640215_รายการโสเหล่โลกุตระ ออนไลน์ ครั้งที่ 28
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวน์โหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1kYkrLCeKuZBFgwVHI50g_DfYsTcg0JbKVc1ubbV6nW4/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1VP824P94dPl0ZYD04wuxF7Y1UUp0v99A/view?usp=sharing
ยูทูปที่ https://youtu.be/zHulBvbxnz8
_สู่แดนธรรม…วันนี้วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก
พ่อครูว่า…วันนี้เป็นวันโสเหล่ จะถามอะไรกันก็ได้แต่ก็ต้องมีการจัดคิวเดี๋ยวจะสับสน สู่แดนธรรมเป็นคนเรียบเรียงคิวไว้ให้อยู่
_สมณะบินบน(ลานนาอโศก)…วันนี้จะมี 3 เหตุการณ์ที่พ่อท่านได้พาพวกเราทำงานเกี่ยวกับพุทธศาสนามา ก็มีอุปสรรคหลายๆอย่าง แต่พวกเราก็สามารถที่จะผ่านมาได้ด้วยจิตวิญญาณที่มีความปรารถนาดี ไม่คิดร้ายกับใคร
15 กุมภาพันธ์ 2106 หรือ 458 ปีที่แล้ว เป็นวันเกิดของกาลิเลโอ กาลิเลอี นักฟิสิกส์นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวอิตาลี ผลงานของกาลิเลโอคือ พัฒนากล้องโทรทรรศน์ พัฒนาการออกแบบเข็มทิศ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ กาลิเลโอสนับสนุนแนวคิดใหม่ว่า ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลนั้น ทำให้คริสตจักรคาทอลิกต้องออกกฎให้แนวคิดนี้เป็นสิ่งต้องห้ามเพราะขัดแย้งกับการตีความตามพระคัมภีร์ กาลิเลโอถูกตัดสินว่าต้องสงสัยร้ายแรงเป็นพวกนอกรีต สมัยนั้นใครไม่เชื่อฟังคำสั่งของโป๊ป ถือว่าเป็นกบฏ กาลิเลโอต้องใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านพักควบคุม จนเสียชีวิต รวมอายุได้ 84 ปี อีกประการ กาลิเลโอ สนับสนุนพีทาโกรัสคือคนแรกที่คิดทฤษฎีโลกกลม กาลิเลโอก็มาพิสูจน์ว่าโลกกลม
เมื่อ 25 ปีที่แล้ว 2539 ตรงกับวันพฤหัสบดี เป็นวันที่ สมณะ สิกขมาตุ เดินทางไปทำใบประวัติให้หน่วยงานคุมประพฤติให้ศาลแขวงพระนครเหนือเป็นชุดแรก ด้วยข้อกล่าวหาว่าบิดเบือนคำสอนในพุทธศาสนา หลังจากศาลชั้นต้น ได้อ่านคำพิพากษากรณีสันติอโศกตัดสินว่า 29 ธันวาคม 2538 ก็เลยเรียกไปทำประวัติ แล้วต่อมามีการอุทธรณ์ต่อ และในพ.ศ.
พระอรหันต์ก็แพ้บางโจทย์(ทางโลก)
ประชุมทำวัตรเช้าที่พุทธสถานสันติอโศก พ่อท่านได้เทศน์ว่า พระพุทธเจ้าคือบุคคลที่ชนะทุกโจทย์ พระอรหันต์ลงมา ก็อาจแพ้บางโจทย์ ผมก็จะมีคำถามตรงนี้ว่า ที่ว่าแพ้บางโจทย์เป็นอย่างไรเรื่องของคดีความ หรือเป็นเรื่องภาวะทางจิตใจ
พ่อครูว่า…ภาวะจิตใจของพระอรหันต์ไม่มีปัญหาแล้ว ถือว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่สามารถทำจิตใจของตนเองมีปัญญา รู้การเกิดการดับอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ติดใจ ไม่ขึ้นไม่ลงไม่บวกไม่ลบ กลางๆ แล้วก็จะเป็นผู้ที่ศึกษาโลก ศึกษาสิ่งที่มันปรุงแต่งขึ้นมาต่างๆ อีกเยอะแยะ ซึ่งมันประกอบด้วยองค์ประกอบของทางวัตถุทางชีวะสัตว์โลกหรือคน โดยเฉพาะคนนี่แหละ แล้วคนก็มีความติดยึดความกำหนดหมายต่างกันไปมากมายนับไม่ถ้วน พระอรหันต์ก็จะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นของแต่ละคน ที่มีความต่างกันยึดถือต่างกัน
ความยึดถือต่างกัน พวกนี่แหละทำให้เกิดความขัดแย้ง ทางโลกก็ขัดแย้งกันไป พระอรหันต์ท่านไม่มีตัวตน ใครจะขัดแย้งกันอย่างไรก็ไม่มีปัญหา แม้ที่สุดเอาท่านไปฆ่าเอาท่านไปติดคุก เอาท่านไปทำอะไรท่านก็ไม่มีปัญหา ในที่สุดการตายการเกิด พระอรหันต์เข้าใจแล้วว่า การตายการเกิดคือการหมุนเวียนในการที่จะใช้สรีระแต่ละชาติๆเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหา จะตายจากชาตินี้ก็ตาย และพระอรหันต์ก็สามารถที่จะตายแบบ ปรินิพพานเป็นปริโยสานจบสุดท้ายเลย ก็พระอรหันต์ทำได้ทุกองค์ ทำได้แล้วก็อยู่ที่ว่าท่านจะตายอย่างนิพพาน 3 ตายอย่างสูญไปเลย ปรินิพพานเป็นปริโยสานไปเลยหรือไม่ หรือยังตั้งจิตเติมอยู่ต่อ ยังไม่ยอมปรินิพพานเป็นปริโยสาน ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของพระอรหันต์แต่ละองค์
ความเป็นหนึ่งของพระอรหันต์ตรงกันหมดทุกองค์ มีความรู้ความจบตรงนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสอันนี้ว่า สัจจะมีหนึ่งเดียวคือนิพพาน แล้วก็มีความรู้ความจริงที่พระอรหันต์รู้เทวะ 2 ความรู้ความจริงอันนี้ตรงกันหมดไม่แย้งกันเลย นอกนั้นไม่ใช่พระอรหันต์แย้งกันหมด หรือทางโลกเขาแย้งกันพระอรหันต์ก็รู้ ท่านมีปัญญาเข้าใจ และอันใดที่ท่านไม่เข้าใจของเขาไม่ใช่ของท่าน ท่านก็ยังตัดสินไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพระอรหันต์จึงต้องเรียนรู้ว่า ที่เขาคิดอย่างนี้เขายึดถืออย่างนี้ ท่านก็จะต้องศึกษาผู้อื่นต่อไป สิ่งนั้นสิ่งนี้ยึดว่าเหตุมาอันนี้ก็รู้เหตุที่เขายึดติดกัน แต่ละคนแต่ละคน เพราะพระอรหันต์แต่ละองค์ก็ไม่ใช่จะเป็นอย่างที่คนอื่นเป็น ยึดอย่างที่คนอื่นยึด มาแต่ไหนแต่ไรไม่มี หลายอย่างพระอรหันต์ก็ยังฟื้นความจำไม่ได้ ก็จะรู้ทีหลัง ว่า.. อ๋อ! อันนี้เราก็เคยผ่านมาแล้วตอนนี้เราลืมไป คนนี้เหมือนเรา เราเหมือนเขา อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็จะรู้เติมไปอย่างนี้เรื่อยๆ
เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ท่านจะอยู่ในโลกนี้ เวียนว่ายตายเกิดอีกหรือไม่อยู่ที่ท่าน เพราะท่านเกิดอีกก็ไม่มีปัญหาอะไร แล้วท่านมีแต่ปัญญา มันไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ผลักไม่ดูด แล้วก็รู้คนอื่นรู้เขารู้เราก็จบ เพราะฉะนั้นท่านก็เหลือแต่มีประโยชน์ เพราะประโยชน์ตนคือ รู้สุข รู้ทุกข์ รู้ตาย รู้เกิด ท่านจะอยู่กินข้าวเขาเปล่าๆ อยู่ไปเฉยๆ มันก็ไม่มีสาระอะไร ไม่มีประโยชน์อะไร มันก็ถ่วงคนอื่นเปล่าๆ หรือท่านจะอยู่เพื่อเป็นคนปลูกข้าวปลูกพืชปลูกผักอะไรให้แก่เขาไปเฉยๆ ท่านก็เป็นการใช้แรงงาน เป็นสมรรถนะความรู้ความสามารถในการทำงาน เป็นประโยชน์ ถ้าอย่างนั้นมันเป็นงานที่ท่านผ่านมาเหมือนกัน ทุกคนผ่านมาที่จะสร้างที่จะทำอะไร หลายคนก็ชอบงานอย่างนี้ๆ แม้เป็นพระอรหันต์แล้วท่านก็ยังพัฒนาให้เกิดสมรรถนะความรู้ความสามารถในงานนั้น งานที่ผลิตสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะทางวิศวกรรมหรือทางกสิกรรม หรือการบริหารมนุษยชาติ ส่วนมากทางพระอรหันต์จะมาเอาดีทางบริหารมนุษยชาติ เป็นเรื่องเป็นราว ส่วนเรื่องทางวิศวกรรมและกสิกรรม จะแยกเป็น 2 ทางใหญ่ๆ ท่านก็จะไม่ค่อยจะไป แต่บางท่านบางองค์ท่านก็ชอบก็จะไปบ้าง แต่สุดท้ายก็จะมาลงที่บริหารหรือมาเป็นคนที่จะช่วยคนบริหารโดยการให้ความรู้ เพราะมาอยู่ในตำแหน่งช่วยบริหารโดยการให้ความรู้ แล้วก็มีผู้รับความรู้นั้นไปจัดการ ช่วยกันหลายคนมากมายขึ้น ชื่อนี้คือปุโรหิต (ปุโรหิตา)
เป็นผู้ที่จะเป็นครูเป็นอาจารย์เป็นผู้ให้เป็นที่ปรึกษา ก็จะมีหน้าที่อย่างนั้นๆ
นี่คือนัยยะของความเป็นมนุษยชาติคร่าวๆ จะขยายความไปอีกมากมายกว่านี้ก็ได้ ก็ขยายความอยู่ผู้อยากรู้ก็ติดตามไปก็แล้วกัน
สมณะบินบน…ที่ว่าแพ้บางโจทย์หมายถึงไม่ใช่เรื่องโลกุตระใช่ไหมครับ
พ่อครูว่า…1. เป็นโลกะวิทู 2. เป็นโลกานุกัมปายะ เป็นวิธีรู้โลกรู้ทั่วๆช่วยโลกช่วยอื่น ช่วยคนอื่นอย่างไร แล้วโลกุตรจิตของท่านไม่มีปัญหาอะไร
สมณะบินบน…บางท่านก็ไปไม่ถึงพุทธภูมิขอถอยก่อน
พ่อครูว่า…ใช่ เป็นส่วนตัวของท่าน แต่ปรินิพพานกลางทางเยอะ จะไปพุทธภูมิตลอดไม่ค่อยไหวหรอก มันยากเย็น ท่านก็พยายามเอา
เพราะฉะนั้นในผู้ที่เป็นโพธิสัตว์ระดับที่ 4 เป็นอรหันต์แล้ว ท่านจะจบก็จบกันไป ส่วนมากก็เคยพูดเคยบอกว่าจะไม่จบหรอกแต่อยากต่อ เมื่อลองไปสักพักหนึ่ง อนิยตะ นี่จะยาว เยอะนาน หลายขั้นหลายระดับมาก ก็ลองหนึ่งชาติ สองชาติ ห้าชาติ สิบชาติ ร้อยชาติ มันชักจะไม่ไหว แม้ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วก็ไม่ไหว ท่านก็ปรินิพพานไปเป็นลำดับๆๆ ว่าจะคัดขึ้นมาเป็นผู้ที่เอาจนสามารถที่จะเที่ยงแท้ เข้ารอบ นิยตโพธิสัตว์ ไม่ใช่เล่น อนิยตโพธิสัตว์จึงมีเยอะมากยาวนาน
_สู่แดนธรรม… คือ คนทั่วไปที่เขามองพระอรหันต์ด้วยความรู้ของเขา จะต้องเห็นว่าพระอรหันต์ท่านจะต้องเป็นที่สุดยอด แต่ทำไมพระอรหันต์ในสายตาของพ่อท่านว่าทำไมท่านต้องแพ้ด้วยล่ะ พระอรหันต์ควรจะชนะเพราะเก่งที่สุดในโลก
พ่อครูว่า…ผู้ที่แพ้ได้เด็ดขาดอย่างไม่มีปัญหา แพ้อย่างสุขสบายแท้ ไม่ได้เดือดร้อนแท้ การแพ้คือการถอดตัวตน การไม่มีตัวตนไม่เหลือตัวตนเลย แพ้ชนะก็อันเดียวกันคือ 0 เพราะฉะนั้นท่านแพ้ได้นั่นแหละคือท่านชนะได้สุดยอด เป็นสัจจะที่เป็นสิริมหามายา ผู้แพ้คือผู้ชนะ นี่คือ นี่นักเล่นกลนะ นี่เขียวหรือแดง นี่เขียวหรือแดง นี่เขียวหรือแดง นักเล่นกลจะเร็วมากจนไม่รู้ว่าเขียวหรือแดง
_สู่แดนธรรม…ที่แพ้ เป็นเรื่องที่โลกสมมุติกัน
พ่อครูว่า…แล้วก็ยึดถือกัน โลกก็มีมายาเป็นเหลี่ยมคู ส่วนผู้ที่เป็นสิริมหามายาไม่มีเหลี่ยมคู แต่จับเหลี่ยมอะไรที่ดีที่สุด เป็นสัจจะหนึ่งเดียวได้แล้วก็ยืนยันสัจจะนั้นได้ ส่วนคนที่ไม่รู้ก็จะเห็นเหลี่ยมมุมต่างๆ ผู้ที่ยืนยันสัจจะมีหนึ่งเดียวก็จะเป็นผู้ที่ยืนยัน แล้วก็อนุโลมรู้จักอนุโลม คนนี้เขาเอาขั้นนี้คนเอาถูกต้องได้แค่นี้ก็สูงไปกว่านี้ไม่ได้ท่านก็ว่าถูกต้อง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเป็นผู้ที่โกหกว่าอันนี้ไม่ใช่ดีที่สุด แล้วบอกว่าดีที่สุดและมีดีกว่านี้ มันก็มีระดับขั้น
อินเทอร์เน็ตที่ราชธานีอโศกเราหยุดไป จึงขอสลับมาที่ราชธานีอโศกก่อน
_พูนไท ชูน้ำเที่ยง…ทุกวันนี้มีวันบวร ทำให้ชาวชุมชนออกมาร่วมกันมากขึ้น มีปัญหาอากาศอบอุ่นกันเพิ่มขึ้นมีช่องว่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ลดลงหรือไม่มี เมื่อก่อนผู้ใหญ่ถือสาเด็ก เช่นเด็กเดินผ่านไม่เจริญธรรม เพราะเขาไม่คบคุ้น แต่ที่ผ่านมาเราทำ SWOT ได้ขุมทรัพย์เรื่อง ช่องว่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ทุกวันนี้พอช่องว่างตรงที่หายไป ก็ทำให้เด็กกับผู้ใหญ่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น บรรยากาศวันบวรทุกวันนี้จึงเป็นวันคบคุ้นเป็นวันคบคุ้มของชุมชน
_ซึ้งดิน หลักเขต…คุ้มตะวันออกก็เป็นคุ้มเก่าแก่ชราและป่วย ป่วยอยู่ประมาณ 4-5 ท่านติดเตียงติดเก้าอี้ ไม่คิดว่าจะมีกิจกรรมอย่างนี้เกิดขึ้น ผู้ใหญ่ต้องฝึกไม่เอาแต่ใจตัวเอง ต้องดูความต้องการของเด็กด้วยมาประกอบกัน
_สเตฟานี่ ธิดารัตน์ แมคกิล (น้ำตาล)…ตอนแรกได้เข้ากลุ่มบวร ตอนแรกคิดว่าคงเหมือนทุกปีผู้ใหญ่ก็อยู่ส่วนผู้ใหญ่เด็กก็อยู่ส่วนเด็ก แต่ปีนี้ไม่เหมือนทุกปีได้เล่นกับผู้ใหญ่มากขึ้น จึงรู้ว่าในชุมชนมีผู้ใหญ่ที่นิสัยดีรู้สึกอบอุ่น แล้วก็ได้เห็นพลังสามัคคีของวันบวร รู้สึกว่าเมื่อไหร่จะถึงวัดบวรสักที ผู้ใหญ่ก็ให้ความรู้เราด้วยเวลาไปร่วมงานกัน
_ขวัญสุดา (แป้ง)… การทำงานร่วมกันในกลุ่ม รู้สึกดี ไม่ต้องคิดว่างานต้องเสร็จให้ได้ เราทำตามกำลังที่เรามีค่ะ อยู่กับผู้ใหญ่ก็สนุกดีค่ะ เฮฮา ตลก ไม่ต้องคิดอะไรมากไม่เบื่อด้วยค่ะ วันนี้ก็ได้เริ่มนับเดือนใหม่ มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เป็นเพราะว่าผู้ใหญ่เต็มใจที่จะรับเด็กเหมือนเป็นลูกหลาน จนเกิดความสามัคคีในกลุ่ม ทำให้เป็นวันบวรที่ดีได้ค่ะ
พ่อครูว่า…เราก็ปรับกันไป แต่ละคนๆ
พูนไท ยังมีคลิป 2 นาทีด้วยนะครับ
(เปิดคลิป วันบวร)
_ลูกหมาน้อย…ขอโอกาสค่ะ ขอบพระคุณที่หลวงปู่ที่เป็นร่มเงา คำสอนของหลวงปู่ทำให้หนูเห็นกิเลสตัวมากขึ้น แต่หนูยังล้างกิเลสไม่ได้ค่ะ จะพยายามต่อไปเพราะหนูเกิดจิตวิญญาณใหม่ ขอบคุณสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในวันนี้
พ่อครูว่า…อ้อ ไม่มีอะไรมาก หนูได้เห็นกิเลสตัวเองชัดเจนขึ้นก็ดีแล้ว
SMS วันที่ 14 ก.พ. 2564
เรียนสังขารกับเวทนาให้ถึงเจโตปริยญาณ 16
_อาภรณ์ จองเจริญกุลชัย : น้อมกราบนมัสการพ่อครู ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ กำลังรับฟังธรรมะพ่อครู ชอบฟังซ้ำๆหลายๆรอบเพื่อให้เข้าใจ ให้เข้าถึงธรรมที่ท่านสอน กราบสาธุค่ะ
พ่อครูว่า…คุณเข้าใจถูก พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าเมื่อได้พบสัตบุรุษ ก็ให้คบหาสัตบุรุษให้บริบูรณ์ หมายความว่าให้คบแล้วคบอีกๆ จนได้ประโยชน์จากสัตบุรุษบริบูรณ์ เต็มเลยให้ได้ ยังไม่เต็มก็ต้องพบอย่าถอย ทีนี้พบแล้วทำอะไร ไม่ใช่ไปพบแล้วก็เฉยๆ แล้วก็หนีไป ไปพบไปคบแล้วก็หนีไม่ใช่ ต้องถามปัญหาต้องถามสิ่งที่อยากรู้ สิ่งที่คิดว่าควรถาม หรือ ขอให้ท่านอธิบายสิ่งที่ควรอธิบาย เราก็จะได้ฟังสัทธรรม จะได้ฟังคำอธิบายดีๆจากสัตบุรุษหรือจากครูผู้อยู่ในฐานะครูหรือเจอพระพุทธเจ้าก็ยิ่งใหญ่เลยล่ะ เข้าไปคบแน่นอน เข้าไปหาแน่นอนแล้วก็ต้องทำอย่างที่ว่านี้ เราก็จะได้รับรู้รับฟังความเป็นสัทธรรมก็เอามา
กว่าจะได้เอามาปฏิบัติจะลงมือปฏิบัติก็อยู่ในข้อต่อไป พอได้ฟังสัทธรรม เราก็จะได้รับซับทราบ ได้รู้แล้วเข้าใจมีความเห็นแจ้งขึ้น ศรัทธาเลื่อมใส เชื่อ เชื่อถือ เชื่อฟัง
เชื่อถือนี้ยิ่งแน่ยิ่งถือมั่นเข้าไปเรื่อยๆ พอเชื่อมั่นสูงขึ้นไปก็เชื่อฟัง เชื่อฟังก็ลงมือปฏิบัติตาม อะไรที่เริ่มต้น ที่ปฏิบัติขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลายไปตามลำดับ เราก็เริ่มปฏิบัติตาม
ผู้เริ่มต้นเชื่อมั่น จะได้ฟังสัทธรรมบริบูรณ์ก็ได้มีศรัทธาบริบูรณ์ เมื่อศรัทธาบริบูรณ์ก็ลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติให้เกิดกายวาจาใจ โดยที่ใจนี่แหละเป็นตัวหลักของศาสนาพุทธ จะต้องอ่านถึงใจเรียกว่ามนสิ แปลว่า ถึงใจ จะต้องเข้าถึงใจ อ่านอาการใจ แล้วพระพุทธเจ้าก็สอนตัวเวทนาเป็นตัวสำคัญ เวทนา จะประกอบไปด้วยกายด้วยจิต ประกอบด้วยข้างนอกข้างใน มีการสัมผัสกันมีอายตนะ นามรูป อายตนะ สัมผัสกันแล้วจะเกิดการปรุงแต่ง เราเรียกว่าสังขาร
อ่านความรู้สึกทั้งภายนอกภายในออกพร้อมกัน เรียกว่าเวทนา เวทนาคือความรู้สึกภายในที่มีภายนอกพร้อมไปด้วย กายมีภายนอกด้วย
สังขารกับเวทนา จึงเป็นตัวเดียวกัน สังขารคือกาย เวทนาคือใจ
กายสังขารคือ สังขาร คำว่า กายนี้รวมทางใจไปด้วยแล้ว 2 อย่าง
ส่วนเวทนานั้นคือ การปรุงอยู่ในใจ เป็นอาการทางใจในใจ เพราะฉะนั้นคำว่ากายคำว่าเวทนาคำว่าใจ หรือเรียกว่าจิต ใจเป็นภาษาไทย จิตเป็นภาษาบาลี
กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต สามเส้านี้แหละ กาย เวทนา จิต ก็จะเกิดการเรียนรู้จากตรงนี้ กาย กับ จิต เป็น 2 อย่าง ปรุงร่วมกันเข้า ตรงกลางเรียกว่า เวทนา รวมทั้งหมดเรียกว่าสังขาร อันเดียวกันนะไม่แยก
สังขารคือรวมกันทั้งหมด ปรุงแต่งอยู่กันภายนอกภายใน ทั้งกายทั้งจิต ทั้งเหตุปัจจัยอะไรต่ออะไรขึ้นมา เสร็จแล้ว เราก็แยกเป็นรูปกับนาม ตัวนึงถูกรู้ ตัวนึงเป็นตัวรู้ ถ้ารู้ทีละ 2 ๆๆ เสมอ เปรียบเทียบกันแล้วก็สังเคราะห์กันให้ได้อะไรเลือกเอาอันหนึ่ง ทีละ 2 ก็ต้องเปรียบเทียบกันว่าอันไหนจะดีกว่าอันไหนแล้วก็เลือกเอาอันหนึ่ง ถ้าอันหนึ่งปลอม อันหนึ่งจริง อันหนึ่งเก๊ อันหนึ่งจริง อันหนึ่งไม่ดีอ่ะ 1 แท้หรือไม่แท้เราก็เลือกอันหนึ่งเสมอเราก็เลิกเป็นที่หนึ่งที่ 1 ของ 2 2 2 ทุก 2 นี่คือสภาวะที่อธิบายเป็นภาษา ก็รู้สึกว่ายังไม่เก่งเท่าไหร่แต่คิดว่าชัดเจนขึ้นไม่ใช่น้อยแล้ว เรียน 2 ใน 1 เรียน 1 ใน 2 เทวธัมมา และปฏิบัติที่เวทนา คือ ทวเยน เวทนายะ คือ มี 2 ส่วนที่เรียนรู้อย่างที่อธิบายกันเมื่อกี้นี้ แล้วก็จัดการให้ลงตัวให้เป็นหนึ่งได้ เป็นเอกสโมสรณา ก็ได้ 1 มาจากทุกคู่ เรียกว่าเอกสโมสรณา ภวันติ ภวันติ คือความเจริญความจบไปทีละขั้นทีละคู่ ก็ได้ไปตามลำดับๆ
หัวใจของศาสนาการฝึกปฏิบัติจึงอยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60 ที่ว่า ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
ผู้ใดทำใจในใจทำเป็นก็โยนิโสมนสิการไม่เป็นทำให้ถูกต้องถึงที่เกิดครบถ้วนถ่องแท้ โยนิโสฯ แปลว่า ถูกต้องถ่องแท้หยาบคาย มนสิการคือการทำใจในใจ รวมสองคำ โยนิโสมนสิการแปลว่า การทำใจในใจได้ถ่องแท้ถูกต้องถ้วนรอบ คนจะทำโยนิโสมนสิการได้จริงๆ จึงเป็นผู้ที่ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ ถ้าทำโยนิโสมนสิการไม่ถูกต้องไม่ได้จริง ผู้ใดก็แล้วแต่ถ้าไม่ได้อย่างที่กล่าวนี้ ทำมนสิการ ไม่ถูกต้องไม่บริบูรณ์ไม่ถูกต้องถ่องแท้ ไม่มีวันสำเร็จ ไม่มีวันปฏิบัติธรรมสำเร็จเลย นี่คือ ความสำคัญของ โยนิโสมนสิการ
ขอแวะนิดนึงว่า ที่เรียนปริยัติกันทุกวันนี้เปรียญ 9 ดร.ทางศาสนา ไปเรียนกันที่ภาษา คำว่า โยนิโสมนสิการ เป็นต้น ก็เรียนแต่ไปเรียนเน้นกันแต่คำว่าพิจารณา ได้แต่พิจารณาก็คือใช้ตรรกะ ใช้เหตุผล ใช้หลักการ ใช้ 2 พิจารณาเทียบเคียงไปครบ คิดเป็นคู่ 2 ไปเรื่อยๆ พอได้ความนึกคิดที่สมบูรณ์ลงตัวดีเขาก็ถือว่า อันนี้เข้าใจแล้วจบ สุดยอดเลยเหตุปัจจัยมากมายกี่รอบกี่รอบมันมีตัวจบได้ คนนี้ถือว่าตัวเองสำเร็จก็เลยได้แต่แค่นี้ สำเร็จทางความคิด ไม่เข้าไปถึงใจ ไม่ลงไปที่ใจแยกจิตเป็น 2 โดยเฉพาะรู้จักเวทนาในเวทนา ก็ต้องแยกคู่ 2 กาย
กายนี้คือ 2 แล้วในกาย ก็มาเป็นเวทนา กาย เวทนา จิต ธรรม มันจะเป็นปฏิสัมพันธ์กัน ไม่แยกกันเลย จากกาย ลึกซึ้งมาเป็นเวทนา จากเวทนาก็จะต่อไปรู้จักจิตต่างๆที่พระพุทธเจ้าท่านแยกเจโตปริยญาณ 16 เอาไว้ ตั้งแต่ สราคะ สโทสะ สโมหะ แล้วเราก็ต้องรู้ว่าจิตที่มันไม่มีราคะ ลดราคะลงมา จนมันไม่มีเรียกว่า วีตราคะ หรือโทสะกับโมหะ ก็เหมือนกันที่เป็น 3 คู่แรกของเจโตปริยญาณ 16
เราก็ต้องทำให้มันลดลงให้ได้จนกว่ามันจะหมดแต่มันยังไม่หมดหรอก แรกๆก็ต้องลดก่อน ลดได้ก็จะมี 2 ตระกูล ตระกูลเจโต กับ ตระกูลปัญญา
ตระกูลเจโตก็ทำได้เป็นสังขิตตังจิตตัง เป็นจิตที่ตีไม่แตกเป็นก้อนๆสายถีนมิททะ หรือสังขิตตจิต
อีกกายหนึ่งก็ฟุ้งจับไม่ติด เรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ เรียกอันนี้เรียกว่า วิขิตตังจิตตัง มาเป็นจิตทางสายอุทธัะจจะกุกกุจจะ
ก็จับให้ติด รวมให้ติด จับให้มั่นคั้นให้ตายรวมสภาวะจิตให้ได้ ทำได้แล้วก็เปรียบเทียบทีละคู่ เมื่อกระทบสัมผัสแล้วอะไรเป็นอะไรต้องแยกเวทนาได้ รู้จักเวทนาตัวนี้ไม่ถูกต้องไม่เอาวางปล่อยให้เห็นว่าอันนี้ผีหรอกมารมาหลอกฉัน ฉันจะต้องอยู่กับสาระ อันที่ไม่เป็นสาระเป็นพวกผีมารก็เลิกอย่างนี้เป็นต้น คุณก็ทำได้ทำได้ดีขึ้นเรียกว่า
มหัคคตะ หากทำไม่ได้เรียก อมหัคตะ คือไม่ดีไม่เจริญ ไม่ได้เพิ่มขึ้น สห กับ อัคตะ ทำได้เรียก มหัคตะ ทำไม่ได้เรียก อมหัคตะ
กระทั่งดีมากขึ้นเรื่อยๆไปยาวนานอยู่ที่ สอุตรจิตตัง จะดีกว่านี้ยังมีอีก จะมีปฏิภาณรู้ว่าดีกว่านี้ยังมีอีก (อาตมาเขียนระดับความดีไว้ตั้งหลายขั้นในสรรค่าสร้างคน) ดีก็มีดีกว่า เปรียบเทียบก็คือกิเลสนั่นแหละมันเหลือ หยาบกลางละอียด จนเราทำได้ดีคือธรรมกิเลสหมดไปๆ มันไม่มาอีกแล้วก็เกิดปัญญามีพลังทำกิเลสไม่ให้เกิดอีกได้จริง เราจะรู้ในจิตของเราเอง
เพราะฉะนั้นจิตของเราเจริญจนกระทั่งทำให้จิตของเรา
-
อยู่กับมัน หลุดพ้นมัน ไม่ได้หนีนะอยู่กับมันนี่แหละแต่เราหลุดพ้น หลุดพ้นได้จิตใจของเราก็แข็งแรงเป็นของตัวเองมีพลังงานเป็นตัวเป็นตน ที่จริงไม่ใช่ตัวตนหลอกขอยืมภาษามาใช้ เป็นตัวเราที่มีอำนาจในตัวเราสูงขึ้นๆ เรียกว่าสมาธิ ภาษากลางๆทางโลกก็เรียกว่าสมาธิเป็นความเป็นหนึ่งตั้งมั่น ได้มากยิ่งขึ้นมากยิ่งขึ้น ถ้าของพระพุทธเจ้าแล้วจะต้องปฏิบัติธรรมด้วยจรณะ 15 แล้วก็เกิดวิชชา 8 เป็นอธิจิต อธิปัญญา ช่วยกันทำ จนกระทั่งเกิดดีที่สุด
เพราะจิตตั้งมั่นเสร็จเรียกว่าตั้งมั่นแล้ว ภาษาบาลีเรียกว่า สมาหิโต หรือสมาหิตะ หลุดพ้นแล้วเรียกว่าวิมุติ หลุดพ้นแล้ว ตั้งมั่นแล้วเป็นคู่สุดท้าย เป็นหนึ่งตัวตั้งอีกหนึ่งเป็นตัววิ่ง
ตัววิ่งคือตัวหลุดพ้น ตัวตั้งคือตัวสมาหิตะ 2 ตัวทำงานเป็นเทวะคู่ใหญ่ บริบูรณ์สูงสุดไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะดีกว่านี้เรียกว่า อนุตตรังจิตตัง ไม่มีอะไรเหนือกว่านี้อีกแล้ว นี่คือเจโตปริยญาณ 16
อัตตสัมปทา ในแสงอรุณ 7 คืออะไร
_ในปางฝัน ธรรมชอบ(ลานนาอโศก)…ตอนเช้าได้ไปช่วยงานมิตรดี ก็เห็นกิเลสตนเอง ก็เห็นว่าจริงใจตามภูมิที่มีกิเลส อยากจะไปเปลี่ยนแปลงมิตรดี พอจับกิเลสได้ก็เลยเดินออกจากจุดทำงานแล้วมาทบทวนตัวเองว่าแบบนี้ไม่น่าจะ แล้วจากนั้นก็กลับไปสู้ใหม่ ก็คือสู้กับกิเลสตัวเองด้วยการแก้ไขตัวเอง อยากถามพ่อครูว่า…การอ่านจิตอย่างไรให้ถึงจิตค่ะ
พ่อครูว่า…ก็ที่ทำที่อธิบายมาเมื่อกี้ไปอ่านอะไรล่ะ อ่านจิต เห็นกิเลสตัวเองใช่ไหมล่ะก็นั่นแหละทำอย่างนั้นแหละ กิเลสมันจะไม่เอามันหนีออกมา มันพาขาเดินหนีออกมา เรารู้ว่าอย่างนี้มันเป็นกิเลสมันไม่ยอมสู้นี้ไม่เข้าเรื่องทั้งๆที่ของดีอยู่กับมิตรสหายดี ทำอะไรให้มันดีขึ้น แบบนี้เราคิดผิด เราก็รู้ตัวว่ากิเลสมันเล่นงานเรา เราก็ไม่เอาแล้วไม่ตามใจกิเลส เราก็กลับเข้ามาใหม่ ก็ถูกต้องแล้วนี่ นั่นแหละทำอย่างนี้แหละปฏิบัติธรรม ศึกษาไปอย่างนี้จะเกิดปฏิภาณปัญญาดีมากขึ้นเรื่อยๆรู้จักสิ่งที่ควรสิ่งที่ถูกต้องไปเรื่อยๆ อะไรที่ไม่ควรแล้วก็แก้เป็นควร อะไรที่ไม่ถูกต้องก็แก้เป็นถูกต้องไปเรื่อยๆ
_แซมดิน…ในแสงอรุณ 7 เมื่อแสงอรุณเกิด มรรคมีองค์ 8 ก็จะเกิดตามมา
สุริยเปยยาล 7
[129] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[131] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[132] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[133] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[134] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[135] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[136] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
ผมสงสัยในข้อที่ 4 ครับ คือความถึงพร้อมด้วยอัตตา เพราะโดยปกติ อัตตา เราน่าจะลด อันนี้แปลไม่ครบหรือเปล่า คือความถึงพร้อมด้วยการลดอัตตา หรือแปลอย่างนี้ถูกแล้ว
พ่อครูว่า…ได้อย่างที่คุณตั้งข้อสงสัยก็ถูก ถ้าแปลให้ง่ายชัดขึ้นก็บอกว่า ถึงพร้อมด้วยการลดอัตตา แต่พูดว่า ถึงพร้อมด้วยอัตตา ก็เป็นการพูดว่า ตอนนี้เราเจออัตตาแล้ว
แสงอรุณ 7 เป็นตัวที่เริ่มที่จะมีความรู้ความเข้าใจพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติจึงจะคือผู้ที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ หากไม่เจอแสงอรุณแล้วพรวดไปเจอพระอาทิตย์ได้เลยมันไม่ถูกต้อง ไม่ได้แน่นอน มันลัดคิว คุณจะได้เห็นพระอาทิตย์ต้องเห็นแสงอรุณมาก่อน
แสงอรุณก็อธิบาย 7 หลักนี่แหละ สำคัญที่สุด
[129] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค อันนี้คุณไม่สงสัยเพราะปฏิบัติแล้วเห็นผล การคบบัณฑิตอยู่กับหมู่กลุ่มชาวอโศกนี่แหละคือหมู่บัณฑิต ไม่ใช่หมู่พาล คนโง่ไม่เดียงสา แต่เป็นผู้ที่ใส่ใจในความเจริญเป็นหมู่บัณฑิต
[131] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค มิตรดี สหายดีจะพาให้ปฏิบัติ ศีล ในจรณะ 15 มีศีลเป็นตัวเริ่มต้น คุณอยู่กับสัตว์อยู่กับคน คนก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง คุณอยู่กับสิ่งมีชีวิตเป็นจิตนิยมที่ด๊อกแด๊ก สัตว์ประเสริฐที่จะเป็นปราชญ์เป็นบัณฑิต ถ้าเป็นสัตบุรุษเป็นพระพุทธเจ้าเลย นี่แหละสำคัญ คุณจะต้อง ถือศีลตามที่สัตบุรุษหรือมิตรสหายดีพระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติศีลก่อน เพราะฉะนั้นเมื่อเริ่มปฏิบัติศีลก็ได้แสงอรุณอย่างนี้ คุณก็ต้องยินดีในการปฏิบัติศีล เป็นอันที่ 3
[132] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค จิตตัวยินดีเป็นอันแรกในมูลสูตร ต้องมีฉันทะเป็นมูล ถ้าไม่มีความยินดีนะ มันไม่เต็มหรอก ยินดีอยู่อย่างนั้นนิดหน่อยไม่ได้เรื่องหรอก ยินดีต้องอย่างแรงกล้า ยินดีต้องอย่างเต็ม ยินดีอย่างตั้งอกตั้งใจว่าอันนี้ใช่ๆๆเลย มันถึงจะมีผล
[133] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค อันนี้ที่คุณสงสัยนี่แหละ ถึงพร้อมด้วยความลดอัตตา คุณก็จะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ที่สัตบุรุษ มิตรสหายดีสั่งสอนไว้ก็คือเริ่มต้นด้วยศีลและปฏิบัติศีลให้เป็นอธิศีล อธิปัญญา อธิมุติ ไปตามลำดับ พิจารณาอย่างไรเห็นอย่างไรเข้าใจอย่างไรก็จะต้องเรียนรู้
ในที่สุดก็สรุปตรงนี้ ให้เห็นไตรลักษณ์ให้เห็นว่าทุกอย่างไม่มีอะไรเที่ยงหรอ กาละเวลาเคลื่อนไปไม่มีอะไรเที่ยง มันเคลื่อนไปข้างหน้าตลอดเวลาเร็วยิ่งกว่านาที เร็วยิ่งกว่าวินาที เร็วยิ่งกว่าฟิลิปดา เร็วยิ่งกว่า…เอาชื่อมาเรียกภาษาความเร็วของมัน เหมือนเดิมเท่านั้นเองมันเร็วยิ่งกว่าเสียงแสงอะไรต่ออะไรต่างๆนานา เวลานี้มันไม่เที่ยงมันพรากไปเรื่อยๆมันไม่อยู่ที่เก่าเลย นี่คือความไม่เที่ยง ต้องเห็นความจริงเลยว่าทุกอย่างไม่เที่ยง
สู่แดนธรรม…ผมคิดขึ้นได้ว่า เป็นการบอกให้คนใจร้อนที่จะบอกว่าทำให้ทุกอย่างเป็นอนัตตา คุณควรมารู้จักอัตตาก่อนดีไหม เพราะว่าส่วนมากเขาจะเริ่มต้นที่ สัพเพธัมมาอนัตตา ก่อนจะทำมรรควิถีทั้ง 8 เพื่อสลายอัตตา พระพุทธเจ้าจึงให้รู้แสงเงินแสงทองก่อนรู้จักตะวัน คุณควรมารู้จักอัตตาก่อน ว่าอัตตามีกี่อย่างมีกี่ประเภท
พ่อครูว่า…อันนี้เข้าท่าแนะนำดีมาก ขอบคุณที่ขยายความได้ดีขึ้น เสริมอาตมาได้ดีมาก เราก็จะได้รู้จักอัตตา
อัตตา พระพุทธเจ้าแบ่งเป็น 3 โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา อันนี้ในพระไตรปิฎก 45 เล่มมีอยู่ในที่เดียว
-
การยึดครองหรือได้ตัวตนวัตถุภายนอก (โอฬาริกอัตตา ฯ)
-
การยึดครองหรือได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ปั้นรูปสัญญา ไม่อาศัยวัตถุภายนอกหยาบๆ แล้ว (มโนมยอัตตา ฯ)
-
การยึดครองหรือได้อัตตาที่หารูปมิได้ หรือรูปละเอียดที่ปั้นสำเร็จขึ้นด้วยสัญญา (อรูปอัตตา ปฏิลาโภ) .