชคดีและเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่งแล้วจริงๆครับยิ่งเห็นยิ่งได้ฟังสัทธรรมหรือโลกุตระธรรมจากพระอรหันต์ยิ่งเป็นอุดมมงคลสูงสุดเลยทีเดียวครับ. สื่อธรรมะพ่อครู(พระวินัย) ตอน ทำไมพระพุทธเจ้าห้ามกระเทยมาบวช _ดุ๊คDuke Theeranan :กราบนมัสการพ่อครูครับ อยากทราบว่า ทำไมพระพุทธเจ้าถึงห้ามบุคคลประเภทที่สาม (กะเทย ตุ๊ด เกย์) บวชครับ พ่อครูว่า…ที่ห้ามเพราะว่ากระเทยเป็นผู้ที่มีจิตที่สะสมอยู่ในอนุสัย คนเป็นกระเทย แล้วจะเป็นเพศอะไรก็ไม่เป็นอะไร เป็นเพศหญิงก็จะไปเอาอีกเป็นเพศหนึ่ง ตามวิบากของตัวเอง เรียกว่าเป็นคนลักเพศ เป็นคนที่มีจิตเป็นจิตกิเลสหนา จนกระทั่งทำตัวเองไม่รู้ ไม่รู้แม้กระทั่งว่าตัวเองจะเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิง มันโง่ขนาดนั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ให้บวช ก็ไม่รู้ แล้วจะสอนอะไรเรื่องศาสนาพระพุทธเจ้ามันเป็นเรื่องละเอียดสูงส่ง แม้แต่เพศของตัวเองก็ไม่เป็น วิบากก็ทำให้ตัวเองเกิดมาเป็นอย่างนั้น มันมีกิเลสเรื่องกามราคะมาก มาตั้งแต่ชาติก่อนๆจนสั่งสมไว้ในอนุสัย เพราะฉะนั้นเกิดมาในชาตินี้แล้วอย่ามาบวชเลย เดี๋ยวมาทำเลอะเทอะอยู่ในนี้วุ่นวาย ทำให้เสีย เพราะยังไงๆก็ไม่เป็นผล กระเทยมาบวชทำให้วงการศาสนาเสื่อมตัวเองก็เสื่อม ตัวเองเป็นกระเทย ถ้าหากใส่ใจเรื่องธรรมะพากเพียรเอาเอง ของส่วนตัวทำให้ดีพยายามพากเพียรทำให้ดี อันนี้พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามันอยู่ในอนุสัยมันอยู่ในจิตข้ามชาติมาหลายชาติจึงจะมีจิตที่เป็นกระเทย สั่งสมความเป็นอนุสัยผิดเพศมาจะแก้นั้นไม่ง่าย เพราะฉะนั้นจะเป็นผลเสียเป็นโทษภัยมากกว่าถ้ามาบวช แต่พากเพียรสะสมสิ่งที่ดีเอาได้ เพราะการบวชนั้นคนต้องกราบต้องไหว้ คุณเอง แค่กามราคะคุณยังรอดยาก มาให้คนอื่นกราบมันบาปซ้ำซ้อน มานุ่งห่มจีวรเรียบร้อยแล้วพ่อแม่ก็ต้องกราบ คนอยู่ในฐานะสูงขนาดไหน ในสังคมก็ต้องไหว้ต้องกราบ แล้วตัวเองนั้นดีขนาดไหนที่จะให้พ่อแม่กราบ อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นเรื่องซับซ้อน สมณะฟ้าไท…เกิดมาเป็นภันเต อาวุโสก็ต้องกราบอีก พ่อครูว่า..พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นบาปซับซ้อน อย่ามาบวชเลย เพราะฉะนั้นจงดีใจเถิดเป็นกะเทยไม่มาบวชจะได้ไม่บาปซ้ำซ้อนเข้าไปอีก มันเป็นของดีแล้วที่ท่านได้ออกพระวินัยไว้ เจียมตนปฏิบัติให้ดี แค่เรื่องกามเป็นเบื้องต้น เพราะฉะนั้นสั่งสมมาไม่รู้กี่ชาติแล้ว เกิดมาชาตินี้จะมาบวชทำไม ศึกษาปฏิบัติให้ดี จนกระทั่งไม่มีเชื้อของการผิดเพศแล้ว ถ้ามาบวชแล้วจะเป็นการทำลายศาสนาด้วย มันไม่ดี พระพุทธเจ้าจึงได้มีกฎระเบียบวินัยไว้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการกีดกัน แต่เป็นการทำให้คุณเองไม่ซับซ้อน เพราะมันไม่รู้จักวิบากอนุสัย เชื่อเถอะพระพุทธเจ้าท่านออกพระวินัยไว้ ไม่ใช่ว่าท่านรังเกียจคนทำให้คนไม่เจริญ แต่ยิ่งจะทำให้คนเจริญขึ้นอีกต่างหาก ที่ท่านออกกฎระเบียบวินัยออกศีลไว้ โดยเฉพาะพระธรรมวินัยก็เพื่อให้คนเจริญ ไม่ใช่ออกพระธรรมวินัยเพื่อให้คนไม่เจริญ คุณอย่าเก่งกว่าพระพุทธเจ้าเลย เป็นกะเทยแล้วอย่ามาบวช เชื่อพระพุทธเจ้าเถอะ จะปฏิบัติส่วนตัวใครก็ไม่ว่าคุณหรอก คุณเป็นกระเทยก็พยายามขวนขวายไป บางทีเขาก็ให้คุณเข้าไปถ้าหากไม่แสดงตัวเองน่าเกลียด แต่ถ้ามาที่นี่แล้วแสดงตัวเองน่าเกลียดเขาก็ไม่ให้อยู่ _เชวง กิจจะบรรณ์ : อากาศคงหนาวนะครับ _view6 view6:ผู้ที่จะรู้จริงๆ ก็คือจะต้องผ่านให้ได้ก้อน จึงจะรู้จริง ที่ดูมาก เพราะ เผื่อมีอะไร เข้ามาในธรรม หรือได้ระลึกอะไรใหม่ๆเหมือนฟังธรรมซ้ำๆ แต่กลับได้สิ่งใหม่ ที่ระลึกได้ พ่อครูว่า…อาตมาพูดธรรมะมาเป็นเรื่องซ้ำหมดเลยไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นธรรมะที่ซ้ำ แต่มีมุมเหลี่ยมที่ลึกเข้าไปเรื่อยๆมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนคนที่เก็บรายละเอียดลึกซึ้งไม่ได้ เขาก็บอกว่า วนซ้ำอยู่นั่นแหละ แต่โลกเขาหาแต่สิ่งแปลกๆใหม่ๆ แต่ธรรมะนั้นซ้ำ แต่แปลกใหม่ในธรรมะที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีก คนที่รับไม่ติดก็ตีทิ้งไป ก็เป็นธรรมชาติธรรมดาไม่มีปัญหา ขนาดซ้ำๆ ฟังไม่รู้กี่ทีกว่าจะเข้าใจรู้เรื่อง สื่อธรรมะพ่อครู(การตำหนิ) ตอน พ่อครูตำหนิไว้เผื่อให้ลูกหลานทำงานง่าย _เปรมBb Prem :เราเห็นต่างกับพ่อครูเรื่องการตำหนิบุคคลที่ควรตำหนิ ถ้าเราไปตำหนิคนพาลที่เขาไม่พร้อมจะเปิดใจฟังก็จะเป็นโทษมากกว่า แต่การชี้ช่องให้เขารู้ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่ต้องดูจังหวะและระวังมากๆ พ่อครูว่า…คุณพูดถูก แต่พูดยังไม่ครบทีเดียว อาตมาทำตามที่คุณพูด สิ่งที่จะตำหนิ อาตมาทำตามที่คุณพูดอยู่ คนพาลคือคนโง่ คนไม่รู้คนผิดคนเกเร เขาหมายถึงคนหยาบ ไม่เปิดใจฟัง เป็นโทษมากกว่า อาตมาขออภัย มันอยู่ที่บารมีของคนที่จะตำหนิด้วย อาตมามีบารมีพอที่จะตำหนิคนได้ ที่คุณเองจะมาเลียนแบบไม่ได้หรอก แม้แต่ท่านฟ้าไทจะมาเลียนแบบไม่ได้หรอก เป็นเรื่องอยู่ในฐานะที่อาตมาจะเป็นผู้ที่ตำหนิได้ อาตมาตำหนินี้ถูกต้องตามเรื่องราวโอกาสแล้ว อาตมาตำหนิอรหันต์เก๊ บอกชื่อไปเลยต่างๆนานา แม้แต่เถรสมาคมตรงนั้นตรงนี้ก็ยังตำหนิ ถ้าไม่มีบารมีอัตตะมาตำหนิอย่างนี้ไม่ได้หรอก ไม่ได้ ขอยืนยัน ที่ทำได้เพราะว่าอาตมาเป็นอาตมา ซึ่งมีของจริง ถ้าไม่จริงทำไม่ได้ ถ้าอาตมาไม่ตำหนิไม่ตีกันไว้ มันยิ่งยาก สมณะต่อไปก็จะทำงานยากมาก เพราะว่าอาตมาไม่บอกไว้ ว่าสิ่งนี้มันไม่ถูกนะ คุณก็จะเอาสิ่งที่ไม่ถูกเข้ามามันจะค้านแย้งกับสิ่งที่จะทำต่อไป สิ่งที่อาตมาทำวันนี้มันเป็นการกรุยทางไว้ในอนาคตด้วย _view6 view6: ก็ถึงจังหวะแล้ว จึงจะต้องด่า ไอ้…พระธัมชัยโย _เปรมBb Prem :อันนี้เราพูดรวมๆนะ ไม่เฉพาะเจาะจงใคร _พรทิพย์Pornthip Thaiiad: ชอบธรรมะที่พ่อครูเทศน์มากค่ะถึงแม้นจะมีปัญญาเข้าใจได้ไม่หมด ตามไม่ทันในหลายๆเรื่อง แต่จะเพียรพยายามฟังธรรมพ่อครูตลอดไปค่ะ สื่อธรรมะพ่อครู(นิยามชีวิต 5) ตอน ทำจิตให้เป็นอุตุพีชะได้อย่างไร _พระโชติโกPhraJotikoเรื่องพืช หากตามสำนวนพระอรรถกถา ดูเหมือนว่าเชื้อพืช ควรน่าจะหมายถึง ศัพท์ ว่า “ภัพย์” แต่ครั้งเป็นพืชแล้ว จึงเรียกควร เรียกว่า “ภูต” ได้, แต่ทีนี้ เมื่อเรา-ท่าน จะหมายถึงสภาวะก็ควร ที่น่าจะหมายถึง คำว่า “สัมภูต”, ว่าลงเป็นการเปรียบ แต่จะอธิบายดังว่าไปนี้ ดีหรือไม่?, เพราะ ฟังมาจากบทที่กถาจารย์อธิบายถึงสัตว์ และโอปปาติกะ มาเท่านั้น จะลงเป็นแต่ความจากพระไตรปิฎก,แต่ก็ควร ก็จึงว่าเปรียบ จะให้ดู จะให้ฟังตามที่ควร ว่าจะ“มีสภาพพีชะตามเรื่องจิตนั้น” เป็นสัมมัตตะนิยาม หรือว่า เป็นมิจฉัตตะนิยามแก่อะไรๆบ้าง ขอให้ผู้ที่รู้อุบายแท้ๆ ที่อาจเกิดกุศล พ่อครูว่า…คนนี้แสดงความเห็นมาแล้ว คุณสู่แดนธรรมเห็นก็เลยขอโอกาสวิสัชนา สู่แดนธรรมว่า…ผมอ่านความเห็นของท่านพระโชติโก เห็นว่า ท่านคงจะตำหนิพ่อท่านโดยที่พ่อท่านไปบอกจิตนิยามเป็นพีชะท่านก็เลยว่า หากจะเป็นพืชมันมีมาตั้งแต่เชื้อก่อนคือ ภัพย์ ท่านพยายามอธิบายว่า พืชอย่าพยายามเอาไปอธิบายเป็นจิต ให้อธิบายเป็นเพียง พีชะก็พอ ผมก็เลยไปเจอหลักฐาน เกวัฏสูตรที่ภิกษุรูปหนึ่งไปหาพระพรหมผู้สร้าง ก็ไปเจอว่า ภัพย์ ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงพืช แต่เป็นสัตว์โลกทั้งหลายด้วย ท่านถึงใช้คำพูดว่า จิตตาภูตภัพย์ คือนับเอาพืชเป็นจิตวิญญาณ คือเกิดขึ้นตามความเจริญของสิ่งที่มีการสร้างขึ้น พ่อท่านว่า หากอรหันต์จะทำจิตให้เป็นพืชเป็นอุตุก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ พ่อครูว่า..ในนิยาม 5 ความแตกต่างระหว่างอุตุ พีช จิต ที่เป็นสัตว์ ไม่ใช่เป็นเรื่องสามัญที่จะทำได้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนี้เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ อาตมาเข้าใจแล้วก็เห็นว่านักบวชในศาสนาพุทธยุคนี้ คนใดที่อธิบายรายละเอียดพวกนี้ ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องหัวใจศาสนาพุทธ เรื่องแยกพลังงานระดับ อุตุ พีช จิต เช่นพระพุทธเจ้าบอกเป็นวินัยเลยว่า เมื่ออุปัชฌาย์บวชภิกษุใหม่ ต้องให้ลูกศิษย์แยกกายแยกจิตได้ คือให้รู้ว่า อุตุ เป็นพลังงานระดับไหน พีชะ เป็นพลังงานระดับไหน จิต เป็นพลังงานระดับไหน ถ้าไม่รู้เรื่องอย่างนี้แล้วบวชมาก็ไร้ประโยชน์ บวชมาไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ ถ้าแยกแค่ว่า อุตุ พีช จิต ไม่ออก แล้วมีพยัญชนะที่ร่วม พีช กับจิต คือ กาย เมื่อใดเป็นกาย เมื่อใดเป็นจิต เมื่อใดเป็นพืช หากแยกแค่นี้ไม่ได้ บวชไปก็ไม่ได้เรื่องได้ราว ท่านให้เรียนรู้แยกกายแยกจิตจากองคาพยพตนเอง ร่างกายที่เป็นส่วนภายนอกที่จะหยิบจับมาขยายความให้เห็นว่า เมื่อใดส่วนใดของร่างกายเป็นอุตุ เมื่อใดคือส่วนใดของร่างกายเป็น พีชะ เป็นพีชะในระดับที่จะไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณ จึงจะสามารถทำจิตให้รู้ว่าจิตมันเป็นพีชะ จะต้องไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณ เมื่อปฏิบัติทำจิตตนไม่ให้มีเวทนา ไม่มีเวทนาคือไม่มีเวทนาเก๊ ไม่มีความสุขความทุกข์ไม่มีความชอบไม่มีความชังก็ไม่มีบาปไม่มีบุญ แต่เป็นชีวะ เป็นทำงานที่ต้องควบคุมจัดการเจ้าของพลังงาน อย่างเช่นหัวไชเท้ามันก็มีพลังงานที่มันจะเป็นพืชของมัน มันก็สรรหาสารตระกูลหัวไชเท้าของมัน สับปะรด ประธานก็สั่งการให้สร้างออกมาเป็นสับปะรด มันก็เลือกธาตุอาหารอะไรมาสังเคราะห์สร้างชีวะ ของตัวเองให้เป็นอย่างที่เป็น เป็นสัตว์โลกเป็นคนจึงจะสามารถศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้ และมาศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าจึงสามารถอาศัยพลังงานอุตุ พีช จิต ทำจิตตนให้เป็นอุตุได้ ในขณะตอนเป็นไม่ใช่ตอนตายไปแล้ว หรือจะอาศัยอยู่ก็เป็นพีชะ เป็นจิตที่ไม่มีความสุขไม่มีความทุกข์ไม่มีบาปไม่มีบุญแล้ว นั่นคือพระอรหันต์ดังนี้เป็นต้น หากเข้าใจและทำจิตอย่างนี้ไม่ได้จะไปบวชให้เป็นอรหันต์ได้อย่างไร _สู่แดนธรรมว่า..ปัญหาของภิกษุโชติโก พ่อครูว่า…พระรูปนี้เข้าใจปนกันระหว่างพืชกับภูต จริงๆก็ใช่ พืชก็คือพืชเท่านั้นไม่ได้เป็นจิตวิญญาณ แต่มันซับซ้อน คนเป็นพืชแล้วมีจิตวิญญาณ จึงเป็นคนที่เป็นทั้งพืชและภูต อาตมายืนยันว่าอาตมาสัมมัตตะ คุณต้องศึกษาให้ดีๆไม่งั้นก็จะไปไม่ได้ นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ _นิตยาJanjang Nitaya:ท่านเทศน์ตลอดไม่ได้พักจริงๆนะคะ _ออน On Senplien:เคยได้ฟังหลวงพ่อในช่องทางยูทูปอยู่บ้าง สองหรือ สามครั้ง เพระาบังเอินไปเจอเข้าเลยฟัง แต่ไม่มีทีวีดูหรอกจ้า เพราะอาศัยอยู่ต่างแดน ที่ประเทศฮอลแลนด์ นะเวลานี้ก็ได้มีบุญที่มาเจอเฟซบุ๊กเข้า เลยขออนุญาตกดแชร์ไว้ฟังต่อเด้อจ้าหลวงพ่อ! _สู่แดนธรรม กราบนมัสการครับพ่อท่านที่เคารพ .. สามสิ่งนี้อาจารย์เจ้าสำนักอื่นๆ มักจะปุโลปุเลสอนให้ลูกศิษย์เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน คือ ศรัทธา ทิฐิ สัจจะ และลูกศิษย์ก็จะเชื่อสนิทใจว่า หากมีความศรัทธาในตัวอาจารย์แล้ว จะต้องไม่มีทิฐิหรือความเห็นที่ต่างไปจากอาจารย์เห็น เพราะจะถูกมองว่าแข็งข้อต่อการปกครอง หรือจะไม่ได้เป็นสัจจะอันหนึ่งเดียวกันกับสำนักของ อจ. / เพราะเหตุนี้ พ่อท่านจึงสอนเน้นไปที่การเข้าถึงสัจจะ ซึ่งแม้ใครจะเข้าถึงสัจจะได้ส่วนหนึ่งแล้ว ก็ยังเปิดโอกาสให้เขามีทิฐิ แม้เขาทั้งหลายจะมีทิฐิไม่ตรงกันกะพ่อท่าน พ่อก็ไม่ได้ใช้อิทธิพลของความเป็นอาจารย์ ไปกำหนดให้ใครๆ ต้องเห็นตาม จนต้องมีคำคมเกิดขึ้นว่า “ปราชญ์จะไม่ทำให้ผู้อื่นเกรงกลัวจนไม่กล้าตำหนิติเตียน ส่วนผู้เป็นแค่นักรู้นั้น จะทำให้ผู้อื่นเกรง จนไม่กล้าติเตียน” ขอความกรุณาพ่อท่านช่วยแสดงธรรมเรื่อง ศรัทธา ทิฐิ สัจจะ ว่า เป็นเอกเทศตามเหตุปัจจัย หรือเป็นองค์รวมกันอย่างแยกไม่ได้ ครับ พ่อครูว่า…การตำหนินั้นเป็นคุณอย่างมาก และคนตำหนิที่มีปัญญาจึงเป็นคุณค่ามากที่สุด แม้จะตำหนิยังไม่มีปัญญามากยังเด็กๆตำหนิเราก็ยังเป็นคุณเลย เช่น ง่ายๆ เด็กๆไปว่าผู้ใหญ่ ไปว่าเขาทำไมเขาจะสูบบุหรี่ เขายังสูบอยู่ทำไม? นี่เป็นผู้ใหญ่อย่ามายุ่งเด็กอย่ามาสูบ อย่างนี้เป็นต้น _SMS วันที่ 27 พ.ย. 2562 (พุทธศาสนาตามภูมิ สมณะ สิกขมาตุ : สันติอโศก) สื่อธรรมะพ่อครู(รูป 28) ตอน อุปาทายรูป และ วิเวก 3 _อร On Senplien ต้องเข้ามาติดตามบ่อยๆเสียแล้วล่ะจ้า ทำให้สติสงบสบายเบาจิตใจได้ดีจริงเลยเยี่ยมมากๆเลยจ้าสาธุๆๆ อีกรอบจ้า _ทาทา Tatar Panyachomsang • ขอนอบน้อมกราบนมัสการ ท่านสมณะและสิขมาตุ ด้วยความเคารพยิ่ง น้อมหมอบกราบสาธุคุณความเมตตาท่านอย่างสูงครับ ชัดเจนยิ่ง แจ่มแจ้งยิ่งนักความ ภพกาม ภูมิของอุปาทายรูป สาธุ สาธุ สาธุครับ พ่อครูว่า…เรื่องอุปาทายรูป 24 เป็นเรื่องลึกซึ้ง พ่อครูอธิบายโดยสังเขป ใหม่ๆอาตมาไม่เก่งพยัญชนะ เอาสภาวะมาพูดสลับไปก็เลยโดนเล่นงาน แต่เดี๋ยวนี้ศึกษาได้ดีขึ้นมากแล้ว แต่เรื่องของสภาวะกับพยัญชนะนี้เป็นเรื่องสลับกันไปมา เช่นเรื่องกาย ตถาคตเรียกว่า จิต มโน วิญญาณ อาตมาอ่านอันนี้ก็โล่งเลย ไม่เช่นนั้นกายเขาก็จะหมายถึงเรื่องสรีระภายนอกเท่านั้น กายนั้นเป็นภาษาไทยเสร็จแล้ว เรื่องกายในภาษาไทย เขาหมายถึงเพียงร่างภายนอกเท่านั้นแต่เมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่า กายคือจิต มโน วิญญาณ อาตมาเอามายืนยัน หลายคนยังนึกว่า พระพุทธเจ้าจะพูดว่าอย่างนั้นจริงเหรอ แต่มันก็มีหลักฐานอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องสมาธิเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก อย่างคุหัฏฐกสุตตนิทเทส อธิบายถึงความวิเวก หากเขาทิ้งจากกาย ทิ้งจากกาม ไม่สัมผัสกามเป็นลำดับ เขาทิ้งกามคุณ 5 ก็เอาแต่ปฏิบัตินั่งหลับตา พวกนี้หมดประตูที่จะบรรลุธรรมเพราะว่าออกป่า จะไปนั่งหลับตาอยู่ในป่าทั้งหมด สรุปง่ายๆ คือพระป่านี่ปิดประตูบรรลุธรรมของศาสนาพุทธ จะบรรลุเป็นมิจฉาผลแล้วหลงว่าเป็นอรหันต์ นี่หลอกกันอยู่ในโลก จึงจำเป็นที่อาตมาต้องแก้กลับว่าอันนั้นมันผิด มาตู่ธรรมะพระพุทธเจ้ามันบาป บาปไม่ใช่เล่นๆ มันบาปหนัก เพราะว่าอรหันต์เก๊มาบอกว่าเป็นอรหันต์จริง บาปหนักมากเลย อาตมาไม่ช่วยไม่ได้ คนไม่รู้ก็จะหาว่าอาตมาอวดดีอวดเก่งอวดโตเก่งไปว่าเขาตัวเองจะได้ขนาดไหนทำได้อย่างเขาหรือไม่ แม้ชาตินี้อาตมาก็หลงไปนั่งหลับตากับเขา ดีว่ามีปฏิภาณลึกๆ อาตมาออกป่าครั้งเดียว ไปอยู่ไม่นานไม่กี่เดือนแล้วก็กลับมา เป็นลิงลมอมข้าวพองตามเขา เมื่อชัดเจนแล้ว รู้ว่าพระพุทธเจ้าปฏิบัติธรรมอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านไปนั่งหลับตากับเขาในตอนแรกท่านก็ได้แล้วก็รู้ว่าไม่ใช่ อาตมาก็เหมือนกันรู้ว่ามันไม่ใช่ เมื่อไม่ใช่ก็เลยมาบอก ก็เลยพยายามที่จะให้ตื่นรู้ศึกษาให้ดีแล้วรู้เสีย ว่าศาสนาพุทธนั้นไม่ใช่ศาสนาออกป่าเลย อย่างกายวิเวก เขาว่าต้องเอาตัวออกป่า บิณฑบาตผู้เดียวอยู่ผู้เดียวกินผู้เดียวอย่างนั้นมันไกลจากวิเวก ไกลหมดเลย ไม่ได้กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก เพราะคุณจะไม่เห็นกิเลส อุปธิวิเวก ผู้มี จะเป็นผู้รู้จักวิเวก 3 แล้วผู้ที่เข้าถึงอุปธิวิเวก ก็คือผู้ที่มีอมตะคือผู้ที่มีนิพพาน ก็ต้องเป็นผู้รู้จักกิเลส รู้จักขันธ์ รู้อภิสังขาร กิเลสมันอยู่ในขันธ์ 5 แล้วคุณก็รู้จักการทำอภิสังขารกำจัดกิเลส แต่ต้องรู้จักกิเลสจึงจะสามารถกำจัดกิเลสออกได้หมด เมื่อกำจัดได้หมดจึงจะมีอุปธิวิเวก ถึงจะเป็นผู้ที่มีนิพพานหรือเป็นอมตะบุคคล แต่นี่กายวิเวกก็ผิดแล้วจะมีจิตวิเวก หรืออุปธิวิเวกที่ไหน _สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน…พูดถึง เจ็กเอี๋ยว ลึกลึก แซ่เจ็ง _สมณะเดินดิน…พูดถึง เจ็กเอี๋ยว ลึกลึก แซ่เจ็ง _ภัทราวดี Pattharawadee Intharasuntorn : ศรัทธาซึ่งประกอบด้วยปัญญา เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วเกิดผล จะยิ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่น เชื่อใจในคำสอนนั้น ของผู้นั้น เกิดการมุ่งมั่นปฏิบัติโดยไม่เปลี่ยนทางอีกต่อไป สาธุ สาธุ สาธุ สื่อธรรมะพ่อครู(สัมมาทิฏฐิ) ตอน ศรัทธา ทิฏฐิ สัจจะ ศรัทธา ทิฏฐิ สัจจะ สามประเด็นนี้ พ่อครูว่า…ศรัทธา ทิฏฐิ สัจจะ มันไม่ใช่อันเดียวกัน 3 อย่างนี้มันมีอะไรเหลื่อมกันอยู่ ศรัทธาคือความเข้าใจความรู้ความเชื่อ ทิฏฐิ แปลว่าความรู้ความเห็นความเข้าใจเหมือนกัน ก็คล้ายๆกัน สัจจะ มันเป็นตัวบ่งบอกเลยว่า คุณมีศรัทธาในสัจจะ หรือศรัทธาในความไม่มีสัจจะ คุณมีทิฐิก็เหมือนกัน ความเห็นของคุณตรงกับสัจจะหรือว่าทิฏฐิของคุณไม่ตรงกับสัจจะ สัจจะก็คือความจริง อธิบายเป็นอย่างอื่นไม่ได้ สัจจะก็คือความจริง แต่ความจริงนั้นแต่ละคนย่อมมีทิฐิต่างๆ กว่าจะมีสัจจะมีทิฐิตรงกันได้ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หรือมาศรัทธาเชื่อสัจจะที่เป็นสัจจะแท้เป็นปรมัตถ์สัจจะ โลกุตระ ที่จบ ก็จะมีศรัทธาที่พอเชื่อร่วมกันได้ หรือมามีความเข้าใจเรียกว่าทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นความเข้าใจที่พอจะมีจุดหมายปลายทางตรงกัน แต่คนละขั้นคนละฐานะก็อาจแย้งกันบ้าง ไม่เป็นหนึ่งทีเดียว อันนี้มี 2 ก็มี 2 ไม่เท่ากันอันนี้มี 3 ก็มี 3 ไม่เท่ากัน จนกว่าจะเป็นหนึ่งเดียวซ้อนกันก็จะมีความเสมอสมานต่างกันไปจนกว่าจะลงตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ที่มีทิฏฐิสามัญญตารู้จักความสำคัญรู้จักความไม่เท่ากันอย่างเช่นชาวอโศก เรารู้จุดร่วมของเป้าหมายของพระอรหันต์อย่างนี้ตรงกัน แต่ความเห็นหรือทิฏฐิแย้งไม่ตรงกัน ศรัทธาก็ไม่ตรงกัน อย่างนี้เป็นต้น ศรัทธานิยามของมันคือ ความรู้ความเข้าใจที่เชื่อถือเชื่อมั่นเชื่อฟัง ส่วนทิฏฐิ คือความเห็นที่เป็นกลางๆ ก็คือตัวความเข้าใจการศึกษา ให้เป็นสัมมาทิฎฐิ ถ้ายังมิจฉาทิฏฐิก็ไม่ไปถึงสัจจะ ส่วนคำว่าศรัทธา แม้สายปัญญาก็ตาม สายปัญญาจะรู้จักศรัทธาได้ดีกว่าพวกสายศรัทธาที่จะไปรู้จักปัญญา เพราะว่าปัญญาจะมีความเข้าใจความรู้ได้มากกว่า ในลำดับของบุคคล 7 พระพุทธเจ้าถึงเอาผู้ที่ตามหาสาระ ธัมมานุสารี ถ้าสายศรัทธาก็เอาระดับเริ่มต้นที่ต่ำกว่าเพื่อน แล้วจึงมาเป็นธัมมานุสารี ทำไม่ไม่เรียกปัญญานุสารี เพราะว่าธรรมะก็ต้องมีทั้งปัญญาและศรัทธามีทั้ง 2 ด้าน ท่านไม่เอาปัญญาทีเดียวเพราะมันจะแยกคนให้เป็น 2 ฝั่งแตกแยกทีเดียว แต่คนทั้งสองด้านก็ต้องเข้าหาปัญญา เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นธัมมานุสารี ทิฏฐิปัตตะ เลื่อนขึ้นไป ส่วนสัทธานุสารี เลื่อนขึ้นไปก็เป็นศรัทธาวิมุติแม้จะเป็นความวิมุติก็เป็นแบบศรัทธา ยังไม่ชัดเจนยังไม่คมลึกเท่าไหร่ มันไม่พิสดารหลากหลาย ไม่เหมือนกันเชื่อการบรรลุ ปัตตะ คือบรรลุ วิมุติก็เข้าถึง แต่สายศรัทธาวิมุตินี้ปักดิ่งส่วนสายปัญญา เข้าถึง ปัตตะ เข้าถึงด้วยทิฐิด้วยความเข้าใจ ทิฏฐิ จึงเป็นตัวกลางที่ไม่ปักมั่น ดิ่งทีเดียว สายศรัทธาจะดิ่งเก่ง ส่วนสายปัญญาจะไม่มีอะไรที่ปักมั่นจะมีอะไรที่จะพิจารณาเยอะกว่า ส่วนศรัทธานี้จะง่ายกว่า สายศรัทธาจะจบง่ายกว่า สรุปง่ายๆกว่า ตื้น ไม่หลากหลาย ส่วนทิฏฐิจะหลากหลายกว่า สายสัทธาจะจบที่กายสักขี มีพยานได้ ถ้าไม่ถูกต้องก็จะมีรูปนอกรูปหมายที่ถูกต้องสมบูรณ์ ส่วนปัญญาวิมุตินั้นมีทั้งกายสักขี แต่เขาเข้าใจผิด เพราะทิฏฐิปัตตะ ท่านได้ถึงกายสักขีแล้ว แต่เป็นภายใน ส่วนกายสักขีนี้มีทั้งรูปนอกและรูปใน ส่วนทิฏฐิปัตตะมีภายใน พอไปถึงปัญญาวิมุติ จริงๆแล้วปัญญาวิมุติสูงกว่าสัทธาวิมุติแน่นอน และก็ต้องสูงกว่ากายสักขีด้วย เพราะว่าในบุคคล 7 กายสักขี เป็นผู้ที่มีอาสวะบางอย่างดับไปได้ ส่วนปัญญาวิมุติ อาสวะทั้งสิ้นหมดไปแล้ว อันนี้สูงกว่า เสร็จแล้วผู้ที่ไม่เข้าใจสภาวะ ก็ไปแปล น เหวโข ว่าไม่ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ที่จริงแล้วท่านถูกต้องมาแล้วมีมาแล้ว ถึงไม่ต้องไปกล่าวว่าท่านจะต้องถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย เพราะท่านมีมาแล้วท่านจึงทำให้อาสวะสิ้นไปทั้งหมดได้ จึงทำกายสักขีได้ แล้วยิ่งปัญญาวิมุติสูงกว่ากายสักขี อาสวะสิ้นไปแล้วด้วย แต่ก็ไปแปลว่าไม่ต้องถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย กลายเป็นแย่กว่าทิฏฐิปัตตะ _ใบฟ้า กราบขอบพระคุณสมณะแสนดินที่ได้เก็บบรรยากาศของพ่อครูมาให้ลูกๆทางไกลดู ฆราวาสหญิงไม่ควรเดินนำหน้าพ่อครูและปัจฉาฯจะดูดี เจ๊า พ่อครูว่า…อาตมาทำงานโทรทัศน์มา อาตมารู้ดีว่าควรจะอธิบายอย่างไร หากมีแต่ภาพแล้วไม่มีการอธิบายมันก็คงไม่ดี คุณเองก็คงจะอยากรู้ว่ามีอะไรต่ออะไร อาตมาก็พูดให้ฟังบรรยายให้ฟังตามประสา ก็เลยเหมือนพูดมากพูดให้ฟังอยู่คนเดียว เป็นวิญญาณของโฆษกผู้ประกาศโทรทัศน์มันติดมา มันก็เลยบรรยายอย่างนั้น พ่อครูว่า…มาเข้าสู่ภาพประกอบ pattern อาตมาสดชื่นตลอดเวลาไม่มีเวลาเว้นวรรคสัก 1 วินาทีที่จะมีความโศก เขาบอกมาว่าขอให้พลานามัยอาตมาสดชื่น ถ้าพูดถึงสุขภาพพลานามัยของร่างกาย ก็ ย่าง 86 ได้แล้วจะให้สดชื่นเหมือน 20-30 ได้อย่างไรก็ยังไม่สดชื่นเป็นธรรมดา เท่าที่ได้แล้วอาตมาก็ว่ามันสดชื่นสำหรับคนวัย 85 แล้ว อาตมาว่า องค์รวมอาตมาสดพอได้อยู่นะ สดเมื่อเทียบกับคนรุ่นเดียวกัน อาตมาว่าดูได้ สัมผัสได้ว่าอาตมาสดกว่าอยู่ ขอบคุณที่จะพยายามให้อาตมาสุขภาพดี _บ้านเล็กเมืองน้อย… กราบนมัสการพ่อท่านด้วยความเคารพอย่างสูง ขออาราธนาพ่อท่านให้อยู่เผยแพร่โลกุตระธรรม เพื่อความสุขเย็นของโลกนี้ต่อไป ด้วยสุขพลานามัยที่สดชื่นสมบูรณ์ “พุทธศาสตร์” คือศาสตร์แห่งความรู้… ตื่น… เบิกบาน เน้นการพินิจพิเคราะห์ในเหตุและผลที่เป็น อิทัปปัจจยตา จึงให้ความสำคัญกับการแยกแยะอาการ วิจัยความรู้สึกภายในจิตใจของตน แล้วจัดการที่จิตตน… จิตเปลี่ยนโลกก็เปลี่ยน …….สัมมาปฏิบัติที่ถูกตรงจึงต้องเปิดอายตนะทั้ง ๖ รับการกระทบสัมผัส จากผัสสะ ภายนอก อย่างมีสติ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ภายใน จะได้วิจัยค้นหาเหตุแห่งทุกข์ เพื่อให้พบความจริงว่า…. ตกเป็นทาสของสุข (ธรรมะ๒) “พุทธะ” ปลดแอกจิตให้เป็นอิสระ ด้วยการดับภพจบชาติ…. โดยยังจิตตนให้อยู่ในอำนาจได้ จึงรู้เห็นความจริงตามความเป็นจริง….. หากปราศจากอกุศลจิตร่วมปรุงแต่ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เกิดขึ้นก็จะมีแต่กุศล ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร ไม่ทำร้ายทำลายสิ่งแวดล้อม มีแต่จะช่วยเหลือ เป็นประโยชน์ และทำสังคมให้เกิดสันติสุข ผู้ศึกษาต้องตามหาสัตบุรุษให้พบ… รับฟังอุเทศด้วยความศรัทธา… เทน้ำในแก้วทิ้ง สลายวรยุทธ (เดรัจฉานวิชา) เพื่อสำเร็จยอดวิชา (โลกุตระธรรม) จะได้สัมมาทิฏฐิ ในการเรียนรู้ปฏิบัติไตรสิกขา….อธิศีล ไปพร้อมกับจรณะ ๑๕ ในชีวิตประจำวัน ตามหลักโพธิปักขิยธรรม ๓๗ จะเกิดผลของปหาน ๕ ให้กายกัมมัญญตา ทั้ง วิขัมภน (จากจรณะ ๑-๘) และ ตทังค (จรณะ๙-๑๑) ปหานทั้งนอกใน ทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ภายในจิตใจของตนให้ถ่องแท้ จะเกิดกระบวนการแยกแยะเพ่งเผาที่เรียกว่า “ฌาน” อ่าน อาการ “ดูด-ผลัก” (ลิงค์) หมายหัวฝังเครื่องติดตาม (นิมิต) สาวไปให้ถึงตัวหลงผิด วิปลาสด้วยอวิชชา ที่พาให้จิตเกิดชาติเกิดภพ (สวรรค์-นรก) “สุข” คืออาการของภพ “สวรรค์”…..อันเป็นสัจจะที่สมมุติขึ้น เป็นค่านิยมที่พากันรู้สึกไปเองว่าเป็นความจริงแท้…. แล้วเสพติดซ้ำๆจนฝังลงในความทรงจำ เป็นกำหนดหมายว่าเที่ยงแท้ (สัญญายะ นิจจานิ) เป็นตัวของตน จนติดยึด มีอาสวะ๔เป็นอุปาทานที่ขาดไม่ได้ ต้องมีเป็น infinity (อนุสัย)…. จิตจึงตกเป็นทาสนิรันดรของอารมณ์สุขัลลิกะ พาให้เกิดภพเกิดชาติไม่สิ้นสุด เวียนวนจมอยู่ในทุกขอริยสัจเพราะอวิชชา การแยกแยะความต่างของกริยา (กุศล – อกุศล) แล้วเพ่งเผา ต้องสัมผัส “วิโมกข์ ๘” ด้วย “กาย” ที่ปัสสติ(๑)…ให้ เห็นทั้งรูปจริงต่อเนื่องตามจริงเข้าไปสู่อรูปภายใน (๒) ด้วยสติสัมโพชฌงค์ ทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม ที่สังขารกันอยู่ในปัจจุบันขณะ….ทำวิตกวิจารให้จิตละหน่ายคลาย(๓)….ด้วยธรรมะวิจัยสัมโพชฌงค์ แยกธาตุออกจากธรรม….ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ให้เกิดช่องว่างของอากาศที่เชื่อมต่อกันจนทะลุปรุโปร่ง(๔)…..ในขณะยินดีที่เกิดผล แยกแยะอารมณ์ความปิติที่เกิดในจิต ให้รับรู้ละเอียดลึกเข้าไปถึง ธาตุแท้ของวิญญาณ(๕) จนพบตัวยึดในกำหนดหมายของอารมณ์สุข ด้วยปิติสัมโพชฌงค์………………..แยกธรรมารมณ์ให้เกิดสุญญากาศของอารมณ์(๖)……จนรู้แจ้งในทุกกำหนดหมาย ที่เชื่อมโยงส่งอิทธิพลถึงกัน(๗)…. รู้หมดสิ้นทั้งอารมณ์ด้านมืดของ “สุข” อันเรียกว่า “ทุกข์”……แล้วดับกำหนดหมายตัวอกุศลจิตที่เป็นสมุทัยได้สนิท(๘)…..จิตจึงสงบสุขที่ว่างจากกิเลสได้ ด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์……จิตสะอาดที่ว่างจากกิเลสจะสะสมหยั่งลงแทนที่จนตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์….จนพ้นอวิชชาสวะ เหนือสุขเหนือทุกข์ เป็นอมตะด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ รายละเอียดบนเส้นทางในการแยกแยะเพ่งเผา โดย อธิศีล อธิจิตควบคู่กันไป จะมี ปัญญาอันยิ่ง ทำให้เกิด วิชชาทั้ง ๘ ช่วยเร่งการเพ่งเผาของฌานให้เกิดบุญ (ปหาน ๕ ด้วยวิชชา ๘) ที่จะสลายอวิชชาด้วยปัญญาโลกุตระ ทำ “ธรรมะ ๒” ให้เป็น “ธรรมะ ๑” ด้วย อภิสังขาร ๓ ที่หมุนรอบเชิงซ้อนเป็นก้นหอย จิตจะค่อยๆ…สงบสงัด..ลาดลุ่มลึกลงไปทีละรอบ ทีละขั้นอย่างน่าอัศจรรย์ใจ จากปุญญา ปรุงแต่งจิตด้วยปัญญาอันยิ่งในศีลข้อ๑ ให้เกิดพลังงานบุญไปเผาทำลายอกุศลจิต จนไม่กินเนื้อสัตว์ได้เป็นปกติ รอบต่อไปก็ไม่ต้องทำบุญ กับภพที่สิ้น…กับชาติที่ดับ…ไม่เกิดอารมณ์อยากเสพเนื้อสัตว์อีก เป็น อปุญญา….แล้วหมุนวนซ้ำๆไป…ทำ ปุญญา ให้เป็น อปุญญา โดยปฏิบัติแบบเวียนซ้ำ ใน ๓ เส้า ของ “ระบบ analysis” (สติปัฏฐาน ๔ – สัมมัปปธาน ๔ – อิทธิบาท ๔)กับศีลที่อธิยิ่งๆขึ้นทุกข้อ ด้วยอธิจิตและอธิปัญญา หมุนรอบเชิงซ้อน แทรกเสริม เกื้อหนุน ประคับประคองกันไป อกุศลจิตที่ดับไปในแต่ละรอบ จะช่วยยกระดับจิตให้สูงขึ้นๆ ทุกๆรอบ… ไม่ได้อยู่ในระนาบเดิม วงโคจรก็หดเล็กลงเรื่อยๆไปพร้อมกับอกุศลจิตที่เหลือน้อยลง…โดยมีกุศลจิตหยั่งลงแทนที่…สะสม กายวิเวก ไปเป็นลำดับ…ปหานอกุศลจิต ลึกลงไปทีละ สมุจเฉทปหาน แยกกายแยกจิต…ดับอกุศลจิตใน“นามขันธ์” ไปทีละขั้น…จนกายปัสสัทธิ ด้วยปฏิปัสสัทธิปหาน มีจิตวิเวก สะสมหยั่งลงไปตามลำดับ จนตกผลึกเป็นจิตพีชธาตุ ที่ถึงพร้อมด้วยศีล ปักแน่นตั้งมั่นเป็น สัมมาสมาธิ ….. กระทั่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอุปธิวิเวก ดับระงับเหตุของการเวียนเกิด ของภพชาติได้สิ้นสนิท ปฏินิสสัคคะด้วย นิสสรณปหาน ไม่ต้องทำสงครามกับกิเลสอีก อย่างไม่หวั่นไหว ไม่กลับกำเริบอีกต่อไป เป็น อเนญชา ที่มีสภาวะจิตของนิพพาน ๗ ได้ องค์คุณอุเบกขา ๕ จบกิจตน (เป็น ๐) สิ้นอัตตาหมดความเห็นแก่ตัว มีจิตที่แววไว-ปรับเปลี่ยนได้ง่าย (เป็น ๑ ก็ได้… ๐ ก็ได้) ประกอบกรรมที่ไร้อกุศลด้วยปัญญา เพื่อประโยชน์ท่าน เป็นพหุชนหิตายะ พหุชนะสุขายะ โลกานุกัมปายะ มีแต่กุศลที่ทรงไว้เป็นธรรมนิยาม ความสุขเย็นจึงจะเกิดแก่โลก พ่อครูว่า…คนที่เขียนมาให้อาตมาอ่านเป็นคนที่ติดตามฟังอาตมา เขาเป็นชาวคริสต์มาก่อน ฟังให้ดีนะชาวพุทธ คุณฟังอาตมาแล้วจะเรียบเรียงได้เท่าคนนี้ไหม คนนี้เขาเรียบเรียงกระบวนการของผู้ปฏิบัติได้ดีมากเลย นี่เป็นชาวคริสต์ที่มาเรียบเรียงให้ชาวพุทธเรา ก็คงจะไม่มีอะไรรกอยู่ในหัวมาศึกษาดีๆก็จะได้ พวกนี้ไม่มีอะไรช่วย เหมือนอาตมารู้มาก พูดออกไปก็มีเยอะแยะไม่ได้เรียบเรียง แต่อันนี้เรียบเรียงได้ดีจนกระทั่งเอามาเป็นแบบแพทเทิร์น พ่อครูว่า…เอามารวบรวมเป็น รูป pattern อย่างนี้คนที่มีภูมิพอเข้าใจจะง่ายเลย สมณะฟ้าไท สรุปจบ Category: ศาสนาBy Samanasandin27 พฤศจิกายน 2019Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:621126 ตายเช้า เผาบ่ายNextNext post:621129_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ รูป 24 โดยพิสดารกับลิงลมอมข้าวพองRelated Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024