631012_รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 12
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวน์โหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1ng8b1RCvfaj6oKFN_nV3P3Z6YoK8AjFv7LaqWOoCjyA/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/16DTUxmCwDKYCFwM8cpLHkMXJfStCFnqz/view?usp=sharing
ยูทูปที่ https://youtu.be/ijfj5tPeowI
_สู่แดนธรรม…วันนี้วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้ประชาชนคนไทยคงจะเตรียมตัวใส่เสื้อเหลืองกันเยอะ เนื่องจากวันพรุ่งนี้เป็นวันครบวันคล้ายวันสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 วันนี้ก็จะครบรอบ 4 ปี ทางเราก็จะมีการจัดโรงบุญมังสวิรัติ ซึ่งพวกเราบางคนก็พูดผิดว่า แจกโรงบุญ (น่าจะเป็นการจัดโรงบุญ แจกอาหารมังสวิรัติ)
วันนี้มีลูกๆจากหลายที่มารอร่วมรายการ
พ่อครูว่า…วันนี้เป็นวันสุกดิบของวันพรุ่งนี้ที่เป็นวันที่มีคนใส่เสื้อสีเหลืองมาก มีผู้เขียนมา ว่า
_กราบเคารพพ่อครูครับ เมื่อวานผมฟังท่านฟ้าไทพูดถึงเรื่องกองกลาง มือถือของท่านก็กองกลางเป็นเงินกองกลางเติมให้ใช้ ผมจึงนึกถึงท่านดินไทที่ตกน้ำในตอนน้ำท่วม มือถือก็ตกไปด้วย จนผมทราบข่าวจึงขอถวายจะซื้อเครื่องใหม่ให้ แต่ท่านปฏิเสธด้วยบอกว่าขอซ่อมดูก่อน ถ้าไม่ได้ค่อยให้ซื้อถวาย เมื่อเวลาผ่านไปสักพักผมก็ถามท่านว่าซ่อมได้ไหมครับ ท่านก็ตอบว่าซ่อมได้แล้ว
ส่วนจะซ่อมได้ไม่ได้ผมไม่ติดใจครับผมติดใจตรงที่ ท่านไม่สนใจของใหม่ที่ผมจะซื้อถวาย ผมว่าถ้าผมเจอพระข้างถนนแล้วผมบอกว่าจะถวายมือถือใหม่ให้ ผมว่าพระข้างถนนนั้นไม่มีทางปฏิเสธแบบท่านดินไทแน่ครับ
ผมจึงอยากให้ชาวโลกที่เพิ่งเข้ามาฟังธรรมพ่อครูรู้ว่า สมณะชาวอโศกไม่ยึดติดวัตถุสิ่งของเงินทองแม้แต่ลาภสรรเสริญใดๆทั้งสิ้น อย่างท่านดินไทที่ผมได้สัมผัสได้จริงๆและนับถือท่านเป็นครูทางธรรมได้อย่างสนิทใจครับ กราบเคารพพ่อครูเป็นอย่างสูงครับ
ปล. ที่ผมเคยตั้งใจไว้ว่าจะซื้อเครื่องดีๆประมานหมื่นต้นๆและจะผ่อน0%10เดือนถวายท่านครับ
ผมรู้ว่าท่านอาจจะไม่ส่งให้พ่อครูอ่านเพราะท่านไม่อยากเอาดีใส่ตัว ไม่อวดอ้างความดี แต่ผมอยากให้คนอื่นๆที่ไม่ใช่ชาวอโศกที่เข้ามาฟังธรรมพ่อครูได้รู้ความดีที่เป็นจริงของสมณะชาวอโศกบ้างครับ
ผมก็สองจิตสองใจว่าจะเขียนดีไหม เพราะชาวอโศกไม่นิยมคำชมแต่จะเน้นการติเพื่อให้แก้ไขหรือเรียกว่าขุมทรัพย์ ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกไหมครับท่าน
แต่นี่ผมก็อยากแสดงถึงความรู้สึกที่มีต่อสมณะชาวอโศก โดยมีท่านเป็นผู้ที่ทำให้ผมเห็นถึงความสมถะโดยเป็นรูปธรรมครับ ผมจึงตัดสินใจเขียนแมสเสทเช่นนี้ครับ
จรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ต้องปฏิบัติหลับตา
พ่อครูว่า..คุณพูดไปพูดมาในนี้ ไม่อยากให้คนอ่านไม่อยากให้คนรู้ อาตมาก็เลยตัดสินใจอ่าน พวกเราชาวอโศก ที่มาปฏิบัติธรรมที่อาตมานำพา โดยที่อาตมามีความเข้าใจในพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า มีความเข้าใจศาสนาพุทธเท่าไหร่ อาตมาก็นำมาอธิบายขยายความ ให้รู้ว่าธรรมะพุทธเจ้าหมายถึงอย่างนี้นะแม้แต่จะแตกต่างจากเถรสมาคมทางส่วนใหญ่ทางโลกที่เขาเข้าใจศาสนาพุทธ อาตมาก็เข้าใจว่ามันแตกต่าง และนอกจากจะเข้าใจเท่านั้น ก็ยังมีความเข้าใจยิ่งกว่านั้นอีก ว่ามันถูกต้องแล้วที่อาตมาเข้าใจว่าในยุคนี้มันผิดเพี้ยน ศาสนาพุทธผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ของความเป็นศาสนาพุทธตรงๆแล้ว 2,500 กว่าปีมาแล้ว มันได้ผิดเพี้ยนไปๆมาก จนกระทั่งเข้าใจความผิดเป็นความถูก คิดถึงความผิดเป็นความถูกเลย เช่น ประเด็นที่อาตมาพูดย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกก็คือ
การไปนั่งหลับตาทำสมาธิหรือทำฌาน พวกที่เข้าใจว่าศาสนาพุทธทำสมาธิทำทานก็คือไปนั่งหลับตา ซึ่งมันผิด 180° เลย แล้วมีหลักฐานอะไรยืนยันว่า นั่งหลับตาทำฌาน สมาธิ มันผิด ก็มีหลักฐานยืนยันในพุทธคุณ 9 โดยเฉพาะพุทธคุณข้อที่ว่าวิชชาจรณะสัมปันโน ซึ่งมีจรณะ 15 วิชชา 8 มันก็ยืนยันเต็มๆอยู่ในนั้นเลย
จรณะ 15 ข้อที่ 1 มี ศีล และ อปัณกปฏิปทา 3 อันนี้แหละเป็นตัวยืนยันว่าปฏิบัติที่ไม่ผิด จะต้องมี สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 โภชเนมัตตัญญุตาเรียนรู้การกินการใช้แล้วก็ต้องเป็นผู้ตื่น ชาคริยานุโยคะ สำหรับข้อนี้ยืนยันชัดเจนว่าศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาหลับตา ถ้าเข้าใจคำสอนพระพุทธเจ้าแค่นี้ไม่ชัดเจน ตีไม่แตก ในความหมายสัจธรรมของพระพุทธเจ้า คุณก็เข้าใจอะไรไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นตัวยืนยันเลยว่า ฌาน ในจรณะ 15 เป็นข้อ 12 13 14 15 เป็นฌาน 1 2 3 4 มันเป็นอิทัปปัจจยตาแก่กันและกัน ปฏิสัมพันธ์กัน ในจรณะ 15 แล้วจะมีวิชชา 8 มาร่วมเป็นยาดำ
พุทธคุณ 9 ข้อจรณะ 15 วิชชา 8 เป็นพุทธคุณของศาสนาพระพุทธเจ้า แต่คนไม่เข้าใจ ทั้งๆที่มีหลักฐานสำคัญยิ่งใหญ่ยืนยันไว้ อาตมาพูดมาขยายความป่านนี้เขาก็ไม่กระดิกหู ฟังแล้วเฉยๆซื่อบื้อแล้วก็หลับตาอย่างเก่า แทนที่จะเรียนรู้ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา ก็ไม่แล้ว ก็ไปนั่งหลับตาอยู่นั่นแหละ ไม่มี อปัณกธรรม 3 ฌานก็นอกรีต ศีลก็ไม่ใช่ ไปนั่งสมาธิ ก็จะได้ฌาน
ซึ่งจริงๆแล้วคำว่าสมาธิ ยิ่งลึกยิ่งไกล เพราะว่าในจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่มีคำว่าสมาธิ มีแต่ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต วิริยะ สติ ปัญญา ซึ่งในอินทรีย์ 5 พละ 5 มีสมาธิ แต่ในจรณะ 15 ไม่มีคำว่าสมาธินะ
สู่แดนธรรม…ไปรวมที่ฌาน ทั้ง 4 ได้ไหมครับ
พ่อครูว่า…ทั้งหมดโดย ปฏิบัติจรณะ 15 วิชชา 8 จะได้ จิตสะอาดตกผลึกเป็นอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา แล้วตกผลึกเป็นจิตที่สะอาด ผนึกแน่นควบแน่น เป็นจิตตั้งมั่น สมาธิอยู่ตรงนั้น
สู่แดนธรรม..จะดูได้อย่างไรว่าฌาน สมาธิ เป็นของพุทธอย่างไรก็ต้องดูจรณะ 15 ตอนที่ผมมาอโศกตอนแรกพ่อครูไม่ได้สอนจรณะ15 แต่ไม่ได้พูดว่าจรณะ 15
พ่อครูว่า..สอนเนื้อแท้แต่ไม่ได้เอาพระสูตรนี้มา
สู่แดนธรรม…สิ่งแรกที่ผมเห็นง่ายๆคือ พระชาวอโศกไม่รับเงินทอง ไม่ได้บวชเล่นๆแต่เอาชีวิตมาให้เลย ยังรับเงินเดือนอยู่ก็มาบวชไม่ได้ ถ้ามีภรรยาไม่เซ็นหย่าก็มาไม่ได้ ผมเลยประทับใจมาก ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ก็ยังคงสภาวะนี้ตลอดมา
พ่อครูว่า…ก็เราไม่ได้ทำเล่น เราทำจริงจะไปทำเหลาะแหละทำไม มันเป็นสัจธรรมที่เป็นหนึ่งเดียว เป็นแล้วเป็นเลย แล้วยิ่งเห็นจริงว่า ธรรมะพระพุทธเจ้าที่เป็นโลกุตระธรรมดังที่กล่าวมานี้ เป็นธรรมะที่ชาวโลกเขาไม่ค่อยรู้เรื่องไม่ค่อยเข้าใจ ชาวพุทธที่บอกว่าเป็นอาจารย์เป็นปราชญ์ทางศาสนาพุทธก็ยังไม่ทราบซึ้งโลกุตรธรรมอย่างที่ว่า
อาตมานำเอาเนื้อแท้ๆของศาสนาพุทธมาเปิดเผย ได้ยืนยันว่าพุทธต้องเป็นอย่างนี้ ผู้ที่เป็นปราชญ์ผู้รู้ทางศาสนาที่เป็นเจ้าแห่งความรู้อยู่เลย ฟังแล้วก็ขัดแย้งกับเขา บางคนสอนมา 20 30 40 50 โพธิรักษ์มาโผล่ขึ้นมาขัดแย้งกับเขา มันก็เลยต้องแย้งๆๆๆ ก็เกิดเหตุการณ์ เห็นความเป็นจริงที่มันเกิด ก็เอามาเป็นเครื่องยืนยันชี้แย้งว่า ศาสนาพุทธที่เข้าใจกันและก็ยึดถือการปฏิบัติการ เราก็เข้าใจอย่างหนึ่งเขาก็เข้าใจอย่างหนึ่ง ขัดแย้งกัน จึงเห็นว่าจริงๆแล้วมันไม่ใช่แล้ว
ถ้าอาตมาผิด กระแสหลักที่เขายึดถือกันอยู่นั้นถูก ป่านนั้นอาตมาม่อยกระรอกไปนานแล้ว ไม่สามารถเชื่อมโยงมาจนถึงป่านนี้ได้
สู่แดนธรรม…นักศึกษาที่มองสังคมขัดแย้งกัน ก็จะมองว่าฉันถูกของเธอผิด ก็จะเกิดสงครามกัน ของชาวอโศกมีลักษณะเช่นนี้จะทำให้ไม่เกิดสงคราม
พ่อครูว่า…ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาที่ทำให้เกิดสงคราม แม้จะมีหลายนิกายก็ไม่เคยมีตีรันฟันแทงกัน เป็นเรื่องแก่งแย่งกันขัดแย้งร้ายแรงกัน ขั้นทำลายกันจริงๆ เหมือนอย่างกับศาสนาอื่น พุทธไม่มีเรื่องนี้เพราะมีนัยอะไรหลายอย่างไม่เหมือน
พูดไปแล้วดูเหมือนจะยกตัวอย่างตนไปข่มศาสนาอื่น
สู่แดนธรรม…เราไม่ได้ยกตนแต่เรามาดูว่า ชาวพุทธเราทำอย่างไรกับความขัดแย้ง พ่อท่านใช้การยอม
พ่อครูว่า..ยอมนั้นก็หนึ่ง อีกหลักคือ นานาสังวาส ยึดถือกันแล้วก็ให้อิสระเสรีภาพให้อิสระตามแต่จะยึดถือ วิจารณ์กันไปตำหนิกันไปได้ปฏิกโกสนา ติติงกันอย่างแรง ของคุณผิดอย่างไรก็พูดได้แต่อย่าให้เกิดอธิกรณ์ฟ้องร้องกัน แต่แย้งกันเกิดแน่ ห้ามไม่ได้ แต่ต้องอธิบายการขยายความคำว่าตรงนั้นถูกตรงนี้ผิดอย่างไร แล้วเอามรรคผลมายืนยันกัน ชาวอโศกก็ปฏิบัติได้มรรคผลตามแบบชาวอโศก เป็นฌาน ลืมตา สมาธิชาวอโศกก็เป็นสมาธิลืมตา แม้แต่นิโรธของชาวอโศกก็เป็นนิโรธลืมตา
สรุปแล้วชาวอโศกไม่ต้องเป็นนั่งปฏิบัติหลับตา จะหลับตาก็เข้าใจว่าจะใช้ทำอะไร เช่นการใช้เป็นการตรวจสอบเตวิชโช บุพเพนิวาสานุสติญาณ เราผ่านอะไรมากิเลสเกิดกิเลสดับอะไรก็รู้ มันเกิด เกิดได้อย่างไร จุตูปปาตญาณ แล้วเราก็สามารถดับได้ด้วยวิธีนี้ๆ เห็นความเกิดความดับ จนกระทั่งเราทำให้กิเลสดับได้ จนสิ้นอาสวะ ก็สามารถรู้มีเตวิชโช ตรวจสอบได้
การหลับตาเตวิชโช ไม่ใช่ภาคปฏิบัติ แต่เป็นภาคการตรวจสอบวัดผลที่ได้ผ่านมาแล้ว เพื่อย้ำยืนยันว่าจะได้เสร็จกิจหรือยัง การลงบัญชีตรวจสอบผลสุดท้าย ไม่เป็นกาลปัจจุบันด้วย หลับตาไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติ จะเป็นการตรวจสอบ การปฏิบัตินั้นลืมตาตลอด ที่จริงตรวจสอบเตโชไม่ต้องหลับตาก็ได้ ใช้สมาธิ ฌาน เพ่ง อ่าน บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณไม่ต้องหลับตาก็ได้ สำหรับคนทำหลับตาก็ทำได้แต่หากบางคนไม่หลับตาก็ไม่ได้ก็ต้องทำ แต่หากหลับตาปิดหู เอาสำลีอุดหูก็ทำให้ช่วยให้เพ่งได้ดี อย่างนี้เป็นต้น
นิพพานกับเบิกบานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
_เหนือไฟฝัน_อารมณ์นิพพานกับอารมณ์เบิกบานเหมือนกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
พ่อครูว่า…ถามจุดสำคัญจะเอาไปใช้ได้เลยหรือ เอาไปใช้ให้ได้นะ ที่ถามว่า อารมณ์นิพพานกับอารมณ์เบิกบานมันเกี่ยวข้องหรือเหมือนกันอย่างไร
อารมณ์นิพพานเป็นอย่างไร ผู้เป็นอรหันต์จะรู้ได้ อาตมาประกาศตัวเองว่าเป็นอรหันต์ก็ต้องรู้อารมณ์นิพพาน แล้วอารมณ์จิตเบิกบานเป็นอย่างไร จิตเบิกบาน ภาษาบาลีว่า อภิปปโมทยังจิตตัง มันมีอยู่ในนิพพานหรือไม่ มี ท่านจึงใช้คำว่า อภิกับปโมทะ แปลว่าเบิกบานแล้ว แต่อภิมันยิ่ง ยิ่งกว่าเบิกบาน เอาพยัญชนะภาษามาแตก
ถ้าเป็นเบิกบานแบบโลกมันก็แบบโลกีย์ นี่มันเหนือกว่าเบิกบานแบบโลกๆซึ่งใช้คำว่า อภิปปโมท อารมณ์อย่างนี้แหละเรียกว่าอารมณ์นิพพาน
คำความนิพพานของพระพุทธเจ้าจึงไม่ใช่นิพพานแบบนั่งนิ่งๆแข็งๆ ไม่มีกิเลสไม่มีความขึ้นลงไม่กระดุกกระดิก ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ แล้วก็เลยแข็งทื่อ เหมือนก้อนเหมือนก้อนหินมันไม่ใช่เลย นิพพานของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอารมณ์ที่ไม่มีกิเลสเข้าไปกวนในจิตเลย จิตยิ่งคล่องแคล่ว ทั้งกายปาคุญญตา ทั้งจิตปาคุญญตา
กายปาคุญญตา หมายความว่าอย่างไรเกี่ยวข้องกับภายนอกภายในทั้งหมด สัมผัสกับโลก สัมผัสทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก เจตสิก โดยเฉพาะเจตสิก 3 เวทนา สัญญา สังขาร
กาย แปลว่า องค์ประชุม หมวดหมู่ กายไม่ได้แปลว่าหนึ่ง ไม่ได้แปลว่าสรีระที่เป็นร่างที่ไม่มีจิต ไม่ใช่ ตรัสไว้ชัดเจนว่า ตถาคต เรียกกายว่า จิต มโน วิญญาณ ย้ำว่า เน้นเอา จิต มโนวิญญาณ เป็นหลัก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เอาภายนอกแต่ว่าเอาที่จิตหลัก แต่ก็ต้องไม่ขาดจากภายนอก
คำว่ากาย คำนี้ จึงเป็นคำแรกใน สังโยชน์ 10 จะต้องรู้จักคำว่ากาย หากคนเข้าใจคำว่ากายคำแรกไม่ได้ก็จบ ไม่ต้องเรียนธรรมศาสนาพุทธ ถ้ายังไม่สัมมาทิฏฐิอันนี้ ต้องรู้ กาย ของตน แยกกาย แยกจิตของตนให้ออก สักกะ แปลว่าของตน ตัวตน กายะ คือ สภาพของรูปนาม สภาวะ 2 ภายนอกภายใน และเกี่ยวข้องการปรุงแต่งกันอยู่ 2 ต้องรู้อันนี้
แล้วมันต่างกันกับจิตอย่างไร พระพุทธเจ้าบอกว่ากายคือจิตมโนวิญญาณแต่แตกต่างจากจิต ก็ต้องแยกกายแยกจิตนี้ให้ออกด้วยเป็นมูลกรรมฐาน 5 สุดยอดเลย
เพราะฉะนั้นพระบวชใหม่ อุปัชฌาย์จะต้องอธิบายมูลกรรมฐาน 5 นี้ให้แก่สัทธิวิหาริก อธิบายให้แยกกายแยกจิตให้เป็น ไม่งั้นบวชไปก็สูญเปล่าไปไม่รอด
ผู้ที่แยกกายแยกจิตได้ จะรู้ว่าเมื่อไหร่จิตของเราเป็นกาย เมื่อไหร่จิตของเราไม่ใช่กาย เมื่อไหร่จิตเราไม่เป็นกาย ส่วนนั้นไม่เป็นจิตแล้วไม่เป็นพีชะ แต่เป็นอุตุ สภาวะแบบดินน้ำไฟลมไม่ใช่ชีวะ จิตเราจะสามารถมีสภาพอย่างนั้นได้ในขณะเป็นๆสามารถทำให้จิตเป็นอุตุได้
และทำให้จิตเป็นพีชะได้ จิตนิยามก็คืออย่างนั้น แล้วเราต้องเรียนรู้อย่างนั้นโดยทำได้โดยกรรมนิยาม แล้วทำให้ทรงไว้เป็นธรรมนิยาม ในธรรมนิยาม 5 ข้อนี้จึงเป็นสุดยอดของศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นแม้แต่วิทยาศาสตร์ของโลกก็ไม่สามารถรู้ได้ เรื่องนี้ ยิ่งใหญ่มาก ถ้าไม่รู้อันนี้เป็นอรหันต์ไม่ได้ เมื่อตายแล้วจะแยกธาตุจิตของตัวเองให้เป็นอุตุไปเลยเป็นไปตามไปลงไปเลย ทั้งหมดสิ้นแม้แต่พีชะ ชีวะ หมดสิ้นอัตภาพของจิตนั้นหมดไปเลยในมหาจักรวาลนี้สูญไปเลย นี่คือดับจิตวิญญาณดับอัตภาพของอรหันต์ได้ เป็นปรินิพพานเป็นปริโยสาน
_สู่แดนธรรม แล้วนิพพานก็เป็นจิตเบิกบานด้วย
พ่อครูว่า..จิตยิ่งไม่แข็งทื่อ แต่จิตแคล่วคล่องว่องไง
_สู่แดนธรรม นิพพานนั้นอะไรก็ปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้เหมือนพระอาทิตย์ไม่เป็นอย่างอื่นแล้ว
พ่อครูว่า..จิตยิ่งคล่องแคล่วปราดเปรียว บางคนก็จะไปคิดว่าท่าทีอย่างกับลิงนี้หรือเป็นอรหันต์ แต่นี่แหละคือ กายปาคุญญตา องค์ประกอบภายนอกภายในกายกรรมวจีกรรมคล่องแคล่ว จิตปาคุญญตา แม้แต่จิตไอ้ตัวประธานจะยิ่งคล่องแคล่วไม่แข็งทื่อ มันเป็นความเข้าใจผิดของศาสนาพุทธกระแสหลักที่เขานั่งหลับตาแล้วก็หยุดนิ่งแข็งมันเหมือนเดียรถีย์ มันตรงกันข้ามกันหมดเลย เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นมิจฉาฌาน มิจฉาสมาธิปัญญา
_สู่แดนธรรม…ถ้ามีความรู้สึกเบิกบานจะมีตัวตนเอง ขอให้พวกเราดูธงสุญญตา ผมเข้าใจว่า ตรงกลางเป็นดวงตะวันคือนิพพานและมีรังสีแผ่ไปถึงความเบิกบาน
พ่อครูว่า..เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก ต้องให้มาดูเป็นอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ไม่ใช่อย่างอาจารย์มั่นสายนั่งหลับตา แม้แต่พวกเปรียญ 9 เป็นด็อกเตอร์
อรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ ประกาศไปไม่ใช่อวดตัว แต่ประกาศเพื่อเอาของจริงมายืนยัน ว่ามันเป็นจริงของจริงปรากฏจริง สภาวะจริงคนจริงนี่คืออรหันต์จริงๆเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่เข้าใจว่าจะมองไป แย้งตามที่ตนได้เรียนมาและยึดถือว่า มันขัดแย้งกับที่อาตมาเป็นอยู่กายกรรม วจีกรรม นัจจะคีตะวาทิตะ มันขัดแย้งกับที่เขาศึกษามาหมด เขาศึกษาจึงเอียงโต่งไปทางฤาษีเดียรถีย์ ไม่ใช่ตัวตนของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เลย เขาก็เลยยิ่ง ไม่รู้จะพูดอย่างไร อาตมาจึงยิ่งจำเป็นต้องแสดงความจริงว่าถูกมันต้องเป็นอย่างนี้ๆๆ มันเป็นรายละเอียดที่บางอย่างอธิบายไม่ได้มันต้องแสดงออก ตัวอาตมา 1 คน คนอื่นๆที่มาปฏิบัติธรรม อาตมามีสมณะต่างๆ ทั้งนั้นแหละไม่ว่าจะเป็นท่านฟ้าไท ท่านถักบุญ ท่านด่วนดี ไม่ว่าจะเป็น สิกขมาตุ แต่ละรูปก็แสดงท่าทาง แสดงอรหัตตผล ได้มรรคผลของศาสนา กิเลสเท่านั้นมันหลุด ประเด็นเหล่านี้ตั้งใจฟังให้ดี
คำว่าจิตกับกิเลส มันเป็นสอง จิตมันเป็นตัวดิ้นยิ่งกว่าลิง เร็วยิ่งกว่าลิง เพราะฉะนั้นจิตที่มันถูกกิเลสควบคุม มันก็จะเป็นลิงโง่ๆ ลิงรวนๆลิงไม่ได้เรื่องบ้าบอ พอเราล้างกิเลสออก จิตก็จะยิ่งเร็ว เร็วชนิดไม่ใช่แบบงูๆปลาๆไม่เข้าท่า กิเลสออกไปจิตมันก็เลยยิ่งแคล่วคล่องว่องไวตามลักษณะของอรหันต์ ตามลักษณะของจิตที่เป็นอริยะคุณ มันก็ยิ่งดี ยิ่งเป็นพระอรหันต์แล้ว โอ้โห มันจะความเร็ว ว่าจิตมันเร็วเหมือนลิง อรหันต์จึงมีจิตเร็วยิ่งกว่าลิงอีกนะ ยกกำลัง 10 ทำให้กายกรรมคลอ่งแคล่ว กายปาคุญญตา ยกกำลัง 10 ทำให้จิตคล่องแคล่ว ^ 10 ชัดเจนไหม
_สู่แดนธรรมว่า..สายหลับตาบอกว่า จิตมันเหมือนลิงต้องเอาโซ่ไปผูกไว้
พ่อครูว่า…มันจะซนโง่เพราะอวิชชา แต่หากไม่อวิชชาก็จะคล่องแคล่วเป็นคุณ มันเร็วเท่าไหร่ ก็ยังคุณค่า แก่คนอื่นแก่โลกมากเท่านั้นจะไปมัดลิงไว้ทำไม แต่ที่มันเป็นลิงโง่ๆ ลิงบ้าก็ต้องไปล้างอันนั้นเมื่อหมดไปแล้วก็จะเป็น กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา มีเวทนาสัญญาสังขารที่คล่องแคล่ว มีกายที่คล่องแคล่วนี่ต่างหากเป็นพระอรหันต์
สู่แดนธรรม..อรหันต์ที่เขาเข้าใจต้องเป็นลิงหงอย
พ่อครูว่า..ใช่ ชัดขึ้น วันนี้อธิบายลักษณะสัจธรรมชัดเจนขึ้นมาก ก็ถ้าเธอว่าผู้ใดตั้งใจ ได้ฟังก็จะเข้าใจว่าแตกต่างจากที่เคยได้ยินได้ฟัง โอ้ มีอัญญาสิ วตโพโกญทัญโญ แปลกนะ ไม่ได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย วันนี้อธิบายได้ลึกซึ้งซับซ้อนชัดเจนขึ้น ถ้าผู้ที่แสวงหาไม่มีอคติก็จะได้ อาตมาขอยืนยันว่าไม่ได้แกล้งไม่ได้เสแสร้ง ไม่ได้ทำตัวปกปิด ไม่ได้ควบคุม แต่เป็นไปดูอิสระเสรีจึงเป็นไปอย่างนี้แหละ เพราะอรหันต์เป็นคนจริงๆอย่างนี้แหละ สัญญา ของอาตมาเป็นอย่างนี้ เวทนาของอาตมาบริสุทธิ์แล้ว สังขารของอาตมาก็เป็นไปตามที่เข้าใจในการมีนัจจะคีตะวาทิตะ นัจจะคือท่าทาง คีตะคือสำเนียงเสียง วาทิตะคือ ภาษาที่เลือกออกไป นี่คือ นัจจะคีตะวาทิตะ ของพระอรหันต์
ฟังแล้วคนจะรู้สึกว่าเหมือนกับหลงตัวเอง เอามาพูดส่งเสริมตัวเองให้ยิ่งขึ้นอีก ว่า อรหันต์เป็นอย่างนี้เลย เขาว่าอรหันต์ต้องสำรวมสังวร
สังวรสำรวมอย่างไรได้ล้างกิเลส
คำว่าสังวรสำรวมคุณก็ไม่เข้าใจ สังวรสำรวมนั้น สังวรสำรวมกายวาจาใจ สำรวมตาหูจมูกลิ้นกาย สำรวมนั้นไม่ได้หมายความว่าจะให้มันมาอยู่นิ่งๆ สำรวมนั้นคือมีสติสัมปชัญญะปัญญาหรือว่ากิเลสเข้ามาร่วมกับสติสัมปชัญญะปัญญา หรือจิตของเราเมื่อไหร่รู้กิเลสจับกิเลสให้ทัน ล้างกิเลสออกให้ได้ ๆ อย่างนี้ต่างหากนี่คือสำรวมสังวรของพระพุทธเจ้า จิตของคุณจะแคล่วคล่องกายกรรมของคุณจะแคล่วคล่องอย่างไร ก็เป็นธรรมชาติของคุณแต่ คุณต้องอ่านทุกกรรมกิริยาของคุณมีกิเลสร่วมหรือไม่ ถ้าคุณเองไม่มีปฏิภาณไหวพริบ มุทุภูตธาตุของคุณไม่ไวพอที่จะจับทันคุณก็ต้องให้ช้าลงหน่อย
แต่ทีนี้คุณพาซื่อเกินไป เพราะว่าไม่มีสติสัมปชัญญะปัญญาไม่มี มุทุภูตธาตุ ไม่ไหวพอที่จะจับได้คุณก็ต้องสำรวมสังวรแบบ กดมัน กายก็ช้า ย่างหนอ ออกทางกายกรรมวจีกรรมก็ช้า เลยไปหลงโต่งไปทางยึดความช้าไปหมดเลย อาตมาอธิบายดีแล้ว เข้าใจได้
เพราะพวกคุณมันยิ่งกว่าเด็กต้องจับผูกมัดไว้ ล่ามไว้ เพราะพวกคุณยังเด็กมาก
_แซมดิน…พ่อท่านพูดเหมือนกิเลสมันจะค่อยเข้ามาแล้วต้องจับให้ทันแต่ กิเลสมันมีอยู่ก่อนแล้วอยู่กับเรา แต่มันมีสิ่งกระตุ้นให้กิเลสออกมา
พ่อครูว่า..ใช่ ต้องเอาความจริงที่ว่าคุณจะไปปิดตาหูจมูกลิ้นกาย คุณมีทวาร 5 และใจ มาร่วมทำงานเท่านั้นเองสามัญ อย่าไปปิดมัน แล้วก็ต้องรู้ว่าตากระทบรูปกิเลสมันจะมาร่วม หูกระทบเสียงแล้วกิเลสมันจะมาร่วม อันนี้ต่างหากที่ให้เรียนรู้ในการที่จะจับ พระพุทธเจ้าบอกว่า มีหลักเกณฑ์คือ
ศีลข้อที่ 1 อันนี้เกี่ยวกับสัตว์จะสัมผัสกับสัตว์ หรือแม้จะสัมผัสกับคน คนก็คือสัตว์ สัมผัสแล้วสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกาย กิเลสมันเกิด จะสัมผัสคน จะสัมผัสผู้ชายกับผู้ชาย จะสัมผัสผู้ชายกับผู้หญิง หรือผู้หญิงกับผู้หญิงสัมผัสกัน สัมผัสคน แล้วมันจะเกิดกิเลสออกมา ไม่ว่าจะเป็นราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ คุณก็พยายามจับกิเลส นี่คือศีลข้อที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติ
ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับของ ไม่ว่าจะเป็นดินน้ำไฟลม พืชพรรณธัญญาหาร หรือของกินของใช้วัตถุอะไรต่างๆ นานาก็แล้วแต่ มันก็ต้องสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวันที่คุณต้องใช้สิ่งเหล่านี้ เป็นของกินของใช้ เมื่อสัมผัสแล้ว คุณเองทุจริตกับการสัมผัสนั้นมาไอ้ที่ไม่ใช่ของเรา ก็อยากได้ของของเขา อยากได้จนกระทั่งเป็นขโมย ก็คือ ของๆเขาไม่ใช่ของเรา 1. ปล้นชิงฆ่ามันเสีย แย่งของมันมา นั่นเลวร้ายที่สุด 2. จะแย่งชิงอย่างไรก็แล้วแต่ อย่างที่ทำกันทั่วโลกใช้อำนาจบาตรใหญ่ใช้อาวุธไปแย่งชิงเขามา 3. ใช้เล่ห์เหลี่ยม เพื่อที่จะทำให้เขาเอามาให้ เอามาเป็นของเราให้ได้ด้วยเหลี่ยมของการโกง ยึดเอามาเป็นของกู ซึ่งมันไม่มีที่จบเลยนะ
ข้อที่ 3 การสัมผัสตาหูจมูกลิ้นกาย มันเป็นการสัมผัสรส ก็ต้องลดกิเลสกามรส นี่อีกด้วย มันก็มีเท่านี้แหละ ข้อ 2 ก็เป็นวัตถุสมบัติ ข้อที่ 3 ก็คือ ลดกามคุณ
ศีลข้อที่ 1 2 3 นี่แหละเป็นตัวหลักของศาสนาพุทธ เรียนรู้เข้าใจสภาวะอาตมาขยายจากศีลทั้ง 3 ข้อนี้คนถือศีลทั้ง 3 ข้อนี้และปฏิบัติให้จริง แม้แต่ออกไปเป็นวจีกรรมก็ออกไปจาก 3 ข้อนี้ มาจากมโนกรรม ศีลข้อที่ 4 ข้อที่ 5 ก็มาจากหลัก 3 อย่างนี้ อาตมาย่อให้ชัดที่สุดแล้ว ถ้าเข้าใจแล้วปฏิบัติกับตัวเอง เมื่อสัมผัสแล้วเกิดกิเลสโลภโกรธหลง
ข้อที่ 2 เกิดโลภโกรธหลง
ศีลข้อที่ 3 เกิดราคะ โกรธ หลง ก็เรียนรู้ให้ชัดเจนและลดกิเลส
_แซมดิน..ผมคิดว่าคนในยุคนี้ถือว่าโชคดีกว่าในยุคพุทธกาล เพราะว่าสิ่งที่มาล่อลวงมีเยอะกว่าในสมัยพุทธกาล คนที่เกิดมาก็มีกิเลสมากกว่า ในพุทธกาล ที่ท่านฟังธรรมประโยคเดียวก็สำเร็จแต่ผมคิดว่าได้ฝึกเยอะกว่า เพียงแต่ว่าคนที่มาเกิดในยุคนี้ กิเลสเยอะด้วยเลยทำให้ต้องฝึกนานและหนักหนาสาหัสกว่า
พ่อครูว่า…ใช่
การแกล้งมีสองอย่างคืออย่างไร
_หลวงปู่คะ…ถ้ามีคนแกล้งเรา แล้วเราแกล้งคืน อย่างนี้จะผิดมั้ยคะ
พ่อครูว่า..การแกล้งกันมีสองนัย อันแรกคือแกล้งให้ได้รับความทุกข์ทรมานเดือดร้อน แต่ส่วนมาก ธรรมดาเป็นเพื่อนกันอยู่ด้วยกันมันจะมีแกล้ง มีเล่นกัน มันเป็นของดี มันเป็นเรื่องการแสดงออกเป็นมิตรสหาย ยิ่งเด็กมันจะเล่นๆแกล้งๆ มันเป็นธรรมดาธรรมชาติ ถ้าหากเพื่อนไม่คบกับเราไม่เล่นกับเราไม่แกล้งเราเลย จงรู้ไว้เสียว่าชักไม่ดีแล้วกลายจะเป็นหมาหัวเน่า เพื่อนทำไมไม่เล่นกับเราไม่แกล้งกับเรา คนที่ไม่แปลกใจเพื่อนแกล้ง มันเป็นธรรมดา คนเราก็มีนิสัยที่จะเล่น แม้แต่สัตว์เดรัจฉานตัวเล็กตัวน้อย มันก็เป็นความไม่เดียงสา ก็ต้องมีเป็นธรรมชาติ แม้แต่โตก็มีแกล้งกันเลย เพื่อให้มันไม่นิ่ง ให้เกิดปฏิภานปัญญา
-
การเล่นหัวแสดงออกมาความเป็นมิตรสหาย 2. แกล้งเพื่อให้เกิดประโยชน์คุณค่า เหมือนในหลวงใช้คำคำนี้ ท่านไป “แกล้งดิน” คำว่าแกล้ง เป็นประโยชน์คุณค่าอย่างมาก