630210_เทศน์ทวช.งานพุทธาภิเษก#44 บ้านราชฯ กายนี้คือวิญญาณ ตอน2
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่…https://docs.google.com/document/d/13rk2v1niHN4j8-VVDw0f8H0f7flUphOq94QrOeCtjwM/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่… https://drive.google.com/open?id=1kJ4sXF27v5qhO2hUw7wdXMQIRZG0sJLK
พ่อครูว่า…วันนี้วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 ที่บวรราชธานีอโศก งานพุทธาภิเษกครั้งที่ 14 เป็นวันที่ 3 ของงาน
กายนี้คือวิญญาณ
ทำไมต้องเน้นคำว่ากาย เพราะว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่เป็นแกนศาสนาพุทธของโลก เพราะว่าแม้แต่ประเทศต่างๆยังศรีลังกาก็ยังยอมให้เมืองไทยว่าเป็นเมืองพุทธศาสนาที่ดีที่สุด ซึ่งเขาเข้าใจอย่างนั้น ถูกไหม? …ถูก
ถูกเพราะ มีเราชาวอโศกไง!
ทำไมว่ามีเราชาวอโศก ก็เพราะว่าเราชาวอโศกนั้นยืนยันตามหลักฐานที่มีบันทึกไว้ ที่เขายอมรับกันเกือบทั่วโลก ตามพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ซึ่งก็จะมีฉบับอื่นแปลกแตกต่างออกไปบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่อาตมามั่นใจมากๆก็คือ
1 กายกับจิต มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่กายกับจิต มันแยกกันได้ มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่แยกกันได้ ที่สุด กายไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่กาย ก็ได้ แต่ไม่แยกกัน สิ้นขาดด้วยความรู้ในธรรมนิยาม โดยเฉพาะธรรมนิยาม 4 ก็คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม และธรรมนิยาม
กรรมนิยามเป็นตัวปฏิกิริยาเป็นตัวแปรตัวเคลื่อนที่ทำให้เปลี่ยนแปลง กรรมเป็นตัวกระทำเป็นตัวปฏิกิริยาเป็น activities ที่จะPpทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไป
จริงๆไม่มีกรรมมันก็เปลี่ยนแปลงไปโดยธรรมชาติโดยธรรม มันเปลี่ยนแปลงไปตามกาละ ไม่เที่ยงหรอก ก็ขึ้นกับกาละ ไม่เที่ยง เคลื่อนที่ไป แต่มันช้ากว่า ถ้ามีกรรมกิริยามันเร็วกว่าเพราะมีผู้กระทำ ยิ่งผู้กระทำเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพมีสมรรถนะสูง มีปัญญาดีมากมายขึ้น มันก็ยิ่งจะทำให้เจริญได้มาก เจริญได้เร็ว เจริญได้ตามต้องการ
สิกขมานา ดร.มนัสพิสุทธิ์ พิทักษ์สันติภาพ เขียนกวีมาว่า
ลูกพญาแร้งพลัดถิ่น
เคยเวียนวนแผ้วถางอย่างหน่วงหนัก
เหนื่อยไม่พักพากเพียรเฝ้าเรียนร่ำ
ฟังธรรมจากพ่อครูอยู่บ้าน
แว่วเสียงปลุกลำนำ ย้ำคำนึง….
พ่อครูว่า…เป็นสิกขมานาก็คือสามเณรี
มาเข้าสู่เรื่องกายนี้คือวิญญาณ
คนที่จะแยกกายแยกจิตออก มันไม่ใช่ธรรมดาของสามัญความรู้ ความรู้โลกียไม่มีสิทธิ์ความละเอียดละออของอุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม
ความรู้โลกที่ต่างจากความรู้โลกุตระอย่างมีนัยยะสำคัญจริงๆ ซึ่งอาตมาก็กำลังเขียนความรู้ที่เป็นโลกุตระ ที่บัญญัติเรียกว่าปัญญา ปัญญาไม่ใช่เฉโกหรือเฉกะ นี่เป็นพยัญชนะที่บ่งบอกระบุสัจธรรม ที่จะเป็นลักษณะของความรู้ความฉลาด เฉลียวฉลาดขนาดไหนก็อยู่ในกรอบขนาดนั้นเรียกว่าโลกียะ ออกจากโลกียะไม่ได้ หรือ synonym ของมันคือเทวนิยม ออกจากกรอบเทวนิยมไม่ได้ เริ่มมีธาตุตัวใหม่ คืออัญญธาตุ ธาตุพลังงานจิตที่อาตมาได้ขยายสู่ฟัง จากตำนานของพระพุทธเจ้าสมณโคดม
มีภิกษุองค์แรกของศาสนาพุทธคืออัญญาโกณฑัญญะ เป็นผู้เริ่มมีธาตุตัวนี้คนแรกในโลก เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า กัณฑ์แรกธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พอฟังแล้วโกณฑัญญะรับได้จิตเปิดรับ พฤติการณ์ของจิต ที่เกิดสว่างเกิดอะไรขึ้นมา เริ่มมีจิตตัวนี้ เติมพลังงานของจิตเข้าไปเป็นอัญญธาตุ ตัวแรกเป็นเอกพจน์ ธาตุใหม่ แตกต่างจากธาตุรู้ธาตุที่เป็นโลกียะหรือเทวนิยม มันเป็นคนละตระกูล คนละดีเอ็นเอ คนละยีนส์ genome เอาภาษาทางรูปธรรมวิทยาศาสตร์ชีววิทยาเข้ามาเรียน มันมีตัวใหม่ขึ้นมา เป็นนามธรรมที่เป็นตัวแท้ มันเกิดใหม่
จากอัญญะ(เอกพจน์) มาเป็นอัญญา (พหูพจน์) ก็เริ่มมีตัวที่ 2 ขึ้นมาเป็นพหูพจน์ มีตัว 3 ตัว 4 ก็เจริญพัฒนาสูงขึ้นไปเรื่อย เป็นอัญญา มาเป็นกัญญา มาเป็นสัญญา เพิ่มธาตุรู้ที่เป็นโลกุตระธรรมไปเรื่อยๆ มันมีสภาวะของจิตในจิต ไม่ใช่เข้าใจแค่เพียงพยัญชนะภาษา
ภาษาก็ฟังซาบซึ้งได้ แต่เราต้องอ่านจิตในจิตของเรา แล้วเราก็ต้องทำจิตในจิตของเราได้ ทำจิตในจิตของเราเป็น ทำเป็นธรรมถูกต้อง ทำสัมมาทิฏฐิเป็นสัมมาปฏิบัติ จนบรรลุผลสมบูรณ์เรียกว่าสัมมาปฏิเวธ ครบตามลำดับ
คนที่จะสามารถมีญาณหยั่งรู้จิต เจตสิก รูป จนกระทั่งถึงนิพพาน นี่เป็นภาษาอภิธรรม 4 คำนี้
จิต คือคำรวมของธาตุรู้ที่เอามาทำงาน เอามาเป็นก้อน จิตกับวิญญาณแตกต่างกันในนัยละเอียดคือวิญญาณเป็นคำรวม ธาตุรู้ทั้งหมดรวมทั้ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ทีนี้ในวิญญาณแตกตัวมาเป็นเจตสิก เวทนาเจตสิก แยกเวทนา แยกเวทนานี่แหละ ออกเป็นรายละเอียด 108 ตัวสำคัญ ในนี้ก็ต้องอ่านอาการของจิตที่มันเป็นตัวโต จิตที่หยาบกว่าเวทนา ตัวเวทนานี้ละเอียดกว่าจิต จิตเป็นความรวมมี static มากกว่า เวทนามี dynamic มากกว่า พอรวมก็เรียก สราคะ สโทสะ สโมหะ พอทำให้กิเลสลดลงได้ทำให้ไม่เป็นได้เรื่อยๆ
ไม่เป็นราคะ ราคะลดลง ไม่เป็นโทสะโทสะหายไป ไม่เป็นโมหะ โมหะหายไปเรื่อยๆ ก็เป็นวีตะ ส่วน ส คือมีคือเป็น ก็ทำให้เป็นวีตะ ไม่มีไม่เป็น
เราจะต้องมีอย่างละเอียด สัญญาตัวกำหนดรู้ละเอียดเข้าไปกำหนดหมายเข้าไปเรื่อยๆ อ่านแล้วก็ทำการปฏิบัติ มันต้องมีสองแกน แกน static กับ แกน dynamic
แกน static ก็เรียก สังขิตตังจิตตัง ส่วนแกน dynamic เรียกว่า วิกขิตตังจิตตัง
สังจิตตังจิตตัง จับตัวเป็นก้อนเหมือนหัวเป็นสังกะตัง สายศรัทธา
วิกขิตตังจิตตัง ก็จะฟุ้งกระจายไม่จับตัวกัน สายปัญญา
ฟุ้งก็จับไม่ติด ต้องทำให้ได้สัดส่วน ส่วนจับกันแน่นมันตีไม่แตกแยกไม่ออกก็ต้องตีให้แตกแยกให้ออก ส่วนที่ฟุ้งกระจายก็ต้องทำให้รวมตัวกันให้ได้ให้มีลักษณะของสัจธรรมตัวใด เป็นเวทนาให้มันชัดๆให้มันจริงๆ เวทนารวมตัวกันให้ครบ ครบความเป็นกายเป็นจิต มีธาตุ 2 เป็นกายเป็นจิตรวมกันเป็นธาตุ 2 ของเราเรียกว่า สักกาย เราเรียนรู้จะเกิดทิฏฐิ ความเข้าใจเกิดความรู้ ความเห็น พอมีความเข้าใจความรู้ความเห็นว่าทำทิฏฐิให้มันเป็นปัญญา ทำทิฏฐิให้ครบบริบูรณ์เป็นความรู้มีสภาพความเป็นจริงครบ และมีธาตุรู้เข้าไปรู้ความจริงนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วย เริ่มต้นด้วย
สักกายทิฏฐิ ก็จะต้องรู้กาย รู้กายของตนในตน ไม่ใช่ไปรู้กายของคนอื่นไม่ใช่รู้อย่างผิดเพี้ยนๆ อย่างพ้นวิจิกิจฉา ในสังโยชน์ 3
สังโยชน์ 3 ต้องมีกายต้องเรียนรู้กาย ต้องมีกายเป็นหลัก เริ่มต้นด้วยการคือข้อ 1 เลย
ใครผู้ใดไม่มีทิฐิเป็นสัมมา กาย ไม่มีไปนั่งหลับตาตั้งแต่สังโยชน์ข้อที่ 1ก็โมฆะ ไม่มีสิทธิ์ที่จะบรรลุธรรม นั่งหลับตาปฏิบัติเขาเข้าใจ กาย ก็เป็นแต่เพียงภายนอก เดี่ยวๆด้วย กายคือร่างกายด้วย ในมิจฉาทิฏฐิสายนั่งหลับตาเข้าใจอย่างนั้น จึงมีความผิดที่ไกลจากวิเวกและเข้าใจปฏิบัติมีแต่เพียงหนึ่งไม่มีภายนอกแล้วนั่งหลับตาปฏิบัติเข้าไปอยู่ภายใน แล้วมันจะไปลงตัวกันได้อย่างไรมันจะมีผลสำเร็จได้อย่างไร
บอกว่าให้เดินไปทางนี้ แต่เขาก็เดินไปทางโน้น เขาก็บอกว่าใช่ทางนั่นแหละทางที่คุณว่านั่นแหละ แต่เขาไปเดินอีกทางหนึ่ง เราก็บอกว่ามาเดินทางนี้ ทางตรงนี้ เขาบอกว่าใช่ๆแล้ว อย่างที่คุณว่า นี่เป็นความเข้าใจว่ามันใช่แต่ไม่ใช่ ที่เขาเดินที่บอกว่าทางที่ใช่มันไม่ใช่มันคนละทาง แต่เขาก็บอก พอเราบอกว่าทางนี้ เขาก็บอกว่าทางนั่นแหละใช่แล้ว นี่แหละเป็นความเข้าใจที่นึกว่าถูกในผิด มันก็เลยยิ่งยากใหญ่เลย ถ้าเขาเข้าใจว่ามันต่างกัน มันก็จะมีหวัง ไอ้หวังตายแน่ต้องฆ่าไอ้หวังด้วยนะ ซ้อนนะ อย่างนี้มีหวังคือฆ่าไอ้หวังให้ตาย เพราะถ้าฆ่าไอ้หวังไม่ตายคุณมีสาเปกโขซ้อนอีกนะ
เป็นไงฟังกันเงียบเลย สู่แดนธรรมว่า ฟังอย่างดิ่งสดับ
พ่อครูว่า…เป็นสำนวนในพระไตรปิฎกฟังธรรมอย่างดิ่งสดับ
คำว่ากาย คำเดียวถึงยากจริงๆ พระพุทธเจ้าจึงสอนกำชับกำชาอุปัชฌาย์ทุกรูป เวลาเริ่มบวชภิกษุขึ้นมาจะต้องให้กรรมฐาน 5 เรียกว่ามูลกรรมฐาน คุณต้องแยกกายแยกจิต อย่างถูกต้องสัมมาทิฎฐิจริงๆ
แยกอย่างไร
ก็ทำความเข้าใจให้ได้ว่ามันแยกเป็น 5 อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม ต้องแยกให้ชัดเจนว่าเมื่อไหร่เป็นกาย เมื่อไหร่เป็นจิต เมื่อไหร่ไม่ใช่กาย เมื่อไหร่ไม่ใช่จิต ที่มันเป็นโดยเราไม่ได้ทำ มันเป็นไปตามธรรมชาติ
วัตถุที่ยังไม่ใช่ ชีวะ เป็นอุตุก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน
เมื่อได้มาเป็นชีวะเป็นพีชะ มันไม่ได้เป็นได้ง่ายๆ วัตถุดินน้ำไฟลมอากาศ ไม่ใช่ง่ายๆ ถ้ามีความรู้เป็นแผนที่นำทาง พระพุทธเจ้าก็สอนเราสามารถทำให้มันง่ายขึ้นได้ ง่ายกว่าเดินทางไปเป็นพีชะเอง กว่าจะเป็นพีชะได้ ไม่ใช่ธรรมดา มันเป็นเองได้แต่มันนานมาก มันไม่มีทางหลีกเลี่ยงมันก็ต้องเป็น ถ้าไม่เป็นคุณก็ตาย ถ้าคุณไม่สามารถที่จะมาเป็นจากอุตุมาเป็นพีชะ คุณก็วนเวียนอยู่กับความเป็นอุตุ มาเป็นพีชะไม่ได้ จะเป็นอุตุที่มีพลังงานสูงเท่าไหร่ มันจะมีวงวนของอุตุ ซึ่งไม่ใช่ชีวะ ไม่มีธาตุรู้ของตัวเอง เป็นพลังงานความร้อนแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้าของมันเองทำงานในตัวของมันเองไป มันไม่มีประธานเป็นตัวนำในวงของมันเอง อย่างแม่เหล็กมันก็ดูดของมันอยู่ แต่ไม่มีตัวประธานที่จะนำ มันก็มีพลังงานอื่นเป็นประธาน เป็นตัวขับดันเปลี่ยนแปลง ก็เป็นไปตามทิศทางของพลังงานภายนอก ตัวมันเองพลังงานภายในมันทำอะไรของมันเองไม่ได้ เช่นมันจะเกิดกระแสลมกระแสร้อนกระแสเย็น แม้แต่แม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนไหวอยู่
คนก็เอาพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าไปทำเป็นวิทยุ เกิดวิทยากับความรู้ สามารถนำมันได้ควบคุมมันได้อยู่ในอากาศเรียกว่ากระแสวิทยุ พลังวิทยุ ควบคุมเอามาใช้ได้ แล้วก็อยากจะตั้งชื่อเอาไปใช้เป็นรายละเอียด มันมีอยู่ก็เอามาใช้ได้ คำว่ามีและไม่มีจึงเอามาใช้ในคำตอบเป็นตัวจบหรือไม่จบก็อยู่ในนี้
จิตของเรามีความเป็นอุตุ มันก็ไม่มีภาวะจิตแล้ว จิตของเรามีภาวะอุตุ แต่อุตุ มันไม่มีความเป็นจิต
เมาไหม งงไหม สับสนไหม?
อุตุมันไม่ใช่จิต แต่จิตทำให้เป็นอุตุได้ แต่อุตุไม่บังอาจจะเป็นจิต
อุตุ ก็ยังไม่ใช่แค่พีชะ ต้องเห็นความแตกต่างของอุตุ กับพีชะ
เป็นพีชะได้ ก็ยังไม่มีสมรรถนะเป็นจิต
พีชะก็เป็นชีวะ มีตัวควบคุมตัวเอง แตงโมมะเขือเทศกะหล่ำปลีพืชพันธุ์ต่างๆ พืชต่างๆที่มีความแตกต่างจาก จิต สำคัญที่สุดก็ตรงที่ว่ามันไม่มีความสุขไม่มีความทุกข์
ประธานของมันมีประสิทธิภาพไม่เท่าจิต ประสิทธิภาพของจิตเก่งกว่าพีชะ รู้รอบกว่า มีความทุกข์ความสุข แต่มันไม่มีความรักความชัง มีพลังงานแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในตัว พีชะ
ซึ่งมันไม่ง่ายหรอก ในการแจกแจงธรรมนิยาม 5 ยิ่งไปแจกแจงบุญกับกุศลก็ยิ่งยาก
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สู่แดนธรรมว่า…การที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้รู้ในวันนั้น ท่านเป็นสายปัญญาหรือท่านเป็นสายศรัทธา หรือกลับไปกลับมา เป็นสายปัญญาที่พบธรรมะด้วยศรัทธา
พ่อครูว่า…ตอบได้อย่างนี้โกณฑัญญะ คำว่าโกณฑะ แปลว่าโง่ ส่วนอัญญะ แปลว่าฉลาด
เพราะฉะนั้นโกณฑัญญะ คือ โง่ อัญญาคือฉลาด มีทั้งสองตัว มีแกนฉลาดแกนโง่อยู่ด้วยกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องอจินไตยที่สุดยอด คนนี้ต้องชื่อนี้เพราะมีสภาวะอย่างนี้ อย่างพระสมณโคดมจะใช้บาลีเป็นหลัก บาลี ระบุว่าอย่างไรพยัญชนะอย่างไรก็อย่างนั้น พระพุทธเจ้าองค์อื่นก็อาจจะใช้ภาษาอื่นที่เป็นภาษาประจำของท่าน คนนั้นก็ต้องชื่อนั้นตามภาษาเหล่านั้น ในยุคที่ท่านอุบัติคนเหล่านั้นก็ต้องมามีชื่อตามภาษานั้น จะไปเอาภาษาที่มันไม่ใช่มาเรียกมันไม่ได้ มันต้องภาษาอันนั้นเฉพาะองค์นั้น
สู่แดนธรรมว่า…ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยบาลี
พ่อครูว่า…ต้องใช้ภาษาตอนนั้น อย่างบาลีมาแปลงเป็นสันสกฤต ใครจะบอกว่าสันสกฤตเกิดก่อนหรือบาลีเกิดก่อนก็เป็นความเข้าใจของคุณ สำหรับอาตมานั้นชัดเจน ว่า บาลี เกิดก่อนสันสกฤต คนที่ไม่ชัดเจน ถนัดภาษาสันสกฤตก็บอกว่าเกิดก่อน คนที่ไม่ถนัดก็ต้องไปเรียน 2 อย่างเทียบกันไป พวกเรามีคนจบป.โท สันสกฤตและบาลี เป็นปริญญาโท 2 ใบนะ คือ ดร.รินธรรม ตอนนี้จะกลายเป็นรินถ้ำไปแล้ว
มาเข้าสู่เรื่องกาย
พูดซ้ำซากเบื่อกันไหม …ไม่เบื่อ แปลว่ามีธรรมรส
เหมือนคนชอบเพลงซาบซึ้ง ฟังแล้วฟังอีกฟังแล้วฟังอีก คนที่อยู่ด้วยก็บอกว่าฟังอะไรกันนักกันหนา ฟังซ้ำซากอยู่อย่างนั้น คนไหนที่ซาบซึ้งประทับใจ ก็ประทับลงไปๆ ก็ของใครของมัน
อาตมาจะขยายความต่อจาก กายนี้คือวิญญาณ
ดูจากปุตตมังสสูตร มี 4 อาหาร
อาหาร 4 คือ
-
กวฬิงการาหาร (อาหารคำข้าว ให้รู้กิเลสเบญจกาม) . .
-
ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะกระทบให้เกิดเวทนา) .
-
มโนสัญเจตนาหาร (อาหารใจที่เจตนามุ่งกับตัณหา) . .
-
วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ กำหนดรู้นาม-รูป อันเป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่แห่งสังขาร เพื่อการเกิดในภพใหม่ คือมีปัจจัยเกิดชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และความคับแค้น) .