640416_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ผู้ไม่รู้ตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ผู้รู้ทั้งหมด รู้ตัวเอง
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1jpRVSh8IBKFUbvGyAhze4QnyKuS0wsjmnzU_8I7luDQ/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/10a0CmAoGDFzyHUvB0YpLvN2m2uTVYHiR/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/ONaRaj_49YU
สมณะเดินดินว่า…วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก สิ้นเทศกาลสงกรานต์ ประเทศไทยก็อยู่ในช่วงยอดติดเชื้อโควิดกำลังพุ่ง วันนี้นายกฯก็แถลง…นายกฯแถลงยกระดับมาตรการป้องกันโควิด ย้ำ “ไม่เคอร์ฟิว-ไม่ล็อกดาวน์”
จากที่เสนอมาเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก มีคำ 3-4 ประโยค “ประเทศไทยต้องชนะ เมื่อถึงยามคับขัน ประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ เมื่อถึงคราวปรึกษางาน ต้องการผู้ที่ไม่พูดพล่าม ยามมีข้าวน้ำ ต้องการผู้เป็นที่รัก ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต”
นายกฯบอกว่า ผมจะไม่เกลียดใคร
พ่อครูว่า…บนโต๊ะวันนี้ประดับด้วยฉากที่เป็นสิ่งที่เป็นหนึ่งในโลก มีมาไม่ขาด อาตมาก็เพิ่งเห็นผลไม้แปลกใหม่อันนี้ เป็นลูกท้อจากสวนไสหม่วน มีมะตูม เขาใช้ยางมะตูมเป็นกาวได้ แต่ก่อนนี้เด็กๆที่บ้านก็ใช้กาววิทยาศาสตร์ไม่มาก ก็ใช้กาวจากแป้งเปียกหรือกาวมะตูม นอกนั้นก็เอาเส้นขนมจีนก็เป็นกาวได้ มะตูมจะติดนานกว่า
เราก็พัฒนา breed พืขพันธุ์ธัญญาหาร ที่มีคุณภาพ เมื่อรู้ธาตุของพีชะ ให้มารวมกันในพันธุ์ไหน ตระกูลไหน มีอะไรเป็นเอก เป็นเด่น ก็พัฒนาขึ้นไปด้วยชีววิทยา พวกเราก็เน้นพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพราะมันเป็นตัวกลาง ของระหว่าง ดิน พืช สัตว์ สามอันนี้ คนก็ไม่กินดิน แต่เลือกกินพืช ไม่กินสัตว์ ส่วนพวกกินดินก็กินไป พวกกินสัตว์ก็กินไป ส่วนพวกเรากินพืช ก็เป็นความเจริญของจิตวิญญาณที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และเอามาสอน อาตมาก็นำเอามาให้พวกเราศึกษาฝึกตนและปฏิบัติให้เป็นดังที่ว่านี้ได้ ก็เกิดได้เป็นจริงมาถึงทุกวันนี้ เราก็ศึกษากันต่อไป จนกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก็ทำไป ผู้ใดไม่เอาถึงขั้นนั้นก็ตามแต่คนจะตั้งปณิธานแต่ละคน
ทำใจอย่างไรเมื่อถูกผู้ใหญ่ตำหนิหรือชม
_SMS วันที่ 14 -15 เม.ย. 2564
_สว่างแสง ขวัญดาว : น้อมกราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ เมื่อลูกถูกผู้ใหญ่ คนที่ลูกเคารพว่าลูก ลูกอ่านจิตตัวเองว่าลูกไม่ได้โกรธผู้ใหญ่ ยอมให้ว่าได้ แต่ทุกครั้งที่ผู้ใหญ่ว่า หรือตำหนิ ลูกก็จะร้องไห้ทุกครั้ง ลูกไม่ชอบตัวเองที่เป็นแบบนี้ ลูกไม่อยากร้องไห้ ลูกควรทำใจอย่างไรเมื่อโดนว่า แล้วไม่ต้องร้องไห้
พ่อครูว่า…ไอ้ร้องไห้คือการพ้อตัวเอง มันมีตัวเองมาเป็นตัวรองรับ โถเรา เขาว่าเราแล้วหนอ ทีนี้ผู้ว่าก็ไม่ควร ไม่กล้าโต้แย้ง ไม่ควรจะไปตอบโต้อะไร ยอมให้เขาว่าเพราะคุณยังมี อัตตา มีตัวเองตัวตนอยู่ คุณก็มีอาการตอบรับ มันได้พัฒนามาขนาดหนึ่งก็กลายเป็นผู้ยอมตอบรับด้วยการเป็นผู้ยอม มีอะไรแสดงออกได้ น้ำตาเป็นเครื่องหมายของความพ่ายแพ้ ก็ยอมแพ้น้ำตาออกมา ผู้ใหญ่เห็นน้ำตาอาจจะหยุดว่า เพราะยอมแพ้แล้ว เป็นอำนาจต่อรองชนิดนึง ก็เป็นไปตามธรรมชาติ
สรุปแล้วคุณก็ต้องรู้ว่า เขาว่าเราก็เอาเนื้อหาสาระ อย่าเอาอัตตาไปรับ เอาอัตตาไปรับ ก็เกิดปฏิกิริยาอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นปฏิกิริยาตอบรับธรรมดาธรรมชาติ ถ้าคุณไม่มีอัตตา ไม่มีปฏิกิริยาตอบรับก็ได้ แต่รับรู้ว่าเขาว่าอะไร แล้วก็เอาเนื้อหาความหมายที่เขาว่านั้นว่าคืออะไร
หากเขาว่าเราตำหนิเราถูกก็ดี แม้แต่จะยกย่อง ก็เอามาตรวจความจริงตามที่เขาว่า ตามที่เขายกย่อง ตามที่เขาด่าว่าตำหนิติเตียนหรือไม่ ถ้ามันเป็นจริงทำถูกตำหนิก็แก้ไข ถ้ายกย่องรับรู้ความจริงแล้วก็รู้ว่าเป็นความจริงคนอื่นรับรู้ ก็จบ ก็ไม่ต้องฟูใจ ไม่ต้องผยอง ไม่ได้ไปหลงดีใจอะไรก็จบในตัวมันเอง อย่างนี้เป็นต้น ก็ศึกษาไป
ปริยัติกับสภาวะอันไหนสำคัญกว่า
_สิรภพ สุขพูล : ถ้าเราจะปฏิบัติธรรม ระหว่างปริยัติ กับ สภาวะนั้น อันไหนเราจะให้ความสำคัญมากกว่าครับ ผมเคยอ่านในหนังสืออภิธานศัพท์อโศก พ่อครู ก็ได้กล่าวไว้ว่า เช่น สำนักอาจารย์สุจินต์ เขาก็วนอยู่กับปรมัตถ์ วนอยู่กับภาษา แต่ก็ไม่ลงลึกถึงสภาวะ ให้หัดอ่าน อาการ ลิงคะ นิมิต อุเทศ ซึ่งระหว่าง สภาวะกับพยัญชนะ เป็นเรื่องใหญ่ ไปยึดถือพยัญชนะ แต่ไม่มีสภาวะ อย่างที่เป็นกันส่วนใหญ่ แต่หากไปยึดสภาวะแต่ไม่รู้จักพยัญชนะ ก็ไม่ได้เรื่อง เหมือนกัน
ปัญหาของผมอยู่ที่ว่า มีเพื่อนญาติธรรมของผมเอง เขาแย้งว่า ปริยัตินั้นสำคัญที่สุด มากกว่า สภาวะ อยากให้พ่อครูตอบชัดๆ ระหว่างปริยัติกับสภาวะนั้น อันไหนสำคัญมากกว่ากันครับ
พ่อครูว่า…พยัญชนะกับสภาวะ หรือบรรญัติ ปริยัติ พยัญชนะ คือสมมุติสัจจะ แต่สภาวะคือปรมัตถสัจจะ คือเข้าไปถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน
คนเราต้องศึกษาปริยัติ เอาไปปฏิบัติก็ถึงมีปฏิเวธ เพราะคนเรารู้เองไม่ได้ หรือบางคนได้สั่งสมบารมีจนเป็นสยังอภิญญา ก็จะมีความรู้ด้วยตัวเอง นอกนั้นต้องได้รับเหตุปัจจัยจากผู้รู้มาก่อน ไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่อย่างละเอียดก็หยาบ ไม่หยาบก็ละเอียด เพราะยังไม่ครบสมบูรณ์ นอกจากผู้มีสยังอภิญญาได้สั่งสมภูมิธรรมาเต็มแล้วตั้งแต่ชาติก่อน มาถึงชาตินี้ แม้จะไม่มีผู้รู้ผู้สัมมาทิฏฐิ ผู้เป็นครูมาเลยก็ตาม สยังอภิญญาผู้นี้ก็สามารถนำโลกุตรธรรมมาเปิดเผยเป็นไก่ตัวพี่ได้ จึงเรียกผู้นั้นว่าสยังอภิญญา
อาตมาก็ประกาศตนเองเป็นสยังอภิญญา ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสัมมาทิฏฐิ 10 เป็นผู้ที่อธิบายสัมมาทิฏฐิทั้ง 9 และเอามาให้พวกเราปฏิบัติได้เกิดมรรคผลเป็นโลกุตระธรรมจนเกิดผลนั้นทำให้พวกเรามารวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเอกีภาวะ เป็นสังคมรวมอยู่กันอย่างสามัคคี ไม่วิวาทกัน อยู่กันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระลึกถึงกัน รักกันเคารพกัน นี่เป็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เอาไว้ เอามายืนยันได้หมด ตรงกันหมด ก็ตรวจสอบเอา
สรุปแล้วปริยัติสำคัญในระดับมรรค ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่าคุณเองรู้เองมาก่อนไม่ได้ มีสภาวะธรรมเองมาไม่ได้หรอก คุณต้องรู้ปริยัติก่อน ก็สำคัญในระดับมรรค แต่แน่นอนสภาวะก็ต้องเป็นผลที่สำคัญกว่ามรรค สภาวะต้องสำคัญกว่าปริยัติในภาคที่เป็นผลแล้ว แล้วจะได้เป็นตัวตั้งที่เราได้อาศัยและหรือเผื่อแผ่ผู้อื่น สอนผู้อื่นแนะนำผู้อื่นให้มีตามไป
_สติพล จนพัฒนา : “คำว่า”สมาธิ”คือสมะ+อธิ…สมะ=เสมอๆ อธิ=ยิ่งๆขึ้น…สมาธิคือการทำจิตให้สูงขึ้น,เจริญขึ้นใช่ไหมครับ.
พ่อครูว่า…ถูกต้อง เป็นคำอย่างนี้จริงๆ แต่ผู้รู้ไวยากรณ์ อาตมาไม่รู้สิ่งที่เขาตั้งมากัน อาตมาไม่ได้เรียนกับเขา ก็เลยไม่ได้ไปวิจัยวิจาร ตามเขา แต่พวกที่รู้บัญญัติภาษามากก็เลยรู้มากยากนาน ก็ไม่ได้เริ่มปฏิบัติ หรืออาจบอกตนเองว่า เรารู้มากไม่มีใครรู้เท่า ใครก็ยกย่องเราว่ารู้มาก เราก็เลยนึกว่าเราคงจะเป็นพระอรหันต์แล้วนี่ แต่มันไม่ใช่ ต้องแทงทะลุไปถึงอาการกิเลส ต้องดูอาการ ลิงค นิมิต ของตัวกิเลสจริงๆ
_Duangsamorn Kitticharudul (ดวงสมร กิตติชาฤดล) : ผู้เข้าสู่ความเป็นอารยบุคคลย่อมมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอย่างแรงกล้า มากน้อยแค่ไหนตามฐานภพภูมิธรรมของตน
พ่อครูว่า…อธิบายคำว่า อริยะ อารยะ กับอาริยะ ว่าต่างกัน(พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) แต่อริยะ กับอารยะ เขาปฏิบัติกันไม่มีมรรคผล แต่อาตมามาใช้คำว่า อาริยะ แทน
ถ้ามีความละอายเกรงกลัวต่อบาปอย่างแรงกล้า ผู้นั้นเป็นอาริยะ ที่แท้
ถ้าหากเป็นผู้ที่ไม่มีความละอายต่อบาปหรือแม้แต่รู้ว่าตัวเองเป็นผู้ที่มีบาปไม่ถูกต้อง ผู้ที่ถูกต้องเป็นอีกคนนึง คนนี้ยังไม่เกิดจิตละอายหรือเกรงกลัวต่อ เราก็ต้องละอายที่คนนั้นเขาเจริญที่เรามุ่งความเจริญ เราเห็นความเจริญแบบนั้นมันถูกต้อง จริงด้วย เรายังไม่เกิดความละอายคนนี้ก็ยังไม่กระเตื้องยังไม่มีเทวธรรม ก็ยังถือตัวถือดียังไม่ยอมลดราวาศอก ยังจะถือดีถือตัวยึดมั่นที่ตัวเองอยู่ ได้ตำแหน่งหรือพอจะรู้แล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่ยอม อย่างนี้ก็ไม่เข้าข่ายที่จะเจริญพัฒนาโลกุตรธรรมได้ ต้องมีความยินดี มีความละอาย มีความจริงใจที่แม้ว่าเกิดอาการจิตอย่างนี้ ยิ่งละอายชัดเจนเพราะรู้จริงๆว่า ตนเองยึดผิดว่าถูก แล้วมาเถียงมาแย้งมาโต้มาต้าน ดีไม่ดียกสิ่งผิดไปข่มสิ่งถูก มันน่าอายนะ เอาขี้หมาไปแข่งทองคำ มันน่าอาย ช่างงมงายเหลือเกินเรานี่ มันจะละอายจริงๆ นี่เป็นสัจธรรม ธาตุจิตที่มันจะเกิดสภาวะอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่าธาตุที่แสดงถึงความเป็นเทวะเป็นความเจริญ เป็นความสูงขึ้น เทวธรรม จึงมีหิริโอตัปปะเป็นตัวยืนยัน ซึ่งไม่ง่ายที่จะเข้าใจความจริงอันนี้ อาตมาก็ต้องพยายามอธิบาย มันจะเกิดอาการจริงทางใจ ถ้าเกิดอาการละอายกลัวต่อความผิดพลาดที่เราได้ทำไปแล้วละอายจริงๆ กลัว ยิ่งโอ้โห ทำแล้ว อาการแรงกล้า ติปพัง กลัวมาก ถ้ากลัวมันก็จะสำนึก กลัวไม่เอา ก็จะต้องแก้ไข
แต่ถ้ามันไม่มีอาการมีน้ำหนักถึงขนาดนั้น มันก็ดื้อๆบื้อๆตาใสอยู่อย่างนั้น แล้วจะไปแก้ไขตัวเองยังไง คนนั้นก็จมอยู่กับอันเก่า พูดไปแล้วอาตมาก็เห็นความจริงที่คนอย่างนี้ยังมีในสังคมศาสนาพุทธ น่าสงสารก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ได้แต่พูดไป อธิบายความจริง หากท่านฟังด้วยดีไม่มีอคติ สุสูสัง ละภะเต ปัญญัง จะได้ปัญญา จะได้เกิดความฉลาดขึ้น รู้ความจริงแล้วก็ต้องมาเป็นผู้ที่ละอายต่อความจริง เกรงกลัวต่อความจริง เขาก็จะเกิดความรักความจริงดีขึ้นมา แต่ถ้ายังไปคว้าเอาความจริงเอาความผิดพลาด ความเก๊ๆ ก็น่าสงสาร
เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปัญญาก็น่าจะเกิดสำหรับผู้มีความเฉลียวฉลาด แต่เห็นอาการติดยึดหลงงมงายไหม ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คุหัฏฐกสุตตทิทเทส อาตมาเห็นอันนี้แล้วอยากจะมาขยายความ แต่ก็ยังติดอยู่ที่ปัญญาอยู่นี่ เอามาเตือนเพื่อให้คุณรู้ว่าจมอยู่ในลักษณะต่างๆเหล่านี้หรือไม่ พระพุทธเจ้าแจกแจงรายละเอียดชัดเจนว่าความเสื่อมของคนมันจะเป็นอย่างนี้
เสื่อมเมื่อใด ลักษณะจะเป็นคนที่ติดในถ้ำป่าเขา ไปนั่งสะกดจิตจมลแล้วหลงว่าเกิดพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ในนั้นหมด นั่งหลับตานั่นแหละจะได้เป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าหลับตาใต้ต้นโพธิ์ก็ต้องเข้าใจอย่างนั้นและจะเอาเป็นอย่างนั้นเรียกว่า เห็นช้างขี้อย่าขี้ตามช้างด้วย ไม่รู้ว่าตัวเองที่แท้ยังไม่ใช่ช้าง ตัวเองเป็นแมงหวี่ อย่าไปขี้อย่างช้าง อันนี้เขาก็ไม่รู้ตัวกัน
สติปัฏฐาน อานาปานสติ สติปัฏฐาน อธิบาย
อานาปานสติ คือ คนที่ยังไม่ตาย มีลมหายใจเข้าออก คนนั่นแหละจะต้องมีสติปัฏฐาน แยกกันไม่ได้นะ สติปัฏฐานต้นก็คือ 4 พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม อานาปานสติ ไม่ได้มีการพิจารณาอะไรมีแต่มืดจมลงอยู่ในความจมลงไปในถ้ำอยู่อย่างนั้น อยู่ในถ้ำจมลงเป็นความหลงว่าต้องเป็นอย่างนั้น
พยัญชนะก็คืออยู่ในถ้ำติดถ้ำ จมอยู่ในความหลงแค่นี้ก็หนักหนาสาหัสแล้ว เราเป็นคนอย่างนี้เชียวหรือ อย่างนั้นแหละยังมีอยู่เยอะ เห็นทางโทรทัศน์จอ SBB จอของกลุ่มมหาบัว น่าสงสาร หัวโล้นมันๆ ถ่ายภาพมาน่าสงสาร สนิทนิ่งสงบศรัทธาเลื่อมใสมุ่งมั่นตั้งใจ เห็นแล้วก็น่าสงสาร ไม่รู้จะทำยังไง คนเราจะไปบีบบังคับให้คนฉลาด ให้คนรู้ตื่น มันบังคับไม่ได้ก็ได้แต่ไปอย่างนี้แหละ กระตุกอยู่เรื่อย เขย่าแทงให้รู้สึกตัวว่าตื่นๆๆ ไม่ยอมชาคริยะ ไม่ตื่น ไม่สะดุ้งสะเทือนเฉย อย่าว่าแต่แทงด้วยเข็มเลย แทงด้วยหอก 100 เล่ม เช้า กลางวัน เย็น ก็เฉย ยิ่งกว่าหินผา พูดก็เมื่อยแล้ว
_ฟ้าเจือศีล…ดิฉันสะดุดคำสอนพ่อครู ในวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา เรื่องพระอรหันต์เป็น พีชนิยาม ถ้ามีคำสอนต่อว่าเป็นสภาวะที่ซับซ้อนมาก ถ้าไม่มีคำนี้ก็จะงงมาก เฉพาะตรงนี้ พ่อครูคงต้องอธิบายขยายความอีกยาว เพราะความรู้ก่อนหน้านั้นรู้ว่าพระอรหันต์อยู่เหนือจิตนิยามและอยู่เหนือธรรมนิยาม และอีกคำว่า พระอรหันต์ไม่มีวิญญาณ ไม่เป็นพีชะด้วย ก็ต้องคิดเอาเองว่า
พระอรหันต์ไม่มีวิญญาณที่ไม่รู้ (พระอรหันต์ ท่านรู้ไม่มีวิญญาณที่ท่านไม่รู้ ท่านรู้จนจบแล้ว หรือพระอรหันต์ไม่มีวิญญาณที่อวิชชา ใช้พยัญชนะอย่างนี้พูดก็ถูก
เข้าใจอย่างนี้ถูกไหมคะ
พ่อครูว่า…พยัญชนะกับสภาวะมันลงตัวจริงๆ ลงไปในตัวเนื้อแท้ของสิ่งนั้น จะมีสภาวะ 2 ที่ต้องสรุปเป็นหนึ่ง ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
สัจจะมีหนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่เกิดภาวะที่มี อันตา มีสิ่งที่เลยไปด้านไหนเป็น 1 บ้องแบ๊วอยู่ในนี้ คนที่เกิดความเป็นเช่นนั้น ตัวเลขไทยชัดเจน ๑ เป็นปลายเปิดหางออกไป
อ.อ่าง วนอยู่ในอ่าง อ.อ่างไม่มีปลายออกมา หาก อ.อ่างมีปลายออกมาก็วนไปหาโลก
เข้าสู่สิ่งที่ควรอธิบายให้ฟังต่อไป
มาไล่จากธาตุรู้ ธาตุรู้ก็ต้องมีคู่ ส่วนจึงจะชื่อว่าวิญญาณหรือว่าอัตตา ผู้มีอัตภาพเกิดเป็นจิตวิญญาณขึ้นมาแล้ว แม้คุณจะเป็นสัตว์เซลล์เดียว พัฒนามาจาก พีชะแล้วก็ตาม สัตว์มันหลุดจากที่แล้วแต่ว่าพืชมันไม่หลุดจากที่รากมันจะยึดกันอยู่ด้วยดิน หรือแม้จะอยู่บนอากาศรากมันก็จะหาอาหารจากอากาศหรืออาศัยน้ำ ในดินก็อาศัยดิน สัตว์มันก็เคลื่อนไปเพื่อรักษาตัวเอง มันเคลื่อนตัวเองไปได้
ถ้าหากเป็นการวิวัฒนาการของธรรมชาติก็เกิดในตัวมันเองได้ หรือมันได้รับเชื้อจากผู้อื่น เชื้อที่เจริญมาก็ได้เร็วได้มาก หากจะรอมันพัฒนาตัวเองจากอุตุเป็นพีชะ จากพีชะเป็นจิต ยิ่งจิตไม่ได้พบสัตบุรุษก็ไม่ได้เรียนกรรมวิบาก พอจะเข้าใจว่าจิตนิยามหรือจิตวิญญาณมันต้องมีพลังงานที่เรียกว่ากรรมเป็นของของตน กรรมตัวเองทำ ไม่ใช่ไปฝากไว้กับ GOD ไม่เช่นนั้นคุณก็ไม่พัฒนาตัวเองต้องพึ่งพา GOD ตลอดตายเกิดแล้วตายอีกนั่นแหละ ถ้ามารู้ว่าเรานั่นแหละจัดการธาตุ 2 ของเราเองจัดการธาตุ 2 ของเราเอง การเกิดรู้เช่นนี้ขึ้นมาโดยสภาวะ นี่แหละคือการพ้นสักกายทิฏฐิ
รู้กาย 2 ที่มีทั้งภายนอกและภายใน มีทั้งรูปกับนามทำงานร่วมกัน สังเคราะห์สังขารกันตลอดไป จากหยาบ จึงมาศึกษาจากหยาบ แล้วเราก็มาปลงรูปภายนอก ปล่อยรูปภายนอกเข้าใจรูปภายนอกให้ได้ว่า มันเป็นสิ่งหนึ่งที่พร้อมจะหลุดเป็นอย่างอื่นได้ ส่วนของเราข้างในก็เป็นธาตุที่เราเกาะกลุ่มเป็นตัวเราเอง ข้างนอกก็เป็นกาย ข้างในก็เป็นอัตตา กายกับอัตตา หรือกายกับจิต
เพราะฉะนั้นกายนี้ขาดภายนอกไม่ได้ แต่จิตขาดภายนอกได้ ถึงวาระที่จะขาด ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ไม่รับเสียดื้อๆ หลับตาซะเลย ไม่รับรู้ภายนอกเลย เข้าไปแต่จิต คนนี้ไม่มีวันแก้ไขจิตตัวเองที่จะพัฒนาให้มันเข้าใจถ้วนรอบในเทวะใน 2 อย่างแล้วเลือกสลายเทวะจน นิพพาน ปรินิพพาน ทำไม่เป็น เรียนรู้ไม่ได้
พวกหลับตาอาตมาก็ได้จะย้ำซ้ำพูดด้วยความสงสาร น่าสงสารสังเวชจริงๆ ท่านจะจมไปอีกนานเท่าไหร่ ที่จะติดยึดอยู่กับการหลับตานี่หนอ ก็เอาก็ช่วยกันไป
ผู้ที่แสวงหาไม่มีอคติไม่ติดยึดจมอย่างพวกนั่งหลับตา ก็จะค่อยๆเกิดภูมิปัญญาว่ามันน่าลองดูอย่างนี้ หรือเกิดปฏิภาณว่าอย่างนี้แหละใช่ ถ้าอย่างนั้นยังหลงอยู่เลย มันสมบูรณ์แบบนั้นมันจะเป็นปัญญาปฏิภาณที่ฉลาดเฉลียวเลย มันมีเหตุปัจจัยอะไรต่ออะไรที่อาตมาขยายความแล้วมันชัดมันครบ ผู้ที่มีปฏิภาณปัญญาเกิดไอ้นั้นมันพร่อง มันไม่ครบ
ก็หลับตาแล้วตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่มีแล้ว อันนี้มันก็อยากตื่นชัดอยู่แล้ว อยากจะบอกว่าหลับตาแล้วจะเกิดปัญญา อาตมาก็อ้างอิงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายแห่งหลายหนว่าปัญญาจะเกิด แบบนั่งหลับตาแล้วโผล่ขึ้นมานั้น มันไม่ใช่
ทุกอย่างมาแต่เหตุ ต้องมีเหตุตั้งแต่เริ่มต้นได้ยินจากผู้อื่น แล้วต้องมีครบทั้งนอกและใน ผู้อื่นที่เป็นสัตบุรุษ ผู้เป็นครู ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็จะสอน 1 ใน 2, สอน 2 ใน 1 ตราบที่เรายังมีชีวยังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสาน เราก็ต้องอาศัย 2 ไปอาศัย อยู่ในกาละก็ต้องมีอย่างนี้ไปตลอดจนกว่าคุณจะทำปรินิพพานเป็นปริโยสาน แยกธาตุเป็นอุตุได้ จาก 2 แยกกายสเภทาปรัมมรณา ก็อนัตตา ก็ 0 ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรเหลือ หลังจากการตายเมื่อกายแตก แต่ถ้าคุณจะอยู่เป็นจิตนิยาม คุณต้องมีร่างกายก็สักแต่ว่าอาศัย มีรูปอาศัยมีนาม 4 โดยขันธ์นะ
เพราะฉะนั้นก็ต้องเรียนรู้ นาม ที่มันเป็นตัวนามธรรม เป็นตัวการใหญ่เลย ปลอมตัวเป็นตัวเราแฝงซ้อน หลอกตัวเราเองว่าเป็นตัวเราเอง ที่จริงมันเป็นแขกจร มันเป็นอื่น แต่เราไปยึดถือเป็นเราด้วยอวิชาด้วยความโง่
มาฝังอยู่ในรูปว่าเป็นเรา มาฝังอยู่ในวิญญาณว่าเป็นเรา ฝังในเวทนาสัญญาสังขารว่าเป็นเรา มันแฝงมันฝังอยู่ เพราะฉะนั้นคนตาไม่ดีแยกแยะจับตัวมันไม่ได้ เพราะว่ามันสนิทแน่นมาก ทำตัวเป็นตัวเราเฉยตีกินไปนิรันดร กว่าจะมาแยกแยะรู้ได้ รู้ว่าตัวนี้เป็นตัวโทษภัย กลิ
จับอาการ ลิงค นิมิตได้ นี่เป็นอุปธิตัวที่1 แล้วมันก็มาฝังแฝง อยู่ในรูปนามขันธ์ 5
จนกระทั่งมาศึกษาอภิสังขารแยกแยะได้ ประหารตัว กลิ ตัวไม่ดีไม่ได้ ก็เหลือแต่รูปนามขันธ์ 5 ที่สะอาดปราศจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มี กลิ ตัวกิเลสนี่
กิเลสตือตัวองค์ใหญ่ แต่กลิ คือ หัวใจพลังงาน รากเหง้าของกิเลส
พอเราสามารถแยก 1. คือกิเลสหรือกลิได้ 2. มันแฝงในขันธ์ 5 และ 3. อภิสังขาร
อยู่ที่รู้ อุปธิ 3 ก็จัดการ สังขารเป็นสำคัญอย่างยิ่งอย่างผู้เจริญยอดเป็นอภิปัญญา ก็คือ การปรุงแต่งให้มันสะอาดจากกิเลส ขันธ์ก็สะอาดหมด กระนั้นแล้ว ขันธ์ก็ไม่ใช่เรา รูปก็ไม่ใช่เรา เวทนาก็ไม่ใช่เรา สัญญาก็ไม่ใช่เรา สังขารก็ไม่ใช่เรา วิญญาณก็ไม่ใช่เรา เรายึดไปเป็นเรา ถ้าไปหลงยึดมั่นถือมั่นก็เวียนวนโดนหลอก
อาการของยึดมั่นถือมั่นคืออย่างไร อาการของยึดอาศัยคือขนาดไหน
มาอธิบายคำว่า อาศัย นิสัย วิสัย อนุสัย
อา เป็นตัวภาคเสธ เป็นตัวคู่ จับกันอยู่อาศัย
ผู้ที่สามารถเกิด อภิปัญญาขั้นอุภโตภาควิมุติ ดับอาสวะ อนุสัยสิ้นได้ มีแต่ปัญญาเป็นอภิปัญญา เป็นตัวจบ คุณก็มาอยู่ที่อาศัย พึ่งพาอยู่อาศัยตัวนี้ อยู่ไปด้วยอาศัยก็เป็นประโยชน์ ตัวตนไม่มี
รู้จักสยะ รู้จักตัวตน ซึ่งอาตมาก็เคยแยกแยะให้ฟังว่าตัวตนสำคัญที่พระพุทธเจ้าจับเอามาใช้ ก็มี สก สว สย ก็แยกพยัญชนะให้ฟังว่า ก ว ย
ก เป็นอักษรตัวต้นของวรรคเลย
ย เป็นตัวต้นของเศษวรรค
ว เป็นตัวกลาง
สามตัวนี้ มันเป็นตัวสามเส้าที่จับตัวกันเป็นวงวนเป็นตัวปรุงแต่งเป็นตัวตน i s h มีตัวประธานและบวกกับลบ เหมือนพีชะ มันมีพลังงานแม่เหล็กบวกลบทำให้รวมกันอยู่ ระเบิดออกมาก็เอาเท่าที่จะมีพลังเท่าไหร่
นิวเคลียสมีขนาดเล็กพลังงานระเบิดก็มีขนาดน้อย นิวเคลียสใหญ่ก็มีพลังงานมาก แต่ถ้าพูดถึงตัวมันก็ยิ่งเล็ก ยิ่งเล็กมันยิ่งมีพลังงานใหญ่ ถ้ายิ่งใหญ่ยิ่งเทอะทะพลังงานเล็ก
มันมีคำต่อมา อาศัย กับ อนุสัย อาศัยแล้วคุณสั่งสม สย จนรู้จัก สย ดี หรือไม่รู้ นิ
ถ้าคุณรู้ สยะ ดี คุณก็จัดการมันได้ ถ้าคุณไม่รู้ มันก็จัดการคุณ
นิ แปลว่าไม่มันไม่ ส่วนมากมันก็จะโต่งมาทางไม่รู้
พอ วิสัย มันจะโต่งไปทางรู้ รู้มาก รู้ไปหมดเลย วิ ในส่วนของความเป็น นิ ในตัว ความเป็นไม่ แต่มันเป็นตัวที่มียิ่งๆ วิ ตัวนี้จึงเป็นสภาพคู่ เป็นหัวก็ได้เป็นท้ายก็ได้อยู่ในตัวเอง มีมุทุภูตธาตุ หรือสิริมหามายาที่มีปัญญาคุม จัดการ ต้องการใช้ด้านไหน ใน 2 นี้ได้อย่างเก่งเรียกว่า วิสัย
วิสัย เป็นอจินไตย สัยในวิ คนไม่รู้จักสัยในวิ คนนั้นก็จะเป็นปากของวิ คือวิปาก คนนั้นก็รู้เก่งแค่วิบาก ยังไม่หยั่งลงถึง สย
วิปาก ก็ทำกรรมไป นาน จนกว่าจะศึกษากรรมวิบาก แล้วก็จัดการกับกรรมวิบากให้รู้ตัวที่ควรลดละให้สู่อัตตา ที่สูงขึ้น หรือ สย ตัวเองให้สูงขึ้นไปเป็น วิสัย
เพราะฉะนั้นคุณทำให้เกิดวิสัยได้ ขั้น สร้างพลังงานให้เกิดวิสัยที่เก่ง จึงคือพลังงานปัญญา หรือคือพลังงานที่เป็นฌาน ฌานกับปัญญาจึงเป็นตัวเดียวกัน เป็นตัวสิริมหามายา หรือเป็นเทวะคู่สำคัญฌานกับปัญญา
ถ้าปัญญาก็คือตัวรู้ ถ้าเป็นฌาน คือตัวทำ เป็นตัวปฏิบัติการ ส่วนปัญญาก็เป็นตัวรู้ เป็นตัวรู้กับตัวทำช่วยกันเป็นคู่เอก ก็เจริญขึ้นไปเป็นวิสัย จนกว่าจะสูงสุดเป็นพุทธพิสัย เป็นอจินไตย
-
พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
-
ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน .
-
วิบากแห่งกรรม
-
ความคิดเรื่องโลก (จักรวาล เอกภพ)