631113_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ สัตตาวาส 9 วิญญาณฐีติ 7 วิโมกข์ 8 อนุปุพพวิหาร 9 ตอน 1
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/14ZJz2FWzj5ooctfpZyEG-7M-qGztPQeA-FlkN6X-Np4/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1O6t5WAwEH5LyLBwwzOvIdUCjgbpvA-Jc/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/POoO-TOL_i0
สมณะเดินดินว่า…วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่บวรราชธานีอโศก วันแรม 13 ค่ำเดือน 12 ปีชวด บวรต่างๆก็ได้ประชุมกัน ได้ข้อสรุป เรื่องการจัดงานแบบออนไลน์ ทำให้บรรยากาศในแต่ละชุมชนบวรมีความคึกคักขึ้น ที่ราชธานีอโศกก็ได้ลดภาระลงไปด้วย เพราะว่าแต่ก่อนนี้จัดงานที่ราชธานีอโศกเป็นส่วนใหญ่ ปีนี้ลดเวลาการจัดจาก 7 วันหรือ 5 วัน มีการบำเพ็ญคุณบำเพ็ญธรรม ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564
สัมมาทิฏฐิ 10 โดยสยังอภิญญา
พ่อครูว่า…วันนี้คงจะได้ฤกษ์อธิบายหลักการธรรมะสำคัญของพระพุทธเจ้า สัตตาวาส 9 วิญญาณฐีติ 7 วิโมกข์ 8 อนุปุพพวิหาร 9
เมื่อตรวจสอบตามคำสอนพระพุทธเจ้าแล้วมันไม่เข้ากับหลักเกณฑ์อะไรพวกนี้เลย พูดกันไม่รู้เรื่องเลย มันก็เป็นการปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธ ไม่ได้เข้าใกล้ของพระพุทธเจ้าเลย ไกลกัน เป็นของเดียรถีย์ไปเลย ย้ำแล้วย้ำอีกอย่างพวกไปหลับตาปฏิบัติ มันโมฆะเลยเป็นเดียรถีย์ไปหมดเลย ศาสนาพุทธผ่านมา 2,500 กว่าปี ครึ่งพุทธกัปป์ของศาสนาพุทธไปแล้ว มันหมดสิ้นเห็นผิดเพี้ยนกันไปอย่างที่เรียกว่ากู่ไม่กลับ ต้องใช้คำนี้
จะพูดอย่างไรเขาก็ไม่ฟัง เพราะว่าเขาถือว่าอาตมาไม่มีเครดิต ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่เป็นครูบาอาจารย์มาจากสำนักไหน มีอาจารย์สืบทอดมา ดันบอกว่าตัวเองรู้มาแต่ชาติก่อนด้วย เขาก็เลยยิ่งหมั่นไส้ เพราะเขาไม่มีความรู้เรื่องสยังอภิญญา ผู้ที่มีความรู้เป็นอภิญญาของตัวเอง เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเอง เอาคำธรรมะนี้มาอธิบายให้แจ่มแจ้งชัดเจนตามที่ท่านตรัสไว้ในข้อที่ 10 ของสัมมาทิฏฐิ 10 เขาก็ไม่เชื่อกัน
ข้อที่ 10 นี้เป็นข้อสำคัญ ที่ยากจะเข้าใจ สัมมาทิฏฐิ 10 ข้อนี้เข้าใจยากทั้ง 10 ข้อ มันก็เลยมิจฉาทิฎฐิไปทั้งหมด 10 ข้อ พูดได้เลยว่าเขามิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิเป็นประธานของการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ข้อแรก เมื่อผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิข้อแรกเลย ติดกระดุมเม็ดแรกผิดมันก็ผิดไปหมดเลย ทานก็ผิด ปฏิบัติศีลก็ผิด ปฏิบัติจะให้เกิดหุตังก็ไม่ได้แล้ว เข้าใจผลที่มันได้มาจากการปฏิบัติทานและศีลผิด สังเวยที่บูชาแล้วเป็นสำนวนโบราณ คือการได้รับผลแล้วสังเวยที่ได้บวงสรวงแล้วคือ จิต มันได้รับผลจากการปฏิบัติทานและศีลแล้วก็เกิดหุตัง เขาก็ไม่รู้สภาวะธรรมอันนี้ ก็ไปแปลกันเป็นภาษาที่เหมือนกับคนจีนไหว้เจ้า สังเวยที่บูชาแล้ว เอาไก่ย่างเอาอะไรไปให้ถวายเจ้า สังเวยที่ได้บูชาแล้ว มันก็เลยไปกันใหญ่น่าสงสารไม่รู้จะพูดอย่างไร
ยิ่งลึกเข้าไปกว่านั้นเข้าใจ สุกตทุกฎานังผลังวิปาโก หมายถึง กรรม มีกรรมมีวิบาก ปฏิบัติธรรมก็ได้ทุกข์บ้างสุขบ้างตามกรรมที่เราได้ปฏิบัติก็เป็นผลวิบาก สัมมาทิฏฐิที่ข้อที่4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งกรรมไม่ใช่ศาสนาแห่งก๊อด กรรมเป็นใหญ่กรรมเป็นทุกอย่างปฏิบัติกรรมได้ถูกต้องสัมมาทิฏฐิ บรรลุทุกอย่างสูงสุดเลย แม้แต่ที่สุดจะเป็นพระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติกรรม
ข้อที่ 5 ข้อที่ 6 ยิ่งไปกันใหญ่เลย มาตา มี ปิตา มีแม่มีพ่อมีก็ยิ่งไปกันใหญ่เลยไม่รู้เรื่องเลยว่ามันหมายถึงอะไร แม่มีพ่อมีมารดามีบิดามี อัตถะมาตา อัตถิปิตา ก็ไปแปลกันว่าบุญคุณของแม่มีบุญคุณของพ่อมีไปโน่นเลยเห็นไหม ซึ่งมันก็น่าเห็นใจเลยมันไม่มีสัมมาทิฎฐิแล้วไม่มีเนื้อหาสาระของโลกุตรธรรมของพูดแล้วมันก็เลยไม่รู้
มาตา ปิตานี้ มันหมายถึงเป็นแม่ทางปรมัตถธรรมศีลเป็นแม่ปัญญาเป็นพ่อ โพชฌงค์ 7 เป็นพ่อมรรคมีองค์ 8 เป็นแม่ ก็ไม่เคยเห็นคนอื่นอธิบายอย่างนี้ ถามว่าเอามาจากไหน อาตมาก็บอกว่าเอามาจากพระพุทธเจ้า ก็มันไม่มีคนอื่นพูด ไม่ได้บันทึกไว้ ไม่ได้เก็บมา คำสอนอันนี้ ก็ไม่มี หรือว่าท่านบันทึกไว้แต่คุณเข้าใจไม่ได้เอง มาตา ปิตา คุณเข้าใจไม่ได้ก็เลยปฏิบัติไม่ได้
ยิ่งสัตว์โอปปาติกะ กลายเป็นสัมภเวสีที่ล่องลอยไปเป็นวิญญาณ ล่องลอยไปเป็นรูปร่างตัวตนเป็นนิทานกี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ที่เป็นเทวดาเป็นมารพรหม เป็นนิยายอะไรเยอะเลย เหมือนอย่างกับอาจารย์มั่น หนักเข้าก็ไปพบกับเทวดามาจากเยอรมันแล้วไปสอนการตอบโต้ธรรมะกัน มันก็น่าสงสารซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิไปหมด
อาตมาพูดก็ยิ่งน่าเห็นใจเขา เพราะว่าอาจารย์มั่นเป็นพระอาจารย์ใหญ่ของเขา ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรอาตมาจะเป็นต้องพูดสัจจะความจริง ไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไร แต่น่าสงสารเขาด้วย เขานึกว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว ซึ่งเป็นการบรรลุมิจฉาปฏิบัติ มหาบัวก็เหมือนกันบอกว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้วว่ากันไป อาตมาต้องพูดว่าเขาเข้าใจผิดจริง แล้วก็เห็นอยู่ทนโท่แล้วหลงผิดไปยึดติดๆมันน่าสงสารไหม อาตมาสงสารจริงๆจึงต้องพูด
พูดแล้วเหมือนกับถล่มทลายก็เพราะว่าพูดในสิ่งที่เขาผิดก็เลยต้องถล่มทลายหรือจะให้มายกย่องเชิดชูบูชาได้อย่างไร มันก็ต้องถล่ม เกิดมาทำหน้าที่นี้ เลี่ยงสัจจะนี้ไม่ได้ก็ต้องพูด ขนาดนั้นก็ยังไม่กระเตื้อง ไม่สะดุ้ง ไม่สะเทือน ไม่ฉุกคิด ไม่มีปรโตฆษะ ยึดมั่นถือมั่นเลยเพราะฉะนั้นจึงอโยนิโสมนสิการ ไม่สามารถจะมีโยนิโสมนสิการ คือปฏิบัติธรรมให้ถึงขั้นตรงลงไปถึงที่เกิดเหตุ หรือปฏิบัติธรรมได้สัมมาทิฏฐิถ่องแท้ แยกกายวาจาเข้าไปถึงที่เกิดกายวาจา ถึงกาย เวทนา จิต ธรรม
ปฏิบัติธรรมหลับตาเป็นการปฏิบัติผิดจะไปปฏิบัติกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมได้อย่างไร เขาก็ไปหลงผิดไปแล้วทำหลับตาได้ทิฏฐิ 62 อดีต 18 อนาคต 44 พระพุทธเจ้าประมวลมาหมดแล้ว เอาหลักฐานพวกนี้มายืนยันอ้างอิงอธิบาย เขาก็ไม่กระเตื้องเพราะว่ามันไม่มีพื้นฐานความรู้เลย ทุกวันนี้ศาสนาพุทธ
สังโยชน์ข้อแรกคือ สักกายทิฏฐิ เขาก็เข้าใจคำว่ากายผิด อาตมาก็กำลังเขียนหนังสือเรื่องเกี่ยวกับ กาย ซึ่งเขียนแล้วก็มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ยังไม่หมด คนอ่านคงจะรู้สึกว่าคนเขียนหาเรื่องอะไรมาพูดนี่ แต่มันมีเหตุผลมีหลักฐานไหม ก็ศึกษา มาดู อาตมาไปเอามาจากไหนถ้าไม่มีสภาวะไม่มีเรื่องจริงอะไรเลยที่จะเอามาพูดได้ เอามายืนยัน สื่อให้เป็นภาษารู้ได้ ถ้าหากว่าอาตมาไม่มีสภาวะจะพูดได้อย่างไร ตำราก็ไม่มีเขียนไว้เลย อย่างนี้เป็นต้น
สัตตาวาส 9 วิญญาณฐีติ 7 วิโมกข์ 8 อนุปุพพวิหาร 9
อนุปุพพวิหาร 9 เล่ม11 ข้อ 355
[355] อนุปุพพวิหาร 9 อย่าง
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี
ความผ่องใสแห่งจิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มี
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่
มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูป
สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจ(บาลีใช้คำว่า อโยนิโสมนสิการ)ซึ่งนานัตตสัญญา
เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการ
ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการ
ว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญ-
*จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ
-
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง
เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ
[356] อนุปุพพนิโรธ 9อย่าง
-
กามสัญญาของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป
-
วิตกวิจารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป
-
ปีติของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป
-
ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป
-
รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป
-
อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อม
ดับไป
-
วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป
-
อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ย่อมดับไป
-
สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด 9
พ่อครูว่า…อนุปุพพวิหารแปลว่าปฏิบัติเป็นเครื่องหมายเรียงตามลำดับ เดี๋ยวนี้ อนุปุพพวิหารเหมือนกันแต่มิจฉาทิฏฐินอกรีดไปนั่งหลับตาปฏิบัติ นั่งหลับตาเป็นผลได้ จะเรียกว่าฌาน จะเรียกว่าสมาธิ จะเรียกว่าสมาบัติก็เรียกกัน เป็นอนุปุพพวิหาร 9 เป็นฌาน เป็นสมาธิ เป็นสมาบัติ แต่ไปปฏิบัติหลับตาทำ ผิดเลย แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัส 9 อย่างนี้เป็นความถูกต้อง
เพราะฉะนั้นเช่นข้อที่ 1 (1. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ)
ก็คือจิตเริ่มต้นมีวิเวก กามนี่ จะต้องเกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 ประการ เรียกว่ากามคุณ 5 ทีนี้จะสงัดจากอันนี้ได้ คุณก็จะต้องมีการรู้จักกาม
กามทางตา ทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย มันเกิด อาการของกามมันเกิด เมื่อมีผัสสะตากระทบรูปก็เกิดอาการกาม หูสัมผัสเสียงก็เกิดอาการกาม เสร็จแล้วคุณก็เรียนรู้อาการของกามที่เกิดในจิต ในขณะที่มันเกิด ถ้าคุณไปหลับตาปฏิบัติเสียแล้วคุณไม่มีกาม เพราะคุณไม่มีกาย กายต้องมีภายนอกร่วมด้วย กายขาดภายนอกไม่ได้ แม้แต่เป็นจิต มโน วิญญาณพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า กาย ตถาคตเรียกว่า มโนจิต มโนวิญญาณ พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 230
ก็ไม่ได้หมายความว่าหลับตา จิต มโน วิญญาณ ไม่ได้หลับตาปฏิบัติ แต่กาย นี่ ให้พิจารณาภายนอกก่อน แล้วพระพุทธเจ้าตรัสว่า เราจะละหน่ายคลายปล่อยวางภายนอกนั้นง่าย แต่จิต มโน วิญญาณ นี้ต่างหากที่มันละยาก ที่จะเบื่อหน่ายร่างภายนอก มันเบื่อหน่ายกันได้ เพราะมันปรากฏกระทบตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นภายนอก ทนโท่แล้ว เสร็จแล้วคุณก็ต้องล้างกิเลสภายนอกคือกิเลส กาม นี้ก่อน ถึงจะเหลือรูปกับอรูป แล้วคุณจึงจะไปปฏิบัติ จิต มโนวิญญาณ ที่เป็นรูปกับอรูปที่เป็น ภวตัณหาต่อไป เพราะกามตัณหานั้นลอกออกไปหมดแล้วล้างออกไปหมดแล้ว แต่หากคุณไม่ได้ลอกกามตัณหา แต่คุณจะไปรู้จัก รูปตัณหา อรูปตัณหาคือรูปกิเลส อรูปกิเลสได้อย่างไร ในเมื่อ กาม มันหุ้มอยู่อย่างหยาบเลย นี่คือลำดับรายละเอียดขั้นตอนที่ประณีตสุขุมของพระพุทธเจ้า
ที่บอกว่าสงัดจากกาม เขาไปหลงผิดว่า หลับตาเข้าไปอยู่ในภวังค์แล้วก็ไม่เห็นอะไรก็ไม่มี พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าโมฆะ ในอินทรียภาวนาสูตรที่เขาสอนกันว่า ปฏิบัติอย่างไร เขาก็บอกว่าปฏิบัติตาอย่าได้เห็นรูป หูอย่าได้ยินเสียง พระพุทธเจ้า
ให้พระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ [853] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้ง
นั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่
ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[854] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกร อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ
อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ
พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการ
เจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียง
ด้วยโสต ฯ
พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของ
ปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด
ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส
แล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ
พ่อครูว่า…พระพุทธเจ้าท่านยิ่งใหญ่ท่านตัดแล้วคนก็ยอมรับ และรู้สึกตัวว่าตัวเองไม่ถูก ส่วนโพธิรักษ์ก็พูดเหมือนกัน แทนที่เขาจะนั่งนิ่งซบเซาคอตก เขาก็ไม่รู้ เขาก็ด่าเลย เขาก็สอนก็มาเป็นครูบาอาจารย์สอนกันมาตั้งแต่เท่าไหร่แล้วเอ็งมาจากไหน อาตมาไม่ได้มาจากไหนอาตมามาจากที่เป็นลูกพระพุทธเจ้ามาหลายชาติแล้ว ชาตินี้ก็เอามาสอนยืนยันก็ต้องพูดอย่างนี้ให้พูดอย่างนี้จะให้พูดอย่างไร ก็ต้องยืนยัน จะบอกว่ามาจากสำนักไหน ก็ไม่ได้มาจากใคร จากสำนักไหน ไม่มีครูบาอาจารย์ ยิ่งไปบอกว่าไม่มีครูบาอาจารย์เขายิ่งขึ้นใหญ่เลย ใครสงสารอาตมาบ้าง ขันจอหว่อ เห็นใจอาตมาไหม
วิญญาณฐิติ 7 กับ สัตตาวาส 9
สัตตาวาส 9 กับวิญญาณฐีติ 7
สัตตาวาส 9 คือความเป็นสัตว์ มีสัตว์เป็นเครื่องอยู่ของตัวเอง คนที่เรียนรู้ธรรมะปฏิบัติธรรมมะจะเลิกความเป็นสัตว์ได้หมดทั้ง 9 ชนิด แต่ทีนี้เมื่อไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่า กายคืออะไร สัญญาคืออะไร คือมิจฉาความเป็น กาย มิจฉาความเป็น สัญญา
กายคือ สภาพ 2 ต้องมีรูปนามมีภายนอกมีภายใน ใช้ตัวนี้ เรียนอะไร ก็เรียนจิตเจตสิกจิต มโน วิญญาณนี่แหละ กายคือจิต คือมโน คือวิญญาณนี่แหละ โดยมีสัญญาเป็นตัวกำหนดรู้ สัญญาเป็นตัวเจตสิกที่สำคัญ เป็นตัวกำหนดรู้
สัญญามีหน้าที่ 1 กำหนดรู้ 2 จำไว้
เพราะฉะนั้นมันจะกำหนดความเป็นกาย โดยสัญญาเป็นตัวทำงานกำหนด ผู้ที่มีสัญญาวิปลาสหรือว่ามีสัญญามิจฉาทิฏฐิ ใช้สัญญาไม่เป็น ใช้สัญญาผิดๆ ไปกำหนดผิด
สัญญาไปกำหนดโดยหลับตา มีแต่สัญญาภายใน กำหนดรู้แต่ภายในไม่มีภายนอก ก็เลยไม่มีกาย เพราะฉะนั้นมันจะรู้กายได้อย่างไร ก็ไปนั่งหลับตาเสียนี่ กายมีตั้ง 5 ทวารก็มีแต่ใจ ความรู้นี้จะเป็นความรู้ที่ไปว่าในใจอย่างเดียว ปรุงแต่งแต่เรียนรู้กันแต่อยู่ในใจ ซึ่งศาสนาพุทธนั้นแม้แต่เรียนใจก็ต้องมีข้างนอก มีตา หู จมูก ลิ้น กาย
มีปสาทรูป 5 มีโคจรรูป 5
โคจระ หมายความว่า ต้องดำเนินไป ต้องทำงาน จิตต้องทำงานกับตา หู จมูก ลิ้น กาย โคจรรูป 5 ปสาทรูป 5 ต้องทำงานแล้วจะเกิดวิสัยรูป คือ เป็นตนอย่างยิ่งต้องเรียนรู้ตน
ถ้าไม่มี โคจรรูป ปสาทรูป ก็ปิดประตูเรียนตั้งแต่รูปต้นๆเลย ดินน้ำไฟลม มหาภูตรูป ก็ปิดตาปิดหูปิดจมูกปิดหมดเลย ปสาทรูป เหมือนกับทำให้ตาบอดหูหนวกนั่นแหละ หมด แล้วมันเป็นอย่างไร มันก็มีแต่มืดกับมืด บอดกับบอด หนวกกับหนวก ตาบอด ศาสนาพุทธเลยเป็นทุกวันนี้เลยเป็นศาสนาหลับตาปฏิบัติเป็นศาสนาของคนตาบอดหูหนวก อาตมาไม่ได้ใส่ความนะ อาตมาอธิบายวิชาการให้ฟัง สะดุ้งบ้างไหมนี่ คนที่ไปหลงใหลได้ปลื้มกับการนั่งหลับตา จะสะดุดจะสะกิดใจหรือไม่ หรือว่าไม่รู้ไม่ชี้ สัมผัสก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รับสัมผัสด้วย ไม่ยอมรับรู้อะไร โพธิรักษ์พูดก็อย่าไปฟังมัน อาตมาก็ไม่รู้จะพูดยังไง ยืนยันตนเอง ว่าตนเองเป็นพระโพธิสัตว์ ตนเองบรรลุอรหันต์ ตนเองเป็นสยังอภิญญามากอบกู้ศาสนา ซึ่งต้องยืนยันความจริงอย่างนั้น เพราะอาตมามีแต่ความจริงและมีความจริงใจ ไม่ได้มีมดเท็จไม่ได้มีการอยากอวด อยากโอ่อะไรเลย ไม่มีอุปกิเลส 16 เขาก็ยิ่งหมั่นไส้หนักเข้าไปใหญ่ว่ามันอวดอุตริมนุสธรรม แต่ของอาตมามีในตนนะจ๊ะ ที่อาตมาพูดนี้อาตมาอุตริมนุสธรรมที่มีในตน โดยเฉพาะพวกเขานั่นแหละควรจะฟัง
เขาบอกว่าผู้ที่เป็น อุปสัมบัน คือ ผู้ที่บวชแล้ว ทำพิธีบวชแล้ว ก็อาจารย์ทั้งหลายผ่านพิธีบวชแล้ว อาตมาอธิบายว่า อุปสัมบัน ไม่ต้องเอาเขาไปผ่านพิธีบวชหรอก ผู้ที่สามารถสอนได้ เข้าถึงได้ คือผู้ที่มีภูมิพอเรียกว่า “อุปสัมบัน” ผู้ที่ยังไม่มีภูมิพอจะสอนได้เรียกว่า “อนุปสัมบัน”
พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าไปเปิดเผยกับ อนุปสัมบัน ท่านปรับโทษปาจิตตีย์ ไปเปิดเผยไปบอกว่าตัวเองมีคุณธรรมอุตริมนุสธรรมนี้กับอนุปสัมบัน กับคนที่มีภูมิไม่ถึง อย่าไปพูดไปพูดกันแล้วจะอาบัติปาจิตตีย์ ท่านก็ออกพระวินัยกันไว้ ว่าอย่าไปพูดถ้าหากท่านไม่มีในตน พูดให้ฟัง อุปสัมบันหรืออนุปสัมบันก็ตาม พูดไม่ได้
แต่เดี๋ยวนี้ผู้ที่ผ่านพิธีบวชทุกวันนี้ก็จะเป็น อนุปสัมบัน แต่เขามาฟัง อาตมาไม่ผิดนะเพราะเขาบวชให้ คนที่เป็นฆราวาสเขาไม่มีภูมิเขาไม่ฟังอาตมาหรอก คนไม่เข้าใจศาสนาแท้ๆเขาไม่ฟังอาตมาหรอก เพราะฉะนั้นอย่าไปหาเลย อนุปสัมบัน จะมาฟังอาตมาอาตมาไม่อาบัติหรอก และอาตมาเป็นพระอรหันต์ สงฆ์ยกสติวินัยให้ อาตมาพูดอย่างไรก็ไม่อาบัติ นี่ก็พูดให้มันครบนะไม่ใช่อวดตัวอวดตนอะไร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง
อาตมาพูด เขาก็จะยิ่งอาเจียนเป็นโลหิตร้อนพุ่งออกจากปากหรือเปล่า ก็ขออภัย
อาตมานำสิ่งที่เป็นสัจจะ ที่เป็นปรโต ที่อาตมาพูดออกไปมันเป็น โฆษะ ที่คุณฟังแล้วมันจะต่างกับอันอื่นที่คุณเคยรู้ เพราะมันไม่ใช่ หรือคุณไม่เคยได้ยินได้ฟังมา แล้วอาตมาพูด ได้ยินได้ฟัง แล้วก็ไม่เหมือนกับที่เคยได้เรียนมา ที่เข้าใจมาว่าจะต้องอย่างนี้ แต่อันนี้มันไม่เหมือนเขาก็บอกว่ามันไม่ใช่
ถ้าคุณโง่อยู่อย่างนั้น คุณก็จะกลายเป็นคนที่อยู่ในกะลาครอบไปอีกชั่วกาลนาน ไม่เปิดประตูรับสิ่งอื่นที่มันไม่เหมือนสิ่งที่คุณได้ยึดถือมา ไม่พยายามเปิดใจที่จะรับฟังที่จะเข้าใจให้ได้ ก็หมดประตูเลย
ประเด็นสำคัญคือวิญญาณฐิติ 7 กับสัตตาวาส 9 คือ สัตตาวาส 9 นั้นล้วนแต่เป็นสัตว์ทั้งหมดเลย อย่างไรอย่างไรคุณก็จมอยู่ในสัตว์ 9 ชนิด ไม่มากก็น้อย ส่วนมากก็เป็นสัตว์ 4 ชนิด 5 ชนิด หรือเป็นสัตว์ชนิด 1 แล้วก็เป็นหมดทุกอย่าง คืออสัญญีสัตว์ คือสัตว์ดับสัญญา ดับหมดเลยไม่มีธาตุรู้เลย คืออสัญญีสัตว์ เมื่อดับสัญญาหมดคุณก็เป็นสัตว์เต็มประตู จะไปเรียนสัตตาวาส 1 2 3 4 ไปถึงสัตตาวาส 6 7 8 9 คุณไม่ต้องพูดเลย อรูปฌาน คุณไม่มีสิทธิ์เลย มีสิทธิ์ก็เป็นอรูปฌานที่เป็นบ้าบอเป็นนิรมาณกาย เพราะว่าคุณเป็นอสัญญีสัตว์ แล้วคุณก็หลง ไปดับจิต เมื่อดับจิตแล้วจะไปเรียนรูปฌานก็ไม่ได้แล้ว แล้วจะไปเรียนอรูปฌานได้อย่างไร เพราะคุณปิดมาตั้งแต่อสัญญีสัตว์ ไปดับสัญญา หลับตาดับสัญญา
ที่นี้ เมื่อไม่ดับสัญญา คุณก็ต้องออกมาปฏิบัติอินทรีย์ข้างบนนั้นมีกาย แล้วกายคุณก็จะต้องลืมตาทั้งหมด แต่ไม่ดับสัญญานะ ไปดับสัญญาแล้วจะซวย คุณต้องมีสัญญากำหนดรู้ เพราะอย่างนี้ เขาจึงไปแปลวิโมกข์ 8 ในข้อที่ 2 พระบาลีมีว่า
“อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทา รูปานิ ปัสสติ” ในวิโมกข์ 8 ข้อที่ 2
อ่านตามพระไตรปิฎก…ผู้ไม่มีความสำคัญในรูป ภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
วิโมกข์ 8
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
-
*ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66) ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี . เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) . (*พ่อครู…แปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)
อสัญญี เขาไปแปลว่า ผู้ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก
คุณต้องมีสัญญา รูปภายในนั้นเป็นลำดับที่ 2 จากลำดับภายนอก แต่คุณไปหลับตาก็ไม่ได้ล้างกิเลสภายนอก ซึ่งล้างกิเลสภายนอกก่อน แล้วคุณจะเหลือกิเลสภายในเรียกว่า รูป ส่วน อรูป พระพุทธเจ้าละไว้ในฐานที่เข้าใจ คำว่า อรูปสัญญี สัญญีคือผู้มีความกำหนดรู้ในรูปในอรูป
เพราะฉะนั้นในสังโยชน์ข้อที่ 2 มันเลยจากภายนอกเข้าไปหาภายใน เมื่อไม่ต้องไปวุ่นวายทางภายนอกได้แล้ว ก็เข้าไปกำหนดภายใน แต่เขาไปแปลอสัญญีว่า ไม่มีการกำหนดรู้รูปภายใน มันก็เลยไม่รู้เรื่องในรูปภายใน
ที่จริงแล้วศาสนาพุทธต้องมากำหนดเรียนรู้ภายใน เรียนจิต มโน วิญญาณ เป็นหลัก แล้ว หากไม่มี จิต มโน วิญญาณแล้วคุณไปปฏิบัติกับภายนอกไม่ได้ ต้องมีประธานคือ จิต มโนวิญญาณ แต่ถ้าไปดับสัญญาภายในไปดับการกำหนดรู้ ตัวสัญญาเป็นตัวทำงาน แต่ให้อสัญญีไปเลยก็เจ๊งสิ ภายนอกก็ไม่รู้ภายในก็ไม่รู้ทั้งหมด
_สู่แดนธรรม…ตอนที่เคยบวชอาจารย์ก็เคยสอนว่า ในข้อที่ 2 ต้องถอนรูปภายในออกมาข้างนอก เรียกว่าเพิกฌานออกมา จึงรู้ได้
พ่อครูว่า…คำว่า เพิกฌาน ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีเป็นบัญญัติภาษาที่เขาตั้งขึ้นมาเอง เหมือนกับปิยบุตรที่ตั้งคำว่านิติสงครามมาอย่างนี้เป็นต้น เคยเห็นไหมไม่ได้กำหนดรู้สัญญาก็ลืมตาแต่ว่าไม่ได้สำคัญมั่นหมายกับภายนอกเลยอยู่แต่ภายใน แสงกระทบอะไรไม่ได้ใช้ประสาท ไม่ได้ใช้จิตกำหนดรู้ตามประสาทนั้นเลย ประสาทกับจิตไม่ได้โคจรร่วมกันเลย ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยไม่ได้ทำงานร่วมกันเลย สัญญาคุณก็อยู่ในใจในสัญญาของคุณคนเดียวลืมตาอยู่นะ แต่ไม่รู้เรื่องไม่ได้กำหนดหมายอะไรเลย
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
_สมณะเดินดินพูด…การเข้าใจพระไตรปิฎกหรือพุทธพจน์เราก็เข้าใจได้ตามภูมิของคนแปลหรือของคนที่อธิบายมา เทวดาของอาจารย์มั่นก็มาจากเยอรมันเป็นต้น เทวดาของพ่อครูคือจิตวิญญาณที่ได้พัฒนาขึ้นสูงขึ้นอยู่ภายใน คุยกับเทวดาก็คุยกับจิตวิญญาณของตัวเอง ที่นี้วิโมกข์ก็ดี วิญญาณฐิติก็ดี มันเป็นเรื่องหลักการของศาสนา อย่างวิโมกข์ ความหลุดพ้น พวกสายลับตาทุกอย่างก็ต้องดับๆๆหมด ดับทั้งภายนอกดับทั้งภายในไม่รับรู้อะไรเลย เขาปฏิบัติการลับตาเป็นเรื่องสำคัญ แต่พ่อครูอธิบายให้เห็นตรงกันข้ามเลย ต้องรู้อย่างยิ่งรู้ทั้งภายนอกภายใน เป็นคนละความหมายเลยตามภูมิ อันไหนจะเข้าหาพุทธะ ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานได้มากกว่ากัน ก็ไปกันมาอย่างนี้ยาวนาน แล้วก็นั่งหลับตากันอย่างนี้ยาวนาน แล้วก็ไม่ใส่ใจรูปภายนอกไม่ใส่ใจรูปภายในกันอีกยาวนานเลย มันเลยเป็นความยากที่พ่อครูต้องอธิบายกันอีกนานเลย
วิญญาณฐิติเป็นสัมมาทิฏฐิ สัตตาวาสเป็นมิจฉาทิฏฐิ
พ่อครูว่า…มาพิจารณาเรียนรู้ความเป็นกายความเป็นสัญญา ถ้าอ่านวิญญาณฐิติ 7 ก็มีเรื่องกายกับสัญญา กายต่างกันสัญญาต่างกัน กายอย่างเดียวกันสัญญาต่างกัน กับสัตตาวาส 9 ก็เหมือนกันมีพวกนี้หมด
ที่นี้สัตตาวาส 9 คือคนปฏิบัติ โดยมิจฉาทิฐิก็เลยเหลือความเป็นสัตว์ ส่วนศาสนาพระพุทธเจ้านั้น ล้างความเป็นสัตว์ ที่จะล้างความเป็นสัตว์ได้จะต้องปฏิบัติวิญญาณฐิติ วิญญาณฐิติมี 7 ไม่ใช่ 9
สัตตาวาส 9 มีมากกว่าวิญญาณฐีติอยู่ 2 ตัวคืออสัญญีสัตว์ กับเนวสัญญานาสัญญายตนะสัตว์
ในวิญญาณฐิติ 7 ไม่มีอสัญญีสัตว์ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายะตะนะสัตว์ เท่านี้แหละผู้มีปัญญาอย่างอาตมาก็จะเห็นแล้วว่า ไปหลับตานั้น หรือจะลืมตาใช้สัญญาเรียนรู้รูปฌานก็ตามมันโมฆะไปหมด เป็นสัตว์ไปหมดเลย เป็นรูปฌานหลับตาแล้วก็มีสัญญากำหนดรู้ คุณก็ได้แค่นั้น เสร็จแล้วคุณจะต้องดับสัญญา เพราะเมื่อคุณไปอธิบายพวกหลับตานี้นะ อธิบายรูปฌาน มีสัญญากำหนดรูปฌาน 4 คุณไปอธิบายอรูปฌาน 4 คุณก็ไปดับอีก สุดท้ายในสัตตาวาส 9 นี้มันไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาเวทยิตนิโรธหมายถึงสัญญาเคล้าเคลียอารมณ์ มีเวทนามีสัญญา เรียนรู้ในเวทนา เรียนรู้ทั้งหมดแล้วก็รู้นิโรธที่ดับได้ ก็เพราะเรียนรู้เวทนาเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ
แต่สัตตาวาสนี้ ไม่มีในอนุปุพพวิหาร 9 ที่สัมมาทิฏฐิ
เมื่อเขาเข้าใจเป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเป็นอนุปุพพวิหาร 9 ที่มิจฉาทิฏฐิเพราะเป็นฌานหลับตา อนุปุพพวิหาร 9 ของพระพุทธเจ้านั้นสัมมาทิฏฐิ
ที่นี้วิญญาณฐิติ 7 นี่แหละ เป็นสัมมาทิฏฐิ ส่วนสัตตาวาส 9 นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
วิญญาณฐิติแปลว่าวิญญาณตั้งอยู่ มีวิญญาณตั้งอยู่ มีวิญญาณร่วมอยู่ด้วย ไม่ใช่ไม่มีวิญญาณ หรือไม่ใช่วิญญาณล่องลอยเป็นสัมภเวสี คือ วิญญาณไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่มีที่ตั้ง มีที่ตั้งหมายความว่า ต้องมีตา วิญญาณต้องมีตากระทบรูป ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งแห่งการปฏิบัติ หูกระทบเสียงก็เป็นฐานที่ตั้งแห่งการปฏิบัติ ฐิติ คือที่ตั้ง เป็นฐานเป็นแหล่งที่จะปฏิบัติ แต่คุณไม่มี คุณเป็นวิญญาณล่องลอย คุณเป็นวิญญาณไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่มีที่เกาะไม่มีที่ยึดไม่มีที่ตั้ง ที่จะให้เกิดการรู้วิญญาณ เหมือนอย่างภิกษุ สาติ ที่บอกว่า เรารู้แล้ววิญญาณ
ภิกษุสาติมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น”
ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติจากทิฏฐินั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี. (มหาตัณหาสังขยสูตร พตปฎ. ล.12 ข.440)
อาตมาอธิบายนี้เป็นรายละเอียดที่ไปแก้ไขที่เขาเข้าใจผิดกันมานานมาก วิญญาณฐิติ 7 เรียนแล้วแค่ 7
-
กายต่างกันสัญญาต่างกัน
-
กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน
-
กายอย่างเดียวกันสัญญาต่างกัน
-
การอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน
-
อากาสานัญจายตนะ
-
วิญญาณัญจายตนะ
-
อากิญจัญญายตนะ จบ