640103 เทศน์ทำวัตรเช้าโดยพ่อครู งาน ว.บบบ.เพื่อฟ้าดิน ครั้งที่ 8
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวน์โหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1IsTDfvkUw0L5WdLPazUZm8CcdOFGZRgodmu2-IGfe4A/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/17XOpi6UOvyOpsNJmf5K2SpqFbRZjIYTb/view?usp=sharing
ยูทูปที่ https://www.youtube.com/watch?v=Z8jKeRiXrx8&feature=youtu.be
คน ถ้าไม่ทำงาน ก็เดรัจฉานธรรมดา ทฤษฎีงาน 19 ประการ
พ่อครูว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก
เอ้า..ปีนี้มีโศลกใหม่ ฟังให้ดีแล้วก็พิจารณาให้ดี
“คน ถ้าไม่ทำงาน ก็เดรัจฉานธรรมดา”
โปรดฟังอีกครั้ง “คน ถ้าไม่ทำงาน ก็เดรัจฉานธรรมดา”
ทีนี้ก็มาเข้าสู่เรื่องราวที่เราจะได้ว่ากันไป ก็คือสิ่งที่ควรบอกกันสิ่งที่ควรอธิบายสาธยายกัน ที่เรากำลังอธิบายสาธยายกันอยู่ก็คือเรื่องของงาน คน ถ้าไม่ทำงาน ก็ได้เดรัจฉานธรรมดา
งานที่อาตมาได้ทำเอาไว้ ได้เขียนคิดเป็นทฤษฎีงาน 19 ข้อ ในหนังสือสรรค่าสร้างคน ขึ้นอยู่บทแรก
ทฤษฎีงาน 19 ประการในการสรรสร้างงานอาริยะ
-
มีคนที่ดี
-
มีงานที่ดี
-
มีความรู้ความสามารถ
-
มีเวลาหรือโอกาส
-
มีทุนที่เหมาะควร (ไม่ใช่ทุนสามานย์)
-
มีสุขภาพ และ กำลังที่ดี
-
มีความขยัน อุตสาหะ บากบั่น
-
มีหลัก มีระเบียบ มีเป้าหมาย
-
มีการจัดสรร และจัดโครงการ
-
มีการแบ่งงาน และประสานเนื่องหนุน
-
มีกะจิตกะใจ มีความใส่ใจ ขวนขวายไม่ดูดาย
-
มีการปรับความเข้าใจกัน ให้เกิดความสามัคคีอยู่เสมอ
-
มีการขัดเกลา ปฏิบัติละกิเลสเสมอ
-
มีความเห็นดี ยินดี
-
มีความเห็นจริง ซาบซึ้ง เชื่อมั่น
-
มีสติ ปฏิภาณ ปัญญา
-
มีสมาธิ ฌาน อุเบกขา
-
มีความเสียสละแท้
-
มีพลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (เอกีภาวะ ที่มีวิมุติเป็นพลัง)
พ่อครูว่า…อาตมาจัดหมวดเอาไว้ แบ่งทฤษฎีงาน 19 ข้อนี้เป็น 5 หมวด
หมวดที่ 1 มี 5 ข้อ (ข้อ 1-5)
หมวดที่ 2 มี 2 ข้อ (ข้อ 6-7)
หมวดที่ 3 มี 3 ข้อ (ข้อ 8-10)
หมวดที่ 4 มี 2 ข้อ (ข้อ 11-12)
หมวดที่ 5 มี 3 ข้อ (ข้อ 13-15)
หมวดที่ 6 ที่เหลือ 4 ข้อ (ข้อ 16-19)
มีคนดีมีงานมีความสามารถ
มีเวลามีโอกาสมีทุนที่เหมาะสม
สุขภาพและกำลังดีใจรื่นรมย์
ช่างน่าชมขยันบากบั่นอย่างเป็นบุญ
มีหลักระเบียบเป้าหมายชัด
จัดสรรโครงงานแบบแบ่งงานประสานเรื่องหนุน
ใส่ใจขวนขวายสามัคคีมีสมดุล
ละกิเลสขัดเกลาความขุ่นกำจัดมัน
มีความเห็นยินดีอย่างน่าทึ่ง
เห็นจริงซาบซึ้งอย่างเชื่อมั่น
มีสติ ปฏิภาณ ปัญญาครบครัน
สมาธิ ฌาน อุเบกขานั้น ต้องมี
เสียสละแท้เต็มกำลัง
มีพลังน้ำหนึ่งใจเดียวนี่
วิมุติเป็นพลังอย่างดี
มีเอกีภาวะจะสมบูรณ์
หายโง่ 2 ม.ค. 2564
พ่อครูว่า…อย่าลืมนะ “คนถ้าไม่ทำงานก็เดรัจฉานธรรมดา” โศลกวันนี้ซาบซึ้งตรึงอุราดีนะ
หมวดที่ 1 มี 5 ข้อ (ข้อ 1-5)
ในทฤษฎีงาน 19 ข้อหมวดที่ 1 ก็มีข้อสังเกตได้ ข้อที่ 5 มีทุนที่เหมาะควร นี่ต่างจากชาวคนโลกโลกโลกีย์ ซึ่งเขายังไม่มีธรรมะอะไร เป็นทุนนิยม ก็จนกระทั่งเกิดทุนนิยมสามานย์ขึ้นในโลก เจ็บแสบนะคำว่า “ทุนนิยมสามานย์” ถ้าคนที่มีภูมิปัญญาเข้าใจแล้วเป็นคำด่าที่เจ็บแสบมาก
คือพวกคนรวย คนได้เปรียบ จริง คุณเก่งไม่ได้ว่าคุณทุจริต คุณไม่มีความสามารถ หรือคุณไม่มีความรู้ คุณมีความรู้คุณมีความสามารถขยันหมั่นเพียรคุณเก่ง แต่คนเก่ง โดยธรรมดาธรรมชาติ คนเก่งคนสามารถ ควรช่วยเหลืออุ้มชูผู้อื่น ช่วยผู้อื่น แม่แข็งแรงกว่าลูกเก่งกว่าลูกช่วยลูก รับใช้ลูก เสียสละให้ลูก มีของ 2 ชิ้น 3 ชิ้น มี 4 ชิ้น ให้ลูก 3 ชิ้นแม่เอา 1 ชิ้น สำหรับยังชีพไปได้ ให้ลูก 3 อย่างนี้คือคน ที่เป็นอาริยะ เป็นคนฉลาด เป็นคนประเสริฐ เป็นคนดี
เพราะฉะนั้นคนที่เก่ง ไม่ทุจริตด้วย สามารถด้วย พวกทุจริตไม่ต้องพูดเลย ใช้เล่ห์เหลี่ยมซับซ้อน ยิ่งซับซ้อนหลอกคนไม่ให้รู้ทัน มีเล่ห์เหลี่ยมซับซ้อนสร้างค่ายกล สร้างกลวิธี ระบบหุ้นเป็นต้น ระบบสารพัดที่เขามี อาตมาในชาตินี้ไม่เก่งจะไปเอาเปรียบคน อาตมายอมรับว่าอาตมาโง่ อาตมาแพ้สำหรับนายทุน แพ้ลิ่วเลย ชาตินี้เกิดมาไม่ได้เป็นนายทุนกับเขาเลย มีแต่เป็นลูกหนี้ ลูกหนี้นายทุนนี่แหละ เคยเสียเปรียบเขามาตั้งแต่เป็นฆราวาส เป็นลูกหนี้ที่ดี นายทุนเขามายกยอ เราก็ซื่อสัตย์สุจริต ส่งต้นส่งดอกไม่มีขาดไม่มีเกิน ไม่มีให้ต้องทวงเลย พอใช้หนี้หมดปั๊บ หนังสือตามมาเลย ขอขอบคุณ เชิญเป็นเพื่อนกันต่อไป ยินดีรับใช้ เขาบอกว่าเขายินดีรับใช้ มาใช้บริการหนังสือตามมาเลย
เพราะฉะนั้นหมวดที่ 1 คนสำคัญที่สุด คนนี้แหละตัวดี คนนี่แหละตัวหลัก คนที่พร้อมกับกายและจิต หรือกายและใจ ซึ่งต้องมี 2 “คนมี 1 คือคนไม่มีกาย” คนไม่มีกายคือพระอรหันต์ เออ! งงไหม?.. คนไม่มีกายคือพระอรหันต์ เพราะว่าพระอรหันต์ไม่มีเวทนาที่สุขทุกข์ เวทนามีแต่เวทนาอุเบกขา เป็นใจกลางๆ มีใจบริสุทธิ์ อุเบกขามีคุณธรรม มีองค์ธรรม 5 ประการ คือปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสรา
-
ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5)
-
ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก)
-
มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ)
-
กัมมัญญา (สละสลวยควรแก่การงาน ไร้อคติ)
-
ปภัสสรา (จิตผุดผ่องแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)
(ธาตุวิภังคสูตร พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 690)
อยู่ในพระไตรปิฎกมีคนอ่านภาษาไทยที่ท่านแปลมาเป็นภาษาไทย แปลมาว่า บริสุทธิ์ ผุดผ่อง มุทุ ท่านแปลว่า อ่อน ควรแก่การงาน ผ่องแผ้ว ท่านแปลมา 5 อย่าง อาตมาดูแล้ว ทำไมคุณธรรม 5 ข้อนี้ ขยายความจากอุเบกขาเป็นองค์ธรรมของอุเบกขา ซึ่งเป็นฐานจิตของพระอรหันต์ ทำไมใช้ภาษาไทยคำว่า อ่อน อาตมาต้องไปเปิดดูบาลี อ๋อ.. “มุทุ” ท่านแปลว่า “อ่อน”
มันก็จริงอยู่ แต่ภาษาไทยแปลว่าอ่อนนั้นอาตมาว่ามันไกลเกิน โดยเฉพาะในเรื่องของอาริยธรรม คุณสมบัติของ มุทุ ของพระอรหันต์มันไม่อ่อนเลย มันแข็งแรงด้วย มันเป็นธาตุ เจโต กับปัญญา เป็นสองอยู่ในนั้น เป็นธาตุจิตที่มีสภาพ มุทุภูตธาตุ เป็นธาตุจิตที่รู้เร็วไวคล่องแคล่ว มีไหวพริบ เร็วไว Sensitive เร็วง่าย ดัด ปรับปรุงให้เจริญเร็วง่าย ทำให้เป็นฐานที่ตั้งก็แข็งแรงทั้งไวเร็ว แข็งแรงตั้งมั่น
เป็นสภาวะที่ เดา ไม่ได้หรอก ถ้าไม่ใช่เป็นพระอรหันต์จริงๆ ที่มีความรู้เพียงพอ บอกไม่ค่อยถูก อธิบายเป็นภาษาอย่างที่อาตมาอธิบายนี้ยังยากเลย มุทุภูตธาตุ เป็นคุณสมบัติของแกนจิต ถ้าคนที่ไม่ดี จิตมุทุ จะเป็นแกนแข็งกระด้าง ตีแตกยาก ยึดมั่นถือมั่นหนัก ดื้อดึง แน่น หนา กิเลสมันผูกตัว มัดตัว ผูกมัด เรียกว่าสังโยชน์ รัดรึงแน่น โง่ ไม่รู้ทันไม่รู้ง่าย เด๋อๆ อยู่อย่างนั้น โง่ดีดดิ้น โง่ซับซ้อน โง่ที่มันยิ่งซน ยิ่งดื้อด้านต่อต้าน ดื้อตาใส อาตมาใช้คำว่า โด้ง่าน
เพราะฉะนั้นในหมวดที่ 1 ข้อ 1. มีคนเป็นหลัก ข้อ 2. มีงานเป็นตัวรอง ข้อ 3. ความรู้ความสามารถเป็นองค์ที่ 3 เป็น cyclic วนได้แล้ว วิ่ง แถม มีโอกาสมีเวลา ในเวลาและโอกาสมีอยู่ในมหาจักรวาลวัฏสงสาร เวลานี้ทุกคนมีเท่ากันหมดอยู่ในโลกลูกเดียวกันนะ โลกคนละโลกก็ไม่เท่ากันหรอกโลกลูกเดียวกันเท่ากันหมดไม่ว่าคุณจะอยู่ในซีกโลกไหน อเมริกาตรงกันกับเราก็ 24 ชั่วโมงตรงกัน เป็นแต่เพียงว่ากำหนดเวลากันคนละฟาก กำหนดตัวเลขต่างกัน แต่ระยะเวลาชั่วโมงเท่ากัน 60 นาทีเท่ากันใน 1 ชั่วโมง ทั่วโลกบัญญัติมาตราของเวลาเท่ากันหมด
-
มีเวลา แล้วก็ต้องฉลาดรู้โอกาส ที่จะทำงาน โอกาสนี้ต้องรีบทำ โอกาสนี้ช้าไม่ทันโอกาสนี้ก็ทำไปได้สบายๆ โอกาสนี้ช้านิดช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร อย่างนี้เป็นต้น จะฉลาดรู้ทันรู้ว่าควรหรือไม่ควรขนาดไหน
-
จึงคำนึงถึง ทุน ทุนรอน ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องใช้ไปมา ตั้งแต่ทุนรอนที่เป็นวัตถุ สถานที่วัตถุ เครื่องใช้ อุปกรณ์ เงินทอง
อุปกรณ์ไม่มี..เราผลิตเองได้ สถานที่ก็หา เครื่องใช้ต่างๆที่จะใช้ประกอบคนก็ฉลาดสร้างอุปกรณ์สร้างเครื่องใช้ขึ้นมาประกอบเสมอ เพื่อให้เกิดงาน จนกระทั่งเดี๋ยวนี้เขาผลิตอุปกรณ์ขึ้นมาใช้ โอ้โห วิจิตรพิสดาร ใช้กันได้อย่างเร็วไวปราดเปรียว มีประสิทธิภาพสูง
ทำ 5 ข้อแรก ถ้าได้สมบูรณ์ก็สบายแล้ว
ถ้ายิ่งหมวดที่ 2 มี 2 ข้อ (ข้อ 6-7)
-
มีสุขภาพ เราก็รู้จักรักษาดูแลสุขภาพให้กำลังวังชาของเราดี แข็งแรงแข็งแรงยิ่งขึ้น ดูสิ กล่าวว่า 87 ปี ได้แล้ว เพราะอายุเลย 86 ปี มาย่างเดือนที่ 7 แล้ว ดูสิ ยังสุขภาพดี มีวิบากเล็กน้อย ไม่ไอที แต่ไอหลายที ไม่ใช่คนไอที แต่เป็นคนไอหลายที เลยใช้ไอทีกับเขาไม่เป็นเพราะไอหลายที
-
มีความขยันอุตสาหะบากบั่น ซึ่งไม่ต้องขยายความ
หมวดที่ 3 มี 3 ข้อ (ข้อ 8-10)
-
มีเป้าหมาย ก็ไม่ต้องขยายความ มีหลักเกณฑ์ ระบบ ระเบียบของมัน มีเป้าหมาย
-
มีการจัดสรร และจัดโครงการ อาตมาจะใช้คำว่า สรร ที่แปลว่า เลือกสรร เลือกเฟ้น แปลคำว่า สรรค์ มันแปลว่าสวรรค์
-
มีการแบ่งงาน และประสานเนื่องหนุน
หมวด 4 มี 2 ข้อ (ข้อ 11-12)
-
มีกะจิตกะใจ, มีความใส่ใจ, ขวนขวายไม่ดูดาย มีอิทธิบาทมีเวยยาวัจจมัยมีความขวนขวายไม่ดูดาย
-
มีการปรับความเข้าใจกัน ให้เกิดความสามัคคีอยู่เสมอ มีสาราณียธรรม ทำงานแล้วเป็นอย่างไรมีความไปได้ดีอยู่ไหม เอาใจใส่มีการปรับปรุงเข้าใจกัน มีความสามัคคีกันเสมอ
หมวดที่ 5 มี 3 ข้อ (ข้อ 13-15)
-
มีการขัดเกลา ปฏิบัติละกิเลสเสมอ มีฌาน หรือบุญเริ่มตั้งแต่ข้อ 13 นี้ จะมีการสร้างพลังงาน ฌาน ขึ้นมาขัดเกลา ก็คือทำการขัดเกลา กาย วาจา ใจ ที่มันเป็นความสุจริตทั้ง 3 ล้างขัดเกลากิเลสที่เป็นต้นเหตุให้เราทำทุจริตเช่นนิวรณ์ทั้ง 5 เป็นต้น ให้ลดลงๆ ตามอวิชชาสูตร
อวิชชาสูตร อวิชชามีนิวรณ์ 5 เป็นอาหาร อวิชชากลืนกินขย้ำนิวรณ์ 5 อร่อย อวิชชามีนิวรณ์ 5 เป็นอาหารอร่อย ชอบไหม? นิวรณ์ 5 เป็นกิเลสก็รวม กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
-
มีความเห็นดี, ยินดี, มีฉันทะ, มีปีติ มีความเข้าใจดีรู้ดีขึ้นมา พวกเรามาศึกษาด้วยความเห็นดีก็มีความยินดีพอใจ ประสงค์จะเป็นเช่นนี้ จะเจริญก้าวหน้าเป็นคนชนิดนี้ มันเป็นสัจจะของพลังงานจิตมีทั้งความรู้และความเป็นไปได้ รู้แล้วก็ทำให้เป็นไปได้ ทั้งกายวาจาใจ ครบสมบูรณ์
-
มีความเห็นจริง, ซาบซึ้ง, เชื่อมั่น มันชัดเจน มันแน่นอน มันเป็นปัญญาที่ชัดเจนไม่ใช่เป็นเรื่อง เฉโก ความรู้ที่ยังไม่เที่ยงแท้ แต่เป็นความรู้ที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง นิจจัง ไปเรื่อยๆ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(แน่นหนาจนไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(กิเลสไม่กลับกำเริบ ตายแล้วตายเลย)
เห็นจริงซาบซึ้งเชื่อมั่น เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นทั้งความเจริญ ทั้งความมั่นคง เต็มทั้ง 2 สภาพ ความเจริญก็เจริญไปเรื่อยๆความมั่นคงก็เที่ยงแท้แน่นอน
หมวดที่ 6 ที่เหลือ 4 ข้อ (ข้อ 16-19)
-
มีสติ, ปฏิภาณ, ปัญญา มีสติความรู้ถ้วนรอบ ทั้งกายวาจาใจ สติเต็มครบ ไม่ใช่สตินั่งหลับตาปฏิบัติ แต่ภายใน สติก็ไม่เต็มไม่ได้ล้าง กาม ไม่ได้เรียนรู้กิเลสที่เป็นศัตรูตัวเก่งคือ อบาย คือกาม เขาจึงมีพระอรหันต์ที่ยังเสพสิ่งเสพติด ตั้งแต่เครื่องที่หยาบๆ เสพยา เสพสุรา เสพเครื่องเสพติด เสพหมากพลูบุหรี่ จนกระทั่งเสพติดรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส รูปสวย รสอร่อย เสียงเพราะ มอมเมากันจัดจ้าน ทั้งแบบโรแมนติซิซึ่ม (romanticism) และซาดิสซึ่ม (sadism) ทั้งสนุกสนานรื่นเริง ไปทางขิฑฑาปโทสิกะ ทั้งไปในทางมโนปโทสิกะ โง่ในทางจิต พวกซาดิสซึ่ม พวกรุนแรงเอาชนะคะคานดื้อดึงดัน ซ้อนไป เป็นการทุจริตขี้โกงกูจะชนะอย่างเดียวดีไม่ดีรุนแรงฆ่าทำร้ายเอาเลย ก็ไม่รู้ตัว
หรือ หลงตำแหน่งยศศักดิ์สรรเสริญ เลยเถิดเปิดเปิง ฟ่องลอย เกิดมาชาตินี้หอคอยงาช้าง เกิดมาชาตินี้ไฮโซ เกิดมาชาตินี้เป็นอีหนูเป็นคุณหนู มันไม่รู้เรื่องเลย เป็นคนใหญ่คนโตก็โอ้โห ใครอย่าแตะ ใครมาอะไรไม่ได้เลย มันแย่ เป็นคนที่เกิด เพราะฉะนั้นคนที่สามารถรู้ชัดเจนมีปฏิภาณมีสติมีปัญญา เข้าใจ
สติเริ่มมีความรู้รอบแล้วประกอบกัน มีสติเป็นตัวกลาง ปฏิภาณเป็นตัวตั้งตัวไหวพริบปัญญาเป็นตัว Dynamic เป็นตัวเคลื่อนเร็ว ตั้งมั่นเป็นสภาพ2 อยู่เสมอ สภาพที่มีความ cyclic แล้ว
-
มีสมาธิ, ฌาน, อุเบกขา ที่จริงแล้วคำว่า “สมาธิกับฌาน” มันเป็นภาษาสิริมหามายา สมาธิเกิดก่อนแล้วมี ฌาน เกิดตามมาก็ได้ จริงๆแล้วสร้างพลังงาน ฌาน แล้วสั่งสมเป็นสมาธิก็ได้ แต่จะเรียกว่าเป็นสมาธิ คือสั่งสมจิตที่บริสุทธิ์สะอาด แต่มิจฉาทิฏฐิก็ไปสร้างสมาธิไม่ได้ทำให้จิตสะอาดแต่ทำให้จิตตกผลึก, ตกคลั่ก, ดำมืด, แข็งทื่อ สะกดจิตเป็นอะไรไม่รู้โลก มีแต่อัตตาที่แข็งแน่น อัตตาที่อัดเข้าไปๆ กดเข้าไปข่มเข้าไป เป็นสมถะอย่างเดียว สมาธิทางโลกีย์เข้าใจก็อย่างนั้นและมีวิธีแต่อย่างนั้น จึงเป็นวิธีง่ายๆหลับตาสะกดจิตเข้าไป
ส่วนของพระพุทธเจ้าเป็นจรณะ 15 วิชชา 8 มีศีลเป็นระดับไป เกี่ยวกับสัตว์ข้อที่ 1 เกี่ยวกับของ มีพีชะกับวัตถุ ข้อที่ 2 ซึ่งไม่มีวิญญาณ แต่สัตว์มีวิญญาณ วัตถุกับพืช ไม่ใช่จิตนิยาม เพราะฉะนั้นปฏิบัติกับสิ่งเหล่านี้ไม่มีวิบากแก่กันและกัน ปฏิบัติกับวัตถุปฏิบัติกับพืชไม่มีวิบาก ไม่จองเวรจองกรรมไม่ผลักไม่ดูดกัน ต่างคนต่างพัฒนาตัวเองไป จนกว่าจะพัฒนาขึ้นมาถึงจิตเป็นสัตว์จึงจะเกิดความรักความพยาบาท เกิดรู้เรารู้เขา มีเรามีเขามีสภาพ 2
เพราะฉะนั้นสัตว์เดรัจฉานตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียว 2 เซลล์มันก็เริ่มมีตัวกูของกูขึ้นมายึดถือเลย แล้วก็รักตัวรักตนยึดตัวยึดตน ใครมาทำร้ายฉัน ฉันสู้ เพราะฉะนั้นไวรัสหรือว่าเชื้อโรคเล็กๆมันกัดคุณอย่างเดียว มันทำร้ายคนอย่างเดียว มันไม่รู้ มันเอาตัวเองเป็นหลัก
เพราะฉะนั้นก็จำนน จะบอกว่าหมอนี่ก็ฆ่าสัตว์สิ ฆ่าไวรัสมันสัตว์ ก็ต้องฆ่า ไม่ฆ่ามันก็ฆ่าเรา เป็นเรื่องสุดวิสัย จะบอกว่าเชื้อโรคก็ไม่ให้ฆ่าอย่างพวกเชน เป็นโรคภัยก็ไม่รักษาปล่อยไป หรือแม้แต่ชาวพุทธนี่แหละพวกที่เคร่งๆ ก็ไม่เอาไม่รักษาปล่อยไป อย่ามารักษา โธ่เอ๋ย! คนมีคุณค่าก็อยากรักษาไว้ ไม่อยากให้ตายง่ายๆ อยู่ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรก็ยังได้ แต่ดัดจริตสะดิ้ง
“สมาธิกับฌาน” ของพุทธนั้นจะมีศีล แล้วมี “อปัณณกปฏิปทา 3” (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดทางพุทธ) เป็นหลักการเลยนะ
-
อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ทวาร)
-
โภชเนมัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในสัดส่วน, ทั้งอาหารกาย, อาหารอารมณ์, อาหารวิญญาณ)
-
ชาคริยานุโยค (การหมั่นตื่นออกจากกิเลสโลกีย์)
(พตปฎ. เล่ม 20 ข้อ 455)
ถ้าไม่มี 3 ข้อนี้ไม่ใช่ศาสนาพุทธ ผิดไปจากศาสนาพุทธ พวกปฏิบัตินั่งหลับตาไม่มีชาคริยาไม่ตื่นไม่มีการรู้แล้วสัมผัสกับเครื่องกินเครื่องใช้ต่างๆ มีโภชเนมัตตัญญุตาก็ไม่มี สำรวมอินทรีย์ทั้ง 5 ภายนอกมีใจประกอบกัน ก็ไม่ได้ทำในหลักการนี้ ตนเองก็เอาตรงกันข้ามกับการตื่น ไสย หนักเข้าก็มืดดำ นิทรา หลับ มันก็ตรงกันข้าม ออกนอกรีต
ต้องพยายามพากเพียรตื่นเต็มให้เสมอ จิตที่มีสติเต็มร้อย ทั้งขณะที่พูดจามีสติควบคุม มีปฏิภาณไหวพริบควบคุม มีปัญญาควบคุม คิดก็ต้องมีปัญญาไหวพริบมีสติภายในควบคุม แม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น “ฌานกับสมาธิ” ต่างกันตรงที่ของพุทธแท้ๆ ตามจรณะ 15 นั้น ฌาน คือพลังงาน, เผา, ไฟ พลังงานเรียกด้วยภาษาไทยว่าเผาผลาญ เหมือนพลังงานในพระอาทิตย์ จะเรียกว่าไฟมันก็เกินกว่าไฟ มันเผาละลายหมด ถ้าเอาอะไรใส่ไปในพระอาทิตย์นี่ แต่ในพระจันทร์ไม่ใช่นะ
พูดมาตรงนี้ก็นึกถึงคนที่นามสกุลจันทร์โอชา มีจันทร์อันอร่อย (จันทร์โอชา) พูดไปอีกจะเป็นการสรรเสริญเยินยอ แต่นี่ก็สรรเสริญแล้ว มันเป็นสัจจะเขาต้องนามสกุลจันทร์โอชา ประยุทธ์เป็นนักรบแต่จันทร์โอชา แต่คนที่ประยุทธ์ไม่ใช่นักรบ หลง อาจาริยะ ขออภัย พูดพาดพิงถึงอีกท่านก็ไปหลงในความเป็นอาจารย์ แต่นี่เป็นนักรบที่เป็นประโยชน์แล้วให้คนได้อาศัย มวลมนุษยชาติอาศัย เพราะฉะนั้นทำงานไปเถอะท่านประยุทธ์ก็อยู่ไปถึง 70 ปี อายุ 80 ปีแล้วค่อยลง มันจะช่วยให้ได้มากเลย ก็ขออวยพรปีใหม่ “ขอให้พลเอกประยุทธ์มีสุขภาพดี กำลังวังชาดี รักษาสุขภาพดีๆเถอะ แข็งแรง” อาตมาเอาใจช่วยให้กำลังใจเต็มที่แล้วก็พร้อมจะช่วยเหลือสิ่งใดที่พอจะช่วยได้ตามประสาอาตมาก็ว่าไป
ฌาน, สมาธิ, อุเบกขา เมื่อเราปฏิบัติศีลเป็นหลัก แล้วก็ปฏิบัติอปัณณกธรรม 3 ก็จะเกิดสภาพสัทธรรม 7 ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต ใน “สัทธรรม 7” คือธรรมของคนดีที่มีสัมมาทิฏฐิ แบ่ง 3 หมวด
-
ศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างสัมมาทิฏฐิ)
-
หิริ (ละอายต่อการกระทำผิด)
-
โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อการกระทำผิด)
-
พหูสูต (ฟังมาก รู้มาก ปฏิบัติธรรมแทงตลอดได้มาก)
-
วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร)
-
สติ (ระลึกรู้ตัวไม่เผลอใจ)
-
ปัญญา (รู้แจ้งชำแรกกิเลสได้)
(พระไตรปิฎกเล่ม 11 “สังคีติสูตร” ข้อ 330)
แล้วจะเกิดผลทางจิต ศรัทธา หิริโอตตัปปะ ศรัทธามันจะมีความเชื่อ มันจะฉลาดอย่างไรก็รู้ของมันฉลาด ขนาดพืชมันยังรู้ของมันเลยมันยังเชื่อของมันด้วยสัญญาและสังขาร มันยังไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณ ส่วนสัตว์นั้นมันมีเวทนาแล้ว มีวิญญาณแล้ว มันก็ปรุงแต่ง
คน จึงมีหิริโอตตัปปะ สัตว์มันก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นสัตว์บางชนิดมันมีความอาย ความละอายในสิ่งที่ควรละอาย มันรู้มันมีปฏิภาณของมัน ไม่ขยายความต่อ คนก็มีหิริ ควรละอายก็จะละอาย
ละอายในปรมัตถ์ในสัจธรรมของพระพุทธเจ้า ละอาย ในสิ่งที่ควรอาย อย่างนี้คนไม่ควรทำอย่างนี้คนเจริญเป็นอาริยะไม่พึงทำ เช่นฆ่าสัตว์ ไปฆ่ามันทำไมมันเป็นวิบากลึกซึ้ง เป็นวิบากที่จะตามติดไปอีกไม่รู้กี่ชาติ ไม่จบนะ ตามกัน เหมือนหมาไล่เนื้อ อกุศลนี่ มันไล่ทันก็จัดการเรา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตายสูญ ปรินิพพานเป็นปริโยสานเลยไม่เหลืออัตภาพแล้วคุณก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นพวกพยาบาทพวกหมาล่าเนื้ออกุศลติดตามนั้น ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ถูกทำลายนะ มันทำลายไม่ได้ กุศลอกุศลทำลายไม่ได้นิรันดร เพราะฉะนั้นศาสนาที่เป็นเทวนิยมมีแต่ดีกับชั่วกุศลอกุศลไม่รู้จักสุขทุกข์ไม่ได้เรียนปรมัตถ์ จึงดับไม่เป็น
เพราะฉะนั้นเทวนิยมจึงเป็นสุขนิยม ความสุขเที่ยงอยู่กับพระเจ้าแล้วไม่รู้ว่าอะไรต่อพระเจ้าก็หลงความสุข แล้วก็ไม่รู้วิบากเกิดอีกกี่ชาติ เพราะฉะนั้นศาสนาเทวนิยมหลายศาสนาเขารู้จักการ Rebirth เกิดชาติใหม่ พวกที่ บื้อ จริงๆบอกว่าเกิดชาติเดียวก็อยู่กับพระเจ้าจบไม่มีขยายความต่อเลย ชาติที่ 2, 3, 4 ไม่รู้อธิบายไม่เป็น แต่หลายศาสนามีการอธิบาย แต่อธิบายตัวสิ้นสุดเหมือนศาสนาพุทธไม่ได้ ศาสนาพุทธจะเกิดนิรันดรก็ได้ จะสูญนิรันดรก็ได้
ขณะนี้ พุทธ พระอวโลกิเตศวรเกิดอยู่ตลอดเวลาไม่ยอมตายอมตะอยู่อย่างนั้น เพราะมีปณิธานว่าจะช่วยเหลือมนุษย์ในโลกนี้ให้นิพพานหมดทั้งโลก ตัวเองจึงจะปรินิพพาน แล้วทำไมไม่ต่อโลกอื่นอีกละท่านอวโลกิเตศวร นี่โพธิรักษ์ ทัก ท่านเก่งขนาดนั้นไปช่วยมนุษย์โลกอื่นอีกหน่อยสิ ท่านตั้งปณิธานจะรื้อขนสัตว์ให้หมดโลกจึงจะปรินิพพาน มันเป็นปณิธานที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะเชื่อเลย มันโอเวอร์ไปกระมังมันมากไป Incredible มันไม่น่าเชื่อ อะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่มันจริงมันทำได้ตามนั้น
สรุปแล้วศาสนาพุทธรู้จัก ฌาน ต่างจากเทวนิยมต่างจากโลกีย์ทั่วไปเขาก็มี ฌาน เขาก็มีสมาธิเขาก็มีอุเบกขาแต่เป็น เคหสิตอุเบกขา เขาไม่เข้าใจกำจัดเป็นฌาณ เป็นบุญ กำจัด กาม พยาบาท เหลือเท่าไหร่ วิหิงสา กำจัดต่อเป็นรูปภพ อรูปภพ รู้จักหน้าตากิเลสดีที่สุดถึงขั้นอาสวะอนุสัย
สรุปแล้วจิตที่ได้ล้างกิเลสออกหมดด้วยฌานด้วยไฟ จนถึงขั้นเป็นบุญ บุญเป็นตัวที่ตัดสินสุดท้าย กิเลสจบหมดไม่เกิดอีก เด็ดขาด บุญเป็นตัวเดียวกันกับฌานแต่บุญเป็นตัวสุดท้าย เป็นตัวปัญญาพละ
หลักธรรมพละ 5 คือ 1. สัทธาพละ, 2. วิริยพละ, 3. สติพละ, 4. สมาธิพละ, 5. ปัญญาพละ เป็นตัวปัญญาพละ กำลังของความรู้ยิ่ง ตัด หมด จบ ไม่มีอะไรที่จะไม่จบ จบถ้วน
-
มีความเสียสละแท้ (ข้อ 18 มีตัวเดียวเลย) เสียสละคำเดียว ขยายความมีคำว่าแท้เสียสละแท้ เสียสละอย่างไม่มีสาเปกโข ให้ เสียสละ ให้นี่เป็นคำที่ทั่วไปใช้กัน แลกกันไปมา เป็นทายก ปฏิคาหค เสียสละนี้เสียไปเลยสละเลย เสียอย่างเดียวมันเป็น one way Traffic อย่าโค้งกลับมานะตำรวจจับ ขับรถย้อนศรตำรวจก็จับไม่ให้นะ One way Traffic ทางเดียว ให้อย่างบุญ
อย่างพวกคุณตอบแทนอาตมาในสิ่งที่คุณช่วยเหลือ แต่อาตมาก็ไม่ได้สะสมอะไร ตอบแทนอาตมาขอบคุณมา 50 กว่าปีแล้ว วันนี้ปีใหม่ก็ขอขอบคุณทุกคนที่ได้ตอบแทนช่วยเหลืออาตมา สิ่งที่จะตอบแทนดูแลช่วยเหลืออาตมาดีที่สุดคือ “ลดกิเลสตัวเองให้เป็นอรหันต์ และบำเพ็ญโพธิสัตว์ช่วยอาตมาไปเรื่อยๆ” เราก็จะได้เป็นผู้ที่ช่วยเขาเพื่อให้เขาไปช่วยคนต่อไป ช่วยเขาเพื่อให้เขาไปช่วยเขา ไปเรื่อยๆ ช่วยคนเพื่อให้ช่วยคน เสร็จแล้วมีฐานอาศัยคืออุเบกขา เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทุกองค์ บำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ก็จะไปจบด้วยเมตตากับอุเบกขา 2 เทวะ (เทวะคือ 2 สภาพ) เพราะฉะนั้นพระอรหันต์พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสาน ก็จะอยู่ด้วยเมตตาและอุเบกขา เรียกว่า “สุนทรียภาพ” เมตตาของพระอรหันต์หรือพระโพธิสัตว์ขึ้นไปก็คือช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตเมตตา เมตตาขึ้นต้นแล้วก็จะมี กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา
“เมตตา” คือมีจิตที่ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์พ้นสุข เห็นเขาตกทุกข์ได้ยากเห็นเขาหลงมีความสุข มีคนหลงในความสุขและธรรมะก็ช่วยอยู่ คนที่ตกในความทุกข์เราก็ช่วยกันเยอะ แม้แต่คุณปัญญา นิรันดร์กุล ก็ช่วยอยู่ (รายการปัญญาปันสุข) เขาก็ช่วยกันอยู่หรือคนอื่นๆใดๆก็ช่วยกันตามสามัญของคนที่มีจิตเป็นกุศลเป็นจิตที่ดี ก็ช่วยกัน
ช่วยให้คนพ้นทุกข์พ้นสุขเป็นโลกุตระ ส่วนโลกียะก็จะช่วยคนที่มีทุกข์แต่ไม่รู้จักช่วยให้คนพ้นสุข พูดกันยังไม่รู้เรื่องหรอกกับพวกเขาเขาบอกว่าเอาไปทิ้งทำไมความสุข พระเจ้าไม่รู้จักความสุขแต่ติดในความสุขเป็นสุขนิยม นี่ไม่ได้ว่าพระเจ้านะแต่อธิบายวิชาการ อธิบายสัจธรรม ต้องขออภัยพระเจ้าเพราะว่าเป็นบัญญัติเป็นสภาวะ พระเจ้าอยู่ที่ไหนก็ไม่มีหรอก ศาสนาพุทธเราไม่มี
พระเจ้าก็คือพลังงานของจิต พระเจ้าคือพระวิญญาณยิ่งใหญ่ ก็คือของจริงที่อยู่ในวิญญาณสัตว์โลกนี่แหละ โดยเฉพาะมนุษยชาติอาริยะ มนุษย์เจริญก็จะรู้จัก
เมื่อมีเมตตาก็ช่วย กรุณาคือลงมือช่วยเลย เมตตาปรารถนาจะช่วยคนให้พ้นความทุกข์ความสุข นี่เป็นโลกุตระ ถ้าโลกียะก็ช่วยแต่ผู้ที่มีความทุกข์แล้วช่วยให้เขามีความสุขวนเวียนเป็นโลกียไม่มีวันจบ เมื่อเป็นโลกุตระก็พ้นความทุกข์ความสุข
กรุณาก็ลงมือช่วย ลงมือช่วยจนเขาพ้นทุกข์พ้นโศก เมื่อพ้นทุกข์พ้นโศกแล้วก็จบกิจ เรียบร้อยพอเหมาะสมแล้ว ช่วยเท่านี้แหละพอดีแล้วสำหรับคนนี้สำหรับอันนี้เสร็จ ก็เป็นมุทิตา ยินดีแล้วนะยินดีด้วยแล้วนะ เป็นปัตติทานมัย ได้ให้แล้วนะเสร็จแล้วนะ อนุโมทนามัย ก็อนุโมทนานะดีแล้วล่ะเสร็จแล้วจบ
มุทิตาจบแล้วจึงมาเป็นอุเบกขา ก็เลิกไม่ต้องไป พิรี้พิไร อะไรยึดถืออะไรอีก ปล่อย เฉย เขาจะมาตอบแทนบุญคุณก็ตามควร ได้อย่างนั้นอย่างนี้แล้วเราก็จะต้องรู้ ถึงคนที่มาตอบแทนเรา ตามที่ควรตอบแทน
พูดถึงตรงนี้แล้วนึกถึงเรื่องสั้นที่อาตมาเขียนเรื่องหนึ่งชื่อเรื่อง “เขียง”
เขียงนี่คือเขียงนี่แหละ… มีผัวเมียคู่นึง ผัวทำงานตัดต้นไม้ ต้นมะขาม ต้นใหญ่ๆ แล้วก็เอามาทำเขียง เขียงต้นมะขามนี่ชั้นหนึ่งเลยนะ ต้นแก่ๆ ต้นใหญ่ๆ ตัดมาทำเขียงได้หลายขนาดขาย
อยู่มาวันหนึ่งหมอคนหนึ่ง ออกไปเยี่ยมประชาชนชนบท ไปดูแลชนบทตรวจรักษาไข้ เป็นหมอจิตอาสา ก็ไปเจอคนทำเขียงขาย แกเป็นโรคไทฟอยด์ ก็เลยทำงานไม่ได้ เมียก็เอาแต่ร้องไห้ เพราะยากจน
หมอออกไปแต่ไม่ได้เตรียมยาไทฟอยด์ไปเลย ก็เลยได้แต่เอายาฉีด แล้วหอบคนป่วยเอามารักษาที่คลินิก ก็รักษาจนหาย ก็ให้กลับบ้าน ให้กลับไปตัดเขียงทำเขียงขายอีก
เสร็จแล้ว คนที่ทำเขียงขายนี้ ถึงวันปีใหม่ระลึกถึง ก็เอาของชำร่วยมาให้ ก็เขียงนั่นแหละมาให้ทำอย่างดีสลักเสลาอย่างงาม เอามาเป็นของบรรณาการ เป็นของขวัญ ตอบแทน เพราะเขาเป็นคนจน แต่เอามาให้หมอ
หมอคนนี้ก็เลยเอาใส่ตู้เครื่องมือ เพื่อนของหมอก็มาเจอ ก็บอกว่า เฮ้ย! อะไรของเอ็งวะ? เอาเขียงไปไว้ทำไมกับเครื่องมือแพทย์ราคาแพง เขียงมันก็ต้องอยู่ในครัว หมอก็บอกว่าเอาน่า เพื่อนก็เซ้าซี้ๆ จะบ้าหรือ! เอาเขียงไว้ในตู้เครื่องมือแพทย์มันกินที่ เพื่อนเซ้าซี้ จนกระทั่งหมอคนนี้ก็เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง…
ที่จริงไม่ได้จบตรงนี้มันจบเศร้า ตอนจบนี่เป็นเรื่องเศร้า
คือจบตรงที่ หมอคนนี้เกิดคิดถึงผู้ป่วยคนนี้ว่าจะเป็นไทฟอยด์กลับอีกหรือไม่ ก็เลยรีบเอายาไทฟอยด์ไปเยี่ยม พอไปถึง ก็เห็นคนมุงอยู่เต็ม ก็เลยเข้าไปดู ปรากฏว่าคนนี้ถูกต้นมะขามทับ ต้นมะขามที่เขาตัดนี่แหละมันล้มมาทับ หมอก็เข้าไปช่วยไม่ไหวสุดท้ายตายคาต้นมะขาม
เขียงมีค่าไหม?.. นี่คือเขียงมีค่า
นี่คือเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่รื้อขึ้นมา ของ…โบราณ สนิมรัก
นามปากกาของอาตมาอันหนึ่งชื่อว่าโบราณ สนิมรัก ใช้คำว่า “รัก” ด้วยนะ เป็นรักขึ้นสนิม ต่อมาก็เลยเปลี่ยนเป็นโบราณ นวทัศน์ แต่ว่าต้องไปแปลคำว่านวทัศน์อีก ก็เลยเปลี่ยนไปเป็น โบราณใหม่เสมอ อาตมามีนามปากกาเยอะแยะ เขียนเรื่องสั้นเป็น 100 เรื่อง เขียนเรื่องสั้นออกอากาศทางวิทยุ
ตอนเริ่มต้นร่วมกันเขียน 3 คน(นักเขียนละครวิทยุ) ตอนแรกแบ่งให้อาตมา 2 วันต่อสัปดาห์ คุณสำราญอีก 1 วันต่อสัปดาห์ อีกคนหนึ่ง 2 วันต่อสัปดาห์ เสร็จแล้วอยู่มาสำราญบอกไม่ไหว สัปดาห์ละ 2 เรื่องเริ่มไม่ไหว อาตมาก็เลยต้องรับมาเป็น 3 เรื่องสำราญใช้นามปากกาว่าหลวงเมือง ต่อมาอีกคนนึงบอกว่าไม่ไหวก็เลยยกให้อาตมาอีก ยกมาให้อาตมาอีก สุดท้ายอาตมาก็บอกว่าไม่ไหว คนหนึ่งเหมา 5 เรื่องต่ออาทิตย์นี้ไม่ไหวนะ อาตมาจำได้เลย นั่งส้วมก็ต้องมาดูหนังสือพิมพ์เอาตรงไหนที่จะมาผูกเรื่อง จนกระทั่งยังจำได้เลย มีอยู่ในเรื่องข่าวคราวหนังสือพิมพ์
มีเจ๊กคนหนึ่งถูกจับเป็นข่าวเพราะว่ามันไปจับนมคนใช้ คนใช้มาถูบ้าน ไอ้นี่ก็.. กามมันขึ้นแรงอดไม่ได้ก็ไปจับนมคนใช้ก็เลยถูกจับเป็นข่าว อาตมาก็จับเอามาเป็นพล็อตเรื่อง ถึงขนาดนั้น มันลามกหน่อยๆก็อุตส่าห์เอามาเป็นพล็อตเรื่องเขียนเพราะมันไม่ทัน นี่ก็เล่าสู่กันฟังเรื่องที่ผ่านมา
อุเบกขาเป็นฐานของศาสนาเป็นฐานของพุทธอย่างสำคัญ ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ใครมีพยัญชนะและมีสภาวะชัดเจนก็เป็นความสมบูรณ์ ทำใจในใจของเราให้ไม่มีกิเลสแล้วก็ทำ “อุเบกขา 5” ให้แข็งแรง
-
ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ 5)
-
ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก)
-
มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ)
-
กัมมัญญา (สละสลวยควรแก่การงาน ไร้อคติ)
-
ปภัสสรา (จิตผุดผ่องแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)
บริสุทธิ์แล้วก็ยิ่งบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น แล้วก็รวมเป็น มุทุภูตธาตุ แล้วก็ทำงานยิ่ง กัมมัญญา ทำงานเหมาะควรกับสังคมได้มากได้ดี ได้ประเสริฐยิ่งเบามากขึ้น จะทำงานอย่างไร จะมีการปรุงแต่งอย่างไร จะถูกด่าถูกว่าถูกต่อต้านอย่างไร ก็ทำกับสังคมยิ่งเก่งยิ่งเชี่ยวชาญ ยิ่งสำเริงสำราญ ยิ่งประภัสสร ยิ่งผ่องแผ้ว คำแปลมาเป็นพยัญชนะภาษาไทยในพระไตรปิฎก อาตมาก็เคยบอกว่าผุดผ่องกับผ่องแผ้วมันต่างกันอย่างไร ผ่องพึ่งจะผุดขึ้นอันนี้ของมันจะแผ้ว
-
มีพลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (เอกีภาวะ ที่มีวิมุติเป็นพลัง)
เอกีภาวะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นเอกเป็นภาวะเกิดจริงปรากฏ 1 เอก เป็นเอก ทั้งที่มันอยู่กันอย่างพลังงานสูงในนี้ พลังงานสร้างสรรมีสูง พลังเป็นวิมุต มีวิมุติเป็นพลัง พลังงานที่เชี่ยวชาญคล่องแคล่ว กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ทั้งภายนอกภายในรวมทั้งกายทั้งจิตคล่องแคล่วว่องไว นี่คือคุณสมบัติของพระอรหันต์พระโพธิสัตว์
ไม่ใช่ยิ่งเป็นพระอรหันต์ยิ่งเป็นผู้ที่สูงขึ้นไปก็ยิ่ง เต๊ะท่า ยิ่งเฉื่อยอืด หลับไหล ทื่อ เหมือนอาจารย์เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อะไรที่ลำปาง นั่งหลับตา แขกมาใครมาก็นิ่ง ซึ่งมันไม่ใช่อรหันต์ เป็นอรหันต์ที่ผิด อรหันต์ที่ติดยึดเอาแต่หลับหรี่ ถีนมิทธะ ตกผลึกเป็นสมถะนิ่งสงบมันสุดโต่งเลยเถิดก็ยังไม่รู้กัน นี่ยกตัวอย่างหลายทีแล้ว
หรือยิ่งปราดเปรียวคล่องแคล่วเกินไปมีภาวะฉลาดเฉลียว เฉโก เหมือนอย่างธัมมชโยนี่ก็ร้ายแรงมากไม่รู้ทันเลยนะ เดี๋ยวนี้คนที่หลงใหลก็ยังไม่รู้เท่าทัน ตอนนี้หายตัวไม่รู้ตายหรือดีอย่างไร ไม่ได้ว่าเขาตายนะ หรือยังไม่ตายก็ไม่รู้ เก่งจังหายตัวได้ แต่พวกสาวก เขาก็คงรู้ว่าไม่ได้หายตัวหรอก แต่พวกข้างนอกยิ่งลือกัน เห็นไหม หายตัวได้ ไม่มีใครจับได้ มีอภินิหาร
หรือไม่ก็อย่างฤาษีลิงดำ เก่ง โอ้โห หยั่งรู้ คนนี้มีวิมาน 7 ชั้นคนนี้มีวิมาน 5ชั้น คนนี้มีวิมานทองวิมานเพชรอะไรต่างๆ สารพัด อย่างนี้เป็นต้น
หรือไม่ก็ ขออภัย มหาบัว เก่ง เป็นอรหันต์ใหญ่เป็นคนที่สู้กับกิเลส สู้ๆๆ เอาให้มันตายตายตายแล้วมันตายอย่างไร เอามันให้ตายอย่างไร นั่งสู้ ก้นแตกก้นด้าน อย่างไรก็สู้หนักคือไม่มีอื่นเลย เสร็จแล้วก็ไม่รู้แม้กระทั่งสิ่งเสพติด ติดหมากหนักหนา บุหรี่สูบบ้าง แต่ก็ถือว่าไม่ติด เพราะคณะสายนั้น เขากินหมากบุหรี่สูบมากันทั้งนั้น นอกจากกินหมากสูบบุหรี่แล้วยังกิน ปานะ
สมอ ถือว่าปานะ มะขามป้อมถือว่า ปานะ กินกันเฉยๆ ตอนเย็นก็จิ้มแจ่วกินกันเฉย นี่เรื่องจริงไม่ใช่เรื่องพูดเล่นหรอก ซึ่งมันเกินไป ไม่รู้จักที่ตัวเองติดยึด คือ กามคุณ 5 ไม่ได้เรียนเลยไปนั่งหลับตา ปิดตาหูจมูกลิ้นกายหมด ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ศึกษาฝึกฝน
ที่จริงพอมีปฏิภาณรู้นะ แต่มันติดนี่ แล้วจะไปบอกว่าติดจะได้ยังไง ก็เลยโกหกสิ่งที่ตัวเองรู้ทั้งรู้อันนี้แหละ อาการหนักมาก ผู้ที่รู้ทั้งรู้ว่าตัวเองโกหกนั้นไม่มีความชั่วใดที่จะทำไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เพราะฉะนั้นความชั่วที่คนอย่างนี้ทำ จึงเป็นความชั่วที่ซับซ้อนที่ตัวเองอาจจะหลง ขออภัยมหาบัวอาจหลง หรือไม่หลง แต่รู้ หรือหลง หลงว่า ตัวเองเก่งตัวเองมีค่าหลงเพิ่มนับถือก็เลยใช้วิธีการเรี่ยไร อ้างอิงประเทศ เอามาช่วยประเทศ คนก็ศรัทธามาช่วยเสร็จแล้วทำจริงด้วยนะ อันนี้ก็เป็นความดีของท่าน เอาเข้าคงคลังของประเทศเลย ทั้งธนบัตรและทองคำ คนก็ยิ่งเห็นดีก็ยิ่งเอามาให้เป็นความศรัทธาซับซ้อน ก็ได้ชื่อเสียงขึ้นแป้น
ถ้าท่านรู้ตัวว่านี่คือความหลอก ท่านแย่ แต่ถ้าท่านไม่รู้ตัวว่าท่านหลอกก็คือติดนะ อติมานะ ติดยึดในคุณความดี จริงที่เป็นคุณความดีช่วยประเทศชาติ แต่ช่วยอะไรก็คือเรี่ยไรเอาเงินของคนอื่นมาให้ แล้วคุณก็ได้ชื่อเสียง ได้รับความยอมรับสรรเสริญเป็นความซับซ้อนในการหาชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง เก่งไหม เก่ง จะว่าเก่งก็เก่ง ถ้าหลงก็ยิ่งนาน ถ้าไม่หลง รู้ทั้งรู้แล้วทำก็ยิ่งแย่ โกหกเขา นี่คือสิ่งที่ต้องศึกษาเล่าเรียนกันอย่างสำคัญ
การที่จะรู้เรื่องของกายก็ตาม สัญญาอุปาทานก็ตาม
สัญญา อุปาทานคืออะไร คือการยึดติดในอุปาทานยึดติด กาย ก็มีข้างนอก สัญญาอุปาทานมีแต่ข้างใน เป็นรูปเป็นอรูป ก็ไปติดในรูปและอรูป ปั้นเป็นภพชาติเป็นนิรมานกาย เลยไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีตัวเองตนเองหลง มีอวิชชาเองได้ลงว่ามีเป็นจริงคุณก็ปั้นได้สำเร็จ
พวกสายหลับตาทั้งนั้นเลยทั้งโลก ที่หลงปั้นเป็นรูปเรื่องเป็นตัวตน จิตที่นึกคิดเป็นความจำเป็นสัญญาที่ผ่านมาแล้วเป็นอดีตนั่นคือความจริง ความจริงที่เป็นสมมุติที่คุณได้ผ่านไปแล้ว เป็นความจำ มันก็จริงที่คุณผ่านมา
แต่ถ้าคุณไม่ได้พบผ่านมาเลย คุณก็สร้างอนาคตที่ยังไม่มีจริงไม่เป็นจริง ความเป็นอนาคต ซ้อนในขณะที่เราเคยวาดภาพเป็นความคิดจะเป็นจะมีจะได้อย่างนี้ก็สร้างวิมานไป วิมานเหล่านั้นก็เป็นวิมานอนาคตคุณก็ติดยึด ความซับซ้อนของความหลง มันลืม เกิดชาตินี้ชาตินี้ก็ลืม นึกว่าอนาคตนี้ที่คุณสร้างไว้ยังไม่เป็น สิ่งที่ยังไม่ผ่านปัจจุบัน แล้วทำสำเร็จหรือผ่านปัจจุบันไปหาอดีต มันมีแต่ความจำ มันไม่มีความจริง อนาคตมันไม่มีความจริง ถ้าทำปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีตมันก็เป็นความจริง แต่อนาคตยังไม่มาถึงเรา แต่คุณสับสนซับซ้อนที่เคยคิดเคยหวังในชาติโน้นและคิดว่าตัวเองได้แล้วก็จำไว้เป็นอดีต อาตมาอธิบายสภาวะในอดีต 18 อนาคต 44 อยู่ในนี้หมด เราศึกษารู้แล้วก็ไม่ไปทำอย่างนั้น
เอกีภาวะ กับวิมุติ เรามาปฏิบัติและพิสูจน์ได้ถึงสภาพสังคมมนุษยชาติ อาตมาทำงานสำเร็จ สร้างสังคมของมนุษยชาติที่มีวัฒนธรรม มีระเบียบวินัยมีทฤษฎี มีศีลสมาธิปัญญา อาศัย จนเป็นสังคมกลุ่มหมู่ที่มีธรรมะ มีพุทธธรรม ถึงขั้นสาธารณโภคี จึงเป็นอยู่กันอย่างมีสาราณียธรรม 6 เกิดจริงเป็นจริง อยู่กันอย่างมีเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม แล้วก็เป็นสังคมสาธารณโภคี เศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์สาธารณะ แต่ละคนมีศีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา มีความเสมอสมานกันอนุโลมปฏิโลมร่วมกันได้ตามฐานะ เกื้อกูลกันช่วยเหลือกัน ไม่ข่มกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป เคารพกันตามฐานะตามวุฒิ ตามคุณธรรม หรือแม้แต่ตามสมมติก็รู้จักการเคารพ มีคุรุกรณะกัน
เพราะมี “พุทธพจน์ 7” คือ
-
สาราณียะ (มีความระลึกถึงกัน)
-
ปิยกรณะ (มีความรักกัน )
-
ครุกรณะ (มีความเคารพกัน)
-
สังคหะ (มีการเกื้อกูลช่วยเหลือกัน)
-
อวิวาทะ (มีการไม่วิวาทกัน)
-
สามัคคียะ (มีความพร้อมเพรียงกัน)
-
เอกีภาวะ (มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)