640214_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ เรียนอัตถิราคสูตรให้หมดสุขหมดทุกข์แท้จริง
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1eqzptmEMAyPcqkn47RjrWQJ5ycHZxgf1yCpT5NZLsqI/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1nBIVGWjz0TUk_vekjpgtsSF_rnw-Wtjm/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/v62nTdTeeI8
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้ตามสมมติโลกก็เป็นวันวาเลนไทน์ เป็นวันตายของเซนต์วาเลนไทน์ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ ในยุคสมัยนี้คนถูกมอมเมาจนผิดเพี้ยนไปมากมาย เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือมอมเมาคนมากมาย อาหารการกินก็ปรุงแต่งรสจัดจ้าน ความรักแบบโลกีย์มันรุนแรง เพราะฉะนั้นความรักแบบโลกุตระที่พ่อครูพาคนทำจึงยากเย็นแสนเข็ญ คนทำได้จึงมีบารมีธรรมสิ่งที่ได้
พ่อครูว่า…
รสพริกแสบเผ็ดคือรสแท้ รสแซ่บคือรสเทียม
SMS วันที่ 12-13 ก.พ. 2564
_ตุ๊ก อัศวิน : ปกติชมชอบทานเตี๋ยวใส่พริกดองเจ้าค่ะ ทานทีไร..ก็อร่อยทีนั้น..ไม่เคยพิจารณาให้ถ่องแท้ ครั้นได้ฟังพ่อครูปรารภธรรม เรื่องทานพริก!! ก็อยากลองพิจารณา รสพริกเป็นไฉน!!
รสพริก คือ สภาวะที่ ลิ้น สัมผัสกับสารเคมีในพริก เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวของลิ้น แสบๆปวดๆตุ้บๆ นึกถึงตอนแกะสลักพริก มือที่สัมผัสพริกก็มีอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนังเช่นกัน อาการนั้นเกิดที่ผิวของลิ้น..รู้สึกแซบหลาย แต่อาการนั้นเกิดที่ผิวของนิ้วมือรู้สึกแสบหลาย กรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ความแซ่บคือเวทนาเทียมความแสบคือเวทนาแท้ใช่ไหมเจ้าคะ!!
พ่อครูว่า…ใช่ สัมผัสจริงๆจะรู้ว่าเรายังมาแซ่บมาอร่อยยังรู้สึกอย่างนั้นอยู่อีกหรือ จริงๆให้ลึกไปกว่านั้นแล้ว ความแซ่บความอร่อยนี้มันเป็นอุปทาน เป็นของยึดมั่นถือมั่นไว้เอง มันอนัตตา มันไม่มีความจริงหรอกความแซ่บ ความอร่อย แต่รสของลิ้นที่มันแตะพริก มันเกิดแสบปวด มันจริงเพราะเป็นเรื่องธรรมชาติของมัน สารเคมีอย่างที่พูดมาของพริก ที่มันทำปฏิกิริยากับลิ้นของเรา ที่มีสารเคมี ปฏิกิริยามันแรงมันแสบมันปวดเจ็บ เห็นจริงๆแล้วจะค่อยเห็นจริง แล้วเราจะทน มิน่า อาตมาถึงทุกวันนี้แตะไม่ได้เลย แตะพริกนี่มันแสบจริงๆ ชัด ความจริง ก็ไม่รู้จะแตะไปทำไม แต่ถ้าพริก เขาไม่มีรสแสบ สารเคมีไม่มี เขาเอามาให้อาตมากิน เขาเลือกมาแล้วเขาชิมกันมาก่อนว่าต้นนี้รสไม่เผ็ด ก็เอาต้นนั้นมาให้กิน สักวันหากพลาดท่า เม็ดมันเหมือนกันนะหยิบผิดพลาด คงมีสักวันหนึ่ง เพราะแตะเข้าไม่ได้จริงๆ มันแสบมันแรงร้อน ไอ
หลับตาปฏิบัติเหมือนล้างหม้อโดยไม่เปิดฝา
_Sutas Supapattarnon (สุทัศ สุภาพัทธานนท์) : หลับตาใด้ภายใน ลืมตาใด้ภายนอก
พ่อครูว่า…สรุปง่ายๆแสดงว่าเข้าใจว่า ได้ภายนอก กับได้ภายในมันเป็นอย่างไร การได้ภายนอกนี้ได้ภายในไหม …ได้ แต่การได้แต่ภายในนี้ได้ภายนอกไหม..ไม่ได้ ..ขาดทุนใช่ไหมล่ะ สมน้ำหน้า โง่ แทนที่จะได้ทั้ง 2 นอกและใน แต่นี่ได้แต่ภายในภายนอกไม่มี กลายเป็นการไปเรียนลัด จริงๆแล้วมันลึกซึ้งกว่านั้น ภายในนี่นะ คุณหลับตา คุณยังไม่ได้ล้างกิเลสภายนอกเลย คุณหลับตาภายใน คุณเท่ากับ จะล้างชาม ล้างจาน ล้างหม้อ คุณว่าคุณจะล้างภายใน โดยคุณไม่เปิดหม้อ ไม่เปิดอะไรเลย แล้วคุณก็จะล้างๆโดยไม่เปิดหม้อเลย นี่สมมุติให้ดูนะ ที่จริงคุณไม่ได้ทำสักอย่างคุณล้างภายนอกก็ไม่ได้ล้าง แต่คุณคิดว่าเข้าไปล้างภายใน เหมือนหม้อที่ปิดทั้งข้างนอกข้างในอยู่นี่ แล้วคุณก็จะล้างภายใน คุณเอาน้ำล้างใหญ่เลย ขัดใหญ่เลยนะ คุณไม่ได้ล้างทั้งภายใน ภายนอกก็ไม่ได้ทำ เจตนาจะล้างเพราะจิตของคุณอยู่แต่ภายในจะล้างแต่ภายใน ข้างนอกคุณไม่เจตนาจะล้างคุณไม่รู้จักภายนอก แต่คุณเอาน้ำล้างๆๆ ที่จริงคุณไม่ได้เอาน้ำล้างภายนอก แล้วจะล้างภายในมันก็เป็นการเทน้ำทิ้งเปล่าๆ ชัดเจนขึ้นไหม
อาตมาพยายามอธิบายทุกที พยายามจะอธิบายถึงตรงนี้ที่ไปนั่งหลับตา ไปทำกิริยากำหนดล้างกิเลสภายใน คุณไม่ได้ล้าง คุณไปสร้างนิรมาณกายเป็นสัมโภคกาย เป็นอาทิสมาณกายเท่านั้น เป็นกายเพ้อเจ้อใหม่ องค์รวมของรูปนามคู่ใหม่แล้วเป็นภพใหม่ชาติใหม่ คุณไม่ได้แตะของจริงที่เป็นสัญญาเก่าด้วยซ้ำ คุณสร้างภพใหม่ ให้สัญญา คุณเข้าไปสัมผัสมัน แล้วทำเป็นล้างๆๆ คือมันไร้สาระจริงๆ โมฆะ อย่างไม่รู้จะโมฆะอย่างไร นี่ไม่ได้ไปหาเรื่องใส่ความอะไรนะ วิจัยให้ละเอียดให้ฟังเลยว่า ความเป็นจริงของพฤติกรรมคุณที่กระทำ มัน บ่ มี ไก๊ มัน nothing เลย สองคนนี้ คนหนึ่งจีน (หมายถึงป้าเข่ง) คนหนึ่งฝรั่ง (หมายถึงคุณพิมพ์เพชรรุ้ง) พอคุยกันได้ อีกคนหนึ่งรู้ภาษาฝรั่งอีกคนหนึ่งรู้ภาษาจีนดี มัน nothing เลย มันก็ The same หรือ แปะเอี่ย
_เชวง กิจจะบรรณ์ : หลวงตาบัวเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของเพื่อนหรือน้องรักของลุงจำลองครับ
พ่อครูว่า…เป็นก็เป็นไปสิอาตมาพูดเรื่องสัจธรรมธรรมะไป มันจะไปเจอใครก็เป็นสัจจะนั้นธรรมะนั้นก็จริงตามนั้นแหละ
_เจนบุญ จน : ผมได้ดูรายการ คนจนที่มีแบบ ได้เห็นพิธีกรคนใหม่ เด็กชายธัมโม กล่าวนำเข้ารายการ รู้สึกประทับใจมากครับ อายุแค่นี้แต่ทำได้ขนาดนี้ คงหาจากที่ไหนไม่ได้ นอกจากในสังคมของชาวอโศก อนาคตพิธีกรชายของบุญนิยมทีวีครับ
พ่อครูว่า…อย่าไปหวัง มันมีอะไรที่เขาชอบเยอะ อันนี้เขาก็ได้ อันนั้นก็ได้ มีอะไรให้เขาชอบเยอะ
_คิดชนก อนุชาญ : กราบนมัสการค่ะชอบแนววิถีชีวิตชาวอโศกค่ะ ติดตามรับชมทุกครั้งที่มีโอกาส อยู่หาดใหญ่ค่ะ
พ่อครูว่า…ดีมาก พยายามตั้งใจฟัง เข้าใจให้ดีแล้วปฏิบัติ
กถาวัตถุ 10 คือพูดอย่างไรก็เป็นไปเพื่อล้างกิเลส
พวกเรานี้ฟังธรรมะกันทุกวัน ไม่เว้นเสาร์อาทิตย์ แสดงธรรมกัน นอกจากวันที่มันมีเหตุการณ์สำคัญเท่านั้นที่จะไม่มีเทศน์ ก็ไม่ได้ฟัง ถ้าเทศน์ มาฟังกันทั้งนั้ั้นแหละ ไม่ได้เทศน์น์ก็ไม่ได้มาฟัง แต่ถ้าเทศน์แล้วอาตมาเทศน์ สมณะสิกขมาตุ ที่เทศน์ออกอากาศนี้ ยังมีนอกเวลาที่จะถ่ายออกอากาศอีกนะ บางที ท่านหินจริงเทศน์ ก็ถ่ายทอด บอกคนฟังทางบ้านว่า มีคนฟังอยู่ที่นี่ 3 คน นอกนั้นก็ไปทำงานกัน ท่านก็เทศน์ครึ่งชั่วโมง ก่อนฉัน มีคนฟัง 3 คน 2 คน บางทีอาตมาไม่เห็นคนฟังสักคนมีกล้องก็ถ่ายท่านก็เทศน์ อย่างท่านเพาะพุทธ ท่านเทศน์กับข้างฝา ตั้งกล้องของท่าน แล้วก็เทศน์กับข้างฝา พวกเรานี่เทศน์เก่ง อาตมาว่า เทศน์มีสาระด้วยนะ ไม่ชมนกชมไม้หรือว่าเทศน์ไปอะไรต่ออะไรเยอะแยะที่เขาเทศน์กัน มันก็ไม่เหมือนกัน แนวการเทศน์ไม่เหมือนกัน สารัตถะของชีวิตต่างกัน โดยเฉพาะของชาวอโศกเรานี่ เป็นโลกุตระ มีโลกุตรธรรม
มีโลกุตรธรรมคืออะไร ไม่มีโลกุตรธรรมคืออะไร
มีโลกุตรธรรมก็คือ มีการชี้บ่งบอกถึงกิเลส ถึงเหตุแห่งทุกข์ ถึงตัวที่ควรจะรู้จักมัน แล้วก็ละล้างกำจัดมันซะ ไม่โดยอ้อมก็โดยตรง มีมากกว่ามีน้อย เทศน์แล้วจะมีการให้ล้างกิเลส ก็จะมีพลความอันนั้นอันนี้ประกอบบ้าง ที่ไม่ได้ให้ล้างกิเลสก็มีน้อย นอกนั้นก็มีแต่เทศน์ให้ล้างกิเลสนั่นแหละมีมาก เกือบทั้งกัณฑ์แต่ละรูปๆ ทั้งนั้นเลย
ซึ่งอันนี้อาตมาภาคภูมิใจพวกเรานี้มีสาระ จะเทศน์อะไรก็เป็นไปอย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในกถาวัตถุ 10
คำว่า กถาวัตถุนี่ แปลว่าพูดกันธรรมดา คนที่พูดกันธรรมดา อาการพูดของคนธรรมดาเป็นไปเพื่อ
กถาวัตถุ 10 .(เรื่องที่ควรกล่าวชักชวน)
-
อัปปิจฉกถา (เรื่องที่ชักนำให้มักน้อย กล้าจน)
-
สันตุฏฐิกถา (เรื่องที่ชักนำให้สันโดษ ใจพอ)
-
ปวิเวกกถา (เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกิเลส)
-
อสังสัคคกถา (เรื่องที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีกับหมู่กิเลส)
-
วิริยารัมภกถา (เรื่องที่ชักนำให้ปรารภความเพียร)
-
สีลกถา (เรื่องที่ชักนำให้บริสุทธิ์ในศีล)
-
สมาธิกถา (เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ)
-
ปัญญากถา (เรื่องที่ชักนำให้เกิดปัญญา)
-
วิมุติกถา (เรื่องที่ชักนำให้หลุดพ้นจากกิเลส)
-
วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องที่ชักนำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริงในความหลุดพ้นจากกิเลส) (พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 69)
นี่คือเรื่องที่พูดกันที่จะกล่าวกัน จะพูดกันก็อยู่ในนี้
1.พูดไปก็ชักนำกันให้ออกจากความมักมาก สู่ความมักน้อย มากล้าจนกัน แล้วจะไปรวยกันตรงนั้นตรงนี้ ไม่พูดกันเลย อันนี้เป็นเรื่องจริงเลย ไม่ใช่ว่าพูดแล้วคนจะมีลักษณะนี้ได้ด้วยหรือ จริง อย่างชาวอโศกตั้งแต่ข้อ 1 พูดแล้วก็ชักนำให้มากน้อยกัน
-
ชักนำให้สันโดษ ให้รู้จักใจพอ เขาแปลสันโดษว่าพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ อาตมาว่าไปถามเอากับคนรวย ไปถามบิลเกตเขาดูสิ เดี๋ยวนี้คนรวยกว่าบิลเกตส์ก็มี อาตมาจำได้แค่บิลเกตส์ ไปถามบิลเกตส์ดูว่าเขาจะพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ไหมมันก็พอใจสิ พระพุทธเจ้าจะหมายถึงอย่างนั้นหรือ อาตมาว่าไม่จริง “พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่” พระพุทธเจ้าไม่ได้หมายถึงอย่างนี้หรอก
จริงๆแล้วมันแปลว่า ใจพอ มันรู้จักพอ แต่ก่อนเรายังไม่เคยพอเลย อะไรมา สวาปามทั้งนั้น ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ให้มาเท่าไหร่เราก็ยินดีทั้งนั้น ไม่เคยหยุดไม่เคยพอ รับเละ ถ้ารู้จักพอก็จะเจริญ ถ้าไม่รู้จักพอก็ไม่เจริญ
อาตมาว่าจะเอาพระสูตร อัตถิราคสูตร
-
เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกาม ปวิเวก กามคือความยินดีในโลกทั้งหลาย ในตาหูจมูกลิ้นกายใจ ที่กระทบอะไรก็ยินดี
-
เรื่องที่ชักนำมาให้คลุกคลีกับหมู่กิเลส อันนี้เราแปลนะ ของทางเถรสมาคมเขาแปลกันว่าคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เท่านั้นเอง เขาไม่มีคำว่ากิเลส สังสัคคะ คือประกอบสวรรค์กัน อสังสัคคะคือ ไม่ประกอบสวรรค์ แต่เขาก็แปลกันว่าไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ซึ่งอาตมาก็ว่า เอ๊.. เจตนาแปลให้ผิดเพี้ยนให้เลี่ยงออกไปหรือเปล่า แต่เขาก็บอกว่าเขาเรียนบาลีแปลกันมาอย่างนั้น อาตมาแปลนี้นอกรีต ..เอา ก็ยอมแพ้
-
เรื่องที่ชักนำให้ปรารภความเพียร วิริยารัมภะ คำนี้พวกเราสังเกตตัวเองเถอะ มาอยู่กับชาวอโศกแล้ว ขี้เกียจขึ้นขนมาอย่างไรก็แล้วแต่ พอมาอยู่ที่นี่แล้ว มันจะมาขี้เกียจขึ้นขนอยู่อย่างเก่าไม่ได้แล้ว มันจะถูกพาชักนำให้รู้สึก นอกจากคนที่มันแย่จริงๆ มาที่นี่แล้วก็ได้ช่องเลยนะ หลบเลี่ยงเลย เดี๋ยวก็รู้สึกว่าตำรวจมีเยอะที่นี่ เดี๋ยวก็รู้เดี๋ยวก็อยู่ไม่ได้
-
เรื่องที่ชักนำให้บริสุทธิ์ในศีล มีสีลกถา ให้บริสุทธิ์ก็คือ ให้เรียนรู้เรื่องศีลและศีลจะชำระกิเลสให้ออกจากจิต อาตมาแปลนี้ก็ไม่เหมือนเขานะ ศีลนี้จะชำระกิเลสให้ออกจากจิต เขาก็ไปแปลว่าศีลนี้ชำระแค่กายกับวาจา ถ้าอยากได้ชำระกิเลสออกจากจิต ให้ทำจิตเป็นสมาธิต้องไปนั่งสมาธิเอา ศีลนี้ชำระแค่กายวาจา อาตมาว่าก็ออกนอกรีตจริงๆ ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่าชำระแค่กายวาจา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากายวาจาและมีใจ เขาก็ไปตัดเอาแค่กายกับวาจา พระพุทธเจ้าก็อธิบายรายละเอียดของใจ แน่นอนว่า ศีลจะต้องกระทบกับกายก่อน แล้วก็เกี่ยวข้องกับวาจา คือท่านตรัสให้ครบกระบวน แต่เขาก็เอาแต่ที่ชอบๆ นี่เป็นการกร่อนธรรมะพระพุทธเจ้า ทำให้ธรรมะพระพุทธเจ้าผิดเพี้ยนและเสื่อมไป
-
เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ สมาธิแปลว่าจิตตั้งมั่นแล้ว ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ เขาแปลกันอย่างนี้หรือ? (สู่แดนธรรมว่า ผมสรุปมาอย่างนี้เองครับ)
-
เรื่องที่ชักนำให้เกิดปัญญา
-
เรื่องที่ชักนำให้หลุดพ้นจากกิเลส มีวิมุติ
-
เรื่องที่ชักนำให้รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้นจากกิเลส
เราก็แปลกันเองบ้าง ก็ไปตรงกับเขานะ รวมความ แม้มีพลความอื่นๆ เดี๋ยวก็เข้าหาเป้า ผู้ที่อยู่กับศีลธรรมเดี๋ยวก็นึกถึงศีลธรรมอยู่กับชีวิตเสมอๆ จะอยู่ที่ไหนแม้จะทำงานอันนี้เดี๋ยวก็คุยกันไปคุยกันมา แม้จะพูดถึงเรื่องอันนู้นอันนี้ พูดถึงเรื่องลูกหลาน พูดถึงครอบครัว พูดถึงอาชีพที่เคยผ่านมา เดี๋ยวก็เข้าหาธรรมะแล้ว มันจะไม่ไปเชิงโลกๆ ไม่ใช่เตลิดเปิดเปิงพูดถึงเรื่องครอบครัวพูดถึงเรื่องมิตรสหายอะไรไป ชักจูงไปหาโลก ไปกันใหญ่ ออกเรื่องทางโลกีย์สนุกสนาน พวกเราจะไม่…ชัดเจนสังเกตเลย ถ้าใครไม่อยู่ในกรอบธรรมะมันจะไป แต่ถ้าใครอยู่ในกรอบธรรมะแล้วจะเข้ามาหาอันนี้ มันจะเป็นเช่นนั้น นี่คือสิ่งที่จริง
พวกเรานี้มาปฏิบัติธรรมที่อาตมาพาทำ เห็นธรรมฤทธิ์ ของธรรมะพระพุทธเจ้าที่อาตมานำมาอธิบาย อาตมาไม่ได้มาบังคับพวกเราเลยนะ เทศน์อย่างเดียวที่มาก มากเทศน์ แต่ไม่ได้ไปจู้จี้จุกจิกให้ทำ ที่นอกเวลาเทศน์ มีแต่พูดเล่นนอกเวลามีแต่พูดเล่น อาจพาดพิงธรรมะก็มีบ้าง นอกนั้นก็คลายๆเบาๆ ก็รู้อยู่ว่าเราเทศน์นี้มันหนัก เป็นธรรมะหนักๆทุกที นอกเวลาอาตมาก็มีแต่จะพูดเล่นๆ พูดอะไรต่ออะไร จะเห็นได้ว่าอย่างนั้น แต่ก็ไม่นานเดี๋ยวก็เข้าหาธรรมะอีก
อาตมาที่เอามาพูดเพราะมีประสบการณ์กับพวกเราอย่างนั้น นี่คือสิ่งที่จริงๆแล้วพวกเราก็ได้ดีจริงๆ ฟังธรรมะกันไม่มีเบื่อ ตั้งใจฟังกันแต่ละวันแต่ละวันทุกวัน อาตมาว่าคงไม่มีที่ไหนเขาเทศน์กันขนาดนี้ เทศน์ทุกวัน วันหนึ่งหลายคาบด้วย บางทีก็มีกะปริดดกะปรอยแต่เป็นหลักก็คือ 18.00 น. นี่แหละ ก็ถึงเป็นความเจริญ จะเป็นความเจริญของชีวิต เรารู้ว่าเราควรฟังอะไร เราควรมีสิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยในชีวิต คือธรรมะ เป็นเครื่องอาศัยในชีวิต แล้วเราก็ได้เจริญไป ชีวิตของเราเคยได้ไปหลงผิดหลงทางอะไรในทางโลกโลกีย์ เสียเวลากับมัน ไม่เห็นความสำคัญ แต่ตอนนี้ก็ได้ชัดเจนแล้วมามีชีวิตอย่างนี้แล้ว เราก็จะมีแต่ความเจริญ นี่ไม่ได้พูดป้อยอเอาอกเอาใจพวกเรา แต่พูดเอาสัจจะความจริง ฟังไป หลับบ้างไม่หลับบ้างก็ไม่เป็นไร บางคนง่วงบ้างไม่ง่วงบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ก็พยายามนะ พยายามที่จะให้มาตื่นให้มาฟังให้ได้มากที่สุด
ผู้ที่ฟังธรรมะแล้ว ไม่ค่อยได้ง่วงกับเขา ฟังธรรมะทุกวันทุกวัน มาฟังก็ไม่ได้ค่อยง่วงกับเขาเป็นอย่างนี้คนที่เป็นอย่างนี้ มีบ้างไหม ยกมือซิ คนที่ฟังไม่ค่อยได้ง่วงกับเขาหรอก มีอยู่เยอะนะ แต่ไม่ถึงครึ่งนะ ก็เห็นใจธรรมะเราธรรมะหนัก ไม่ได้เหมือนธรรมะประโลมโลก ให้มหาสมปองมาเทศน์คงจะไม่หลับกันนะ ..บางคนบอกไม่อยากฟังเลย ไปโน่น มันก็จริงๆ คนเราจะนิยมชมชอบกับอะไรหรือไม่อะไร ก็เป็นเรื่องรสนิยมที่แท้จริง
ลองมาฟัง อิตถิราคสูตร ต่อจาก ปุตตมังสสูตร(พตฎ.เล่ม16 )
ปราบกิเลสหน้าบ้านได้จึงเข้าไปปราบกิเลสในบ้านต่อ
-
อัตถิราคสูตร ล. 16