630726_รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ธรรมบรรยาย อัมพัฏฐสูตร ตอน 11
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวน์โหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1KTzdCRadHeJdS7lIVp-K8vaJa42PDPXv57srJta_ab8/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/15nIuq0fzFZ-6ANzjEx23xYvxr7am8wxy/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/Jz-ijWmyAMk
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563 ที่บวรราชธานีอโศก พ่อครูอยู่กับโลกอย่างไม่ข่มโลก แต่เห็นใจโลก ช่วยเหลือโลกตลอดเวลา
พ่อครูว่า…นี่มาจาก usa เชียวนะ
บนสังเวียนผ้าใบ พ่อสอนเวทย์
ฆ่า กิเลส ที่เป้าให้ เราหลง
หมัดแลกหมัดซัดหน้าอย่ายืนงง
การ์ดต้องตรงอัปเปอร์คัทปลายคาง
จาก ส.เยาวนารถ
SMS วันที่ 24-25 ก.ค. 2563
_สติพล จนพัฒนา · แต่ก่อนนี้ผมเคยนั่งหลับตามานานเพราะไม่รู้ ทำตามอาจารย์และหลวงพ่อสอนแต่ผมชอบอ่านหนังสือเลยเจอหนังสืออโศกและเกิดศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติคือเห็นกุฎีน้อยๆเเละการกราบแบบติดดินก็เกิดความเลื่อมใสและติดตามครับ.
_Tapanee Burakrai ฐปะนีย์ บุราไกร· กราบนมัสการพ่อท่านค่า มาชมย้อนหลังค่า ไม่ทันเวลาไฟล์สด ชีวิตที่อยู่ทุกวันนี้เพราะตื่นรู้ธรรมะที่พ่อท่านอบรมสั่งสอนแล้วนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และบางครั้งไม่ชัดเจนในสภาวะ หรือ อาการ. ลูกต้องกลับไปฟังธรรมะพ่อท่านเมื่อปี2524-25 ซึ่งครั้งนั้นลูกฟังไม่รู้เรื่องเพราะภาษาบาลีเยอะและไม่ทราบความหมายและสภาวะ ลูกจึงฟังมากขึ้นทำความเข้าใจ แล้วสังเกตสภาวะที่เกิดขึ้นว่าตนเองเจริญแค่ไหน มาทุกวันนี้ลูกคิดว่าพ่อท่านเทศน์ด้วยธรรมะยอดก้นหอยแล้ว สูงมากขึ้นๆๆๆเพราะชาวอโศกลูกพ่อส่วนใหญ่บรรลุสู่พระอาริยะชั้นสูง บางท่านเป็นอรหันต์ ดังนั้นธรรมมะพ่อท่านจึงสูงมากขึ้น มากขึ้น ลูกกราบนมัสการแทบเท้าพ่อท่านที่ชี้ทางสว่างและบอกฝุ่นละอองในดวงตาให้ลูกได้เขี่ยออกค่า กราบขอบพระคุณพ่อท่านมากๆอีกครั้งค่า
_สว่างแสง ขวัญดาว · กราบนมัสการครูค่ะ ดิฉันจะรักษาพรหมจรรย์ได้อย่างไรคะ น้อมกราบพ่อครูค่ะ
พ่อครูว่า…ภาษาคำว่าพรหมจรรย์ไม่รู้ว่าคุณสว่างแสง จะหมายถึงบริบทใด
ในความหมายของชาวโลก ที่บอกว่าพวกนี้เป็นผู้มีพรหมจรรย์ผู้บริสุทธิ์เขาก็หมายถึงว่าเป็นคนโสด จะรักษาได้อย่างไรคุณก็รักษาให้ดีก็แล้วกัน คุณก็อย่าไปเผลอไผลไปใจอ่อน อย่าไปเกิดกิเลสจนกระทั่งเมื่อรู้ตัวก็สายเสียแล้วก็แล้วกัน การรักษาพรหมจรรย์ของคุณไป
แต่ถ้าเผื่อว่าเป็นพรหมจรรย์ที่หมายถึงศาสนา พรหมจรรย์หมายถึงศาสนา ก็มีเบื้องต้นท่ามกลางบั้นปลายโดยมีศีลสมาธิปัญญามีไตรสิกขา ซึ่งทุกวันนี้ได้ผิดเพี้ยนไปหมดแล้ว ไม่มีสินค้าแล้วสมาธิก็ผิดเพี้ยนไปนั่งหลับตาปัญญาก็ไม่เกิดเลย มีแต่การฟุ้งฝัน
ก็มาศึกษาให้ดีๆศีลเป็นอย่างไรที่เป็นอริยะ สมาธิที่เป็นอริยะ ปัญญาที่เป็นอารยะเป็นอย่างไร
_Surapa Limwannasathian สุรภา ลิ้มวรรณเสถียร· การจะเชื่ออะไรก็ต้องใช้ศีล ปัญญา การฟังใช่มั้ยคะ การศรัทธาก็เหมือนกันใช่มั้ยคะ และเวลาจะเป็นเครื่องตัดสินว่าสิ่งที่เราเชื่อหรือเราศรัทธาถูกต้องใช่มั้ยคะ
พ่อครูว่า…พระสูตรไม่รู้คิดสูตรจะเกิดปัญญาจะต้องคบสัตบุรุษฟังสัทธรรม บางพระสูตรบอกว่าต้องฟังจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำไป เราไม่มีพระโอษฐ์จากพระพุทธเจ้าเราก็เหลือสัตบุรุษ ก็ต้องคบสัตบุรุษให้ได้
2 ผู้อยู่ในฐานะครู อันนี้ผู้อยู่ในฐานะครูนั้น ก็ต้องเป็น สมณะพราหมณาสัมมาปฏิปัณณา เพราะปัญญาจะเกิดเองไม่ได้ อย่างไรก็เกิดเองไม่ได้ปัญญานี่ อันเป็นโลกุตระธรรม จะต้องสืบทอดมาจากพระพุทธเจ้า หรือผู้ที่สืบทอดมาแล้วเป็นสัตบุรุษ
เวลาจะปฏิบัติเข้าปฏิบัติตามหลักศีลสมาธิปัญญา
_Boy Mungchomklang บอย มุ่งชมกลาง· ผมขอแสดงความคิดเห็นเรื่องหลับตาปฏิบัตินิดนึงครับ ผมลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าเดินไปที่ที่เราจะไปโดยที่หลับตาเดินจะเป็นยังไงนะ (พ่อครูว่า…ก็หกล้มหรือเดินชนอะไรต่ออะไร)หรือ ตอนที่ขับรถแล้วก็หลับตาขับ ตอนที่จะทำงานก็หลับตาทำงาน … ผมก็มีความคิดเห็นว่าคงจะวุ่นวายมากครับ… นั้นก็เรื่องของความคิดเห็นส่วนนึงครับ แต่คำถามวันนี้ที่ผมจะถามพ่อครูว่า
ติดนอน ติดงัวเงีย จะทำอย่างไร
1.เมื่อก่อนผมติดนอนมาก ก็เลยตั้งใจ จะพยายามฝึกตื่นให้เช้ากว่าเมื่อก่อน อ่านหนังสือพ่อครูวันละอย่างน้อย 3 หน้า…เพื่อจะพัฒนาตนเอง ซึ่งก็เห็นว่า สัปดาห์แรกก็มีความยินดีทำพอใช้ แต่สัปดาห์ที่สองแรงก็เริ่มอ่อนลง จึงบอกกับตัวเองว่าถ้าทำได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น พยายามเพียรดูก่อนเหนื่อยเกิน เกินตอนไหนก็หยุดพักตอนนั้น แต่ถ้ามีแรงขึ้นมาก็ฝึกเอาอีก…แต่ที่เริ่มรำคาญจิตที่งัวเงีย จิตที่ต่อรองก่อนตื่นนี่ จะคิด จะบอกตัวเองอย่างไรดีครับ กราบขอบพระคุณครับ
พ่อครูว่า…ประเด็นที่ถาม ติดงัวเงีย อาตมาเคยอธิบายให้ฟัง คุณต้องจับอาการงัวเงียให้ได้ ฟังให้ดีนะ คุณต้องจับอาการงัวเงียให้ได้เลย เพราะฉะนั้นคุณต้องทิ้งผีตัวนี้ให้ทันที จิตของคุณนี่แหละมันไม่เป็นอย่างอื่นเลย จิตมันอร่อยกับการงัวเงียมันเป็นผีหลอก มันจะไปอร่อยขี้หมาอะไรกันเล่างัวเงีย คุณทำอาการที่ตรงกันข้ามกับงัวเงียคือตื่นเต็ม ฟังตรงนี้ภาษาไทย งัวเงียกับตื่นเต็มคนละเรื่องนะ คุณเข้าใจอาการตื่นเต็มให้ได้ เมื่อคุณเทียบปั๊บก็รู้ก็ดีดมันออกไปเลย คุณทำมันไปไม่กี่ครั้งเลยคุณจะรู้เลยว่า ไอ้งัวเงียมันเป็นผีหลอก แล้วคุณไปหลงติดว่ามันเป็นรสอร่อย คุณตื่นเต็มนี่สดชื่นสบายกว่าอารมณ์นั้นเยอะ เอาจริงๆ ไปลองเปรียบเทียบกันเลยอาการจิตงัวเงียกับอาการตื่น อาการงัวเงียมันซึมไม่ได้เรื่อง ตื่นเต็มมันแข็งแรงเบิกบานสดใสสว่าง คุณไปทำดูสักครั้งสองครั้งจะอ๋อเลย ใครตอนตื่นงัวเงียให้มีสติ ฝึกไม่กี่ครั้งคุณจะเห็นผล อ๋อ แล้วคุณก็อ่านผลว่าตื่นแต่มีสติเต็มมัน โอ้โห รสชาติมันดีกว่าอาการงัวเงียเยอะเลยท้าให้พิสูจน์เลย
_ต้นไม้ ใบย่า ธรรมะชาติ · กราบนมัสการพ่อครูสมณะสิกขมาตุ ติดตามฟังรายการทีสันติอโศกค่ะ ติดตามฟังรายการพุทธศาสนาตามภูมิท่านฟ้าไทเป็นผู้ดำเนินรายการ ประเด็นคือตอนนี้ท่านถักบุญทำงานอยู่กับต้นไม้เพาะเมล็ดพันธุ์ต่างๆอยู่ สมณะชาวอโศกเรามีเพาะพุทธหรือท่านจันทร์ ถ้าอย่างนั้นอาตมาขอเป็นชื่อเพาะมะม่วงก็แล้วกัน5555 แม่กรุณาฟังอยู่ก็เลยขอให้ดิฉันฝากข้อความถึงท่านถักบุญให้หน่อย ถ้าอย่างนั้นขอออกความคิดเปลี่ยนชื่อ เป็นเพาะพืชดีกว่าไหมค่ะ? พ่อครูมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง เขียนยาวไปหน่อยค่ะขอให้พ่อครูอ่านออกอากาศให้ด้วยน่ะค่ะ รอฟังอยู่กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
พ่อครูว่า…เอาล่ะชื่อนั้นก็สำคัญไฉน ชื่อถักบุญก็ดีอยู่แล้ว ท่านก็พยายามถักบุญทุกวันนี้ หมดบุญเมื่อไหร่ก็จบไม่มีปัญหาหรอกก็ถักไป สักวันหนึ่งก็จบ จบแล้วจะมีชื่อถักบุญก็ไม่เป็นไร พระราหุลก็เชื่อราหุลสุดท้ายท่านก็เป็นอรหันต์ไม่เห็นจะเปลี่ยนชื่อเลย ไม่มีปัญหา
_Somjade Chowsiri สมเจตน์ เชาวน์ศิริ: อยากไปสร้างบารมีครับ.. ยิ่งตอนหัวร้อนกะแม่บ้านแทบจะหอบผ้าหอบผ่อนไปเลย.. แต่พอสุขสบายดีก็ลืมครับ เพลินกับการใช้วิบากต่อไป ชาตินี้คงมีโอกาสครับ
_มั่นใจพุทธ บุญเสร็จ · สังขาร คือตัวการของอาการสุข-ทุกข์ภายในจิตของเรา ถูกต้องมั้ยคะ
พ่อครูว่า…ก็ใช่ มันมีอวิชชาก็สังขาร สังขารไป เป็นสังขารที่เป็นโลกีย จะมีวิญญาณนามรูปอายตนะผัสสะเวทนา เวทนานั้นก็เป็นสุขเป็นทุกข์ สังขารก็ทำให้เกิดการเป็นไป ไม่รู้ก็เป็นโมหะ เมื่อไปถึงเวทนามันก็เป็นอารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์อยู่ในสังขารนั่นแหละ พระพุทธเจ้าถึงให้เรียนแยกสังขาร ยากกว่าแยกเวทนา ท่านก็ให้เรียนรู้ความเป็นเวทนาในจิตให้ได้ พอสัมผัสแล้วมีเวทนา แล้วก็อ่านแยกเวทนาได้แล้วก็อ่านแห่งเวทนาที่ทำให้เป็นสุขเป็นทุกข์อยู่แล้วก็ฆ่า โดยพระพุทธเจ้าท่านให้อ่านอาการทุกข์เพราะว่าอาการสุขมันอ่านยาก ท่านก็คือเอาเหตุแห่งทุกข์ แต่ความทุกข์ความสุขก็คือมายา ฆ่าตัวทุกข์ตัวสุขทุกข์ก็หมดไปด้วยไม่ต้องไปฆ่าความสุขหรอก ความสุขความทุกข์เป็นมายาเป็นตัวเดียวกันเป็นผีหลอก หลอกมาเป็นเทวดา ที่แท้มันเป็นเทวะ ที่ปลอมตัวหลอกล่อมนุษย์อยู่ เป็นมายา เพราะฉะนั้นเราจะต้องเป็นสิริมหามายา เกินกว่ามายาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นสิริมหา ก็จะฆ่ามายาได้
_Ampa Nonnoi อำภา นนท์น้อย: อยู่บนโลกนี้ต้องให้จิตทิ้งอกุศลให้รวดเร็วดุจกระพริบตานะครับ
พ่อครูว่า…คุณจะไปทิ้งอกุศลอย่างนั้นมันเป็นสมถะ ต้องอ่านเหตุแห่งอกุศลแล้วดับเหตุนั้น ศาสนาพุทธสอนให้ดับเหตุ ดับเหตุทุกอย่างก็ดับ ไม่ใช่ไปทิ้งแบบนั้น
_นิติยา พันธ์สวัสดิ์ : โจทย์ชีวิตมนุษย์คือล้างความชอบชังเหรอคะ เราต้องอยู่เหนือมัน นี่คือเหตุผลที่เรามีชีวิตต่อไปเหรอคะ ทำไมง่ายจัง แต่ก็ทำยากค่ะ เพราะเรารู้แต่บางทีทำไม่ได้
พ่อครูว่า…ใช่ โจทย์ชีวิตมนุษย์คือการล้างความชอบความชัง ฟังง่ายเข้าใจง่าย แต่มันทำไม่ง่าย เพราะมันรู้ แต่บางทีทำไม่ได้ ก็ให้ฝึกฝนไปตามลำดับ
_เชวง กิจจะบรรณ์ · ฟังทางเฟซบุ๊กสัญญานดีกว่าทางยูทูปครับ
_ปิ๋ม สวีเดน : อยากเรียนว่าดิฉันได้รับประโยชน์มากและคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อนักปฏิบัติธรรมที่สนใจ ฝากเรียนผู้เกี่ยวข้องทราบด้วยค่ะว่ามีประโยชน์มากค่ะ? และขอบคุณทีมงาน
_nachonnipa saimaya ณชลนิภา สายมายา• แมวเราหาย เข้ามาเซิทหากำลังใจเผื่อมีคำสอนหรือกังลังใจ ให้เสียใจเจ็บปวดน้อยลง แต่ว่าขออโหสิกรรมที่เข้ามาดู มาฟังจริงๆ
พ่อครูว่า…ดีตั้งใจฟังให้ดี แมวหายก็ให้หายไปเลย เราไปผูกพันกับแมว แล้วจะไปทิ้งกิเลสอะไรได้ แมวก็ไม่ใช่ตัวเรา แมวมันก็เป็นสัตว์ แมวมันก็มีวิบากของมัน ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องหรอก ก็เพราะว่าคุณมีวิบากไปถูกหลอกมาว่าจะต้องรักสัตว์ตัวนั้นตัวนี้ แล้วก็ไปอธิบายว่าเป็นเมตตาคือต้องไปเลี้ยงดู ไปเลี้ยงมันทำไม
เมตตาคือเห็นคนทุกข์เราก็ช่วย ที่นี้เราจะไปช่วยแมวที่มีทุกข์ จะไปช่วยหมาที่เป็นทุกข์เป็นสัตว์เดรัจฉานที่เป็นทุกข์ มันก็จะไม่หวาดไม่ไหวมันมีเยอะ มาช่วยคนที่มีทุกข์ดีกว่า มีเยอะเหมือนกัน ช่วยคนนี้ดีกว่า แล้วก็จะง่ายกว่าไปสอนหรือไปให้ช่วยสัตว์เดรัจฉาน คุณจะช่วยได้แค่โลกียะ เอามันมาเลี้ยงดูหาข้าวหาอาหารให้มันกินให้มันอยู่ได้ ดีไม่ดีคุณก็ถึงขนาดจะอาบน้ำให้มันก็เท่านั้นเอง อาตมาพูดไม่รู้กี่ทีแล้ว สัตว์เดรัจฉานให้เลิกเลย อย่าไปยุ่งเกี่ยวมาวุ่นวายเป็นอันขาด ในจุลศีลก็ชัดเจนอย่าไปยุ่งเกี่ยวกับสัตว์
สัตว์มันมีอย่างมาก 3 ลักษณะใหญ่ 1 ลักษณะที่เราอาศัยกินใช้มัน แพะแกะเป็นต้น อยากกินนมมันใช้ขนมัน 2 ฆ่ากินเนื้อมันเลย คือไก่และสุกรเป็นต้น 3. อาศัยแรงงานมันเช่นช้างม้าลาโค เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่มีอย่างอื่นนานาสารพัดมันก็ไร้สาระอีกเยอะแยะ เลี้ยงหมีแพนด้า เลี้ยงแมวเลี้ยงนก อีกัวน่า ฯลฯ จะบ้าหรือ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย แม้ว่ามันมีประโยชน์พระพุทธเจ้าก็ให้ตั้งศีลอย่าไปยุ่งกับมัน 3 ชนิดนี้มันมีประโยชน์ต่อเราต่อมนุษย์โลกส่วนพวกนั้นไร้สาระไม่มีประโยชน์อะไร เปลืองและไร้สาระเพิ่มวิบากเปล่าๆ เขาไม่เชื่อคำสอนพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจคำสอนพระพุทธเจ้าก็เอาเถอะ ฟังไม่เป็นหรือฟังได้แล้วไม่เชื่อก็แล้วแต่ใคร
_จุ๋มแกงใต้ เทพ คงถาวร : ” เราบังคับคนตาบอดให้เห็นฟ้าไม่ได้ ” แล้วคำกล่าวถึงที่ว่า..แม้คนตาบอดก็เห็นได้..นั่นหมายถึงอะไรครับ..?
พ่อครูว่า…เอามาย้อนศรอาตมา อาตมาเคยพูด ที่บอกว่า วิญญาณ แม้ว่าคุณจะตาบอด แม้คุณจะดับทวารทั้ง 5 ก็จะมีวิญญาณที่คุณจะเห็นได้ ก็หมายถึงว่ามันเหลือเศษ
เพลงชีวิต หมายเลข ๓
แม้เจ้าจะตาบอด มาแต่กำเนิด
แต่เจ้าก็ยัง “เห็น” แสงสว่างของโลกได้
เจ้ายัง “เห็น” แมกไม้ และเกลียวคลื่น
เจ้ายังสามารถ “เห็น” คนเศร้าโศก “เห็น” คนระเริงสุขได้
แม้เจ้าจะหูหนวกมาแต่กำเนิดอย่างสนิทปานใด
เจ้าก็ยัง “ได้ยิน” เสียงของนกร้องละเมอ…
เสียงของความอลวนของโลก
เจ้ายัง “ได้ยิน” เสียงคนด่าทอ และเสียงสรรเสริญเยินยอได้
แม้คนผู้หนึ่งจะพยายาม ปิดตา ปิดหูของตน
ให้มันบอด และหนวกสนิท เช่นนั้นก็ตาม
คนผู้นั้นก็จะต้อง “รู้” ต้อง “ทราบ”โลก “ทราบ”ชีวิต
ที่มันเป็นไปอยู่ ในโลกนี้ได้
ไม่น้อยไปกว่าคนดีๆ ธรรมดา ๆ เลย
เพราะโลกนี้ มี “วิญญาณ” ! !
การสัมผัสต่างๆ ที่ทำให้คน “รู้” ได้ นั่นแหละ คือ “วิญญาณ”
ผู้มี “วิญญาณ ” ชาญฉลาดแท้ จะสามารถเห็นแจ้ง ว่า…
อย่างนั้นแหละคือ “โลกที่ยังวนเวียน ไม่รู้จบ”
อย่างนั้นแหละคือ “อารมณ์โลกที่ดึงดูดใจมนุษย์”
อย่างนั้นแหละ คือ “ความเจ็บปวด”
อย่างนั้นแหละ คือ “ความเอร็ดอร่อย”
และนั่นเอง คือ “ความทุกข์” กับ “ความสุข”
“ฆ่า” มันเสียสิ ! ! !
อย่าให้ “เจ้าสิ่งต่างๆ” เหล่านั้น มามีในเรา
โลกมันต้อง “มี” สิ่งเหล่านั้นเป็นธรรมดา
สำหรับผู้ ไม่รู้ ว่า มันเป็น “มายา”
แต่ “เรา” ต้องเรียนรู้
ต้องลด ต้องฆ่าสิ่งเหล่านั้น อย่าให้ “มี” ในตน
มันเกิดอยู่ มีอยู่ อย่างเก่งฉลาด และพัฒนาเจิดจ้าเต็มโลก
หรือ แม้ในตัวเรานั่นแหละ
ที่มันยังหลง “มี”อยู่ อย่างแฝงซ่อนแท้จริง
แต่ มันไม่ใช่ “ของจริง” หรือ “ของเรา” หรอก
อย่าหลงผิดว่า มันคือ “เรา” เลย
และ อย่าหลงผิดว่า มันเป็น”ชีวิตชีวา” ของเราเลย
เมื่อผู้ใด “ฆ่า” มันได้จนตายดับสนิท
ไม่เหลือเชื้อเป็นตัวเป็นตนอีกแน่
แล้วเมื่อนั้น เราจะยืนอยู่สูงสุด “เหนือโลก” อย่างแท้จริง”
๒๐ เมษายน ๒๕๑๔
พ่อครูว่า…แน่นอนคนตาบอดแต่กำเนิดจะได้ไม่สัมผัสฟ้าไม่เคยเห็นฟ้า พระพุทธเจ้าถึงไม่ได้ให้คนตาบอดมาบวช
_ไพฑูรย์ : เรียนถามพ่อท่านว่า มีความเห็นอย่างไรกับการเผยแผ่ธรรมตามแนวทางของ อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ครับ
พ่อครูว่า..อาตมาก็ไม่เคยไป เป็นแต่เพียงว่าเคยแวะพูดวิจัยวิจารณ์นิดหน่อย ถามว่ามีความเห็นอย่างไร ก็มีความเห็นอยู่ว่าน่าสงสาร ผู้ที่เรียนอยู่กับอาจารย์สุจินต์ เท่าที่อาตมาพอติดตามพอจับความได้ ว่าการสอนของอาจารย์สุจินต์นั้นก็เป็นบัญญัติเป็นภาษาทั้งนั้น ที่นี่อาจารย์สุจินต์เองก็ ไปตกหลุม อยู่ไหนภาษาคำว่าธรรมะเป็นธรรมะ ก็เลยบอกว่าภาษาทุกอย่างไม่ใช่ธรรมะ เพราะอาจารย์สุจินต์ไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงสภาวะธรรมและเกิดสภาวะธรรมจริงคือจะต้องเห็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน อ่านดูเวทนาสัญญา อ่านรู้กายในกายกายในกายคืออะไร อ่านเวทนารู้จักเวทนา อ่านจิตในจิต แล้วก็รู้ธรรมในธรรม ที่เป็นนามธรรมก็ดีที่เป็นรูปธรรมก็ดี แล้วเข้าใจรูปธรรม รูปที่ 28 เจตสิก นาม 5 ไม่รู้ว่าทางโน้นจะเข้าใจนาม 5 กับรูปที่ 28 อย่างไรและได้ปฏิบัติสภาวะนั้นจริงหรือเปล่า แต่เท่าที่ประมาณแล้วไม่ได้ปฏิบัติหรอก มีแต่คำบอกว่านั้นเป็นธรรมะหรือเปล่า มีใครทักมาก็จะถามกลับว่านี่คือธรรมะหรือเปล่า ถ้าไม่เป็นธรรมะไม่เอา ก็ได้ภาษาคำว่าธรรมะนี้ไม่ใช่บัญญัติ ก็คงจะหมายถึงสภาวะธรรม
แล้วเข้าใจสภาวะธรรมจริงนั้น รูป 28 นาม 5 แล้วต้องปฏิบัติตามรูปนามนี้ ต้องเรียนรู้ด้วยอาหาร วิญญาณอาหาร เป็นรูปนามเป็นสภาวะเทว 2 เอาไปปฏิบัติ แล้วแยกสภาวะสองมันจะมี ลิงคะ เปรียบเทียบกันได้อันไหนเป็นสิ่งที่แท้ก็อาศัยได้ อันที่ไม่แท้ก็ให้ล้างออกไป ให้เหลือแต่ตัวสะอาดตัวแท้ ไม่มีกิเลสเข้าร่วม คุณก็อาศัยอันนี้ไป แล้วก็จะรู้เองว่าสิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยเท่านั้นไม่ใช่ อัตตาเรา มันอนัตตา ก็เข้าใจแค่นั้น
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สมณะฟ้าไท…
พ่อครูว่า…มาสู่พระไตรปิฎกอัมพัฏฐสูตร
อ่านมาถึงศีลแล้ว จุลศีลมัชฌิมศีลมหาศีลซึ่งเดี๋ยวนี้ในโลกศาสนาพุทธไม่นำพาแล้ว ทิ้ง ศีลธรรมนูญของพระพุทธเจ้าไปแล้วอย่างจริงจัง ภิกษุต่างๆก็ไม่เอาแล้วไปอยู่แค่วินัย 227 ก็ถือวินัย 227 เป็นศีล ไม่นำพาในเรื่องมหาศีล ละเมิดมหาศีลเต็มไปหมดเต็มวิธีการไปหมดที่ทำอยู่มันผิดหมด อยู่ในวงการศาสนาพุทธทั้งหมด สวดมนต์สวดพรก็ผิดเป็นเดรัจฉานวิชาหมด ทำพิธีกรรมอะไรก็ทั้งนั้นแหละจุดธูปจุดเทียนพวกนี้ผิดหมดจริงๆ ไม่ได้ไปใส่ความอะไร เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าศาสนาพุทธไม่เหลือแล้วเพราะไม่มีศีล
เมื่อไม่รู้จักศีลไม่มีศีล ก็ไม่มี อปัณณกปฏิปทา 3 ซึ่งอยู่ในจรณะ 15 วิชชา 8 เมื่อไม่มีสิ่งเหล่านี้ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนใน อวิชชาสูตร
-
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ . .ก็หาเหมือนกันแต่ไม่ได้มาฟังอาตมาไม่คบหาสมาคมก็ไม่ได้ฟังสัจธรรมที่บริบูรณ์ ความเห็นความเข้าใจก็ไม่บริบูรณ์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้คมลึกสุดครบ ไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมทำให้ฟังธรรมไม่บริบูรณ์ ขนาดพวกคุณมาพบแล้วยังฟังธรรมบริบูรณ์หรือยัง ยัง แต่บริบูรณ์ขึ้นใช่ไหม
-
การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์
-
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการโดยแยบคายให้บริบูรณ์ คำว่าศรัทธาจึงไม่ใช่เรื่องตื้นเป็นเรื่องลึกซึ้ง อาตมาเคยขยายความศรัทธา 10 ที่จะเป็นไปเพื่อวิมุต
ผู้ที่มีแต่ศรัทธาแต่ไม่เอาศีลมาเป็นตัวต้นก็ผิดจากจรณะ 15
มีศรัทธาแล้วก็จะมีศีล
-
ศรัทธา (เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจเป็นต้น)
-
ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่สีลสัมปทา แห่ง จรณะ๑๕)
-
พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น) .
-
เป็นพระธรรมกถิกะ (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)
-
เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น) .
-
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
-
ทรงวินัย
-
อยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา) . .
-
ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔
-
ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้ เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
(สัทธา 10 จาก สัทธาสูตร พตปฎ. เล่ม24 ข้อ 8)
ในอุปาลิสูตร ไม่ได้ให้ไปหนีออกป่าเขาถ้ำพระอุบาลีปรารถนาจะไปอยู่ป่า และราวป่าอันสงัด
พระพุทธองค์ตรัสว่า… ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว. ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือนกระต่ายหรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่ หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง 7 ศอก หรือ 7 ศอกกึ่ง กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลง หรือจักลอยขึ้น !! (พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 99)
อย่างในสันติอโศกเราก็ทำให้เป็นป่า
หากจิตคุณเป็นสมาธิแล้วก็ไปออกป่าลองดู ไปอยู่แล้วจิตคุณจะฟุ้งไปกามหรือโลกธรรม อัตตาไหม หากคุณอยู่ป่าก็อ่านจิตคุณอย่างดี อย่างน้อย เป็นอนาคามีเป็นต้นไป ภูมิธรรมคุณสูงมากก็ไม่จำเป็นต้องไปออกป่า คุณอ่านจิตของคนที่อยู่เหนือพวกนี้แล้ว เป็นจิตตั้งมั่นหมาย ก็ได้ลองดูไปอยู่ป่าไปอยู่ห่างสิ่งเหล่านี้มันจะโหยหาลาภยศสรรเสริญ โหยหากามโลกีย์ไหม นั่นคือไปลองปฏิบัติ วัตรปฏิบัติดู อยู่ป่า
หากคุณไม่มีสมาธินี้แล้วไปอยู่ป่า พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่าป่าจะเอาใจเธอไปเสีย คุณยังปฏิบัติไม่มีหลักประกันอะไรเลยเสร็จเลย เหมือนกับช้างตัวใหญ่ 7 ศอกหรือกระต่าย หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง 7 ศอก หรือ 7 ศอกกึ่ง กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลง หรือจักลอยขึ้น !!
นี่คือคำตรัสของพระพุทธเจ้าตรัสไว้หมดทุกอย่างแต่เขาไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นก็เลยไม่มีทางที่จะตัดนิวรณ์ 5 ได้เลย เพราะว่าคำแรกของนิวรณ์ 5 คือกาม กามคุณ 5 ต้องลืมตาปฏิบัติสัมผัส ตัวแรกคุณก็ไม่ได้เรียนเลยของนิวรณ์ 5 แล้วคุณจะไปเอาอะไร
ดูกร อัมพัฏฐะ
รูปฌาน 4
ดูกรอัมพัฏฐะ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร (พ่อครูว่า…คือโลกียะ คุณไม่รู้จักทางกันดาร เริ่มต้นตรงไหนที่จะหมดความกันดารคุณไม่รู้เลย) และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตนย่อมเกิดปราโมทย์ (พ่อครูว่า…มันอ่านยากเหมือนกันนะ ปราโมทย์ มันไม่ใช่กิเลสแต่เป็นอุปกิเลสต้องละเหมือนกัน แต่ต้องอาศัยก่อน) เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ(พ่อครูว่า…กายสงบไม่ใช่สงบร่างกายให้หยุดหายใจหรือหายใจน้อยแบบนั้น แต่กายหมายถึงภายนอกสัมผัสกับภายนอกมีกิเลสภายนอกกิเลสในระดับกามก็ไม่มี สงบ พอสัมผัสอยู่ก็รู้ แคล่วคล่องว่องไวมีมุทุภูตธาตุ ไม่ใช่ว่าแข็งทื่อหลบเลี่ยงสิ่งสัมผัสเกี่ยวข้องไม่ใช่เลย แต่ต้องเกิดกายปาคุญญตา กายยิ่งแคล่วคล่องว่องไว กายปาคุญญตา แปลว่าความคล่องแคล่วของจิตเจตสิก ยิ่งรู้ทัน จับกิเลสเนื้อกิเลสทำให้กิเลสลดไปได้อย่างเก่ง มีปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา อาตมาขยายความอ้างอิงธรรมะพระพุทธเจ้าอย่างพิสดาร คนที่ฟังได้ เข้าใจได้ก็จะยิ่งอ๋อ มันเป็นเช่นนี้เองหรือจะมีคุณสมบัติเป็นเหตุปัจจัยกันอย่างนี้ เข้าใจอย่างนั้นไหมไม่ใช่พูดไปแล้วมันไม่รู้เรื่องไม่มีมรรคผลไม่มีความดีอะไรเกิดขึ้นเลย ฟังภาษาไปยิ่งงงยิ่งมืดตื้อไม่ใช่ตอนนี้มันยิ่งเข้าใจสภาวะไปยิ่งขึ้นเลย)
เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น (พ่อครูว่า…กายวิเวกคือสัมผัสภายนอกแล้วไม่มีกิเลส) เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.
(พ่อครูว่า…คำว่าวิตกวิจารเป็น 2 สภาวะรูปนามที่คุณจะต้องรู้ ตักกะ คือ มันจะขึ้นมาเป็นพฤติกรรมของอาการ ตักกะ เป็นตัวลักษณะ static จาร เป็นลักษณะ Dynamic เป็นคู่ๆหนึ่งของเทวธรรม คุณก็จะรู้ วิตกวิจารสงบไปก็หมายถึงคุณจัดการกับวิตกวิจารที่มันมีกิเลสเข้าไปร่วม ลดกามวิตก เห็นกามวิตกหายไป เป็นกามาวจรภายนอก คุณก็ไม่มีกิเลสอยู่ได้แล้วทำได้แล้ว เพราะสงบ วิตกวิจารก็สงบ ไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี่เป็น ฌาน 2
ฌาน 1 ต้องมีสังกัปปะ 7 ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ ทำให้พฤติกรรมของจิต จาระนี้สะอาด อัมพัฏฐะมาเถียงพระพุทธเจ้าว่า เขานี้แหละรู้จักวิชาจะระณะสัมปันโน ในพระเวท เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของโปกขรสาติพราหมณ์ พระพุทธเจ้าก็ไล่เรียงให้ฟังทั้งหมด พระพุทธศาสนาวิชชาจะได้เป็น ฌาน เป็นสมาธิ
ฌานที่ 3 สุขด้วยนามกายก็จะสบายขึ้น หากได้ฌาน 2 ก็มีปีติ ดีใจ ต่อมามันก็จะชินชา ไม่ต้องไปดับมันก็จะชินชา ยิ่ง คุณรู้คำสอนแล้วก็จะไม่ไป ฟูฟองอะไร)
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
(พ่อครูว่า…สุข มันคือ ว่าง)
ดูกรอัมพัฏฐะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง ดูกรอัมพัฏฐะ แม้นี้แลคือจรณะนั้น.
(พ่อครูว่า..ศาสนาพุทธนั้นดับทั้งความสุขความทุกข์เขาก็ไม่เข้าใจ ความสุขเขาไม่รู้ว่าคืออะไรความสุขมันเป็นโลกีย์ สุข ทุกข์เป็นภายนอก โสมนัสโทมนัสก็คือภายใน ก็ดับภายนอกได้แล้วก็ดับสุขทุกข์ภายในอีก)
วิชชา 8
วิปัสสนาญาณ
ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต 4 เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด(พ่อครูว่า…เป็นมังสวิรัติทั้งนั้นแม้แต่ขนมสดก็ไม่ใส่ไข่) ไม่เที่ยงต้องอบ ต้องนวดฟั้น (พ่อครูว่า..เห็นใจคนที่รู้สึกว่า อาตมาทำไมนวดบ่อย มีผู้มานวดให้ คือร่างกายอาตมาเป็นสัมประสิทธิ์มันถึงเวลาเสื่อมไปแล้วแต่ก็ต้องกระตุ้นให้มันอยู่เรื่อยๆจึงต้องนวดมาก ช่วย อาตมารู้สึกเหมือนกันบางคน เห็นบอก พ่อท่านทำไมนวดทุกวัน บางวันมีนวดเช้ากลางวันเย็น ไม่พอ ประเดี๋ยวมาแล้วนวดตรงนั้นตรงนี้นั่งทำงานก็นวด มีหัวโตมานวด ดีนะตอนนี้แรงผาไม่อยู่หากแรงผาอยู่ก็นวด บางคนอาจนึกว่า ทำไมนวดอะไรกันนักกันหนา อย่าลืมว่าขันธ์ของอาตมาต้องช่วยมันมากนะ ไม่ใช่ปล่อยให้มันเย็นมันแข็งไปต้องนวดให้มันอุ่นขึ้น ให้นวลขึ้น ร่างกายนี้ ไม่ใช่ว่าอาตมาติดการนวด ไม่ใช่ ไม่ได้ติดการนวดเลย แต่มันต้องช่วยมันนะ)
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สมณะฟ้าไท…
พ่อครูว่า…
มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้น วางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่าแก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้วสุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลือง แดง ขาวหรือ นวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต 4 เกิด แต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.
พ่อครูว่า..แก้วไพฑูรย์ก็คือญาณทัศนะ ปัญญาจะเห็นเข้าไปข้างใน เห็นเวทนาในเวทนาเป็นต้น คุณจะเห็นลิงค ความต่างของอาการจิตเจตสิก แม้แต่เวทนาในเวทนาก็มี ลิงค มีความต่างของมัน
อารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์ก็ต่างกันแล้ว นี่คือคู่หนึ่งง่ายๆ นอกจากสุขจากทุกข์ เวทนาในเวทนา ต้องเทียบทีละ 2 ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60 กรรมฐานของศาสนาพุทธคือเวทนา ทวเยน คือเอาสองมา เวทนายะ แล้วทำให้เวทนาสองเป็นหนึ่ง ทำให้สำเร็จได้ เป็นเวทนาเดียว
อาตมาอธิบายเป็นภาษาง่ายๆว่าเวทนา 1 เป็นเวทนาแท้ อีกเวทนาหนึ่งเป็นเวทนาเทียม เวทนาเก๊ คือเป็นสุขเป็นทุกข์ มันมีเหตุ ดับเหตุเสียแล้ว ความสุขไม่มี ความทุกข์ก็ไม่มี เหลือเวทนาที่เป็นความจริงตามความเป็นจริง
เห็นรูปก็เห็นรูปมันเป็นอย่างไร ทุกคนเห็นเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นแขกไทยฝรั่ง เราเห็นแตงโม ให้ตาฝรั่งมาดูก็จะเห็นเป็นสีเขียวนี้เขียวๆกลมๆลูกใหญ่โตลูกเล็กอย่างนี้ มันก็เป็นอย่างนี้อย่างที่มันเป็น ส่วนคุณจะมีพลิกแพลงว่ามันดู สวยงามน่ารัก ดูอยากได้อยากกิน เป็นเรื่องอีกอันนึงของคุณเลย ความรู้ความจริงตามความเป็นจริงมันตรงกันหมดทุกคน แต่คนชอบหรือชังหรือมีอาการต่างๆที่เป็นกิเลสอุปกิเลสอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของความเก๊ ดังนั้น
ถ้าคุณรู้จักเวทนาเก๊รู้จักความเก๊ก็จบ มีเวทนาสัมผัสและมีเวทนาเดียว เป็นเช่นใดก็เป็นเช่นนั้นไม่ว่าคนไหนชาติไหน จะเรียกด้วยภาษาไหนก็แล้วแต่ก็คืออย่างนั้น
รูปเสียงกลิ่นรสก็เหมือนกันเวทนา 2 ให้เหลือเวทนา 1 นี่คือแกนของศาสนาพุทธ ศึกษาอารมณ์ศึกษาเวทนา ถ้าศึกษาอารมณ์ไม่ได้ เวทนา 2 แยกไม่ได้ แยกเป็น เคหสิตะกับเนกขัมมะ
มโนปวิจารณ18 ความสุขความทุกข์ความไม่สุขไม่ทุกข์ ในทวารทั้ง 6 แล้วแยกเป็นเคหสิตะเวทนา เป็นไปตามกิเลสกับเนกขัมสิตเวทนาเอาออกจากกิเลส จนเป็นเนกขัมมสิตอุเบกขา เป็นแกนเป็นฐานของนิพพานของพระพุทธเจ้า
เข้าใจอย่างที่อาตมาพูดคร่าวๆนี้ไม่ได้ไปนั่งหลับหูหลับตาแล้วไม่มีผัสสะ มันน่าสงสารจริงๆ เมื่อไหร่มันจะมีสัมมาทิฏฐิสัมมาปฏิบัติให้รู้
ศาสนาพุทธไม่ได้หลับตาปรุงแต่งจะทำให้เกิด อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร ไม่มีพลังงานปัญญานี้สูงจนกระทั่งกิเลสมันหายไป ยิ่งดับหมดเลย เหตุดับหมดเลย ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ แล้วก็ปฏิบัติตามที่ว่านี้ถูกต้องจริง ไม่ได้มีการเป็นอรหันต์สมบูรณ์แบบได้เลยมีแต่อรหันต์เก๊อรหันต์หลอกอรหันต์เลอะเทอะเต็มบ้านเต็มเมือง อาตมาพูดเหมือนอวดดีไปพูดว่าเขาก็เพราะว่ามีเวลาน้อยก็เลยว่านิดหน่อย
วิปัสสนาญาณ คือญาณที่แยกรูปนาม อ่านกิเลสออก แล้วปฏิบัติให้กิเลสลดลงไปได้ก็เป็น มโนมยิทธิญาณ หมายความว่าสามารถกำจัดกิเลสได้รู้จักกิเลสกำจัดกิเลสเป็น ทำได้สำเร็จ มีฤทธิ์มีอำนาจเป็นธรรมฤทธิ์ของศาสนาวิปัสสนา ไม่ใช่เป็นฤทธิ์ทางโลก ภาษาพูดไปแล้วเป็นเหมือนกับชาวโลก เหมือนภาษาโลกีย์ก็เลยงง
มโนมยิทธิญาณ
ภิกษุนั้น ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรอัมพัฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่งก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเองฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.
พ่อครูว่า…ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาสะกดจิต ไม่ใช่เผาทั้งฝักทั้งดาบ ไม่ใช่เผาทั้งหญ้าและไส้หญ้า ต้องทำให้ถูกว่า ต้องรู้กิเลส แล้วทำให้สะอาดจากกิเลส เหมือนงูลอกคราบ ให้สะอาด เอาสิ่งที่จะต้องเอาออกให้หมดไป เหมือนชักดาบออกจากฝัก เหมือนชักไส้ออกจากหญ้า เหมือนลอกคราบงูออกจากงู
เวลาไปนั่งหลับตาปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าฝักดาบอยู่ไหนดาบอยู่ไหน หญ้าอยู่ไหนไส้อยู่ไหน ไม่มีวิจัยสภาพ 2 แต่ไปสะกดจิตให้ดับไม่มีมโนมยิทธิ
ทำได้แล้วก็ทำให้มากขึ้นให้เก่งขึ้นเรียกว่า
อิทธิวิธญาณ
…
ทิพยโสตญาณ แม้แต่นัยละเอียด เหมือนกับกลองที่เขาตีกัน เราฟังแล้วก็รู้เลยว่าคือกลองแบบไหน แยกแยะออกได้มีจิตเก่ง เก่งตามรู้ แม้สิ่งเล็กน้อยสิ่งละเอียดสิ่งที่ไกลอย่างไรก็รู้ได้หมด คนบางคนรู้ได้อาศัยสิ่งหยาบ แต่เราไม่ต้องอาศัยสิ่งเหล่านั้นเราก็รู้ได้แม้จะละเอียดอย่างไรก็รู้ได้
สู่แดนธรรม..เดี๋ยวนี้ก้าวหน้าส่งข้อความมาทางไลน์แล้วก็เชื่อกัน เขาเชื่อไลน์มากกว่าเชื่อความจริงด้วยซ้ำ
เจโตปริยญาณเป็นวิชชาข้อที่ 5 คุณก็จะรู้ราคะโทสะโมหะแล้วรู้วิธีทำให้ราคะโทสะโมหะมันไม่มีได้
คือ การกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น (รู้สัตว์ชั้นต่ำสูงในจิตตน-ปรสัตตานัง) .
รู้บุคคลชั้นต่ำ-สูงอื่นๆในจิตอาริยของตน(ปรปุคคลานัง) เป็นปรมัตถ์.
-
สราคจิต (จิตมีราคะ)
-
วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
-
สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
-
วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
-
สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
-
วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
-
สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) .
-
วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
-
มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)
-
อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)
-
สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ)
-
อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) .
-
สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)
-
อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์)
-
วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . .
-
อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) .