640110_รายการวิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ร้อยมาลัยพระอภิธรรมตามแบบพ่อครู
ดาวโหลดเอกสารที่นี่ https://docs.google.com/document/d/1yK5Y4DDIwOvLC0sUCCMkHTczsd7S1f-ELkqYrjxDiEE/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1XtTIzFEzYVs9yQthFVIlVI8_C22DFzrB/view?usp=sharing
และวิดีโอที่ https://www.facebook.com/300138787516163/videos/700270860658023/
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก หลังจากงาน ว.บบบ.มีสิ่งที่ราชธานีอโศกจะทำต่อไป คือ วันบวร ที่แบ่งกันไปทำงานเป็นคุ้ม ร่วมกับเด็กๆ ส่วนสมณะประจำกลุ่มก็หมุนเวียนกันสัปดาห์ละครั้ง ที่ด่านทางเข้าราชธานีอโศกก็มีมาตรการที่เคร่งครัดต่อคนเข้าออกชุมชนต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังจากไปทำธุระกลับมาแล้ว คนไทยก็เป็นคนที่มีน้ำใจ ขณะที่ถูกกักตัวก็มีน้ำใจส่งอาหารให้กัน
ที่โต๊ะจัดรายการวันนี้ก็มีพืชพันธุ์ธัญญาหารเอามาวางไว้ทุกวัน วันนี้ก็เห็นมีมะรุมด้วย นี่คือความอุดมสมบูรณ์ของประเทศและสังคมเมืองไทย
พ่อครูว่า…
กราบนมัสการพ่อครูด้วยเศียรเกล้า
กราบขอพิจารณาตามสมควรค่ะ
“คำตอบ บทกวีวันปีใหม่ 2564 ของพ่อครู”
วัยและวัน ผันผ่าน หลายวันแล้ว
แก้วกาญจน์ พานพบ จบได้(กิเลสทีละตัว)
ทิ้งขยะ สะสมสร้าง เส้นทางอธิปไตย
ฝ่าโพยภัย อุปสรรค ทั้งหนักเบา
ถึงวันนี้ เติมสุข คลายทุกข์โศก
โลกเจริญ เพลินบ้า ประสาเขา
แต่ลูกตื่น คืนสุข ทุกข์บรรเทา
เบาเบิกบาน เส้นทางแท้ แน่ “นิพพาน” (สักวันหนึ่ง)
กราบขอบพระคุณด้วยเศียรเกล้าฯ
“พริกเชื่อม”
อา. 10 ม.ค. 64 ; 5.12 น.
_แดง ลานกราบ : ท่านคะ คำว่า “ติสะระณะคะมะนังนิฐิตัง” แปลว่าอะไร? หรือคะ
พ่อครูว่า…ติสรณะคือ สรณะ 3 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คมนังคือ เคารพ เราไหว้เสร็จก็บอกเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
นั่งสมาธิจนกว่าจะหายปวดขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ
_ตุ้ม พรทิพย์ : กราบนมัสการค่ะ มีเพื่อนพอ พูดคุยกันเรื่อง ธรรมะ เพื่อนเคยไปนั่ง สมาธิหลับตาหลวงพ่อที ท่านก็ว่า หลวงพ่อสอนให้อ่านเวทนา อาการเจ็บปวดของร่างกายพิจารณามันห้ามกระดุกกระดิก พอนานไปก็เกิดอาการเจ็บปวดจากเหน็บชา ท่านให้พิจารณาถึงอาการเจ็บอาการปวดตามดู พอนั่งต่อไปนานไปอาการเจ็บอาการปวดก็หายไปเอง ท่านก็บอกว่านี่ไงอาการเจ็บปวดมันไม่เที่ยง เพื่อนก็บอกว่า ตัวนี้ก็เป็นฐานที่เอามาพิจารณาเวลาเราได้ผัสสะ จากข้างนอกคือการปฏิบัติธรรมแบบลืมตาที่พ่อครูสอน คืออันเดียวกัน พอฟังมันก็จริงเหมือนกันนะ ภาพพิจารณาตามดูอารมณ์ แต่มันมีความนิดๆที่มัน มันไม่ใช่แต่ไม่รู้จะบอกเขาอย่างไรได้ความรู้สึกคือมันไม่ใช่เหมือนกัน ฝากถามท่านค่ะ ว่าจุดที่แตกต่างในการพิจารณาความเจ็บปวด พ่อครู พูดว่าคือการสมถะแต่เขาก็ว่ามัน การใช้วิตกวิจารณ์การใช้ปัญญา
กราบขออธิบายด้วยค่ะ 9 ม.ค. 64
พ่อครูว่า…อาการปวดที่หายไปไม่ได้หายเพราะการลดเหตุปัจจัย
การนั่งสมาธิหลับตาแล้วก็แก้ไขการเจ็บปวดอะไรไปนี้ มันไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อเรียนรู้กิเลส แล้วก็แก้กิเลส กิเลสไม่ใช่มาแก้ความเจ็บปวด ไม่ใช่ ไม่ใช่แก้ความเจ็บปวดที่เป็นสรีระ ความเจ็บปวดเป็นเรื่องของสรีระ เช่นคุณนั่งทับแขน ทับขา ก็ต้องเจ็บปวดต้องชา มันเป็นเรื่องของสรีระ แต่กิเลสเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เอาเท่านี้ต่างกันนิดเดียว ตรงกายกับจิต นิดเดียวแต่เป็นคนละฟากฟ้า เป็นภาษาสิริมหามายา
เมื่อจับเป้าที่มันเป็นเหตุ ถ้าหากมันนั่งทับเท้าแล้วเหน็บชาก็เลิกนั่งทับเท้ามันก็หาย แก้ไม่ยาก ฉลาดซะอย่าง ถ้าโง่ต่อไปก็นั่งทับต่อไปนะเขาก็เป็นโรคภัยต่างๆนานาสารพัดได้เยอะ ดีไม่ดีจะเป็นมะเร็งเอา ประเด็นที่เขานั่งแล้วปฏิบัติไปทั้งหมดนี้ มันเป็นการปฏิบัติผิด ปฏิบัติไม่เข้าหลักเกณฑ์
มององค์รวมของสติปัฏฐาน 4 และ วิโมกข์ 8
_อ.ข้าดิน : ผมเข้าใจสติปัฏฐาน 4 และวิโมกข์ 8 เช่นนี้
สติปัฏฐาน 4 เหมือนกับเรามองสวนกสิกรรมทั้งหมดของบ้านราช
วิโมกข์ 8 เหมือนมองเข้าไปเจาะจงสวนใดสวนหนึ่งโดยเฉพาะ
ผมเปรียบเทียบอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ
พ่อครูว่า… “สติปัฏฐาน 4” เหมือนมององค์รวม “วิโมกข์ 8” เหมือนมองเจาะลงไปที่ใดที่หนึ่ง “สติปัฏฐาน 4” เหมือนกับ common noun ส่วน “วิโมกข์ 8” เหมือนกับวิสามัญนาม
“สติปัฏฐาน 4” (ฐานปฏิบัติให้บริสุทธิ์ด้วยสติ) มีการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
-
กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน “กายในกาย” (การกำหนดสติพิจารณากาย คือ การรวมประชุมกัน ทั้งกายนอก-ใน ให้รู้เห็นความจริง)
-
เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา “เวทนาในเวทนา” (ทั้ง 108 เวทนา) ให้รู้เห็นทุกข์(ที่เป็นทุกขอริยสัจ) ตามความเป็นจริง
-
จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาเห็น “จิตในจิต” ให้รู้จิตที่เจริญขึ้นหรือยังข้องตามสัจจะจริง
-
ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา “ธรรมในธรรม” ให้รู้เห็นจริงตามความจริง ได้แก่ นิวรณ์ 5, ขันธ์ 5, อายตนะ 6, โพชฌงค์ 7, อริยสัจ 4
(พตปฎ. เล่ม 10 ข้อ 273 – 300)
ส่วนเรื่องประชาธิปไตยขาเดียวมันผิดธรรมชาติของมนุษย์ของสังคมคน เพราะมันมีธาตุจิตวิญญาณ ส่วนประชาธิปไตยสองขานั้นมันมีครบทั้งจิตวิญญาณและร่างกาย เพราะฉะนั้นผิดธรรมชาติมันจึงเป็นเรื่องไม่จริงไม่ถูกต้องแท้ มันไปได้แต่มันหลอกมันเหมือน ประชาธิปไตยเอาประชาชนมาเป็นมวลแต่แท้จริงมันไม่ใช่ ที่แท้มันหลอกเขาอย่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ หลอกเขาและวางโครงสร้างอำนาจเงิน อำนาจแห่งอำนาจใช้ ที่กำลังแสดงการจะเอาชนะคะคานก็คือการแสดงอำนาจแห่งอำนาจ อำนาจเงินลดลงไปบ้าง แต่ถ้าเกิดว่าเงินมากขึ้นจะมีคนมาอีกเยอะ ถ้าโดนัลด์ทรัมป์ทุ่มหมดตัวจะมาอีกเยอะ
ทรัมป์นี่นะ ถึงแม้เขาจะชนะแต่เขาจะแย่อยู่แล้ว เขาชนะ แต่คดียังเยอะเลย เพราะเขาเป็นนายทุนใหญ่แล้วมาเล่นการเมือง ฉลาดไม่ใช่เล่นเหมือนกัน
“สติปัฏฐาน 4” เป็น common noun มันไม่ใช่มีแต่พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม แต่มันเป็นหัวต้น มันเป็นข้อต้นของโพธิปักขิยธรรม 37 ข้อต่อมา
-
สติปัฏฐาน 4 สติตรวจสอบจิตให้บริสุทธิ์
-
สัมมัปปธาน 4 ยุทธวิธีเพียรทำลายกิเลส
-
อิทธิบาท 4 ทะยานยันไปสู่ความสำเร็จ
-
อินทรีย์ 5 สั่งสมเป็นกำลังธรรมของจิต
-
พละ 5 ขุมกำลังธรรมะของจิต
-
โพชฌงค์ 7 การก้าวเดิน..สู่การตรัสรู้
-
มรรคมีองค์ 8 ทางเอกเพื่อเดินสู่การตรัสรู้
ส่วน “วิโมกข์ 8” เป็นการปฏิบัติเจาะลงไปที่จะต้องอ่านรูปและนาม
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี, รูปานิ, ปัสสติ) แปลว่า เห็นด้วยตา มีลูกตามองกระทบรูป ผู้มีรูปจึงจะปฏิบัติอย่างคนที่มีรูป เอาตาไปกระทบรูปได้ แต่คนที่มีตาแต่ไม่มีรูปให้สัมผัส เช่น คนไปนั่งหลับตามันก็ไม่ได้สัมผัสรูป มันก็จะไปเห็นอะไร..ไม่ปัสสติ คนที่ไปนั่งหลับตาผิดตั้งแต่วิโมกข์ 8 ข้อแรก แต่พวกหลับตา เขาตีขลุมว่าวิโมกข์ 8 คือสมาบัติ เข้าสมาบัติ
สมาบัติ จริงๆแล้วก็คือการปฏิบัติ โดยองค์รวมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้ สัมมาทิฏฐิก็ได้ เพราะฉะนั้น สมาบัติแบบหลับตาคือมิจฉาทิฏฐิ สมาบัติแบบลืมตาคือสัมมาทิฏฐิเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นวิโมกข์ 8 ไปเข้าใจว่าสมาบัติคือหลับตา ข้อ 1 ก็ผิดแล้ว ต้องเห็นด้วยตากระทบรูป..ปัสสะ ปัสสี หูได้ยินเสียง เอาคำว่า เห็น มาขยายความ หูก็คือได้รับรู้ ปัสสะ ก็คือ วิปัสสนา วิปัสสติ
2.*ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66) ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) (*พ่อท.แปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)
อัชฌัตตังแปลว่าภายใน แต่ท่านไปแปลผิดๆ เอาคำว่า อ ไปใส่สัญญี กายไปแปลว่า ผู้ไม่กำหนดสำคัญมั่นหมายในอะไร เขาก็ไปแปลว่าผู้มีอสัญญี ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในรูปแทนที่จะเป็นอรูปกับสัญญี
หากไม่มีสภาวะจะสับสนเพราะกลับไปกลับมา พ่อท่านบอกว่า ทำจากภายนอก ค่อยเข้าไปถึงภายใน อัชฌัตตัง คือรูปและ อรูป
ข้อที่ 2 ตัวพระเอกคือสัญญา ผู้มีสัญญาคือสัญญี แล้วให้เรียนรู้ตั้งแต่รูปภายนอก
หมดแล้วไม่ได้ทิ้งภายนอก เช่น คุณพ้นจากกามก็อยู่กับกิเลสกามในโลกได้อย่างสบาย ล้างกิเลสกามหมด ก็เหลือกิเลสภายในคือ ภวตัณหา รูปตัณหา ที่เหลือโดยมีข้างนอกอยู่ไม่ได้หลับตา ไม่ได้หนี แต่อยู่เหนือ ลืมตาเป็นคนปกติ หมดรูปก็เหลืออรูป ก็จบข้อที่ 2 แต่ก็อธิบายกันผิดหมดเลย
-
ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครู แปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น)
น้อมใจ ฟังแล้วก็เป็นอาการของใจน้อมไปหา โน้มไปหา ไปหาอะไร ก็ไปหาของงามมันก็เป็นกามสิ ของงามของสวยก็กามสิ เห็นไหม ความไม่รู้จักสภาวะ สุภะแปลว่า ของน่าได้น่ามีน่าเป็นหรืองาม เขาไปสรุปรวมว่า งาม เป็นภาษากลางๆ แต่คำว่างาม เอาไปใช้ในวงการของ กาม ของผู้หญิงเป็นผู้หญิงงามผู้หญิงสวย ผู้ชายก็ใช้คำว่าหล่อ ผู้หญิงใช้คำว่าสวยหรืองาม เป็นภาษา กาม ที่จริงเป็นคำกลางๆ น่าได้น่ามี เป็นของน่าได้น่ามี อะไรน่าได้น่ามีคือวิโมกข์ ออกจากกาม เนกขัมมะ ออกจากรูป อรูปต่อไป
ในการน้อมจิตหรือโน้มจิตไป เป็นจิตที่ค่อยๆเจริญเข้าไปหา มันเป็นทิศทางของจิต มันก็จะเจริญขยับเข้าไปหาความสูง ความเจริญ เข้าไปหาพระอริยสงฆ์ขึ้นจากพระโสดาบัน เป็นสกิทาคามีเข้าไปหาอนาคามีเข้าไปหาอรหันต์ อย่างนี้คือ อธิ อธิโมกข์ อธิมุติ
_สู่แดนธรรม…สมัยผมบวชอาจารย์ไม่ได้ค่อยสอนเรื่องวิโมกข์เท่าไหร่ครับ
พ่อครูว่า…ขออภัยตอนนี้พูดแล้วอย่าหมั่นไส้ ไม่มีอาจารย์ไหนมาอธิบายละเอียดลอออย่างอาตมาหรอก ทางโน้นเขาอธิบายไม่ได้พยัญชนะต่างๆ อาตมาไม่ได้เรียนบาลีมาแต่อาตมาเห็นพระบาลีแล้วของเก่าก็ขึ้น แต่ขนาดนั้นก็ยังไม่ดีเท่าไหร่แต่ก็ดีขนาดนี้แล้วถือว่า ไม่มีใครเทียบเทียม จนกระทั่งอาตมาแปลภาษาธรรมะพระพุทธเจ้าออกมามันก็จะตรงกันข้ามกับของที่เขาแปลกันมันผิดเพี้ยน จนกระทั่งพวกเรามารวบรวมได้เป็นอภิธานศัพท์อโศก ตอนนี้ออกมาเล่มนึงแล้ว ขออภัย ต้องพูดความจริงว่ายังไม่เรียบร้อยดีเท่าไหร่ อาตมายังไม่ได้ตรวจเลย มันไม่มีเวลามันไม่ไหว นี่เขากำลังทำเล่ม 2 แล้ว หนาพอกัน พอรู้ว่ายังเหลืออีกเท่าไหร่ มันอีก 3-4 แสนคำเท่านั้นเอง เล่มแรก 7,777 เลย หนังสือเล่มนี้จะเป็นหลักฐานอ้างอิงยืนยันในอนาคต
จะเรียกว่าเป็นหนังสือของอาจาริยวาท ไม่ใช่เถรวาท
เถรวาท หมายความว่า เป็นคำพูดของพระเถระรุ่นเดียวกันกับพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรพระกัจจายนะ พระอานนท์ นั่นแหละเป็นคำพูดของพระเถระในรุ่นที่เกิดในยุคเดียวกันกับพระพุทธเจ้าบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเป็นต้น ในพระไตรปิฎกเองที่รวบรวมเอาไว้แล้ว เป็นเถรวาทะ เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้ากับพระเถระต่างๆ ดูเหมือนจะมีของพระอานนท์มากที่สุด ของพระสารีบุตร ท่านจำ ของพระพุทธเจ้าท่านก็จำไว้ ท่านก็เป็นผู้ที่มาร่วมสังคายนารุ่นพระมหากัสสปะถือว่าสมบูรณ์ที่สุดแม้จะไม่ครบก็ตาม
ต่อมาก็มีอรรถกถา เป็นพวกอาจาริยวาททั้งนั้น ที่ไม่ใช่พระเถระ อย่างเมืองไทย อ.พระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งไม่ใช่องค์ปัจจุบันนี้นะ เป็นตำแหน่งสมเด็จพุทธโฆษาจารย์
แต่ขออภัยต้องพูดความจริง อย่างที่สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ทำนั้น ยังเป็นเทวนิยมอีกเยอะ ยังผิดเพี้ยนอีกเยอะ
_สู่แดนธรรม… ส่วนที่สัมมาท่านก็เอาคำสอนของพระสารีบุตรมาไว้เยอะ
พ่อครูว่า…ส่วนอาตมาต่างจากพุทธโฆษาจารย์ เพราะอาตมาอยู่ในรุ่นพระพุทธเจ้า ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วไป..จบ เพราะพูดไปมันไม่มีอะไรมายืนยันก็จบ จะพูดอย่างไร ที่เขาใช้กันเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่โพธิรักษ์ไม่มีสักเล่ม มากจนเอาสมัยนี้หลายเล่ม อาตมาเขียนหนังสือหลายเรื่องต้องการเป็นนักประพันธ์ สมัยก่อนเขียนเยอะ ละครเรื่องสั้นเป็นร้อยเรื่อง แฟ้มมันหายหมด ก่อนมาบวช อาตมาทิ้งหมดเลย เลยเอาให้คนอื่นๆไป
ยังจำเรื่องสั้นที่รวบรวมเป็นละครวิทยุได้บ้าง มีเป็นแฟ้ม อันนี้มอบให้รุ่งโรจน์ ณ นคร ก่อนจะออกมาก็มาบวช ก็ทิ้งไว้ให้ เพื่อนๆตอนนี้ตายไปหลายคน เหลืออารีย์ นักดนตรี อยู่ อาตมาทำรายการมากที่สุดก่อนใครๆ
_สู่แดนธรรม…ขอกลับมาที่โพธิปักขิยธรรม 37
พ่อครูว่า…เรามีเลขโค้ดของพวกเราคือ 4578
มาปฏิบัติแล้วจะเกิดเป็นพลังรวม เป็นอินทรีย์ เกิดพละ
-
สัทธา (ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็นสัทธินทรีย์ ฯ)
-
วิริยะ (ความเพียรที่มีพลังขึ้น เป็นวิริยินทรีย์ ฯ)
-
สติ (ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็นสตินทรีย์ ฯ)
-
สมาธิ (ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรงเป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)
-
ปัญญา (ความรู้จริงในความจริงแห่งธรรม ฯ)
พระพุทธเจ้าเกิดโพชฌงค์ 7 จึงเกิด พระพุทธเจ้าเกิดมรรคมีองค์ 8 จึงเกิด ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 ไม่เกิด ไม่มี โพชฌงค์ 7 คือการก้าวเดิน 7 หลัก เขาก็ทำเป็นรูปธรรม พระพุทธเจ้าเกิดมาก็มีดอกบัวรองรับแล้วเดิน 7 ก้าว มันผิดเพี้ยนเป็นตัวตน ทั้งที่มันเป็นนามธรรม บางคนก็บอกว่าขยายศาสนาไป 7 แคว้น ด้วยความไม่ค่อยรู้สภาวะ
อย่างอ.ข้าดินมองก็ถูก สติปัฏฐาน 4 เหมือนมองสวนทั้งบ้านราชฯ วิโมกข์ 8 คือเจาะลงในสวนใดสวนหนึ่ง
จนกระทั่งวิโมกข์ 3 แล้วไปถึงอรูปฌาน ก็ถึงเป็นอากาสาฯ วิญญานัญจา อากิญจัญญาฯ เนวสัญญาฯ สัญญาเวทยิตนิโรธ เทียบกับอนุปุพพวิหาร 9 ก็มีสัญญาเวทยิตนิโรธ
วิญญาณฐีติ 7 ไม่มี เนวสัญญาฯ สัญญาเวทยิตนิโรธ
ส่วน “สัตตาวาส 9” มี อสัญญีสัตว์แล้วมี เนวสัญญาฯ ตั้งแต่อสัญญีสัตว์ อากาสาฯ วิญญาณัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญา คือมิจฉาทิฏฐิหมด ไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ
สัตตาวาส 9
-
สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางเหล่า พวกสัตว์วินิปาติกะบางเหล่า
-
สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น
-
สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง)
-
สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค)