640117_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ทำไมพ่อครูพาชาวอโศกลงสู่สนามการเมือง
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/13IYSlTjUMJatqMdCbSgci0eIGWApotdftCdID8GUceQ/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1whI56nqJijTjzkaXhBvZ5glxUUbHOX0V/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://www.youtube.com/watch?v=AlxvGJrYHF8
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก สถานการณ์ covid ตอนนี้ก็ยังไม่หยุดยั้งทั่วโลกติดเชื้อกว่า 2 ล้านคนแล้ว โควิดมาปราบปรามคนที่ยุ่งกับเนื้อสัตว์ อยู่กับอบายมุข ทุนนิยมอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้คนเหล่านี้ไม่หยุดยั้ง โควิดก็ติดไปไม่หยุดยั้ง ก็จะมาพิสูจน์สิ่งที่พ่อครูพาทำในยุคสมัยนี้ ที่พามาถือศีลปฏิบัติธรรม ปลูกพืชผัก
พ่อครูว่า…พ่อครูยกเอาหัวหอมใหญ่ ต้นหอมใหญ่ มาให้คนดู ทำถูกต้องตามสูตร มันมีอะไรลึกซึ้ง มีกะจิตกะใจ มีความเอาใจใส่ยินดี ถ้าเป็นความใส่ใจต้นทุนของความใส่ใจ ที่ไม่กินพืชเต็มที่ 100% ไปกินเนื้อสัตว์ไปกินอะไรก็ไม่รู้ ของปรุงแต่งอะไรที่ชอบกันสารพัด มันก็ไม่เต็มที่ เพราะพลังงานที่ละเอียดพวกนี้ถ้ามันมาเป็นอย่างเดียวเป็นเอกภาพจะทำอะไรสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีสมบูรณ์แบบ เต็มที่ อาตมาว่ายังอธิบายไม่เก่งแต่พอเข้าใจไหม เป็นพลังงานอันลึกซึ้งที่ซับซ้อน
สมณะฟ้าไท…คนเอาน้ำใส่ข้าว หากว่าคนจิตใจดีจะไม่ขึ้นรา แต่หากคนจิตใจไม่ดีเอาน้ำใส่ข้าวก็ขึ้นราได้
พ่อครูว่า…ที่เราไม่ใส่สารเคมีไม่ใช้ยาฆ่าหญ้ายาฆ่าแมลง อยู่ใกล้เคียงกับเขาที่เขาใส่ ของเราแข็งแรงกว่ากัน แล้วสิ่งเหล่านั้นไม่โดดมาหาเรา ซึ่งมันเป็นความลึกซึ้งซับซ้อน เป็นความเจริญอุดมสมบูรณ์ บางทีไม่ค่อยมีฝีมือเท่าไหร่มาปลูกก็ยังไม่เลว มือใหม่ก็เถอะ จะดีใจเลยเห็นผักงาม บางทีฟลุ๊คดีกว่าได้ด้วยเพราะองค์ประกอบมันพอดีมันจะได้อะไรดีกว่าด้วย แต่ครั้งเดียวนะไม่ถาวร จนกว่าจะมีมือแม่นๆความเก่ง ได้ดีต่อเนื่องถาวร
สมณะฟ้าไท…ผมถามเกษตรกร ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์แมลงไม่ค่อยกิน แปลกจริงๆเลย ของคนที่ใช้เคมีแมลงกัดกินเสียเกลี้ยงแรงเลย
โอวาทปาติโมกข์ 3 เป็นของพระอรหันต์
พ่อครูว่า…ก่อนอื่นอาตมาขอไขความละเอียดลออของโอวาทปาฏิโมกข์ 3 ว่าพระพุทธเจ้าท่านนั่งสมาธิบรรลุธรรมใต้ต้นโพธิ์วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
โอวาทปาติโมกข์ 3 มีอะไร? 1. สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง, 2. กุสลัสสูปสัมปทา, 3.สจิตตปริโยทปนัง อันนี้มันเป็นโลกุตระ พระพุทธเจ้าตรัสอันนี้กับพระอรหันต์ว่า “พวกเธอมี สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง, กุสลาสูปสัมปทา, สจิตตปริโยทปนัง แล้ว บรรลุอรหันต์แล้วสมบูรณ์แบบจบ”
ไม่ใช่โลกีย์ โอวาทปาติโมกข์ 3 ไม่ใช่โอวาทแบบโลกีย์ ที่ไปอธิบายว่า “สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง”คือไม่ทำชั่ว, “กุสลาสูปสัมปทา”คือทำแต่ดี, “สจิตตปริโยทปนัง”คือทำจิตให้ผ่องใสสะอาดผ่องใส ซึ่งไม่ใช่แค่ทำดีทำชั่ว อาตมาอธิบายหลายครั้ง
ดีชั่วมันเป็นแค่ของโลกีย โลกุตระนั้นเอาภาษามาเทียบเคียงได้เลย ไม่ใช่เรียนกันแค่ดีชั่ว โลกุตระนั้นก็เรียนดีชั่วตามสมมติสัจจะเข้าใจด้วย แล้วก็อนุโลมปฏิโลมกับความดีไม่ทำชั่วด้วยกับเขาเหมือนโลกียะ ไม่เป็นไร เพราะเข้าใจสมมุติสัจจะของโลกมีโลกวิทู ไม่ใช่คนไม่รู้โลกแบบหลับหูหลับตา ใครจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง อย่าเอาธรรมะไปยุ่งเกี่ยวกับโลกอะไรต่ออะไร ซึ่งมันไม่ใช่ โลกุตระนั้นรู้โลกและอยู่เหนือโลก โลกทำอะไรโลกุตตรจิตโลกุตรธรรมของผู้บรรลุธรรมไม่ได้ ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ กระทบโลกธรรมอยู่ จิตก็ไม่หวั่นไหว ไม่มีกระทบกระเทือนจิตก็ยังแข็งแรงตั้งมั่นเป็นคุณสมบัติพิเศษเลย
สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง กุสลาอุปสัมปทา สจิตตปริโยทปนัง คือผู้ที่ไม่ทำบาปแล้วสัพพปาปัสสะอะกะระณัง คือไม่ทำบาป ไม่ทำโดยไม่ใช่แค่ข่มฝืน แต่พระอรหันต์เป็นปกติที่จะไม่ทำบาปแล้วโดยมีปฏิภาณปัญญารู้ทันบาปทั้งปวง บาปคือกิเลส บาปต่างจากกุศล
บาป เฉพาะเลยคือทำให้กิเลสเกิดในจิตคือบาปคู่กันกับบุญ ส่วน “กุศล” นั้นคู่กับ “อกุศล”เป็นโลกียะ, “บาป” กับ “บุญ”เป็นโลกุตระ
แต่บาป เขาเอาไปเรียกในโลกียะ ด้วยก็อนุโลมเพราะถ้าคุณเข้าใจบาปคืออกุศลก็ดีแล้ว ยิ่งคุณเข้าใจคำว่าบาปก็คือเรื่องของการมีกิเลส อกุศลนั้น แม้แต่สมมติเราก็รู้ว่าอันนี้ไม่ดีตามสมมุติ แต่ไม่ได้เป็นโลกุตระ กิเลสจะไม่มีก็เป็นอกุศล หรือกิเลสจะมีก็เป็นกุศล เพราะว่าโลกเขายอมรับว่าดีสมมติสัจจะก็ยอมรับก็ดี แต่ไม่เกี่ยวกับกิเลส กุศลอกุศลไม่ได้อธิบายกิเลสอย่างเดียว แต่อธิบายก็ได้สำหรับคนที่มีปัญญา แต่จริงๆแล้วกุศลกับอกุศลไม่มีศูนย์ เป็นพระอรหันต์แล้วกุศลก็ยังมีอยู่ อกุศลไม่มีแล้วมีแต่กุศล จึงกุสลสูปสัมปทา กรรมใดๆของพระอรหันต์ต่อไปจึงมีแต่กุศลไม่มีอกุศลเลย บาปก็ไม่มี อกุศลก็ไม่มี นี่คือพระอรหันต์
แต่กุศลนั้นพระพุทธเจ้าแท้ๆยังไม่สันโดษในกุศล แต่บาปนั้นหมด พระอรหันต์ก็หมดบาปเต็มสมบูรณ์แล้ว ไม่มีบาปและไม่มีบุญ ทำกรรมใดๆไม่ต้องใช้บุญเพราะกิเลสหมดแล้วเพราะว่าบุญมีหน้าที่ฆ่ากิเลส
สรุปโอวาทปาฏิโมกข์ 3 นั้นไม่ใช่ของโลกียะเลย แต่เป็นของโลกุตระ เป็นเรื่องของบุญบาป เป็นเรื่องของสุขทุกข์
สุขทุกข์นี้เขาเข้าใจกันยากมาก เพราะว่าสุขทุกข์เป็นโลกียะ ถ้ารู้สุข รู้ทุกข์ เป็นอริยะ
สุขทุกข์เป็นโลกียะ พอมาเรียนรู้ความสุขความทุกข์และความสุขความทุกข์ดับความสุขความทุกข์หมดก็จบโลกียะเป็นพระอรหันต์เลย ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ อทุกขสมสุข หรืออุเบกขา จิตมีอุเบกขานิรันดรด้วย ไม่ได้เดานะ อุเบกขาไม่ใช่เดา เป็นอจินไตย แต่มีความละเอียดละออ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ที่ท่านแยกไว้ใน ธาตุวิภังคสูตร
ปริสุทธาคือ บริสุทธิ์จากกิเลส ปริโยทาตา ยิ่งบริสุทธิ์แข็งแรงจากกิเลสมากขึ้น มุทุ จิตมีคุณสมบัติเป็นธาตุจิต 2 สภาพทั้ง เจโตและปัญญา ไวเร็ว นิ่ง ยิ่งไวยิ่งนิ่งๆๆๆ ซึ่งอธิบายแยกไม่ได้ มุทุ ทั้งนิ่งและไวๆๆ เป็นจิตที่ มุทุ การแปลโดยพยัญชนะวรรค ว่าอ่อน อาตมาแปลว่าจิตหัวอ่อน ทำให้เป็นก็ง่าย ทำให้ฉลาดก็เร็วทั้งสองสภาพ ทั้งเจโตและปัญญา เร็ว เจริญ เพราะจิตเจริญจึงมีกัมมัญญา มีอัญญาคือจิตฉลาดของโลกุตระ อัญญธาตุมาเป็นอัญญา กัญญา ปัญญา ชัญญา อะไรพวกนี้ ยังไม่ลงลึกในพยัญชนะเหล่านี้ อาตมารู้ในรากฐานพยัญชนะโดยมีสภาวะรองรับ เขาเรียนมาไม่เหมือนกับอาตมา เขาเรียนไวยากรณ์ตามวจีวิพากษ์ วากยสัมพันธ์ตามสมัยใหม่ ไม่ใช่รากฐานเดิม รากฐานเดิมไม่มีไวยากรณ์ เป็นธรรมชาติสภาวะเกิดตามภาษาธรรมชาติและผู้รู้มาเรียบเรียง ตอนนี้ไวยากรณ์เขาเรียนกันมาผิดเพี้ยนกันก็เลยแปลสภาวะผิดเพี้ยนไปด้วย แต่ไม่เป็นไร อาตมารู้ว่ามันเป็นความจำเป็นที่ต้องเป็นอาตมาต้องมาแก้มันเป็นสัมภาระวิบาก ที่ต้องทำ
พระพุทธเจ้าไม่ได้นั่งสมาธิบรรลุธรรมวันวิสาขบูชา
อีกอันหนึ่ง พระพุทธเจ้าไม่ใช่นั่งสมาธิบรรลุธรรม ไม่ใช่ได้ปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสมาธิ แต่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ท่านทำเตวิชโช ใช้การทบทวนระลึกของเก่ามาเห็นมารู้ เตวิชโช ท่านถึงระลึกรู้ว่าท่านได้ผ่านมาแล้วบุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นพระโพธิสัตว์ผ่านมามากมายจนเต็มระดับ 9 แล้ว เกิดมาในชาตินี้ต้องมาประกาศศาสนา ลงมาปางนี้เป็นพระสมณโคดมจากเจ้าชายสิทธัตถะ
เพราะฉะนั้นท่านเลยรู้ตัวเองว่าเราจะต้องมาทำงานนี้ แต่กระนั้นก็ดี จะต้องทบทวนอีก 49 วัน เรียกว่าเสวยวิมุติอีก 49 วัน ทบทวน ระลึกเอา สิ่งที่เป็นของเก่าของท่าน ถึง 49 วัน เลข 7 กับ 7 เป็น 49 เสร็จแล้วถึงได้เริ่ม เอาล่ะ มีความรู้สัมมาสัมโพธิญาณขึ้นมาพอสมควร แล้วก็เอามาประกาศศาสนา ตอนแรกก็จะไม่สอนเพราะคิดว่าไม่คุ้ม แต่มีสหัมบดีพรหมมาอาราธนาให้พระพุทธศาสนา
สรุปคือ โอวาทปาติโมกข์ 3 เป็นของโลกุตระเป็นของพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ก็อย่าไปเข้าใจผิดว่าท่านนั่งหลับตาสมาธินั้นเป็นปฏิบัติธรรม นั่งหลับตาสมาธิไม่มีทางบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า พวกที่ยึดมั่นถือมั่นในการนั่งหลับตาปฏิบัติ หากอาตมาทำให้พวกนั่งหลับตาตื่นรู้ขึ้นมา คนนั่งหลับตาจะเข้ามาปฏิบัติในนี้เยอะถ้าตื่นรู้ ทางโน้นก็จะพร่องเขาก็จะเสียกำลัง เสียมวล สองมันยังโง่ไม่เสร็จ ขออภัยไม่ได้ด่า มันยังไม่เกิดวิชชาไม่เกิด อัญญธาตุ ไม่เกิดอัญญา ไม่เกิดปัญญา ก็เลยยังไม่ตื่นยังไม่ฟื้น ก็ไม่ท้อ เพราะว่าคนที่แสวงหามีคนที่ไม่มีอคติมีคนที่เคารพด้วยความเต็มใจยินดี มีอยู่ มีความยินดีเต็มใจอย่างแรงกล้าเคารพอย่างแรงกล้า ละอายอย่างแรงกล้า ที่ตนเอง รู้ตัว เรานี้หลง ดีไม่ดีเคยดูถูกพระโพธิรักษ์ ก็จะเกิดความละอายซึ่งไม่ต้องเกิดความละอายหรอก ละอายก็ดีแล้ว หิริดีแล้ว โอตตัปปะดีแล้ว เข้ามาเถอะ แต่อาตมาไม่ได้ไปถือสาว่า คุณได้ด่าอาตมาจัดการอาตมาอย่างไร อาตมาจะไม่ถือสาเลย ขอยืนยัน อาตมาจะยินดีด้วยซ้ำไป ดีแล้วหนอ สาธุๆ อนุโมทนาที่คุณได้เข้าใจและรู้สึกจริงๆได้เข้าใจจริงๆ ตื่นขึ้นมาจริงๆชาคริยา ชาคระ ตื่นขึ้นมาจริงๆ ดีๆๆ แล้วจงตั้งใจเถิด แสวงหาทางนี้ ขอยืนยันว่าอาตมาไม่ใช่ของปลอมหรอกแต่เป็นของจริง ยืนยันอย่างนี้เขาก็อาจจะหมั่นไส้สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจศรัทธา เดี๋ยวจะมีอย่างคุณเดชา อัมพร ที่จริงไม่ได้โกรธไม่ได้จองเวร แต่ชมเชย อาตมาชอบผู้แสวงหาอย่างนี้ แย้งมา
สักวันหนึ่งอาตมาเป็นของจริงก็จะเป็นของจริง กาลเวลาจะพิสูจน์ อาตมาไม่กลัว ของจริงต้องจริง กาลเวลาพิสูจน์ คุณตามไปเถอะสักวันจะรู้ ของจริงจะเที่ยงแท้มั่นคงไม่ต้องห่วงหรอก กาลเวลาจะยืนยัน
สรุปโอวาทปาฏิโมกข์พระพุทธเจ้านั่งสมาธิหลับตาบรรลุธรรมนั้น อย่าไปคิด แบบนั้นไม่ใช่ ท่านปฏิบัติลืมตา ท่านนั่งนึกทบทวนของเก่าเอามาใช้ แม้แต่อาตมาทุกวันนี้ก็ทำ ยังไม่หมดนะ การระลึกยังระลึกได้อยู่ แม้แต่ของพระพุทธเจ้าท่านก็ได้อยู่เสมอ ที่ท่านใช้สำนวนว่าคุยกับเทวดา เทวดามีรัศมีสว่างจ้าไปทั่ววิหารเชตวัน ท่านคุยกับจิตสูงจิตเจริญของท่านเองไม่ใช่เทวดาที่ไหนหรอก ของท่านเองแล้วก็เอามาเพิ่มขึ้น ท่านคุยกับเทวดาในตอนที่อยู่ในภวังค์ คือตัวเราเอง คนไม่มีเทวดามาคุย มีเทวดาปลอมปรุงแต่งเองใหม่ เดี๋ยวจะไปกันใหญ่ กลายเป็นนิรมาณกาย
อานิสงส์ของศีลมีอะไร
SMS วันที่ 15-16 ม.ค. 2564
_1614 ศีลที่เป็นกุศล มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์..??/ฑริกา
พ่อครูว่า…พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย การได้อานิสงส์ 10 ของศีล
กุสลานิ สีลานิ อนุปุพเพนะ อรหัตตายะ ปูเรนตีติ
ศีลที่เป็นกุศล ย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ไปตามลำดับ
ที่ปฏิบัติธรรมไปแล้วผลของศาสนาหรือศีลจะเกิดที่จิตไม่ใช่เกิดแค่กายเจริญ วจีเจริญ เขาแบ่งแยกตีแยกเลย ว่าศีล มีประโยชน์เกิดแค่กายกับวาจา ส่วนสมาธินั้นไปนั่งหลับตาเอา ไม่เป็นอิทัปปัจจยตากับศีล ตอนนี้อาตมากำลังตรวจหนังสือเปิดยุคบุญนิยม สรุปเรื่องศีลมีอานิสงส์อย่างไรโดยละเอียด
ศีล มีอานิสงส์ทางจิตเริ่มตั้งแต่ กาย วจี ใช้กุศล ส่วนใจใช้บุญ ทำให้กิเลสลดเมื่อกิเลสลดก็ไม่เดือดร้อน
-
อวิปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ)
-
ปามุชชะ – ปราโมทย์ (มีความยินดี) ความยินดีมีหลายระดับ
-
ปีติ (ความอิ่มเอมใจ)
-
ปัสสัทธิ (สงบระงับจากกิเลส) เป็นตัวมรรคผลของการปฏิบัติธรรม ปัสสัทธิ มาจาก ปัสสะ เป็นราก เกิดจากการเห็นตากระทบรูป จะมีทวารทั้ง 5 กระทบมีผัสสะ แล้วมีกิเลสก็ทำการสงบจากกิเลส ไม่ใช่สงบอย่างไม่มีเหตุปัจจัยเป็นลิงไปหยุดเลย ต้องมีคำขยายความว่าสงบจากกิเลส กิเลสมันลด มันดับ มันตาย ดับไม่เกิดอีกเลยอย่างนี้เป็นต้น
-
สุข (แบบไม่บำเรอตน คือ วูปสมสุข) เป็นจิตที่ว่าง แต่ยังไม่ว่าง อนุโลมมาเรียกภาษาโลกีย์ สุข ทุกข์ เป็นภาษาโลกุตระ แต่อนุโลมใช้สุข เป็นฐานนำมาสู่โลกุตระไม่บำเรอตน มีคำว่า วูปสโมสุข เป็นสุขที่ทำให้เกิดความสงบตามทฤษฎีพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สุขบำเรอกิเลส สุขแบบโลกีย์ คนละอย่าง ต้องสำคัญมั่นหมายในความเป็นสุขให้ชัดให้คม แต่ละคนต้องพึ่งพาตนเองว่าสัญญาต้องแม่นคมชัดละเอียด สัญญาจะต่างกัน สัญญาต้องพึ่งมากเลย ของแต่ละคน ต้องใช้สัญญาเจตสิกทำงานมากตั้งแต่ต้นจนจบเรียกว่า วัวงานที่ยิ่งใหญ่ของจิต ยิ่งใหญ่ของนามธรรม ต้องอนุโลมใช้คำว่าสุข ที่เป็นปรมังสุขัง เขาแปลว่า สุขอย่างยิ่ง แต่อาตมาแปลว่า ยิ่งกว่าสุข ถ้าเข้าใจแค่นี้ไม่ได้ก็ยากจะอธิบายให้รู้เรื่องโลกุตระ
สุขอย่างยิ่งกับยิ่งกว่าสุข ถ้าแยก 2 อย่างนี้ไม่ได้ อาตมาก็ว่าคุณจะเรียนโลกุตรธรรมได้ยาก เรียนไปหาอรหันต์ได้ยาก
-
สมาธิ (จิตมั่นคง) ท่านใช้คำกลางๆ ของพระพุทธเจ้า สมาหิโต หรือจะบอกสมาธิก็จะมีคำว่าสัมมาสมาธิ แบ่งเป็นมิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิสมบูรณ์แบบเรียก สมาหิโต ส่วนที่มีเจโตสมาธิ หรือคำอื่นๆก็มีคำควบอีกเยอะ เป็นคำที่พิสดาร
-
ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่งในความจริง) คือความเจริญทางปัญญาความเฉลียวฉลาดทางปัญญา ยถาภูตญาณทัสสนะ เรียกก็คือธาตุรู้ ญาณทัสนะคือความรู้ยิ่ง ปัญญา ญาณ วิชชา คำว่าญาณ ทางโลกีย์เขาก็เอาไปใช้คำว่าปัญญาคำว่า วิชชา โลกีย์ ก็เอาไปใช้ผิดเพี้ยนตามใจชอบเขา เสียหมด อาตมาก็ต้องดึงขึ้นมาใหม่แต่จะไปตั้งภาษาใหม่ก็ไม่ไหว พระพุทธเจ้าท่านใช้มาแล้วใช้มาไม่รู้กี่รุ่นก็ขอใช้อันนี้ก็แล้วกัน บาลีเป็นภาษาที่ตายแล้วให้กลับคืนไปเข้าใจให้ถูกก็แล้วกัน เอาให้มันเข้าใจให้ถูกตรงกันก็ใช้ได้
สรุป ยถาภูตญาณทัสสนะคือความรู้ทางปัญญาอันยิ่ง ปัญญา ญาณ วิชชา
-
นิพพิทา (เบื่อหน่าย) มันเบื่อหน่ายคลาย แรกๆจะเบื่อจะผลัก แรง
-
วิราคะ (คลายกิเลส) คลายราคะ ไม่เอาราคะ ปฏิเสธราคะ ราคะต้องละเอียดขึ้นไป หมดกามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ไล่ไปตามชั้น
-
วิมุติญาณทัสสนะ (ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในนิพพาน) (กิมัตถิยสูตร พตฎ. เล่ม 24 ข้อ 1, 208) ขยายจาก ยถาภูตญาณทัสนะ ยถาภูตะ หมายถึงจิต ส่วนวิมุติ หมายถึงหลุดพ้น ญาณทัสนะตัวเดียวกัน ส่วนตัวที่ 10 วิมุติญาณทัสนะคือ ปัญญาญาณที่รู้แจ้งเห็นจริงในวิมุติหรือนิพพาน นิพพานกับวิมุต เป็นซินโนนีม ผลกระทบจากการ ได้แต่เราจะชนะ เวลาไปสงสารมาก สภาวะอันเดียวกัน แต่มองในแง่ต่างกัน นิพพาน แปลว่า ตาย ส่วนวิมุติ แปลว่า หลุดพ้น