640223_พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 45 ออนไลน์
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1aG6xbtEB4A2hi-f5n9DgthfKDJtg7OKnYH_tZgVN1Tc/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1bimL1Ujj5dd8lIFeMf9Fo_J6xY9R2l8B/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/6vWwJDDCPss
บุญนิยม คืออะไร และอปันกธรรม 3
พ่อครูว่า…วันนี้วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 งานพุทธาภิเษกฯ ไม่ได้ตั้งชื่อซ้อนไป ก็เลยต้องเทศน์โดยยกหัวข้อว่าเปิดยุคบุญนิยม
บุญนิยม นิยม แปลว่าเที่ยง คนไทยก็ว่านิยม แต่ว่าชมชอบใจ นิยมชมชอบ นิยมเที่ยง หรือนิยม แปลว่า ลัทธิ ก็คือคนนิยมเหมือนกัน
บุญ หรือ บาลีว่า ปุญญะ หมายถึงการชำระกิเลสจากสันดานได้หมดจด หรือเครื่องชำระกิเลสจากสันดานได้หมดจด สันตานังปุนาติ วิโสเทติ บาลีว่าอย่างนั้น
บุญ เวลาปฏิบัติแล้ว เราปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าก็คือ เราเป็นคนมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ ท่านก็ให้สำรวมอินทรีย์ ท่านก็ให้สำรวมสังวรระมัดระวังตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ นี่คือคนปฏิบัติธรรมข้อที่หนึ่งในศาสนาพุทธ
มี 3 ข้อเป็นหลัก การปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติธรรมถ้าคำนึงถึง 3 ข้อนี้ แล้วก็สังวร สำรวม มีสติ พยายามที่จะระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมในขณะที่มันกำลังสังวร ก็รู้ว่าเรากำลังสัมพันธ์สัมผัสกับอะไร เราสัมผัสสัมพันธ์อยู่กับตามันกระทบรูปอย่างนี้ หูก็กำลังได้ยินเสียงอันนี้ เสียงนี้ว่าอะไรเสียงนี้คือคำพูดเสียงนกเสียงกา เสียงนี้คือเสียงดนตรี เสียงนี้คือเสียงคนด่า เสียงนี้คือเสียงคนชม เสียงนี้คือเสียงที่พูดกำลังสื่อสารสาระต่างๆ หรือกำลังสื่อที่ไร้สาระต่างๆอย่างนี้เป็นต้น เราก็ทั้งเห็นภาพ ทั้งได้ยินเสียง ทั้งได้กลิ่น กลิ่นอย่างนี้ก็คืออย่างนี้ จะเรียกว่าหอมว่าเหม็นก็เรียกไป มันจะมีประโยชน์ให้เราดม หรือไม่มีประโยชน์อย่าให้ดมเลย หนีเสียหรือทำลายมันเสียมันไม่ดี เปลี่ยนแปลงมันซะ กลิ่นก็ตาม รสก็ตาม สัมผัสภายนอกโผฏฐัพพะสัมผัสเสียดสีกับตัวเราทั้งหมด ทางตาก็สัมผัส ทางหูก็สัมผัส แต่มันมีระยะ ตาก็มีระยะทาง หูก็มีระยะทางเข้ามา กลิ่นก็มีระยะทางเข้ามา ลิ้นต้องแตะซึ่งจะได้รับรส โผฏฐัพพะก็ต้องแตะ
โผฏฐัพพะนี่แหละ คนลืมเลือน นักปฏิบัติธรรมต่างๆไม่เห็นความสำคัญ แต่ที่จริงแล้วสำคัญมาก โผฏฐัพพะ จะว่าจริงๆแล้ว โผฏฐัพพะ ก็มี 5 ทวาร ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่า โผฏฐัพพะ สัมผัสภายนอก ภายนอกแตะต้องกระทบสัมผัส เมื่อสัมผัสเราก็ต้องพิจารณาอะไรเป็นอะไรจะเกิดอารมณ์เกิดเวทนา เวทนานี่แหละเป็นตัวหลักตัวสำคัญที่สุดที่จะต้องอ่านอาการของเวทนาเสมอๆ ผู้ปฏิบัติธรรม แม้ไม่ปฏิบัติธรรมก็ต้องควรจะรู้ ควรจะต้องระมัดระวัง ที่จริงแล้วธรรมดาๆคนก็รู้โดยอัตโนมัติ
เมื่อสัมผัสแล้ว ตาเห็นคน คนนี้สวย ก็ระมัดระวังเหมือนกันระมัดระวังสวย อันนี้สัมผัสอันนี้เราก็ระมัดระวังเป็นอัตโนมัติอยู่แล้ว ระมัดระวังอะไร ระมัดระวังกิริยาอาการที่เราจะไปเกี่ยวข้อง ที่เราจะไปทำลายหรือทำตามชอบหรือชัง ไม่ใช่ว่าสัมผัสแล้วไม่ชอบก็ซัดพั้วเลย ไม่ใช่ สัมผัสแล้วอะไรชอบก็จะคว้ามับเลย มันก็ไม่ได้อะไร อย่างนี้เป็นต้น เป็นธรรมดาธรรมชาติทุกคน เป็นทุกคน รู้เป็นอัตโนมัติมีทุกคน ถ้าคนที่ไม่ค่อยระมัดระวังมันก็ทำตามใจมาก ชอบก็เอาเลย ดีไม่ดีอยากได้ก็ขโมยเลย เขาไม่ให้ก็แย่งเลยหรือฆ่าเลยแล้วก็เอาของมันมา ซึ่งมันก็มีน้อยสำหรับพวกที่รุนแรงจัดจ้าน โลภจัด โกรธจัด อะไรถึงขนาดนั้นก็มีน้อย โดยสามัญสำนึกจะต้องระมัดระวัง สัตว์มันยังต้องระมัดระวังเลย ตามควรของมันเป็นคนก็ยิ่งต้องระมัดระวังยิ่งกว่าสัตว์ เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
ยิ่งมาศึกษาธรรมะก็จะต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น แล้วเราก็รู้ อย่างไรเป็นภัยเป็นโทษ อย่างไรเป็นคุณเป็นประโยชน์ แล้วก็ควบคุมกาย วาจา ใจ แล้วก็ให้เกิดการสัมผัสสัมพันธ์อันดี ที่จะเป็นคุณเป็นประโยชน์ ไอ้ที่ไม่ดีเป็นโทษเป็นภัยเราก็จะเลิกให้ได้ นี่ก็เป็นคุณธรรมสามัญ ผู้ใดทำได้อย่างดีระมัดระวังอย่างดีเสมอเสมอ มันก็จะเกิดการพัฒนา ผู้ที่ระมัดระวังดีก็คือผู้ที่ทำชาคริยา ชาคริยะ หรือชาคระ เป็นผู้ที่จะตื่นรู้ เป็นผู้ที่จะต้องรู้ มีสติ รู้ กายกรรม อาการทางกายกระทำภายนอก อาการการพูดวจีกรรม
ผู้ศึกษาธรรมะต้องดูอาการของใจ อันนี้เป็นจุดสำคัญเพราะใจเป็นประธาน จิตเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง จะต้องรู้อาการของใจ การทำความตื่นจึงจะต้องมีความรู้การตื่นทั้ง กาย วาจา ใจ จึงจะเรียกว่าชาคริยาเต็ม ไม่ใช่หมายความว่าชาคริยะ คือ ตื่นจากการนอน เมื่อตื่นจากนอนแล้วก็คือตื่นแล้ว ถือว่าชาคริยาสำเร็จแล้ว ไม่ใช่ อันนั้นมันเป็นแค่การตื่นนอน หยาบๆ ที่จริงความตื่นก็อธิบายไปผ่านเมื่อกี้นี้แล้ว
ในขณะที่ปฏิบัติ 3 หลัก หลักอันที่ 2 ท่านเรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา
-
สำรวมอินทรีย์ 6
-
โภชเนมัตตัญญุตา สัมผัสกับเครื่องกินเครื่องใช้ มนุษย์ก็มี 2 อย่างนี่แหละที่สัมผัส อย่างหนึ่งกิน อีกอย่างหนึ่งสัมผัสแล้วประกอบการ แม้จะประกอบการแค่เล็กๆน้อยๆ สัมผัสในการทักทาย สัมผัสกันในการเล่น สัมผัสอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อย่างนั้นอย่างนี้อะไรก็ต้องรู้ว่า การสัมผัสเหล่านั้น มันควรหรือไม่ควร ในขณะที่มีกรรมกิริยา ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี มันไม่ควรก็ลดเลิก มันควรก็เป็นประโยชน์ เป็นคุณค่าก็ทำไป
ลึกเข้าไปกว่านั้น ควรหรือไม่ควรนั้น ไอ้ที่ไม่ควร ท่านถือว่าตัวอกุศลจิตประกอบร่วม ในขณะสัมผัสแล้ว แล้วเราก็ประพฤติไปโดยไม่ควร ไม่ควรเพราะกิเลสมาประกอบร่วม เป็นกิเลสโกรธ กิเลสราคะ ไปให้มันมากมันแรงขึ้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ราคะ โทสะ โมหะ โมหะคือตัวสับสนไม่รู้เรื่องทำไปมั่วๆเลอะเทอะ แล้วแต่อารมณ์จะพาไป กิเลสจะพาไปอย่างไรไม่รู้เรื่องเลย คือโมหะ
ผู้ที่พอมีสติสัมปชัญญะเลือกบ้างรู้บ้างว่า อันนี้ควรหรือไม่ควร อันนี้คือคนไม่โมหะ
ทีนี้เมื่อไม่โมหะแล้ว มันเป็นราคะมากไปก็ไม่ดีนะ โดยไม่ได้ราคะแรง แต่มันไม่ควรต่อหน้าต่อตาสาธารณชน มันก็ไม่ควรจะแสดงออกเลย อันนี้ก็เป็นสามัญสำนึกก็มีอยู่เป็นธรรมดาธรรมชาติอัตโนมัติ ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่าราคะหรือโลภ ถ้ามันมีมากก็ตามเราก็ต้องยับยั้งไว้บ้าง ไม่เรียนก็ทำบ้างอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นก็จะหยิบฉวยไปหมด สัมผัสอะไรต้องการอะไรก็ทำไปหมด ตายเลย ยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน ก็แย่พอดี คนที่ไม่สำรวมเลยก็เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน ยังมีพวกฮิปปี้อิสรเสรี ฉันต้องการฉันก็ทำหมด อยากสมสู่อยู่ที่ไหนก็สมสู่กัน อยู่ตามถนนหนทางก็สมสู่กันไปหมด ฮิบปี้ อิสระเสรีเต็มที่เคยมีอยู่หน่อยนึง ช่วงหนึ่ง เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ข่าวคราว นอกนั้นก็เป็นส่วนบุคคลที่มันไม่รู้สาระพวกนี้
ที่นี้เขาระมัดระวังกันธรรมดาสามัญเรียกว่าโลกีย อย่าให้มันมาก อย่าให้เป็นโทษภัยจนกระทั่ง กฎเกณฑ์วัฒนธรรมของแต่ละที่แสดงออกได้เท่านั้นเท่านี้ เขาก็มีกฎเกณฑ์ไม่เท่ากันไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ละสังคมกลุ่มหมู่ ก็ระมัดระวัง ก็ดีผู้ใดทำได้สมควรเหมาะสมกับหมู่ ที่เขามีวัฒนธรรมมีการกำหนดกันเท่านั้นเท่านี้ การแสดงออกทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ผู้ที่รักษาสภาพสมสัดส่วนได้สภาพที่ดีเสมอ ผู้นั้นก็อยู่ในฐานะของคนมีวัฒนธรรมดีของสังคม แล้วก็ยังชีพไปจนตาย เป็นคนดี ถ้ามีบกพร่องมันไม่ดี ก็ได้รับโทษตามแล้วแต่ ทั้งโทษทางสังคม โทษทางกระบิลเมือง ที่เขาตั้งไว้
ที่จริงมันก็คือแต่ละคนจะต้องรู้ว่าเราต้องปรับปรุงกำกิริยาและความรู้สึกที่มันถูกกิเลสบังคับต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว แล้วเราก็ทำตามใจอยากทุกอย่างมันไม่ควร สูงไปกว่านั้น พระพุทธเจ้าละเอียดลออถึงขั้นว่า ถ้าเกิดมาแต่ละชาติแต่ละชาติ เรามีความรู้แค่ระมัดระวังอากงอาการที่บวกกับกิเลสเป็นเจ้าเรือน แล้วก็พาเราทำ เราทำแล้วก็มีกฎเกณฑ์ของสังคม เอาแต่แค่อย่าอุจาด อย่าละเมิดกับนักโทษที่สังคมยอมรับกันวัฒนธรรมแต่ละสังคมเขาเป็นไปได้ดี แล้วก็ได้เป็นคนดีเท่านั้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าไม่พอ
ท่านว่า เอ๊.. คนเรามันต้องมาเกิดแล้วเกิดอีกแล้วก็ตายแล้วตายอีก เกิดมาแล้วก็จะระมัดระวังแค่นี้เป็นคนดีแค่นี้หรือ แต่เราก็เป็นคนดีของสังคมมนุษยชาติ ชาติแล้วชาติเล่า ดีสุดก็ได้เป็นศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งในศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ส่วนรายละเอียดของข้อปฏิบัติต่างๆก็แล้วแต่ศาสดา จะเห็นควรกำหนด เฉพาะแต่ละศาสนาก็ว่ากันไป
พระพุทธเจ้ามาเห็นว่ามากกว่านั้นก็คือ เหตุปัจจัยของจิต แล้วก็ทำให้จิตมันเกิดกรรมกิริยาอย่างนี้เกิดแล้วก็ตายเกิดแล้วก็ตาย เกิดชาติไหนอยู่ในสังคมไหนเขาก็มีข้อกำหนดกันตามชาตินั้นสังคมนั้นก็เป็นคนดีของสังคมนั้นชาตินั้นไป ดีมากก็ได้เป็นพระศาสดาอย่างที่กล่าวไปแล้ว แล้วก็ตายไปแล้วก็ลืมเลือน หรือเผลอไผลเป็นศาสดาแล้วได้รับการยอมรับก็ลดหย่อน ก็มีอกุศลของตัวเองลดลงจนกระทั่งเสื่อม มันก็หมุนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จบ แล้วไม่เที่ยง แม้แต่ศาสดาแล้วก็เสื่อมลงมาได้ แต่ศาสดาไม่มีความรู้ว่า จิตวิญญาณจริงๆนั้นมันมีที่หยุดที่พอที่จบ หรือจริงๆแล้วจิตวิญญาณนี้ เลิกเป็นอัตภาพเลยสลายหายไปเลยได้ไหม..(พวกเราตอบ ได้) ศาสนาพุทธได้ แต่ศาสนาอื่นศาสนาเทวนิยมไม่ได้
เขาไปมีความรู้แต่แค่ว่า มันไม่รู้นั่นแหละก็ดูแค่ว่า ดีที่สุดก็เป็นพระศาสดาก็เป็นพระบุตรของผู้ที่เป็นเจ้าแห่งความดีที่สุดคือพระเจ้า ศาสดาเป็นพระบุตรของผู้ที่ดีที่สุดของจิตวิญญาณที่ดีที่สุด แล้วจิตวิญญาณนั้นเขาก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนเป็นอย่างไร แต่เขาก็บอกว่าพระบุตรเอาคำสอนของพระศาสดามาสอน ทำไมพระบุตรเอาคำสอนมาแล้วไม่รู้จักศาสดา เพราะศาสนาเขามันไม่เปิดเผย ศาสนาเขารู้ไม่ทะลุรู้ไม่รอบรู้ไม่สิ้น จริงๆคำสอนของศาสดาก็คือคำสอนของตัวพระบุตรเอง สั่งสมมาแต่ละชาติๆ จนกว่าสูงสุดได้เป็นศาสดา ก็ความรู้หรือกุศลกรรมหรือความรู้ความเฉลียวฉลาดความดีงามของพระศาสดาเองนั่นแหละไม่ใช่ของพระเจ้าที่ไหนหรอก แต่พระบุตรหรือพระศาสดาไม่มีความรู้ต้นทาง ต้นทางก็คือของตัวของตนของอัตตาของตน เมื่อไม่รู้ก็เท่ากับไม่เชื่อว่าความรู้นี้เป็นของเราหรือ เกิดมาเราก็ไม่ได้มาทำอะไรเท่าไหร่นะแต่เรารู้อันนี้ แล้วก็เอาอันนี้มาสอนคนจนคนเขายอมรับว่าเราเป็นศาสดา เราจะเก่งขนาดนั้นเลยหรือเกิดมาชาตินี้ ก็อายุต่อไปกันทุกคน 60 70 80 ปี พระเยซูก็อายุไม่ยาวนานถูกเขาฆ่าตายก่อนอายุแค่ 30 กว่าปีก็ตายแล้ว บางองค์ก็อยู่ได้ถึง 80 90 ปี 100 ปีอะไรอย่างนี้ ก็ไม่แน่ใจว่า เอ๊.. เราจะสามารถมีความรู้ เกิดมาก็แค่นี้เป็นศาสดาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ ก็ทำไม เกิดมาไม่เท่าไหร่แล้ว เป็นหนุ่มแล้วก็มีความรู้เป็นศาสดา เขายกให้เป็นหนึ่งเป็นเจ้าของความรู้เลย เราเอามาแต่ไหน ไม่เชื่อใจตนเองเพราะไม่รู้จักกรรมวิบากที่ตัวเองได้สั่งสมมา แต่ละชาติๆ ศาสนาเทวนิยมไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องกรรมวิบากไม่รู้เรื่องเกิดตาย ตายแล้วตายอีกสั่งสมความรู้ความสามารถ สั่งสมความดีงาม เขาไม่มีความรู้ ไม่รู้จักกันเกิดการตาย ไม่รู้จักกรรมวิบากของตน มีศาสนาพระพุทธเจ้าได้รู้กรรมเป็นของตน แล้วตนก็รับมรดกกรรมของตนเอง แล้วเราก็พัฒนาต่อมาแต่ละชาติๆ แล้วกรรมก็พาเป็นพาไปเรื่อยๆ กัมมโยนิ สั่งสมเป็นกัมพันธุ แล้วก็เกิดมาทำกรรมกิริยานี่แหละ เป็น Action Reaction เรียกว่า กัมมปฏิสรโณ แล้วก็อาศัยกรรม ตัวพยัญชนะก็คือประกอบการรบ รณะ แปลว่าการรบ แต่เป็นศาสดาก็เลยรบเก่ง ได้เป็นหัวหน้าใหญ่เลย แม้แต่ชาติอื่นๆก็ยอมให้เป็นจอมทัพ รับศาสนาของท่านก็ยกให้ท่านเป็นจอมทัพเป็นศาสดาของแต่ละศาสนา ไม่ใช่แต่ประเทศเดียว คนหลายประเทศก็ยอมรับคำสอนความรู้ของท่าน อย่างนี้เป็นต้น
สำหรับพระพุทธเจ้านั้นก็มีนัยอย่างศาสดาต่างๆที่ท่านเป็น มีเหมือนกันหมด มีครบครันดีกว่าด้วย เพราะว่าท่านรู้ละเอียดกว่า รู้การสั่งสมกรรมกริยาต่างๆ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมปฏิสรโณ ท่านทำได้ละเอียดรู้ละเอียดกว่าศาสดาต่างๆ นี่เราพูดอะไรของเรานะไม่ได้ไปพูดข่มศาสนาอื่น ผู้อื่นต้องระมัดระวังอย่าไปพูดอย่างนี้ต่อหน้าต่อตา เราพูดกันกับผู้ที่เรียนรู้เป็นวิชาการ
พระพุทธเจ้ารู้อะไรกระทั่งจนถึงว่า จิตวิญญาณเป็นพลังงานอย่างนี้เอง จนสามารถรู้ จนสามารถควบคุมพลังงานจิตวิญญาณได้อย่างเด็ดขาด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเป็นประธาน ให้ออกอาการทางกาย ทางวาจา มาได้อย่างดีที่สุด ควรที่สุด ไม่ดีเลิกเด็ด จึงเรียกว่า สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง ไม่ดีของสังคมแต่ละหมู่กลุ่มด้วย เขาถือว่าดี เขาถือว่าไม่ดี ก็ทำตามเขาได้หมด ตามที่เขายึดถือกัน เป็นผู้รู้รอบ สามารถรู้ จนกระทั่งสามารถรู้ว่า ธาตุรู้จิตวิญญาณที่เป็นเจ้าเรือนของชีวิต ของแต่ละคนๆ มันเป็นธาตุที่เอามาใช้ในแต่ละชาติๆ ใช้แต่ละชาติ เมื่อควบคุมฝึกฝนให้จิตวิญญาณมันดี มันรู้คุณรู้โทษ รู้อะไรดีแล้ว จนกระทั่งสามารถที่จะสะสมพลังงานที่ควบคุมพลังงานที่จัดการจิตวิญญาณของตนเป็นประธาน พลังงานที่ควบคุมกายวาจาได้ดีที่สุด มันก็ดีสุดแล้วคน
แต่พระพุทธเจ้าท่านศึกษาพลังงานที่ว่ามันดีแล้วมันจะอยู่อย่างไร มันจะตายแล้วก็เกิด สูงสุดแล้วก็ไปเป็นพระเจ้า แต่พระเจ้าไม่ได้ไปเวียนตายเวียนเกิดอีก แต่ของพระพุทธเจ้ารู้ว่ามันเวียนตายเวียนเกิดไม่อย่างนั้นมันก็จะเป็นอย่างนี้ ดีที่สุดแล้วก็เวียนตายเวียนเกิดอยู่อย่างนี้คิดวิญญาณแล้วก็ศึกษาเข้าไปอีก แท้ๆ มันแค่ธาตุรู้ที่ปรุงแต่งกันอยู่เรียกว่าสังขาร แล้วมีเหตุอะไรให้มันปรุงแต่งกันอยู่ เลิกเหตุไม่ให้มันปรุงแต่งกันได้ไหม ไม่ให้มันปรุงแต่งเป็นจิตวิญญาณ อยู่ไปจนกระทั่งนิรันดรได้ไหม พวกเรารู้ไหมว่าได้หรือเปล่า…(พวกเราตอบว่า ได้) ศาสนาพุทธได้ จนกระทั่งเลิกเป็นจิตวิญญาณเลย แยกธาตุรู้นี้ให้เป็นธาตุดินน้ำไฟลมไปเลย เมื่อทำการตาย วาระสุดท้ายเรียกว่าปรินิพพานเป็นปริโยสานก็เลิกจบไปเลย ไม่เหลืออัตภาพ ไม่เหลือวิญญาณ ไม่เหลือจิตนิยามที่ชื่อว่าเรา ของเรา อีก จะอยู่เป็นพระเจ้าวนเวียนกลับมาเกิดอีกสอนอีกนานเท่าไหร่ นิรันดรก็ได้ แต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็บอกว่า เบื่อ เพราะพระโพธิสัตว์นี่ก็คือพระเจ้าที่เวียนวนมาเกิดแต่ละชาติๆนั้่นแหละ เป็นศาสดารองจากพระเจ้า เป็นศาสดาที่รู้ด้วย รู้ว่าไม่ใช่ศาสดาเทวนิยม แต่เป็นศาสดาอเทวนิยม จะเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ รู้จักความเป็น 2 เทวฺ จะทำให้เป็นหนึ่ง เป็นอรหันต์เริ่มทำหนึ่งได้แล้ว เป็นโพธิสัตว์ระดับ 5 6 7 8 จนเป็นพระพุทธเจ้า ก็สามารถที่จะรู้ว่าเป็นศาสดา แต่เป็นศาสดาตามบารมี
ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาเล็ก ไม่ใช่ศาสนาใหญ่เหมือนเทวนิยม ศาสนาเทวนิยมนี้ใหญ่กว่าศาสนาพุทธทุกองค์ พระพุทธเจ้าทุกองค์ไม่ได้ใหญ่กว่าศาสนาเทวนิยม ที่ใหญ่หรือเล็ก เอาอะไรเป็นเครื่องหมาย คือ เอาคนยอมรับนับถือมีบริวารมาก ศาสนาพุทธมีบริวารน้อยกว่าศาสนาเทวนิยม ที่นับถือกันว่าเป็นศาสนาแล้วนะ ไม่ใช่แค่ลัทธิ ศาสนาพุทธน้อยกว่าเล็กกว่ามีบริวารน้อยกว่าทุกศาสนา เทวนิยม มีมากกว่าทั้งนั้น
อย่างอาตมานี่ อยู่ในกรอบของศาสนาพุทธ เกิดมาในชาตินี้แม้พุทธศาสนาเอง เคยมีมากกว่านี้ พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สมณโคดม จะมีบริวารมาก มากที่สุดก็ไม่รู้หรอกว่าองค์ไหน จนกระทั่งน้อยลงๆ มาถึงพระสมณโคดมตามยุคกาลใกล้กลียุค ไม่ได้โทษพระพุทธเจ้าแต่เป็นไปตามยุคสมัย คนรับไม่ได้ ในยุคใกล้กลียุค โดยเฉพาะศาสนาพุทธเขารับไม่ได้ เขาไม่มีทางเป็นอเวไนยสัตว์ เขาเรียนรู้ได้แต่เรียนรู้อย่างเผินๆ พวกนักการศาสนาศึกษาศาสนาต่างๆ แต่เขาเป็นเทวนิยม เขาก็มาศึกษาพุทธแต่ศึกษาเพื่อรู้ เขาไม่ได้ศึกษาอย่างศรัทธาเลื่อมใส มีเหมือนกัน ผู้ที่เป็นศาสนานอกจากพุทธมาศึกษาศาสนาพุทธแล้วก็รู้สึกว่ายอดกว่า ก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ มี ก็มีเหมือนกัน แต่ไม่มากนักหรอก
ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจด้วยฌานทั้ง 4
สรุปลงตรงนี้ว่า ศาสนาพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนกระทั่งรู้ว่า วิญญาณคืออะไร วิญญาณคือสังขารที่ปรุงแต่งกันขึ้นมาด้วยเหตุปัจจัย ตั้งแต่เป็นธาตุดินน้ำไฟลม ซึ่งมันสังเคราะห์สังขารกันขึ้นมา เป็นอุตุก็สังเคราะห์สังขารกันอยู่ เป็นความร้อนแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้า จนกระทั่งจับตัวเกิดมาเป็นชีวะ ก็จึงเป็นพืชขึ้นมา จะเรียกว่าอัตตาก็ยังไม่เต็มอัตตา แต่มันก็เป็นตัวตนของมัน มีการยึดถือธาตุ ธาตุต่างๆที่ ฉันก็ต้องเอาธาตุอย่างที่ฉันรู้กำหนดเอา มะเขือเทศก็ต้องเอาธาตุอย่างนี้มาสังเคราะห์ให้ตน เอาพลังงานเอาสารมาสังเคราะห์ให้เป็นเนื้อตัวตน เป็นเนื้อมะเขือเทศ เป็นเนื้อกะหล่ำปลี ธาตุอันไหนมันไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นธาตุที่ต้องการของมัน มันมีของมัน มันจะต้องมีธาตุอะไรบ้าง มันก็รู้ ดินน้ำไฟลม จะละลาย อยู่กับดิน อยู่กับน้ำ อยู่กับลม พืชบางอย่างห้อยต่องแต่ง อยู่บนอากาศ ดูดเอาน้ำเอาลมจากไอน้ำจากลมจากธาตุไฟจากอากาศ แต่ส่วนมากพืชมันก็อยู่กับดิน มันอยู่กับอากาศน้อย อยู่กับน้ำกับดินก็เยอะ มันก็เกิดเป็นชีวะของมัน
จนกระทั่งมันพัฒนาธรรมชาติของมันจนถึงรอบครบถ้วนจึงไปเป็นชีวะของจิตนิยาม มันก็เป็นได้ ธรรมชาติของมันมันเป็น มันสะสม เป็นพัฒนาการของมันอย่างนี้ เมื่อมาเป็นจิตวิญญาณพระพุทธเจ้าท่านก็รับผิดชอบ เพราะท่านรู้จบว่าจริงๆแล้วแยกธาตุจิตวิญญาณ ให้สลายไปได้เลยหรือในขณะที่ยังเป็นๆอยู่ ก็สามารถทำจิต ทำใจในใจของตนมีอำนาจ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ เพราะฉะนั้นสามารถทำจิตให้เป็นพืชได้ เป็นอุตุได้ แม้ขณะตอนเป็นๆ มีชีวิตอยู่
จะยังจิตตรงไหน ยังตรงที่ว่า 1 ต้องรู้เลยอาการของจิตต่างๆ ตัวกำหนดรู้ตัวสำคัญก็คือสัญญา เป็นความสามารถของจิตท่านตั้งชื่อไว้ว่าคือสัญญา มันสำคัญมั่นหมาย กำหนดรู้อาการของจิต อาการอย่างนี้มันปรุงแต่งกันอยู่เรียกว่าสังขาร อาการอย่างนี้เรียกว่าเวทนา อาการอย่างนี้เรียกว่าเจตนา เพราะฉะนั้นในนามธรรม
-
เวทนา 2. สัญญา 3. เจตนา 4.ผัสสะ 5.มนสิการ
นี่แหละคือนามธรรม เมื่อมีผัสสะครบ รูปนามผัสสะ มีสิ่งที่ถูกรู้กับธาตุรู้ของเรา สัมผัสและปรุงแต่งกัน ก็สามารถทำจิตทำใจในใจ จัดการใจได้เรียกว่ามนสิการ จัดการกับจิตใจตัวเองได้ มันปรุงแต่ง ปุ๊บ เป็นจิตนิยามเต็มแล้ว เราก็พยายามทำจิตทำใจของเรา ให้มันมีอารมณ์มีอาการเวทนา ให้เป็นลักษณะแค่พีช หรือให้เป็นลักษณะอุตุ ทำได้ ….ใครทำได้แล้วบ้าง ….ตั้งใจดีๆ ทำใจในใจทำได้แล้วบ้าง ไม่ใช่ทำได้หมด ถามว่าทำได้แล้วบ้าง บางคนก็ สิบตรีทำได้ 2 บ้าง บางคน สิบโททำได้ 3 บ้าง บางคนขั้นจ่ากำลังจะขึ้นดาวแล้ว
ก็ทำได้จริงๆ จนกระทั่งทำได้บริบูรณ์ ทำได้คล่องแคล่ว ทำได้ชำนาญ ทำได้เรียบร้อย ก็เรียกว่าจบอรหันต์ ทำได้เรียบร้อยก็หมายความว่า จิตเมื่อมีผัสสะ กระทบสัมผัสกับอะไรก็สามารถมนสิการ ทำจิตของตัวเองให้เป็นอุตุ เป็นพีชะได้ ตามต้องการเสมอ
โดยเฉพาะทำให้เป็น พีชะ ตัวกลาง พีชะ มันมีแต่สัญญากับสังขาร มันไม่มีเวทนามันไม่ใช่วิญญาณ เป็นพลังงานที่ไม่มีวิญญาณครอง ยังไม่บริบูรณ์ เป็นวิญญาณ เรียกว่า อนุปาทินกสังขาร สังขารที่ไม่มีวิญญาณครองและไม่มีกรรมครอง สังขารที่ปรุงแต่งอย่างไรก็ไม่เกิดกรรมวิบาก สั่งสมอกุศลกุศล สั่งสมวิบาก โดยเฉพาะมันทำบุญไม่เป็นหรอก แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ทำบุญไม่เป็น
แม้แต่ศาสนาเทวนิยมก็ทำบุญไม่เป็น แต่เขาไม่รู้ไม่เข้าใจ เขาก็ขี้ตู่ เอาคำว่าบุญไปเรียก แปลบุญว่าทำความดี ซึ่งผิด บุญ ไม่ใช่ความดี ถ้าจะว่าแล้วเป็นความร้ายด้วย เป็นนักฆ่า บุญนี้เป็นนักฆ่าตัวยง แต่เป็นนักฆ่ากิเลสเท่านั้น ไม่ใช่ฆ่าดาษดื่น สะเปะสะปะไปทั่ว ไม่ใช่
บุญ รู้จักหน้าตาของกิเลสดี บุญ นี่มีปัญญา มีปัญญาฆ่ากิเลสได้ ตั้งแต่เริ่มชื่อว่าทำพลังงานเป็น เริ่มจัดการทำพลังงานจิตให้เป็น เป็นอะไร เป็นพลังงานที่มีฤทธิ์เรียกว่าไฟ แปลเป็นไทยว่า ไฟ ภาษาบาลีว่า ฌาน
ผู้ที่จัดการทำการปรุงแต่งจิตของตน มนสิการ ให้จิตเป็นพลังงานไฟ พลังงานฌานได้ รู้จักบุญ เริ่มเป็น ฌาน 1 มีพลังงานความรู้จับกิเลสได้ กิเลสถูกเจ้าพลังงานฌาน มาจับตัว กิเลสนี้มันแพ้ฤทธิ์ปัญญา กิเลสจะหมดได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง สัมมัปปัญญา
เริ่มต้นใช้ฌาน 1 ก็ เห้ย! ไอ้เจ้ากิเลส แหยมหน้าแล้วนะ ฌาน 1
ฌาน 2 ก็บอกว่า ไป! อย่ามาตอแย อย่ามาอยู่กับฉัน แต่กิเลสมันก็เหนียวนะ ไม่ไปง่ายๆหรอก มันบอกเฮ้ย! ฉันอยู่ที่นี่มานานแล้วนะ อย่ามาไล่ฉันง่ายๆได้ไง ก็เลยต้องรบกัน รบกันด้วยปัญญา ฌานหรือว่าการฆ่าหรือการทำลายกิเลสของพระพุทธเจ้าไม่รุนแรง ใช้ความรู้รบกันด้วยความรู้ รบกันด้วยความชนะแพ้ เอ็งแพ้เพราะเอ็งเป็นตัวร้าย เอ็งมาทำกรรมกิริยาของข้าฯให้เป็นกรรมกิริยาทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี โดยเฉพาะควบคุมใจเลย เอ็งมันตัว แนวที่ 5 เป็นโจรใหญ่ เป็นโจรใหญ่
โจรปล้นศาสนาที่ฆ่าด้วยหอกหลายร้อยเล่มก็ยังไม่ตาย
ทีนี้ โจรใหญ่นี่แหละ ที่พระราชาให้ฆ่า พระราชาคือเจ้าของวิญญาณ โจรมาแฝง พระราชาก็บอกว่าให้เอาไปฆ่าเสีย เช้า กลางวัน เย็น ด้วยหอกร้อยเล่ม ทีว่าไปฆ่า คือรู้ว่าตัวนี้เป็นโจร โจรอะไรคือโจรปล้นศาสนา โจรปล้นธรรมะของพระศาสดา เพราะฉะนั้นโจรของศาสนาพุทธคือกิเลส โจรปล้นคือกิเลส กิเลสนี่แหละ ตัวโจรของพระศาสดา
ก็ให้เอาเจ้าพนักงานเอาไปฆ่าด้วยหอกร้อยเล่ม อย่างอาตมาเป็นเจ้าพนักงานของศาสนาพุทธ เอาไปฆ่าด้วยหอกร้อยเล่ม เช้ากลางวันเย็น มันก็ไม่ยอมตายเลย นอกจากไม่ยอมตายแล้วมันไม่รับรู้ไม่รับฟังอะไรเลย ปิดหูปิดตาหมด พูดอย่างไรมันก็ลืมตาหลับ ทำหูหนวก ในขณะมีหูรับเสียงได้ ไม่รับกลิ่นในขณะที่จมูกได้รับกลิ่นสัมผัส ทั้งนั้นทั้งโผฏฐัพพะทั้งลิ้น ไม่รับรู้อะไร มันโง่จนกระทั่งด่าเอ็งอย่างไรดี โขกเคาะอย่างไรมันก็ไม่รู้เลยว่าอวิชชาหนักมาก โง่ดักดานจริงๆ ไม่รู้จักความเป็นตัวเองตัวตน ถูกด่าขนาดนี้แล้ว โดยเฉพาะมาแฝงอยู่ในศาสนาพุทธ อาตมาก็เอาความจริงของพระพุทธเจ้าหรือคำสอนของพระพุทธเจ้านี่แหละมาเปิดเผย มันก็ไม่รู้จักความจริง มันก็ว่า ความจริงของข้าก็ต้องหลับตาแล้วไม่รับรู้อะไร แล้วข้าก็ต้องยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้ อย่างที่ข้ายึดมั่นถือมั่นแล้ว ข้าไม่เปลี่ยนแปลงโว้ย ข้าไม่รับฟังเองหรอก เอ็งเป็นใครอย่ามาพูดเลย อาตมาก็บอกว่าอาตมาเป็นพระโพธิสัตว์นะ เป็นลูกพระพุทธเจ้านะ เอาคำสอนมาเปิดเผยนี่ คุณนั้นยึดถือผิด เอ็งอย่ามาอวดดี เอาน่าคุณนั่นแหละยึดถือผิด เอ็งอย่ามาทำ Tiger G เขาไม่เชื่อน้ำหน้าอาตมา หาว่าเป็นพวก Tiger G
เขาเชื่ออย่างที่เขายึด แล้วเขาก็เสวยผลอย่างที่เขายึดถือนั้น ไพศาลด้วยลาภยศสรรเสริญ ว่าเป็นปราชญ์ ไพศาลด้วยสุข ก็เสพสุขโลกีย์ตลอดกาลนาน เป็นดอกเป็นใบพืชผลของต้นไม้ ไม่รู้แม้กระทั่งกระพี้ สะเก็ด ไม่รู้แม้แต่สะเก็ดคือศีล
สะเก็ดคือศีล เปลือกคือสมาธิ กระพี้คือปัญญา แก่นคือวิมุติ พระพุทธเจ้าก็สอนไว้ เขาก็อยากได้แก่นอยากได้วิมุติ ก็พยายามไปแสวงหาแก่นแต่เขาก็ได้แค่ดอกใบผลอย่างนั้น เต็มเถรสมาคม เกิดจนตาย ก็เห็นอยู่ชัดเจน เถรสมาคม เจริญด้วยดอกใบผล แล้วเขาก็มาสอนคนว่า นี่แก่นเป็นอย่างนี้ กระพี้เป็นอย่างนี้ เปลือกเป็นอย่างนี้ สะเก็ดเป็นอย่างนี้ เขาสอนนะ เอาพยัญชนะ เหมือนอัมพัฏฐมานพ สอน ท่องจำได้มาก เก่งพระเวท เก่งความรู้พระพุทธเจ้าท่องจำ เอาไปสอบให้เขารับรองได้เป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นผู้รู้ต่างๆและได้ลาภยศสรรเสริญสุขอยู่ นั่นเป็นฝ่ายเถรวาทสมาคม
อีกฝ่ายหนึ่งไม่เอาบอกว่านั้นยังติดลาภยศสรรเสริญ ก็ออกไปไม่เอาหนีเข้าป่า หลบ ไม่เอาอย่างนั้นก็ไปหลงเดียรถีย์หลอก ว่า ไปหลับตาปฏิบัติได้หมดเลย กลับไปหลงหลับตาปฏิบัติ พระพุทธเจ้าท่านตรัสในพระสูตร ว่าไปหลับตาตามเดียรถีย์ที่หลอก อีกพวกหนึ่งไปหลงลาภยศสรรเสริญสุข อีกหมู่หนึ่งพอรู้ ไม่เอา หนี หลบเข้าป่า แต่ไปรู้ว่าวิธีคือจะต้องหลับตา หนีลาภยศสรรเสริญที่เป็นผัสสะ ตาไม่ให้กระทบรูป หูไม่ให้กระทบเสียง ทำจิตให้นิ่งๆดับๆไม่รับรู้ นี่แหละว่านิโรธๆ แล้วจะไปมีปัญญารู้จักนิโรธในขณะหลับตานั่นแหละ ไอ้พวกนี้ก็เป็นอาจารย์ใหญ่ ปราราสิยพราหมณ์ มีลูกศิษย์คือ อุตรมานพ ก็เรียนกัน ปาราสิยพราหมณ์อยู่เต็มป่า พวกสายอาจารย์มั่น สายอาจารย์ฤาษีลิงดำ สายธัมมชโยแต่ไม่ออกป่าพวกนี้เจ้านี้ก็หยุดแล้วประยุกต์เก่งชิบหายเลย ประยุกต์แล้วได้ลาภยศสรรเสริญสุข ได้ทั้งการสะกดจิต ตัวเองก็เลยเป็นเจ้าสะกดจิต
วิธีนั่งหลับตาคือการสะกดจิต สะกดจิตจริงๆไม่ได้พูดใส่ความ สะกดจิตให้อยู่นิ่งจนกระทั่งสามารถสะกดจิตตัวเองได้ ควบคุมจิตตัวเอง แต่ไม่ได้ลดการหลงลาภยศสรรเสริญโลกียสุข เช่นธัมมชโย สะกดจิตตนเองได้ จนเป็นผู้มีอำนาจ มีบริวารอะไรเยอะ จนสามารถสะกดจิตบริวารได้ จึงมาเป็นบริวารเยอะ แล้วก็สั่งเลยนะ มีเงินมีทองก็เอามาปิดบัญชี ครับอาจารย์นี่แหละ ครูไม่ใหญ่ จะร่ำจะรวยต่อไป ก็หลงกันจนกระทั่งทะเลาะกับครอบครัว ปิดบัญชี ตายๆ เก่งนะ หลอกคนจนกระทั่งปิดบัญชีเลยเอามาทำบุญทำทานกับอาจารย์หมด แล้วก็ไม่รับผิดชอบนะ คนที่เยอะแยะไปลำบากลำบน จนกระทั่งที่บ้านที่ครอบครัวก็เดือดร้อน เขาก็ต้องทำงานต่อกระเสือกกระสนไป ไม่รู้ตัวก็หลงทำอยู่อย่างนั้นต่อไป ส่วนฝ่ายนั่งหลับตาเข้าป่าเขาถ้ำ ไม่รู้เรื่อง ไปหลับตาปิดหูปิดตา เขาก็หาบริวาร
อาตมาไม่หาบริวาร แต่พวกคุณแสวงหาแล้วมาเอา ก็ไม่ด้มาเป็นบริวาร แต่อยู่ไปพากเพียรให้บรรลุ ที่จริงพวกเราเป็นอรหันต์กันไม่น้อยแล้วแต่ไม่รู้จักสรุปรายละเอียด หากรู้จักสรุป จะเป็นอรหันต์กันไม่น้อย รายละเอียดคืออะไร
-
สำรวมอินทรีย์ 2. โภชเนมัตตัญญุตา 3. ชาคริยานุโยคะ เท่านี้แหละ
แล้วเวลาปฏิบัติก็จะปฏิบัติ อ๋อ.. เราได้สูตรนี้แล้ว แล้วก็เอาไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วก็มีมนสิการ มีผัสสะเป็นปัจจัยให้ศึกษา ศึกษาอย่างมีนามรูป มีวิญญาณเกิด วิญญาณเกิดแล้วก็เรียนรู้วิญญาณแยกวิญญาณเป็นเจตนาสัญญาสังขาร
เจตนาเกิดจาก ผัสสะ แล้วก็ทำการมนสิการ ก็คือ เวทนา สัญญา เจตนา
เวทนาเกิด ในอาหาร 4 ก็มี 3 สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
เจตนาเกิด ก็มี 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ก็เรียนรู้เท่านี้แหละ มีผัสสะ เกิดเวทนา ในเวทนานี่แหละมันมีตัณหา ตัวตัณหานี่แหละเป็นตัวเจตนา ท่านก็ไปเรียงสอน ตั้งแต่เจตนาตัวแรก มีกามเป็นเจตนาหลัก แต่พวกหลับตาปฏิบัตินั้นจบเลย ปิดประตูไม่รู้จักเจตนา แต่มีเจตนาดับตามเดียรถีย์ ปิดประตูศาสนาพุทธเรียบร้อย
ไม่มี อปันกปฏิปทา 3 มีสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 แต่มีสำรวมอินทรีย์เดียว คือสำรวมจิตอย่างเดียว ไม่ตื่น มีแต่หลับกับไหล แล้วก็หลง จมในความหลง ก็ไกลจากวิเวกตลอดกาลนาน ไม่มีเกิดความสงบจากกิเลสได้เลย
สงบของพระพุทธเจ้าคืออะไร วิเวกคืออะไร
วิเวกนี่คือความสงบไปตามลำดับ คนจะสงบ สงบของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่หยุดนิ่ง สงบของพระพุทธเจ้านี้ยิ่งแคล่วคล่องว่องไว กายกรรมก็ว่องไว วจีกรรมก็ว่องไว เหมือนโพธิรักษ์ Active ปราดเปรียว ยิ่งนิ่งกิเลสยิ่งตาย คือความสงบ กิเลสคือตัวรวน ตัววุ่นวาย เลอะเทอะ จับกิเลสฆ่ากิเลสให้ตาย จิตยิ่งคล่องแคล่ว ก็จะควบคุมร่างกายได้คล่องแคล่วเรียกว่า กายปาคุญญตา เพราะฉะนั้นภายนอกฆ่ากิเลสกามก่อน ตัณหาตัวแรก ที่เป็นลำดับ
เป็นลำดับนี้ อาตมาพยายามยกตัวอย่าง ภูเขา คุณก็จะต้องจัดการกับเนื้อภูเขาภายนอกก่อน จึงจะเข้าไปจัดการภายในเรื่อยๆได้ จัดการสิ่งที่เป็นพิษภัยของภูเขา ตั้งแต่ภายนอก แล้วออกไปคุณก็เข้าไปข้างในได้เรื่อยๆ ก็ไล่เข้าไป ก็จะหยาบไปละเอียดตั้งแต่กาม รูป อรูป
โอฬาริกอัตตาตั้งแต่หยาบ อัตตาหยาบ คุณไม่ได้เอาออกคุณต้องเอาออก หมดอัตตาหยาบแล้วจะมีส่วนเหลือเป็นมโนมยอัตตาเป็นรูป ก็เอาตั้งแต่มโนมยอัตตาตั้งแต่ที่กระทบภายนอกก็หยาบ หมดมโนมยอัตตาภายนอก ก็เหลือมโนมยอัตตาภายใน ก็ล้างมโนมยอัตตาภายในก็หมด หรือละเอียดเล็กเรียกว่า อรูป คุณก็ทำส่วนเหลืออรูป นอกนั้นมันทำได้คล่องแล้วนี่จะถึงใจกลางภูเขาแล้วนะ เหลือ อรูป ก็ล้างอรูป มันต้องทำตามลำดับอย่างนี้
แต่นี่ นั่งหลับตาก็นั่งนึกเอาเลยว่าตัวเองจะเข้าไปล้างอรูปเลย เป็นการขี้โกง หยาบ กลางไม่เอา จะเอาตัวข้างในเลย แล้วมันจะถูกเรื่องถูกตัวที่ไหน เพราะฉะนั้นคุณก็เลยหลับตาเข้าไปนึกว่าทะลุภูเขา เปล่า แต่คุณไปสร้างภูเขาลวง สร้างภูเขาลวง แล้วก็หลับตาปุ๊บเข้าไปเองนึกว่านิรมาณกาย เป็นกายเนรมิตทั้งนั้น ไม่ได้ปฏิบัติธรรมศาสนาพุทธเลย ต่างคนต่างสร้างนิรมานกายเป็นแต่ของตัวเองไปเลย จะเป็นอย่างไรก็กายต่างกันสัญญาต่างกันอยู่ในโลกนี้ ซึ่งเป็นความสูญเปล่าไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรเลย ไม่ได้เข้ามาที่สัจจะ
ภูเขาหรือ อัตตา คุณไม่ได้อยู่เลยคุณไปอีกกายใหม่ นิรมาณกายใหม่ ลมๆแล้งๆ ปั้นของมาของใครของมัน เสร็จแล้วพวกนี้ก็มีลัทธิร่วมกันเรียกว่าสัมโภคกาย แล้วต่างคนต่างบอดกันหมดเลยเรียกว่าอาทิสมานกาย ต่างคนต่างไม่รู้เรื่องกันและกันของใครของมันบ้ากันไปเอง บ้าอยู่กับสิ่งที่ไม่มีอะไรจริงเลยงมงายอยู่อย่างนั้น พวกนั่งหลับตาน่าจะสะดุ้ง
ศาสนาพระพุทธเจ้าท่านเองท่านไม่กล้าจะพูดแรงเหมือนอาตมา ในยุคของท่านเพราะว่ายังไม่มีศาสนาพุทธไง หลับตากันทั้งนั้นเต็มป่าเลย ถ้าท่านไปพูดแล้วจะเหลือใครมาศึกษาล่ะ ไปด่ามันอย่างอาตมาไม่มีใครมาเอา ใช่ไหม ท่านก็เลยต้องประนีประนอมไปค่อยๆพูด ก็เป็นบารมีของท่าน ท่านไปหาชฎิล 3 พี่น้อง บอกว่าเลิกหลับตาเถอะ มาปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ท่านมีบารมี คนก็เชื่อก็ฟัง ได้มาตามลำดับ สำหรับผู้มีบารมีก็ไม่ต้องมาก เป็นพระอรหันต์มาช่วยกันเลย ฟังเทศน์ 1-2 กัณฑ์ ก็ได้เป็นอรหันต์ตอนแรกได้ถึง 60 รูป อาตมาได้สักครึ่งรูป เทศน์มาหลายแล้ว แต่ก็ได้มาเรื่อยๆ
พวกเราเป็นอรหันต์โดยไม่รู้ตัวก็มีเยอะ อาตมาก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรค่อยๆรู้ตัวให้สรุปได้ ได้ กิเลสเรามีหยาบกลางละเอียดอย่างไร มันอาจจะสับสนเรียงลำดับไม่ถูก หากไล่เรียงดีๆ ตรวจสอบเราก็ไม่ได้ติดยึดอะไรมากมาย ลาภยศสรรเสริญสุขก็ดี เราเข้าใจแล้วสุขมันก็ไม่ใช่ของจริง ก็พูดอธิบาย มันก็เป็นเรื่องของการยึดถือว่าอาการอารมณ์อย่างนี้มันเป็นเรื่องสุขอาการอารมณ์อย่างนี้เป็นเรื่องทุกข์ มันเป็นของปลอม ตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด มันไม่มีหรอก แล้วก็หลงลมๆแล้งๆว่ามันสุขมันทุกข์
ผู้ใดสามารถรู้จักสุขทุกข์ได้ ถ้าใช้ปฏิภาณให้ดี ก็ทำจิตให้ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ได้ทันทีง่ายๆ สัมผัสอะไรก็ไม่เห็นมีอะไรมาก จิตก็ว่างๆไม่สุขไม่ทุกข์อะไร สัมผัสแล้วเฉยๆเห็นรู้ความจริง อันนี้ก็งามนะมันก็ดูอุดมสมบูรณ์ ป่าที่เขาว่ามันงามก็เปรียบเทียบกันได้ แต่เราก็ไม่ได้หลงไหลยินดีได้ปลื้มกับเขาอยากได้อยากมีเหมือนเขา จนขี้โลภอยากได้ของเขามันก็ไม่ ใครจะมากินใช้ร่วมกันก็ไม่ได้หวงแหนอะไร ที่พูดนี่ไม่ได้ยากอะไรนะทำแค่นี้เป็นพระอรหันต์แล้ว
คุณเองแต่ก่อนจะมาปฏิบัติธรรมแต่ก่อนคุณก็ติดในเพชรนินจินดาสีสันก็หลงภายนอก ใช่ไหม เข้าใจแล้วก็เลิกมาได้ คุณดูหัวใจของคุณเลิกสนิทหรือเปล่า สนิท ก็ไม่มีอะไรสุดท้ายก็มาอยู่กับของกินของใช้แค่นี้ คุณก็ว่าอันนี้ดี แล้วก็หอบหวงเอาแค่นี้ ดีว่าเรามีสาธารณโภคี ไม่อย่างนั้นหอบไปบ้านใครบ้านมันแล้วนะ อาตมาเอาสาธารณโภคีมาให้พวกเราไม่หอบหวงแหน ดีเสียอีก เดี๋ยวเขาก็ทำมาให้กิน มาตามลูกนั้นลูกนี้ตามนั้นตามนี้ เราจองไว้ลูกนี้ ใครเอาไปทำแกงทำอะไรมาก็ตามไปกินสิ ใครจะจองเวรจองกรรมไปตามไปกินลูกนั้นลูกนี้ ที่เราจองไว้ก็แล้วแต่ จองเวรไปกินจนได้ ก็พูดชัดออกขนาดนี้แล้ว อาตมาพูดชัดนะ แต่พวกคุณก็ไม่ได้จองเวรจองกรรมกันถึงขนาดนั้นแล้ว ใช่ไหม
ถ้าจองเวรจองกรรมอย่างโลกก็บอกว่า ดีจังเลย คุณก็ซื้อเลย เท่าไหร่.. พันนึง คุณมีเงินก็เอาไปเลยให้ 1,500 เลย ฉันจองเวรจองกรรมแก เสร็จฉัน เข้าครัวเองผัดเองเลยแม่ครัวพ่อครัวไม่ให้ทำ โฮ้โห ฉันจะกินแกอย่างอร่อยต้องฝีมือฉันเองเลย เอาไปทอดชุบไข่เลย กิน
ที่อาตมาว่าอาตมาพยายามอธิบายธรรมะพุทธเจ้ามาหาสิ่งพวกนี้ พวกเราก็ฟังจนกระทั่งทำมา จนอาตมาไม่รู้จะพูดอย่างไรแล้ว มันมากมาย จนกระทั่งน่าจะเป็นอรหันต์กันหมดแล้ว แต่ก็สรุปกันไม่ลงสักที
การทำบุญทำทานอย่างสัมมาทิฏฐิเป็นเช่นไร
ทีนี้มาเริ่มพูดถึงเปิดยุคบุญนิยม
บุญคือ เครื่องชำระ การชำระกิเลส ต่างจากกุศล
กุศลเป็นสมบัติ บุญเป็นวิบัติ ไม่ได้มีตัวตน ไม่ได้มีอาการอะไร อยู่ในปัจจุบัน ปรุงแต่งเป็นพลังงานในปัจจุบันรู้จักกิเลส บุญมีปัญญารู้จักกิเลส พอกำจัดได้บ้าง ก็เรียกว่าได้ส่วนบุญ เขาที่ไม่รู้ว่าได้ส่วนบุญคือเอาไปกองไว้ ไม่ใช่ ได้ส่วนบุญคือบุญไปกำจัดกิเลสออกได้ส่วนหนึ่งเป็นเสขบุคคล เป็นผู้รู้จักกิเลสแล้วฆ่ากิเลสได้ส่วนหนึ่ง มันแหว่งออกไปส่วนหนึ่ง ส่วนที่หายออกไปคือส่วนบุญ ไม่มีได้อะไร มีแต่กิเลสหมดไป กิเลสมันแหว่งหายไป กลายเป็นธุลีละอองไปหมด กลายเป็นอุตุไปแล้ว นั่นคือส่วนบุญ ปุญญภาค หรือปุญญาภาคิยา ส่วนบุญ
เมื่อไม่เข้าใจส่วนบุญก็นึกว่าส่วนบุญที่ได้นี้คือสมบัติคือกุศล เมื่อเข้าใจว่าส่วนบุญคือกุศลก็ซวยแล้ว คนนี้จะไม่มีทางปฏิบัติธรรมบรรลุธรรม ทุกวันนี้ก็สอนการทำอะไร ทำทาน ถือศีล มีทานภาวนา ศีลภาวนา แล้วไปหลงอีกอันว่า ภาวนา เปล่ามันมีทานกับศีล ทำศีลกับทานให้เกิดผล ภาวนาแปลว่าการเกิดผล เกิดผลอะไร ก็คือเกิดผลละกิเลส แต่ทุกวันนี้ทำทานสอนกันให้ละกิเลสกันที่ไหน ทานแล้วก็มากรวดน้ำ ทานแล้วก็ได้บุญ ทานแล้วไม่ได้ได้บุญเลย เพราะไม่รู้ว่าอานิสงส์ของบุญคืออะไร
สัมมาทิฏฐิที่ 1 หรือมิจฉาทิฏฐิข้อที่ 1 ก็มิจฉาทิฏฐิกันเต็มบ้านเต็มเมือง
ทำทานแล้วไม่มีผล นัตถิทินนัง ไม่มีผลคือ มนสิการไม่เป็น ทำใจในใจไม่เป็น ทานแล้วก็หยาบถึงขั้น นี่แหละ เป็นสมบัติ ได้ไปแล้วจะได้ไปเสวยผลกินผลตอนตายไป ในทานสูตร จะได้กินเป็นผลตอนตายเรียกว่าอะไร? ปริภุญชิตสามีติ ทำทานแล้วเพื่อจะเอาไปใช้ กินอาศัยตอนตาย เป็นวิมานเป็นภพชาติ อย่างฤาษีลิงดำสอนตายไปแล้วจะอยู่ในวิมานเพชรวิมานทองอะไร ออกนอกรีตพระพุทธเจ้าไปหมดเลย
อีกเจ้าหนึ่งก็บอกว่า สันนิธิเปกโข คือสั่งสมทาน ทานแล้วทำจิต มนสิการ ทำจิตสั่งสมว่าได้นั่นโน่นนี่ นิธิคือคลัง คือตู้เซฟ ที่สะสม คลังหรือแล้วแต่ ใส่กระป๋อง ใส่กะละมังคุถังสะสม ฝังดินไว้ก็มี สั่งสมทานแล้วก็จะได้เกุศล ไม่ได้บุญเลยเพราะว่าบุญคือการชำระกิเลส เข้าใจมนสิการ การทำใจที่จะรู้จักกิเลส ต้องมีปัญญาเข้าไปรู้จักกิเลส คือฌาน นี่แหละ
ฌานแรก เป็นปัญญาที่รู้จักตัวกิเลส แล้วก็ทำ ปัญญาพยายามวิตกวิจารณ์ พิจารณาความจริง จับกิเลสในตัววิตกได้ มีความโกรธปฏิฆะอยู่ในจิตก็แยกออกได้ แล้วบอกว่าเอ็งเป็นผีเป็นมารเป็นซาตานเป็นตัวปลอมตัวเก๊ ปัญญามันจะมีพลังอำนาจมีความรู้ จนพวกนี้มันอายมันหนี ยิ่งปัญญาแข็งแรงเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้พวกนี้กลัว หนีๆๆ เพราะฉะนั้นทำปัญญาให้แข็งแรง ทำปัญญาให้แจ้งจริง พราะในจิตของเรา ปัญญาเป็นตัวอำนาจใหญ่ จับตัวกิเลสได้ปั๊บ กิเลสมันกลัวมันหายหนี ตายไป ตายไม่กลับมาเลย แต่ไม่เป็นอย่างนั้น
เขาไม่รู้จักการทำใจในใจตั้งแต่การทำทานในข้อที่ 1 ของสัมมาทิฏฐิก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ ก็นัตถิทินนัง ทำทานไม่เป็นผล ไม่มีปฏิกิริยาของบุญ ทำทานแล้วไม่มีผล ไม่มีอานิสงส์ จริงๆ เขาทำทานเป็นผล เป็นผล มีสมบัติเป็นวิมานมันก็ยิ่งมิจฉาทิฏฐิ ผู้ที่รู้แล้วว่าวิมานก็ไม่สร้างเป็นสมบัติก็ไม่เอา ทานคือการให้ ให้ไปแล้วก็ล้างเลย จิต นอกจากไม่สันนิธิเปกโขแล้ว แม้จะสาเปกโข แม้จะหวังว่าจะได้อะไรมาให้แก่ตน ก็ไม่ทำจิตในจิต มนสิการเป็น ไม่ทำจิตอย่างนี้ ฟังดีๆนะ คุณรู้จักอาการของจิต ก็คุณไปทำจัดการอาการจิตของคุณ เช่นคงจะมีคนมาตอบแทนบุญคุณ เราทานไปแล้ว เขาก็ต้องรู้บุญคุณเราบ้างล่ะ สักวันหนึ่ง เขาคงมาตอบแทนบุญคุณเราบ้างเราให้อะไรเขาไปแล้ว บางทีให้เงินไปตั้งหลายสิบล้าน เป็นร้อยล้าน เขาก็ต้องตอบแทนบุญคุณเราบ้าง บางทีให้เพชรให้ทองไป ให้ขนมแก่เด็กไป เด็กมันก็ต้องมาตอบแทนบุญคุณเราบ้าง เห็นไหมว่าจะเอาแม้กระทั่งจากเด็ก หรืออย่างเก่งก็คือให้ความรู้
อาตมาให้ความรู้ พวกคุณไป พวกคุณต้องมาตอบแทนอาตมา อาตมาว่าอาตมาเข้าใจจิตวิญญาณ อาตมามาสอนไม่เคยหวังอะไรจากพวกคุณ แต่พวกคุณจะมีคุณธรรมกตัญญูกตเวที อันนี้เป็นเรื่องของคุณ ไม่ใช่เรื่องของอาตมาอยากได้ แต่ใครจะกตัญญูกตเวทีนั้นเป็นส่วนตัวของคุณ คุณควรจะกตัญญูกตเวทีอย่างไรอย่างเหมาะควร สำหรับเราในฐานะของเราคุณก็ทำตามควร ทำได้เหมาะสมพอเหมาะพอดีก็ดี มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ควร น้อยไปก็ไม่ดี
สู่แดนธรรม…พ่อท่านเคยบอกว่าการตอบแทนบุญคุณอาตมาให้ดีก็คือพวกคุณบรรลุธรรม
พ่อครูว่า…มาช่วยอาตมา ไม่ใช่ช่วยอาตมาหรอก ช่วยศาสนา ช่วยพระพุทธเจ้าเลย ไม่ช่วยอาตมาด้วยซ้ำ คุณก็จะช่วยคนอื่นให้บรรลุตามไปอีก มันก็เป็นการสืบทอดธรรมะ สืบทอดศาสนา ช่วยกันไปคนละไม้คนละมือ ก็อย่างนั้น
เพราะฉะนั้นที่สุดพระพุทธเจ้าอธิบายเรื่องทาน
ล.23 ข.49 ทานสูตร เทวดา 6 อย่าง พรหม 1 อย่าง
อันที่ 1 จาตุมหาราชิกา(ท้าวกุเวร ท้าววิรุฬหก ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์) คือ ทำทานแล้ว
-
ยังมีความหวังให้ทาน สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ
-
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ
-
มุ่งการสั่งสมให้ทาน สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ
-
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ ปริภุญฺชิสฺสามีติ(ให้ข้ามภพชาติ) ทานํ เทติ