640517_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ โลกุตระปัญญาต้องได้มาจากสัตบุรุษ
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1uuLrgfyKjmes-6oPdRVEFA_-HPi51vpVgyFNx_Bs-ps/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1BzkOOMJ6rQBjwiPQeZWT0alEwU1UpPtb/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/qCyFIePpqsE
ปัญญาวุฒิ 4 เป็นธรรมะเบื้องต้น
พ่อครูว่า…วันนี้ วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก ขึ้น 6 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู เราก็เอาว่า ปีฉลุย จะได้ผ่านอะไรได้
เรามาต่อ ที่อาตมากำลังพูดถึงเรื่องของ จักร 4 ที่มีลักษณะต่างกันกับปัญญาวุฑฒิ 4
จักร 4 (ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ)
-
ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม)
-
สัปปุริสูปัสสยะ (การคบหาสัตบุรุษ)
-
อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบธรรม)
-
ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำแล้วในปางก่อน ไว้เป็นที่พึ่งอาศัย)
(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 31)
และปัญญาวุฒิ 4
-
สัปปุริสสังเสวะ (รู้จักคบบัณฑิต คบหาสัตบุรุษ)
-
สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม)
-
โยนิโสมนสิการ (กระทำลงในใจโดยแยบคาย)
-
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 248)
นัยสำคัญที่ต่างกันของ จักร 4 กับปัญญาวุฑฒิ 4
จักร 4 เป็นคุณธรรมของสัตบุรุษที่จะทำงานเข็นกงล้อธรรมจักร เป็นหมวดธรรมของสัตบุรุษที่จะทำงาน เพราะฉะนั้นสัตบุรุษก็คือผู้ที่มีคุณธรรมแล้ว บุพเพกตปุญญตา เป็นผู้ที่ได้ผ่านเรื่องของบุญมาแล้ว
ส่วนปัญญาวุฑฒิ ไม่ใช่ของสัตบุรุษทีเดียว เป็นของกลางๆเพราะว่ามีโยนิโสมนสิการ เป็นคำแรกๆต้นๆ อยู่ในสุริยเปยยาลหรืออยู่ในสัมมาทิฏฐิหมวดแรกเลย มีปรโตโฆษะกับโยนิโสมนสิการ
ปรโตโฆษะคือ คุณต้องฟังคนอื่น ไม่ใช่คุณรู้เอง ผู้รู้เองต้องเป็นสัตบุรุษตั้งแต่พระพุทธเจ้าตั้งแต่ สยังอภิญญา จึงชื่อว่าเป็นผู้รู้เองข้ามชาติมา เพราะฉะนั้นในยุคสมัยใด ที่มีคนเกิดมาแล้วในยุคสมัยนั้นๆ คนที่เป็นสัตบุรุษ เกิดมาในยุคสมัยนั้น โดยเกิดมาเป็นสัตบุรุษเป็นสยังอภิญญา อย่างอาตมาเกิดมาในยุคนี้ไม่มีครูบาอาจารย์ที่ไหน นอกจากไม่มีครูบาอาจารย์ที่ไหนแล้ว คำสอนคำอธิบายขยายความของอาตมายังไปขัดแย้งกับหมู่ใหญ่เดิม ขัดแย้งชนิดตรงกันข้ามเลย โลกียะกับโลกุตระ
อย่างพุทธเจ้าท่านอุบัติขึ้นมาในโลก ท่านก็ตรงกันข้ามกับเดียรถีย์ แต่ท่านมีบารมีมาก คนยอมรับทันที พระเจ้าแผ่นดินต่างๆยอมรับหมด ไปแคว้นไหนก็ยอมรับ อย่างอินเดียมีสองแคว้นใหญ่คือ แคว้นโกศลกับแคว้นมคธของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าพิมพิสาร แคว้นเล็กๆ ก็เชื่อตามหมด พระเจ้าพิมพิสารบอกว่าให้มาครองแผ่นดินครึ่งหนึ่งเลยให้ท่านบริหาร พระพุทธเจ้าก็บอกว่าท่านบริหารเถอะ ท่านมีหน้าที่มาทำงานทางศาสนา สมัยโน้นยังไม่มีคำว่าขอบคุณ และคงยังไม่มีคำว่าพอใจๆ มหาบัว จะขอบคุณก็ดูจะลดศักดิ์ศรี ก็เลยคัดภาษาแทนขอบคุณว่า พอใจๆ มหาบัวเขาใช้
ปัญญาวุฑฒิ มีอะไร
-
สัปปุริสสังเสวะ (รู้จักคบบัณฑิต คบหาสัตบุรุษ) เสวนากับสัตบุรุษ
-
สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม) ก็คือฟังธรรม
-
โยนิโสมนสิการ (กระทำลงในใจโดยแยบคาย) จึงจะเข้าใจการทำใจในใจอย่างถูกต้องถ่องแท้ถึงที่เกิดที่ตาย ถึงที่เกิดเลย คำว่า โยนี หมายถึงอวัยวะเพศหญิงที่ให้เกิดคนมาเลย คนออกมาจากที่นั้นเป็นต้น นี่คือพยัญชนะกับสภาวะต่างๆมีระบุ เมื่อสามารถโยนิโสมนสิการได้จึงเกิดการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
-
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) ถ้าไม่มีโยนิโสมนสิการก็ไม่มีสัมมาทิฏฐิ
ผู้เป็นปัจเจกแต่ไม่ถึงสยังอภิญญาก็ได้ เช่นผู้นี้มี ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ ตัวเองเป็นเองรู้ได้ด้วยตัวเอง เกิดธาตุรู้ เกิดความรู้ วิญญาณนั้นได้เปลี่ยนไปมีธาตุรู้ใหม่เกิดในตนเอง
ปัจจะ กับ อัตตะ เป็นปัจจัตตัง
ปัจจะ แปลว่าสว่าง, อัตตะ คือตัวเรา
ปัจจัตตังสว่างแจ้งในตัวเรา เป็นความรู้ เป็นธาตุวิญญาณเกิดความรู้ลงไปในธาตุวิญญาณ
เมื่อเริ่มเกิดปัจจัตตังก็จะสร้างสมเป็นปัจเจกก็แปลว่าเป็นของตัวเอง สั่งสมเป็นหนึ่งไปเรื่อยๆ จากปัจเจก จะเต็มถ้วน ถึงขั้นที่ 7 เรียกว่า สยังอภิญญา ก็จะสั่งสมบารมีเพิ่มขึ้นอีกเป็นปัจเจกภูมิในระดับปัจเจกสัมมาสัมพุทธะ
ปัจเจก มาเป็นสยังอภิญญา มาเป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธ ต่อไปเป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธที่มีสัพพัญญู
อย่างอาตมาสยังอภิญญา ต้องสั่งสมเป็นขั้น 8 เกินครึ่งเป็นต้นไป มีบารมีคุณวิเศษเลยครึ่งของขั้น 8 จึงได้ชื่อว่าปัจเจกสัมมาสัมพุทธะ จนเต็มบริบูรณ์เรียกสัพพัญญู เท่ากับพระพุทธเจ้าทุกองค์ เต็มสุดปัจเจกสัมมาสัมพุทธะคือระดับ 9 หากยังไม่ประกาศธรรมะขึ้นในโลกท่านก็ได้ชื่อว่าปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระสัพพัญญูเท่ากับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ถ้าท่านไม่ประกาศศาสนาในโลกมนุษย์ คนก็จะไม่รู้จักว่าท่านคือพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ยังไม่ได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในโลก
ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านตัดสินพระทัยว่าท่านไม่ประกาศศาสนา ท่านก็ตัดสินรีไทร์ตัวเองเลย เลิก ตายในชาติไหนก็แล้วแต่ ท่านก็ปรินิพพานเป็นปริโยสานไปเลย แยกธาตุเป็นอุตุธาตุ เพราะท่านก็ทำงานมาเหมือนกับพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ สั่งสมบารมี มีสัมภาระวิบากเหมือนกัน ต้องมีน้ำหนักมีคุณธรรมที่ได้สั่งสมบุญบารมีเข้าเขตขีดของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีคุณธรรมเข้าเขตพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต่างกันตรงที่ท่านไม่ได้ประกาศศาสนาในโลกมนุษย์ จึงไม่ได้ขึ้นทำเนียบเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ถ้าหากประกาศศาสนาท่านก็เป็นเจ้าของศาสนาพุทธองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วท่านก็จะไม่ประกาศศาสนา 2 ครั้ง เพราะว่ามันเมื่อยทำงานมาเท่ากันกับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ก็จะพอแล้วท่านก็จะตัดช่องน้อยแต่พอตัว
ประเด็นนี้พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าเหนือกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหนือในมุมไหน มองได้สองมุม เหนือกว่าตรงที่ท่านไม่มีตัวตนยิ่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆที่เรามีสัพพัญญูเท่ากับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่เราไม่ประกาศซะ เราก็ไม่ได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าขึ้นทำเนียบในโลก ภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ พระศรีอาริยเมตไตรยก็เป็นองค์ที่ 5 หรือในภัทรกัปอื่นอาจจะมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์
สรุปว่าพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีคุณธรรมเท่าเทียมกัน ต่างกันตรงที่ว่าได้เป็นเจ้าของศาสนาในโลก ตั้งแต่พ.ศ.นั้นยุคนั้น ขึ้นทำเนียบหรือไม่ ถ้าไม่ก็แล้วไปเพราะฉะนั้นมองในมุมหนึ่งพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ไม่ประกาศศาสนาเป็นของตัวเองทั้งทั้งที่บรรลุเท่ากับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์แล้วจึงมีมุมที่ไม่มีตัวตนยิ่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประกาศศาสนาเป็นของตน เป็นมุมสิริมหามายา เอาใครเป็นใหญ่เป็นเล็กก็ได้ทั้งนั้นเมื่อหมดตัวตนแล้วก็หมดการย้อนแย้งทั้งมวล
มาเข้าสู่ที่เตรียมมาอธิบาย…
ต้องพบสัตบุรุษก่อนจึงเกิดฉันทะในโลกุตระได้(พ่อครูลดอายุเหลือ 120 ปี)
จึงเป็นผู้ได้ศึกษาตามพระพุทธเจ้าจนมีสัมมาทิฏฐิ และสามารถตีแตกแยกแยะ“เทฺว”ออกได้จริงด้วย“ธรรมะ ๒” ทั้งในความเป็น “พยัญชนะ”ทั้งในการจัดการกับ“ธรรม”ได้ถูก“ตัวตน”แท้ๆสำเร็จ
คำว่า “เทฺว”นี้จึงยิ่งใหญ่จนสุดจะกล่าว
เพราะ“เทฺว”เป็น“อัตตา-อาตมัน-ปรมาตมัน”ที่ชาว“เทฺวนิยม”ย่อมจมอยู่กับ “ตัวตน” จะ“ไม่รู้ตัวตน” กันได้ง่ายๆเลย ตราบที่ยังไม่ได้พบพระพุทธเจ้า หรือสัตตบุรุษ ก็จะต้องอยู่กับ “ตัวตน” ที่ “ไม่รู้จักตัวตน”อยู่นั่นแล ตลอดกาลอันไม่มีที่สุดจบลงได้
ซึ่งน่าเห็นใจอย่างมากจริงๆที่ประดาคนทั้งหลายในโลก ผู้มีชีวะขั้น“จิตนิยาม”แล้ว แต่ยังไม่รู้“โลกุตระ” ก็ยังต้องจมอยู่กับ“เทฺว”อัน“อวิชชา”อยู่นานสุดแสนนานถึงนิรันดร ก็แสนจะจริง สายเทวนิยม บอกว่าพระเจ้านิรันดร อัตตานิรันดร จึงเกิดความเที่ยงไม่สูญหายตีไม่แตกทำลายไม่ได้ ก็จะจมอยู่อย่างนั้น มันก็มีความจริงนี้มาตลอดกาลคู่กับโลก ศาสนาพระพุทธเจ้า บรรลุธรรมแล้วเกิดความเห็นแย้งว่า วิญญาณไม่เที่ยงสัพเพธัมมาอนัตตา แล้วท่านก็พิสูจน์ให้เห็นด้วยว่า จิตวิญญาณของแต่ละคนที่สุดของตนเองทำให้จิตวิญญาณตนเองเป็นอนัตตาได้มันก็สูญ
จนกว่าจะได้พบพระพุทธเจ้าหรือ“สัตตบุรุษ” และได้ฟังหรือได้ยินท่านพูด“โลกุตรสัจจะ”ให้ได้ยินได้ฟัง อีกทั้งท่านก็ปฏิบัติอยู่ให้เห็นด้วย ดีไม่ดีมีหมู่กลุ่มที่เป็นสังคมอาริยะโลกุตระเอาด้วย
จึงจะยินดี(เริ่มมีฉันทะ)ว่า โอ!..ได้พบพระพุทธเจ้า หรือได้พบสัตตบุรุษแล้ว ผู้นั้นย่อม“ยินดี”
พอเห็นพระพุทธเจ้า จึงเกิดจิตยินดี มีฉันทะเป็นมูลกา ถ้าไม่มีอิทธิบาท ไม่มีความยินดีเป็นตัวนำไปไม่ออก ปฏิบัติสุริยเปยยาล
[129] มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[131] สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[132] ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[133] อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[134] ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[135] อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[136] โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
มิตร หมายถึงใจ, สหาย คือประโยชน์ร่วมมีพรรคพวกหมู่กลุ่มร่วมกัน แล้วครบพร้อมหมดเลย เป็นสัปปายะ 4 ครบเป็นสัมปวังโก เป็นต้น
อย่างมาเห็นชาวอโศกตั้งแต่จิตวิญญาณแต่ละบุคคล จนหมู่กลุ่มรวมกันแล้วสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันมีพุทธพจน์ 7 มีการระลึกถึงกันรักกันเคารพกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่วิวาทกัน พร้อมเพรียงกันเป็น เอกีภาวะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นคุณสมบัติที่เป็นต้นรากของจิตที่ชัดเจนเลย ถึงเป็นสาราณียธรรม พร้อม อยู่ด้วยเมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีลาภธัมมิกา เอาลาภโดยธรรมมารวมกันกองกลาง กินใช้ร่วมกันเป็นสาธารณโภคีแล้วต่างคนต่างมีศีลสามัญญตา ซึ่งแตกต่างระดับแต่ก็เสมอสมานกัน ศีล 5 เสมอกับศีล 5 ยอมรับว่าศีล 8 คือผู้เจริญกว่าจริง ศีล 8 สูงกว่าก็ไม่ข่มคนต่ำ ศีล 10 จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลขึ้นไปอีกก็ชัดเจนเอาศีลเป็นตัวตัดสิน ผู้ที่มีศีลสูงกว่าคือผู้ที่เจริญกว่า อย่างนี้เป็นต้น
เห็นหมู่กลุ่มนี้มีมรรคผล เอาหลักวรรณะ 9 มาจับอีก อาตมานำเอาหมวดธรรมแต่ละหมวดเอามาขยายความให้ปฏิบัติจนมีเนื้อแท้ธรรมะ
คนผู้ใดก็ตาม ถ้าเริ่ม..เห็นคนผู้หนึ่งในโลกปัจจุบันที่เราก็กำลังมีชีวิตร่วมอยู่ด้วยนี้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือสัตตบุรุษ นี่คือ คุณยอมรับ“คนผู้นี้”เป็นพระพุทธเจ้าหรือสัตบุรุษอยู่ในโลกขณะที่คุณมีชีวิตร่วมอยู่นี้ ดังนี้จึงจะนับว่าคุณมี“ปัญญา” หรือเริ่มเกิด “อัญญธาตุ”ในจิตเห็นพระพุทธเจ้าหรือเห็นสัตตบุรุษขึ้นมาได้
และยอมรับว่า “คนผู้นี้”เป็น“ผู้ปฏิบัติถูกต้องโลกุตระ”ตามธรรมพระพุทธเจ้าจริง(สัมมัคคตา) เป็นผู้บรรลุอาริยธรรมแท้จริง(สัมมาปฏิปันนา)” แล้ว“คบหากับสัตบุรุษ(สัปปุริสสังเสวะ)” ฟังธรรมท่าน มันไม่มีใครบังคับใจของคุณนะ ใจของคุณจะยอมรับเอง ใครจะมาเห็นก็เขาเห็นของเขา เขาเห็นแล้วว่าคนผู้นี้มันจะเป็นของจริงเลย คนนี้เป็นพระพุทธเจ้า คนนี้เป็นสัตบุรุษอยู่ในโลก ที่คุณทั้งหลายมีชีวิตอยู่ร่วมนี้ ดังนี้แหละจึงจะนับว่า คุณมีปัญญา
คุณจึงจะมี“ปัญญา”อันเป็น“อัญญา(ธาตุรู้ตัวใหม่ ที่เป็น“อื่น”แตกต่างจากที่เราเคยมีมา)”โดยท่านเริ่มใส่“เชื้อความรู้โลกุตระ”ให้แก่จิตเรา และจะเกิด“ปัญญา”เจริญครบ“ปัญญา ๘”ได้
ปุถุชน“รู้”แบบ“ปัญญา”ขึ้นมาเองไม่ได้ ไม่มีใคร“รู้เอง”ได้
ได้พบสัตบุรุษ จึงได้มีสัมมาทิฏฐิได้ เพราะมีปรโตโฆษะ มีการทำใจในใจ (โยนิโสมนสิการ)
เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา).
สัมมาทิฏฐิ ๑๐
๑. ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิ . ทินนัง) ทำทานอย่างไม่โยนิโสฯก็จะมี
ทานแล้วเกิด
-
ยังมีความหวังให้ทาน สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ
-
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ
-
มุ่งการสั่งสมให้ทาน สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ
-
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ ปริภุญฺชิสฺสามีติ(ให้ข้ามภพชาติ) ทานํ เทติ