640502_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ เรียนรู้วิญญาณฐิติ 7 ให้ถึงอรหันต์
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1WSOfiWnsEbT4JoyXFH-NxJ9ulTnQh05B-qxBnsFMch8/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1c4BU7XnkKB55XwAIO20r9BpvJzaLHV6q/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/BeTL97q7voE
พ่อครูว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564 แรม 6 ค่ำเดือน 6 ปีฉลู
เรื่องทานกับปัญญา ทานอย่างไรให้หมดตัวตน
_การให้อย่างไม่มีตัวตนทำอย่างไร ถ้าการให้ของเราทำให้ผู้รับมีกิเลสมากขึ้นควรทำอย่างไร
_ยาที่ดีในการรักษาโรคระบาดคือการเป็นผู้มีวรรณะ 9 และการรักษาศีล 5 อย่างชัดเจนใช่ไหมคะ ..
พ่อครูว่า…ถูกต้อง สรุปได้ดี มีวรรณะ 9 ได้ดีได้ถูกต้องชัดเจนเป็นคนเลี้ยงง่ายบำรุงง่ายเป็นคนกล้าจน ใจพอ ศีลเคร่ง อาการกาย วาจา ใจ น่าเลื่อมใส ไปเรื่อยๆ จบด้วยไม่สะสมยอดขยัน เป็นทรัพย์อันยิ่งของมนุษย์เป็นผู้ขยันเสมอขี้เกียจไม่เป็น แต่ก็ไม่ขยันจนเกินรู้จักพักรู้จักเพียร ไม่ใช่ไม่รู้จักพัก ไม่รู้จักพอ ก็จะทำให้เสียสุขภาพ แม้แต่การประพฤติอยู่กับสังคม
๑.การทานกับการให้แตกต่างกันอย่างไร การทานกับการให้ มันไม่แตกต่างกันหรอก การให้คือเอาออกจากตัวเองให้ผู้อื่นไป ทางรูปธรรมง่ายๆมีของ เช่น เรามีก้อนทองคำเท่านี้ก็ให้เขาไป นั่นก็คือการให้ ก็คือการทาน บาลีคือ ทานัง ทานคือให้ ให้ผู้อื่น ถ้าทานคำนามคือการให้ ทีนี้การให้อย่างไม่มีตัวตนทำอย่างไร? อันนี้แหละ
ให้อย่างไม่มีตัวตน เป็นคำจบ ให้ไปก็คือ ให้ไปแล้วจิตของเราก็จบ ให้ก็จบแล้ว ไม่มีความหวังไม่มีภพชาติไม่มีอะไรต่อจากการให้ คุณต้องรู้จิตของตัวเองอาการของใจตัวเอง กำหนดหมายอาการใจโดยใช้สัญญากำหนดรู้ จิตของเราได้ให้ไปแล้วเช่นว่า เขาจะรู้จักบุญคุณเราไหมหนอมันก็เป็นภพแล้ว เขาจะจำบุญคุณเราได้ไหมหนอมันก็เป็นภพแล้ว ปฏิพัทจิตโต เริ่มมีจิตเนื่องต่อ
เสร็จแล้วต่อแล้วมันก็จำก็ใส่สภาวะเป็นตน การจำกับเป็นตน นี่แหละสัญญาเป็นตนหรือสัญญาไม่ใช่ตน การจำนี่เป็นสัญญา ถ้าจำเฉยๆ จำแล้วไม่ยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา จำได้ แต่ก็ไม่ได้ยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา จำเฉยๆ จำได้ แต่ไม่เคยไปยึดถือ ให้แล้วก็จบ ไม่ได้ไปคิดว่าเขาจะต้องรู้ว่าเราเป็นผู้มีบุญคุณรู้ว่าเราได้ให้ไปเท่าไหร่ เมื่อกี้นี้ได้ให้ทองคำไปเท่านี้แหละ ราคาไม่ใช่น้อย ให้ไปเมื่อ 50 ปีที่แล้วตอนนี้คิดราคาน่าจะเป็นล้าน ในราคาเมื่อก่อนน่าจะไม่เท่าไหร่ แต่เมื่อมาในยุคนี้ราคาต้องมากกว่าอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นการให้ต้องศูนย์ไม่มีตัวตนไม่มีอะไรต่อเนื่องเป็นเราเป็นของเรา
สู่แดนธรรม…อย่างโยมถวายอาหารให้สมณะแล้วตามไปเช็คดูว่าท่านสมณะฉันของฉันหรือไม่
พ่อครูว่า…มันก็ต้องมีตัวตนแน่นอนกินของฉันไหมอย่างนั้นมันมีตัวตน ต้องให้ไปเลย ท่านจะฉันหรือไม่ก็แล้วแต่ท่านท่านจะไปให้ใครต่อก็แล้วแต่ท่านอย่างนี้เป็นต้น
ถ้าการให้ของเราเป็นการให้ที่ผู้รับมีกิเลสเพิ่มขึ้นจะทำอย่างไร ? ถ้าทานของเรา ทำให้คนอื่นมีกิเลสมากขึ้นก็ต้องประมาณให้ดี รู้จักบุคคลรู้จักข้าวของรู้จักกาละเทศะ โดยเฉพาะมีอุบายเครื่องออก มีความเฉลียวฉลาดที่จะรู้ว่า คนนี้ถ้าให้เขามากไปเขาก็ขี้โลภ ถ้าให้เขาน้อยไปหน่อยให้เขาขววนขวายเองบ้าง เออ ดีนะ ถ้าให้มากเกินไปมันก็ขี้โลภไม่จบ ให้เขาขวนขวายหน่อย ถ้าเก่งกว่านั้นก็ให้เขาสำนึกรู้ตัวว่าเอาแต่เพียงพอดี เอาแต่เพียงพอเหมาะพอควรอย่าเอาเกิน ให้คิดเผื่อคนอื่น ให้เขามีจิตและรู้จักเผื่อแผ่ผู้อื่น รู้จักพอนั่นเอง ความพอสำหรับตนนั่นเองให้ได้ ถ้าผู้ใดประมาณความพอให้แก่ใครๆก็ได้ ตัวเองก็พอประมาณให้แก่ผู้อื่นได้คนนี้ก็พอ ก็สงบสบายหมดเลยเรียบร้อย
เรียนรู้คำว่า กาย ให้สัมมาทิฏฐิ
วิจัยคำว่า กายเบื้องต้นให้ฟังก่อน
คำว่า กาย ยิ่งใหญ่ ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบ พระพุทธเจ้าท่านมีวินัยสำหรับพระอุปัชฌาย์เมื่อบวชให้ก็จะต้องสอนคำว่าแยกกายแยกจิตให้แก่สัทธิวิหาริก สอนในตอนนั้นเลยตอนที่บวชได้ยิ่งดี ถ้ายังไม่มีโอกาสก็ต้องรีบพยายามสอนให้เขารู้ ไม่อย่างนั้นมันจะผิดพลาดไปหมด เพราะว่าการแยกกายแยกจิตไม่เป็นไม่มีทางรู้ความรู้สึกสุขแล้ว ยังลืมตาเป็นเป็น มีสติเต็มร้อยกระทบสัมผัสสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่จริง คือตามสมถะ แล้วจิตของคุณก็ไม่รู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกสุข ไม่มีเวทนา ผลักดูดไม่มี เฉยๆ แล้วก็รู้ความเฉยๆนี่เพราะเราทำด้วยปัญญาไม่ใช่เฉยๆเพราะสะกดจิต ที่เป็นแบบสมถะของฤาษีเดียรถีย์ต่างกันตรงนี้ คุณทำได้จิตของคุณก็รู้ว่าจิตของคุณเป็นพีชะแล้ว ก็เหลือแต่จะแยกให้มันเป็นอุตุ เป็นพีชะ ก็สบายแล้ว ไม่ทุกข์ไม่สุข ถ้าสุดท้ายเก่งจริงๆแยกได้ละเอียดถึงขั้นอนุสัยหรืออาสวะ คุณก็จะหมดเป็นอุตุไปได้
ถ้าคุณไม่มีความรู้เรื่องกายอย่างสัมมาทิฏฐิ และกายนั้น ต้องรู้หทยรูป รู้อาการจิตของตน เวลาปฏิบัติสัมผัสก็ต้องอ่านอย่างถูกต้อง ว่านี่คือเวทนานะ มันผลักมันดูดอย่างไร สัญญากำหนดหมายให้รู้ภายนอกภายใน แล้วก็ทำภายนอกนั่นแหละมาก่อน จนอยู่เหนือภายนอกทั้งหมดจนเหลืออรูปอัตตา คุณก็ลืมตาสัมผัสภายนอกอยู่นั่นแหละ แต่กิเลสมันหยาบกามจรมันหมดแล้ว เหลือแต่รูปาวจร อรูปาวจรดำเนินอยู่ในขั้นอรูป ต้องเรียนตอนอวจร ไม่ใช่ไปเรียนตอนมันดับสัมผัส ต้องอวจร คือดำเนินอยู่ในอว หรืออวกาศ หรือ ไม่มีอาการศึกษาไม่ได้
ต้องมีสัมมาทิฏฐิพ้นสังโยชน์ข้อ 1 เมื่อพ้นแล้ว ต้องเรียนศึกษาไปแล้วต้องมาเรียนการศึกษาศีลพรต พ้นอย่างไม่มีอาการลังเลสงสัยสมบูรณ์แบบ คนที่ยังไม่คมชัดจริงๆก็ยังจะไม่สมบูรณ์แบบหรอก ยังมีวิจิกิจฉาอยู่ในสังโยชน์ ยิ่งไปในวิจิกิจฉานุสัย ก็ยิ่งละเอียด
วิจิกิจฉาฯกับทิฏฐานุสัย ทิฏฐานนุสัยหยาบกว่า และวิจิกิจฉาเป็นตัวกลางเลย
อนุสัยต้น มี กามานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย และ ปลายมี มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
วันนี้ตั้งใจพูดเรื่องกาย
-
ต้องรู้กายอย่างสัมมาทิฏฐิ ก่อน ต้องรู้สัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิของผู้ที่เป็นอรหันต์แล้วตรงกันหมดไม่เป็น 2 กาย ถ้าเป็นพระอรหันต์ด้วยกันตรงกันหมด พวกที่อรห้อย อรเหิน อรหก อรเหว ต่างๆ จะต่างกันไปอีกเยอะ ต้องพระอรหันต์ที่สัมมาทิฏฐิตรงเป็นหลัก เพราะฉะนั้นมิจฉาทิฏฐิในคำว่า กาย มีเยอะเลยต่างกันได้เป็น 108
เมื่อพ้นมิจฉาทิฏฐิในคำว่ากายแล้ว พ้นมิจฉาทิฏฐิในคำว่าศีลพรต ในการปฏิบัติ
ในสัตตาวาส 9 วิญญาณฐีติ 7 คำกล่าวเดียวกัน ต้องทำจิตนิยามไม่มีกาย หากจิตนิยามไม่มีกายได้ก็พ้นทุกข์พ้นสุข นับว่าเป็นอรหันต์ได้ แม้ได้ด้วยแค่ปัญญาขณะกระทบสัมผัส คุณก็ไม่ทุกข์ไม่สุขแล้วในกระทบสัมผัส ยิ่งจิตเจโต เข้าใจแล้วจัดการกระบวนการจิตไม่มีสุขมีทุกข์ได้ในจิตเป็นอุภโตภาค ก็ยิ่งสมบูรณ์แบบ
เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นอรหันต์ระดับปัญญาวิมุติตายไปแล้วยังอยู่ในภพ สุทธาวาส 5 พระอรหันต์นี่แหละ ตายแล้วเจโตยังไม่ดับสนิทยังไม่สะอาดสมบูรณ์ จิตมันยังไม่สะอาดสมบูรณ์คุณรู้แล้วด้วยปัญญา ไม่กลับกำเริบแล้วด้วย (พ่อครูไอตัดออกด้วย) เพราะฉะนั้นอรหันต์ระดับปัญญาวิมุติจึงถือว่าสูญได้แล้ว ตายไปแล้วแม้จะตกอยู่ในภพภูมิอีก 5 อนาคามี 5 เป็นสัตว์ 5 ชนิด สัตว์ที่ยังหยาบอยู่ อวิหา หลงวิมาน อตัปปะหลงตัวตน สุทัสสา หลงความฉลาดสุทัสสีก็หลงความฉลาด(ลดลงไปได้อีก) อกนิฏฐา เหลือเล็กที่สุดน้อยที่สุดไม่เป็นน้องใคร เรียกว่ามีภูมิสูงกว่าเพื่อน สูงกว่าสุทัสสี สุทัสสา อตัปปา อวิหา
นี่คือสภาพของอาการของจิตที่เราค่อยๆเรียนรู้สภาวะแล้วเรียนรู้พยัญชนะไป ที่ท่านแปลมาอาตมาไม่ค่อยจะได้อ่าน อาตมาแปลตามสภาวะอาตมา
ท่านแปลกัน
สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
1) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
2) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
3) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
4) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
5) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)
ผู้หลงความรู้ว่าดีสุภะ หรือสุ น่ามีน่าได้น่าเป็นก็ไปยึดความรู้นั้น
สุทัสสี ก็มีทัศนะที่ดี สูงกว่าอันที่ 3 ละเอียดลึกซึ้งกว่า
อันที่ 5 อกนิฏฐา
พ่อครูเคยบอกว่าจะไม่ไปเกิดที่สุทธาวาส
พ่อครูว่า…ก็พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ไปเกิดในสุทธาวาส ท่านมีปรินิพพานเป็นปริโยสานเหมือนพวงมะม่วงหล่นจากขั้วแล้ว แตกกระจาย รวมตัวเป็นพวงมะม่วงเดิมไม่ได้แล้ว ท่านอธิบายให้หยาบ มีมะม่วงที่พวงนี้เป็นล้านลูก หล่นมากระจาย รวมเป็นพวงมะม่วงไม่ได้แล้ว
ถ้าปฏิบัติตามวิญญาณฐิติ 7 พ้นไปตามลำดับพ้นไปถึงขั้นที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ก็สบายแล้ว
ถ้าถึงขั้นที่ 6 ที่ 7 อธิบายปลายก่อน
ขั้นที่ 7 เป็นขั้นที่จบเลย อากิญจัญญายตนะ
อากิญจัญญายตนะเป็นอย่างไร ผู้ที่สามารถสิ้นอากิญจัญญายตนะในฌานของเราเผากิเลสให้เกลี้ยง ที่ตั้งของเรา ตากระทบแล้วก็รู้ว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นมาจากอันนี้เหตุจากมะม่วงจากดอกแค เราก็เกิดอาการอยู่ที่จิตปรุงแต่งชอบหรือไม่ชอบอยากได้หรือไม่อยากได้คุณก็ต้องรู้ตัว ชังหรือชอบ อะไรอย่างนี้ คุณอ่านจิตได้ว่ากลางไม่มีอันตา ไม่มีปลายของขั้วชอบหรือไม่ชอบ อันตา แปลว่าปลายส่วนเหลือข้าง ไม่มีเลยอันตาไม่มีฝ่ายไม่มีข้างใดอย่างนี้เป็นต้น เป็นผู้รู้อาการของจิตอย่างละเอียดดีเมื่อไม่มีแล้วคุณก็จบได้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ 7
เคยอธิบายแล้วว่าผู้ที่ปฏิบัติอย่างสัมมาทิฏฐิบริบูรณ์ตั้งแต่ 1 2 3 4 5 6 7 จบเลย เพราะผู้นี้ไม่มี
ข้อ 1 ไม่ไปหลงอยู่ไหน อสัญญีสัตว์
ข้อ 2 มีสัมมาทิฏฐิที่ครบถ้วนบริบูรณ์ สามารถมีสัญญาณกำหนดแม่นในอะไรต่างๆใน นานาสัญญา แม่นเพราะไม่มีเนวสัญญา เป็นสัญญาภาคเศธกึ่งๆกลาง แต่สัญญาคมชัดแม่นตรงเด็ดเดี่ยวชัดเจน เพราะฉะนั้นจึงปฏิบัติสัมมาทิฏฐิเรียงลำดับมาอย่างน่าอัศจรรย์ละเอียดลออ คุณก็บรรลุเหมือนฝั่งทะเลราบเรียบมาไม่มีอะไรสะดุด ครบ 7 ขั้นสบาย
อสัญญีสัตว์เราไม่ไปหลงทำ เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นเดียรถีที่นั่งหลับตากันทั้งหลายแลนั้นคือปฏิบัติวิธีดับสัญญาคุณแยกธาตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คุณแยกไม่ออก แม้แต่จะต้องเรียนให้ครบสูตร ท่านอธิบายวิธีอุบายเครื่องออกคือเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนาม 5 คุณก็เรียนไม่ได้คุณก็ไม่รู้พูดไม่ถูก โดยเฉพาะ ผัสสะไม่เอาเลย เมื่อผัสสะไม่เอามนสิการก็ไม่มีทำไม่ได้ เวทนา เจตนา คุณหมดสิทธิ์ที่จะรู้เจตนา
เจตนาเป็นตัวกรรมตัวการว่าเจตนามันยังเป็น กาม ดับกามแล้วมีเจตนาที่ ภวภพ ดับรูปภพได้แล้วยังเหลืออรูปภพ หมดอรูปภพ จึงหมดเจตนา 3 กามภพ ภวภพ หมดแล้วทัง้รูป อรูป จึงเป็นวิภวภพ ไม่มีภพแล้ว แต่คนยังไม่ตายก็มีสิ่งอาศัยเป็นภพชาติอยู่คุณก็รู้ว่ามันเป็นเพียงสิ่งที่เพียงเพื่ออาศัยทำประโยชน์คุณค่า คุณรู้คุณรู้โทษก็อยู่ไปแล้วคุณจะดับเมื่อไหร่ก็ดับได้ ดับได้อย่างถูกต้องจริงจังคุณก็เป็นอรหันต์จริงตายแล้วไม่มีนิมิตไม่ตั้งจิตอีก อนิมิต อปณิหิต ตายด้วยสุญญตนิพพาน อปณิหิตนิพพาน สุญญตนิพพาน คุณก็ดับสูญสลายหมด
ทวนอีก 1. คุณต้องรู้ว่ากายนี้สำคัญที่สุด ถ้าคุณทำจิตของคุณให้ไม่เป็นกายได้ เมื่อนั้นคุณพ้นทุกข์พ้นสุข เมื่อนั้นคุณถือว่าอยู่นิพพานใกล้นิพพาน กำลังเข้าหานิพพาน ถ้าคุณสามารถทำได้ขนาดอย่างที่ว่านั้น
ถ้าคุณยังไม่เข้าใจเรื่องกาย มิจฉาทิฏฐิคำว่ากายไปตั้งแต่ต้นเลย เช่น เข้าใจว่ากายคือวัตถุเท่านั้นไม่มีจิตเกี่ยวข้องเลย คนนี้ปิดประตูนิพพาน ที่เข้าใจว่ากายไม่มีจิตเลย กายคือวัตถุดินน้ำไฟลมคนอย่างนี้มีเยอะไหม คนที่ไม่สัมมาทิฏฐิทั้งหลายแหล่แม้แต่นั่งหลับตาเอา แม้แต่เรียนจบเปรียญ 9 จบด็อกเตอร์ 10 ใบทางศาสนาพุทธก็ตาม จะไปจบ ฮาร์เวิร์ด stanford อะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ว่าอาตมาไปดูถูก แต่อาตมาเชื่อว่าถ้าพวกใดก็แล้วแต่ที่เป็นอาจารย์สอนศาสนาต่างๆเหล่านั้น ศาสนาพุทธนั่นแหละอยู่ในมหาวิทยาลัยของเขาต่างๆถ้าเขาเป็นอาริยะแม้แต่แค่พระโสดาบันเขาจะเข้ามาเมืองไทย เพราะที่นี่เป็นชมพูทวีป มีมิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดี มีบุคคลดีมีธรรมะดีมีเครื่องอาศัยดีที่พร้อมจะทำให้เขาเป็นอะไรได้เขาจะรู้เลยเขาจะไปอยู่ไปทำไมอยู่ไปสอนแค่รู้ตัวเองก็ยังไม่บรรลุ เขาต้องการสอนโดยที่ตัวเองไม่บรรลุหรือ อาจารย์ไหนก็อยากจะเป็นผู้บรรลุแล้วมาสอนเขาทั้งนั้นแหละ มีแต่อาจารย์เสล่อไม่ต้องการบรรลุเช่นพวกมหายาน เพราะไปเข้าใจว่าบรรลุแล้วจะต้องตายสูญ เถรวาทเข้าใจว่าเป็นอรหันต์ตายแล้วต้องสูญ เป็นชาติสุดท้ายแล้วชาตินี้ นี่คือมิจฉาทิฐิอย่างสำคัญเลย
เพราะฉะนั้นที่อาตมาอธิบาย ถ้าอาจารย์สอนพุทธศาสนาต่างประเทศเขาอยากบรรลุเขามีสัมมาทิฏฐิ เขาจะรีบมาเมืองไทย ดีไม่ดีเขาจะรีบหาโพธิรักษ์ ถ้าเขาสัมมาทิฏฐิจริงๆเขาจะรู้ว่าสัตบุรุษอยู่ที่ไหนต้องเข้าพบและนั่งใกล้ เงี่ยโสตสดับ ฟังธรรมอย่างบริบูรณ์แล้วจึงได้มีศรัทธาบริบูรณ์ แล้วถึงจึงไปทำโยนิโสมนสิการที่บริบูรณ์ได้ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมอย่างบริบูรณ์คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ศรัทธาก็จะไม่บริบูรณ์การทำใจในใจก็ย่อมไม่บริบูรณ์
-
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ . .
-
การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์
-
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการโดยแยบคายให้บริบูรณ์
-
การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่จะรู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา
-
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
-
ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต 3 บริบูรณ์ คือ กาย วาจา ใจ เลิกทำการงานทุจริต
-
สุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์
-
สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ .
-
โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุติ บริบูรณ์ (อวิชชาสูตร พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 61)
กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติ 3 ข้อแรก
วิญญาณฐีติ 7
ข้อที่ 1 ถ้าเข้าใจคำว่ากายต่างไปจากผู้สัมมาทิฏฐิ เข้าใจผิดหรือสัญญากำหนดผิดต่างไปจากผู้ที่สัมมา ฉะนั้นพวกนี้ก็จะเห็นความเป็นมนุษย์ก็ดี เห็นพวกเป็นเทวดาก็ดี เห็นเป็นสัตว์นรกก็ดี ต่างกัน เห็นต่างกัน นี่แหละตาไปกระทบมนุษย์ด้วยกัน ที่จริงเป็นสัตว์นรกเป็นเทวดาก็อยู่ในมนุษย์นี่แหละ ร่างกายมีจิตอันแยกไม่ออก ทำงานอยู่ด้วยกัน เมื่อมันปรุงแต่งเป็นความต่ำ ความบาป ความอกุศล มันก็เป็นสัตว์นรก ถ้ามันปรุงแต่งเป็นกุศลมันก็ดี ก็เป็นเทวดา
แต่แม้เป็นเทวดาแล้วยังแยกเป็นสองเทวะ ถ้าโลกีย์ก็ดีอยู่แค่ในสมมุติเท่านั้นเอง
ไม่ได้เป็นโลกุตระไม่ได้เป็นปรมัตถสัจจะ คุณก็ดีสะสมดี จนได้เป็นศาสดาองค์ใดองค์หนึ่ง แต่จะได้เป็นศาสดาสมัยที่สองนั้นยากมาก เพราะศาสดาของเทวนิยมนั้นแข่งกันไม่ห่างกัน ชิงตำแหน่งกันจะได้เป็นแชมป์ 2 สมัยนั้นยากมาก ส่วนมากก็ได้เป็นสมัยเดียวแล้วก็เสื่อมลงคนอื่นก็ขึ้นมาแทนหมุนเวียนกันอยู่อย่างนั้นเพราะเขาไม่รู้จักจิตไม่รู้จักกรรมวิบาก ไม่ได้เรียนรู้รายละเอียดอย่างละเอียดลออเหมือนของพุทธ ในจิตเจตสิกรูปนิพพานอย่างละเอียดลออ แยกอาการ ลิงค นิมิต โดยได้ฟังธรรมอย่างบริบูรณ์ แยกอาการกับนิมิตต่างๆของอาการจิตในจิตตั้งแต่ พัฒนาในเวทนาจิต จิตในจิต
แค่แยกโลกุตระกับโลกียเบื้องต้นเขาก็แยกไม่ออกเพราะเขาไม่รู้จักโลกุตระ กายของเขาเป็นโลกิยะการกำหนดของเขาก็ยังเป็นโลกิยะทางกายทั้งสัญญา เขาแยกเป็นโลกุตระไม่ออก พูดไปแล้วก็นึกถึงศิลปินแห่งชาติ ที่ไปดูเราแสดงศิลปะโลกุตระแล้วเขาก็อุทานว่าศิลปะมีโลกุตระด้วยหรือ นี่น่าสงสาร เรียนพยัญชนะ แต่งกวีเก่ง เอาพยัญชนะมาร้อยเรียงเก่งแต่เข้าถึงสภาวะธรรมโลกุตระไม่ได้แยกไม่ออกไม่รู้เรื่อง น่าสงสาร
ฉะนั้นในเรื่องของ กายกับสัญญา 2 อันนี้ถ้าไม่คมแม่นชัดคุณไม่พ้นความเป็นสัตว์ สัตตาวาส 9
ยิ่งไปนั่งสะกดจิตดับสัญญาเป็นอสัญญีสัตว์ ปิดประตูนิพพาน ปิดเลย แม้สัตว์ข้อที่ 1 กายต่างกันสัญญาต่างกัน คุณก็กายต่างกับสัมมาทิฏฐิ สัญญาก็ต่างกับสัมมาทิฏฐิคุณก็เป็นสัตว์สารพัดสัตว์พระพุทธเจ้าย่นย่อไว้ทั้ง 9 สัตว์คุณก็เป็นได้ทั้ง 9 สัตว์ปนกันอยู่อย่างนี้ซับซ้อน
ถ้าคุณสามารถเริ่มกำหนดได้ว่า ถ้าสัญญากำหนดหมายจิตให้เป็นจิตพรหม ให้เป็นจิตไม่มีนิวรณ์ไม่มีกาม ไม่มีปฏิฆะ ไม่มีถีนมิทธะ ไม่มีอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่มีวิจิกิจฉาฯ คุณทำจิตให้ไม่มีนิวรณ์ 5 ได้คุณก็พ้นความเป็นสัตว์ในข้อ 2
ทีนี้ผู้ที่มิจฉาทิฏฐิเขาก็ทำได้เหมือนกัน จึงเรียกว่ามีสัญญาอย่างเดียวกัน แต่กายต่างกัน เห็นไหม สัตตาวาสข้อที่ 2 หรือมิจฉาทิฏฐิข้อที่ 2 กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน
สัญญาว่าไม่มีนิวรณ์ 5 เขาหลับตาสะกดจิตก็ไม่มีนิวรณ์ 5 ได้ ลืมตาไม่ต้องสะกดจิตไม่มีนิวรณ์ก็สมบูรณ์แบบกว่าแต่ไม่มีนิวรณ์เหมือนกันสัญญาตรงกันแต่ก็กายต่างกัน คนหนึ่งตาเห็นอะไรทั้งหมดแต่ก็ไม่มีนิวรณ์อีกคนนึงอยู่ในที่มืดจะต้องสะกด หรือแม้แต่จะลืมตาสะกดจิตเรียกว่าสะกดจิตได้แบบลืมตา คุณก็ลืมตาสะกดได้ไม่ให้มีนิวรณ์ได้ เก่งได้ด้วยนะ พวกที่รู้นิ่งเฉยๆ นิ่งนะ ฝึกแคล่วคล่องเหมือนกันนะนิ่ง แต่ไม่ได้รู้จักตัวกิเลสอาการกิเลสอย่างไร สร้างพลังงานปัญญา พลังฌาน มาสลายกิเลสไปด้วยความรู้มาล้มล้างความยึดติด ไม่ใช่ไม่รู้เรื่อง ทำไม่เป็น เป็นสมถะเหมือนกันแต่เป็นสมถะแบบลืมตา
เพราะฉะนั้นอันที่ 2 ก็ยังมีนัยยะซ้อนต่างกันอยู่ว่า คุณทำให้ไม่มีนิวรณ์ได้แต่ก็เป็นมิจฉาทิฐิอยู่บ้างเพราะฉะนั้นต้องทำอย่างสัมมาทิฏฐิลืมตาอ่านทุกอย่าง ไม่มีนิวรณ์ อย่างลืมตาต้องโต้งๆ กามเป็นอย่างนี้ พยายาทเป็นอย่างนี้ ถีนมิทธะ มันไม่เต็ม100 หรือว่ามันเกิน 100 ไป ไป 105 110 120 สติ 200 ก็เอาแค่ 100 พอ สติ 200 มันไม่ไหวแล้วพวกไฮเปอร์
สรุปแล้ววิญญาณฐีติอันที่ 2 หรือสัตตาวาสอันที่ 2 สัญญาอย่างเดียวกัน แต่กายต่างกันรูปนามต่างกัน
คุณหัดจำอย่างนี้
-
กายสัญญาต่างกัน 2. เอากายข้างนอกต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน 3. กายต่างกันสัญญาต่างกัน ข้อที่ 4. กายอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน
อันที่ 3 สัตว์มีกายอย่างเดียวกันแต่สัญญาต่างกัน เช่นพวกที่เป็นเทพอภัสรา ตกลงความใส ใสสว่างลืมตาก็สว่างหลับตาก็สว่าง ก็หลับตามันก็มืดจะไปสว่างได้อย่างไร ไม่มีแสงอาทิตย์ อาโลก คุณก็ไปทำนิมิตสร้างแสงภายใน คุณก็ได้กายของคุณใหม่ กายของคุณได้แสงสีม่วงก็หลับตาไปเห็นแสงสีม่วง เห็นแสงสีเขียว เห็นแสงสีใส แล้วยังเล่นความใกล้ความไกล เล่นการขยายออกเล็กขยายให้โต ได้เยอะแยะพวกพระกรรมฐานเขาพูดกัน อย่างสู่แดนธรรมเคยเรียนกรรมฐานมาหลายอาจารย์ก็จะเล่นกันอย่างนั้น เขาเรียกฌานกีฬา เล่นอยู่อย่างนั้น พวกฌานโลกียบุคคล จะเป็นอย่างนั้นแต่จะเป็น ฌาน อย่างมิจฉาทิฏฐิ อุปทานทั้งนั้น
พวกที่มีกายอย่างเดียวกันสัญญาต่างกัน อย่างพวกอาภัสรา พวกติดแสงสว่างพวกใส ใส ก็แปลว่าสะอาด แต่ไม่ได้สะอาดจากกิเลส คุณไปติดแค่อาการใสสว่างของจิตใส มันก็เป็นรูปชนิดหนึ่งเป็นตัวตนชนิดหนึ่งที่คุณปั้นมายึดตัวตนอันนั้น ลืมตาก็ใสหลับตาก็ใส พวกลัทธิธรรมกายเล่นอภัสรากันทั้งนั้น ลืมตาก็ใสหลับตาก็ใส แล้วก็ไปกำหนดใสอย่างนี้เป็นพระโสดาบัน ใสอันนี้เป็นพระสกิทาคามี ใสอันนี้เป็นของพระอนาคามี ใสอันนี้เป็นของพระอรหันต์ก็กำหนดของใครของมันเอง เป็นนิรมาณกาย กายปั้นรูปนั้นมาเอง ตามเรื่อง นี่พวกใส
กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 4
อันที่ 4 เป็นพวกมืด สัตว์มีกายอย่างเดียวกันสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพชั้นสุภกิณหา สุภะ คือน่าได้น่ามีน่าเป็น กิณหะคือความมืดความดำ
ความมืดความดำที่จริงมันไม่ใช่ความดับสนิทของกิเลส แต่มันดับสะกดจิต เพราะฉะนั้นคำว่า “ดับ” ก็รู้ความต่างกันตรงที่ว่า ดับแบบสะกดจิตกับดับเพราะเผากิเลสให้จางคลายจนหายเกลี้ยงไม่เหลือกิเลส อันนั้นดับสนิทอย่างชัดเจน ไอ้ดับยังไม่มีอาการนิวรณ์ เขาก็ดับได้อย่างสะกดจิตเอาเก่งกันได้นาน เป็นอาฬารดาบส อุทกดาบสไป เป็นฌาน 7 ฌาน 8
เพราะฉะนั้นต้องรู้จักสภาวะของ กาย ที่ว่ามืดหรือดำ ผู้ที่สัมมาทิฏฐิก็รู้ว่าพวกที่หลงความมืดความดำโดยทำความมืดความดำแล้วหลงว่าเป็นภพนิโรธ หลงว่าเป็นภพดับ หลงว่าตัวเองทำกิเลสดับที่จริงมันแค่มืดดำ ผู้ที่มีปัญญาชัดเจนก็จะรู้ว่าพวกนี้เขายินดีในภพมืดดำที่เขาได้ ทำได้เขาก็ยินดีของเขา
ส่วนพวกสัมมาทิฏฐิก็รู้ว่าความมืดความดำเป็นสภาพธาตุรู้ที่เรารู้ว่า ถ้ามันไม่มีแสงสว่าง ไม่มีอาโลก ก็ไม่ต้องมีอุปาทานข้างในหลับตาเข้าไปมันก็มืด ตอนนี้ที่นี่ ถ้าไม่มีแสงสว่างเป็นกลางคืนมืดๆ
ส่วนวิญญาณที่ล่องลอยเป็นวิญญาณสัมภเวสี ไม่มีที่ตั้งที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสบริภาษพระภิกษุสาติ
ต้องมาอยู่กับที่มีตากระทบรูป หูกระทบเสียง ฯ มีแสงสว่าง มีสติเต็ม อยู่ตรงกันหมดใครที่มีสติเต็มกำหนดรู้เหมือนกันหมดเลย เช่น มะม่วงลูกนี้รูปร่างเป็นอย่างนี้มันก็มีสีหลายสีรวมกัน อย่างเช่น มะม่วงลูกนี้ถ้าคนที่สัมผัสแล้วก็ไปคิดต่ออีกว่าเนื้อมันจะหวานอร่อยไหมหนอ ก็มีอะไรที่ติดยึดในรสชาติต่างๆนานา
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สู่แดนธรรม…แม้เราจะมาเรียนรู้อย่างลืมตา แต่เราต้องไปเรียนรู้สิกขา 3 รู้ ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ รู้คุณรู้โทษรู้อุบายเครื่องออกในคุณและโทษนั้น
พ่อครูว่า…ข้อที่ 4 สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ
ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
คนที่หลงความมืดความดำเป็นภพชาติเก่าก็ต้องมีภพชาติ แต่ถ้าเขาสัมมาทิฏฐิตรงกับพระอรหันต์แล้วเขาก็จะรู้ว่า ภพ ก็เป็นที่อาศัยเฉยๆ ถ้าจะภพมืดดำก็มืดดำ ภพอาภัสราก็สว่าง ไม่ได้หลงผิดไปจากความมืดและสว่างแต่อย่างใด แต่ถ้าไปหลงผิดว่าความมืดคือนิโรธ มืดนี่แหละคือนิโรธมืด นี่แหละคือจิตดับจากกิเลส อันนี้แหละสัญญาวิปลาส กำหนดผิดแน่นอนมีทิฐิผิดแน่นอนมีจิตที่วิปลาสแน่นอนในวิปลาส 3 จิตไปใหญ่เลยเป็นโรคจิตอย่างสำคัญเป็นโรคอวิชชา จิตวิปลาสเป็นโรคจิต ไม่ถึงขั้นโรคจิตแต่ความเห็นความเข้าใจยังไม่วิปลาสยังพอแก้ แม้ทิฏฐิวิปลาสก็แก้ได้แล้ว แต่สัญญาบางครั้งบางคราวก็กำหนดพลาด โพธิรักษ์ก็ยังมี แต่ไม่ได้เป็นคนจิตวิปลาส แต่สัญญาวิปลาส
สู่แดนธรรมว่า…พ่อครูไม่ได้มีสัญญาวิปลาสตามพระพุทธเจ้าหมายแต่เป็นสัญญาวิปลาสตามที่ใครๆเขาก็มี
พ่อครูว่า…ไม่ได้มิจฉาวิปลาส แต่เป็นวิปลาสเป็นครั้งคราวที่มันกำหนดผิดได้ สำคัญมั่นหมายผิด จะพูดอันนี้แต่ไปพูดอีกอันหนึ่ง มันสลับไปสลับมาได้ โดยพยัญชนะกับสภาวะสลับกันนิดหน่อย ไม่ตรงกันทีเดียว
เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นสัมมาทิฐิต้องเอาสัมมาทิฏฐิเป็นหลัก ใครต่างจากสัมมาทิฏฐิก็จะเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกายต่างกัน สัญญาต่างกันกับสัมมาทิฏฐิ คุณผิด
กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 5
-
ผู้ที่พ้นเรียกว่า สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
ก็ขออธิบายพยัญชนะที่เป็นบาลีอากาสานัญจายตะ ก็คืออากาศ อากาศหาที่สุดมิได้ ก็หมายความว่าสภาพของความว่าอากาศคือความว่าง อา หรือ อว จริงๆแล้ว นัยยะที่ลึกซึ้ง อว ยังมีสภาวะ ถ้า อา แล้วไม่มีสภาวะยิ่งกว่า อว
อากาศ กับ อวกาศ คือ ความควบแน่นของอากาศต่างกัน แต่นี่เอาอาการของจิต อาจร ไม่เอา อจร เดี๋ยวจะอาเจียน อากาสาฯคือไม่มีสภาพที่มันมีเศษธุลีละอองของกิเลสหยาบ ละเอียด ไม่มี เพราะว่า ล่วงรูปสัญญา เพราะรูปที่คุณไปกำหนดรู้ก็ดี ดับปฏิฆสัญญา แม้รูปไปกระทบแล้ว กามก็ไม่มี ปฏิฆะก็ไม่มี
คำว่าไม่ใส่ใจ คือ อมนสิการ ไปแปลว่าไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ มันก็เลยเป็นแบบ เด๋อๆ ที่จริง อมนสิการคือไม่ได้ทำใจในใจ ไม่ได้ฝึกฝน แต่ผู้ที่ฝึกฝนแล้วจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จบแล้ว ก็ไม่ต้องฝึกฝนอีก จึงเรียกว่าไม่ต้องทำใจในใจอีก อมนสิการ เป็นผู้ที่จบกิจแล้วไม่ต้องทำใจในใจอีก ใจในใจทำเป็นทำคล่องทำเรียบร้อยมี ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา มีอะไรมากระทบกระแทกก็ไม่เกิดกิเลส จิตมุทุธาตุ จนมีบารมี จนมีราศีรังสี จนกิเลสเข้ารอหน้าไม่ติด มีบารมี มีฉัพพันธรังษี รังสีทั้งตาหูจมูกลิ้นกายใจ 6 ทวาร มีราศี รังสี ที่เป็นกำแเพง อันไร้สภาพ ไม่ให้เจ้ากิเลสเข้ามาใกล้ มีพวกนี้เป็น barrier เป็น buffe กันได้อย่างยาวไกลแข็งแรงเลย กิเลสรอหน้าไม่ติด
สู่แดนธรรม…ที่ว่าล่วงพ้น ไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญา หลุดพ้น (สมติกมะ)
นานัตตะ คือ ความต่างกันของสัญญา ไม่ต้องไปทำใจในใจในสัญญาใดๆแล้ว
พ่อครูว่า…คำว่าไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา ภาษาบาลีคือ อมนิสการ แต่เขาไปแปลว่า ไม่ใส่ใจ ถึงนาสัตตสัญญา คืออัตตาต่างๆ สัญญากำหนดอัตตาต่างๆอย่างถ่องแท้ เรียก โยนิโสฯไม่ใช่ว่าไม่ใส่ใจ (อโยนิโสฯ)
การไม่ใส่ใจเป็นสมถะวิธีชนิดหนึ่ง หลุดได้เหมือนกันแต่ไม่ได้ไปดับกิเลส ต้องกำหนดรู้กิเลสๆ อัตตาต่างๆให้ถ่องแท้โยนิโสฯ อโยนิโสฯแปลว่าไม่ถ่องแท้ ไม่เอา ไม่ทำใจในใจไม่เอา ไม่ถ่องแท้ไม่เอา แต่เอาโยนิโสฯมนสิฯเลยทำใจในใจ กำหนดหมายกิเลสตายกิเลสสูญไม่เกิดอีกเลยเป็นขี้เถ้าแล้ว กำหนดหมายทำกิเลสให้ดับ กิเลสตาย กิเลสสูญ
สรุปแล้วข้อ 4 นี้หมดข้อ 5 เป็นอากาศ
กายกับสัญญาในวิญญาณฐิติข้อที่ 6
-
สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด