640503_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ อรหันต์ตีตราด้วยปัญญา 8 ประการ
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1wKtcfBBM689sQRS4bRomaKZnclIqBclp5x5EAfWbZIU/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1-0WB7fTx0eOaCeZD789JTYAWlC2A_3gt/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/1NAJpHeJ5p8
ตีตา-ตีตรา-ตรีตา เป็นเช่นไร
พ่อครูว่า…วันนี้วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก
วันนี้อยากจะไขความหรือพูดเรื่องหนึ่ง มีคำอยู่ 2 คำ
คำว่า “ตีตรา” กับคำว่า “ตีตา”
“ตีตรา” คือ stamp ส่วน “ตีตา” นี่คือ ตีให้ตาแตกตายเลย ถ้าตีบนต้นตาลก็ตกต้นตาลตำตูดตาย ภาษาไทยนี่สนุกนะมีแง่มุม มีสัมผัส
ตีตรา คือ ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น ผู้ที่มืดบอดสนิท ไม่เปลี่ยนแปลงเป็น 1 อย่างไม่โงหูโงหัว เป็น 1 อย่างโง่เง่างมงาย พวกนี้นี่ไม่เปลี่ยนแปลง ก็ต้องขออภัยอย่างพวกเทวนิยม เป็นหนึ่งเดียวไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนใหญ่ของมนุษย์โลก
มนุษย์โลกจะฉลาดถึงขั้นมีปัญญามีโลกุตระนี้มันน้อย เป็นขั้นพิเศษจริงๆเป็นขั้นเจริญพิเศษ ไม่ใช่แกล้งพูด ไม่ใช่มานั่งยกยอเล่น ไม่ใช่มาเบ่งข่มผู้อื่น แต่เป็นเรื่องจริง เป็นสัจจะในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตรัสรู้ความสุดยอดอันนี้ของความเป็นสัตว์โลก ตั้งแต่เป็นจิตนิยามมาเป็นสัตว์โลก
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อันนี้อย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ จนสามารถที่จะจัดการกับความเป็นชีวะ จัดการความเป็นสัตว์ของท่าน สลายหายไปหมดเลย แล้วท่านก็สอนเรื่องสัตตาวาส 9 ตั้งแต่สัตว์ข้อที่ 1 ซึ่งมีกายต่างกันสัญญาต่างกัน มันจะเห็นแตกต่างกันหมดเลยสัตว์ ตั้งแต่สัตว์มนุษย์ สัตว์เดรัจฉานที่เป็นเนื้อเป็นหนังเป็นตัวเป็นตนนี่แหละ แตกต่างกันไปอีกเยอะแยะมากเลยตั้งแต่ไวรัส สัตว์เล็กสัตว์น้อยสัตว์เซลล์เดียว 2 เซลล์ 500 เซลล์จนกระทั่งถึงเป็นล้านเซลล์ มาเป็นมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีชีวะ มีชีวิตเกิดด้วยการปรุงแต่งของดินน้ำไฟลม แล้วมาเกิดเป็นสัตว์ ซึ่งต่างจากพืช เป็นพลังงานปรุงแต่งกันอยู่ ตั้งแต่อุตุดินน้ำไฟลมปรุงแต่งกันตั้งแต่ 2 ธาตุ ออกซิเจนกับไฮโดรเจนปรุงแต่งเป็นน้ำเป็นต้น เคมีเรียนกันมาเยอะแยะผสมส่วนกัน หรือทางฟิสิกส์ก็เป็นความร้อนแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้าปรุงแต่งกันอยู่ในสภาพที่ไม่มีตัวตน เป็นอรูป ความรู้เรื่องความร้อนแสงเสียงแม่เหล็กไฟฟ้าเดี๋ยวนี้ก็เอามาใช้กันเยอะ ใช้งานมาก
เรื่องพลังงานทางอุตุ ก็ต้องรู้ต้องใช้ พลังงานทางจิต พลังงานทางนามธรรม พลังงานทางชีวะก่อน ก็ต้องพอรู้ รู้ไปจนถึงขั้นเราเรียกสภาพนั้นว่าสุขภาพ อนามัย อะไรก็แล้วแต่ เราก็ต้องเข้าใจแล้วจัดสรรสุขภาพอนามัย ปรับชีวิตไปให้ได้สัดส่วนอย่างดีก็ต้องทำด้วยอย่ง 8 อ. อาตมาทำทางด้านสรีระ
ทางด้านนามธรรม อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสรู้พิเศษกว่าชาวโลก เพราะมันละเอียด ไม่มีรูป มันเป็นความรู้สึกเป็นนามธรรม ท่านแยกไว้เลยว่าเวทนา สัญญา สังขาร รวมเรียกว่าวิญญาณเป็นธาตุรู้ ซึ่งจะต้องมีรูปเป็นคู่ ที่กระทบสัมผัสกันแล้วเกิดการรู้ เกิดเวทนา สัญญา สังขาร แล้วก็รวมตัวกันเรียกเต็มๆว่า วิญญาณ
เพราะฉะนั้น 3 เส้า เวทนา สัญญา สังขาร จึงเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งที่จะต้องรู้อาการของสภาพพวกนี้ที่ใช้งาน สุดท้ายที่ท่านใช้งานจริงจบ ก็เป็น 3 เส้า ตรีนี่แหละ หรือติ ก็ 3
ปรุงแต่งกันเป็นสภาพสองตัว เป็นพลังงานทั่วไปตั้งแต่วัตถุทุกอย่างต้องมีรูปกับนามมีบวกกับลบ มีคู่ เพศชายหญิงหรืออิตถีภาวะ ปุริสภาวะ ทำงานร่วมกัน
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในเรื่องทุกอย่างที่โลกเขารู้ท่านก็รู้กับโลกทั้งหมด รู้ร่วมกับเขาได้ตรงกันถูกต้องตามที่(พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
สู่แดนธรรม…ในคำว่า ตีตรา มีทิฏฐิที่ยึดมั่นถือมั่นแล้วสามารถเอามาใช้ ตีตรา ในทางที่สัมมาทิฏฐิได้หรือไม่
พ่อครูว่า…ได้ เป็นสัจจะที่เป็นอย่างเดียว ไม่ต้องดิ้นเลย ก็ตีตราตรงที่เป็นอรหันต์ตรงกันหมดอย่างเดียว แต่ถ้าไปแยกกันอยู่เลอะเทอะกันอยู่ จะไปตีตรากันได้อย่างไร แล้วไม่ยอมกันด้วยพวกนี้มีกิเลสอัตตามานะ แสตมป์กันคนละชาติ
คำที่พูดกันนี้มันก็ไม่มีลงตัว แย้งกันได้หมด จะพูดกันไปพูดเรื่องจบเรื่องส่วนเรื่องเป็นอรหันต์ได้อย่างเดียวที่จะไม่ต้องต่อ นอกนั้นต่อกันได้หมด ขยายความด้วยลิ้นคารมพลิกแพลง ผู้ที่มีปฏิภาณมากซักซ้อมก็ยิ่งไปได้เยอะแยะ แล้วตัวเองก็เมาไม่รู้จักจบรวมที่ลงไม่ได้ เหมือนกับทุกวันนี้น่าสงสารพวกที่ศึกษามากๆรวมไม่ลง แม้แต่พวกเราอาตมาก็บอก พวกเราจะจบเป็นอรหันต์ได้ แต่สรุปไม่ลงมันรู้มาก จับสภาวะไม่จบ
คุณจบสภาวะของโสดาบันหมดเรื่องของอบาย คู่ไหนกลุ่มไหนเรื่องไหนของคุณก็จัดหมู่จัดหมวด อันนี้ตรงนี้หยาบต่ำตรงนี้ เราปิดประตูแล้วก็จบหลักสูตรแล้ว ตรวจเวทนาของเรามันมีอยู่ในโลกเต็มไปหมด ปิดหูปิดตาปิดทวารทั้ง 6 ก็ยังรู้ได้อีกเป็นทวารพิเศษ มันก็รู้ก็เห็นโลกมันแสดงจัดจ้านอย่างกับอะไรดี แรง นอกจากหลบหนีเข้าป่าเขาถ้ำไม่รับรู้เลย แต่ถ้าอยู่กับโลกกับสังคมก็ต้องรู้ แล้วต้องรับเป็น ต้องเรียน ต้องรับลูกเป็น อยู่กับเขาได้อย่างอยู่เหนือ อุตระ โลกุตระ อยู่เหนือโลกพวกนี้ได้
จะรู้ได้ต้องมีตาปัญญา ตาปัญญาก็สามารถรู้ด้วยตาเนื้อ ตาทิพย์ สามตา ตรีตา ตาเนื้อก็คือตาทั้งหลายแหล่ที่เขาใช้ลูกตาเห็น เขาเห็นอย่างไร เราก็เห็น ก็เข้าใจตรงกันกับเขาได้หมด เขาสมมุติอย่างไร เราก็สมมุติตรงกับเขาได้ เรียกว่า ตาเนื้อ
ตาทิพย์ เห็นพิเศษ ตาเนื้อเห็นอย่างนี้ยังมีตาทิพย์เห็นซ้อนอีก(พ่อครูไอตัดออกด้วย)
ตาทิพย์ซ้อนเป็นได้ทั้งมิจฉาและสัมมา เพราะเขาเล่นไสยศาสตร์ เล่นเดรัจฉานวิชา เล่นตาทิพย์แบบงมงายโลกีย์ เขาไม่เห็นก็เรียกว่า ซิกเซ้นอะไรของเขา เห็น ถูกไม่ถูกก็แล้วแต่บางทีถูกบางทีไม่ถูก ไอ้ที่ถูกก็พูดกันรู้เรื่อง ไอ้ที่ไม่ถูกก็โมเมไปเลยว่า พวกคุณไม่มีซิกเซ้น ไม่มีตาทิพย์ คุณไม่รู้หรอก มันเป็นเรื่องลึกลับเรื่องไกล เป็นเรื่องพิเศษ คนตาทิพย์จึงสามารถจะรู้ ไม่มีตาทิพย์ไม่รู้ไม่เห็น หนักเข้าก็สอนลงไปถึงขั้นมีเพื่อนพวกตาทิพย์ด้วยกันโมเมด้วยกัน พวกตาบอดพากันดูท้องฟ้าอันสวยงาม ตาบอดมาแต่กำเนิดทั้งนั้น ชวนกันไปเป็นหมู่เป็นพวกตาบอดหมู่ ชมท้องฟ้า เห็นท้องฟ้า พูดกันอย่างสอดคล้องกันเลยว่าเมฆก้อนนั้นสวยอย่างนั้นอย่างนี้ เออ พอไปด้วยกันด้วย ก็เดี๋ยวจะหาว่าเราตาบอด พูดอย่างไรก็คล้อยตามกันหมด พวกบอดด้วยกันก็โมเมด้วยกัน แล้วมันจะไปรู้เหรอ ทั้งหมู่เขาเห็นกันอย่างนั้นหมด ตัวเองก็เลยอ๋อด้วย ตัวเองก็บอด คนอื่นเขาเห็น คนตาบอดสอดตาเห็นอย่างนี้ ขออภัยนะคนตาบอดไม่ได้ไปว่าหรอก คนตาบอดเขามีกรรมวิบากก็น่าสงสาร แต่ก็ขอยืมมาใช้อธิบายสัจธรรมนี้หน่อยนึง
เพราะฉะนั้นตาทิพย์ก็ยังแย้งเป็นมิจฉาเป็นสัมมาได้ ตาเนื้อ พูดกันยืนยันที่ตาเนื้อ เห็นร่วมกันได้หมด
ส่วนตาปัญญาเป็นเรื่องพิเศษ คนที่มีปัญญาตรงกันก็เห็นร่วมกันได้หมด ส่วนคนไม่มีปัญญาตรงกัน ยังมีความเพี้ยนยังไม่ครบปัญญายังเป็นสัญญา ก็กำหนดหมายรู้ไปในสัญญา ท่านใช้ ส.เสือ เป็นเศษวรรค ส่วนปัญญา เป็นตัวอักษรในวรรค ครบเลย ตัวต้น หัวแถวของ ม ของจิต ตัว ป เป็นตัวรู้เต็ม ประสบ ประจักษ์ ประสิทธิ์ รู้หมด จบ
เพราะฉะนั้นปัญญาจึงเป็นความรู้ที่ เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเกิดมาไม่รู้กี่ล้านองค์แล้ว คำว่าปัญญานี้ พวกเฉโกโลกๆ เอาไปตีกิน เป็นความฉลาดเหมือนแบบเขามันก็เลยยากขึ้นมา โดยเฉพาะเมืองไทยเอามาจากภาษาบาลีด้วย ความรู้ละเอียดทางธรรมะก็มาจากรากเหง้าของ
ฐานพระพุทธเจ้าทางอินเดีย ก็เลยใช้ปัญญามาเป็นภาษาไทย เสร็จแล้วมันก็เพี้ยนก็เสื่อม
ปัญญาก็เลยกลายเป็น เฉโก เสื่อมมาจนสนิท คนเสื่อมจากความจริงไม่ใช่ศาสนาเสื่อมธรรมะเสื่อม แต่คนเสื่อมไปจากความจริง ผิดเพี้ยนไปจากความจริงแล้วไปยึดถือความไม่จริงไม่ตรง (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
ตัวสัญญา ใช้ ส.เสือเป็นเศษวรรค ย ร ล ว ส เป็นตัวที่ 5 ตัวที่ 5 นี้ เป็นครึ่งหนึ่งของ 9 มันจึงเป็นตัวกลางที่สำคัญ เป็นพลังงานเต็มของเศษวรรค พลังงานครึ่งเดียว (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
อาตมายังไม่เก่งอธิบายพยัญชนะ แต่พวกเราคงพอรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า พยัญชนะไม่ได้ตั้งมาเฉยๆแต่มันมีความหมายลึกซึ้งทั้งนั้นเลย บางตัวเอามาใช้น้อยบางตัวเอามาใช้มาก มันจึงครบสภาวะทั้งหมดในโลก ให้เราได้รู้ความหมายที่ใกล้เคียงกันที่สุด ทุกภาษา มีต้นทางแล้วขยายความออกไปบ้าง ตามแต่คนจะพลิกแพลงไป เช่น ภาษาอังกฤษคำว่าเบียร์ ภาษาญี่ปุ่นไปเป็นคำว่า เบียรุ เป็นต้น
ตรีตาด้วยปัญญา 8 ประการ
ทีนี้เมื่อกี้นี้ อธิบายถึงเรื่อง ตรีตา กับ ตีตรา แค่ 2 ตัวสลับกันแค่นี้ไม่ใช่ง่ายๆ ความหมายก็ไม่ง่ายทีเดียว
ตรีตา เรื่องตาปัญญา โลกุตรธรรม พูดเท่าไหร่เขาก็ยังไม่กระเตื้อง พูดเท่าไหร่ปัญญาเขาก็คือรู้อยู่ในกรอบนั้นออกมาเป็นตัวที่ 4 ไม่ได้ อยู่ไหน 1 2 3 เป็นวงวน ยังไม่มีตัวตนอัญ ญธาตุ โลกุตระ เขาจะยังไม่เกิดไม่ใช่ไปเสแสร้งไม่ได้ไปบังคับ แต่เขายังไม่มี อัญญธาตุ วันนี้เกิดก็จะไม่เกิดปัญญาได้มารู้โลกุตรธรรมไม่ได้ อาตมาถึงไขความตรงนี้ว่าคนคนแรกในศาสนาพุทธ ของพระสมณโคดมคืออัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งมีตำนานเลย อาตมาได้ขยายความอธิบายชี้จุดสำคัญให้ฟัง ถ้าไม่เข้าใจไม่มีสภาวะจะมาอธิบายอย่างอาตมาไม่ได้หรอก ทั้งที่มีในตำราก็เรียนกันมาทั้งนั้นว่ามีพระอัญญาโกณฑัญญะ อัญญาสิวตโภโกณฑัญโญ
พระพุทธเจ้าเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเมื่อเทศนาเสร็จโกณฑัญญะเข้าใจเลย มีสอง มีกาม กับ อัตตาเท่านั้นหรือ ในโลกนี้ มีสองตัวนี้เท่านั้น ก็ทะลุเลย ทะลุตัวแรก ขั้นแรกนะ เป็นโสดาบันเลย
พอเทศน์ อนัตตลักขณสูตร สูตรที่ 2 ปังเข้าไป เป็นอรหันต์เลย คุณไพศาล พืชมงคล บอกว่า ผมศึกษาจังอ่านจังทำไมไม่บรรลุโสดาบัน แล้วพระยสะ ฟังธรรมะ 2 กันก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ทำไม จะว่าไปทำไมล่ะ คุณยังไม่มีบารมีไม่ได้สะสมบารมีเหมือนเขา คุณจะทำอย่างไรก็ทำไปต่อ ทำใหม่ ก็มัย คือสำเร็จ ก็คุณยังไม่สำเร็จก็ไม ทำไม กับทำเสร็จมันต่างกัน คุณก็ไมไปเรื่อยๆ
ผู้ที่มีปัญญา ปัญญาที่อาตมาเอาปัญญา 8 มาขยายความก็ยังไม่ได้ขยายความให้ดีไปเรื่อยๆมันยังมีเรื่องอื่นอีกเยอะปูพื้นไปก่อน เพราะทั้ง 8 นี้ ถ้ามีพื้นดีแล้วอธิบายแต่ละข้อมาถึง 8 ข้อนี้ ไม่ต้องยาว ก็จะเข้าใจไปเลย มีลำดับอย่างนี้เอง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
อ๋อ ปัญญาแรกต้องได้ฟังจากสัตบุรุษผู้อยู่ในฐานะครู พอได้ยินได้ฟังก็จะตกใจ จะตื่นเต้นแล้วจะมีสำนึก จะละอายอย่างแรงกล้า เกรงกลัวอย่างแรงกล้า ว่า เราเคยประมาท เคยดูถูก แต่ก่อนทำเป็นไม่กลัว ทำเป็นไม่ละอายดูถูกสารพัด ตอนนี้รู้แล้วเกิดละอายเกรงกลัว จะรักเคารพบูชา เป็นอย่างนั้นเลย
-
เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
เข้าไปถามไถเสมอเมื่อมีเวลาไม่ใช่ไป เซ้าซี้ เฝ้าเลย อย่างนั้น แต่ไปตามกาละเวลา เติมความรู้ เข้าไปสอบถามเพิ่มเติมความรู้ว่าภาษิตนี้เป็นอย่างไร ก็ถามไปเรื่อยๆ ท่านผู้รู้หรือพระพุทธเจ้าก็จะเปิดเผยให้ฟังอธิบายให้ฟังทำให้แจ้งทำไมเข้าใจไปตามลำดับ ก็จะได้ปัญญาขึ้นมาเรื่อยๆ
-
เธอฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 3 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
จะเกิดความรู้แตกขึ้นมาเป็น 2 อย่าง โดยเฉพาะความสงบความหยุดความนิ่ง พวกพาซื่อเดียรถีย์ ใจเย็นความสงบความนิ่งอันเดียว สงบคือหยุดทื่อๆ หยุดเฉยๆ เป็นความสงบอย่างเดียว พาซื่อ แต่ผู้ที่มีปัญญา จะเห็นความสงบ 2 อย่าง
กายก็สองอย่าง จิตก็สองอย่าง
พวกสงบอย่างเดียวก็เอากายสรีระหยุดการเคลื่อนไหวภายนอก หยุดนิ่งเฉย จิตก็เกาะนิ่งอยู่กับตัวกาย ตัวร่าง ตัววัตถุ รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซื่อๆง่ายคือ หยุดความเคลื่อนไหว
ส่วนความสงบของปัญญาของปัญญาพระพุทธเจ้านั้น คือเหตุกิเลสมันตายไปจากจิตมันไม่มีแล้วในจิต แม้จิตจะมาเกี่ยวเนื่องกับกายภายนอกไม่แยกกัน กายข้างนอกมีจิตร่วมด้วยก็เป็นกายเป็นชีวะของจิต แม้ชีวะของพืช ก็ไม่มีกายแล้ว ไม่ถือว่าเป็นกาย ยิ่งเป็นอุตุก็ยิ่งไม่มีกายใหญ่เลย ไม่ใช่พยัญชนะว่า พืชหรืออุตุมีกาย พืชคือ ความไม่มีกาย แต่พืชมีชีวะได้ แต่ไม่มีกาย
ท่านก็ให้เรียนรู้การแยกกายแยกจิต ตัวนี้สำคัญมากเลย จากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เล็บของเราตรงไหนที่มันไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณแล้วไม่มีความรู้สึกแล้ว ผมก็เหมือนกัน ฟันก็เหมือนกัน ผมก็ยาวกว่าจะถึงจุดประสาท ฟันก็ยิ่งใกล้ แต่ผิวหนังยิ่งใกล้จุดประสาทเลยผิวหนังที่มันเป็นผิวจริงๆ มันไม่ใช่ กายแล้วเป็นอุตุแล้ว ถูๆออกก็ทิ้งไป ไม่เจ็บไม่ปวดไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้ายังไม่ใช่ มันสดมีชีวะคั่นจิตอยู่นะมันก็เจ็บ หรือเล็บก็เจ็บไปถึงประสาท พอเจ็บแล้วนั่นละมีกาย กายกับจิต จึงเป็นหนึ่งเดียวกันตรงนั้น ถ้ามันไม่เจ็บแล้ว ไม่ใช่กาย แต่มันยังไม่ตาย ผมขนเล็บฟันหนังติดกับตัว ได้อาหารมันก็ยังโตอยู่ อย่างเล็บ ผม ฟัน ผิวหนัง ก็ต่อเนื่องเป็นชีวะของจิตก็เจ็บ แต่ถ้าไม่ใช่ชีวะของจิตไม่เจ็บ ก็ตัดกรอบมันตรงนั้น ตัดเขตตรงนั้น
เมื่อเข้าใจสิ่งเหล่านี้จึงสามารถมีชีวิต ไม่รับรู้สึกก็คือไม่สุขไม่ทุกข์ ดับความสุขความทุกข์ ถ้าไม่เข้าใจตรงที่ว่ามีกายหรือไม่มีกาย เข้าใจไม่ได้ คุณก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าว่าเวทนาของคุณ ตรงนี้เป็นอรหันต์แล้วนะ ไม่สุขไม่ทุกข์แล้วนะ ตรงนี้ยังเป็นชีวะยังเป็นสัตว์ ยังไม่สูญจากความสุขความทุกข์ ตอนนี้ขาดแล้ว สัมผัสอยู่ก็ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ สัมผัสแรงๆก็ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ คุณก็รู้ตัวเองได้ ยืนยันได้
เป็นอรหันต์ก็เป็นเรื่อง เอาอาการความสุขความทุกข์เป็นเครื่องชี้วัด ความทุกข์ความสุขเป็นอริยสัจ เป็นความจริงของผู้ประเสริฐที่จะศึกษารู้ได้แบ่งได้ตัดชั้น ความรู้ได้เลย
คนที่มีปัญญาสามารถจะรู้ความจริงเท่านี้ได้ มันไม่ใช่ธรรมดา มันต้องมีความรู้องค์ประกอบต่างๆ อาตมายังไม่สามารถบอกองค์ประกอบทั้งหมดได้ พระพุทธเจ้ามีพุทธวิสัยสามารถออกได้ อาตมามีฌานวิสัยบอกได้ แต่จะไม่ได้รู้มากมายขนาดพุทธวิสัย
ปัญญาข้อที่ 2 เข้าฟังไปถามทำความเข้าใจกับสัตบุรุษ
สู่แดนธรรม…มุนีผู้สงบ หากไปดูที่ความนิ่งอย่างเดียว พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะมีความนิ่ง ต้องประกอบด้วยความรู้แจ้งไม่หลงลืมด้วยจึงจะเป็นมุนี
พ่อครูว่า…อาตมาสอนให้รู้แจ้งยิ่ง ปาคุญญตา คล่องแคล่วว่องไว จิตแกนเป็นมุทุธาตุ ความเร็วไวเป็นกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา สัมผัสสัมพันธ์กับภายนอก ถึงธาตุรู้ก็รู้ได้ครบเอาแต่จิตข้างในก็คล่องว่องไวรู้ได้เร็วไว ไม่ใช่เป็นความเฉื่อยความเฉย พวกนี้ยังเป็นอจินไตย คาดคะเนด้นเดาเอาไม่ได้ อตักกาวจรา ไม่มีสิทธิ์ที่จะรู้ด้วยการคิด คิดให้หัวแตกก็หัวแตก7เสี่ยงเสียเปล่าๆ คิดไม่ได้ ต้องเป็นปัจจัตตังมีเองด้วยตัวเอง ตัวเองจะรู้จักความจริงกับตัวเองมีความจริงสูงขึ้นมากกว่านี้
การที่จะเสริมเติมความรู้จากที่ได้รู้จากพระโอษฐ์แล้ว ไถ่ถามจนชัดเจนแล้ว ก็จะรู้ความหมายของความสงบ 2 อย่าง สงบอย่างพาซื่อ บื้อๆ หยุดเป็นวัตถุเฉยๆ กับสงบแบบไม่ใช่วัตถุเฉยๆ แต่กำจัดกิเลส กำจัดตัวเหตุที่มันพาให้ไม่สงบพาให้เดือดร้อนวุ่นวาย ให้ดับไป นี้เป็นความรู้ปัญญาขั้นที่ 3
ทีนี้ วิธีปฏิบัติจากข้อ 4 ไปถึงข้อ 5 ท่านก็รวมไว้ ศีล พหูสูตร
ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดจิตอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ตกผลึกรวมกันตั้งมั่น เป็นจิตสะอาดๆหมด สั่งสมลง
คำว่าสมาธิคือจิตตั้งมั่น ไม่ใช่จิตตั้งมั่นลวกๆ เอาเป็นก้อน จิตเลอะหยาบก็เอามารวมไม่ได้ทำความสะอาดก่อน วิธีทำความสะอาดก็ไม่มีไม่รู้เรื่อง แต่ฉันจะเอามารวมสะกดจิตไว้เท่านั้นเอง เป็นความรู้แบบตื้นๆหยาบๆ แต่สมาธิของพระพุทธเจ้าเป็นอจินไตย จิตสะอาดรวมตั้งมั่น ไม่ใช่แบบมักง่ายตื้นๆเอามารวมหมด ไม่ใช่ แค่นี้ก็ไม่ใช่เดาเอาได้
อาตมาพูดอย่างอ้างอิงพยัญชนะ หลักฐาน ตำรา กระบวนการของธรรมะพระพุทธเจ้า ไม่ได้พูดเอาเอง
ศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา กิเลสกำลังลดก็เรียกอธิโมกข์ กิเลสลดก็วิมุติ แล้วไปถึงวิโมกข์ วิมุติ จบ แล้วทบทวนอีก วิมุติญาณทัสนะ ตรวจสอบด้วยเตวิชโช ด้วยการลงบัญชีไปเรื่อยๆ ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงเรียก พหูสูต
ท่านเรียกกันว่าพหูสูต คือผู้รู้มาก learned man ผู้ที่ศึกษามาก เรียนรู้มาก ท่องจำได้มากเป็น ปทปรมบุคคล เท่านั้น ไม่ใช่ ปทปรมบุคคลคือ คนที่เรียนรู้มาก ท่องจำได้มาก เอามาสอนคนอื่นก็มาก แต่ตัวเองไม่ได้บรรลุธรรม คนทุกวันนี้ที่เสื่อมก็ไปติดอยู่แค่ปทปรมะ ท่องจำพระพุทธพจน์ก็มาก สวดสาธยายก็มาก สอนคนอื่นเขามากๆแต่ตัวเองไม่ได้บรรลุธรรม
อาตมาทำงานมาตั้ง 50 ปี กว่าจะยืนยันว่าตัวเอง พูดว่าเป็นอรหันต์ แล้วยืนยันว่าท่านเหล่านั้นท่านไม่รู้ ท่านยังหลงติดอยู่ในแค่บัญญัติภาษา ยังไม่เข้าถึงสภาวะ แม้แต่คำว่า กาย
ยังไม่พ้นสังโยชน์ข้อที่ 1 กายที่อยู่ในตนของตน คุณยังไม่เข้าถึงตน สักกะ คุณยังแยกรูปนามที่เป็น 2 สภาพ กาย ไม่ออก ไม่รู้จักสภาวะสอง ที่เป็นเทวะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60 เป็นประโยคหัวใจของศาสนาพุทธ คืออาริยสัจ 4 ปฏิบัติตรงนี้ แต่ทุกวันนี้ไม่ได้ปฏิบัติอย่างนี้ มาเรียนรู้สภาพ 2 ตรงนี้ไม่ได้เรียนรู้ที่เวทนา ไม่เห็นความสำคัญในเวทนา ไปหลับตาเสียอีก ปิดเวทนา เป็นสัมภเวสี เป็นวิญญาณล่องลอยไม่มีที่ตั้ง ไม่มีวิญญาณทางตาสัมผัส หูได้ยินเสียงเกิดวิญญาณตรงหู จมูกได้กลิ่นเกิดวิญญาณ ลิ้นรับรสกายสัมผัส จึงมีวิญญาณที่ตั้งเรียกว่า วิญญาณฐีติ
กาย กับ สัญญา สองตัวนี้ อธิบายก็ไม่ใช่เข้าใจง่ายๆ
-
เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
-
เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 5 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
-
เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 6 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
สรุปคือข้อนี้พากเพียรให้บรรลุโลกุตตระธรรมและบรรลุโลกียธรรมด้วย พากเพียร ทำกุศลด้วย
-
อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 7 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
เดี๋ยวนี้เขาเข้าใจเดรัจฉานวิชชากันไม่ได้ แล้วแสดงธรรม ให้ตนเองแสดงบ้างให้คนอื่นแสดงบ้าง ไม่ดูหมิ่นการนิ่ง การนิ่งไม่ได้ตีขลุมว่า ผู้นิ่งคือผู้ไม่รู้ อั้นตู้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ไม่ใช่ ผู้นิ่งท่านไม่พูดก็ไปดูถูกท่านไม่ได้ แล้วนิ่งอย่างพระอาริยเจ้าอย่าไปแตะเข้าเชียวไปดูถูก บาปกินหัว แล้วผู้นิ่งอย่างอาริยะไม่ได้นิ่งอย่างพาซื่อ ควรพูดก็พูด อันไม่ควรพูดก็ไม่พูด จะรู้ความเหมาะควรอย่างแท้จริง
-
อนึ่ง เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 ว่ารูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ … สัญญาเป็นดังนี้ … สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้ … วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 8 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ