631202_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ สุภกิณหาอย่างพุทธดับสุดสิ้นอาสวะ
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1lmAc_W-7LY-mqI2cqmh6ySUixk9sZ-jJs3U0mtAorhg/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1xILGln4a4XfzOVjbcUqjii7I9X2319Ar/view?usp=sharing
และยูทูปที่
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 ที่บวรราชธานีอโศก ได้ต้องการฟังธรรมเพื่อให้พ้นภัยจากโลกโลกีย์ก็เข้ามาฟังได้
ทิ้งสุขทิ้งทุกข์ได้คือประเด็นใหญ่ของศาสนาพุทธ
พ่อครูว่า…อาตมาก็ขอต่อจากท่านฟ้าไทที่ได้เกริ่นว่า พวกเราได้ทำอะไรต่ออะไรกันมีชีวิตอยู่กัน อาตมาก็ยิ่งมาเห็น เห็นความจริงว่าคนเรานี้ คนที่เกิดมาเป็นคน ต่างก็มีแนวคิดมีแนวชอบ จริงๆก็รู้กันอยู่ ชอบไปในแนวทางที่จะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข แม้แต่อย่างนั้นก็มีนัยยะที่แตกต่างกันบ้าง ที่ตรงกันก็คงไม่มีใครปฏิเสธที่จะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข แต่อีกแนวหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นแนวที่ปฏิเสธ เรียกว่าปฏิเสธจริงๆ ไม่ใช่แค่ว่าดัดจริตพูด ว่าพระพุทธเจ้าท่านรวยก็ได้จนก็ได้ ดัดจริตพูดไป พระพุทธเจ้าท่านยืนยันเลยว่ามาเป็นคนจน ท่านมาเป็นคนจน ก็ตัวท่านเองมาเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็มาเป็นคนจน ใช่ไหม
ยศศักดิ์อำนาจท่านก็มียิ่งใหญ่เบ้อเร่อ แต่ท่านก็ไม่เอา ชัดเจน ไม่ได้ดัดจริต มันก็ชัดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคนที่มีแนวคิดอย่างนี้มันจึงไม่ใช่คนธรรมดา เพราะคนธรรมดาทั่วไปนั้นยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข คนธรรมดาทั่วโลกเลย ศาสดาไหนๆก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ศาสดาบางองค์ก็พอเข้าใจเหมือนกันว่ามาจนนี้ดีกว่า แต่ก็ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะยืนยันว่ามาจน
อาตมายืนยันว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าให้มาจน ในธรรมะวรรณะ 9 อัปปิจฉะคือกล้าจน มักน้อย ชอบน้อยๆ ไม่ชอบมากๆ(มหัปปิจฉะ)แต่ให้ชอบมามีน้อยๆ ถึงขั้น อปจยะ ไม่สะสมเลย แต่วิริยารัมภะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นยอดมนุษย์จริงๆ
ทีนี้คนธรรมดาที่มันฝังหัวไว้ลึก กินลึกในจิตว่า มันจะต้องมีลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขจึงจะอยู่ได้ ไม่มีลาภ ยศ สรรเสริญ แล้วจะเป็นสุขได้อย่างไร คนเรามันก็ต้องเอาความสุข นี่แหละมันคือประเด็น
ประเด็นที่ใหญ่มากเลย ศาสนาพุทธไม่เอาทั้งสุขและทุกข์ อทุกขมสุข อันนี้แหละ ไม่มีใครพูดกัน แม้แต่ในวงการศาสนาพุทธ ขออภัยพูดจริงๆพูดตรงๆ เขาไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่า ศาสนาพุทธนั้นไม่เอาทั้งสุขและทุกข์ ต้องรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่าอาการความสุขเป็นอย่างไรอาการความทุกข์เป็นอย่างไร และที่ลึกซึ้งกว่านั้นก็คือความสุขกับความทุกข์นี้มันเป็นอาการที่แยกกันไม่ออก มันเป็นอารมณ์ลวง เป็นเรื่องอัลลิกะ เป็นเรื่องโกหก เป็นเรื่องเท็จ เป็นเรื่องมายา เป็นเรื่องไม่จริง ความทุกข์กับความสุขไม่ใช่เรื่องจริง นี่แหละคืออาริยสัจ สัจจะของผู้ประเสริฐ ผู้ฉลาด อาริยะหรืออริยะคือ ผู้ประเสริฐ ผู้มีปัญญาจริงๆ
เพราะฉะนั้นความรู้ในระดับ เฉกะหรือเฉโก เขาไม่ใช้กันแล้วคำนี้เขาไปใช้ปัญญากันหมด ซึ่งเขาเอามาใช้เรียกความฉลาดแบบโลกีย์แบบปุถุชน แบบเทวนิยม แบบโลก เจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ฉลาดเฉลียว สามารถที่จะมี ลาภได้เยอะ เป็นคนร่ำรวยมียศฐาบรรดาศักดิ์สูงๆได้รับคำสรรเสริญเยินยอมากมาย ก็บอกว่ามีความฉลาดซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เลย
ศาสนาพุทธมีปัญญา ไม่เอาสิ่งเหล่านั้นต่างหาก แม้มีแม้ได้ ก็ไม่ใช่ว่า เป็นหมาเห็นองุ่นเปรี้ยว เอาไม่ได้ก็เลยบอกว่าเป็นของไม่ดี ไม่ใช่ แต่จะเอาก็ได้เลย มีความรู้ความสามารถมีทุกอย่างพร้อมที่จะเอา แต่เราไม่เอา เราไม่สะสม เราไม่กักตุน เราเป็นคนยอดแห่งนักเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐกิจ ได้ สร้างสรรขึ้นมาได้แล้วเป็นเจ้าเข้าเจ้าของด้วย มีสิทธิ์ที่จะสะพัด เผื่อแผ่แจกจ่ายผู้อื่นไป ตัวเองไม่ต้องสะสม จนกระทั่งมีคนที่เป็นเช่นนี้ มีวรรณะ 9 อย่างพวกเรา มาพิสูจน์ได้ในยุคนี้เลย ในยุคทุนนิยมสามานย์นี่ แย่งลาภยศสรรเสริญสุขกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด
เรายังมาปฏิบัติตัวเองอยู่ท่ามกลางสังคมที่มีพฤติการณ์แย่งลาภ ยศ สรรเสริญ กันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด ได้ และอยู่ด้วยความทุกข์ด้วยเพราะไม่มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือไม่? ไม่ใช่ อาตมาจะลองดูพวกเราเกิดความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้หรือไหมว่า มาอยู่อย่างไม่มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อย่างพวกเราชาวอโศกและเป็นทุกข์กันไหม
พวกเราไม่ได้เป็นทุกข์ แต่เป็นสุขที่ไม่ใช่เป็นสุขทีเดียว แต่อนุโลมเรียกว่าสุข แต่เป็นสุขสำราญเบิกบานใจ ไม่ใช่อยู่อย่างอดทนฝืนลำบากใจ ใจลำบากแต่ก็ทำเต๊ะท่าว่าสุข ไม่ใช่ มันไม่ได้เป็นทุกข์ แล้วมันก็ไม่ได้ไปเสพสุข
คำว่าไม่สุขไม่ทุกข์หรือเป็นคำที่ชัดเจนก็คือ อุเบกขา อันนี้แหละ มีศาสนาพุทธศาสนาเดียวในโลกที่มีพระศาสดาตรัสรู้อารมณ์นี้ และไม่ได้เข้าใจกันง่ายๆ
เมื่อไม่เข้าใจกันง่ายๆ อาการของจิตที่ได้อารมณ์ต่างๆ เมื่อไม่เข้าใจถึงอารมณ์หรือเวทนา พระพุทธเจ้าท่านให้เรียนเวทนา เป็นกรรมฐาน เป็นฐานที่ร่ำเรียนจนจบ ผู้เรียนเวทนาให้ชัดเจนอย่างเดียวนี่แหละ แล้วจะมีอันอื่นประกอบเองด้วยเป้าหมายคือมีเวทนาเป็นตัวตั้ง ฐีติมีวิญญาณฐิติ เวทนาเป็นฐานะเป็นฐานที่ตั้งที่จะเรียน
แล้วเวทนาก็ชัดเจน ในปฏิจจสมุปบาทต้องมีผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะก็ไม่มีเวทนา ก็ไม่มีที่ตั้งก็เป็นเวทนาสัมภเวสี เป็นอย่างเรียกรวมว่าวิญญาณ แต่ไม่ได้เป็นอุปธิที่สมบูรณ์แบบที่มีรูปนามขันธ์ 5 ครบ แล้วก็มีอภิสังขาร
เพราะฉะนั้นมันไม่ได้เรียน รู้จักอุปธิเลย ศาสนาพุทธเรียนรู้ อุปธิ 3 อย่างนี้ กิเลสจะอยู่ในขันธ์ 5 นี้โดยมีความรู้อภิสังขาร 3 มีปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร เรียนรู้จนหมดอุปธิ หมดกิเลส บริสุทธิ์ด้วยขันธ์ 5 อภิสังขารบริบูรณ์จบ หมดด้วยวิชชา
ถ้าไม่ศึกษาถูกต้องอย่างนี้ก็จะเป็นอวิชชาอยู่อย่างนั้น อวิชชาก็จะไม่รู้จักสังขาร แต่ผู้ที่มีวิชชาจะเริ่มเรียนรู้สังขาร แล้วจัดการกับสังขารต่างๆ ให้บริสุทธิ์สะอาดจากกิเลสทั้งหมดเลย ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จบด้วยพลังงานระดับบุญ
พลังงานระดับบุญนี้ อาตมาว่ามันไม่ใช่จะรู้และเข้าใจได้ง่ายๆ
อาตมาคงจะพูดเรื่องบุญนี้ไปอีกนาน อายุเพิ่มไปอีก หลายสิบปี ชาวพุทธในเมืองไทยจะมีความรู้กับเรื่องของบุญขึ้นมาไหม
คำว่า กาย คำว่าบุญ อาตมาอธิบายไม่เหมือนเขา ไม่ต้องพูดถึงเรื่องฌาน สมาธิ ก็ไม่เหมือนเขาแน่นอน
คำว่า กาย ไม่เหมือนที่เขาอธิบาย อาตมาเอามาขยายความคิดว่าไม่มีใครขยายความอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้ขนาดไหนในยุคนี้ …ผมพูดมากไปหรือเปล่า
สมณะฟ้าไท…ไม่มากครับ ฟังจากที่อื่นพูดธรรมะจากพระไตรปิฎกแต่ปฏิบัติเข้าไปนั่งหลับตา
พ่อครูว่า…บุญไม่ได้เป็นกุศล ถ้าเข้าใจว่าบุญเป็นกุศลมันก็ไม่มีนิพพานเพราะกุศลมันเป็นสมบัติแต่บุญมันเป็นวิบัติ บุญมันฉิบหาย กุศลมันมากมาย งอกงามไพบูลย์ มันมีอยู่ตลอดกาลนานกุศล บุญจะเป็นได้ในปัจจุบัน บุญ เกิดได้ในปัจจุบันเป็นพลังงานที่เกิดในปัจจุบัน ถ้าคนที่ไม่สามารถทำพลังงานให้เกิด ฌาน ได้ ไม่เป็นบุญ
ตัวนี้จึงยาก เพราะคำว่าบุญไม่มีในจรณะ 15 แต่มีคำว่าฌาน และความเป็นฌานของศาสนาพุทธก็ต้องเกิดแบบตามกระบวนการของจรณะ 15 วิชชา 8 ถ้าไม่รู้จริงๆว่า จรณะ 15 วิชชา 8 คืออะไรบ้างและปฏิบัติถูกต้องครบกระบวนการของจรณะ 15 วิชชา 8 ฌาน มันก็ไม่เกิดสมบูรณ์ มันเป็นฌานนอกรีตทางศาสนาพระพุทธเจ้าไปเลย
ฌานวิสัย เป็นเรื่อง อจินไตยในอจินไตย 4
-
พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
-
ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน .
-
วิบากแห่งกรรม
-
ความคิดเรื่องโลก (จักรวาล เอกภพ)
(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 77)
ความรู้ที่สมบูรณ์แบบวิสัย มันต้องชัดเจนว่าอาการ ฌาน คืออาการอย่างไรของจิต คือพลังงานที่เป็น อุณหธาตุ เป็นพลังงานไฟ ฌาน แปลว่าไฟ
โชคดี พจนานุกรมไทยมีติ่งคำแปลว่าไฟ ก็ยังดี แต่พจนานุกรมส่วนมากแปลว่า การเพ่ง หรือการทำสมาธิ อะไรพวกนี้ ซึ่งจริงๆแล้วจะว่าไปแล้ว ฌานนี่นะ ถ้าจะพูดจริงๆมันไกลจากความเป็นสมาธิด้วยซ้ำ
สมาธินั้นคือ จิตที่ล้างกิเลสออกไปหมด ก็คือล้างฌานนี่แหละ บุญจะกำจัดกิเลสออกหมด จนจิตสะอาดเป็นอุเบกขา จิตนั้นจึงจะมารวมกัน สั่งสมตกผลึกเป็นสัมมาสมาธิ
ซึ่งจริงๆของพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต
สมาธิเป็นภาษาทั่วไป แต่ของพระพุทธเจ้าเป็น สมาหิโต
ผู้ปฏิบัติทำจิตให้ไม่เกิดกิเลสถูกต้องได้จริง จิตที่ถูกต้องจะมีผลในกระบวนการ มีญาณที่รู้ด้วยเจโตปริยญาณ 16 ละลายกิเลส
เจโตปริยญาณ 16 จิตในจิต
คือ การกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น (รู้สัตว์ชั้นต่ำสูงในจิตตน-ปรสัตตานัง) .
รู้บุคคลชั้นต่ำ-สูงอื่นๆในจิตอาริยของตน(ปรปุคคลานัง) เป็นปรมัตถ์.
-
สราคจิต (จิตมีราคะ)
-
วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
-
สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
-
วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
-
สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
-
วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
-
สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) .
-
วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
-
มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)
-
อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)
-
สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ)
-
อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) .
-
สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)
-
อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์)
-
วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . .
-
อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) .