640224_พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 45 ออนไลน์
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1GT5pY0mx7p-KOJ1wkuBoYo63Sq1RLBH2bJ1FG5uJosQ/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1bkV7XF0EwzltUu-amyckQa5dGDvO_skw/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/eStXewPQkVM
ทำส่วนแห่งบุญให้เข้าสู่อาริยบุคคลตามลำดับ
พ่อครูว่า…วันนี้วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ปีชวด ก็เทศน์เปิดยุคบุญนิยมคาบนี้เป็นครั้งสุดท้ายคาบที่ 3 พรุ่งนี้ก็ตอบปัญหาแล้ว พวกเรานี้มีปัญหาน้อยลงๆ บรรลุกันขึ้นมาเรื่อยๆ วันมะรืนก็เป็นวันมาฆบูชา
เปิดยุคบุญนิยม คำว่าบุญนี้ ก่อนก็ยังอธิบายคลุมเครือปนเปไปกับกุศลนานพอสมควร จนกระทั่งมาแยกชัดชี้ชัดออกให้เห็นจริงๆเลยว่า จริงๆแล้ว ความเสื่อมของศาสนาพุทธก็เพราะว่า เข้าใจคำว่า บุญ ไม่ได้ ไม่สัมมาทิฏฐิที่แท้จริง ก็เพราะว่ามีนัยยะสำคัญที่สำคัญมาก มันละเอียดลึกซึ้งซับซ้อน ที่แยกในนัยยะที่สำคัญ
มันเป็นพลังงานที่ไม่ใช่สร้างแต่ความดี เป็นพลังงานตีกลับ ถ้าจะว่าไปแล้วทำงานเป็นความร้าย จะเรียกว่าชั่วก็ไม่ได้ ต้องเรียกว่ามันร้ายมันแรง มันร้ายตรงที่ว่ามันประหาร มันฆ่า มันทำลาย มันไม่ใช่ไปสร้าง ถ้าจะว่าสร้างมันก็ตีกลับ มันสร้างความเป็นคน มันสร้างสิ่งที่ประเสริฐสิ่งที่ดีงามอย่างแท้จริง ตรงเหตุเลยฆ่าเหตุตัวเหตุแท้ๆเลย คือกิเลส
กิเลสมีหยาบ กลาง ละเอียด มีตั้งแต่มันทำอย่างหยาบคายรุนแรงโหด ทำอย่างไม่เข้าท่าเลย จัดการก่อนตามลำดับๆให้มันเพลาลง ก็จึงเรียกว่าได้ส่วนบุญ ได้เบาลงๆ มาตามลำดับ เรียกว่าได้ส่วนบุญ แต่มันก็ยังมีกิเลส กิเลสมันก็ยังไม่หมด กิเลสในบางส่วน ลดลงๆๆ แต่ละส่วนๆ จึงเรียกว่าส่วนบุญ ทีนี้คำว่า ได้ส่วนบุญ ภาษาไทยเหมือนของได้ มันก็หยาบๆง่ายๆว่าได้ แต่ที่จริงมันไม่ได้ มันได้ความสะอาด มันได้ความบริสุทธิ์ มันได้ความเจริญอย่างหนึ่ง เป็นความเจริญทางโลกุตระ อันนี้ก็เป็นภาวะซับซ้อน
ความเจริญทางโลกีย์มันร่ำรวยลาภยศ เจริญคือร่ำรวยลาภยศ มีมากมายขึ้นมา ลาภยศสรรเสริญโลกียสุข มันเข้ามาบำเรอ แต่นี่มันเอาออกๆ อ้าว มันก็เข้าใจยากซับซ้อน เพราะฉะนั้น ได้ส่วนบุญ ก็เรียกว่าเข้าใจคำว่า บุญ คือการกำจัดกิเลสออกเป็นส่วนๆ
ถ้าจะเริ่มนับตั้งแต่บุคคล ก็เริ่มนับตั้งแต่ โสดาบัน มีบุญส่วนหนึ่ง ใน 4 ส่วน แบ่งกิเลสออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 หมดไปเป็นโสดาบัน นี่พูดกันอย่างตัดเลย ที่จริงมันจะเหลื่อมกัน ไม่ใช่ว่าตัด พั้วเลย แต่มันจะค่อยๆบางเบาลง อีกอันนึงก็ค่อยๆหมดลงด้วย สกิทาฯก็หมดไปด้วย โสดาบัน กิเลสบางลงๆ คุณภาพของจิตวิญญาณ คุณภาพความเจริญ คุณภาพของความประเสริฐ ของจิตวิญญาณดีขึ้นดีขึ้น ความประเสริฐดีขึ้น เจริญดีขึ้น ก็เข้าไปหาสกิทาฯ
พอกิเลสมันหมดเขต 25 เปอร์เซ็นต์ มันก็ตัดเกรดของโสดาบันได้ เหลือแต่สกิทาคามี
สกิทาคามีแต่ก่อนมันก็เหลื่อมกันอยู่ระหว่างโสดาบัน สกิทาคามีก็ค่อยๆหมดลงไปด้วย
พอตัดเขตโสดาบัน สกิทาคามีแท้ๆ ก็เหลื่อมไปหาสกิทาฯ ก็เหลื่อมไปหาอนาคาฯ
ความเป็นสกิทาคามีความเป็นประเสริฐสูงขึ้นๆ อนาคามีก็ได้สูงขึ้นด้วย
พอตัดเขต 50% กิเลสของสกิทาคามีถือว่าหมด อนาคามีก็ยังมีเหลื่อมอยู่
สกิทาคามีก็ยังเหลื่อมอยู่กับอนาคามี จนกระทั่งหมด หมดอนาคามี เอาภพกามภพภายนอกมาเป็นเครื่องชี้วัดอันนี้ หมดกามภพภายนอก ไม่ต้องเดือดร้อนดิ้นรนอย่างหยาบ ไม่ต้องบำเรอทางนอกเลย ทางนอกขาดได้ ไม่มีเดือดร้อนไม่มีอะไรเลย ไอ้เดือดร้อนเป็นเรื่องของจิต มันก็เดือดร้อนภายใน แต่ไม่เป็นไร เรื่องภายนอกไม่ขาด ไม่ขาดสภาพภายนอก แต่อารมณ์ภายในนั้นมันก็เดือดร้อน เพราะมันยังไม่หมด ซึ่งอาการของจิต สภาพของธรรมะพวกนี้ เป็นสภาพธรรมะที่ยากมากๆเลย
มนสิการสังขารให้เข้าถึงฌานทั้ง 4
การปรุงแต่งหรือการทำใจในใจหรือการจัดการปรับปรุง จิตของเรา ทำใจในใจของเรา การกระทำที่เรียกว่า การ มนสิการ คำว่ามนสิ แปลว่าที่ใจ การคือ งานกระทำ บทบาทพฤติกรรม ทำที่ใจ มนสิการนี่แหละ
โดยอีกคำหนึ่งก็คือ สังขาร ปรับปรุง ปรับแต่ง จัดการ อย่างยิ่ง เรียกว่า อภิสังขาร
เพราะฉะนั้นปรับปรุงปรับแต่งอย่างยิ่งที่เป็นการสังขารปรับปรุง ปรับปรุงอย่างยิ่ง โดยการรู้จักกิเลส รู้หน้าตากิเลส จับตัวกิเลสถูกตัวถูกตน ไอ้คำว่า ถูกตัวถูกตนนี้แหละมันเป็นเครื่องตัดสินได้ยาก ที่ทางตักกะ บัญญัติทางที่เรียนรู้แต่ความหมายภาษาคำพูด เขาเข้าไม่ค่อยถึงสภาวะจริง อารมณ์ผิวเผิน อารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ อารมณ์สนุกรื่นเริงบันเทิง ออกมาประกอบกับกายกรรม วจีกรรม ภายนอก มากมาย เขาเข้าใจได้ แต่พอมีแต่อาการใจ ทางพวกบัญญัติทางเรียนพยัญชนะภาษา เรียนคำพูดการกำหนดหมายแบบเหตุแบบผล เขาเข้าไม่ถึง อันนี้แหละยากมาก เข้าไม่ถึง
ที่เข้าไม่ถึงเพราะรู้คำว่า กาย ไม่สมบูรณ์แบบ แล้วคำว่า กาย ก็ยิ่งเนียนใหญ่เลย แยกกันไม่ออกนะ คำว่า กายนี้มี 2 สภาพ ทั้งภายนอกภายใน ทั้งรูปทั้งนาม ทั้งดินน้ำไฟลม ประกอบกับอาการ อาการนี้เป็นตัวกลาง ประกอบกับจิตเชื่อมอาการอยู่ อาการเป็นตัวเชื่อมกายกับจิต จึงยากมากเลย คนที่จะเข้าใจสภาวะครบครัน เป็นสามเส้า เป็นเจ้าเป็นประธานแล้วก็มี 2 ภายนอกกับภายใน รูปกับนาม แล้วก็เป็นประธานจัดการกับพลังงานทางจิต แล้วก็พลังงานกาย หมดพลังงานกาย มากระทบ มันจะเป็นรูปร่าง เป็นพลังงานก็ได้ มากระทบ
อย่างแสงเสียง เสียงมากระทบ แสงทางตากระทบรูปมากระทบ ข้างนอกจริงๆนี่คือแสงทางตากับเสียงทางหูข้างนอก ถ้ากลิ่นนี้เข้าไปครึ่งๆ ถ้าลิ้นนี้ต้องเข้าไปกระทบภายในเลย แล้ว 5 ทวารข้างนอกเรียกว่า โผฏฐัพพะ
โผฏฐัพพะ นี่ยากใหญ่เลย เพราะว่า โผฏฐัพพะ ต้องมีสัมผัส 5 ได้เสมอ จึงจะครบกาย
แล้วกายก็จะต้องชัดเจน อ่านให้รู้ว่า อาการของจิตนะ กาย เน้นอาการของจิต กายนี่
เพราะฉะนั้นใน เล่ม 16 ข้อ 230 พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า กายนี้ ตถาคตเรียกว่า จิต มโน วิญญาณ มันก็เลยยากมากเลย คนเข้าใจยากมาก ยากจนกระทั่งเสื่อมง่าย เพราะมันยาก แล้วคนก็เลยจับไม่ค่อยติด ละเอียด เสื่อมง่าย เสื่อมจนกระทั่ง กาย ไม่ได้หมายถึงจิตเลย กาย ไปหมายเอาแต่ข้างนอก กายไปหมายเอาแต่ดินน้ำไฟลมไปเลย นานเข้าจนสนิท ศาสนาก็เสื่อมไปเลยเพราะคำว่า กาย คำเดียว กายคำนี้
แถมคำว่า บุญ อีกคำเข้า เสร็จเลย ศาสนาพุทธเลยบอดมากว่า 2,500 ปี หมดเชื้อเลย อาตมาต้องใช้คำว่าหมดเชื้อ เชื้อโลกุตระหมด
การจะอ่านตัวอาการกิเลส การจัดสร้างพลังงานอภิสังขาร สร้างพลังงานจิตให้เป็นฌาน พลังงานฌานคือการสร้างพลังงานให้เกิดไฟ ตั้งแต่คำว่าวิตกวิจาร ฌานที่ 1
ฌานที่ 1 มีวิตกวิจาร มีปีติ สุข ก็ยังไม่รู้สึกมากเพราะมันยังไม่สงบ ยังแรงอยู่ ยังจัดการอย่างเอาจริงเอาจัง ยังเข้มเคร่งอยู่ มันหนักหนาสาหัส มันจะเอาสุขที่ไหนมา ฌาน 1ฌาน 2 ท่านยังไม่ใช้คำว่าสุข
อาการสุข จะเริ่มมีที่ ฌานที่ 3 อุเบกขาเรียกว่าสงบเริ่มที่ฌาน 3
ฌาน 1 ฌาน 2 ยังยากอยู่ ฌาน 3 ถือว่าสงบ การเข้มเคร่งลดลง ค่อยได้หายใจ ค่อยได้หายเหนื่อย ค่อยได้พักขึ้นมา
อาการของฌาน นี่พอฌาน 4 ก็เริ่มหมดกิเลส อุเบกขา ถือว่าสะอาดจากกิเลส ก็หยุดที่จะทำงานล้าง ก็พักได้ กิเลสมันไม่กล้ามาทำงานได้เรื่อยๆ ก็สั่งสม ตกผลึกสะอาด ได้จิตอุเบกขาคือจิตสะอาด
อาตมาอธิบายคำว่า ไม่ทุกข์ไม่สุข กับ อุเบกขา มีนัยยะต่างกัน อย่างมีนัยยะสำคัญต่างกันอย่างละเอียด ทีนี้ทางโลกเขาแยกไม่ออก ก็ใช้แทนกันเลย ไม่สุขไม่ทุกข์ อาการสุขเขาก็หยาบ อาการทุกข์เขาก็หยาบ ทีนี้สุขที่ละเอียดเข้าไปเขาอ่านไม่ออกแล้วปนเปกันแยกไม่ได้มันก็เลยไปไม่ออก เขาก็ทำฌานไม่ได้ โดยเฉพาะเขาเป็นนักสะกดจิตอยู่ภายใน ไม่มีอาการนอกที่แรงเขาก็เลยไม่รู้ว่า มันจะมีตัวเปรียบเทียบที่ต่างกัน แรง แต่นี่ไม่มี กับเบา นี่ไม่มีแล้ว ข้างนอกนี้มันแรงแต่ข้างในมันไม่มีแล้ว แต่นี่มันไม่มีการเปรียบเทียบเลยไม่กระทบตาหูจมูกลิ้นกายนั่งหลับตาก็เลยไม่เข้าใจรายละเอียด มันก็ไม่รู้ได้ ก็ซวย
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก อาตมาถึงบอกว่าคุณไม่ต้องไปหลับตาเลย ไม่ต้องไปปฏิบัติธรรมหลับตาปฏิบัติ ทำ อปันกปฏิปทา 3 ให้ครบ แล้วอ่านให้ชัดเจน ให้รู้ตัวตนของอาการที่มันเรียกว่ากิเลสกาม กิเลสปฏิฆะ กิเลสโกรธให พี่กรจบและ มีตังค์ติดตัวเลยไม่ได้เลยกดให้พี่ก่อนจบอะไรเลยพี่ก็จบแล้ว ชัด
เมื่อกระทบแล้ว เกิดจิตตักกะ วิตักกะ
ตักกะ การดำริ เริ่มอาการของจิต กระทบสัมผัสแล้วเกิดสภาวะขึ้นมา ถ้าไม่กระทบสัมผัสกัน สภาวะของจิตคุณก็เอาของเก่ามาคิด
หนึ่ง มันไม่จริง ของมันเลิกไปแล้วพักไปแล้วไม่มีปัจจุบัน กับอดีต
ศาสนาพุทธถึงละเอียดตรงที่ อดีตก็ไม่เอา ถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยิ่งอนาคตเป็นของเพ้อเจ้อ ของเพ้อฝันเลอะเทอะ อดีต ท่านก็บอกว่า มันเกิดจากเหตุ อาศัยขันธ์เก่าระลึก 18 อย่าง อาศัยขันธ์ใหม่ ระลึกอนาคตอีก 44 อาตมาก็ยังไม่แจกแจงทิฏฐิ 62 เอาไว้ก่อน
ลักษณะการหลับตาก็มีแต่อดีตกับอนาคต สิ่งที่เป็นจริงๆๆ มีในปัจจุบันเท่านั้น คำว่าปัจจุบันก็ยากมาก ที่อาตมาพยายามขยายความว่า ปัจจุบันเป็นตัวสัจจะที่แท้จริง ไม่มีปัจจุบันไม่ถือว่าสัจจะ ไม่มีแสงสว่าง ตาไม่ลืม หูไม่เปิดรับ จมูก ลิ้น กายสัมผัสไม่เปิดรับความรู้สึก ไม่ถือว่าเป็นสัจจะ สัจจะต้องครบภายนอกภายในทำงานร่วมกันอยู่ มีการสัมผัสสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นอธิบายไปละเอียดแล้วถึงตัดเรื่องหลับตาทิ้งได้เลย ว่า เสียเวลา คุณทำทวนไปทวนมาเสียเวลาเปล่าๆ คุณทำภายในอาจจะมีกิเลสบางส่วน อาสวะบางส่วน จัดการไปได้นานมากจนกระทั่งสลายไปโดย ชรตาก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านก็ว่ามันละเอียดเกินไปแล้วมันก็ไม่รู้ชัดเพราะตัวธาตุรู้ที่จะรู้ลักษณะความละเอียด มันเป็นอย่างไร มุมเหลี่ยมมิติต่างๆ มันไม่รู้ มันอ่านอาการกระดุกกระดิก อาการเคลื่อนไหวข้างในมันยาก
ปัญญาธาตุรู้แท้ๆที่มันจะสามารถรู้ได้แท้ๆเลย มันจึงไม่โตพอ ปัญญามันไม่โต ปัญญามันไม่ครบเครื่อง ปัญญามันไม่เต็มรูป มันมีแต่สัญญา มันไม่ใช่ปัญญา หรือไม่มันก็มีแต่ อัญญา มันไม่ใช่ปัญญา มันรู้ไม่ได้ ถ้ามันจะรู้ รู้ได้อย่างเก่งก็แค่ จัญญา
จัญญา มันรู้ได้แค่ความรู้ มันก็ไม่สว่าง เพราะไม่มีแสงสว่างไม่มี อาโลก มันไม่ครบ จักษุ ปัญญา ญาณวิชชา อาโลก ซึ่งเป็นกระบวนการองค์ประกอบของการรู้ที่เรียกว่า ปัญญา ที่เรียกว่า ความรู้ต่างจาก เฉโก
เพราะฉะนั้นในคำว่ารู้ เฉโกก็ดี ปัญญาก็ดี ญาณก็ดี วิชชาก็ดี เฉโก กับตัวปัญญา ปัญญาเป็นตัวต้นของความรู้แบบโลกุตระ ที่มีความรู้ อัญญธาตุ ธาตุทวนกระแสโลกีย์ที่เรียกว่า อัญญธาตุ ที่เริ่มนับเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะโลกุตระ
ปัญญาเป็นตัวรู้สูงกว่า อัญญา อัญญะเป็นเอกพจน์ อัญญาเป็นพหูพจน์
ปัญญาก็เป็นตัวรู้โลกุตระตัวแรก แล้วจึงไปเป็น ญาณ แล้วจึงไปครบคำว่า วิชชา
เพราะฉะนั้น ปุญญาภิสังขาร คำว่า การปรับปรุง การสร้างสังขารที่ยิ่งใหญ่ การปรุงแต่งของมันเป็นโลกโลกียะ สังขารก็เป็นสังขารธรรมดาของอวิชชา
อวิชชาสังขารปรุงแต่งเป็นอย่างโลกๆไปจนเจริญสูงสุดได้ถึงขั้นเป็นพระศาสดา องค์ใดองค์หนึ่ง ของเทวนิยม ที่มันไม่ใช่โลกุตระเลย มันเป็นโลกีย์ เก่งยอดได้ แต่ไม่ออกมานอกกรอบของโลกียะ มันไม่ทวนกระแส มันวนอยู่ในโลกเก่า
ความรู้อันนี้เป็นความรู้ที่ไม่ง่าย อาตมาว่าถ้าอาตมาไม่นำมาพูด แยกไม่ออก ไม่เข้าใจกันหรอก ก็จะสูญไปเลยจากศาสนาพุทธ ความรู้อันนี้มันไม่มีแล้ว อาตมาถึงบอกว่าอาตมาเป็นไก่ตัวพี่ออกมาพูดเรื่องนี้ พูดเรื่องคำว่า บุญ คำว่า กาย แล้วก็เข้าไปถึงคำว่า ฌาน คำว่าสมาธิ
4 คำนี่แหละ คำว่าบุญ คำว่ากาย คำว่าฌาน คำว่าสมาธิ ซึ่งใช้ร่วมกันอยู่ในภาษาธรรมะทั้งเทวนิยมและก็ อเทวนิยมใช้ร่วมกัน แต่เทวนิยมใช้เป็นอีกฝั่งนึงเลย ส่วนอเทวนิยมของพระพุทธเจ้า รู้ทั้ง 2 ส่วน อีกส่วนหนึ่งมันเลิกส่วนโลกียะ เลิกมาเรื่อยๆ ค่อยๆเลิกมาจนกระทั่งหมดสิ้น เป็นคนละโลกเลย ดาวคนละดวงเลย เป็นชาวต่างดาวไปเลย
พอเป็นชาวต่างดาวกันบริบูรณ์ มันก็พูดกันไม่รู้เรื่องเลย พูดกันคนละภาษาเลยไม่เป็นภาษาร่วมกันเลย คนละเรื่อง มันก็เลยกลายเป็นคนละโลก ทะเลาะกันเลย
ทีนี้ อาตมาเป็นมนุษย์ต่างดาวมา มาคนเดียว ลงมาในโลกนี้ มันก็เลยโอ้โห เขาก็เลยเอาใหญ่เลย บอกว่า ไม่เหมือนชาวโลกเขานี่ อาตมาก็บอกว่าใช่ อาตมาว่า ไม่ใช่ชาวโลกนี้หรอกอาตมาเป็นชาวโลกโลกุตระโลกที่พระพุทธเจ้าท่านอยู่ ซึ่งเป็นชมพูทวีป อันนี้มันเป็น กาฬทวีป ทวีปมืดทวีปดำ ทวีปที่ไม่มีแสงสว่าง ทวีปชัดๆก็คือ ทวีปตาบอด ทวีปคนตาบอด
มีประสาทรับรู้บ้างคนตาบอด แต่มันเป็นตัวสำคัญเลยเรื่องแสงสว่างเรื่องภาพทางประสาทตา ยิ่งใหญ่กว่ารู้อะไรมากกว่าเพื่อนเลยรู้ได้ครบกว่าทางนอกนะ ทางทวาร 5 ตานี้เป็นเอกเลย นอกนั้นมันก็ จะเป็นเรื่องของจมูก ลิ้น ลิ้นนี่ยิ่งในไปอีก หูก็รองมา จมูกก็รองลงมา พอโผฏฐัพพะ กระจายไปเลย ก็เลยรู้ยากกว่าเพื่อน โผฏฐัพพะ รู้มากกว่าเพื่อนเลยจนจับไม่ติดได้ง่ายๆ
พ่อครูเป็นไก่ตัวพี่ที่แทงหอกทะลุศีล สมาธิ ปัญญา ได้ในยุคนี้
เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้จักคำว่า กาย ไม่รู้จักคำว่าบุญ อย่างถูกต้อง
ฌานก็ดี สมาธิก็ดี จึงต่างกันไปเลย เพราะคำว่ากาย คำว่าบุญ 2 คำนี้เข้าใจไปคนละทาง
การกำหนดรู้ด้วยสัญญา การรู้ความหมายก็เรียกว่ากำหนดหมาย ก็ธาตุสัญญานี้แหละต้องกำหนด หมายรู้ สำคัญมั่นหมาย พยายามเอาภาษาไทยมาเรียกสภาวะของธรรมะโลกุตระ
อย่างคำภาษาบาลีมาเป็นคำๆเลย แต่ของไทยมันไม่มี มันก็เลยต้องขยายความ ก็เลยมีหลายพยางค์หลายคำ
เพราะฉะนั้นเมื่อความผิดเพี้ยนในความหมายคำว่ากาย ซึ่งเป็นตัวเริ่มต้น เป็นตัวหมายถึงสภาพ 2 สภาพ ภายนอก-ภายใน สภาพธาตุคู่ ซึ่งมีภาษาคำว่า เทวะ เป็นคำกลาง หมายถึงธาตุวิญญาณ
ธาตุวิญญาณ พระพุทธเจ้าก็มาแยกว่า วิญญาณอันยิ่งใหญ่ที่เขาหลงผิดกัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วจะมาเปิดเผยความจริง วิญญาณยิ่งใหญ่ วิญญาณพระเจ้า เขาจึงใช้พยัญชนะมาร่วม มากินรวบ มาตีกินว่า เป็นพระเจ้า แล้วก็อธิบายลักษณะพระเจ้าเป็นเผด็จการไปเลย เป็นเจ้าของอัตตา เป็นใหญ่ในอัตตา เป็นเจ้าของอัตตา มีสิทธิในทุกอัตตาของสัตว์โลก มนุษยชาติ เป็นเจ้าของหมดเลย จะเป็นอย่างไรนี้อยู่ในอาณัติของพระเจ้าหมด นั่นคือ โลกไหนๆ ก็จะเกิดความเห็น 2 อย่างนี่แหละ ความเห็นของเทวะก็เป็นความเห็นของโลกีย์ธรรมดา เมื่อไหร่เมื่อไหร่เกิดมาในมนุษย์ มนุษย์ก็จะเห็นอยู่แค่นั้น มีพระพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวพี่เจาะกระเปาะออกมาได้ก่อนเพื่อน ก่อนชาวศาสดาโลกียะทั้งหมดเลย พระพุทธเจ้าเจาะออกมาได้องค์เดียว เป็นไก่ตัวพี่
คำว่า เป็นไก่ตัวพี่ ของพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าท่านเป็นเจ้าของไข่ เจ้าของไก่ ออกมาจากไข่ไข่ออกมาจากกะลาครอบ ออกมาจากกะลาโลก ท่านไม่ยึดว่าท่านเป็นเจ้าของ เหมือนพระเจ้ายึดเป็นเจ้าของ แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่ยึดเป็นเจ้าของ มันก็ตรงกันข้ามแล้วคนละโลกแล้ว พระเจ้านั้นยึดเป็นเจ้าของอย่างเด็ดเดี่ยวเลย แต่พระพุทธเจ้านั้นไม่ยึดเป็นเจ้าของเด็ดเดี่ยวเหมือนกัน เห็นไหมมันมีความต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
เพราะฉะนั้นใครๆอย่าออกนอกรีตพระพุทธเจ้าเป็นลูกนอกคอกนะ อย่าไปยึดว่าเรา ของเรา ไม่มีอะไรเป็นเรา ของเราหรอก คนอื่นมีสิทธิ์ แต่เขายังไม่ได้เราก็สงสารเขาช่วยเขา เขาอยู่ในฐานะรับได้ก็เอา ผู้ใดรับไม่ได้ก็จะรู้ฐานะของเขา เขายังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับได้ ให้อย่างไรก็รับไม่ได้หรอก จอกน้ำมีจอกแค่นี้ แล้วก็มีน้ำเต็มด้วย ใส่เข้าไปยังไงน้ำก็ล้นออกหมด จะรับเข้าไปมากกว่านั้นไม่ได้หรือจะไม่เข้า เหมือนกับหอกแทงเข้าไปแทงด้วยหอก100 เล่มเช้าแทงก็ไม่เข้า มันชัดกว่าจอกน้ำ เอาน้ำเทใส่เข้าไป เทมันก็ต้องเข้าไปบ้าง น้ำ มันไหลออก ไม่รู้ว่าน้ำมันไหลมันไหล มันก็น่าจะเข้าบ้าง เป็นของเปรียบเทียบที่มันก็ไม่มีเหมือนกัน
เอาน้ำเทใส่จอกน้ำ มันน่าจะเข้าไปได้ แต่ไอ้นี่เอาหอกแทงสัตว์ตัวนี้ ที่จริงก็คือโจรไม่ใช่สัตว์หรอก เป็นคนนี่แหละ เป็นโจรฆ่าศาสนาทำลายศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ชี้ให้ชัดรับให้ชัดเท่านั้นแหละ อาตมาชี้ชัด โดยเฉพาะชาวพุทธด้วยกันเป็นโจรนี่แหละ
แทงหอกหักเลย แทงเข้าไปหอกพังหมดเลยหอกหักแทงไม่เข้า พระราชาเจอตอนกลางวันถามอีกว่า ฆ่าโจรตายหรือยัง ก็บอกว่ายังไม่ตาย ก็บอกว่าเอาไปฆ่าด้วยหอกร้อยเล่มอีก แทงหอกเล่มที่ 1 2 3 4 5 เล่มที่ 8 ก็เมื่อยแล้ว คนแทงจะไปมีกำลังอะไรมากมาย แค่พูดยังเมื่อยแล้ว 100 เล่มหักหมด ต้องยอมแพ้ แต่อาตมาไม่ยอมแพ้ เพราะสงสารเขา มันน่าจะได้คนที่จะต้องหนักๆสักวัน ถูกแทง สามร้อยเล่ม พระพุทธเจ้าท่านตั้งสังขยาเลขไว้แค่ 300 เล่ม อาตมาว่าอาตมาแทงไปหมด 900 เล่มแล้วนะ 50 ปี
ไม่ใช่แทงอะไรมากหรอก แทงประเด็นว่า เลิกหลับตา มาลืมตาศึกษาจรณะ 15 มาเรียนรู้ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ ให้เข้าใจเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา หรือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ให้สัมมาทิฏฐิ ให้ถูกต้อง ที่คุณเรียนกันมันไม่ถูกต้อง มันไม่เข้าหลักเกณฑ์ของจรณะ 15 วิชชา 8
ศีล เป็น 1 จรณะอีกตั้งแต่ ข้อ 2 ไป ยันข้อ 15 นี่คือจิต อธิจิต อีก 8 เป็นวิชชา
ซึ่ง วิชชาเป็นยาดำ ปัญญาเป็นยาดำ ผสม มีมาร่วมตั้งแต่ศีล ศีลต้องมีปัญญาไม่มีปัญญาไม่ได้ต้องมีปัญญาร่วมเสมอ ปฏิบัติศีล ต้องมีธาตุรู้ร่วมไปด้วย ควบคุมศีล จัดการกับศีล
ศีลข้อที่ 1 เป็นข้อกำหนดหมายเรื่องราว กรอบขอบเขตและเรื่องราวพฤติกรรมต่างๆ เรียนรู้รูปนาม จัดการกับวิญญาณที่เลือกวิญญาณผีออกมา วิญญาณซาตานวิญญาณมารออกมาให้ชัดซึ่งเป็นกิเลสนั่นเอง แล้วจัดการ แล้ว การจัดการของพระพุทธเจ้าก็ไม่รุนแรงด้วย
จัดการอย่างผู้ดี จัดการอย่างให้รู้สึก ให้เข้าใจ ให้รู้ตัว ว่าตัวเองเป็นผีนะ ตัวเองเป็นตัวไม่มีตัวตน ตัวเองเป็นมายา ตัวเองเป็นผีหลอก เป็นลักษณะมาหลอก มาเท็จ มันไม่มีจริงมันไม่มีตัวจริงมันเป็นอนัตตา เอ็งน่ะ มันไม่ใช่ตัวอนัตตาพิสูจน์ได้ เป็นพลังงานก็เป็นพลังงานที่เก๊ ที่สลายได้ ไม่ใช่พลังงานนิรันดร พังสลายพลังงานได้หมดเลยเป็นชิ้นๆได้หมดเลย
พูดถึงตรงนี้แล้วอาตมาก็นึกถึงรถแทรกเตอร์ D10 เขาแยกชิ้นมาเป็นชิ้นๆใหญ่เลย อาตมาไปดูแล้ว พูดตรงๆแล้วมันจะเอาใส่ครกไหมนี่ อาตมาก็ว่า..โอย แต่อาตมาก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอกนะ มันทำไม่สำเร็จก็ต้องยอม มันวิบากเรานะ ลุ้นในใจลึกๆนะ ไม่ได้ดูถูกนะ แต่อยากให้เก่งน่ะ ไม่ใช่จะดูถูกหรอก ก็รู้ดีนะ อย่างน้อยก็ได้ศึกษาฝึกฝน แต่น่าจะสำเร็จ เพราะมันชิ้นใหญ่ไม่ละเอียดเหมือนนามธรรม มันน่าจะรู้ อย่างไรอย่างไรวัตถุมันก็ไม่ได้ละเอียดเท่านามธรรม ลุ้นๆอยู่นี่ ก็ไม่ได้ลงโทษไม่ว่า แต่มันดี อย่างน้อยที่สุดพวกเราก็ได้เรียนรู้ฝึกปรือลงทุนไป หากเรียนรู้สำเร็จก็จบวิชา พวกเรามีช่างที่ทำเรียนจบอันนี้ด้วยหรือเปล่า มีไหม?… มีคนไปทำมี ผ่านฟ้า เก้า ตั๊ก กอและ ต้อม เขียว เป็นต้น
บุญใช้ดับสิ้นอาสวะ ไม่ใช้ดับอนุสัย
สรุปแล้วปุญญะ เป็นตัวชัดเจนว่าเป็นพลังงานที่ต่อจาก ฌาน เปลี่ยนตัวจบของฌาน เหมือนคำว่า พละหรือผล อินทรีย์คือพลังงานที่สะสมไปเรื่อยๆ อินทรีย์ 5 พละ 5
พละ 5 คือตัวจบของผล อินทรีย์คือ 1 2 3 4 ไปถึง 5 ฌานก็เหมือนกัน ฌาน 1 2 3 4 มาถึงตัวผลก็เป็นบุญ จะเรียกว่า 5 หรือไม่เรียก 5 ก็ได้แต่เขาไม่เรียก 5 เขาเรียกว่าบุญจบไปเลย ไม่เรียก 5 เพราะตัวจบคำว่าบุญนี้เมื่อถึงเป็นคำว่าบุญมันหายไปเลย มันจบไปเลย มันมีแต่จิตสะอาด ตัวจิตสะอาดเท่านั้นสิ้นอาสวะ ก็ไปเรียกปริสุทธา ไปเรียกว่าบริสุทธิ์รอบ สุทธะ สุทธา สุทธิ ปริสุทธา บริสุทธิ์สะอาดรอบกิเลสตายหมดก็สั่งสมตัวที่หมดอาสวะหมดกิเลสสิ้น
ตัวสิ้นอาสวะนั้น ตัวจิตที่สะอาดจากอาสวะนั้นมันตกผลึก ไม่ใช่เอาจิตอะไรที่ยังไม่สะอาดมาสั่งสมด้วย ไม่ใช่เด็ดขาด อันนี้แหละเป็นตัวโลกุตระซึ่งสำคัญมากตัวอุเบกขา มันหมดสุขหมดทุกข์แล้ว ไม่สุขไม่ทุกข์เป็นพยัญชนะ อุเบกขาเป็นพยัญชนะที่บอกตัวจบ ไม่สุขไม่ทุกข์แล้ว ไม่สุขไม่ทุกข์ยังนับเป็นโลกีย์ แต่อุเบกขานับเป็นโลกุตระแท้ๆ ถ้าแยกสองตัวนี้ ไม่สุขไม่ทุกข์ อทุกขมสุขกับอุเบกขา
ไม่สุขไม่ทุกข์นี้ ฟังภาษาก็แทนสภาวะของโลกีย์ ไม่สุขไม่ทุกข์ๆ แต่อุเบกขานี้ ถ้าคนโลกโลกุตระจริงๆ ไม่รู้จักโลกียะเลย อะไรไม่สุขไม่ทุกข์ สุขคืออะไร ทุกข์คืออะไร คือโลกโลกุตระจะพูดไม่รู้เรื่องกับโลกโลกียะเลย ถ้าเป็นโลกุตระที่เด็กๆไม่เดียงสา อะไรไม่สุขไม่ทุกข์ จะไม่รู้เรื่องเพราะแกอยู่อุเบกขา เด็กโลกุตระเขามีอุเบกขาแล้ว อะไรไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่รู้ภาษา เพราะฉะนั้นภาษาของโลกียะเอามาใช้กับโลกุตระ ถ้าชาวโลกุตระไม่รู้ภาษาของโลกีย์ก็เหมือนเด็กๆไม่รู้ภาษาพูดอย่างที่บอกเมื่อกี้ ไม่สุขไม่ทุกข์อะไร? เขาไม่รู้เรื่อง ผู้ใหญ่ก็อธิบายให้ฟัง อุเบกขาไงลูก เขาก็ว่าอุเบกขาเป็นยังไง เด็กก็จะงง
แต่จริงๆแล้วโลกุตระรู้ต้องรู้ทั้งสองอย่าง แยกกันไม่ได้ เหมือนกาย ทั้งภาษาโลกีย์ภาษาโลกุตระ ทั้งสภาวะโลกีย์สภาวะโลกุตระต้องรู้ทั้ง 2 อย่าง ถ้ายังไม่รู้ทั้ง 2 อย่างก็ยังเว้าๆแหว่งๆ ยังพูดกันไม่รู้เรื่อง
พอปุญญะนี่มาลงตรงนี้ จบตรงนี้สั้นๆก่อนก็แล้วกัน ปุญญะ จบพลังงานฌานแล้วมาจบที่ปุญญะ เสร็จหน้าที่ คำว่าปุญญะ หมดหายไป พยัญชนะ คำว่าปุญญะพอจบกิจ ทำให้อาสวะสิ้น
คำว่าอาสวะสิ้นเท่านั้น เป็นหน้าที่ของบุญ ส่วนอนุสัย ไม่ต้องเกี่ยวกับบุญ ไม่ต้องเอาบุญมาพูดกับอนุสัย เพราะฉะนั้นคำว่าอนุสัยนั้น ก็เข้าใจเป็นคนโลกีย์ ไม่เป็นคนโลกุตระก็เข้าใจคำว่าอนุสัยเหมือนกับอาสวะ ก็พยัญชนะสองตัว มันจะเหมือนกันได้อย่างไร
สายศรัทธาจะบรรลุต้องหาสัตบุรุษเพื่อให้เกิดความละอายอย่างแรงกล้า
จัดหมวดอาสวะก็เข้าไปในสังโยชน์ 10 ส่วนจัดหมวดอนุสัยก็เป็นอนุสัย 7
สภาวะภายในที่มันจะเป็นลำดับก็ต่างกัน อนุสัย 7 กับอาสวะ 10 ไม่เหมือนกัน แม้แต่ 3 อาสวะแรก สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ของอาสวะมี แต่อนุสัยไม่ต้องเพราะในอนุสัยมี 3 อย่างนี้แล้ว สภาพของผู้อุภโตภาควิมุติ สายปัญญา ธัมมานุสารี จะรู้จักเรื่องอนุสัย แต่สายสัทธานุสารี ยากที่จะรู้จักอนุสัย ต้องเริ่มจาก สัทธาวิมุติ ไปทิฏฐิปัตตะ จนกว่าจะมีญาณมีปัญญา ถึงขั้นสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิที่บริบูรณ์จึงจะสามารถเต็มทิฏฐิปัตตะ
ทิฏฐิปัตตะ จึงจะสามารถทำอาสวะสิ้นได้ ก่อนสัทธาวิมุติ นี่ไล่ บุคคล 7
สัทธานุสารี ธัมมานุสารี สัทธาวิมุติ ทิฏฐิปัตตะ ซึ่งทิฏฐิปัตตะเป็นอันที่ 4 ออกมานอกสามเส้า
สัทธานุสารี ธัมมานุสารี สัทธาวิมุติ นี่อยู่ในกรอบโลกียะ สัทธาวิมุติ จะเรียกว่าเป็นโลกุตระก็ยังไม่ได้ ต้องหลุดพ้นออกจากกรอบมาเป็น ทิฏฐิปัตตะ จะเริ่มรู้จัก กาย บุญ รู้จักกายกลิ แล้วจะไปรู้จักจิตกลิ จะไปรู้จักจิตกลิก่อนไม่ได้ ต้องรู้ทีหลัง
ทิฏฐิปัตตะ จึงจะมีคำว่ากายสมบูรณ์รู้จักคำว่ากายได้ดี พ้นกาย พ้นสักกายทิฏฐิ รู้จักกาย รู้จักตัวเอง เรียนรู้จิตเจตสิก รูป นิพพาน ของตัวเองโดยเฉพาะจิตเจตสิกแยกออกเป็น 2 ได้ แยกกิเลสกับตัวสะอาดได้ แล้วก็จัดการทำลาย จึงสามารถทำให้เกิด กาย ดับ ไม่มีอาการกาย มีแต่จิตสะอาดขึ้นๆ
แม้กระทบกับกายภายนอกจิตก็สะอาดได้ จึงมีกาย จากทิฏฐิปัตตะ จึงไปถึงกายสักขี
ตัวกายสักขี จะเห็นว่ามีทั้งภายนอกภายใน เป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ต่อคนทั้งมวล เพราะออกมาชัดเจน ถ้าทิฏฐิปัตตะ ไม่ปฏิบัติภายนอกคุณอยู่แต่ภายใน มันก็ไม่ได้อะไร
พวกหลับตามีแต่หลับตามันปิดประตู มันไม่มีโอกาสที่จะออกมาทิฏฐิปัตตะอะไรเลย คุณต้องออกมาภายนอกมาทำกายให้สัมมาทิฏฐิ กายของคุณ สักกะของคุณเอง กาย ก็คือภายนอกภายใน
นี่หอกหักไปอีก 600 เล่มแล้วนะ เมื่อไหร่จะออกจากความดักดานตรงนี้ ผู้ที่หลับตาทั้งหลายแหล่ ถ้าเผื่อว่าผู้ที่ทางหลับตา ฟังอาตมาแล้วสะดุดตรงนี้แล้วหยุดหลับตาแล้วมาสนใจ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่าไปหลับตา มาลืมตา ปฏิบัติ อปันกปฏิปทา 3 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ออกมารับภายนอกเริ่มเลย มาผัสสะ มีผัสสะ เป็นปัจจัยแล้วค่อยมนสิการ คุณมัวแต่ไปนั่งหลับตาเมื่อไหร่มันจะคล่องแคล่ว เมื่อไหร่มันจะชำนาญ เมื่อไหร่มันจะรู้ดี ออกมาเสียทีสิ มาเรียนรู้ตามลำดับศีล สมาธิ ปัญญานี่
เมื่อมาเรียนก็มาเรียนสิ่งที่ใกล้ตัวก่อน อาหารที่กินทุกวัน ทางภาคเหนือเป็นพระภิกษุก็ล่อ 3 มื้อเลย ภาคกลาง ภาคอีสานนี่เขาก็กินมื้อเดียว พระมื้อเดียวภาคอีสานมีเยอะ ส่วนทางภาคเหนือ พระล่อ 3 มื้อมีเยอะใช่ไหม ขออภัยที่พูดแรง
อาหาร โภชเนมัตตัญญุตาคำข้าว กวฬิงการาหาร มาเรียนรู้ให้ครบอาหาร 4 มีผัสสะกับอาหาร แล้วก็พยายามมีผัสสะแล้วอ่านจิตเจตสิกตัวเอง มันมีอาหารมีเครื่องอาศัย อ่านแยกแยะให้ออกว่า อันนี้ชอบอยู่นะ อันนี้ไม่ชอบนะ ก็ดู มันจะมีปฏิกิริยาพวกนี้ของเรานี่แหละมัน ส่อ อาการภายนอกภายในให้ชัดเจนมาเรียนรู้ตรงนี้ แล้วหยั่ง เข้าไปดูอาการของเจตนา
เพราะฉะนั้น นาม 5 สัญญา เป็นตัวกำหนดรู้ แยกเวทนามา รู้เจตนาในเวทนา เจตนานี่แหละ เป็นตัวตัณหา ตั้งแต่ภายนอกเรียกว่า กามตัณหา เจตนามีกามตัณหา ดับ กาม อาการข้างนอก มันเป็นโทษมันเป็น กามทีนสวะ อย่าไปหลงว่าเป็นกามคุณ มันเป็นโทษนะ มันเป็นภัย
เมื่อรู้ชัดเจนว่ามันเป็นภัย อาทีนวะ ตอนนี้ก็..เออ! แต่ก่อนนึกว่ามันเป็นพ่อพระแม่พระ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าแท้ๆมันเป็นยักษ์เป็นมาร ปัดโธ่! ก็ระลึกสำนักตัวเองว่า โง่จริงๆเราไปเข้าใจถึงมารผียักษ์เป็นพ่อพระแม่พระ อุ๊ย!.. อาย หิริ
โพธิรักษ์บอกแล้วบอกเล่า ทีนี้ล่ะ เจอโพธิรักษ์ก็อาย ไม่ต้องกลัว อายแรงๆ ดื้อเข้าไป อายแรงๆ ละอายแรงๆ ดื้อเข้าไป กลัวแรงๆก็ดื้อเข้าไปทวนกระแสเข้าไปเรียกว่าตัปปัง
หิโรตัปปัง ทั้งหิริ และโอตตัปปะ หิริ..อายกลัวแรงก็ดันเข้าไป
สายศรัทธาต้องพูดอย่างนี้ ดันเข้าไป ดึง ตัวเองมันจะไม่เข้า มันกลัวมันเกรง ก็ต้องเข้าดันแรงๆ ศัพท์คำว่า ละอายอย่างแรงกล้า เกรงกลัวอย่างแรงกล้า และเข้าไปอย่างไร ก็เข้าไปอย่างเคารพอย่างแรงกล้า
ภาษามันสื่อสภาวะ อธิบายไปเข้าใจใช่ไหม มันเป็นสภาวะ 2 ซ้อนอยู่ในนี้ ละอายอย่างแรงกล้า เกรงกลัวอย่างแรงกล้า รักอย่างแรงกล้า เคารพอย่างแรงกล้า แต่ก่อนนี้ดูถูกดูแคลน ด่า สาดเสียเทเสียบ้าง ดีไม่ดีจะเอาเข้าคุกอีก ดีแต่ว่า ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ก็เลยรอดออกมา เอาสัจจะเข้าพิสูจน์ เอาความจริงเข้าพิสูจน์ ก็พอได้หลุดออกมา ขนาดนั้นยังหลุดออกมาอย่างไม่สมบูรณ์นะ เพราะเขาฟ้องอันแรกก็ฟ้องไม่สมบูรณ์
เขาบอกว่าไม่ทำตามสังฆราชสั่ง มีที่ไหนศาสนาพุทธ..สังฆราชมีสิทธิ์สั่งให้สึก เราไม่ผิดเราก็สู้เราไม่ผิด ไม่ได้ปาราชิก แม้แต่สังฆาทิเสส ก็ไม่ได้เป็น ความผิดอีก 11 อย่างก็ไม่ได้เป็น เอาหลักฐานในพระวินัยมายืนยัน แล้วไปให้ฆราวาสที่เป็นผู้พิพากษามาตัดสินพระธรรมวินัย ก็เพราะว่าพวกคุณไม่กล้าตัดสินธรรมวินัย ไปเล่นลับหลัง และเอาทั้งธรรมยุตและมหานิกายไปรวมกันเป็นวิบัติคณปูรกะ ด้วย เอาพระต่างนิกายไปรวมกันพิพากษาไม่ได้ ไปทำสังฆกรรมกันไม่ได้ นี่สังฆกรรมการพิพากษาผู้ผิด แล้วไม่เอาผู้ผิดเข้าไปให้การในนั้นด้วย พูดกันเองเอาหลักฐานตัดสินกันเองมันผิด โมเมจัง ขออภัยพูดแล้ว มันรู้สึกว่า ทำไมถึงรู้ยากเย็น ทำไมไม่รู้สึกบ้าง อาตมาก็ต้องใช้คำนี้
ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าโกรธเคือง ไม่ได้หมายความว่าถือสา เอาผิดพวกคุณ ไม่ได้หมายอย่างนั้น แต่หมายถึงว่าให้คุณรู้สึกตัวบ้างรู้สึกสำนึกบ้าง สำนึกว่าตัวเองนี้ยังหลงผิด แล้วก็ประเด็นที่อาตมาพูดก็คือประเด็นเลิกหลับตา ประเด็นใหญ่เลย
วิชชา 8 จากการปฏิบัติจรณะ 15
แล้วมาตั้งใจศึกษาจรณะ 15 โดยเฉพาะกำลังสรุปเข้าไป อปันกปฏิปทา 3 มาเรียนรู้อันนี้สำรวมอินทรีย์ 6 เรียนรู้เรื่องกินนี่แหละ กวฬิงการาหาร มันจะมี รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ให้ศึกษากิเลสที่ขึ้นกิเลสที่มี ไม่ต้องไปพูดถึง ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขหรอก เอาตัวรสชาติ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนี้ ตัวนี้แหละ เป็นตัวลึกซึ้งซับซ้อน มาพิจารณาให้ดีอ่านอาการในจิต เออ.. เรายังชอบรส ชอบกลิ่น ชอบสี ชอบรูปร่าง ชอบอะไรไปจนกระทั่งถึง ยศ สรรเสริญ รูป รส กลิ่น เสียง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุดยอดก็คือ ยังหลงว่ามันเป็นสุขอยู่ ยังพอใจยินดีชื่นใจ ยังยินดี พอใจ ชอบมาก ชอบมากมันมากมันหยาบแล้วนะ ชอบน้อยๆอยู่ นี่ยังชอบอยู่น้อยๆ ยังพอใจในอาหารนี้ พอใจๆ มหาบัวว่า ยังชอบ ยังพอใจๆ นั่นแน่ะ
ใจพอไม่ใช่พอใจ เห็นไหมมันชัดเจน เคยได้ยินไหมมหาบัวว่า พอใจๆ แทนที่จะบอกว่าขอบใจ พูดเป็นโลกุตระบอกว่าพอใจ ที่จริงต้องใจพอ พอแล้วพอ เหลือแต่คำว่า พอ พอที
เพราะฉะนั้นคำว่า พอคำเดียว นี้ พยัญชนะคำว่า พอ ตัว พ กับ อ นี่ยิ่งใหญ่
พ คือ พฤติ คืออาการ ส่วน อ คือ สูญ
ก็เท่ากับคุณไม่รู้จักอาการเลย แล้วคุณก็สูญอยู่ตรงนี้ มี nich แล้วมี protoplasm เกาะตรงผนัง มันไม่กระดิกเลยก็เลยไม่รู้แต่ที่จริงมันมีตัวเกิด กลล
ก ก็ กะ อยู่ตรงนี้ พอ ล ก็เป็นพลังงาน สามเส้า ย ร ล พลังงานมันกระดิกๆ คุณอยากแล้วมีพลังงานคุณก็ยังไม่รู้ จน กลล กลล มีกลล สองตัว มันจึงจะแรงมันจึงพอรู้เรื่อง พยัญชนะจะบอกสภาวะพวกนี้
ใช้คำว่าพยัญชนะ กลละ กับ กลละ สองเส้า ส่วน nich คือเหมือนห้อง แล้วมีภายในมี cytoplasm ส่วน protoplasm เป็นภายนอก เหมือน อ.อ่าง มีหัว ติดอยู่ตรงนี้ หยุดขยายตรงนี้ก่อน
จากคำว่าปุญญาภาคิยะ เป็นส่วนของบุญก็มาเป็นปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งอย่างเก่งอย่างเป็นบุญ แล้วก็ลดกิเลสๆ จนหมดเรียก อปุญญาภิสังขาร หมดบุญ เสร็จ งานของบุญ ไม่ต้องมีตัวบุญ ไม่ต้องมีคำว่าบุญ อปุญญะ จบ
เพราะฉะนั้นอภิสังขารมี ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขารคือพลังงานที่ปรุงแต่ง ปรุงแต่งโดยไม่มีกิเลสแล้ว จึงมีแต่จิตที่สะอาด ปริสุทา ปริโยทาตา สั่งสมจิตเป็น มุทุภูตธาตุ เป็นธาตุจิตที่เป็นแกนของจิตวิญญาณเลย ทั้งบวกทั้งลบ ทั้งศรัทธา ทั้งปัญญา อยู่ในนี้หมดเลย แก่น Dynamic Static เก่งทั้งคู่เจริญอย่างได้สัดส่วนไม่แย้งกันไม่ทะเลาะกันไม่วิวาทกัน ลงกันช่วยกัน อองลอง เป็นอย่างดี เป็นคู่ที่ช่วยกันและกันถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ตลอดกาล จัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยหมดเลย เป็นองค์คู่ เป็นองค์รวมของเทวะ สองสหายคู่หู ที่แยกเป็นกาย เป็นนอกเป็นใน อะไรอีกเยอะแยะทำงานเป็น มุทุภูตธาตุ
หลังมุทุภูตธาตุคือกัมมัญญา กระทำด้วย อัญญาหรือปัญญา ควบคุมจัดการจึงดีตลอด ครบ สัปปุริสธรรม 7 ครบมหาปเทส 4 ได้ตลอดเวลาๆ กรรมทุกกรรมก็เป็นกัมมัญญาทั้งนั้นเลย เป็นตัวเจริญไปตลอด เป็นตัวที่พัฒนาสะอาดสะอ้านไปตลอดจะไม่มีบกพร่อง สัพพปาปัสสะ อกรณัง กระทำอะไรขึ้นมา กรรมกิริยาที่กระทำจะไม่มีตัวบาป จะไม่มีตัวไม่ดี ตัวกลิ ตัวโทษตัวภัย ไม่มีตลอด
เพราะฉะนั้นทุกกรรมจึงมีแต่ดีๆๆ ก็เอาภาษาคำว่ากุศลก็ว่าดี มาเรียกร่วมกัน ทำทุกกรรมมีแต่กุศลมีแต่ดี ส่วนบาปนั้นเลิกแล้ว อย่างไรๆก็ไม่มีบาปเกิด สัพพปาปัสสะ อกรณัง มีแต่กุศลเกิด จิตอย่างนี้สั่งสมไปก็มีแต่สะอาดเลื่อมพราย มีราศีรังสี มีกัมมันตภาพรังสี ส่วนสุดท้ายก็เป็นกัมมะ อันตะ รังสี กัมมันตภาพรังสี อันตะ แปลว่าที่สุด เป็นกรรมที่ทำที่สุด เป็นราศี เป็นรังสี ที่ไปสุดๆ สะอาดสะอ้านผ่องใสมีฤทธิ์แรงออกไปเรื่อย กัมมันตภาพรังสี มีแต่อำนาจ มีแต่พลังเด็ดขาด พลังมีฤทธิ์แรง ไม่มีอะไรสามารถทำร้ายได้
ตัวเองก็ประภัสสร ผ่องใส อะไรก็เข้าไม่ได้ มีแต่สะอาด แวววาว แพรวพราย มีแต่ผ่องใสยิ่งกว่าเพชรใส ไม่ใช่ใสแบบธัมมชโยนะ ใสแบบธัมมชโยเป็นใสแบบมาร เป็นเทวปุตมาร มารหลอกเขาว่าเป็นเทพ หลอกเขาว่าเป็นบุตรพระเจ้า
สรุปแล้ว จิตสะอาดสั่งสมลงเป็น อเนญชา ยิ่งขึ้นๆ ไม่หวั่นไหวๆ ตั้งมั่นแข็งแรง
เพราะฉะนั้นที่อาตมาพยายามอธิบายว่า จิตที่จะเป็นอุเบกขานี่ เป็นจิตที่จบจากกระบวนการของ จรณะ 15 วิชชา 8
วิชชา 8 ตั้งแต่วิปัสสนาญาณไปจนกระทั่ง จบอาสวักขยญาณ แยกให้ฟังแล้ว
เตวิชโช เป็นกลุ่มหนึ่งของ วิชชา เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชี ส่วน 5 ในวิชชา5 เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชี วิชชา 3 เป็นวิชชาที่รู้จักกิเลส แล้วก็ล้างกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้นตัวคุณเป็นพ่อค้าเป็นผู้ทำต้องลงบัญชีทั้งหลายแหล่อยู่ คุณต้องจัดการทำของคุณให้มันถูกต้อง ให้มันมีเนื้อแท้ ให้มันมีความจริงครบครัน ผู้ตรวจบัญชีจะได้มาตรวจ ผิดเขาก็จับได้ ถูกเขาก็จะจับได้ตรงนี้แหละ ได้เท่าไรก็จะรวมยอดให้ตรงนี้แหละ
เพราะฉะนั้น วิชชา 5 วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ สามญาณนี้เป็นตัวตั้ง
วิปัสสนาญาณ ตัวปัญญา มโนมยิทธิ เป็นตัวเจโต
ปัญญา มันเป็นตัวแยกแยะรู้แล้วเห็นจริงเลย ปัสสะ ปัตตะ เห็นอย่างลืมตาโพลง รู้จักกิเลสจัดการฆ่ากิเลส
กำลังการฆ่ากิเลสก็คือ มโนมยิทธิ
เป็นฤทธิ์ที่มีพลังแรง พลังจัดการ มโน คือจิต ส่วน มย ที่ทำสำเร็จ เป็นมโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทำลายกิเลส โดยปัญญาเป็นตัวฤทธิแรง
วิปัสสนาญาณเป็นพลังงานฌาน เผาราคะ เผาโทสะ เผาโมหะ ละลายหายสำเร็จ มยะ แปลว่า ความสำเร็จ เป็นความสำเร็จของจิต ทำสำเร็จๆ
พอทำได้สำเร็จๆ เก่งมากขึ้นมากขึ้นก็เรียกว่า อิทธิวิธญาณ ก็คือ มโนมย กับอิทธิ
คำว่า อิทธิคือ หลากหลาย ก็คือมโนมยิทธิเก่งขึ้นมากขึ้นหลายเหลี่ยมมากขึ้นก็เรียกว่า อิทธิวิธญาณ
เมื่อปัญญา วิชชา ทำความจริงได้มากขึ้น 3 เส้านี้ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ ซึ่งเป็นตัวสำเร็จผล
เสร็จแล้วก็เป็นตัวประณีตวิจิตรของจิตพิสดารขึ้นเรียกว่า ทิพย์
โสตะ แปลว่ารู้ มีความรอบรู้ มีความรู้ยิ่ง โสตะ สุตะ นี่ ยิ่ง สัตตะ แปลว่าร้อย คำว่าร้อยนี้คือเต็ม จากหยาบมาละเอียดคือทิพย์ เก่งขึ้น ละเอียดขึ้น ลึกซึ้งขึ้น จากหยาบมาละเอียดเรียกว่าโสตทิพย์ เป็นตัวที่ 4 ของวิชชา
วิชชา ตัวที่ 5 เจโตปริยญาณ 16 ก็กระจายผังของกิเลสทั้งหมด คำว่าปริยะ คือ รอบ เจโตคือจิตทั้งหมด
ตั้งแต่กิเลสราคะ โทสะ โมหะ สามเส้าใหญ่ กิเลสหลักๆเลย รู้หน้าตาตัวตนมันดีหมดเลย แล้วทำให้มันลดฤทธิ์ ลดอำนาจ ลดแรง ให้กิเลสมันตาย ราคะก็ลดลงๆ โทสะก็ลดลงๆ โมหะก็ลดลงๆได้ วีตะแปลว่าไม่มี ลดลงมาหาความไม่มีได้เรื่อยๆ
-
สราคจิต (จิตมีราคะ)
-
วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ)
-
สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
รู้กิเลส ทำให้กิเลสลดลงจนหมด(วีตะ)
-
วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)
-
สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
-
วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
วีตะ คือ ให้โมหะหมดลงก่อน ที่หลงใหล หลงเลอะ หลงคลั่งไคล้ ไม่เอา หลงใหลก็ไม่เอา หลงหลับไหลก็ไม่เอามาเอาตื่นเต็มรู้ชัดๆว่ากิเลสตอนนี้กำลังเกิดอยู่นี่ ทำให้มันลดลงได้ๆ คุณก็รู้ความลดละจางคลายบางเบาจนกระทั่งมันหมดมันไม่มี ขยายความเป็นตัวที่ 7 ที่ 8 ของเจโตปริยญาณ
-
สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) .
-
วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
เป็นสองตระกูลของธรรมชาติของจิต พระพุทธเจ้าก็ต้องจำนน สายเทวะกับอเทวะ สายปัญญากับศรัทธา หากสายอเทวะ สายปัญญาแต่อ้อนแต่ออกก็ง่าย แต่สายศรัทธาสายเจโต ก็อีกอย่างนึง
สายโมคคัลลานะกับสายพระสารีบุตร มันคนละสายจริงๆ สายธัมมานุสารีกับสายสัทธานุสารี มันคนละสายจริง
เพราะฉะนั้นถ้าไม่ยอมรับว่าอันนี้ต่างกัน มันเหมือนเชิงดูถูกว่าศรัทธามันจะช้า เจโตมันจะไม่เก่งทางเฉลียวฉลาดทางรู้เร็ว ทางฉลาดไว มันไม่ใช่ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นสายสามเส้า สัทธาวิมุติ คุณก็วิมุติ ของคุณได้แต่เป็นวิมุตแบบโลกีย์ มันไม่ได้มีจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ได้มีญาณปัญญาที่รู้รอบ ตั้งแต่วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธญาณ แล้วรู้ละเอียดลงไปเรื่อยๆเป็นโสตทิพย์ แล้วก็มารู้เจโตปริยญาณที่กำลังอธิบายอยู่
สังขิตตัง คือพวกเจโต ศรัทธา
สายวิกขิตตังคือ สายปัญญา
แต่ที่บอกว่าสายเจโต วิกขิตตัง มันก็ฟุ้งซ่านเก่ง จับกันมาเป็น สังขิตตัง ก็จับตัวเป็นก้อนเก่ง ก็ต้องอธิบายอย่างนี้เพราะเป็นสายที่ยาก สายเจโตศรัทธาก็ยากกว่าสายปัญญา
สังเกตนะว่า เจโต มีภาษา 2 ตัว เจโตกับศรัทธา ถ้าเจโตกับศรัทธา 2 ตัวมันน่าจะเก่งกว่าปัญญา เปล่า มันเก่งในการติดยึด มันเก่งในการเกาะตัว มันเก่งในการเหนียวแน่น แทงด้วยหอก 500 เล่ม 300 เล่ม 600 เล่มแล้วมันก็ยังไม่กระดิก
อาตมาก็ใช้ไปแล้ว 700 เล่ม เดี๋ยวจะเป็น 800-900 จะแทงทะลุหรือไม่ก็ไม่รู้นะนี่หมดไป 600 เล่มแล้วนะตอนนี้ ตอนนี้อยู่ในปาง 7 กำลังทำเต็มที่แล้ว หรือจะใช้อาวุธในอนาคตเป็น 800 ก็เอา พูดโดยพยัญชนะไปเรื่อย
สรุปแล้วเมื่อคุณรู้จัก 7 กับ 8 นี้แล้ว ชัดแล้วนะ สองตระกูล ตระกูลเจโต ปัญญากับตะกูลศรัทธา พอคุณสามารถทำได้ดีขึ้นก็เรียกว่า มหัคตะ
-
มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น)
-
อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)
ทั้งมหะและอัคคะ แปลว่ายิ่งใหญ่ทำให้เจริญขึ้น ถ้าทำไม่ได้ก็ไป อมหัคคต มันยังไม่ออกไปจากอันเก่าเลย ดีไม่ดีมันจะเสือกต่ออีกก็ยิ่งแย่ ส่งให้เจริญได้มากขึ้นเป็น มหัคตะ ถ้าคุณสามารถทำได้นั่นคุณเจริญ พอเจริญแล้วก็มีแต่ดีๆๆ เรียก สอุตรังจิตตัง
-
สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ)
-
อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า)
คุณก็จะมีแต่ดี แต่มีปฏิภาณหรือว่ายังไม่จบ ดีกว่านี้ก็ยังมีอีก ยังๆไม่จบคุณจะรู้ อันนี้แหละอาตมาเตือนชาวอโศก เพราะมันรู้มาก สรุปเข้าเป็นเรื่องๆไปบ้าง อาตมาก็ไม่รู้จะอธิบายเป็นภาษาอย่างไรบอกอีกที พวกเราสรุปได้จะเป็นพระอรหันต์ อาตมาเห็นอยู่หลายคนว่าจะเป็นอรหันต์แล้วนี่ มันก็เฟอะๆฟะๆมันรู้มากไป ส่วนคนที่เป็นเจโตมาได้ความรู้ปัญญาก็หลงไปกับความรู้ ส่วนปัญญาตัวเองมีเก่าก็หลงไปกับปัญญา ตัวเจโตศรัทธามาได้ปัญญาก็หลงปัญญานั่นแหละเลยมีแต่หลงกับหลง เลิกเสียทีสิเจ้าหลง
เพราะฉะนั้นจาก สอุตตรัง แล้วมาอนุตตรัง
-
สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)
-
อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์)
-
วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . .
-
อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง)
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
พ่อครูว่า…สอุตรังจิตตัง อาตมาเคยชมที่ท่านแปลในพระไตรปิฎกว่า จิตที่ดีกว่านี้ยังมีอีก เป็นสำนวนไทยที่ชัดเจน มีแต่จิตดีที่เกิดไม่มีจิตชั่วแล้ว ถึงขั้น สัพพปาปัสสะ อกรณัง แล้ว ไม่มีจิตไม่ดีเกิดแล้ว มีแต่จิตดีเกิด แต่มันยังไม่จบ มันยังไม่ถึงที่สุด มันยังไม่ถึงอนุตตระ มันยังไม่ถึงเหนือสุดยอดเลย ไม่มีอะไรจะยอดอีกแล้วในระหว่างที่จะทำต่อไป มันยังไม่ถึง อนุตตรังจิตตัง จบ
อนุตตรังจิตตัง มีสองอันเป็นคู่
เป็นคู่สมาธิ อีกคู่หนึ่งเป็นคู่ปัญญา
คู่สมาธิ นั้นเรียกว่า สมาหิตะ กับอสมาหิโต ตรวจสอบอีก อันนี้ตรวจสอบด้วยเจ้าพนักงาน สามเส้า บุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ นี่แหละคือผู้ตรวจบัญชี ตรวจยังไงตรวจบัญชี
ในขณะที่คุณฟังอาตมาคุณเป็นนักบัญชีของตัวเอง ปัจจุบันคุณก็ตรวจ ก็ระลึกถึงของเก่า คุณระลึกอย่างอัตโนมัติ เออ.. อันนี้เคยผ่านอันนี้ได้แล้ว แต่มันเร็ว เรียกว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ สติ รู้จักของเก่า สอง ในการตรวจก็ยิ่งเร็วอีก ตรวจอะไร ตรวจความเกิดกับตรวจความดับ กิเลสเราเคยเกิด กิเลสเราเคยดับ กิเลสเราดับได้มากได้น้อยก็ตรวจ
ตัวที่ 2 คือจุตูปปาตญาณ ญาณ ที่มีทั้งตัวดับ เคลื่อนไป ยังเคลื่อนอยู่หรือดับได้แล้ว จุติ มีทั้งเคลื่อนและหยุด จุ จากสามตัวแสงสว่าง ติ หมายถึงตัวตั้ง ต ตัวตั้ง จ ตัวสว่าง
จุตู ก็สว่างสามตัว ที่จริง จตุ นี้ คือ 4 นี้จุ ตินี้อิ ตัว อุ พลังงานมากกว่า พลังงานสว่างมากกว่าพลังงานตัวตั้ง ทำงานตัวสว่างมีตั้ง 3 4 5 จุตู อะอาอิอีอุอู มีตั้งพลังงาน 5 ครบกว่า
จ คือสว่างตัว Dynamic ตัวเครื่อนตัววิ่ง ต คือตั้ง ตัว Static
จุตูปปาตญ คำว่า ปาตะ แปลว่าหล่นลง ก็เอามาดู ดูทั้งจุ ทั้ง ติ ที่มันเกิดขึ้นมา
ตรวจสอบตัวนี้ จุตูปปาตะ จากของเก่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ ก็มาตรวจตัวความเกิดความดับของกิเลส ก็คือจุตูปปาตญาณ แล้วเราสามารถทำให้กิเลสมันดับ ดับได้สนิทไหม คุณก็ตรวจได้ กลับไปถึงอาสวะตัวที่ 3
ดับไปถึงตัวที่ 3 อาสวักขยญาณ ไม่เกิดอีกๆๆ จนกระทั่งคุณมั่นใจของคุณเอง ว่า กระทบสัมผัสร้อยครั้งพันครั้ง หมื่นครั้งแสนครั้ง อะไรก็แล้วแต่มันก็ไม่เกิดอีก หรือมันยังหลอกหลอนเราอยู่ ก็ตรวจความมั่นคงได้ สมาหิตะ กับ ความหลุดพ้นหรือการมีปัญญารู้แล้วว่า เห็นแล้ว แจ้งแล้ว วิมุติแล้ว พ้นแล้ว ไม่เหลือแล้ว สะอาดหมดจดแล้ว
สมาธิหรือสมาหิตะ เป็นเจโต วิมุติเป็นปัญญา หรือยังไม่ครบ วิมุตติญาณทัสสนะยังไม่ครบหรือครบวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ก็ตรวจกิเลสหมด ให้รู้จริง รู้ชัด รู้บริบูรณ์ รู้แทงรอบ ปฏิเวธ แทงสัญญาเวทยิต เอาสัญญานี้มาตรวจ เวทยิตตังนิโรธังโหติ เวทยิตตังแปลว่าเคล้าเคลียอารมณ์ทุกสัดส่วน แทงรอบทุกอย่าง ทั้งนอกทั้งใน ทั้งลึกทั้งบาง ละเอียดหมด ชัดเจน ว่า ไม่เหลือ
อเสสะ อเสขะ ไม่เหลือ หมดจบ สิ้นอาสวะ คุณก็รู้ได้ด้วยตนเอง ญาณ ปัญญาของคุณเอง สะอาดบริสุทธิ์ของคุณเอง ถ้าคุณผิดก็ผิดของคุณเอง ก็หลอกตัวเองก็แล้วแต่ ถ้าตรวจลวกๆมันก็ไม่รู้จริง ถ้าตรวจแล้วหมดจดได้จิตสะอาดเป็นจิตบริสุทธิ์ ปริสุทธา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา
กัมมัญญา ทำงานได้ดีเก่งมากยิ่งขึ้นมีปาฏิหาริย์มากขึ้นจิตก็ยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ประภัสสรมากยิ่งขึ้น
ประภัสสร ป กับ ภ ตัว ป เป็นตัวตั้งความสมบูรณ์ของจิต แล้วก็เจริญมากที่ขึ้นเป็น ผ ต้องมีผัสสะ ต้องมี ผัสสะมาหา พ คือพฤติ อาการของจิต
ภ ก็เจริญมากขึ้น เจริญๆยิ่งอยู่ๆ โภ คำว่า ภ
เสร็จแล้วก็สรุปตรงที่ ม คือ จิตวิญญาณ มม หรือ มน จะเรียก มม มมังก็ได้ หากอวิชชา มมัง ก็เป็นตัวหยิ่งผยอง ถ้าเป็นตัวเต็มก็เป็น มม
อย่างคำว่า ธรรมะ ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า ธมม ส่วนบาลีใช้คำว่า ธรรมะ ออกบาลีใช้ธ ธงกับม ม้า 2 ตัว ก็เป็นธรรมะที่ลงตัว เป็นธรรมะที่สูงสมบูรณ์แบบแข็งแรงเจริญงอกงาม ด้วยนัยยะที่อธิบายมา ก็พอสมควรนะไม่ใช่คร่าวๆแต่ละเอียดพอสมควร
ตรวจตราด้วยเตวิชโชเป็นผู้ตรวจบัญชี ตรวจความจริงตรวจความผิดความถูก ความลงตัวความสมบูรณ์แบบของผลที่ได้ ที่ต้องการ คือผลที่คาดว่าจะได้ เช่นใน 5 ปีนี้ผลที่คาดว่าจะได้ของโครงการจะได้ 2000 ล้าน ทำเข้าเป้าไหม
ที่เราก็ตรวจสอบเหมือนกัน นี่เกินเป้านะ นี่เลยเป้าแล้ว เกินเป้า ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นความเลยเถิด เป้าของมันสมบูรณ์สุดก็เรียกว่ากิเลสหมด กิเลสหมดแล้ว กุศลยังอยู่ เพราะฉะนั้นคำว่าบุญเป็นตัวตัดเส้นสุดท้าย ทำให้กิเลสหมดแล้วเลิกจบ มีหน้าที่ทำให้กิเลสหมดเผากิเลส เป็นตัว ปุญญะ เป็นตัวบอกว่า จบแล้วนะ กิเลสหมดแล้วนะ เสร็จกิจแล้วนะ
เพราะฉะนั้น ขอลา บุญก็ขอลา เลิกจบ ก็ไม่มีบุญกัน
นัยยะ สำคัญที่อาตมาอธิบาย เป็นเรื่องที่ ถ้าปุญญะ ไม่รู้จบ วนอยู่นั่นแหละ มันก็วน แล้วเมื่อไหร่มันจะรู้จักจบ รู้จักหยุด รู้จัก 0 รู้จัก 1 และเป็น 1 ไม่มี 2 และ 1 ไม่มี 2 เป็น 0 เลย แม้จะมี 2 ก็มีรู้กับ 0 เท่านั้น 1 เป็นตัวอาศัย 0 ถ้าจะ 2 คุณก็นับเป็น 1 กับ 0 ไม่มีขึ้นมาเป็น 2 แล้ว ใช้สังขยาเลขมาอธิบาย สามเส้า
มีแต่ 0 กับ 1 ไม่มี 2 แล้ว ทีนี้ 3 คืออะไร คือตัวประธานคือตัว วสวัตตีโก คือผู้ยัง สองอันนี้ให้อยู่ในอำนาจ เอ็งจะเกิดได้เองก็เกิดแค่ 1 ไม่เช่นนั้นก็ต้อง 0 เป็น 2 ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น นี่คือความสำเร็จสูงสุดของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ แล้วทำได้จริงพิสูจน์ได้ ใครเชื่อบ้างว่าพิสูจน์ได้ …. ไปพิสูจน์ได้แล้วบ้าง …ใครพิสูจน์ได้แล้วมากบ้างหลายบ้างแล้ว ….ทำไมไม่กล้ายกนะ แสดงว่า ยังไม่กล้า ดี ไม่หลงตัวเอง คือ ไม่อวดดี แม้จะมีก็ไม่ค่อยอวด ไม่อยากอวดดี ก็ไม่เป็นไรไม่เสียหาย เผลอๆ ก็สูงเสียแล้ว เผลอๆก็เสร็จเสียแล้ว
ปฏิบัติธรรมไม่เกิดพลังงานบุญก็จบไม่ลง
สู่แดนธรรม…พ่อท่านพูดตะกี้นี้ว่า บุญ ถ้าไม่รู้จักจบก็ไม่เกิด กตญาณ
พ่อครูว่า…บุญไม่เกิดคือคุณจบไม่ลง เสร็จไม่ลง ไม่รู้เสร็จไม่รู้จบ อาตมาถึงเตือนพวกเราว่าพวกเรานี้ตรวจให้ละเอียด อะไรคืออะไร สภาวะธรรมคืออะไร กิเลสคืออะไร กิเลสหยาบคือเรื่องนี้ อย่าเอาไปหลายเรื่อง อย่าไปนึกว่าตัวเองจะต่ำมันต่ำมันหยาบ แล้วมันหมดหรือยังสัมผัสสัมพันธ์มันอยู่ไหม ตรวจสอบดูให้จริงๆเลย ถึงแม้ว่าคุณไม่ได้สัมผัสจริง ดูโทรทัศน์ดูที่กดดูในมือถือก็เห็นแล้วดูได้ เราสัมผัสอันนี้ยังมีจิตอยู่นะ ก็ดูของตัวเอง เปิดดูว่ามันมีอะไรให้ดูไงไอ้นั่นน่ะ เราก็ไม่มีนะ ดู ปล่อยจิตจริงๆ อย่าไปกดข่มมันไว้ ถ้าปล่อยจิตมันไม่กดข่ม มันดุ๊กดิ๊กอยู่ คุณก็น่าจะรู้ หรือมันขึ้นวูบๆ อาการนี้ปล่อยมันไม่ได้เลยนะ คุณก็จะรู้ ที่พูดนี้พอเข้าใจสภาวะไหม เดี๋ยวนี้ไม่ต้องลองของจริงหรอก ลองเปิดไอ้นี่ดูก็ได้ ไม่ต้องไปเสียเวลา แต่มันก็กินเงินหน่อย เดี๋ยวนี้มันก็ถูกลงมากแล้ว คุ้มกับการเรียนเรื่องกิเลส ไม่ต้องไปเสพอย่างอื่น โง่ตายเลย ขาดทุนตายเลย เปิดเสพ ถ้าเปิดเช็คตรวจกิเลสตัวเองไม่เป็นไร
สู่แดนธรรม…ผมขอถามแต่พวกเราทุกคนว่าพ่อท่านจะมีวิธีไหนทำให้พวกเราแจ่มแจ้งเกิดสัจฉิกตา เกิดกตญาณ หลายคน ตรวจให้เป็นอรหันต์ได้อย่างไร
พ่อครูว่า…ไล่ ไปตามขั้นไง ตั้งแต่ศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์ แล้วสัตว์ก็ไม่ต้องไปเยอะอะไร สัตว์เดรัจฉาน สัตว์ต่างๆนั้นเลิกกันเลย พูดมาแล้วหลายที สัตว์เดรัจฉานต่างๆนั้นปล่อยเขาอยู่ตามยถากรรม มาเรื่องคนนี่แหละ สัตว์คนนี่แหละ กระทบสัมผัสกัน ดูกิเลสที่คนนี่แหละ เราจะมีวิบากต่อกันแล้วถือสากันและกันอยู่อย่างไร อาตมาว่า พวกคุณไปสัมผัสกับคนข้างนอกเขานี่มันง่ายแล้ว กิเลสคนข้างนอกเขาแสดงกับเรา ดีไม่ดีอาตมาก็ปรามไว้แล้ว อย่าไปดูถูกเขาไปว่าเขา เขาจัดจ้านอยู่ก็เรื่องของเขาน่าสงสาร เพราะฉะนั้นคนข้างนอกคุณสัมผัสแล้วมาถือสากันเองในนี้นี่แหละ พวกเราไม่หยาบคายอะไรมากมายแล้ว แต่ก็ยังแรงยังถือสา คุณจะถือสากันไปอีกนานเท่าไหร่
ขณะนี้เป็นพี่เป็นน้องกันแล้ว นับเป็นญาติธรรมกันแล้ว คุณก็ยังจะไม่เอาญาติอีกหรือ ก็ต้องมีญาติบ้างสิ เป็นญาติธรรม คำว่าญาติธรรมนี้ลึกซึ้งนะ พวกเรามีแต่ญาติธรรม นับจำนวนพันเป็นอเนก กี่พันก็ได้ ล้านพันก็ได้
ตอนนี้ ขอให้ชาวโลกุตระเรามีญาติกันสักประมาณ จะได้สักแสนคนจะไปได้ไกล เป็นเชื้อโลกุตระจริงสักแสนคนจะได้ไกล อาตมาว่าน่าจะเป็นไปได้ คนที่มีเชื้อของโลกุตระแล้วนะ น่าจะไม่ถึงแสน ถ้าถึงแสนคนในคนประเทศไทย 70 ล้านคน แสนคนนี้เวิร์คเลยนะ
ทุกวันนี้ได้ตัวตนบุคคลรูปร่าง ในบ้านราชฯ ขอสัก 777 คนยังไม่ได้เลย เพราะว่าวิธีการของอาตมาที่จะพยายามให้พวกเรามา มันไม่เป็นวิธีประโลมหลอกล่อ มีแต่บอกว่าคนยังไม่แน่อย่าเพิ่งเข้ามา
สู่แดนธรรม…อยากให้อธิบาย สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ เข้าไปหา 3 ญาณนี้
พ่อครูว่า…สัจจะแปลว่าความจริง กิจจะแปลว่ากระทำงาน กตแปลว่าทำเสร็จงานแล้ว
เพราะฉะนั้นคุณก็ตรวจสอบความจริงตามศีลเกี่ยวกับสัตว์ สัตว์คนนี่แหละ รักกัน ชอบกัน ชังกัน ดูดกัน ดูดหรือมันเกาะติดกันเกินไป ไม่พรากจากกันไม่เจือไปหาญาติ ซึ่งอาตมาอธิบายความรัก 10 มิติ ในโลกนี้มีเรา 2 คน คนอื่นไม่มีเลย แม้แต่ลูกคุณยังไม่เอา นี่มันแคบที่สุดแล้ว เอ้า เผื่อมาเอาที่ลูกบ้างสิ
ความรัก 10 มิติ
-
กามนิยม (เมถุนนิยม)
-
พันธุนิยม (ปิตปุตตาฯ)
-
ญาตินิยม (โคตรนิยม) จากลูกก็มาเอาญาติบ้างสิ
-
สังคมนิยม (ชุมชนนิยม) จากญาติก็มาเอาเพื่อนบ้าง ก็เอากรอบขอบเขตของมวลสังคม เพื่อนในสังคมรอบข้างมากขึ้น
-
ชาตินิยม (รัฐนิยม) ชาติประเทศ
-
สากลนิยม (จักรวาลฯ) ทุกเชื้อชาติ
-
เทวนิยม (ปรมาตมันฯ) ทุกอย่างในโลก หรือจักรวาลนิยม
-
อาริยนิยม (อเทวนิยม) ใช้คำว่าอาริยะไม่ใช้คำว่าอริยะหรืออารยะ
อารยะนี้โลกเขาไปใช้อารยชน อารยธรรม ใช้กันอย่างโลกๆเจโต ส่วนสายปัญญาสายพุทธศาสนาใช้ อริยะ แต่มันหมายถึงพวกมิจฉาโลกียะหมด
อารยะทางโลก ส่วนอริยะคือทางจิต เช่นพวกอรหันต์เก๊ หลับตาปฏิบัติ ส่วนอาริยะเป็นคำที่อาตมาใช้ ก็มีคำว่าศรีอาริยเมตไตรย ก็มีใช้อาริยะ
-
นิพพานนิยม (อรหันตฯ) อรหะ แปลว่าไม่ลึกลับ รหะ แปลว่าลึกลับ อรหะ คือ ลึกลับในการล้างกิเลสแล้ว
-
พุทธภูมินิยม (หรือ.. โพธิสัตวภูมินิยม)