640308_รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 30
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวน์โหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1DkfCeaDzHU9C2P8dSnz2eT9pcuy9vfzsFwcahg5n8TQ/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1jUmtam8BIOvlAEFJlADGOvTMO8oTb6lK/view?usp=sharing
ยูทูปที่ https://youtu.be/zWAjc-7_T4E
_สู่แดนธรรม…วันนี้วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก วันแรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด วันนี้ทั่วโลกยกย่องว่าเป็นวันสตรีสากล อดีตเมื่อ 164 ปีที่ผ่านมา มีการลุกฮือเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของสาวโรงงานที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
_สมณะบินบน…วันนี้ในอดีตมีการตั้งโรงบุญกันที่ท้องสนามหลวง เพื่อน้อมถวายสักการะแด่สมเด็จย่า
_ธรรมกระจาย บุญยัง…ฝากถาม ถามว่าระหว่างคำว่านิโรธ, วิมุต, นิพพาน คำว่ารู้แจ้ง, รู้จริง, รู้จบ เรียงจับคู่กันถูกไหม? นิโรธ-รู้จริง, วิมุต-รู้แจ้ง, นิพพาน-รู้จบ ถูกต้องไหมคะ…
พ่อครูว่า…เป็นคำไวพจน์ใช้ลำลองแทนกันได้ มันจะเข้าใจสนิทดีหรือมีความต่างละเอียดลออแค่ไหน เราจะเป็นผู้รู้ชัดเจนขึ้นไปเรื่อยๆ เราจะรู้ว่าถ้าคนที่เขายังไม่รู้ เราพูดกับเขา เราก็อนุโลมคำนี้ หมายความว่าคล้ายกันก็เอาไปก่อน ก็จะอนุโลมอย่างนี้ได้ไปเรื่อยๆใช้แทนกัน เพราะมันยังยากที่จะเข้าใจตรงสภาพกันทีเดียวว่ามีนัยละเอียด หรือคนที่ยังหยาบ จะเห็นขนาดความต่างกันอย่างหยาบ เขาก็เห็นเหมือนกันทั้งที่มันต่างกัน ดีไม่ดีเข้าใจผิดถึงขั้นว่าเห็นความผิดอันเดียวกันกับความถูกเลยอะไรอย่างนี้
ที่จริงแล้วสัจจะมีหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นเรื่องที่เห็นต่างกัน แย้งกันต่างคนต่างยึดก็เถียงกัน ยึดอัตตาตัวตนหนัก ก็ทะเลาะกัน หนักเข้าก็อยากเป็นใหญ่ก็ทำร้ายกันสุดท้ายก็ฆ่ากัน ข้าต้องใหญ่ๆ
กดข่ม อดทน วิกขัมภนปหาน เป็นเช่นไร
_ในปางฝัน…หนูมีกิเลส แล้วเราก็ต่อสู้กับมันแต่เรายังไม่เก่ง ก็กระอักกระอ่วนอยู่ในใจแต่เราสามารถควบคุมมันได้ให้มันอยู่ในภายในใจ ในกรณีเราควบคุมมันได้บางครั้งก็เพราะว่า เรากลัวคนอื่นจะว่าเรามีกิเลสเราก็เลยคุมมันได้ไม่ให้มันออกมา บางครั้งเรากลัวหน้าแตกก็เลยคุมมันได้ กรณีอย่างนี้เป็นการสะสมของอนาคามีได้หรือไม่หรือยังไม่ได้
พ่อครูว่า…การทนได้กดข่ม ไม่ได้ถือว่าได้แม้แต่ขั้นโสดาบันด้วยซ้ำ เพราะการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้าจะต้องรู้ความจริงว่าไม่ใช่ไปข่ม ฝืนไว้ จะต้องรู้แจ้งรู้จริงรู้ชัดว่าเรา กดข่มเท่านั้น อันนี้ต้องรู้ชัด ต้องรู้ว่าอันนี้แค่กดข่มคุมไว้ ที่จริงจะต้องรู้ว่ากิเลส อาการของกิเลสมันเป็นอย่างไร ไปคุมไว้แม้หยาบๆก็คุมได้กดข่มได้ นี่ขนาดหยาบๆยังข่มไม่ได้ ต้องหัดตั้งแต่หยาบๆ สู้ไม่ได้ต้องหนีห่าง เพราะเรายังถือว่าเรายังเด็กยังเล็กยังสู้ไม่ได้ ปล่อยไปก่อนไปทำงานอื่นที่คิดว่าทำได้เป็นขั้นๆไป
ถึงตัดอันนี้ว่าเราต้องรู้จักเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ว่าอันนี้หยาบ เบื้องต้นเอาให้ได้ก่อนอย่าไปอวดดี
-
ไม่ กดข่ม ต้องรู้ชัดเจนในกิเลสอาการ หยาบ กลาง ละเอียด และทำตั้งแต่หยาบมา
จนกระทั่งเราสามารถรู้ชัด มีพลังงานของปัญญาอันยิ่งทำให้กิเลสมันจางคลายจนดับ ปัญญาสูงสุด วิมุติ ดับ เป็นวิมุติได้ ปัญญาสูง หรือนิพพานก็ดับได้จริง ก็รู้ว่ามีนิพพานแล้วไม่ใช่ไป กดข่ม คุมไว้ ยิ่งไปพรางลวง ไม่รู้จักเลย ยิ่งผิดใหญ่
เห็นอยู่หลัดหลัดเลย ตัวหยาบตัวนี้ มันจางลงบางลงเบาลง จนกระทั่งมันไม่มีฤทธิ์ มันไม่มีอาการกับเราได้ เหมือนที่อาตมาใช้คำว่า เอามือไปลูบคลำหัวล้าน พระอาทิตย์ได้ สบาย มันก็ยังอยู่ แต่อาการกิเลสชอบกิเลสชังมันไม่มี ไม่มีทั้งชอบและชัง ไม่มีทั้งผลักและดูด มันมีอุเบกขา บริสุทธิ์ เฉย กลาง สบาย เอาแค่นี้ก่อน
_สมณะบินบน(ลานนาอโศก)…แล้ววิกขัมภนปหาน อันนี้เป็นการดข่มหรือไม่
พ่อครูว่า…มันมีความจำเป็นถ้ากิเลสมันมีมาก ก็ต้องข่มไว้ส่วนหนึ่ง กิเลสส่วนใดที่เราจะชัดเจนก็เอาส่วนนั้นก่อน เอาให้ชัดเจนคู่เดียว เรื่องเดียว อะไรอย่างนี้เป็นต้น แยกให้ชัด เพราะฉะนั้นการกดข่มจึงช่วยอยู่ วิกขัมภนปหาน เป็นการช่วย แต่ไม่ได้หมายความว่า วิธีการกดข่มเป็นวิธีการของศาสนาพุทธ ไม่ใช้คำว่า วิกขัมภนะ ไม่ใช้คำว่าสมถะ ไม่ใช้คำว่า กดข่ม
_สมณะบินบน…อดทนได้หรือไม่
พ่อครูว่า…อดทนเอาเฉยๆ ไม่ได้ มันเอาไว้ช่วยเท่านั้นเอง อดทนเป็นคำกลางๆ
อดทน กึ่งๆระหว่างสมถะ กับวิกขัมภนะ อดทนคือขันติ มันต้องช่วยไปก่อน
_สู่แดนธรรม…พ่อท่านเคยบอกว่า เรากดมันไว้ก็คือทำให้มันสู้เราไม่ได้เหมือนเอาเข่ากดหัวมัน
พ่อครูว่า…ถ้าเราถนัด สายศรัทธา เจโต ถนัดแบบนี้ก็ใช้ไปพลาง แล้วที่จะมีคู่ต่อสู้อยู่ก็ไม่ให้มันเพิ่มขึ้นมามาก เดี๋ยวข้าศึกหลายตัว จะแย่
_แซมดิน…ในวิชชา 3 บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ถ้าเรารู้ว่า เป็นกิเลสของเราเมื่อก่อน ถ้าเจอลักษณะอย่างนี้ เราแพ้มาก แต่ว่า มาถึงปัจจุบันนี้ เรารู้ว่าโจทย์เดิม อาการอย่างนั้น เราลดลงๆ อย่างนี้ เราจะเรียกว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณหรือไม่ หรือว่า เมื่อชาติก่อน บุพเพนิวาสานุสติญาณแบบนั้นมันยากหรือมันเป็นไปไม่ได้ แต่ว่า ถ้าลักษณะเรารู้กิเลสของเราว่าในชาตินี้แหละ แต่ก่อนเราแพ้รุนแรง เดี๋ยวนี้มันแพ้ลดลง จนกระทั่งบัดนี้มันชนะแล้ว ถ้าอย่างนี้จะเรียกว่าบุพเพนิวาสสานุสติญาณได้หรือไม่
พ่อครูว่า…ได้ นี่แหละตัวจริงเลย เป็นตัวปฏิบัติแท้จริงเลย ที่ไประลึกชาติก่อน เราเกิดเป็นใครอย่างนั้นไม่มีใครยืนยัน และมันเป็นจริงได้เมื่อคุณมีภูมิมากจริงๆที่จะระลึกชาติก่อนได้ อันนั้นสำคัญน้อย
ไอ้ที่พูดว่า บัดนี้ ปัจจุบันคือชาตินี้ หลัดๆ กิเลสหลัดๆ แต่ก่อนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว 10 ปีที่แล้ว ที่ยังจำได้อยู่ในชาตินี้นี่แหละ หรือเมื่อวินาทีที่แล้ว เมื่อกี้นี้เสร็จเขา แต่ตอนนี้สติปัญญาเราเต็ม แสดงว่าเรามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก นี่แหละของจริง
นักรบที่ตายคาสนามปฏิบัติธรรมประเสริฐกว่าผู้หนีสนามรบ
_จริยา มีประเสริฐ…มาเป็นคนวัดอยู่สันติฯที่ตึกขาวได้ เกือบ 2 ปีแล้ว อยู่ไปๆ เกิดมีผัสสะในตัวเอง มีตัวไม่ยอม มาก แล้วเราเห็นในตัวนี้มากขึ้น พอเพื่อนชี้ขุมทรัพย์หรือบอกอะไร เรารู้สึกว่ามันหนักสำหรับเรามากเลย พอหนักมากๆ ก็เข้าหานักบวช ก็ได้ชั่วระยะหนึ่งแต่พอมันเจออีก มันเป็นซ้ำซ้ำมันก็เลยท้อ ก็เลยอยากกลับบ้าน ทีนี้พอจะกลับบ้าน ก็มีเพื่อนพี่น้องมาช่วยเอาไว้ เค้าบอกว่าให้อยู่ต่อไปอีกนิด ให้พิจารณาดูว่า มันเป็นเพราะอะไร เราถึงได้เป็นแบบนี้ ก็พิจารณาดูตัวเองแล้วว่า มันเกิดว่า เราคงรักษาศีลไม่พอ ทีนี้จะเพิ่มศีลข้อไหน ที่เราจะให้อยู่ได้คงทนกว่าคำถามนะคะนี้ค่ะ
พ่อครูว่า…เอาศีล ข้อที่จะเรียนรู้อาการของ ตัวกูของกู กูทำไมมันใหญ่จังเลย ใครจะมาใหญ่กว่าเราไม่ได้ กูจะต้องเป็นอย่างที่กูคิดกูเป็น นี้มันอาการไม่เบา อาการหนักอาการตัวกูของกูมันใหญ่ มันจะเป็นตัวกูของกูถึงไหน เราเข้าใจแล้วว่าเรามาอยู่หมู่กลุ่มชาวอโศกคือมาเรียนรู้ละกิเลส กลุ่มนี้นี่แหละเราสมัครใจเข้ามา จะเรียนรู้เรื่องกิเลสดี เป็นสัมมาทิฏฐิ กลุ่มที่เป็นลูกพระพุทธเจ้าแท้ๆ แต่เสร็จแล้วเข้ามาแล้วเราก็ยังติดอัตตามันขึ้นมา กูไม่ยอม จะมาบังคับเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามใจกู กูไม่ยอม เมื่อไม่ยอม เราก็ไปจัดการเขาไม่ได้ หนีดีกว่า นี่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า พวกขี้แพ้ แพ้ตั้งแต่
นักรบเมื่อเข้าสนามรบ ยังไม่ได้เห็นตัวข้าศึกเลย ได้ยินแต่เสียงม้าควบก็วิ่งหนีแล้ว นี่คือนักรบกวนเต็มที่
ต่อมานักรบชั้นต่อมาเมื่อเข้ามาในสนามรบเห็นฝุ่นกระจายมาแล้ว แต่ก่อนใช้ม้าควบ พอเห็นฝุ่นกระจายมา ก็วิ่งหนีเลย
นักรบชั้นเก่งกว่านั้น เห็นฝุ่นก็ยังไม่หนี เห็นตัวนักรบคู่ต่อสู้ขี่ม้าควบมา วิ่งหนีเลย
นักรบที่เก่งกว่านั้น เข้ามาประจันหน้าสู้กันก่อน จนกระทั่งสู้ไม่ได้จึงถอย เก่งกว่านั้นไม่ถอยเลย สู้จนตายเป็นตาย นักรบที่เคยตายคาสนามรบมีแล้ว แล้วเขาก็เป็นคนเก่งที่ใจสู้
พระพุทธเจ้าตรัสอีกอย่างว่า ท่านยกย่องชมเชยผู้ที่ปฏิบัติธรรมหน้านองน้ำตาอยู่ ทนยาก ร้องไห้ร้องห่ม วันแล้ววันเล่า หน้านองน้ำตาอยู่ ท่านสรรเสริญยกย่องคนเช่นนี้ คนที่เอาจริงเอาจังสู้ตาย มันไม่ตายหรอกกิเลสมันจะตาย อย่างน้อยกิเลสอัตตามันจะตายก่อน นี่คุณรักอัตตามากกว่าที่จะรบ ธรรมาธรรมะสงคราม ไม่สู้ ใจไม่สู้ รักกิเลส รักอัตตา คุณก็กอดอัตตาไปอีกหลายชาติ แม้แค่นี้คุณก็ถอยแล้ว เป็นนักรบที่อ่อนแอมาก ชัดเจนไหม ไม่ได้ว่าคุณนะ อาตมาพูดวิชาการ พูดความจริงความรู้ให้ฟัง
อ่าน SMS
_ฟ้าพรห์มไพร นาวาบุญนิยม : พ่อท่านอธิบายเรื่องประชาชนปฏิวัติ จะมีซักกี่คนที่จะเข้าใจนอกจากชาวอโศก…ขนาดตา ส.ศิวลักษ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชนสยามยังไม่เข้าใจเลย..ดูเหมือนแกฝักใฝ่แต่กับระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมแบบอเมริกา
พ่อครูว่า…อาตมาก็เห็นต่างกับเขา ส.ศิวรักษ์อาจจะเห็นอีกอย่าง ก็พิสูจน์กันไปเรื่อย คุณส.ศิวรักษ์ก็ไม่ได้แกล้งอะไร เขาก็เป็นความจริงของเขา เขาก็เห็นอย่างนั้นว่าน่าจะทำ อย่างนี้ ถึงครั้งนี้คราวนี้อายุ 88 แล้ว ก็ยังเห็นว่าควรออกไป แม้กระทั่งจะต้องถือไม้เท้าก็ไปเดินทะลุฟ้ากับเขาก็เอา เพื่อยืนยันเพื่อช่วย น้ำหนักของฝ่ายที่เขาเห็นด้วยควรเป็นเช่นนั้นมันก็เป็นความเห็นที่แยกที่แตกต่างเป็นธรรมดา
ที่ได้ฉายาว่า ปัญญาชนสยาม ก็เป็นการยกย่องยกยอกันไป เป็นเรื่องของสังคมยกย่องกัน ถ้าจะมองให้ดีแล้วปัญญาชนสยามจะเป็นคำยกย่องหรือคำประชดก็ได้ว่า ช่างอวดรู้ทำเป็นผู้รู้ ปัญญาชนสยาม เข้าใจว่าเป็นคำยกย่องก็ไม่เป็นไรไม่เสียหาย ถ้าเราเองไม่หลงระเริงไม่หลงผิดไป แทนที่จะหลงระเริงยึดมั่นถือมั่น ต้องศึกษาให้ดีอย่ายึดมั่นถือมั่น ซึ่งมันไม่ง่าย แล้วต้องเอาความจริงที่ถูกต้อง จนกระทั่งเขาเกิดปัญญาคมชัดที่แยกสภาวะ 2 ออกชัดเจน จนกระทั่ง อะโห เราไปหลงนึกว่า ที่เราหลงว่าถูกมันเป็นของผิด กว่าจะรู้ได้ว่ามันผิด กว่าจะรู้ แล้วผู้ที่เกิดรู้อย่างนั้น จะละอายมาก ละอายต่อที่เราแสดงออกไปขายขี้เท่อขนาดหนัก จะอาย อาการคำว่า หิริหรือละอาย มันยิ่งใหญ่มาก ซึ่งคนไม่เข้าใจความหมายของคำว่าหิริ แต่โอตตัปปะคือ กลัวเลยถอยเลย เกรงกลัวต่อบาปเลย ก็ค่อยๆศึกษาไป
ส.ศิวรักษ์เขามีสิทธิ์ ความคิดเห็นของเขาเอง อาตมาว่า เขาเป็นคนเคารพตัวเองได้มาก มากจนเกินเลย เขารักตัวเองได้ดี ดีจนเกินเลย ความดีจนเกินเลยจึงได้รับฉายาว่าปัญญาชนสยาม
_ตุ๊ก อัศวิน : เป็นงง..กับ..ตำแหน่ง ของ ส.ศิวรักษ์ “ปัญญาชนสยาม” ค่ะ ท่านได้แต่ใดมา!! ริบคืนได้ไหมหนอ..เจ้าคะ
_แก้วลา ไชยวงค์ : ไม่ชอบ ส.เลยเห็น มาในงานที่พ่อครูจัดยกย่องตอนนั้นปวดหัวใจ
พ่อครูว่า…ส่วนดีของ ส.ศิวรักษ์เข้าใจกันได้ แต่มาถึงวันนี้ ความเข้าใจตอนหลังมาชักเลอะเทอะ มันก็เลยกลายเป็นว่าคนก็รู้ความเห็นความจริงอันนี้ไปได้
ก็เป็นการได้บอกความจริงของคุณส.ศิวรักษ์ ว่ามีอย่างไร แค่ไหน เท่าไหร่ ท่านจึงบอกว่าคนนี้ต้องพิสูจน์ด้วยเวลา สำนวนไทยที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน”
_สมณะเดินดิน…เคยอ่านประวัติของ ส.ศิวลักษณ์เขาเป็นคนกล้า คนตรง เขาต่อสู้กับความไม่ถูกต้องมาเรื่อยๆ เมื่อกี้นี้พ่อครูบอกว่า เขาเคารพตนเองจนเกินเลย เพราะความกล้าของเขาอย่างนี้หรือไม่ เมื่อเห็นคนผิดเขาก็จะลุยเลย ไม่ไว้หน้าใครเลย
พ่อครูว่า…ก็เลยล่อแหลมจะเข้าคุกอยู่อย่างนั้น ไม่รู้จักความเป็นสังคม ไม่รู้จักความเป็นตัวตน ไม่เข้าใจความเป็นโลกความเป็นอัตตาที่เพียงพอ ไม่มีสัปปุริสธรรม 7 ที่สมบูรณ์แบบ
_สู่แดนธรรม…เป็นคนไทยที่ได้รับรางวัล Alternative nobel
_มานะ เปลี่ยนสุข : พระพูดการเมืองไม่เหมาะ
พ่อครูว่า…ผู้เห็นว่าธรรมะไม่ควรยุ่งกับการเมือง อันนี้เป็นความเห็นที่ผิด 1. เขาไม่ชัดเจนในเรื่องของสัจธรรม ว่า สัจธรรมนี้มีความเสียสละ มีพลังความไม่มีอัตตาตัวตน สัจธรรมนี้เพื่อสังคมส่วนใหญ่ คำว่าการเมืองคือเพื่อสังคมส่วนใหญ่ เพื่อมวลประชาชน เพราะฉะนั้นคนที่ไปหลงเอาแต่ตัวเองเป็นหลักคนนี้ยังมีอัตตา หรือหลบลี้หนีกลัว ยังไม่ค่อยสู้ ความเห็นอย่างนี้มีเยอะ อาตมาไม่ได้แปลกอะไรอย่างที่คุณมานะเข้าใจ อย่างนี้เข้าใจอย่างนี้มีเยอะ
คนที่เข้าใจสัจธรรมที่ชัดแล้วเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ เป็นประโยชน์ให้แก่มวลประชาชน เป็นประโยชน์แก่ประชาธิปไตยที่แท้ๆจริงๆ แล้วเป็นคนจริงที่รู้จริงรู้แจ้ง จึงน้อย แต่น้อยจึงจะต้องมาร่วมกับการเมืองกับสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้คะแนนมวลประชาชนมีน้ำหนักจริงๆ จึงจะช่วยเสริมให้สังคมมวลประชาชนเจริญงอกงามได้
อรหันต์สายเจโตกับสายปัญญาจะขัดแย้งกันได้ไหม
_สมณะบินบน…ภูมิโพธิสัตว์ในสายศรัทธาอย่างท่าน มหากัสสปะ เกิดในยุคโพธิสัตว์เดียวกับพระโพธิสัตว์รูปอื่น จะมีทิฏฐิการทำงานต่างกันและมีการขัดแย้งกันหรือไม่
พ่อครูว่า…ธรรมชาติของการขัดแย้งกันระหว่างศรัทธากับปัญญาจะต้องขัดแย้งกันแยกกันไม่ได้ ความสมบูรณ์ที่สุดก็คือ ความขัดแย้งอันพอเหมาะ เป็นธรรมชาติ สังคมจึงจะอยู่ได้ ในยุคที่พระมหากัสสปะกับพระพุทธเจ้ายังอยู่ มันก็มีความขัดแย้งกันได้ กัสสปะเป็นสายศรัทธาเป็นหนึ่งเลย พระพุทธเจ้าถึงยกย่องพระกัสสปะว่ามีความเป็นหนึ่งเทียบเท่าตถาคต พระพุทธเจ้าหมายความว่า 1. ช่วยช้อนพระกัสสปะไว้ เพราะถ้าไม่ช้อนพระกัสสปะไว้ มันมีน้ำหนักโต่งไปทางศรัทธาสูงเกินไป ถ้าจะบอกว่า เทียบเท่าเรา ก็แสดงว่า มีศรัทธาเท่าเทียมกับพระพุทธเจ้า ซึ่งศรัทธาของพระเจ้ามีอยู่นับประมาณนี้ ปัญญามีขนาดไหนพระพุทธเจ้าก็มีปัญญา อย่างประมาณไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นในการแสดงออกของพุทธเจ้าที่กล่าวคำว่า เป็นผู้เท่าเทียมเรา มีอยู่ 2 คนที่พระพุทธเจ้าสมณโคดมยกย่อง สายศรัทธากับสายปัญญาเป็นหนึ่งด้วยกันทั้งคู่ ว่าเท่าเทียมเรา แต่ที่จริงแล้วเท่าเทียมพระพุทธเจ้าไหมมันไม่ได้เท่าเทียมหรอก แต่พระเจ้าต้องช้อนไว้ไม่อย่างนั้นสายศรัทธาจะถูกข่ม ไม่งั้นสายศรัทธาอ่อนแอจะหนีไปเลยมันก็น่าเสียดาย มันจะต้องเป็นคู่ที่รวมกันอยู่
จะว่าไปแล้วพระมหากัสสปะสายศรัทธาจะอยู่ที่ขอบริมที่สุดของวงศาสนาพุทธ ขอบในส่วนศรัทธา ส่วนพระสารีบุตรอยู่อีกขอบหนึ่งของสายปัญญา อย่างนี้เป็นต้นก็ถ่วงดุลกันไว้
_สมณะบินบน…คนที่เป็นสายศรัทธาจะไม่ค่อยรู้รอบใช่ไหมครับ
พ่อครูว่า…พระพุทธเจ้าตรัสว่าศรัทธาธิกะ จะไปได้ช้ากว่าสายปัญญา สองเท่า ก็มีสูตรหลักเกณฑ์ไว้
_หมอเขียว…เสียงไมค์ไม่ดัง
กตญาณของอวิชชาสูตรข้อ 7
_สมณะลือคม(ศาลีอโศก)…ช่วงแรกผมสัมผัสชาวอโศก ได้พบสัจจะความจริง สมัยแรกไม่เข้าใจว่า คือสัจญาณ จากนั้นเราก็มีการปฏิบัติ และเป็นห้องเรียนที่ดีมาก เราก็ได้ทำกิจญาณ แรกๆก็ไม่เข้าใจ ทำก็ทำแต่งานนอก แต่กิจญาณ จะต้องมีญาณ 7 ของพระโสดาบัน สุดท้ายผมก็เพิ่งมาสัมผัส กตญาณ ได้เข้าใจว่า นี่คือคำตอบที่พ่อท่านได้อธิบายเรื่อง กาย เรียนรู้เวทนา สุดท้ายจนความสุขทุกข์มันลดลงไป ถ้าเป็นกตญาณที่มั่นคงแข็งแรงมีคำแนะนำไหมครับ
พ่อครูว่า…ถูก ได้ดี ใช้ได้
ญาณที่สำเร็จกิจ คือ กตญาณ กิจที่เราทำเมื่อสัมผัสกับผัสสะแล้วเกิดกิเลส สิ่งที่เป็นเหตุถูกกับการสัมผัสกับจิตวิญญาณ เราก็ไปรับรู้และจิตเป็นสังขารต่างๆ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเราก็เอามาวิจัย วิตก วิจาร แยก จนกระทั่งเราสามารถรู้ปฏิบัติไป อ่านไปได้เรื่อยๆ เมื่อมันมีมรรค มีวิธีการที่ถูกต้อง ทั้งมีการกดข่มช่วย จนไม่ต้องกดข่ม แต่ปัญญามีพลัง ความเข้าใจเห็นจริง รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง มีพลังทำให้กิเลสมันฝ่อ มันหงอ มันหยุด มันไม่มีบทบาท จางคลาย จนมันหยุดมันดับ เพิ่มอันดับเราก็จะรู้ว่ามันต่างกับความเหลือ จะเหลือน้อยเราก็เทียบได้เป็นคู่ คู่ของความเหลือแม้น้อยกับหมด เราก็จะศึกษาคู่ที่มีเหลือน้อยๆๆ กับหมดๆๆ จนกระทั่งเราแน่ใจว่าหมดนะ น้อยนี่มันไม่มี เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายะตะนะ มันจะคลางแคลง จนกระทั่งไม่มีเนวสัญญานาสัญญายะตะนะก็คือ อากิญจัญญาฯ คือนิดนึงน้อยนึงก็ไม่มี ในขณะที่ตื่นมีวิญญาณฐิติ มีการสัมผัสจักษุปัญญาญาณวิชาอาโลก ครบกระบวนการ 5 สมบูรณ์แบบของการตรัสรู้
การตรัสรู้จบรู้ครบสมบูรณ์แบบทั้งสัจญาณ กิจญาณ กตญาณ ครบสาม ต้องมีกระบวนการ 5 ครบ หากขาดแสงสว่าง ไปหลับตาสะกดจิตอยู่ภายในจึงเป็นโมฆะ ต้องสว่าง มีจิตสัมผัสเต็มๆ ตื่นเต็มร้อย ไม่ใช่สัมผัสนิดๆหน่อยๆ สติต้องเต็มร้อย ต้องมีความรู้เป็นลำดับขั้นที่เรียงลำดับ ปัญญา ญาณ วิชชา ซึ่งตามลำดับเป็น 3 เส้าก็ได้ต้นกลางปลาย อย่างนี้เป็นต้นแล้วเราก็จบ ทบทวน
อาศัยเวลาแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง กระทบสัมผัสร้อยครั้งหมื่นครั้งแสนครั้งก็ 0000 ท่านใช้หลักการของตัวพิสูจน์เวทนา 108 ก็คือการปฏิบัติเป็นกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่เวทนา 18 กับ 18 เป็น 36 คือเคหสิตะ 18 กับ เนกขัมมสิตะ 18 จนหมดความเป็นโลกีย์ เหลือแต่ความเป็นโลกุตระชัดเจนอยู่ในปัจจุบันทุกปัจจุบันที่สัมผัส แล้วทุกปัจจุบันที่สัมผัส ครั้งแล้วครั้งเล่าๆ ไม่มีกิเลส แหยมนิดนึงน้อยหนึ่ง ตลอดในวิญญาณฐิติตลอด ไม่มีเลย อากิญจัญญายตนะนิดนึงน้อยนึง ก็ไม่มีๆ ไม่มีแม้แต่นิดแต่น้อยก็ไม่มีๆๆๆ จนตัดสินได้เลยว่าจบกิจ โดยเอา ปัจจุบันเป็นตัวหลัก ผัสสะมาทั้ง 108 ของเวทนาในทุกปัจจุบัน ปัจจุบันของ 36 ทั้งเคหสิตะ 18 เนกขัมสิตะ 18 ทุกปัจจุบันของ 36 มาเมื่อไหร่ในปัจจุบันจบเป็น 0 กิเลส 0 อนาคตมาเมื่อไหร่ก็เป็น 0 มาอีกก็ 0000 ครบทั้ง เคหสิตะ และเนกขัมมะ จะ 36 อีกกี่เที่ยว ถ้วนรอบทุกปัจจุบันสั่งสมเป็นอดีต
เพราะฉะนั้นส่วนที่เป็นอดีตกับส่วนที่เป็นอนาคต ถ้ายังไม่เที่ยงก็ยังไม่จบ ในอวิชชาความไม่สมบูรณ์แบบ 8 ข้อที่มีอริยสัจ 4 แล้วก็มีส่วนอดีต 1 ส่วนอนาคตอีก 1 เป็น 5, 6, 7 เป็นทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต คือความไม่เที่ยงไม่ใช่ 0 แต่ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคตที่เป็น 0 อดีตก็เป็น 0 อนาคตก็เป็น 0 มาทุกปัจจุบันก็เป็น 0 เพราะฉะนั้นในส่วนอดีตของอันที่ 7 ของอวิชชา 8 ส่วนนี้แหละต่างกันกับส่วนอดีตและส่วนอนาคตที่เคยมีมา เพราะ 2 อันนี้ทั้งส่วนอดีตและอนาคตไม่มีเที่ยง
ไม่เที่ยงเพราะส่วนอดีต เหตุปัจจัยมากระทบสัมผัสกับปัจจุบัน ปฏิบัติได้ 0 ก็มี 0 สั่งสมลงในอดีต คำว่า 0 ของสภาวะกิเลสไม่มี มันก็เป็นคุณธรรมที่เติมให้สภาวะอดีตมีแต้ม เพราะฉะนั้นก็ไม่เที่ยง อดีตก็ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงตรงแต้มของความชนะเติมเข้าไปอีก 1 หน่วย แต่ถ้ามันไม่ชนะก็ไม่ได้เติม
เพราะฉะนั้นจะปัจจุบันไปเป็นอดีตมันก็ไม่เที่ยง อนาคตมันจะมาทุกตัว มันจะ 0 ได้ทุกตัวหรือไม่ อนาคตตัวไหนมาไม่ 0 ก็ไม่เที่ยง อนาคตมาถึงปัจจุบันเมื่อไหร่เป็น 0 ทั้งหมด จนคุณมั่นใจ ส่วนอดีตกับส่วนอนาคต ทั้งที่มันทำให้อดีต 0 ได้ ทั้งทำให้อนาคต 0 ได้ แต่ถ้าตัวอดีตและอนาคตของมันเองไม่เกิดปัจจุบันนี้ไม่เกิดการผัสสะและทำปฏิกิริยากันจนเป็น 0 แล้วมันกลายเป็นอดีต อดีตมันก็ต้องไม่เที่ยง มันกลายเป็นอดีต อดีตมันก็คงจะเที่ยงเพราะไม่มีตัวใหม่ไปเติมให้มันละกิเลสไม่ได้อดีตมันก็เที่ยง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีเที่ยง อดีตจะต้องไม่เที่ยง แต่กลายเป็นว่าอนาคตมันเที่ยง เพราะอนาคตมันชนะมาถึงปัจจุบัน คุณตัดกิเลสไม่ได้อดีตเลยไม่ได้แต้มอนาคตเลยได้แต้ม อย่างนี้น่ะ พอฟังเข้าใจไหม
เพราะฉะนั้นคำว่าส่วนอดีตกับส่วนอนาคตจึงคือความไม่เที่ยง ถ้าเอาเที่ยงไม่ว่าอดีตอนาคตก็คือตัวที่ 7 เป็น 0 อย่างไรก็เป็น 0 อดีตก็ได้ 0 อนาคตมาก็ทำได้ 0 ในทุกปัจจุบันส่วนตัวที่ 7 จึงต่างกันกับส่วนอดีตและส่วนอนาคต คนสงสัยว่าทำไมต้องเอาส่วนอดีตและอนาคตมาแยกเป็นอีกหนึ่ง ส่วนอดีตก็พูดแล้ว ส่วนอนาคตก็พูดแล้ว มาทั้งเป็นส่วนอดีตและอนาคตเป็นอันที่ 7 แยกทำไม แยกเพราะเหตุนี้ คนไม่รู้จักสภาวะเดาเอาไม่ได้ และคนที่จะฟังเข้าใจแค่ไหนก็ฟังให้ดีๆ บางคนจะเข้าใจด้วยเหตุผลที่พอเพียง แต่สภาวะยังไม่มีก็ยังทำไม่ได้ แต่คนที่มีสภาวะบ้างแล้วเทียบเคียงกับตัวที่ตัวเองทำได้แล้ว กิเลสอะไรกิเลสที่พวกเราทำได้ในแต่ละคน เพราะฉะนั้นคุณสามารถรู้จัก อวิชชาทั้ง 7 แหม เยี่ยมแล้ว นอกนั้นก็จัดเข้าไปในกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทเป็นตัวที่ 8
ยินดีสองแบบ มีกิเลส กับลดกิเลสได้
_หมอเขียว (แพทย์วิถีธรรม)…กราบนิมนต์พ่อครูอธิบายความยินดีแบบ ปมุชชะกับความยินดีที่เป็นกิเลส นันทิ ต่างกันอย่างไร
พ่อครูว่า…ความยินดีที่เป็นกิเลส มันก็ไม่น่าจะเข้าใจยาก ต้องเข้าใจคำว่ากิเลสคืออะไรให้ได้ แล้วคุณก็ไปยินดีกับมันทำไม มันได้สมใจกับกิเลสและก็ยินดีกับมัน ไปให้คะแนนกิเลสอยู่ มันก็โง่อยู่ ถ้าเราชัดเจนตรงนี้แล้วก็จบ
ทีนี้ จะไปยินดีกับสิ่งที่เป็นคุณธรรมโดยเฉพาะโลกุตรธรรม น่าจะมีอาการยินดีที่ท่านเรียกว่าอุปกิเลส ไปยินดีในสิ่งที่เราเจริญ เป็นโลกุตระธรรมเสียด้วย มันก็เป็นธรรมดาขององค์ฌานที่จะต้องมี ปีติ ปัสสัทธิ ความยินดีในการสงบจากกิเลส ในกระบวนการ 4 ของฌานที่ 1 ก็ต้องมีวิตกวิจารปีติ ยังไม่สุขทีเดียว ยังมีวิตกวิจารแรงอยู่ อาตมาอธิบายมีอาการเคร่งคุมยังไม่ปล่อยไปในอัตโนมัติวางยังไม่ได้ ฌานยังไม่เรียบร้อย ยังไม่สมบูรณ์เหมือนขี่จักรยาน ปล่อยมือไม่ได้หรือว่าวางปล่อยมือได้เลย ก็เป็นลำดับคุณทำสมรรถนะที่เจริญไปตามลำดับ
เพราะฉะนั้นถ้าเราแยกออกไปยินดีกับกิเลสนี่มันต่างกันคนละขั้ว กับมายินดีในทางธรรม ถ้ายินดีในทางธรรม ถ้ามันแรงมัน ถ้ามันสูง มันไม่ดี มันสูง ก็ยังรู้สึกมีอาการซ้อนในกิเลส ถ้าไปส่งเสริมยินดีตรงนี้มากจะจัดจ้านมากขึ้น
พระพุทธเจ้าถึงตรัสไว้อย่างแรงว่า การสรรเสริญเป็นความต่ำทราม ไม่ว่าจะยกย่องสรรเสริญในทางถูกต้อง พระพุทธเจ้าถึงเตือนไม่รู้กี่อย่าง ความยินดีหรือว่าไปหลงในลาภยศสรรเสริญ โลกียสุข มันเป็นอันตรายอันแสบเผ็ดแม้แต่พระอรหันต์ ท่านตรัสถึงขนาดนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษารายละเอียดพวกนี้ไป
ง่ายๆคือ อย่าไปยินดีในกิเลส แม้จะลดกิเลสได้ ก็อย่าไปหลงระเริงกับการสรรเสริญทางกิเลส รู้ได้ว่าคำสรรเสริญคือ คำตอบรับความจริงเท่านั้น คำสรรเสริญคือคำตอบรับความจริงของผู้ที่รู้ดีก็ตอบรับให้ หรือเข้ามาแกล้งป้อยอ ก็ต้องแยกแยะให้ออก แกล้งสรรเสริญอย่างโลกีย์เฉยๆ หรือเขาสรรเสริญเราด้วยจริงใจ มันเป็นคำรับรองความถูกต้องของเรา ที่เราปฏิบัติแล้วเขามีดวงตาปัญญาเห็น ว่า อันนี้เขารับรองต้องยอมรับว่า คือลักษณะของโลก สมมุติก็คือยอมรับแสดงออกทางสรรเสริญ ก็ใช้ได้
ทีนี้ เราเองต้องระวังอันตรายอันแสบเผ็ดใน ลาภ ยศ สรรเสริญต่างๆ อย่าไปหลง ให้รู้ว่า เขาสรรเสริญเขารับรองความถูกต้องของเราเท่านั้น ไม่ใช่ เป็นเรื่องยกย่องป้อยอ หลงติดในคำสรรเสริญนั้น กลายเป็นการลบหลู่ดูถูกขึ้นไปอีก เราก็จะ วูบวาบกับมัน แต่ถ้าเราไม่วูบวาบก็ชัดเจน
_สมณะเดินดิน…เมื่อกี้นี้หมอเขียวใช้คำว่า ยินดีในกิเลสคือ นันทิ
อย่างพ่อครูว่า การยกย่องสรรเสริญในกิเลส เรียกนันทิ ได้หรือไม่ครับ
พ่อครูว่า…จะใช้พยัญชนะก็ใช้ เรารู้ในสภาวะความเป็นจริงของมัน จะเรียกในภาษาไทยก็เรียกด้วยภาษาไทยให้ชัด ถ้าใช้ภาษาบาลีบางทีก็จะสับสน อธิบายได้แต่เอาพระบาลีมาควบคู่ก็ดี ถ้าหากชัดเจน แม่นดีแล้ว
_สู่แดนธรรม…คือ นันทิ เป็นกระบวนการที่เป็นไปด้วยความเพลิดเพลิน ซึ่งต่อเนื่องมาจากความมีราคะ แล้วมีนันทิ มีเหตุให้เพลิดเพลิน แล้วไม่มีตัวจบก็จะไปสู่ทะยานอยากได้เรื่อยๆ สามเส้าจึงเป็น ราคะ นันทิ ตัณหา วนอย่างนี้ตลอด ส่วน ปามุชชะ ก็เป็นกระบวนการให้ลดลง เริ่มตั้งแต่การกำหนดรู้กาย ความปลื้มปิติยินดีที่มันเบาสบาย สุดท้าย มันต้องมีการปล่อยออก สลายออก
_Sutas Supapattarnon (สุทัศน์ สุภาภัทรานนท์) : เมื่อเอาสถาบันมาอ้างและกฏหมายแรงเกิน ควรปรับลดลง เพราะมันไม่ใช่ยุคไดโนเสาร์ อย่างอังกฤษเขาก็มีกฏหมายปกป้องสถาบันเหมือนกันแต่ไม่รุนแรงมากนัก และไม่มีใครเอามาอ้างใด้ไม่ควรให้ใครก็ใด้เอาไปใช้ ควรมีหน่วยงานโดยเฉพาะใช้
พ่อครูว่า…ก็ต้องค่อยๆขยับไป ค่อยๆพัฒนาแก้ไขปรับปรุงไป
_เดชา อำพร : เห็นป้ายแว้บๆว่า.. “ถูกต้องเป็นถูก..ผิดต้องเป็นผิด..” แต่ขอเติมให้อีกหน่อยนะว่า.. “แต่ฝ่ายถูกต้องเป็นกลุ่มอโศกเสมอ”.. จบข่าว…
พ่อครูว่า…สำเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุลว่าเป็นการประชด เพราะเขายึดมั่นถือมั่นตัวเองเป็นหลัก อาตมาแปลความเองและเชื่อมั่นว่าแปลความนี้ในจิตของคุณเดชาถูก ขอยืนยันด้วย ว่าเป็นเช่นนั้น ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ อันนี้มันคือความเห็นของอาตมา คุณก็ต่างคนต่างฟัง ใครเห็นว่าเป็นธรรมวาทีก็เอา ใครเห็นว่าเป็นอธรรมวาทีก็ไม่ต้องเอา แต่ความเห็นของอาตมาก็แสดงออกไป
ถ้ามีจริงก็ต้องเป็นจริง ถูกก็เป็นถูก ผิดก็เป็นผิด แต่คุณเองไม่เชื่อมั่นในอโศก ว่าอโศกนี้ยืนยันความถูกได้ตรงแท้กว่า คุณก็ประชดต่อไปว่า เออ.. มันยึดว่า มันถูกต้องของมันคนเดียวคนอื่นไม่มีถูกต้องหรอก เราไม่เป็นเช่นคุณว่าหรอก เราก็ให้เกียรติอยู่ แต่เราก็บอกว่าถูกอันนี้ผิด อันนี้ก็เป็นสิทธิ์ของเรา เราไม่ได้ไปละเมิดสิทธิ์ของใคร คนอื่นจะเห็นของแต่ละคนว่าถูกก็เป็นสิทธิ์ของเขา เราก็มีเขตตัดว่า เพราะคุณก็เห็นของคุณ ความเห็นของคุณก็เป็นอย่างหนึ่งความเห็นของเราอีกอย่างหนึ่ง เราก็ไม่ได้ไปละลาบละล้วง ตกลงเราก็ไม่ได้เห็นอย่างคุณ ก็ต่างคนต่างอยู่อยู่กันอย่างเป็นพี่น้อง อย่ามาทะเลาะวิวาทกัน อย่ามาฟ้องร้องกัน อย่ามาทำร้ายทำลายกัน ต่างคนต่างแยกกันไป ปฏิกโกสนา ตามหลักนานาสังวาสของพระพุทธเจ้าคุณจะแย้งอย่างหนักแข็งก็ตาม หากคอคุณไม่แตก พระพุทธเจ้าอนุญาต
_สู่แดนธรรม…หากคุณเดชาทราบดีว่า มันมีนัยซับซ้อนไปจากความถูกต้องของพวกเรา ไม่ใช่เพราะว่าเราพยายามทำให้ถูก เราถูกต้องโดยปกติธรรมดา แต่เราไม่ไปเอาชนะ แต่ว่าบางทีเราแพ้ แต่เราขอแพ้ เพราะว่าเราไม่เป็นผู้ทำผิด พ่อท่านเคยบอกไว้
พ่อครูว่า…เห็นความเห็นแย้งของคุณเดชา อาตมาชอบที่เห็นมา อย่าท้อแท้ อย่ารังเกียจอโศก อาตมาให้กำลังใจ
_สู่แดนธรรม…มันมีหลักฐานที่เป็นความจริงขึ้นมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2532 เราเป็นฝ่ายแพ้แต่เราไม่ใช่ฝ่ายผิด จะว่าเราถูกต้องก็ได้ แต่เรายึดความถูกต้องแบบผู้แพ้
ปัญญาตัณหาล้ำหน้า อภิชปา
_ฟอด เทพสุรินทร์ : ขอน้อมกราบนมัสการ พ่อครู ด้วยความเคารพยิ่งครับ
มีชาวอโศกหลายท่าน ที่ได้บรรลุธรรมเกินขั้น พระสกิทาคามี ได้รับอุบัติเหตุ ทั้งรถชนและรถคว่ำ แล้วถึงกับต้องจบชีวิตไปก่อนวัยอันที่ควร ผมจึงขอกราบเรียนถาม พ่อครูว่า
-
ท่านเหล่านั้น ได้บรรลุธรรมแล้วก็เลยเพลิน จึงลืมนึกถึงความตาย ใช่หรือเปล่าครับ
พ่อครูว่า…ตอบไม่ได้ อาตมาไม่รู้อันนี้ ไปเอาของคนอื่นของใครมาคิดทำไม แล้วคุณก็คิดก็คิดไม่ออก คำตอบก็ไม่น่าจะหาได้จากใคร อาตมาก็ตอบไม่ได้ เพราะว่าจริงๆแล้วมันเป็นได้ทั้ง 1. ความประมาท ความไม่ประมาท ถ้าประมาทแน่นอนก็ต้องรับผลอย่างนั้นไป ก็ถูกต้อง แต่ไม่ได้ประมาทหรอก มันมีเหมือนกัน คือวิบากของคนนั้นต้องเป็นเช่นนั้น อาตมาก็พูดให้ครบ 1. ประมาท 2. เป็นวิบาก ซึ่งห้ามอย่างไรมันก็ไม่อยู่ เช่นเดียวกับพระโมคคัลลานะ วิบากของท่านแรงมาก จนกระทั่งท่านมีฤทธิ์ ถึงขั้นคนฆ่าท่านก็ฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ กี่ครั้งเขาก็ฆ่าท่านก็ถูกฆ่า จนสุดท้ายท่านก็ระลึกว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ท่านก็เห็นในอนันตริยกรรมของท่านก็เลยยอมตาย เพื่อใช้หนี้บาป ต้องยอมตาย ท่านเอาชนะได้นะ แต่ไม่ได้ ต้องยอมแพ้ เป็นเรื่องซับซ้อนลึกซึ้ง อจินไตย ต้องค่อยๆศึกษาไป
-
หากท่านเหล่านั้น ได้นึกถึงความตาย แล้วก็ตั้งใจ “อธิฐาน” ขอให้อายุยืนยาว ไปสักร้อยปี เพื่อจะได้ทำงานพระศาสนา ให้เต็มที่ ท่านเหล่านั้น จะสามารถรอดพ้นจากความตาย ในเหตุการณ์ที่เลวร้าย ในครั้งนั้นๆมาได้ไหมครับ