?วันนี้นำท่านนักอ่านมาชมและรับข้อมูลบางส่วน สำหรับชิ้นนี้ขอเสนอ ภายใต้ชื่อ ‘จินดา หนุ่ม หยวก’
อ่า….มิได้ค่ะ มิได้เกี่ยวกับ‘ตัวตนบุคคลเราเขา’ แม้น้อย ยังไม่เกี่ยวตอนนี้ค่ะ สวมรองเท้า/หมวก แว่น(หรือไม่แว่น) (ทุกอย่าง)แล้วแต่สะดวก…………ตามมาเลยค่ะ
เริ่มกันที่⤦ ⤥
‘หยวก’ (พริกหยวก)
พริกหยวก ชื่อสามัญ Banana Pepper, Paprika, Garden Pepper, Chili Pepper, Chili Plant, Red Pepper, Spanish pepper, Sweet Pepper[1],[2]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. (Capsicum annuum var. annuum) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE/โซลาเนสิเอ)[1]
สมุนไพรพริกหยวก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกหนุ่ม (พายัพ), พริกตุ้ม พริกตุ้มนาก (ไทย), พริก พริกซ่อม (ทั่วไป) เป็นต้น[1]
ลักษณะของพริกหยวก
ต้นพริกหยวก เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน จัดเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียวหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรงและแตกกิ่งก้านมาก โคนต้นเป็นเนื้อไม้แข็ง ส่วนยอดเป็นเนื้อไม้อ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน
ใบพริกหยวก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร
ดอกพริกหยวก ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาวนวลเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปปากแตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก (แต่อาจจะมีกลับตั้งแต่ 4-7 กลีบก็ได้) โดยปกติจะมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เท่ากับจำนวนกลีบดอก เกสรนี้จะแตกออกมาจากตรงโคนของกลีบดอก อับเกสรเพศผู้มักมีสีน้ำเงินและแยกตัวเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ยาว ๆ ส่วนเกสรเพศเมียจะชูขึ้นเหนือเกสรเพศผู้ ส่วนของยอดเกสรเพศเมียจะมีรูปร่างคล้ายกระบอกหัวมน ๆ ส่วนรังไข่มีพู 3 พู (อาจจะมี 2 หรือ 4 พูก็ได้) และดอกมีลักษณะห้อยลง[1],[2]
ผลพริกหยวก ผลสดมีหลายรูปร่างและหลายขนาด โดยมากมักเป็นรูปกรวยกว้าง หรือมีลักษณะตั้งแต่แบน ๆ กลมยาว ไปจนถึงพองอ้วน และสั้น ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นกระเปาะ มีฐานขั้วผลสั้นและหนา ผลอ่อนเป็นสีเขียว เหลือง ครีม หรือสีม่วง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีส้ม สีเหลือง หรือสีน้ำตาล โดยปกติแล้วผลอ่อนมักจะชี้ขึ้น ส่วนผลแก่อาจชี้ขึ้นหรือห้อยลงตามแต่สายพันธุ์ที่ปลูก ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปโล่กลมแบน สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาล (เมล็ดจะเกาะรวมกันอยู่ที่รก (Placenta) ซึ่งจะมีตั้งแต่โคนผลจนถึงปลายผล)
สรรพคุณของพริกหยวก
- สาร Capsaisin ในผลเป็นตัวช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง จึงช่วยในการบำบัดโรคเบาหวานได้ (ผล)
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (ผล)
- ช่วยบำรุงเลือดลม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ผลมีรสเผ็ด (แต่เมล็ดไม่มีรสเผ็ด) เนื่องมาจากสาร Capsaisin ใช้ในปริมาณน้อย ๆ จะมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นน้ำย่อย (ผล)
- ผลมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ผล)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้กามโรค (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (ผล)
- ยาดองเหล้าพริก (Tincture of Capsaicin) สามารถนำมาใช้ผสมในขี้ผึ้ง ใช้เป็นยาทาถูนวด และ Plaster ทาภายนอก เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบได้ เพราะทำให้บริเวณที่ถูกทาร้อนและมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น (ยาดองเหล้าพริก)[1]
หมายเหตุ : การใช้ผลให้นำมาปรุงเป็นอาหาร[2]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพริกหยวก
สารสำคัญที่พบ ได้แก่ acetamide, alanine, aspartic acid, boron, caffeic acid, capsaicin, capsanthin, capsicoside A, B, C, E, cinnamic acid, P-caumaric, galactosamine, vanilloyl, glutaminase trigonelline, zeaxanthin[2]
พริกหยวกมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ฆ่าพยาธิ สร้างเม็ดเลือดแดง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต รักษาแผลในกระเพาะ และเพิ่มการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร[2],[3],[5]
การบริโภคพริกเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงของการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจล้มเหลวได้ เพราะพริกสามารถช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นได้และช่วยลดความดัน เนื่องจากในพริกมีสารเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีที่ช่วยเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันในระดับต่าง ๆ ได้ดี
ขอขอบคุณ ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ข้อมูลดูมากมายแต่คงไม่ล้นเกินไปนะคะ เน้น ‘หยวก กับ หนุ่ม’ พริกนี่แหละค่ะ อยู่ในตระกูลเดียวกันนะคะ?
ก่อนจบบทความนี้ ขาดเสียไม่ได้ทีเดียว ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง คือ “โรงปุ๋ยพลังชีวิต” ที่ได้กลับมาเปิดดำเนินการเริ่มตั้งแต่วันนี้ ด้วยเป็นแหล่งผลิตสิ่งที่หล่อเลี้ยงแปลงเกษตรกรรมทุกแปลงในชุมชนตลอดมา
รายละเอียดอื่นๆในส่วนของการกลับมาเปิดดำเนินการในช่วง Lock down บ้านราช ของ “โรงปุ๋ยพลังชีวิต”. ก็จะมีผู้รายงานอื่นๆนำเสนอแน่นอนค่ะ
ขอลาท่านนักอ่านสำหรับบทนี้โดยการกล่าวคำว่า “เราสู้ไปด้วยกัน” นะคะ
?สำนึกดีค่ะ?
8 เมษายน 2563✌